มีผลวิจัยจาก Inter-American Development Bank (IDB) ซึ่งได้ศึกษานักเรียนจาก 319 โรงเรียนเป็นเวลา 15 เดือน พบว่าไม่ปรากฎชัดว่านักเรียนที่ได้รับแล็ปท็อปหรือแท็บเล็ตในโครงการ One Laptop per Child (OLPC) มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิชาทางด้านภาษาดีขึ้นกว่าเดิมแต่อย่างไร นอกจากนั้นผลวิจัยยังแสดงให้เห็นว่านักเรียนไม่ได้ให้เวลากับการบ้านและการอ่านหนังสือมากขึ้นอีกด้วย ทาง IDB ได้สรุปว่าทางโครงการ OLPC ไม่ได้แนะนำคุณครูว่าควรใช้แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ตอย่างไรให้้เกิดประสิทธิผลต่อการเรียนในแต่ละวิชา
ผู้อ่านอย่าเพิ่งคิดไปว่าโครงการ OLPC นี้ไม่ประสบผลสำเร็จเลย เพราะ IDB กล่าวโดยอิงผลวิจัยว่า โครงการนี้ทำให้อัตราส่วนระหว่างคอมพิวเตอร์และนักเรียนนั้นเพิ่มสูงจาก 0.28 เป็น 1.18 นอกจากนั้นนักเรียนยังใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานอย่างการพิมพ์เอกสารได้คล่องขึ้นและมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น แต่กลับมีทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่จำกัดเนื่องจากเกือบทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ IDB ยังระบุว่าคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนให้ดีขึ้นได้ หากแต่ต้องอาศัยการบูรณาการเข้ากับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดอีกด้วย
ประเทศไทยกำลังเพิ่งแจกเลย น่าจะลองศึกษาดูผลลัพธ์บ้างครับ
ที่มา: Inter-American Development Bank (IDB) (ไฟล์ PDF) , The Economist ผ่าน Slashdot ผ่าน The Verge
Comments
ก็ดีนะครับ เหมาะกับประเทศไทย ที่มีนักการเมืองบางคนขาดการคิดวิเคราะห์และสักแต่แชร์ แถมยังดริฟท์อีก //อุ๊ปส์
+1 Oops!!! They did it again :p
แร๊งงงง แต่ชอบนะ +1
ถึงแม้จะไม่อิงการเมืองก็ยังเข้าท่านะ ผมว่า ผมได้ยินเสมอๆเลยว่า เด็กไทยเป็นนักท่องทีมชาติ
ถ้ามีสายคิดวิเคราะห์ อาจจะเข้าท่ามากขึ้นก็ได้ เผื่อในไทยจะมีงานประเภทวิจัยเพิ่มขึ้นบ้างก็ดี
ต้องรออีกนานเลยนะครับ กว่าเด็ก ป.1 ปีนี้จะไปเป็นนักการเมือง
ว่าแล้วก็เอาครึ่งแรกของข่าวนี้ไปแชร์ต่อ
:-)
อันตรายนะครับ เดี๋ยวมีคนไปทำจริงๆ อย่าชี้โพรงให้กระรอก
นักเรียนที่ได้รับแล็ปท็อปหรือแท็บเล็ตในโครงการ One Laptop per Child (OLPC) นั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิชาทางด้านภาษาดีขึ้นกว่าเดิมแต่อย่างไร
อ่านแล้วงง ๆ ครับ
ข้อความทั้งหมดคือ
อย่างไรก็ตามผมลองเรียบเรียงให้สั้นลงแล้วครับ
อ่านแล้วก็ยังงงอยู่
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น != ฉลาดขึ้น
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผลดีไม่ดีเท่าที่คิด (ภายใต้สภาพแวดล้อมที่จำกัดมาก) ที่อยากเห็นอีกอย่างคือรายงาน "ผลเสีย" ว่าผลเสีย เช่น สมาธิสั้น นั้นเกิดขึ้นจริงในวงกว้างรึเปล่า
lewcpe.com , @wasonliw
ผมว่า สมาธิสั้นเกิดขึ้นได้จริงนะ เด็กที่กำลังโตแล้วมีข้อมูลมาอินพุตเยอะๆ ทำให้พัฒนาการสมองเปลี่ยนไป
ต่างประเทศเค้ารณรงค์ประมาณอย่าให้ลูกดูีทีวี
ต่างประเทศเท่าที่ผมอ่านงานวิจัย ปัญหาของทีวีคือไม่มีการ "โต้ตอบ" แต่ดึงความสนใจของเด็กได้ครับ เด็กเลยเลยเอาแต่ดูทีวีแต่ไม่โต้ตอบและเรียนรู้กับสิ่งรอบข้าง
กรณีของคอมพิวเตอร์ที่ต้องโต้ตอบ เท่าที่ผมอ่านเจอก็เป็นหัวข้อที่ต้องศึกษากันอยู่
lewcpe.com , @wasonliw
มีเนต แต่เข้าเนตไม่ได้ เพราะโรงเรียนขี้เหนียวเลือกโปรเนตบ้าน อิอิกำ
+1 ถึงอยากจะใช้ร่วมกับ 3G แต่ก็ไม่มีใครจ่ายให้เพื่อการศึกษาเด็ก
Coder | Designer | Thinker | Blogger
โครงการ One Laptop per Child (OLPC)ในประเทศไทยก็มีโรงเรียนนำร่องหลายโรงเรียนนะครับ เมื่อหลายปีก่อน สมัยคุณหญิง กษมา วรวรรณ เป็นเลขาธิการ สพฐ. เครื่องเขียวๆ จอ 7 นิ้ว แหล่งกำเนิดพลังงานจากการใช้มือหมุน ได้ทราบข่าวจากเพื่อนครูที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องว่า เครื่องส่วนใหญ่ใช้งานไม่ได้แล้ว เพราะแบตเตอรี่ไม่เก็บไฟ การปั่นพลังงานด้วยมือหมุนกระแสไม่พอในการประจุให้เต็มที่
ส่วนโครงการแท็ปเลตนี่นับเป็นโครงการผลาญงบรอบสอง ที่รอบแรกไม่มีแม้แต่ผลวิจัยการใช้งาน รอบนี้ก็คงจะทำนองเดียวกัน
ประเทศแถวนี้เค้าได้ทำวิจัย ก่อนจะตัดสินใจโครงการรับดับ พันกว่าล้านบ้างรึปล่าว แต่แค่พันกว่าล้าน เสกจากอากาศแป๊ปเดียวก็ได้แล้ว lol
ถ้าเสกจากอากาศได้ก็ขออนุโมทนาครับ ว่าแต่อย่าลืมเสียภาษีนะครับหมดเขต10เมษานี้ เดี๋ยวไอ้พวกนักกินเมืองจะไม่มีเงินไปผลาญเล่น สงสารเค้าครับ
ข่าวนี้รู้สึกคุณ nuntawat เขียนได้เยี่ยมมาก (จากที่ดีอยู่แล้ว) เลยขอล็อกอินมาชมเสียหน่อย
ส่วนเรื่องสมาธิสั้น ผมไม่ใช่เด็กแล้ว แต่รู้สึกว่ามีผลเหมือนกันนะ ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า
+1 "ส่วนเรื่องสมาธิสั้น ผมไม่ใช่เด็กแล้ว แต่รู้สึกว่ามีผลเหมือนกันนะ ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า"
อยากให้แจกเด็ก ป.4-6 มากกว่า จะได้ต่อยอดใน ม.ต้น ได้ เด็ก ป.1 น่าจะให้เรียนรู้กับสิ่งแวดล้อมประเภท เล่นหนังยาง โดดแตะ หมากเก็บ น่ะดีแล้ว เดี๋ยวมัวแต่จะจิ้มหน้าจอจนไม่ยอมทักทายเพื่อนๆ ในห้อง ยิ่งมาใหม่ๆ ทำอะไรไม่ถูกร้องไห้จ้ากเลย
+1
Coder | Designer | Thinker | Blogger