Makoto Kimura ประธานบริษัทนิคอนประกาศว่าบริษัทได้เปิดโรงงานผลิตกล้อง DSLR แห่งใหม่ขึ้นที่ประเทศลาว เพื่อปรับยุทธศาสตร์การผลิตและควบคุมต้นทุน โดยโรงงานแห่งนี้จะเริ่มเดินสายการผลิตในเดือนตุลาคมปีนี้
สำหรับโรงงานที่ประเทศลาวนี้จะรับผิดชอบการผลิต DSLR บางส่วนซึ่งปัจจุบันทำอยู่ในประเทศไทยที่จังหวัดอยุธยา ในช่วงเริ่มต้นจะมีพนักงานทั้งสิ้น 800 คน
ที่มา: นิคอน
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
พิษค่าแรง 300 บาทหรือความเสี่ยงจากน้ำท่วมใหญ่มากกว่ากันนะ
I need healing.
อาจจะทั้งคู่ :p
ค่าแรงน่ะ ปกติก็จ่ายกันมากกว่า 300 อยู่แล้ว
หลายคนยังสับสนอยู่สินะ ว่าค่าแรง 300 ทำโน่นทำนี่เสียหายเยอะแยะ
จริงๆแล้วเป็นอย่างไร ออกไปหาความรู้ของจริงข้างนอกจะเข้าใจ
ไม่ใช่อ่านข่าวจริงมั่งไม่จริงมั่ง หรือแม้แต่ข่าวปล่อยสร้างกระแส(เกินครึ่ง) จากพวก social ที่แชร์กันแบบมั่วๆจนแยกไม่ออก
ไม่เฉพาะแต่เรื่องนี้
อย่าคิดว่าคนอื่นจะอ่านน้อยกว่า ศึกษาหรือรับรู้เรื่องราวต่างๆ น้อยกว่าตนครับ
อย่าคิดหรือตัดสินว่าหลายๆ คนจะรับรู้ข้อมูลอะไรง่ายๆ เชื่อง่าย หูเบา ส่วนตนเองได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ชุดความรู้ของคนอื่นด้อยกว่าตนหมด ในเมื่อคุณก็ยังไม่รู้ภูมิพื้นหลังของแต่ละคน
ส่วนตัวผมเองก็ทราบว่าค่าแรงทุกวันนี้หลายสาขางานก็จ่ายเกิน 300 กันอยู่แล้ว แต่การขึ้นค่าแรงนั่นมันจำเป็นด้วยหรือว่าต้องกระทบในทางตรงเสมอไป ;)
เรื่องพวกนี้พูดไปก็เท่านั้น รอดูจากตัวเลข หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงดีกว่าครับ
ส่วนตัวสนับสนุนแนวคิดค่าแรงเสรีครับ ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกดีกว่าควบคุมขั้นต้นเท่ากันหมด
เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 1 ในหลาย ๆ เรื่องที่ปล่อยเสรีไม่ได้ครับ คิดว่าเป็นเพราะนายจ้างมีแนวโน้มที่จะให้ค่าแรงต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ครับ (ทุกประเทศในโลกมีกฏหมายค่าแรงขั้นต่ำทั้งหมดครับ ไม่มีประเทศไหนไม่มีกฏหมายนี้ เท่าที่ผมรู้)
สิงคโปร์ไม่มีกฏหมายค่าแรงขั้นต่ำ เท่าที่ทราบ
แต่ค่าแรงขั้นต่ำที่สิงคโปร์สูงที่สุดในอาเซียน
ประเทศที่ไม่มีกฏหมายค่าแรงขั้นต่ำได้คือต้องเป็นประเทศที่ขาดแรงงานไม่ได้จึงเกิดการแย่งงาน แถมใครมีฝีมือกว่าก็ยิ่งได้เปรียบกว่า ร้าน 1 กับ ร้าน 2 ก็แข่งกันหาคนมาทำงานแถมยิ่งชอบแบบทำงานยาวๆ มีความก้าวหน้าทางการงานให้ อีกอย่างร้านก็มีเงินไหลดีด้วย
จึงไม่ต้องมีกฏหมายค่าแรงขั้นต่ำก็ได้ค่าแรงดี แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณีนะเรื่องนี้แล้วแต่ประเทศนั้นๆ
แล้วที่คุณพูดมานี่ไปหาความรู้มาแล้วหรือยังครับ อย่างบริษัทผมก็เห็นต้องประชุมกันหลายรอบ บริษัทเองอาจจะไม่ได้กระทบตรงๆ แต่บางงานที่ outsource ค่าแรงระดับต่ำสุดเค้าต่ำกว่านั้นก็มีครับ พอปรับล่างสุดมันก็ต้องปรับไล่ขึ้นมาเป็นขั้นๆ อันนี้เรื่องจริงเพราะเห็นจริงๆ ไม่ใช่อ่านตาม social
ส่วนตัวไม่ได้คิดว่ามันกระทบเยอะจนต้องย้ายอะไรมากมายหรอก เพราะปัจจัยที่จะตั้งโรงงานที่ไทยมันไม่ได้มีแค่ค่าแรง แต่อย่าบอกว่าไม่กระทบครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เห็นดีไปหมดทุกอย่าง ไม่ต้องอ่านมากก็รู้ว่าสีอะไร
เอาเป็นว่าอ่านข่าว ควรอ่านให้ครบ ข่าวจริงข่าวเท็จแล้วจับทางให้ถูกครับ การเลือกเสพข่าวมันคือเลือกข้างทั้งที่ยังไม่ได้รู้ข้อเท็จจริง
แหม เก่งจังเลยนะครับ หวังว่าท่านก็คงเสพข่าวด้วยวิธีที่ท่านเขียนมา
โรงงานเค้าก็ไปตามค่าแรงต่ำน่ะ ถูกแล้ว บ้านเราจะโง่เง่าเป็นฐานผลิตให้เค้าใช้ค่าแรงราคาถูกของเราไปอีกกี่สิบปีครับท่าน
สำหรับหลายๆท่านข้างล่าง ผมอยากถามว่าโรงงานพวกท่าน ที่บอกว่ามีปัญหากันต้องประชุมร้อยแปดเมื่อค่าแรงขึ้นเนี่ย เอาเฉพาะที่ที่ท่านทำอยู่
กำไรปีละเท่าไหร่ ใครเป็นหุ้นใหญ่ มีเงินสด งบดุลขนาดไหน สถานะทางการเงินเป็นอย่างไร สัดส่วนกำไร มูลค่าตัวเลขต่างๆ ไปถึงเจ้าของเป็นใคร กระทบฐานการเงิน บ. ขนาดจะล้มเลยหรือไง หรือว่าหุ้นตกกำไรหดโบนัสเจ้านายหายเท่านั้น ?
โรงงานที่ผมดูอยู่ส่วนมากก็มีแผนปรับตัวกันทั้งนั้น ส่วนมากห่างไกลคำว่าขาดทุน ที่ป่าวประกาศว่ามันจะเจ๊ง ลองไปดูสิ ก็คือพวกที่ร่อแร่อยู่แล้ว ไม่ขึ้นค่าแรงอีกสักพักก็เจ๊ง
ย้ำว่า Nikon ขยายนะครับ ไม่ใช่ย้าย กลับไปอ่านอีกรอบ และเร็วๆนี้อีก 7-8 โรงที่ใหญ่กว่า Nikon แถวๆภาคกลางที่กำลังเตรียมการขยายไปแถวนี้ ผมพอรู้ละกันครับว่าไปที่นั่นเพราะอะไร ค่าแรงน่ะจิ้บจ้อย ไปถามสาวโรงงานที่นั่งบัตกรีของที่ท่านๆใช้กันอยู่ยังรู้เลยครับ
รวมไปถึงตัวเลขที่ผมมี (ผมมีเฉพาะ บ. ของญี่ปุ่น) มีโรงงานอีกนับร้อย ที่กำลังจะเข้ามา และขยายกำลังการผลิต พวกนี้ โง่เนอะ จะมากันทำไม ทั้งๆที่ค่าแรงแพ้งแพง ตั้ง 300 ต่อวันแน่ะ แหม่..นั่งคิดกันสักหน่อยไหมครับ
หรือว่ามันเป็นนโยบายที่มาจากพรรคยี้ที่พวกท่านเกลียดกัน ลองไปถามคนที่ได้ประโยชน์ดูสิครับ ในฐานนะที่ท่านไม่ได้เสียประโยชน์ อยากให้มองอย่างตรงไปตรงมา
ปล. ก่อนไป ขอถามสักนิด ว่าที่ตอบๆมานี่ ใครเป็นเจ้าของโรงงานจริงบ้าง เห็นเหมือนกระทบกันมากมาย จริงๆนะ
ถ้าใช้ตรรกะเดียวกัน
คุณเป็น สส.หรือครับถึงต้องออกมาปกป้องรัฐบาลขนาดนี้ หรือว่ามันเป็นเพราะนโยบายออกมาจากพรรคที่ท่านรักครับ ถึงต้องปกป้อง
ข้างบนนี่แซวแบบจิกกัดหนักนิดนึงนะครับ เนื้อหาอยู่ต่อไปนี้ครับ
บางทีการวิจารณ์มันก็อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล และข่าวสารน่ะครับ วิจารณ์แอปเปิล วิจารณ์กูเกิล ฯลฯ ยังวิจารณ์ได้ ไม่เห็นต้องเป็นเจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
อย่าง อิเล็กโทรลักซ์ที่ระยองก็เลิกจ้างพนักงานที่ประท้วงเพื่อขอเพิ่มแรงค่าแรง นะครับ (ซึ่งไม่น่าเกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างอย่างเดียวหรอก) อิเล็กทรอลักซ์บอกว่าจ้างไม่ไหวหรอก 300 บาท
ที่ผมจะบอกคือ เราเห็นข่าว เราได้รับข้อมูลว่ามันมีโรงงาน ร้าน ห้างที่ได้รับผลกระทบจริงๆ ครับ แต่ก็อย่างที่คุณพูด ... ส่วนมากธุรกิจเหล่านี้ฐานไม่แข็งอยู่แล้วก็เลยล้ม แต่จะเอาไปเปรียบกับโรงงานใหญ่ๆ มันก็คงไม่เหมาะครับ มันคนละขนาดกัน เงินทุนมันก็หนาบางไม่เท่ากันด้วย
สุดท้าย ... จะบอกว่าเว็บนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นกลางครับ แต่ความไม่เป็นกลางก็ไม่ใช่เอียงกะเท่เร่ปิดหูปิดตา รับแต่ข่าวที่สนับสนุนฝ่ายที่ตัวเองชอบครับ
SME ก็มีปิดไปหลายเจ้าเพราะรับกระแส 300 บาทไม่ไหว (แนะนำอีกทีว่าอย่าเอา SME ไปเทียบกับ Nikon)
ยอมรับเถอะครับ ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบก็มี แต่ยังไงๆ ผมมองว่า 300 บาทเป็นเรื่องที่ดี และผมก็สนับสนุนครับ
ผมอยากให้หลายท่าน เลิกมองตื้นๆว่า การที่คนหนึ่งเห็นด้วยกับนโยบายใดๆของพรรคใดๆนั้น มันต้องเป็นขี้ข้าพรรคนั้นแน่ๆ
ไม่งั้นผมชอบพรรคนึง ต้องด่านโยบายของพรรคตรงข้ามทุกอย่างทั้งๆที่มันดี ถูกแล้วหรือครับ ?
อยากจะบอกว่าโรงงานที่ได้รับผลกระทบ ล้วนเป็นโรงงานใหญ่ ที่ใช้แรงงานเข้มข้นทั้งสิ้น ลองไปหาตัวเลขดูครับ ว่ามีโรงงานระดับต่ำกว่า 100 คน กี่โรงที่แจ้งปัญหา รวมไปถึง SME ด้วย
แต่ถ้าดูแค่ข้อมูลที่นักข่าวเอามาเขียน รวมๆดูให้เหมือนกับว่ามาก เพื่อความว้าวของข่าว และมีเนื้อที่ๆจำกัด ไม่พอจะอธิบายที่มาที่ไปต่างๆ มันก็อาจจะเป็นหนังคนละม้วน
ผมไม่เคยไม่ยอมรับว่ามีผล แต่ในกรณนี้ ไม่ใช่ผลของเรื่องนี้ เหมือนที่หลายๆคนโยงเข้ากันเป็นตุเป็นตะ
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 ก็คงเป็น "เหตุผลอย่างหนึ่ง" ที่ทำให้เค้าออกไป แต่ความจริงคือ นิคอน เริ่มย้ายไปผลิตที่ลาวเมื่อปีที่แล้วหลังน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นการกระจายความเสี่ยงมากกว่า
พรรคที่กักน้ำในหน้าแล้งไว้ปลายสมัยตนเองจนมาท่วมในสมัยนี้ และพวกที่บอกว่าบ้านกูท้วมมึงไม่มีสิทธกั้นน้ำไม่ให้โรงงานน้ำท้วมเพราะทำให้น้ำที่บ้านแห้งช้าก็น่าจะผิดด้วย
sme อย่างผมวันนี้ก็ยังจ้างลูกน้องอยู่ที่เดือนละ 4500 (ตกวันละ 150) แต่ใส่ 9000 ลงบัญชีก็ยังอยู่ดี
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
โอ้ว พระเจ้าช่วยมายก๊อด พรรคที่ "กักน้ำท่วม" โอ้วพระเจ้าช่วย เหลือเชื่อเลยเว้ยยย
https://www.youtube.com/watch?v=7b52yiFo4FI
ตั้งแต่นาที่ 32 เป็นต้นไปครับ....หัวหน้าพรรคเค้าตอบให้คุณแล้วนะ
แต่ก็อธิบาย "น้ำท้วมปลอม" ที่ผู้ว่ากทม. ที่เอาถุงทรายไปปิดท่อระบายน้ำในปีถัดไปใด้นะครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เป็นเพราะความจริงมันเป็นอย่างนั้นครับ คุณควรมองข้ามทุกอย่าง มุ่งเข้าสู่ข้อเท็จจริงได้แล้วครับ ผมเห็นด้วยกับความดิดเห็นคุณ lengzat
ตรรกะคล้ายๆ กับไอพวกบอกว่า เอาน้ำมันราดกระเพรา กินเลยอ่ะ
น้ำมันจะขึ้น มันไปเกี่ยวอะไรกับ ข้าวกระเพราะหมูสับ
คล้ายมวกๆ
จาก Youtube เท่าทีฟังดูเหมือนปัญหามันจะอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนรัฐบาล ว่ารัฐบาลเก่าคาดว่าจะแล้ง ก็เลยให้เก็บน้ำไว้ แต่พอดีช่วงเปลี่ยนรัฐบาลมันเริ่มมีพายุเข้าแต่น่าจะยังไม่มีใครเข้าไปวิเคราะห์และสั่งพร่องน้ำ ก็เลยบานปลาย ในคลิปเหมือนจะแย้งกันว่ารัฐบาลใหม่เริ่มงานวันไหนกันแน่ หึหึ
ประเด็นน้ำท่วม ห้องหว้ากอเวบโลกสวยเคยวิเคราะห์ด้วยตัวเลขการปล่อยน้ำแล้ว พบว่าเป็นปกติ แต่เป็นเพราะว่าโมเดลการปล่อยน้ำไม่ทันสมัยพอครับ เลยปล่อยน้ำออกไม่ทันท่วงที เมื่อเจอปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติจากพายุ5ลูกติดๆกัน(มากที่สุดในรอบ50ปี)
ที่มันมีปัญหาเพราะการจ้องจับผิดจากคนละขั้วสี ต่างฝ่ายต่างโทษกันนั่นแหละ ฝั่งนึงก็เอาตัวเลขการปล่อยน้ำน้อยๆมาให้ดูแล้วหาว่าอีกฝ่ายแกล้งปล่อยน้ำช้าจะได้ท่วม โทษไปเรื่องโง่ฉลาดนู่น อีกฝ่ายก็แฉกลับว่าปล่อยน้ำน้อยมาตั้งแต่รบ.ก่อนแล้วเพิ่งมาเร่งปล่อยตอนรบ.ใหม่เข้าทำงานตะหาก โดนรบ.ก่อนวางยา ทั้งๆที่ถ้ามองตามข้อเท็จจริง ตามตัวเลขการปล่อยน้ำจากเขื่อนย้อนหลังสิบปีก็ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่ที่มันท่วมเกินคาดหมาย เพราะปริมาณน้ำมันมากเกินไปจริงๆ ถ้าเอาตามตัวเลขคือปริมาณฝนตกเหนือเขื่อนมากที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้เลย(50ปี)รวมไปถึงการที่พายุเข้าติดกัน5ลูกก็ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์เช่นกัน ทำให้โมเดลการปล่อยน้ำที่เราใช้ต่อเนื่องกันมานาน มันใช้ไม่ได้ผลนั่นเอง
ส่วนจะโทษใคร ก็คงต้องโทษกรมชลฯ เพราะดูแลโดยตรงแล้วแก้ไขไม่ทันท่วงที แต่ก็โทษไม่เต็มปากเพราะมันเป็นภัยพิบัติที่มากกว่าที่เคยบันทึกไว้ แต่ถ้าจะโทษรบ.ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ รมต.ก็คนเดียวกันครับ ย้ำว่าคนเดียวกัน คนจากพรรคบรรหารบุรี ด่าฝ่ายไหนก็กระทบกันหมดนั่นแหละ มีแต่พวกหมกมุ่นการเมือง ที่ไม่ยอมดูตัวเลขข้อเท็จจริงกัน
+1
ถ้าเป็นพนักงานไลน์การผลิตทั่วๆ ไป เช่น ผลิตชิ้นส่วนรถ หรือนำของลงกล่อง หรือบรรจุสินค้าลงบรรจุภัณฑ์ ตัดแต่งวัตถุดิบ (เช่นตัดกุ้ง ตัดปลา ปลาหมึก ฯลฯ)
ในช่วงก่อนหน้า - ต้นปี 2012 งานผลิตสินค้าต้นทางพวกนี้ค่าแรงจะอยู่ที่ประมาณ 180 - 250 บาทต่อวันครับ เช่น บริษัทในเครือซัมมิทฯ , บริษัทอะไรสักอย่างที่อยู่ในลาซาล, บริษัทรองเท้า, บริษัทส่งออกอาหาร ฯลฯ พอดีว่าบ้านผมอยู่สมุทรปราการครับ ผ่านไปมาเห็นป้ายเสมอ
สมมติว่าของเดิม 250 บาท ของใหม่ 300 บาท นั่นหมายถึงรายจ่ายมากขึ้น 20% ครับ แล้วในบริษัทผู้ผลิตนั้น พนักงานส่วนมากก็จะเป็นพนักงานในไลน์ผลิต
ผมว่ามันก็สะเทือนเหมือนกันนะ ... รายจ่ายเพิ่ม 20% เนี่ยครับ
บริษัทผมมี 1,000 คน จาก 175 เป็น 300 จ่ายเพิ่ม 3,250,000 ต่อเดือนยังไม่รวมโอที ขณะที่ผลกำไรประมาณ 5 ล้านต่อเดือน ไหนจะเสี่ยงเรื่องสินค้าเคลมกลับอีก คิดว่าจะกระทบไหมครับ
คิดเลขผิด ขอลบ reply นะครับ =="
งงเลขนิดนึงครับ (300-175)*1000 = 125,000 ต่อเดือน ที่สามล้านกว่าน่าจะเป็นต่อปีมากกว่ามั้งครับ ถ้ากำไร 5 ล้านต่อปี * 12 = ราวๆ 60 ล้าน ผมว่าเพิ่มมาสามล้านก็กระทบครับ แต่ก็อาจจะไม่เยอะขนาด กำไรห้าล้าน จ่ายเพิ่มสามล้านนะ
คุณลืมคูณจำนวนวันใน 1 เดือนครับ (300-175)x1000x30 = 3,750,000 ต่อเดือนนะครับ
จริงๆ แล้วเดือนนึงมีวันทำงานน่าจะประมาณ 20 วัน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็น (300-175)x1000x30 = 2,500,000
บริษัททั่วไปเขาหยุดแค่วันเดียวใน 1 อาทิตย์ครับ
ดั้งนั้นจำนวนวันทำงานคือ 30-4 = 26 วัน
เงินสุทธิต่อเดือนเลยเป็นตามที่ เค้าคิดมาให้ดูครับผม
อ้างอิงจากข้อมูล http://www.lm-south.org/content/salary ผมว่าไม่ใช่น่ะท่านคิดแบบเด็กป.3 เลยเอาง่ายๆน่ะครับถ้าจ่ายเกินสามร้อยเป็นปกติอยู่แล้วจะมีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำสามร้อยมาทำซากอ้อยอะไรครับ
เข้ามาฮาตรงซากอ้อยนี่แหละ
+1 กะลังอ่านเครียดๆมาเลย ฮาเลย
นิคอนจ่ายสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้วครับ
บ้านผมก็ทำกิจการ ลูกน้องก็ปรับเงินขึ้นตาม แน่นอนว่าค่าวัตถุดิบก็ปรับขึ้นตามเหมือนกัน ถ้าระดับล่างปรับแล้วยังไงมันก็กระทบเพราะระดับกลางเค้าก็ต้องเอาวัตถุดิบมาจากชั้นที่อยู่ใต้เค้า มันกระทบไปถึงทุกคนแน่นอน คิดเหรอว่าระดับล่างที่เค้าเคยจ่ายเงิน 200 บาทปรับขึ้นเป็น 300 แล้วค่าของของเค้าที่ทำขายจะไม่ปรับขึ้น??
อย่าหลับหูหลับตาเชียร์จนไม่มองถึงความจริงเลยครับ
โรงงานผม พวกพนักงานชั่วคราวปรับขึ้นมาจะเงินได้เกือบเท่าพวกพนักงานประจำแล้วครับ
พนักงานประจำดีแค่ว่ามีค่าโอทีวันหยุดเลยต่างไปหน่อย
พวกพนักงานประจำบางส่วนที่เกิน 9,000 บาทต่อเดือนทาง
บ.ยังไม่มีทีท่าว่าจะปรับไรให้เลย ผู้บริหารระดับสูงก็ยังไม่มีนโยบายชัดเจนออกมา
ผู้ดูแลระดับล่างอย่างผมปวดหัวจะตาย คลื่นใต้น้ำตอนนี้ก็สะสมอยู่เรื่อยๆ
ไม่รู้หมดหีบนี้ จะมีพนักงานออกไปอีกกี่คน
จ่ายเกินอยู่แล้วใช้ครับ แต่ต้องมองทั้งระบบ เช่น คนที่มาจากต่างจังหวัด มาทำงานที่อยุธยา เนี้ย สมมุติ บ้านเค้าอยุ่หนองคายค่าแรง 220 แต่ที่โรงงานnikon ให้ 400 ผมว่า คนงานบางคนก็อยกกลับไปทำงานที่บ้านที่ได้ 300 นะ เพราะงั้น nikon อาจจะต้องปรับค่าแรง จาก 400 ให้มากขึ้นไปอีก พอปรับเงินระะดับแรงงานขั้นต่ำขึ้นไปแล้ว พวกที่สูงขึ้นมาหล่ะ กต้องปรับให้หมด ตามลำดับ แล้วถ้าเปิด aec เสร็จก็จะตัดปัญหาเรื่องภาษีได้อีก แถมได้ต้นทุนที่ถูก แล้วถ้าทำระบบขนส่เชื่อมต่อกันหมดหล่ะ ที่าำคัญประเทศลาวตอนนี้โตแบบก้าวกระโดมากๆ
กรณีของนิคอน เคยอ่านเจอว่า จ่ายค่าแรงเพิ่ม 30 บาททั้งโรงงานครับ (รอพนักงานนิคอนมาก่อน)
ดังนั้นค่าแรงนี่มีส่วนนะ
ไม่มีอะไร 100% ถึงจะไม่ร้อยแต่ก็มีส่วน ถึง 1% ก็มีส่วน "Butterfly Effect"
การพูดแบบนี้ก็โดนผลกระทบจาก Social ด้วย ถึง Social จะพูดเกินจริงแต่การที่คัดค้านจนเกิดอคติทำให้ไม่รับความจริงก็เกินไป
ทุกอย่างมีทั้งถูกและผิด แต่ถ้าอคติแบบสุดๆ เกินไปก็เป็นการบิดเบือนความจริงด้วยเช่นกัน
ออกตัวแรงเชียวครับ คนอื่นมันโง่ มันไม่อ่านข่าวสินะครับ คุณอ่านข่าวจริงอยู่คนเดียว ฉลาดเป็นคนเดียวสินะครับ..
May the Force Close be with you. || @nuttyi
ขอใช้พื้นที่นิดนึงครับ คนในหมู่บ้านผมฟังข่าวช่องเสื้อแดงแล้วก็เชื่อทุกอย่างนะ ทำไมถึงเชื่อ?
"ก็เค้าบอกมาอย่างนั้นน่ะสิ ..." คือจะบอกว่าบางทีเค้าก็เลิกเชื่อที่มาของข่าวด้วยครับ
(ผมไม่ได้ประชดคุณ lengzat นะครับ กลัวเข้าใจผิด)
ตกลงหวังกำไรที่ ตัวสินค้า หรือ ลูกจ้าง
ถ้าถามเอาสะใจ มันจะไม่ก่อประโยชน์อะไรเลยครับ
กำไรคือ ราคาขาย - ต้นทุน ฉะนั้นอะไรที่เป็นต้นทุนมันก็มีผลกับกำไรทั้งนั้นแหละครับ
ถ้าไม่คิดจากค่าจ้าง ไปเอากำไรที่ตัวสินค้า ต้องตั้งราคาแพงขึ้น กลายเป็นไม่มีคนซื้อ เจ๊ง คนตกงานอีก
นายจ้างลูกจ้างยังไงก็ต้องเกื้อกูลกัน ค่าจ้างสูงเกินก็ขาดทุน ค่าจ้างต่ำเกินลูกน้องก็อยู่ไม่ได้ครับ
แอบประชดหน่ะครับ เถียงกันอยู่ได้ ฮ่าๆ
ปกติโรงงานทอผ้า แถวราชบุรี ยังไม่ถึงสามร้อยเลยครับ กะนึงส่วนตัว 300 นี่ทำเสียหายเยอะ มากครับ พวกรับเหมา บ. เพื่อนๆ ผมนี่งานเข้ากันเป็นแถว หาต่างด้าว มาทำแทนกันควักเลย รายละเอียด มันเยอะ นะครับค่าแรงนี่ ว่างๆ ลองออกต่างจังหวัดดูป้ายรับงาน ตามโรงงานบ้างนะฮะ อย่าเอาแต่อ่าน ดูความเป็นจริง จริงๆ ข้างนอกด้วย หรือดูเรทค่าแรงงานสายอื่นบ้าง
Ton-Or
สำหรับเรื่องค่าแรง ผมมีคำถามที่จะถามทุกคน 1 คำถาม แต่ก่อนอื่นขอให้ทุกคนลืมจุดยืนตัวเองให้หมด อย่ามองเรื่องนี้ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง คำถามคือ ถ้าคุณเป็นนายกค่าแรงขั้นต่ำควรเป็นเท่าไร เพราะอะไร
เป็นคำถามที่ดีครับสำหรับผมคิดว่าประมาณ 250 - 300 บาท น่าจะโอเค
สิ่งที่จะชี้ให้เห็นกับคำถามนี้คือ ที่ความเห็นไม่ตรงกันข้างบนนี้ทั้งหมด เกิดจากมองคนละมุม บางคนมองจากมุนนายจ้าง บางคนมองจากมุมลูกจ้าง แต่ที่ถูกจริง ๆ ทุกคนควรมองจากมุม นายกรัฐมาตรี มองจากมุมคนบริหารประเทศนี้ว่าอะไรดีที่สุดกับประเทศ (ผมเชื่อว่าคำตอบของทุกคนน่าจะใกล้เคียงกัน) และถ้าคำตอบคุณใกล้เคียงกับสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ แปลว่ารัฐบาลทำมาถูกทางแล้ว แต่ถ้าไม่ตรงแปลว่ารัฐบาลไปผิดทาง (ก็ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งต่อไป)
คำตอบของผม ถ้ามองจากมุมบริหาร ค่าแรงขั้นต่ำควรจะ มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (เพราะมันหมายถึงทุกคนมีรายได้มากขึ้น คนจนลดลง อาชญากรรมลดลง กำลังซื้อในประเทศมากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น) แต่ต้องมองเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย (ถ้าค่าแรงเรามากเกินไป จะเกิดปัญหาแรงงานไหลเข้า) ซึ่งในตอนนี้ ค่าแรง 300 ถ้าเทียบเราเป็นรอง มาเล สิงคโปร แค่ 2 ประเทศผมเห็นว่าก็เหมาะสมดี (แนวโน้ม จำเป็นต้องขึ้นค่าแรงอีกครับ เพราะมีผลดีมากกว่าผลเสีย (เพื่อให้คนในประเทศรวยขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำต้องขึ้น มากกว่าเงินเฟ้อ) แต่สิ่งที่ต้องทำคือ รอให้ทั้งบริษัทภายในประเทศ และ ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ ปรับตัวให้ทันก่อนครับ) ซึ่งถ้าเทียบค่าแรงประเทศเรา กับ ประเทศอื่นในโลกแล้ว ค่าแรงบ้านเรา อยู่ในระดับกลางถึงต่ำครับ
คำถามดีครับ ตอบอันนี้ดีกว่า ไม่ไปตอบข้างบนละ :P
ผมขอตอบกลับแบบแหวกแนวจากคำถามนิดนึงครับ ผมจะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าครองชีพในท้องที่นั้น ๆ สมมติ (ย้ำว่าสมมติ ไปคิดจริงจะต้องมีค่าอะไรยิบย่อยกว่านี้เยอะ) คำนวณง่าย ๆ จากราคาข้าวจานหนึ่ง (ที่ราคาขายทั่ว ๆ ไป) เช่น กทม.ข้าวจานละ 30 บาท * สามมื้อ * 3 เท่า (ให้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ จริง ๆ จะมาคูณแบบนี้ไม่ถูก แต่ผมแค่สมมติเลยคิดง่าย ๆ) ก็ประมาณ 280 บาท
*edit ลืมไป เขาไม่ได้ทำงานทุกวัน บวกเพิ่มให้เป็นเลขกลม ๆ 300 บาทเท่าปัจจุบันก็แล้วกัน (ย้ำว่าสมมตินะครับสมมติ)
ดังนั้นแต่ละที่จะต่างมีค่าแรงขั้นต่ำกันไป
ทำไมต้องต่างกัน? - ก็ค่าครองชีพมันต่างกัน บ้านผม จังหวัดนึงบ้านนอก ๆ แถวภาคเหนือ ข้าวจานนึง 20 บาท ยิ่งถ้าไปตลาดสด ซื้ออะไรมาทำเอง หารทั้งครอบครัวตกหัวละไม่เกิน 15 บาทต่อมื้อ (ยกเว้นจะซัดโฮก ฉลองอะไรกัน)
ปกติเขาได้ 120 - 150 เขาก็อยู่ได้สบาย อย่านึกถึงแต่โรงงานนะครับ ร้านโชว์ห่วย ตลาดสด ร้านตัดผม ร้านเสริมสวย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ มันก็ต้องจ้างลูกจ้างกันทั้งนั้น ค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเท่ากันทั้งประเทศมันต้องเดือดร้อนอยู่แล้ว อย่าคิดว่าอ้าว ร้านพวกนี้มันก้ขายของราคาเท่ากันกับที่กทม.ไม่ใช่เหรอ ทั้งใช่และไม่ใช่ครับ สินค้า-บริการบางอย่างถูกกว่าอยู่แล้ว (เช่นร้านเสริมสวย) สินค้า-บริการบางอย่างราคาเท่ากันก็จริง แต่เขาไม่ได้ขายได้เยอะแยะขนาดในกรุง นาน ๆ จะขายได้ เพราะความหนาแน่นของประชากรมันต่างกัน (มองอีกแง่ คนงานที่จ้างมาก้ไม่ได้ทำงานหนักซะมากมาย ว่างซะเยอะ)
สรุปคือถ้าเป็นผม ผมจะประกาศค่าแรงขั้นต่ำให้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับค่าครองชีพในท้องที่นั้น ๆ ครับ ขั้นต้นอาจประกาศเป็นจังหวัด ถ้าทำได้ก็ประกาศเป็นอำเภอ ตำบล ไปเลย ส่วนเขตอุตสาหกรรมก็เป็นเขตพิเศษไปเลย ประกาศกันมาตั้งแต่ต้น
คิดเห็นอย่างไรโปรดชี้แนะครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เห็นด้วยกับความคิดเห็นคุณครับ แต่คุณกำลังแก้ปัญหาบนปัญหาที่ 2 คือความแตกต่างของค่าครองชีพในเมือง กับต่างจังหวัด (เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ทุกคนคงชิน) คำถามใหม่คือ ควรมั้ยที่จะทำให้ค่าครองชีพของทั้งประเทศอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน และถ้าคำตอบคือควร (ผมเชื่อว่า คำตอบก็คือควร) คำถามใหม่คือ จะทำยังไงให้มันเป็นอย่างนั้น
อาจดูแปลกปยกไปมากนะครับ แต่คำตอบของผมคือ "ไม่ควร" ครับ
๕๕๕ ผมรู้ครับ ผมประหลาดเอามาก ๆ แต่ผมก็มีเหตุผลนะ ผมเชื่ออย่างยิ่งยวดว่าความเป็นไปได้ที่จะทำให้เมืองทุกเมืองเจริญเท่ากัน (ในแง่เทคโนโลยี สิ่งปลูกสร้าง หรือสภาพเศรษฐกิจ) มันเข้าใกล้ศูนย์เอามาก ๆ ดังนั้นเราจะไปพยายามทำมันทำไมกัน?
เอ่อ อย่าเพิ่งด่าผมนะครับ ลองอ่านดูจนจบก่อน คือผมมีความคิดที่ว่า แม้เราไม่สามารถทำให้ทุกที่เจริญเท่ากันได้ แต่เราก็ควรกระจายความเจริญไปเป็นจุด ๆ กระจายกันไปให้ทั่วถึงกัน เช่นอย่างน้อยภูมิภาคละสามสี่จุด แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่ มันกระจุดอยู่สามสี่จุดทั้งประเทศ แล้วเราดันเอามาตรฐานสามสี่จุดนั่นมาตัดสินทั้งประเทศ มันก็เลยซวยกันไปตามกันแบบนี้ (ไม่ได้หมายถึงไม่ดีนะ แต่มันเปลี่ยนปุบปับเกินไป) ผมคิดว่าสิ่งแรกที่ควรทำคือกระจายความเจริญออกไป ปัญหาหลายอย่างก็จะค่อย ๆ คลี่คลาย ค่าครองชีพยังไงก็ไม่มีทางให้มันเท่ากันได้เพราะความเจริญมันไม่เท่ากัน
ทีนี้คำถามคือค่าครองชีพมันสะท้อนคุณภาพชีวิตของผู้คนจริง ๆ หรือ? ผมมันบ้าสุด ๆ ครับ อุดมคติมาก ๆ ๕๕๕ ผมเลยคิดว่าไม่ ผมว่าเงินเดือนเยอะมันไม่ทำให้เรามีความสุขเสมอไปหรอก แค่ไม่น้อยเกินไปก็สร้างความสุขได้แล้ว (ถึงต้องมีค่าแรงขั้นต่ำให้ไม่ถูกนายจ้างเอาเปรียบเกินไป) และความไม่เจริญบางทีก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งนะ ผมชอบบ้านนอก ผมอยู่บ้านนนอก ผมชอบเที่ยวบ้านนอก ผมเซ็งมากเวลาไปเที่ยวที่ท่องเที่ยวดัง ๆ ข้าวของแพงชะมัดทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะเป็น บ้านผมกำลังจะเป็นแบบนั้น ทั้ง ๆ ที่ข้าวของทุกอย่างเคยถูก ตอนนี้แพงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีท่าจะหยุดเสียด้วยสิ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "ความเจริญ" นี่แหละเข้ามา คนมา (เที่ยว) เยอะ ราคาของก็แพงขึ้นตามมา (หวังฟันกำไรกัน เริ่มทำข้าวของให้ดูพรีเมี่ยม ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วใส้ในมันอันเดิม)
ฟังดูเพ้อฝันแต่ผมก็พยายามทำสวนทางกับกระแสทุนนิยมอยู่ และในขณะเดียวกันก็พยายามชักจูงให้คนรอบข้างเห็นคุณค่าของสิ่งอื่นมากกว่าเงินไปพร้อมกัน
แน่นอนว่าแนวคิดบ้า ๆ ของผมมันเอาไปใช้กับรัฐบาลไหนก็ไม่ได้ เพราะคงโดนด่ากระจุย ๕๕๕ อันนี้ผมยอมรับ เพราะเขาดูแต่ตัวเลขเศรษฐกิจ ไม่ค่อยสนใจดัชนีความสุข (ซึ่งไม่รู้ว่าวัดได้จริง ๆ หรือเปล่า?)
/me เลิกเพ้อแล้วไปนอนซะ!!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
การแก้ปัญหาแบบสุดโต่งมีแต่จะยิ่งก่อปัญหา.. แม้การทำให้แต่ละที่เจริญเท่ากันนั้นแสนยาก และคงไม่เหมาะที่ค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละที่จะเท่ากัน แต่นั้นไม่ใช่เหตุให้สรุปว่างั้นควรปล่อยให้ค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละที่มันเสรีไปเลย เมื่อบางที่มันเฟ้อมันยากที่จะไปปรับลดเว้นมันจะฝ่อไปเอง ถ้ามันไม่ฝ่อทางแก้นึงคือไปดันให้ที่อื่นขึ้นตาม ไม่งั้นการกระจายประชากรอาจมีปัญหาแล้วพลอยสร้างปัญหาอื่นๆ ที่หนักกว่าตามมา
และเท่าที่เข้าใจ.. การปรับ 300 ทั้งประเทศโดยหลักแล้วไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาการกระจายประชากร ทว่าเพื่อแค่ให้ไม่ไปขยายปัญหาที่มีอยู่เดิม อาจช่วย reset ปัญหาฐานค่าจ้างของเดิมได้บ้าง แต่มาตรการนี้อย่างเดียวมันช่วยแก้ปัญหาการกระจายประชากรไม่ได้ เพราะเริ่มมีบ้างแล้วที่บางแห่งไม่ใช่ปรับแค่ 300 แต่ปรับขึ้นไป 300 กว่าบางแห่ง 400 กว่า ซึ่งอาจปรับขึ้นอีกเพื่อดึงคนกลับเข้ามาใหม่หากยังหาคนไม่ได้ (ส่วนรายที่เจ๊งเพราะปรับค่าจ้างไม่ได้เพราะปรับต้นทุนไม่ได้ กรณีนี้นี่อีกเรื่องนึง)
ดังนั้นส่วนตัวคิดว่าควรต้องปรับแน่ๆ เพราะค่าจ้างขั้นต่ำมันปรับน้อยกว่าเงินเฟ้อไปเยอะ และเมื่อปรับต้องปรับเท่ากันทั้งประเทศแล้วกลไกจะทำให้แต่ละที่ไปปรับฐานที่เหมาะสมด้วยตัวเองกันต่ออีกที.. เหลือค้างแค่ว่าควรปรับไปที่ตัวเลขเท่าไหร่ ควรวางเฟสการปรับยังไง
อีกเรื่องคือเมื่อทำอะไรย่อมมีผลดีผลเสียต่อแต่ละคนมากบ้างน้อยบ้าง แต่จะป้องกันบรรเทาผู้ที่จะได้รับผลเสียอย่างไร ที่แน่ๆ คือคงยากที่จะหาแนวทางที่ทุกคนคิดว่า "เสมอภาค" เพราะ factor มีเยอะแถมแต่ละ factor นี่แต่ละคนคง weight ไม่เท่ากัน (ดังนั้นแต่ละคนคงต้องยืดหยุ่นบ้างแม้จะคิดว่าได้ผลดีน้อยกว่าคนอื่นหรือได้ผลเสียในระดับนึง เพราะคงยากที่จะเปลี่ยนอะไรแล้วแต่ละคนได้ผลอย่าง "เสมอภาค" แบบอุดมคติ หากไม่ยืดหยุ่นไม่ปรับตัวกันเลยนี่คงเปลี่ยนไรยาก ใครที่ไม่ปรับตัวเลยเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไงคงมีแต่ตาย)
การคิดแบบไม่สุดโต่งนี่อาจจะคิดยากเข้าใจยาก.. แต่หากหาจุดสมดุลได้ ผลน่าจะยั่งยืนกว่า :?
(ตอบคุณ tontpong) ผมถามคำถามให้คุณแก้ปัญหาในฐานะ นายกรัฐมนตรี หรือ คุณมีอำนาจบริหารงาน คุณจะแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมยังไง (ทุกคนรู้ปัญหาที่คุณพูดทั้งหมดนั่นแหละครับ) และสิ่งที่คุณควรจะทำหลังจากนี้ คือ หาคำตอบให้ตัวเอง ว่าถ้าคุณเป็นนายก จะทำยังไง (ไม่ใช่หาแต่คำถาม อันนู้นสุดโต่ง อันโน้นยากทำไม่ได้ อันนี้ผลไม่ยั่งยืน) คุณจะทำยังไง ก็บอกมา (ถ้าคุณคิดในมุนนี้ เลิกคิดแต่วิพากวิจารณ์ ผมรับรองว่า คำตอบของคุณ ไม่ต่างจากของผมเท่าไรหรอก เพราะทางที่จะทำให้เกิดผล มันมีอยู่ไม่กี่ทางหรอก) เอาง่าย ๆ เลย คือ คุณตอบมาก่อนว่า ถ้าคุณเป็นนายก ค่าแรงขั้นต่ำควรเป็นเท่าไร เพราะอะไร และมันจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศนี้ได้มั้ย ?
ผมตอบท้วงคุณ rookie ครับ.. แต่หาก branch นี้คือให้แต่ละคนตอบคุณ leonoinoi แล้วคุณ leonoinoi จะตอบกลับแบบ 1:1 นี่ อันนี้ผมขออภัยละกันที่ไม่เข้าใจหรือเผลออ่านข้ามส่วนที่ระบุกฎเอาไว้
แต่หากให้ตอบคุณ leonoinoi นี่ผมคงตอบเช่นนั้นอยู่นี่.. เพราะจากข่าวที่ผ่านหูผ่านตามาบ้าง คิดว่าหลายคนยังไม่เข้าใจเรื่องทำไมต้องบังคับใช้เหมือนกันทั้งประเทศ มีหลายข่าวหลายครั้งหลายคนที่ยกประเดนนี้มา (แต่ขอไม่ไปคุ้ยเอามายันละกัน เว้นจะว่างและอารมณ์อยากมีส่วนร่วมแรงกล้ากว่านี้ ซึ่งหากคุณ leonoinoi คิดว่าทุกคนเข้าใจเหตุที่ต้องบังคับใช้ทั้งประเทศกันอยู่แล้ว และคิดว่าผมนั่งเขียนเอาว่าบางคนยังไม่เข้าใจ ให้ถือตามที่คุณ leonoinoi คิดละกัน)
ถ้าผมอยู่ในฐานะผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจ ผมคงไม่ปราดเปรื่องขนาดที่จะมีหรือสามารถหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เอง แต่คงต้องให้เลือกคนเลือกทีมมาช่วยรวบรวมข้อมูลช่วยประเมินตัวเลขมาให้หลายตัวพร้อมข้อดีข้อเสียของเลขแต่ละตัว ไม่ใช่อยู่ๆ เลข 300 หรือเลขตัวอื่นจะสรุปออกมาได้ด้วยคำอธิบายไม่กี่ย่อหน้า.. สิ่งที่จะทำเพื่อตัดสินใจคือเลือกให้น้ำหนักกับข้อดีข้อเสียต่างๆ ซึ่งข้อมูลพวกนั้นผมไม่มี ดังนั้นให้ตอบว่าตัวเลขควรมีค่าเท่าไหร่คงตอบให้ไม่ได้ ตอบไปคือนั่งเทียนแน่นอน ที่พอทำได้คือวางแนวทางการตัดสินใจและสรุปว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบ พร้อมทั้งเลือกตัดปัจจัยบางตัวที่คิดว่าผมเข้าใจอยู่พอตัว ส่วนปัจจัยที่ผมไม่มีข้อมูลพอคือที่มาของคำถามที่ทิ้งเอาไว้
ในอีก reply ของคุณ leonoinoi มันช่วยยันอยู่แล้วว่ายากที่ตอบแบบสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ เพราะ reply นั้นโยงไปเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอีกต่อนึง.. และจากข่าวยังมีเรื่องโครงสร้างภาษีอีก (ทั้งภาษีรายได้ภาษีนำเข้าหรือการลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวกับ คชจ ในการพัฒนาบุคคลเครื่องไม้เครื่องมือ) ไหนจะเรื่องรายได้ซึ่งต้องไปดูอีกหลายเรื่องด้วยถึงจะตอบได้ว่ารายได้ควรมีค่าตัวเลขเท่าไร (เช่น เรื่องสวัสดิการ เรื่องการควบคุมราคาสินค้าต่างๆ)
จาก ตย คร่าวๆ นี่ยาวละกว่าจะอธิบายได้หมด.. ให้ตอบตัวเลขไปมันคงไม่ช่วยอะไร ที่จวบจนตอนนี้ในสังคมยังเถียงกันไม่จบนี่ เพราะต่างคนต่างมีตัวเลขในใจที่อิงจากข้อมูลที่แต่ละคนต่างแยกเลือกเอาแต่ละส่วนมา ลำพังการให้น้ำหนักแก่ปัจจัยต่างๆ นี่แต่ละคนให้น้ำหนักต่างกันอยู่แล้ว เมื่อไม่อิงจากข้อมูลรวมชุดเดียวกันยิ่งทำให้ตัวเลขในใจแต่ละคนมันยิ่งต่างกัน (หากสถานการณ์ตรงนี้คือเหตุหน้าสิ่วหน้าขวานที่รอไม่ได้แล้วต้องรีบแก้ปัญหาในตอนนี้แล้วนั่นอีกเรื่อง แต่ผมไม่คิดว่าสถานการณ์ตรงนี้มันมีสภาพเช่นนั้น กลับกันการตอบโดยไม่อิงข้อมูลที่รอบด้านหรืออิงข้อมูลคนละชุดซะอีกที่จะยิ่งก่อปัญหาให้ถกกันไม่จบ ดังนั้นจากข้อมูลเท่าที่มีผมจึงตอบแบบกลั่นกรองและทิ้งแนวทางเอาไว้แบบนั้นแหละ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมค่อยมา refine คำตอบต่ออีกที)
คำแนะนำของผมคือ คุณควรหาคำตอบของปัญหาให้ได้ก่อน ที่จะวิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น เพราะมันไม่มีประโยชน์กับคนอื่น การบอกถึงปัญหา ใคร ๆ ก็ทำได้ ผมก็รู้โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเขียนยาวขนาดนี้ คุณควรกลับไปหาคำตอบว่าถ้าเป็นคุณ จะแก้ปัญหายัง เพราะมุมมองของคนแก้ปัญหา กับคนที่วิจารณ์ ย่อมไม่ตรงกัน
ถ้าจะหา solution โดยอิงเหตุผล ส่วนตัวกลับคิดว่าท้ายสุดแล้วมุมมองของคนแก้ปัญหากับคนวิจารณ์ต้องตรงกันแหะ ไม่งั้นจะยิ่งเกิดปัญหาความขัดแย้งหรือแก้ได้ไม่รอบด้านหรือแก้ปัญหานึงแล้วเกิดอีกปัญหา.. แรกเริ่มอาจมีมุมมองต่างกัน แต่ค่อยๆ แลกเปลี่ยนแล้วทำความเข้าใจกันไป แม้อาจยากที่จะทำให้มีมุมมองเหมือนกันเป๊ะ ทว่าไงซะยังได้มุมมองที่หลากหลายเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจผลที่จะเกิดจาก solution ที่จะเลือกมากขึ้น ทั้งผลโดยตรงและโดยอ้อม และช่วยลดมุมมองที่เข้าใจไม่ตรงกันซึ่งน่าจะช่วยลดโอกาสเกิดความขัดแย้งให้มีน้อยลง (เขียนมาตั้งนานพึ่งนึกได้ว่าเรียก "ประชาพิจารณ์" ซึ่งแนวทางนี้ไม่เพียงแค่ใช้ได้ก่อนเลือก solution เท่านั้น แต่ยังปรับนำไปใช้ในช่วงระหว่างที่นำ solution ไปปฏิบัติได้อีกด้วย)
แม้ตลอดกระบวนการก่อนหน้านี้อาจไม่ได้ final solution เพียงหนึ่งเดียวที่ตรงกัน แต่คงช่วยลดตัวเลือกลงได้.. จากนั้นจะใช้วิธีผู้มีอำนาจตัดสินใจหรือใช้ระบบโหวต หรือใช้ผสมผสานกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนมันคงง่ายขึ้นเมื่อมีตัวเลือกน้อยลง
หากข้ามชอตไปที่การเลือก final solution โดยใช้ระบบโหวต เช่นมีโพลถามว่า "ผมโอเคมั้ยที่ในช่วงนี้จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันของไทยให้เท่ากับ 300 บาท โดยปรับพร้อมกันทั่วกันทั้งประเทศ" .. ส่วนตัวแล้ว "ผมโอเค"
แต่หากผมคือผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจ เมื่อวางกรอบเวลาเบื้องต้นแล้ว หากคิดว่ายังมีข้อมูลไม่พอและเวลายังเหลือ ไงคงต้องหาข้อมูลเพิ่มเพื่อให้มีมุมมองที่หลากหลายก่อน หากไม่จำเปนคงไม่ฝืนตัดสินใจทั้งๆ ที่ทราบอยู่ว่ายังมีบางมุมมองขาดหายไป.. หรือแม้แต่กรอบปัญหายังอาจปรับเลย หากท้ายสุดแล้วมองว่ากรอบปัญหากับกรอบเวลาที่ตั้งมาแต่แรกมันไม่สัมพันธ์กัน หรือกรอบปัญหานั้นมันไม่มีคำตอบหรือการแก้ตามกรอบนั้นจะก่อปัญหาอื่นๆ ตามมา
ผมคงแย่กว่า "ใครๆ" ที่คุณ leonoinoi เอ่ยถึงว่าสามารถระบุ root-cause/chain-cause ได้ตั้งแต่ได้รับกรอบปัญหาและกรอบเวลา ผมเลยต้องลองไล่ step ดูก่อนว่ามันเกี่ยวโยงกันยังไง ถึงจะบอกได้ว่าสามารถแก้กรอบปัญหาตามกรอบเวลาได้มั้ยอย่างไร แล้วถึงค่อยตัดสินใจเลือกคำตอบสำหรับตอบปัญหาต่ออีกทีนึง
ผมคงไม่เก่งพอที่จะกล้ารับปากว่าสามารถหาคำตอบสำหรับกรอบปัญหาและกรอบเวลาที่จะ assign ให้ และคงไม่ดื้อพอจะไปบอกว่าสามารถทำเช่นนั้นได้.. แต่ใช่ว่าจะยอมแพ้โดยง่าย หากคาดว่าทำไม่ได้หรือคิดว่ากรอบปัญหากรอบเวลานั้นไม่เหมาะสม อย่างน้อยจะลองปรับหาแนวทางที่มีโอกาสทำได้หาคำตอบได้ (หรือด้วยเหตุนี้คุณ leonoinoi อาจขอปลดผมจากการมีสิทธิ์ตัดสินใจได้เลย ตั้งแต่แรกผมไม่ได้จะตอบในฐานะผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจตามโจทย์ของคุณ leonoinoi อยู่แล้ว ผมตอบท้วงคุณ rookie อ่ะ แต่เมื่อคุณท้วงมาขนาดนี้เลยลองตอบคุณ leonoinoi ดูซะหน่อย)
คุณเข้าใจผิดหลายเรื่อง ก่อนอื่นเลย คุณต้องกล้าที่จะตอบคำถามก่อน (ถูกผิดไม่เป็นไร) มันเป็นเพราะ มันจะทำให้คุณเปลี่ยนมุมมอง จากคนที่เอาแต่วิจารณ์อย่างเดียว มาอยู่ฝั่ง คนที่ทำงาน และแก้ปัญหา (ผมก็ไม่ได้คิดว่าคำตอบผมถูก หรือ เป็น final solution มันก็ต้องมีการปรับ เพียงแต่ที่ผมต่างกับคุณ คือ ผมมองอยู่ในมุมคนแก้ปัญหาแล้ว ไม่ใช่คนวิจารณ์ นี่คือหัวใจ) ถ้าคุณยืนยันจะไม่เปลี่ยนมุมมอง และคิดว่า การวิจารณ์ โดย ข้างใน ไม่มีองค์ ความคิดในการแก้ปัญหาเลย ผมก็คงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว (เราคงไม่มีทางคิดตรงกันตลอดไป) การวิจารณ์ อย่างเดียว ผมก็ทำได้ ใคร ๆ ก็ทำได้ ง่าย มาก ๆ (สุดท้าย ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่เก่งในเรื่อง ใด ๆ รับฟัง และศึกษาว่า ทำไมเขาต้องทำแบบนั้น เพราะอะไร เพราะบางที สิ่งที่เขาทำ เขาคิดรอบคอบแล้ว เพียงแค่คุณความรู้ไม่ถึง ไม่เข้าใจมัน จนกว่าเมื่อวันหนึ่ง คุณคิดว่าทำงานได้ดีกว่าเขา มีวิธีการที่ดีกว่า ค่อยวิจารณ์ ว่าทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบนี้)
อืมมม ลองคิดๆ ย้อนอีกที สงสัยว่าจะเปนเช่นนั้นแหะ.. เข้าใจผิดหลายเรื่องเลย เอาแต่วิจารณ์อย่างเดียว ไม่เปลี่ยนมุมมองด้วย ไม่มีองค์ความคิดในการแก้ปัญหาเลย คงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว คงไม่มีทางคิดตรงกัน ความรู้ไม่ถึง ไม่เข้าใจ คิดว่าทำงานได้ดีกว่า มีวิธีการที่ดีกว่า ทว่าขาดการจับความแล้ววิเคราะห์
เพราะ reply นี้จึงตาสว่าง หลงเสียเวลาซะนาน.. ปริศนาทั้งหมดไขกระจ่างแล้ว, Q.E.D. ^v^
พอดีคุณ PaPaSek มาลงชื่อไว้ว่าตามอยู่ ผมเลยตอบคุณ tontpong ต่อจากรีพลายแรกที่คุณตอบผมไว้นะครับ ^^
ข้อแรก - ผมไม่ได้บอกให้ปล่อยค่าแรงขั้นต่ำมันเสรีไปเลยนะครับ แต่ให้คิดกันใหม่อ้างอิงกับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ไม่ขึ้นต่อท้องถิ่นอื่นเฉย ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง ซึ่งผมเข้าใจว่านโยบาย 300 บาทเขาสร้างมาเพื่อแก้ปัญหานี้
ข้อสอง - ผมเห็นว่าการบังคับให้ 300 พร้อมกันทั้งประเทศมันกลับไปสร้างปัญหาใหม่คือแทนที่จะแก้ปัญหาถูกนายจ้างเอาเปรียบ กลายเป็นนายจ้างเองจะเจ๊งเอา ที่เห็น ๆ กันอยู่ก็ SME ที่กำลังเติบโต ยังไม่ใหญ่ขนาดจะอยู่ได้มั่นคง กำไรเขาไม่ได้เป็นกอบเป็นกำถึงขนาดจะลดกำไรมาเพิ่มค่าจ้างได้ทีละเยอะ ๆ
อันนี้ผมเจอของจริงเลย คือคนที่ผมรู้จักเพิ่งเริ่มธุรกิจได้ไม่นาน (1-2 ปี) กำลังไปได้สวยเลยขยายโรงงาน ลงทุนไปเยอะ (กู้ซะเยอะน่ะนะ ตอนนั้นนโยบายยังไม่มีผลบังคับ ธนาคารก็ให้กู้) พอนโยบายมีผล งานเข้าเลย ปกติเขาให้ค่าจ้างมากอยู่แล้วประมาณ 270-280 ต่อวัน เขาคิดว่า 300 บาทไม่ใช่เรื่องใหญ่มาก มันยังพอไปได้ แต่เขาคิดผิดครับ นโยบายนี้มีผลต่อจิตใจลูกจ้างและระบบการจ้างงานอย่างมาก เพราะโรงงานที่เคยให้น้อย ๆ กว่าเขา ก็เพิ่มเป็น 300 กันหมด มันเลยเหมือน "เพิ่มให้เยอะกว่า"
คนงานไม่มองว่า "ได้เท่ากัน" แต่ดันมองว่า "เพิ่มให้น้อยกว่า" แล้วเริ่มกบฎ ไม่ทำงาน ทำช้าลง ไม่เต็มใจทำ จนถึงขั้นลาออกประท้วงเลย ส่วนโรงงานใกล้เคียงจากที่ค่าจ้างเกิน 300 อยู่แล้วเขาเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะเหตุผลคล้าย ๆ กัน ส่วนคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนขั้นต่ำ ที่ไม่ได้รับประโยชน์ไปด้วยแทนที่จะรู้สึกเฉย ๆ ก็กลับรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจที่คนงานรายวันได้ค่าจ้างรวม ๆ แล้วเกือบจะเท่าเขาอยู่แล้ว สุดท้ายก็ส่งผลต่องานโดยรวมอยู่ดี โรงงานนั้น ๆ ก็ต้องหามาตรการสารพัดมาปลอบใจคนทุกระดับให้ได้อยู่ดี
ความโหดของมันอยู่ตรงนี้ครับ ถ้าอยากอยู่รอดต้องเพิ่มให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำไม่ได้ก็แทบจะเจ๊งเลยครับ โรงงานเดินสายผลิตไม่ได้แต่วันสองวันมันกระทบความเชื่อมั่นระยะยาวได้สบาย ๆ แต่คนงานเขาไม่ทำงานวันสองวัน เขาอาจพอมีเงินเก็บประทังชีวิตอยู่ได้สบาย ๆ แถมบางคนมองว่า กลับไปหางานที่บ้านเกิดดีกว่า ยังไงก็ได้ 300 เท่ากัน แต่ค่าครองชีพต่ำกว่าเป็นกอง (ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าจะมีงานให้ทำหรือเปล่า แต่คนระดับรากหญ้าเขาคิดกันแบบนี้เยอะนะครับ เหมือนตอนเขาออกจากบ้านนอกมาเทียวหางานทำที่กทม.นี่แหละ หลายคนก็ไม่รู้หรอกว่าจะมาทำอะไร แต่ก็มา) บางท้องที่เลยเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานซะงั้น ฟังดูตลกไหมล่ะครับ โรงงานที่ทำดีมาตลอด (ถึง 300 อยู่แล้ว หรือใกล้เคียง) ดันจะเจ๊งเอา แต่โรงงานที่กดขี่แรงงานมาตลอด (ให้ค่าจ้าางต่ำมาก ๆ ได้กำไรเยอะมาก ๆ) ก็แค่กำไรหด แต่ยังพออยู่ได้ เพราะแรงงานรู้สึกได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเยอะ เหอ ๆ มุมมองมันต่างกันตรงนี้
ตอนนี้มันเลยกลายเป็นว่า นโยบายนี้มันส่งผลต่อจิตใจมากเกินไป แทนที่มันจะดีกับระดับล่าง แต่ไม่กระทบกับระดับอื่น ๆ มันเลยกลายเป็นก่อปัญหาอย่างหนักพอสมควรเลย
ที่ผมเสนออย่างนั้นก็เพื่อลดความรู้สึกตรงนี้ลง ให้นายจ้างได้มีเวลาหายใจ ให้ลูกจ้างระดับอื่นไม่รู้สึกถูกเอาเปรียบ ให้ทุก ๆ ฝ่ายค่อย ๆ ปรับตัว ไม่ปุบปับแบบนี้ ส่วนในอนาคตจะค่อย ๆ ปรับแต่ละท้องที่ให้ขยับขึ้นมาใกล้เคียงกันก็ว่ากันไป (แต่ก็ควรอ้างอิงสภาพในท้องที่นั้น ๆ อย่างที่บอก)
ป.ล. โรงงานคนรู้จักผมตอนนี้แทบจะกลายเป็นต่างด้าวหมดละครับ ถูกกฎหมายบ้างผิดกฎหมายบ้างใครมาก็ต้องรับไม่งั้นเจ๊ง คนไทยหนีกลับภูมิลำเนากับไปตายเอาดาบหน้า ไปหางานที่ "เชื่อว่า" จะดีกว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบน้อยกว่ากันหมด หาไม่ได้ก็ไม่กล้าบากหน้ากลับมา เพราะส่วนใหญ่จะโจมตีนายจ้างเก่าไว้เยอะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ก่อนอื่นต้องบอกว่า เห็นใจกับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ (แต่ผมบอกตั้งแต่ต้น ว่าต้องมองมุมนี้ในมุม บริหารประเทศ ไม่ใช่ผู้ประกอบการ) ถ้ามองในมุมบริหาร คำถามคือ ผู้ประกอบการที่อ่อนแอไม่สามารถปรับตัวได้ มีเยอะหรือไม่ (ผมเชื่อว่าทุกคนน่าจะตอบได้ว่ามีไม่มาก เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการทั้งประเทศ) มีความจำเป็นมั้ยที่รัฐต้องออกนโยบายเอื้อต่อผู้ประกอบการที่อ่อนแอจำนวนน้อย (และแทนที่จะทำนโยบายแบบนั้น ใช้วิธีให้ความรู้ ทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวได้ และเข้มแข็งดีกว่ามั้ย) ปล. อีกเรื่องที่เห็นก็คือ ตัวอย่างที่คุณยกมา มันคือปัญหาที่ผู้ประกอบการปรับตัวไม่ได้เพราะค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่เท่ากัน (ตัวอย่าง สมมุติ ค่าแรงในจังหวัดที่เพื่อนคุณทำอยู่อยู่ที่ 280 โดยที่จังหวัดข้างเคียงอยู่ที่ 300 ถ้าผมเป็นคนงาน ผมก็ย้ายข้ามจังหวัดเหมือนกันและก็เกิดปัญหาแบบเดียวกัน จึงคิดว่า ปัญหาของเพื่อนคุณ คือ ปรับตัวไม่ทันมากกว่า ซึ่งอีกสักพักน่าจะปรับตัวได้เอง โดยการขึ้นราคาขาย หรือใช้แรงงานต่างด้าว หรือลดค่าใช้จ่ายด้วยวิธีอื่น) ปล.2 การใช้แรงงานต่างด้าว ก็ถือเป็นการปรับตัวอย่างหนึ่ง ปล.3 ถ้าสุดท้ายผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ ทั้ง ๆ ที่คนอื่นทำได้ การปิดกิจการ หรือย้ายฐานการผลิต ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี
ผมยังคงมองในมุมผู้บริหาร ที่พยายามบริหารให้ทุกฝ่ายให้ประโยชน์พร้อม ๆ กัน หรือเสียประโยชน์น้อยที่สุด และผมเชื่อว่าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมีไม่น้อย และเมื่อผู้ประกอบการรับไม่ได้ถึงขั้นเจ๊ง ผลกระทบจะเป็นวงกว้างขึ้น กล่าวคือปัญหาว่างงานจะตามมา ล่าสุดก็เห็นแชร์กันในเฟสแล้วว่าโรงเรียนก็เริ่มกระทบ ขอขึ้นค่าเทอม อันนี้ไม่รู้จริงไหม แต่อีกเรื่องที่ผมไม่ได้เล่าแต่เจอมาจริงคือมหาวิทยาลัยปลดคนงานออกอื้อ เช่นแม่บ้าน รปภ. นักการ เป็นต้น เหตุผลง่าย ๆ กม.บังคับ 300 แต่มหาวิทยาลัยรัฐซึ่งได้เงินจากรัฐบาลเขาไม่ได้ขึ้นเงินให้ เขาก็ต้องปรับลดคนงานออก โดยให้แต่ละคนทำงานหนักขึ้นแลกกับเงินที่มากขึ้น (300) ออกตัวก่อนว่ามหาลัยไม่ได้เอาเปรียบคนงานนะครับ เขาใช้ระบบประมูลจาก out source อันไหนถูกสุดก็ได้มาตามนั้น มันเป็นมาแบบนี้ตั้งนานแล้ว
ที่คุณยกตัวอย่างมาโรงงานเพื่อนผม 280 โรงงานจังหวัดข้างเคียง 300 อย่าลืมว่านั่นคำนวณจากค่าครองชีพด้วย ดังนั้นคนงานต้องคิดเช่นกันว่าคุ้มจริงหรือ? ต่างจากที่มันเท่ากันทั้งประเทศเขาก็ไปหาที่ค่าครองชีพต่ำกว่าเป็นธรรมดา
เพื่อนผมปรับตัวไม่ทัน? อาจจะใช่ แต่อย่าลืมว่านั่นบนพื้นฐานของการคิดเตรียมตัวไว้อยู่แล้ว (จะปรับค่าแรงให้ตามกม.อยู่แล้ว แต่ผลกระทบของกม.มันมากกว่าที่คาดอย่างที่ผมพยายามอธิบายไว้)
ย้ายฐานการผลิตไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ บางอย่างมันตั้งพึ่งวัตถุดิบท้องถิ่น และการพูดว่าคนอื่นทำได้ แต่ตัวเองทำไม่ได้มันช่วยไม่ได้ อันนี้ก็ไม่ถูกนัก กิจการต่าง ๆ มันไม่เหมือนกัน บางอย่างอาจเป็นกิจการง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน แต่ใช้แรงงานเยอะ บางอย่างซับซ้อนใช้เครื่องจักรเยอะ ใช้แรงงานน้อย แบบแรกกระทบเต็ม ๆ แบบหลังเผลอ ๆ กำไรเยอะแยะอยู่แล้ว กระทบน้อยอีกยิ่งสบาย
ผมถึงเสนอว่าควร "ค่อย ๆ ปรับ" ไม่ใช่ปุบปับเท่ากันหมดแบบนี้ อยากให้มันเท่ากันไว ๆ ก็ปรับโซนราคาถูกขึ้นทุกปี ปีละมากหน่อย ให้ผู้ประกอบการได้รู้ตัวว่าต้องหาวิธีลดต้นทุนเรื่อย ๆ ทุกปี จะเอาเครื่องจักรมาแทนหรืออะไรก็ว่าไป ก็ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ลงทุนกันไป โซนไหนแพงอยู่แล้วก็ปรับนาน ๆ ทีอะไรก็ว่ากันไป
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เรามาถึงจุดที่ต้องใช้ข้อเท็จจริงตัดสินเรื่องนี้แล้วครับ ข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกันมีอยู่ข้อเดียวคือ ผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบาย 300 บาทที่ปรับตัวไม่ได้จนต้องปิดกิจการ ทำคนงานตกงานมีอยู่เยอะหรือไม่ ? (ถ้ามีเยอะ ก็ไม่ควรใช้ 300 บาทเท่ากันทั้งประเทศ แต่ถ้ามีไม่เยอะ การใช้ 300 บาททั้งประเทศก็เป็นเรื่องที่ทำได้ ถูกมั้ยครับ) วิธีการหาข้อมูลนี้ก็ไม่ยาก Search ดูอัตตราการว่างงานของประเทศไทย ว่าเพิ่มขึ้น หรือลดลง อย่างมีนัยยสำคัญหรือไม่ หลังจากใช้นโยบาย 300 บาทผ่านไป 1 ปี คือ ตอนสิ้นปีนี้ ถึงตอนนั้น ผมเชื่อว่า คุณกับผม จะได้คำตอบพร้อมกัน ว่า 300 บาท ทั้งประเทศเหมาะสมหรือไม่ (เราจะได้องค์ความรู้นั้นพร้อมกันครับ)
ขอเห็นแย้งเพิ่มเติม ประโยคนี้นิดนึง " ที่พยายามบริหารให้ทุกฝ่ายให้ประโยชน์พร้อม ๆ กัน หรือเสียประโยชน์น้อยที่สุด" คือ คุณไม่เข้าใจว่า นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ วัตถุประสงค์ของนโยบายนี้ มีเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง ฉนั้น นโยบายนี้ จึงเกิดผลเสียกับนายจ้างแน่นอน (ไม่มีทางที่ ลูกจ้าง กับนายจ้าง จะ Win Win นโยบายได้ประโยชน์กับลูกจ้างมากเท่าไร ก็จะเกิดผลเสียกับนายจ้างมากเท่านั้น) แต่นโยบายนี้ มองว่า นายจ้างมีโอกาสทางสังคม และสามารถปรับตัวได้ มากกว่า ลูกจ้าง จึงกำหนดให้นายจ้าง จำเป็นที่จะต้องเสียสละ ยอมเสียประโยชน์ ในอัตราขั้นต่ำเพื่อให้ ลูกจ้างมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ (ค่าแรงขั้นต่ำ ช่วยประทังชีวิต ไม่ทำให้รวยได้) ปล. แถมเรื่องการปรับตัวนิด กว่าจะใช้นโยบาย 300 บาทได้ใช้เวลาหลังจากประกาศนโยบาย 1 ปี (ถึงแม้แต่ละที่จะมีฐานค่าแรงไม่เท่ากัน แต่ระยะเวลาน่าจะยาวพอ) มันน่าจะอยู่ในความค่อยเป็นค่อยไป แล้ว ถ้าผู้ประกอบการยังปรับตัวไม่ได้ น่าจะเป็นความผิดของผู้ประกอบการเอง
(นอกเรื่องนิด คุณแสดงความคิดเห็น ไม่ควรถ่อมตัวด้วยการด่าตัวเอง มันทำให้เนื้อความยาว อ่านลำบาก) คำถามคือ สบู่ ยาสีฟัน รถยนต์ iphone ขายในที่ที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่างกัน ราคาต่างกันหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ต่างกัน สินค้าส่วนใหญ่ในตลาด ราคาเท่ากันหมด ไม่ได้ถูกแพงตาม ค่าแรงขั้นต่ำ (ถ้าผมอยากได้ iphone แต่อยู่ที่ที่มีฐานเงินเดือนต่ำ เนื่องจากค่าแรงต่ำ สิ่งที่ผมทำคือ ย้ายเข้ากรุงเทพ) คำถามคือ ในฐานะนายก คุณจะแก้ไขปัญหานี้ยังไง? สำหรับผม วิธีที่จะทำให้คนไม่ย้ายเข้ากรุงเทพกันหมด คือ ทำให้ทุกที่มี โอกาสหารายได้ไม่ต่างจากกรุงเทพ ขาหนึ่งคือ เรื่องค่าแรง (การที่คุณสนับสนุนค่าแรงต่างกัน เท่ากับเป็นการสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม และปัญหาการกระจุกตัวของกรุงเทพ) อีกเรื่องคือการเดินทาง (ถ้าผมเดินทางจากกรุงเทพ ไปเชียงใหม่ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ผมก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานที่กรุงเทพอีกต่อไป และบริษัทต่าง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดสำนักงานที่กรุงเทพ) และไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน โอกาสหารายได้ ก็จะใกล้เคียงกัน (ประเด็นคือ คุณอยู่ในประเทศนี้จนชิน จนคิดว่า การให้ทุกที่เจริญใกล้เคียงกัน ไม่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งมันเป็นความคิดที่ผิด) ปล. ความเจริญคนละเรื่องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ผมอาจจะไปทำงานบนภูเขาหรือ ริมทะเล หรือในหมู่บ้านอันเงียบสงบ ก็ได้ ถ้าการเดินทางถึงกรุงเทพใช้เวลา 1 ชั่วโมง
ขออภัยที่ทำให้ยาว แต่ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นข้อเสียจนเกินไปนัก แค่ไม่อยากให้ดราม่ากันเกินไป ลดดีกรีความเครียดลงบ้าง และออกตัวไปพร้อมกันว่าความเห้นผมก็แค่เป็นความเห็นของมือสมัครเล่นคนหนึ่งที่มองโลกแบบสุดโต่ง ผมขี้เกียจไปตามแก้ตามเช็ดทีหลัง อยู่เว็บนี้มานานน่าจะรู้นี่ครับว่าคนแรง ๆ มีเยอะแยะ
เข้าเรื่องอีกที ตอบคำถามเรื่องราคาขายอะไรต่าง ๆ นั่น ใช่ครับ ราคาเท่ากันหมดครับ และผมก็เห็นด้วยว่าต้องกระจายความเจริญ ซึ่งผมก็ได้ออกความเห็นไปแล้ว เพียงแต่เห็นต่างกับคุณเล็กน้อยที่ว่าไม่มีทางจะทำให้ทุกที่เจริญเท่ากันได้ ผมคิดว่าจุดนี้เรา "อาจ" มองหรือนิยามความเจริญต่างกันก็เป็นได้ แต่ช่างเถอะ เพราะผมว่ามานั่งนิยามกันคงจะยาวน่าดู และผมเห็นว่าความเห็นส่วนใหญ่เราตรงกันนะครับ
เช่นตัวอย่างที่ยกมาเรื่องการเดินทาง ผมเห็นว่าเป็นไปได้ และอนาคตเป็นแน่ แต่ไม่มีทางที่จะมีทุกจังหวัดถูกไหมครับ? มันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะกระจายจากจังหวัดศูนย์ประเทศ (กทม.) ไปยังจังหวัดศูนย์กลางภาค (เชียงใหม่) แต่ลองนึกดูว่า กว่ารถความเร็ซสูงนั่นมันจะสร้างไปจนถึงจังหวัดอื่น ๆ ที่ความเจริญน้อยกว่าเช่น พะเยา น่าน คิดว่าจะตามหลังเชียงใหม่กี่ปีล่ะครับ? 10 ปี? 20 ปี? 30 ปี? หรือเป็นร้อยปี? ถึงป่านนั้นเชียงใหม่ก็นำหน้าไปไกลกว่าอยู่ดี สมมติว่าวันหนึ่งมีรถความเร็วสูงสามารถเดินทางจากกทม.ไปน่านในเวลา 1 ชม. แล้ว ตอนนั้นอาจมีแบบใหม่เดินทางจากกทม.ถึงเชียงใหม่ในเวลาแค่ครึ่งชั่วโมงแล้วก็ได้
นอกจากนี้ผมยังมองเรื่องการสื่อสารในลักษณะเดียวกันด้วย ยังไงสักวันมันต้องทั่วถึงนั่นแหละ แต่ท้องที่ที่เจริญน้อยกว่า เทคโนโลยีก็ย่อมด้อยกว่าอยู่ดี คุณคงไม่เห็น 4G ที่กว๊านพะเยาเปิดบริการพร้อม ๆ กับที่สยามพารากอนแน่ ๆ จริงไหม? กว่า 4G จะไปถึงกว๊านพะเยา ที่สยามพารากอนคงไป 5G 6G กันแล้ว ๕๕๕
ผมว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบทุนนิยมนะ ใครมันจะไปลงทุนมากมายกับที่ไกลปืนเที่ยงกันเล่า
แต่สุดท้ายนี้ ผมไม่เถียงว่าแม้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นจะมาช้ากว่าที่เจริญแล้ว แต่เมื่อมันมาถึงมันจะทำให้ความต่างชั้นกันน้อยลงเรื่อย ๆ เพียงแต่ผมไม่เชื่อว่าจะไม่เหลือความต่างชั้นกันเลยก็เท่านั้นเอง
อ้อ ขอทิ้งคำถามบ้าง ผมสงสัยคำนี้ครับ "ประเด็นคือ คุณอยู่ในประเทศนี้จนชิน จนคิดว่า การให้ทุกที่เจริญใกล้เคียงกัน ไม่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งมันเป็นความคิดที่ผิด"
ผมไม่เคยก้าวเท้าออกจากประเทศนี้จริง ๆ (อย่าหาว่าถ่อมตัวเลย ผมพูดจริง ๆ นะเอ้า) อยากให้ยกตัวอย่างให้ฟังหน่อย ประเทศอะไรที่ความเจริญเขาเท่าหรือใกล้เคียงกันทุกพื้นที่ ผมอยากเปิดโลกทัศน์ตัวเองบ้างครับ ขอบคุณครับ ^^
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมคิดเหมือนคุณทุกอย่างแหละครับ ถ้าลองกลับขึ้นไปดู ผม พยายามใช้คำว่า ใกล้เคียงทุกคำ ไม่ได้ใช้คำว่า เท่ากัน (เพื่อสื่อให้คนที่ตีความตามตัวอักษร ได้เข้าใจว่า มันไม่ได้เท่ากัน แต่เราต้องพยายามทำให้มันใกล้เคียงที่สุดที่จะเป็นไปได้) ใครจะไม่รู้ละครับว่ามันไม่มีอะไรเท่ากัน แต่ถ้ามองในฐานะคนบริหาร ก็ต้องพยายามทำให้มันใกล้เคียง (การใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำเดียว ทั้งประเทศ เป็นหนึ่งในความพยายามนั้น) การที่ใช้ค่าแรงไม่เท่ากัน กลับยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหา หรือ ยอมรับปัญหาและไม่พยายามแก้ไข (ทางที่ถูก คือ รอให้คนปรับตัวครับ ทุกคนจะปรับตัวได้ในที่สุด การย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศตามข่าวนี้ ก็ถือเป็นการปรับตัวครับ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด)
ตัวอย่าง (เชิงแซวๆ) ในคำถามสุดท้ายให้คุณ -Rookies- นะครับ
เอาใกล้ๆ ก็สิงคโปร์
ไกลออกไปก็ยังมี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ ครับ
ผมสะกดผิดบ้างหรือเปล่าหว่า? ก็ลังเลอยู่ว่าจะทับศัพท์ดีหรือไม่...
ขอบคุณครับ นึกว่าจะไม่มีใครตอบคำถามซะแล้ว ๕๕๕
อืม พอพูดถึงสิงคโปร์ ผมก็เพิ่งตระหนักว่าผมรู้จักเพื่อนบ้านน้อยมากเลยแฮะ (รวมถึงประเทศอื่น ๆ ใน SEA ด้วย) ผมว่าเขาเก่งนะ สิงคโปร์พื้นที่โดยรวมเกือบเท่าไทย แต่มีแผ่นดินใหญ่แยกเป็นสองฝั่ง แล้วยังเกาะแก่งอีก บริหารยังไงให้ความเจริญใกล้เคียงกันได้? น่าศึกษาจริง ๆ
แต่ประเทศอื่นที่ยกตัวอย่างมาค่อนข้างเล็กนะครับ ผมเข้าใจว่าระดับความยากก็คงต่างจากประเทศที่มีพื้นที่กว้างกว่า แต่เขาก็เก่งล่ะที่บริหารให้เศรษฐกิจดีได้ (ทั้ง ๆ ที่ทรัพยากรจำกัด) แล้วใช้เม็ดเงินมาพัฒนาประเทศให้ทั่วถึงกัน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมมาลงชื่อว่าผมยังตามอ่านอยู่นะครับ
สิงคโปร์ขนาดไม่เท่าไทยนะครับ ดีไม่ดีเล็กกว่ากทม.อีก
พอจะมีข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเคสนี้ของ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ ที่ยกมามั้ยครับ.. สนใจๆ
เดิมทีกะตอบพวก สิงคโปร/ฮ่องกง อยู่เหมือนกัน.. แต่คิดอีกที มันคงเอามาเทียบไม่ได้ ส่วนที่อื่นๆ นี่นึกไม่ออก (แล้วไล่ลึกๆ มันยังอาจไม่ตอบคำถามอยู่ดี เพราะแม้แต่ฮ่องกงเองยังมีหลายโซนเลย)
กรรมแล้วไง -*-
บะบาย "งาน" จำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้นอีกแล้วสินะ
ตอนนี้แค่บางส่วน ถ้าอยู่ตัวก็จะย้ายออกไปเรื่อยๆ แต่ที่แน่ๆไม่ทิ้งไทยแน่นอนเพราะไทยติดทะเล ส่งออกได้สะดวก
อนาคตไทยอาจเหลือ Warehouse
ใช่ครับ ถูกต้อง เพราะบริษัทผมเริ่มเป็นแบบนี้แล้ว การผลิตจะมาจากประเทศอื่น เราแค่เป็นฮับกระจายสินค้า
ตอนนี้พม่าติดกับกาญจนบุรี SCG ก็ไปตั้งโรงงานแล้วนะครับและผมว่าจริงๆแล้วพม่าเป็นท่าเรือน้ำลึกได้ดีกว่าบ้านเรานะครับ
สิ่งที่คิดไว้ก็เกิดขึ้นจริงๆ อีกหน่อยลาวจะเป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในเอเชีย รอแค่เขามีความพร้อมเท่านั้น ต่อไปไทยเสร็จแน่ๆ ไหนจะการเมือง ไหนจะค่าแรง ไหนจะพฤติกรรมที่เอาแต่เรียกร้องนู่นนี่นั่น บริษัทผมพิษ 300 กำลังเล่นงานแล้วเหมือนกัน
ว่าเขาไว้มากต่อไปคงจะถูกเรียกบ้างว่าไอ้ไทย
ไม่น่าเป็นแบบนั้นนะครับ เพราะไทยก็จะทำตัวเป็น สิงค์โปร เป็น hub
Hub มันรองรับจำนวนแรงงานไทยได้ไม่หมดหรอกครับจำนวนและคุณภาพประชากรไทย แตกต่างจากสิงค์โปร์เยอะครับ
ถ้าเพราะ ค่าแรง300 ก็ออกไปซะพวกเห็นแก่ตัว
ของซื้อของขายครับ
ค่าแรงขึ้น แต่สินค้าไม่ขึ้นราคา ขึ้นราคาสินค้าโดนด่า ไม่ขึ้นค่าแรงก็โดนด่า (มีโดนไล่ออกนอกประเทศด้วยครับ)
เค้าหาทางออกที่ดีให้กับทุกฝ่ายแล้ว ผมไม่เห็นว่าเจ้าบ้านที่ดีควรจะไปไล่คนนั้นคนนี้ออกนอกประเทศนะ
โอ้ว ผมโดนไล่ออกนอกประเทศนี่เพิ่งกลับมาเห็นข่าว :D
ผม "เดา" ว่าทั้งสองอย่างคือทั้งค่าแรงกับน้ำท่วม
เรื่องค่าแรงผมเห็นด้วย ถ้าย้ายหนีเพราะเรื่องนี้ก็ทำใจ ขอให้โชคดี ขอให้สบายดีแต่ถ้าเรื่องน้ำ ก็น่าเห็นใจ แถมดูแล้วยังไม่มีอะไรที่แก้ไขได้แบบชัดเจนอะนะ
เรื่องไล่ออกนอกประเทศ ถ้าได้ดูช่องดาวเทียมช่องหนึงA... ได้พูดไว้ตั้งแต่มีข่าว300บาท
ก็พูดว่า ถ้าไม่มีปัญญาขึ้นเป็น300 ก็ตั้งโรงงานที่ประเทศอื่นไป๊ ขึ้นแค่นี้ทำไมจะขึ้นไม่ได้
เกี่ยวอะไรกับเห็นแก่ตัวละนิ เวลาคุณไปซื้อของคุณซื้อกับร้านที่ขายแพงกว่าหรือขายถูกกว่าล่ะ เลือกร้านถูกกว่าแปลว่าเห็นแก่ตัว?
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แล้วคุณรู้ได้ไงว่าปัญหามาจากค่าแรงขั้นต่ำเหรอครับ
เขาบอกว่า ถ้าเพราะ ค่าแรง300 ก็ออกไปซะ พวกเห็นแก่ตัว
ทำกิจการขายของนะครับไม่ใช่การกุศล ไม่ใช่ต้นทุนปรับขึ้นแล้วให้อยู่ช่วยจ่ายเงิน คนทำมาค้าขายเพื่อกำไรนะครับไม่ใช่เพื่อสังคม
เกี่ยวไรกันครับ ใครมีธุรกิจก็ต้องบริหารต้นทุน บริหารความเสี่ยงทั้งนั้น ถ้าคนของเรามันไม่ได้คุณภาพหรือให้ productivity ตามที่เค้าต้องการได้ มันก็เป็นเหตุผลที่คุ้มแล้วที่เค้าจะไป มองตัวเองดีกว่าครับ
nikon ไม่ใช่มูลนิธิครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
จะทำธุรกิจ ต้องหากำไรจากลูกค้า ไม่ใช่จากลูกจ้าง
การทำธุรกิจ กำไรมาจากหลายส่วนครับ การลดต้นทุน ก็สามารถทำให้กำไรมากขึ้นได้
ทุกอย่างมันก็คือ cost ครับ ลองมาทำ sme แถวตจว ดูครับ แม่ฮ่องสอน ระนอง ตรัง อะไรก็ได้ ที่ค่าครองชีพ ไม่ได้สูงมาก
ทำไมพิษค่าแรงสามร้อยมันเยอะจัง บ้านผมเป็นร้านอาหารเล็กๆยังจ่ายค่าแรงเกินสามร้อยเลยครับ เกินมานานมากแล้วด้วย
อย่าลืมนะครับ "300 กับแรงงานเป็นร้อยเป็นพัน"
พวกที่จ่ายค่าแรงเกิน 300 แล้ว คือนายจ้างรวย คงไม่บ่นหรอกครับ ลูกจ้างรวยผมก็ดีใจ
แต่ยังมีอีกเยอะครับ ที่ปกติจ่ายไม่ถึง 300 แต่กฎหมายบังคับให้จ่าย
ปกติโรงงานใหญ่ๆก็จ่ายเกิน 300 ไม่ใช่เหรอครับ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องความเสี่ยงในอนาคตมากกว่านะ
เพราะนิคอนอยู่ในโรจนะโซนน้ำท่วมเลยครับ ถ้าความจำไม่ผิด ช่วง 4-5 ปีก่อนพนักงานนิคอนประท้วงบ่อยมากๆ ผมว่าเป็นส่วนนึงในการย้ายออกเหมือนกันนะ
บ. ที่ผมอยู่ จ่ายไม่ถึง 300 ครับ รายวันขั้นต่ำก็ตามกฏหมายกำหนด
แต่พอเจอขั้นต่ำ 300 ปุ๊บ ขาดทุนปีแรกเลยครับ เดือนร้อนจะต้องตัดค่าใช้จ่ายนั่นนู่นนี่ไปหมด
ไม่งั้นเจ้งงงง
^
^
that's just my two cents.
อยู่ๆพวกที่ได้ต่ำกว่าสามร้อย ได้เพิ่มเป็นสามร้อย
พวกที่ได้สามร้อยอยู่แล้ว ก้อต้องเพิ่มให้เค้าละครับ
แถวบ้านผมเค้าก้อขึ้นให้กันนะ
แต่บ.ที่พนักงานเงินรายได้เกิน 300 บาทอยู่แล้วเขาไม่เพิ่มครับ
เท่ากับซวยเพราะว่าต้องรับภาระสินค้าที่ราคาสูงขึ้นเพราะค่าแรงไปด้วย ทั้ง ๆ ที่ตัวเองได้เงินเท่าเดิมน่ะครับ
นิคอนเพิ่มให้ทุกคนครับ ทั้งพวกที่ไม่เงินเดือนไม่ถึงและพวกที่เกิน ให้เท่ากันทุกคนทั้งโรงงาน โดยอ้างอิงจากคนที่เงินเดือนน้อยทีสุด
ผมว่ามันเป็นกรณีที่ โรงงานนั้นๆเดิมทุกคนได้เกินอยู่แล้วนะครับ แต่กับโรงงานที่มีคนงานที่ได้ไม่ถีงมันก็ต้องขึ้นเป็นขั้นบันไดขึ้นไปทั้งระบบ
ผมว่า iPomz อาจจะพูดเคลียร์ไม่พอ (มั้ง)
นิคอนขึ้นคนละ 30 บาททุกคนในบริษัทครับ ผู้บริหารเงินแสน ก็กลายเป็นแสนสามสิบบาท
(อ้างอิงจากคนน้อยที่สุด คือ 270 บาท ฉะนั้นต้องขึ้น 30 บาท)
ถ้าทั้งบริษัทได้เกิน 300 อยู่แล้วคงไม่มีปัญหามั้งครับ แต่บางแห่งถ้ามีคนที่ได้ไม่ถึง 300 และเกิน 300 ปะปนกันคงมีปัญหา เช่นว่า A ได้ 240 แล้วเพิ่มเป็น 300 ส่วน B ได้ 320 อยู่แล้วแล้วปรับเป็น 360 กรณีนี้ B จะมองว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะว่าได้เงินเพิ่มขึ้นน้อยกว่า A ถึง 20 บาท และ B ก็จะลาออก
ปล. เรื่องนี้ based on true story ของกิจการผมเอง
ตนเองสบายแล้วนิครับถึงพูดได้ ลองทำงานได้เดือนละ 6000 ดูยังกล้าพูดอีกไหม (จะเห็นแก่คนจนที่ยากลำบาก หรือ จะเห็นแก่นายจ้างที่จะได้กำไรลดลงน้อยหน่อย) เห็นหลายคนกลัวว่านั้นจะแพงนี้จะแพงเพราะขึ้นค่าแรง ที่ IPHONE ซื้อกันได้ไม่เห็นจะบ่นแพงซักคำ ผมว่าหลายๆคนเห็นแก่ตัวเอง กลัวว่าตัวเองจะลำบาก แต่คนอื่นลำบากไม่เป็นไร บางบริษัทอาจจะเจ้งไปเลยแต่ไม่ใช่ส่วนใหญ่แน่นอน แล้วก็ไม่ใช่เพราะค่าแรงขึ้นถึงได้เจ้งอย่างเดียวแน่ ผลประกอบการณ์อาจจะไม่ดีอยู่แล้ว หรือของราคาขึ้น แต่เห็นส่วนใหญ่ก็อยู่กันอย่างมีอันจะกินทั้งนั้น
ประเทศก็ยังไปต่อได้ครับ ให้ลากหญ้ามีอันจะกินบ้างดีแล้ว ผมว่าคนที่เล่นเว็บนี้อยู่เงินเดือนเกินหมื่นอัพทั้งนั้น จะมีกี่คนที่รู้ถึงความลำบากกับค่าแรง 6000 อยู่ในเมืองกรุง แค่ให้มีชีวิตอยู่ก็ยากแล้วครับ อย่าฝันว่าจะได้ซื้อได้กินอะไรดีๆ
ส่วนตัวขอให้คนไทยมีกินดีกว่าไปง้อนายทุนครับ ขอให้เธอไปดี
พูดถึงเรื่องนี้แล้วอัดอั้นขออภัยด้วยครับ จากคนเคยได้เดือนละ 6000
ผมเองเห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทนะครับ
แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือ พวกที่ชอบบอกว่าไม่มีบริษัทไหนเดือดร้อน, เดือดร้อนไม่จริง, กำไรลดหน่อยไม่ตายหรอก
สาเหตุเรื่องค่าแรงทำให้ฐานการผลิตมันย้ายไปจีนหมดครับ ... ไม่มีนักลงทุน ก็คงไม่มีการจ้างงาน ไล่พวกเค้าออกไปหมดคนไทยก็เดือดร้อนครับ ไม่มีทางที่คนไทยจะได้กินดีอยู่ดีหรอก
+1
+++1
เข้าใจครับว่าลำบาก แต่ถ้าเค้าไปกันหมด เดี๋ยวจะร้องไม่ออกนะครับ
บริษัทเค้าไม่เจ๊งกันง่ายๆ เค้าปรับตัวกันได้ บ้างก็ย้ายไปที่อื่น หรือไม่ก็ลดคน จากเคยได้ 6000 ก็อาจจะไม่ได้เลยสักบาทนะครับ
เงินเดือนหลายหมื่นจะซื้อ iPhone ก็ไม่เห็นมันจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้าเงินเดือน 6000 ริจะใช้ iPhone ก็สมควรที่จะอยู่ยาก
อยู่อย่างพอเพียงตามฐานะของตนครับ
kurtumm
ผมว่าคุณไม่ค่อยเข้าใจที่ผมพิมเท่าไหร่นะครับ
ตรงไหนไม่ถูกต้อง ชี้แจงได้เลยครับ :)
kurtumm
ผมเข้าใจว่างี้
หลังจากนโยบายนี้ พนักงานกลุ่ม A ได้รับค่าแรงเพิ่มเป็น 300 บาท ก็คือรายได้ขึ้นรวดเดียว 10% กลายเป็น 6900 บาท ในขณะที่พนักงานกลุ่ม B ยังได้เท่าเดิม เพราะว่าไม่ได้อยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำมาตั้งแต่แรก
พนักงานกลุ่ม B จึงกลายเป็นผู้ได้รับผลกระทบไป เพราะว่าตัวเองได้เงินเท่าเดิม แต่ต้องรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากนโยบายนี้ ในขณะที่กลุ่ม A ก็รับภาระเหมือนกัน แต่ได้เงินเดือนมาขึ้น 10%
พนักงานกลุ่ม B ก็เลยกลายเป็นผู้เสียหายไป
บางบริษัท (เช่น Nikon อย่างที่คุณ iPomz บอกข้างบน) ก็ใช้วิธีเพิ่มเงินเดือนมันทีเดียวทั้งบริษัท วันละ 30 บาท หรือเดือนละ 690 บาท แต่อีกหลาย ๆ บริษัทรับภาระค่าแรงเพิ่มขึ้นรวดเดียว 690 บาททุกคนไม่ได้ (อาจจะด้วยเนื่องจากว่ากำไรของตัวเองก็ไม่ได้สูงตั้งแต่ต้น หรือว่ากำลังขาดทุนอยู่เป็นทุนเดิม) ก็เลยต้องใช้วิธีเพิ่มเฉพาะคนที่ค่าแรงต่ำกว่าเท่านั้น คนกลุ่มที่เงินเดือนสูงกว่าเป็นทุนเดิมอยู่แล้วก็เลยกลายเป็นว่าซวยไป
และอีกหลายบริษัทก็ถือว่า ตัวเองจ่ายเยอะกว่าขั้นต่ำอยู่แล้ว ก็เลยไม่เพิ่มมันเลยซักคน พวกนี้ก็รับภาระไป รายได้เท่าเดิม รายจ่ายเพิ่มขึ้น (ผมอยู่ในกลุ่มนี้ 55)
ปล. กลุ่ม A นี่บางเดือนอาจจะได้เยอะกว่ากลุ่ม B ด้วย ขึ้นอยู่กับจำนวนวันทำงาน
ปลล. ตัวอย่างวิธีคิดผมอาจจะไม่ถูกต้องนะ แต่ก็น่าจะพอดูเป็นแนว ๆ ได้
อ่านแล้ว เห็นภาพและเข้าใจง่ายดีครับ
ขอเห็นต่างหน่อยนะครับ
กลายเป็นว่า A กับ B ได้เงินเกือบเท่ากัน
แต่ค่าใช้จ่าย จิปาถะ ก็ ราคาเท่ากันครับ มันไม่เคยมีแบบ ถ้าเป็น B จะขายแพงกว่า A ครับ
ปรกติผมเห็นของมันราคาขึ้นอยู่แล้วครับ เพราะมันไม่เคยจะลง
ทำงานไม่เท่ากัน แต่ได้ค่าจ้างเกือบเท่ากันแล้วต้องปรับรายจ่ายด้วย
B ได้รับผลกระทบทางลบไปไม่เต็มก็เฉี่ยว ไม่ใช่ไม่โดนเลย ยกเว้นคุณมีสมมติฐานว่าราคาสินค้าไม่ปรับตัวขึ้น
ผมถามจริงๆนะครับ อะไรคือตัวตัดสินครับว่าทำไม่เท่ากัน ชั่วโมงเวลาหรือครับ หรือความหนัก
ผมเห็นรายวันส่วนมากก็ทำ ราวๆ 8 ชั่วโมงครับ เป็น ร.ป.ภ ยิ่งแล้วใหญ่ทำ 12 ชั่วโมง เพิ่งได้ 300 บาท หรือกรรมกรบางคน
3 ชั่วโมงก็ 200 แล้ว (อันนี้ขนอิฐบล๊อคเป็นหมื่นก้อน ลงจากรถบรรทุก) แต่ทั้งวันเขาอาจไม่ได้งานต่อเลยหรือโชคดี ได้อีกที่ต่อ ประเด็นคือเขาแบกความเสี่ยงต่อวันครับ ลาป่วยก็ไม่ได้เพราะนับวัน แล้วงานตากแดดตากลม ขนหนักแทบตาย
ลองให้คนนั่ง office ได้ 300 บาทอยู่แล้วมาทำสิครับ จะทำใหม
ผมเข้าใจครับ ต้นทุนการทำงานมันต่างกัน แต่บางอาชีพทำงานหนักแทบตาย แล้วได้เงินน้อยควรจะเห็นใจในส่วนนี้ด้วยครับ
ผมกำลังบอกว่า B เสียประโยชน์เพราะ A นั้นอยู่ดี ๆ ก็มีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายจ่ายของทั้งสองกลุ่มต่างก็เพิ่มขึ้นในอัตราพอ ๆ กัน (เนื่องจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ)
อธิบายไงดี ? :-/
สมมติ A เป็นลูกจ้างรายวัน มีรายได้ประจำตายตัวที่วันละ 270 บาท เขาเ่ช่าบ้านเดือนละ 2500 บาท และมีเงินเหลือใช้เดือนละ 3710 ถ้าไม่ขาดงาน (คิดที่วันทำงาน 23 วันต่อเดือน)
B เป็นลูกจ้างประจำ ได้เงินเดือน เดือนละ 7000 บาท เขาผ่อนบ้านเดือนละ 4500 บาท มีเงินเหลือใช้เดือนละ 2500 บาท
วันดีคืนดี รัฐบาลบอกว่า ปรับค่าแรงขึ้นเป็นวันละ 300
A ก็ยังคงเช่าบ้านเหมือนเดิม เพราะคิดว่าถ้าซื้อบ้านจะไม่มีเงินเหลือพอใช้ รายได้เขาเพิ่มเป็น 6900 เขาเช่าบ้านเดือนละ 2500 เหมือนเดิม และมีเงินเหลือใช้ 4400 บาท
B ก็ต้องผ่อนบ้านต่อไป เพราะยังมีสัญญาเหลืออีก 50 ปี (ผ่อนยาวมาก) รายได้เขาเท่าเดิม มีเงินเหลือใช้เท่าเดิม
แต่ A และ B มีค่าครองชีพสูงขึ้น 5-10% เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากนโยบาย (เอาเข้าจริง ๆ ร้านข้าวที่ผมเห็นเนี่ย เพิ่ม 20% ทั้งนั้นเลยนะ)
ถ้าคิดที่ว่า A และ B เคยมีค่าใช้จ่ายเท่ากันที่เดือนละ 2000 บาท หลังจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพสูงขึ้นทันที 7% (เอาตรงกลางละกัน) เป็นเดือนละ 2140 บาท
A มีเงินเพิ่ม 690 บาท แต่ B มีเงินลดลง 140 บาท
ถ้าคุณบอกว่า เอ้า ก็ให้ B ขายบ้านไปเช่าบ้านอยู่สิ ถามว่ามันทำได้ไหม ? ก็คงทำได้ แต่ผมคิดว่ามันคงขาดทุนแย่เพราะว่าการผ่อนบ้านปีแรก ๆ น่ะมันดอกเบี้ยล้วน ๆ ขายบ้านไปต่อให้ได้เท่าราคาซื้อ แต่ดอกเบี้ยก็ยังต้องจ่ายเพิ่มอีก มันไม่หมดง่าย ๆ
ดังนั้นวิธีที่ B จะทำได้เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดคือ ลดค่าใช้จ่ายของตัวเอง แน่นอนว่าในอนาคตเขาจะมีบ้านเป็นทรัพย์สิน แต่ในปัจจุบัน B มีบ้านเป็นภาระนะครับ
ในขณะที่ A สบาย มีเงินใช้มากขึ้น
คือเวลาเราใช้ชีวิตอยู่เราต้องมีการวางแผนล่วงหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ แต่กรณีมันมีปัญหาเนื่องจากว่าตอนซื้อบ้านเราไม่รู้ว่าอยู่ดี ๆ ค่าครองชีพมันจะสูงขึ้นโดยที่รายได้เท่าเดิม (อย่าลืมนะว่าซื้อมาแล้ว)
ถ้าเป็นกรณีนี้คุณจะโทษ B หรือเปล่าว่าทำอะไรไม่รอบคอบ ซื้อบ้านทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีรายได้มากขนาดนั้น (อันนี้จริงควรผ่อนบ้านแค่ประมาณ 1/3 ของรายได้นะครับ) ก็คงใช่ แต่อยากให้คิดว่าต่อให้ไม่ใช่บ้านก็ยังมีอย่างอื่นที่ทำให้เกิดปัญหาลักษณะเดียวกัน เอาแค่ถ้า B ดันไปซื้อ Mac Book Pro ผ่อน 10 เดือนก็เกิดปัญหาแบบนี้ได้
ลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้ากลไกการขึ้นค่าแรงมันขึ้นพร้อม ๆ กันหมดทั้งกลุ่ม A และ B ด้วยอัตราที่พอ ๆ กัน (แต่จะเป็นภาระต่อบริษัทแทน) ผมคิดว่าบ.อย่าง Nikon ก็คงคิดมาดีแล้วที่เพิ่มเงินเดือนให้ทุึกคนด้วยจำนวนเท่า ๆ กัน แต่ว่าไม่ใช่ทุกที่ที่เพิ่มแบบนี้ครับ
ปล. 7% มันก็เยอะไปหน่อย เงินเฟ้อตอนนี้น่าจะต่ำกว่า 5% นะ
ปลล. เดือนละ 4500 คงผ่อนบ้านไม่ได้หรอก ผ่อน 50 ปียังได้แค่สองล้านเจ็ด ก็คงเป็นดอกเบี้ยไปสักล้านเจ็ด ที่เหลือคือราคาบ้าน
555 แหม่ โทษนะครับ หลังๆคุณมาตั้งกฏ คนเงินเดินเยอะกว่าแค่ 1000 มาเช่าบ้านแพงกว่าเกือบ 70% ผ่อนจิปาถะถ้าแบบนั้น ผมยอมแพ้ครับแบบนี้ ผมว่านี่เป็นส่วนบุคคลละครับ
mr_tawan อุตส่าห์อธิบายอย่างยืดยาวนี่ไม่ได้ประโยชน์เลยเนอะ
ถ้าพยายามจะไม่เข้าใจทำอย่างไรก็คงไม่เข้าใจล่ะนะ
ผมแค่พยายามทำให้มันชัดเจนขึ้นล่ะครับ 555 ที่จริงใครมันจะบ้าขนาดนั้น
แต่หักตัวเลขนี้ทิ้งไป จำนวนเงินที่ B จะเสียไปก็ยังคงเท่าเดิมครับ (นี่พูดจริงนะ)
เห้นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ เงินเดือนขั้นต่ำขึ้น ราคาของทุกอย่างก้อขึ้นหมด ลองคิดดูง่ายๆครับ ค่าก๋วยเตี๋ยวขึ้นอย่างน่าตกใจครับ
กทม มันไม่เท่าไหร่หรอก ปัจจุบัน เกิน 300 ไป ยาม ชั่วโมงนึงก็ 450 แล้ว แต่ถ้าเป็น ตจว มันจะมีเรตของมัน ว่าจังหวัดไหนค่าครองชีพเท่าไหร่ ถ้าเทียบแล้ว โรงงานใหญ่ นายทุนไม่มีผลครับ แค่เปลี่ยนจากโบนัสน้อยลงเท่านั้นเอง
แต่ถ้าเป็น sme ย่อมๆ 5-20 คน เนี่ย นั่น หมายความว่า กิจการ เขาไม่ได้ใหญ่ กำไร ไม่ได้เยอะมากมายครับ หรือ บางจังหวัด ที่ค่าครองชีพยังต่ำ กำลังซื้อ ไม่สูงมาก พวกนี้จะตายเอาครับ
เห็นด้วยที่ควรปรับน่ะ แต่ควรเป็นไปตาม % ไม่ใช่ ค่าแรงแบบนี้ เพราถ้า 300 จังหวัดที่ค่าแรงจะชนเพดาน เช่น อยุธยา ชลบุรี และ ระยอง ซึ่งมีนิคมและโรงงานมาก พวกนี้ก็เสียเปรียบอีก
เพราะเท่าที่ทราบ อยุธยา นี่ จะสามร้อยแล้วน่ะ นายทุนยิ้มเลย
มุมมองผม น่าจะมองในการดีมากกว่า ถ้าแรงงานออกไป หมายความว่า โรงงานที่เป็นแรงงานใช้แรงงานจะน้อยลงนั่นหมายความว่า เราควรจะปรับตัวมากกว่า เหมือนที่สิงค์โปร์เป็น ไม่ควรจะมานั่งโทษโน่นโทษนี่ แต่ควรจะมองว่าเป็นโอกาสซะมากกว่า เพราะนั่นหมายความว่า เราต้องเปลี่ยนประเทศเป็นแรงงานใช้สมองมากขึ้นและสร้างสรรค์งานที่ใช้มาจากฝีมือความคิดสร้างสรรค์แข่งขันโดยใช้สมองและเยาวชนก็จะมีคุณภาพเพราะการแข่งขันที่เปลี่ยนจากแรงงานกลายเป็นสมอง มันจะทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ปล.มุมมองของผมคือ ชอบมองไปข้างหน้านะครับไม่ชอบมองย้อนน่ะครับ ขอโทษด้วยนะครับถ้าขัดใจบางท่าน
คืออย่างนี้ครับใช่ครับให้เป็นแรงงานสมองแทนแรงงานกำลัง
แต่คุณเห็นรัฐสนับสนุนพัฒนาการการศึกษาในด้านไหนบ้างครับ
แบบยกทั้งแผงนะครับ ขนาดระดับมหาวิทยาลัยบางแห่งยังโดนบังคับให้รับเพิ่มขึ้นทั้งที่อ.ก็เท่าเดิม ห้องเรียนเท่าเดิม
แต่labอาจต้องเป็น 2-3คนต่อชิ้นเวลาเรียน
แต่เด็กไทยรักการเรียนนะครับ เห็นว่าปัจจุบันเด็กไทยเลิกเรียนวันเสาร์อาทิตย์ยังไปเข้าเรียนติวกันอีก
วันนี้ที่รัฐบาลทำให้ตรงนี้หมดไปได้นะ ... ขอกราบงามๆ สักที
ติดถึงสมัยสอบเอน คะแนนเฉลี่ยแต่ละวิชาอยู่ที่ 10-20 /100
ไม่เคยสอบเอ็นฯ เลยไม่รู้ความรู้สึกครับ
พอดีผมมาจากสายต่อเนื่อง มันเลยไปอีกทางครับ
ได้ยินข่าว ย้ายฐานการผลิต ปลดพนักงาน แล้วไม่สบายใจทุกทีเลย แต่ก็เข้าใจว่าเป็นไปตามสภาพการปรับโครงสร้างองค์กร เพิ่อความสามารถในการแข่งขัน และสามารถอยู่รอดในธุรกิจ
เมื่อเดือนที่แล้วหอการค้า จ.ระนอง พึ่งจะออกข่าวว่า SME หลาย ๆ ที่กำลังลดค่าใช้จ่ายโดยการนำเข้าเครื่องจักรทำแทนคนมากขึ้น ผลกระทบมาจากค่าแรง 300 บาท ส่วนกรณีของ Nikon ผมว่าน่าจะมาจากการลดความเสี่ยงกรณีน้ำท่วมนะ
ผมว่าพิษ โอกาศที่จะโดนน้ำท่วมซ้ำมันสูง เลยย้ายออกไปดีกว่า
ไม่น่าเกี่ยวกับค่าแรง 300 บาทเท่าไหร่ น่าจะเป็นเรื่องของภูมิศาสตร์จากเรื่องน้ำท่วมและลาวติดจีน รวมไปถึงอาจจะเป็นเรื่องการขยายโรงงานในนิคมไม่ได้มากกว่าหรือราคาที่ดินแพงร่วมด้วย ปัจจัยค่อนข้างเยอะเลยสำหรับเรื่องนี้
+1
อยากบอกว่าบริษัทที่ผมทำอยู่ แถวชลบุรีพนักงานประมาณ 5-6 พันคน มีแผนแล้วครับที่จะย้ายโรงงานไปลาว ประมาณ
ปีหน้า แต่จะย้ายไปเฉพาะส่วนที่่งาน assy ง่าย ๆก่อนที่เหลือก็ค่อย ๆทยอยตามไปแต่คงไม่ทั้งหมดงานประกอบยาก ๆยังอยู่
เมืองไทยก่อน ... 100% คือผลจากค่าแรงครับ ..
"น้ำท่วมนี้แก้ยาก ยังมีค่าแรง 300 อีก หนีดีกว่า" Nikon
300 นี้กระทบงานฝ่ายผลิตไปเต็มๆ ยิ่งบ้างบริษัทให้เยอะกว่าชาวบ้านอยู่แล้วเจอโดนขั้นต่ำปรับมาก็ต้องปรับขึ้นไปอีกไม่งั้นพนังงานก็โว้ย น่าสงสาร
ผมมองว่ามันเป็นเรื่องซับพลายเชนนะ สมัยก่อนนิคอนใช้เซนเซอร์โซนี่ซึ่งผลิตในบ้านเรานี่แหละ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นก็มี ถ้าค่าใช้จ่ายในการขนส่งชิ้นส่วนเปลี่ยนไปก็เป็นส่วนที่ต้องคิดว่าย้ายไปในที่ที่ให้ข้อตกลงดีกว่า แล้วนิคอนก็เปิดมานานน่าจะใกล้ที่จะหมดช่วงเวลาลดภาษีของ BOI แล้ว การย้ายโรงงานไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
ผมว่าพวกที่เอะอะก็โทษนโยบาย300 นี่ตะหากที่หมกมุ่นการเมืองมากไปนะครับ
จริงอยู่ว่ายังไงก็กระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ปัจจัยหลักในการย้ายฐานไม่ใช่เรื่องนี้หรอก โดยเฉพาะกับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์ ที่ฐานรายได้ขั้นต่ำส่วนใหญ่มากกว่าตัวเลขนี้มานานแล้ว หรืออย่างมากก็ปริ่มๆใกล้เคียง ไม่ใช่ปัจจัยที่กระทบร้ายแรงเหมือนกลุ่ม SME หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไร้ทักษะเป็นหลักครับ
แต่ปัจจัยสำคัญของเคสในข่าว คิดว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมมากกว่า รวมไปถึง อาจจะต้องการใช้แรงงานราคาถูกในประเทศเพื่อนบ้านกับบางงานที่ไม่ต้องการคุณภาพมากนัก แต่งานที่ต้องใช้แรงงานทักษะสูง บอกได้เลยในอาเซียนนี่เราอันดับหนึ่งในด้านการควบคุมคุณภาพ เขาไม่กล้าย้ายหนีง่ายๆ ยังไม่รวมถึงเป็นhub ทางการขนส่ง ทั้งทางอากาศและทางเรือ ต้นทุนการขนส่งจากประเทศที่ไม่มีพวกนี้มันสูงนะครับ
นอกจากปัจจัยภายในแล้ว ตอนนี้เศรษฐกิจยุโรปค่อนข้างแย่ อุตสาหกรรมทุกกลุ่มได้รับผลกระทบโดยตรง จากตัวเลขการสั่งซื้อที่น้อยลง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง มามัวด่ากันเองเรื่องนโยบาย300กัน โดยไม่สนใจปัจจัยภายนอกที่น่ากลัวกว่าเยอะเลย
เยี่ยมครับ
สมมติโรงงานข้างๆ แรงงานไร้ฝีมือเดิมได้ 175 วันนี้ได้ 300
โรงงานคุณแรงงานทักษะ เดิมได้ 300 วันนี้คุณจ่าย 300 เขาจะยอมไหม?
แล้วยุโรป/อเมริกาไม่มีทีท่าจะโงหัวขึ้นมาแบบนี้ ผู้ผลิตจะเหลือทางเลือกอีกกี่ทาง?
แล้วโรงงานทักษะไม่จำเป็นต้องพึ่งชิ้นส่วน/วัตถุดิบจากโรงงานไร้ทักษะเลยหรือ แล้วถ้าค่าแรงของโรงงานไร้ทักษะเพิ่มขึ้น โรงงานพวกนี้จะหาเงินเพิ่มจากทางไหน?
ปัจจัยภายนอกกำลังแย่ รัฐบาลเลยช่วย"ซ้ำ"ด้วยนโยบายเพื่อการหาเสียง ไม่ได้สนใจเลยว่าโรงงานเล็กๆไหวมั้ย ถ้าไม่ไหวแล้วจะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่แบบไหน แล้วนโยบายเพื่อรองรับปัญหานี้อยู่ที่ไหน
ไม่ด่ารัฐบาลให้ด่าใครครับ? ด่าคนที่มาป้องแบบหลับหูหลับตาตั้งแต่หาเสียงด้วยนโยบายนี้ว่าให้รอดูก่อน ถ้ารัฐไม่มีนโยบายช่วยเหลือ SME จริงๆค่อยด่า จนปัจจุบันก็ยังไม่เห็นนโยบายเป็นรูปธรรมก็ยังมาตามปกป้องอีก จะดีมั้ยครับ?
ผมมองกลับกันนะ ยังไงค่าแรงก็ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอยู่แล้ว เอาแค่พนักงานรายเดือนก็ต้องเพิ่มเฉลี่ย 5% ทุกปี ทำไมแรงงานรายวันจะต้องเท่าเดิมกับสิบปีที่แล้ว?
ส่วนถ้าได้เท่ากัน(ซึ่งเป็นไปได้ยาก) ระหว่างงานไร้ทักษะกับใช้ทักษะ แรงงานเลือกงานแบบมีทักษะครับ เพราะจะใช้"แรง"น้อยกว่าเยอะ แม้จะใช้ความสามารถในการทำงานมากกว่าแต่โดยรวมก็สบายกว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานก็สบายกว่าอยู่แล้ว(ส่วนใหญ่โรงงานห้องแอร์) รวมไปถึงโอกาสเจริญก้าวหน้าที่มากกว่า เพราะหลายที่จะปรับให้แรงงานมีทักษะจากรายวันเป็นรายเดือนครับ ในขณะที่แรงงานไร้ทักษะนี่คือแรงงานชั่วคราวจริงๆ ไม่มีโอกาสเจริญก้าวหน้าอะไรมากกว่านั้น ยิ่งยุคใหม่เขาก็พยายามใช้เครื่องจักรมาแทน เพื่อควบคุมคุณภาพในการผลิตจากแรงงานรายวันไร้ทักษะนี่แหละ
แต่ประเด็นเรื่องกลัวแรงงานไร้ทักษะจะตกงาน อันนี้ไม่น่าห่วง แต่จะมีปัญหาจาก การขาดแคลนแรงงานแทนตะหาก ตรงนี้มันมีปัญหาน้ำท่วมมาผสมด้วย เพราะแรงงานเพื่อนบ้านหนีกลับบ้านตอนน้ำท่วมไปราวๆสองแสนคน และแทบจะไม่กลับมาอีก เนื่องจากใช้ค่าเดินทางสูง ประกอบกับเพื่อนบ้านเริ่มเปิดประเทศ มีธุรกิจไปลงทุนที่นู่นมากขึ้น เขาก็หางานแถวๆนั้นโดยใช้ประสบการณ์จากงานที่เคยทำในไทยนี่แหละ
ตอนนี้เลยกลายเป็นว่า หลายที่ให้ค่าแรงสูงสูงกว่า300ไปเยอะ แต่หาคนทำไม่ได้ด้วยซ้ำ
ส่วนประเด็น SME ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน จริงๆถ้าSMEทำบัญชีแบบถูกกฎหมาย ไม่เลี่ยงภาษี ก็จะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนิติบุคคลพอสมควร(ผมเห็นตัวเลขSME ขนาดใหญ่หลายเจ้า โชว์ตัวเลขได้กำไรเพิ่ม จากการลดภาษีนะครับ) แต่ถ้าเป็นธุรกิจในครัวเรือนที่ชอบทำบัญชีขาดทุนไว้หลอกสรรพากร ก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร ก็คงต้องปรับตัวล่ะครับ จะคาดหวังแรงงานราคาถูกเหมือนสิบยี่สิบปีที่แล้วไม่ได้ เราก็คงต้องยอมรับว่า SME ต้องปรับตัวไปในแนวทางโลกธุรกิจยุคใหม่ ที่ต้องเน้นประสิทธิภาพการทำงาน โดยปรับการทำงานมาเป็นระบบ มีระบบdiscipline ที่เข้มงวดมันถึงจะอยู่รอดไปได้ ไม่ใช่หวังเอาเปรียบจากแรงงานทาสราคาถูกเรื่อยไปครับ
จากทั้งสองเรื่องทั้งค่าแรงที่ปรับตัว กับการขาดแคลนแรงงานไร้ทักษะเนื่องจากหนีกลับเพื่อนบ้านไป ก็คงต้องทำให้เราปรับทิศทางนโยบายในประเทศไปเยอะเช่นกัน จะคาดหวังการเป็แหล่งผลิตโดยใช้แรงงานไร้ทักษะราคาถูกต่อไปก็คงยากแล้ว อาจจะต้องย้ายฐานส่วนนี้ไปเพื่อนบ้านที่ยังค่าแรงถูกทดแทนไป แต่เรายังมีหวังกับการผลิตที่ใช้ทักษะสูงที่เรามีชื่อเสียงในด้านนี้อยู่แล้ว ตรงนี้แหละที่ผมว่าเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานและสังคมโดยรวมไปในตัว
ส่วนด่ารัฐบาลหรือตำหนินโยบาย อันนี้เป็นสิทธิ์ที่จะทำได้ แต่การเหมารวมทุกเหตุการณ์ว่าเกิดจาก 300 บาทอย่างเดียว มันดูไร้เหตุผลเกินไปครับ ส่วนเรื่องว่าปัจจัยภายนอกแย่ แล้วรบ.มาทำให้แย่ลงอีก อันนี้คงไม่ใช่ เพราะนโยบายนี้เกิดก่อนวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป และยังมีเรื่องน้ำท่วมมาผสมผเสไปอีก แต่ดูแล้วรบ.ก็ปรับนโยบาย ด้วยการพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศจากการลงทุนโครงสร้างการคมนาคมขนาดใหญ่ และเน้นการขยายตัวผ่านAEC มากขึ้นด้วยการเชื่อมต่อระบบโครงสร้างต่างๆ แทนที่จะหวังขายของแต่ยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาอย่างเดียว
จริงๆผมเห็นด้วยเรื่องการควบคุมค่าแรงขั้นต่ำ แต่มันต้องมีจังหวะ ไม่ใช่ปรับพรวดเดียว
ผมเห็นด้วยว่าเราควรส่งเสริมแรงงานทักษะสูง เพิ่มการผลิตด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติแทน แต่มันควรจะเริ่มจากการเพิ่มทักษะแรงงานอย่างจริงจังก่อน
เพื่อนๆผมที่เป็น SME หรือแม้แต่บริษัทพ่อผมเอง ลดคนงานไร้ทักษะไปก่อนเลยครับ แล้วไปลงทุนด้านเครื่องมือแทน ส่วน SME ที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่มีเครดิตพอจะเพิ่มเครื่องมือก็กระอักตามๆกัน บางคนก็ปิดกิจการไปแล้ว นี่ผมไม่ได้ตามข่าวเลยนะ คนรอบๆข้างนี่แหละ
ซึ่งทั้งหมดนี้ถ้ารัฐบาล หรือเอาแค่คุณก็ได้ กล้ายืนยันว่าเป็นแผนที่วางไว้แล้วเพื่อบีบให้ประเทศต้องพัฒนา ไม่ใช่เพราะนโยบายหาเสียงที่ต้องทำให้เป็นจริงเพราะหวังคะแนนสมัยหน้า ส่วนประเทศจะเป็นยังไงก็ไปวัดดวงกันเอา ผมก็โอเคครับ
แหม ถ้าผมยืนยันได้ แสดงว่าผมเป็นที่ปรึกษาในพรรครบ.สิครับ? โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าตัวเลข300ที่ค่อนข้างก้าวกระโดด นี่ก็เพราะเรื่องการหาเสียงด้วยส่วนหนึ่ง แต่นโยบายการขยายโครงสร้างทางโครงข่ายคมนาคมขนาดใหญ่และการเชื่อมต่ออื่นๆ ก็พอจะให้คิดในทางดีได้ว่า ต้องการยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศจริงๆ และมีแผนต่อเนื่องอีกหลายส่วน ไม่ใช่นโยบายสิ้นคิดแบบทำแล้วไม่มีทางต่อยอด แบบการแจกเงินเพื่อกระตุ้นนิดหน่อยแล้วจบไปสั้นๆ
ผมก็พูดไปตามที่เห็น โลกเปลี่ยน นโยบายมันก็ต้องเปลี่ยน เอกชนก็ต้องปรับตัวตาม ผมไม่มีกิจการส่วนตัว แต่เพื่อนผมเป็นพ่อค้าข้าวอยู่ตจว. ก็ปวดหัวกับการขาดแคลนแรงงาน เคยบ่นให้ฟังหลายที(ในนี้ด้วย)ว่าให้วันละ4ร้อยกว่ายังหาแรงงานแบกหามได้ลำบาก(แบกข้าวลงจากรถตอนไปส่งลูกค้านะ)เพราะแรงงานคนไทยก็เลือกแต่งานสบาย มาทำสองสามวันก็ทิ้งงานหนีไปหมด ลูกน้องหลักๆก็เลยมีแต่ต่างด้าว(ถูกกฎหมายนะ)แต่ปัญหาคือพวกนี้บางทีขอกลับไปบ้าน แล้วไม่ค่อยได้กลับมารวมถึงจะหาคนเพิ่มก็ยาก เพราะการขอใบอนุญาตยุ่งยาก
หรือจะพูดอีกอย่างคือการขึ้นค่าแรง ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาตกงานหรอก แม้คุณจะบอกว่าต้องไล่แรงงานไร้ทักษะที่เกินจำเป็นออกบ้าง แต่เขาเหล่านั้นก็ไปหาใหม่ได้เยอะแยะแถมอาจเลือกงานได้สบายขึ้นด้วยซ้ำจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน(ที่เกิดจากน้ำท่วมด้วยส่วนหนึ่ง) แต่ทำให้เจ้าของกิจการปวดหัว ต้องปรับตัวกันนี่แหละ ซึ่งเพื่อนผมก็ลงทุนด้านเครื่องจักรพวกบรรจุถุงไปเยอะแล้วลดแรงงานจนใช้แค่คนคุมเครื่องจักรก็พอ เหลือแค่แรงงานแบกหามที่ยังจำเป็นต้องใช้คนนี่แหละ
มันเลยต้องมาคู่กับนโยบายลดภาษีนิติบุคคลไงครับ ขึ้นค่าแรง-เงินเดือน (ช่วยคนงาน-พนักงาน) ลดภาษี (ช่วยบริษัท)
ลดภาษี SME ขนาดเล็กกลางได้ประโยชน์ไม่มากนะผมว่า ส่วนใหญ่ได้กับโรงงานใหญ่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากค่าแรงไม่มากนัก เอาตัวรอดได้ แต่ SME ขนาดแล็กถ้าต้นทุนเพิ่มหนักๆจากค่าแรง ภาษีมันก็ต้องจ่ายน้อยลงตามอยู่แลง ยิ่งถ้าขาดทุนมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรกับการลภาษี
ผมว่าค่แรงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของทั้งหมดนะ มีน้ำท่วมมาอีก จริงครับที่ไทยจะเป็นฮับแต่ลาวนั้นก็อย่าดูถูกครับ พี่จีน นี้ ลงทุขขั้นสุดยอดอย่ามากกับลาวนะ ระบบขนส่งถ้าเสร็จ แล้วนี้ จีนมาลาวมาไทยได้ง่ายๆ เลย แถมกำแพงภาษีจากลาวมาไทยกไม่มีแล้ว ไทยเราก็เตรียมตัวทำระบบขนส่งที่ดีเยี่ยมแล้ว แล้วที่ว่าแรงงานมีฝีมือ ไทยนั้นยอดเยี่ยม แต่ว่าที่เราว่ายอดเยี่ยมกันนั้น แรงงานกว่าาครึ่งที่เราภูมิใจว่าฝีมือดีนั้น ไปดูจริง ๆ เนีย ลาว พม่า เวียดนามทั้งนั้นเลยนะ แล้วอีกอย่า คิดดูนะตอนี้ตลาดโลก เฝียบแต่จีนนี้ไม่เงียบนะ
ถ้าเป็นกรณีที่ไปตั้งโรงงานที่ลาวของนิคอนนั้น ไม่ได้เกี่ยวกับจีนแต่อย่างใดครับ เพราะว่าเป็นการสร้างในนามของนิคอนประเทศไทยส่วนโรงงานนิคอนที่จีนนั้นขึ้นตรงกับนิคอนญี่ปุ่นครับ
ในไทยมีหลายปัญหา ทั้งปัญหาน้ำท่วม ปัญหาไฟฟ้าที่จะไม่เพียงพอต่อการใช้ ปัญหาประท้วงการเมือง
ส่วนเรื่องระบบขนส่งอย่างรถไฟฟ้าความเร็วสูงก็ล่าช้ากำหนดแล้วเสร็จช้ามาก ในขณะที่ลาวล่วงหน้าไปก่อนแล้วขนาดจะกู้เงินมาทำยังมีคนคัดค้านเลย (แต่ไม่เห็นคัดค้านเวลาประมูลรับงาน)
รู้สึกเหมือนการเมืองทำให้ประเทศไม่ไปไหนมองแต่ผลประโยชน์ส่วนตน จนต่างชาติยังขยาดเพื่อนบ้านก็แซง
ถ้าในระแวกบ้านเรา ไทยเราน่าจะนำที่สุดเรื่องไฟฟ้านะผมว่าส่วนรถไฟความไวสูง ผมว่าไม่มีใครเอามาใช้ส่งของกันหลอกครับ ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
+1 รถไฟรางคู่เหมาะกว่า
ในช่วงระยะ 5ปีมาผมไปลาวไม่ต่ำว่าปีละ 10 ครั้งครับ ระบบขนส่งที่จีนลงทนให้ลาวเนี้ย มันไม่ได้มีแต่รถไฟฟามไวสูงนะครับ ถ้า ณ ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นผลมาก เพราะตอนนี้ที่เวียงจันทร์ฝุ่นทั้งเมืองครับ เพราะ กำลังก่อสร้างแบบ สร้างให้ทั้งเมือง ถนน ก็ขยาย คนรวยลาวนิยมมาไทยไทยเยอะขึ้น โดยเฉพาะมา ชิคที่อุดร
มีคนยอมจ่ายค่าขนส่งของผ่านเครื่องบินแล้วทำไมจะไม่มีคนยอมจ่ายเพื่อรถไฟความเร็วสูงครับ ?
costสินค้าบางอย่างเพิ่มขึ้นไม่มากแต่ระยะเวลาสำคัญที่ใช้ขนส่งมากนะครับ แล้วรถไฟฟ้าความเร็วสูงเรื่องมากน้อยกว่าเครื่องบินแน่นอนครับ
แล้วรถไฟฟ้ารางคู่ก็จำเป้นต้องสร้างเหมือนกัน
แต่ใจความที่จะสื่อคือประเทศไทยอยู่ในสภาวะสูญญากาศมานานจนเกินไปแล้วควรจะเริ่มเคลื่อนไหวได้ก่อนที่เทรนด์จะหมุนไปที่ประเทศรอบๆข้างจนหมด
อันนี้วิเคราะห์ได้ตรงจุดที่สุดแล้วครับ
จะว่าไปแล้วนิคอนเริ่มย้ายไปผลิตที่ลาวได้ปีกว่าแล้วครับตั้งแต่หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นข่าวอะไรและก็ไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไรนัก แล้วที่ย้ายไปก็เป็นพวกพาร์ตเล็กๆ มากกว่า ซึ่งไม่ได้ต้องการแรงงานที่ทักษะสูงมากนักแล้วแรงงานราคาถูกที่ลาวก็ใช่ว่าจะดีนะครับ บางวันที่ต้องเร่งทำยอดจะให้ทำโอทีก็ไม่ยอมทำ
ยิ่งในวันเทศกาลต่างๆ ของลาวนี่นึกจะหยุดก็หยุดเอาซะดื้อๆ พร้อมใจกันหยุดหมด บังคับก็ไม่ได้ ไลน์ผลิตก็ต้องหยุดตาม
แล้วยิ่งการแยกไลน์ผลิตออกมาเป็นช่วงแล้วไปผลิตตามโรงงานต่างๆ นี่คนทำระบบเหนื่อยนะครับ ต้องรวมข้อมูลแต่ละที่ให้กลับมาอยู่ด้วยกัน ถ้าเน็ตเวิร์คมีปัญหาส่งข้อมูลไม่ได้นี่ทำเอาไลน์ผลิตหยุดไปเลยนะครับ (นิคอนมีระบบสืบกลับย้อนหลังที่เข้มงวดมาก)
วงในมาแล้ว :)
น่าสงสัยจริงๆ ว่าในนี้มีคนที่ทำงานอยู่นิคอนกี่คน :D
ไอ้เรามันมีข้อมูลไม่เยอะเลยไม่กล้าไปเถียงกับเขา
ผมเห็นข้างล่างแว่บ ๆ มีอีกคน 555
เย้ยย ดูเหมือนจะเจอรุ่นน้อง :)
TC v1x
^
^
that's just my two cents.
หลังไมค์มาหน่อยได้ไหมครับ :D
แอบตามข้อไปดูโปรไฟล์ ก็ชัดเจนว่าวงในสุดเลย งั้นข่าวนี้ก็สรุปตามความเห็นนี้แล้วกัน :P
Toyota ก็แล้ว
นี้ Nikon อีกตัวด้วยหรือเนี้ย T^T
บริษัทที่รวยอยู่แล้ว ผลกระทบจาก 300 บาทไม่เยอะจนต้องย้ายฐานหนีหรอกครับ
ที่ย้ายฐานหนี คงเป็นจากนโยบายอย่างอื่นมากกว่า
หมายเหตุ เคยไปลาวที่... จำไม่ได้ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามมุกดาหารครับ
ประมาณปี 2545-7 นี่แหล่ะ ข้าวตกจานละ 50-60 บาทเลยนะครับ
น้ำมัน 91 ก็ 30 กว่าบาท ตอนนั้นไทยยัง 20 กว่าบาทอยู่เลย ถ้าจำไม่ผิดนะ
วัฒนธรรมการกินไม่เหมือนกันครับ ที่ลาว ถ้ากินข้าวนอกบ้านจะแพงมาก เค้าเลยนิยมทานข้ามมาจากบ้านแล้วห่อข้าวไปกินครับ แบบที่อังกฤษ คนเค้ากนิยมห่อข้าวไปกิน เค้าถึงได้บอกไงครับว่าเมืองไทยสบายสุดหาของกินง่ายแล้วก็ถูก
ที่แพงมันไม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมแบบอังกงอังกฤษอะไรนั่นหรอกครับ, ที่แพงเพราะทุกๆอย่างนำเข้าจากไทย น้ำปลา,น้ำตาล,ซอส,ซีอิ๊ว,น้ำมันพืช นำเข้าทั้งนั้นแล้วมันจะถูกได้ไง, ก็เลยกินที่บ้านเพราะที่บ้านกินผักกินปลาตามที่มีในท้องถิ่น
ที่ผมพูดแบบนี้เพราะมันเป็นแบบนี้มาเป็นสิบๆปีแล้วครับ ตั้งแต่ของทุกอย่างนำเข้าจากไทยเลยแพง แต่สมัยนี้นำเข้าจากจีน ถูกลงเยอะครับ แต่ร้านอาหรก็ยังแพงอยู่ ผมเลยเปรียบแทบให้ดูเฉยๆ คนเค้าเวลาไปทำงาน มักจะห่อข้าวไปกิน ปัจจัยที่แพง อาจจะเป็นเพราะร้านอาหารของลาวไม่ได้เยอะแบบเดิน 3 ก้าวเจอแบบบ้านเราก็ได้มั้งนะครับ แต่ของกินบางอย่างี่เป็นแบบสำเร็จ ยังถูกอยู่เยอะแยะครับ เช่นขนมปังลาวที่เหมือน ขนมปังฝรั่งแข็งๆ มีไก่มีผัก 20 บาท กินจนจุกอ่าครับ เพราะถ้าเทียบกับไทยแล้ว อาหาร ที่ประเทศไทยนั้นถูกมากครับอร่อยอีกต่างหาก
ค่าแรงมีผลต่อการตัดสินใจแน่นอน แต่เป็นแค่ส่วนนึง
แต่การที่เค้าจะย้าย ผมไม่คิดว่าเป็นผลดีหรือไม่ดีนะ ประเทศไทยเปลี่ยนนโยบาย สภาพแวดล้อมในประเทศก็เปลี่ยน บริษัทที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศก็ต้องเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม อเมริกาเองค่าแรงแพง เค้าก็อยู่ได้ จีนค่าแรงถูกก็อยู่ได้ แต่ธุรกิจในประเทศก็ไม่เหมือนกัน ประเทศไทยถ้าเปลี่ยนนโยบาย ธุรกิจก็ต้องดำเนินในรูปแบบที่เหมาะกับนโยบายนั้นซึ่งไม่แปลกเลยที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง จะย้ายออก จะขยาย หรืออะไรก็ตาม ถ้าเปลี่ยนนโยบายแล้วยังดำเนินธุรกิจเหมือนเดิมไปเรื่อยๆ แค่ปรับต้นทุนปรับราคาตาม คงไม่ใช่
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ปรับค่าแรงแต่คุณภาพแรงงานไม่ได้เพิ่มตาม มันจะดีไปได้ยังไง
R.I.P Thailand.
ไม่ต้องแปลกใจ นายทุนเขาทำธุระกิจแล้วต้องได้กำไร
เมืองไทยปัญหาเยอะ
อ่าวปีโน้นเหลืองปิดสนาม
อ่าวปีนี้แดงปิดกรุงเทพ
อ่าวปีนั้นน้ำท่วม
อ่าวปีนี้การเมื่องส่อวุ่นวาย
ญี่ปุ่นเขาจึงเลือกลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านต่างๆ ต่ำ และให้ผลตอบแทนดีกว่า
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ไปดีเถิดครับ อ่านเหตุผลแล้วไม่กล้ารั้งไว้เลย
เค้าหนีรถติดน้ำมันแพงครับ อิอิ
ในข่าวก็บอกลดต้นทุน
เค้าต้องย้ายไปประเทศที่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าอยู่แล้ว ทั้งค่าน้ำมันขนส่ง
ไปลาวลดได้เยอะครับ
ผมยังอยากไปอยู่ลาวเลย รถถูก น้ำมันถูก
แต่รักประเทศไทยมากกว่า ฮ่าๆ
ราคาน้ำมันประเทศลาวไม่ถูกนะครับ แพงพอตัวเลยเหมือนกันครับ
ผมพูดขำขำนะครับ
จริงๆแล้วผู้ประกอบการน่าจะลดความเสี่ยงที่ประเมินไม่ได้จากสถานการณ์ในประเทศไทยหลายๆด้านทั้งภัยธรรมชาติ และความวุ่นวายต่างๆในตอนนี้
ทำธุรกิจมันก็ต้องการกำไรอยู่แล้ว ทีนี้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะกำไรลดลง เขาน่าจะมีจุดวิกฤตที่คำนวณได้อยู่ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ส่วนเรื่องน้ำท่วมนะ จะบอกว่าเป็นเรื่องการเมืองครับ คนในบริษัทใหญ่ๆ ทำไมจะไม่รู้สาเหต คนรู้จักผมที่รู้จักกะคนที่ทำงานในบริษัทใหญ่ๆ แถวอยุธยาหลายคนก็บอกมาเป็นเสียงเดียวกันทั้งที่อยู่คนละบริษัท
ดังนั้นความเสี่ยงเรื่อง การทะเลาะกันเรื่องการเมืองก็ส่วนนึง
ผมว่าเมืองไทยไม่น่าอยู่ในช่วงนี้ ประกอบกับผลกำไรลดลง จึงน่าจะถึงเวลาที่กระจายความเสี่ยงมากกว่าครับ
ถึงเวลาต้องปรับตัวครับ หลายโรงงานยังคงรับจ้างประกอบอย่างเดียวก็คงอยู่ยาก(ไม่ได้หมายถึงนิคอนนะ) เพราะเรามีเพื่อนบ้านที่ทำตรงนี้ได้ดีกว่าเรามาก หลายโรงงานที่เคยไปเข้าไปไม่มีนโยบายจ้างวิศวกรบอกได้เลยว่าไม่ใช่ว่าวิศวกรทำงานไม่เป็นแต่เป็นเพราะมันไม่มีงานที่ต้องใช้วิศวกรมีแต่งานซ่อม/ประกอบ ไม่มีงานสร้าง
เห็นตอบกันเยอะขี้เกียจอ่านละ
อยากให้รัฐกำหนดรายได้ขั้นต่ำของ it consult ด้วยให้มีเงินเดือนขั้นต่ำ 150,000 ครับ
ผมอยากเป็น consult ทันทีครับ
กราบงามๆ เลย
ถ้าว่ากันไปถึงอนาคต สักวันลาวก็ต้องได้ 300 บาทสักวัน แล้วนิกอนก็จะย้ายต่อไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น บางทีเราอาจเห็นกล้องที่ Made in Ethiopia ก็เป็นได้
ผมว่ามันเป็นเรื่องของการ ขยาย เพื่อพัฒนา รองรับความเสี่ยง ทำธุรกิจมันต้องมีการวางแผน แน่นอน เค้าไม่ได้คิดแบบเราหรอก ไอที่เราวิจารณ์กันไป อาจจะไม่เกี่ยวเลยก็ได้
ป.ล. ส่วนตัว 300 บาท ขึ้นแล้วดีนะ คนอื่นที่เค้ารายได้น้อยเค้าก็มีเงินเก็บมากขึ้นซื้อของที่อยากกินได้มากขึ้น ผลกระทบด้านอื่นๆเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเอาตัวรอดอยู่แล้ว แม้แต่เจ้าของกิจการเองก็ตาม
Texion Business Solutions
โรงงานที่ผมทำงานค่าแรง 400-500 บาท เข้ามาทำแปบๆ ก็ออก ผมก็งง อ้าว โรงงานเข้าให้เงินน้อยไปหรือไ ถึงรีบออกกันจัง
ตอนนี้ uิคอu ให้ค่าแรงสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ อยู่แล้ว มากกว่า 300 บาท
และมีการขึ้นค่าแรงให้หลังจากน้ำท่วม ก่อนที่ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะขึ้นเป็นปีแล้ว
ค่าแรงขึ้น 3,xxx ต่อเดือน เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ก็ยังผลิตเต็มกำลังปกติ
ที่จริงผมว่า ถ้าข่าวนี้จั่วหัวว่า "นิคอนประกาศสร้างโรงงานผลิตกล้อง DSLR เพิ่มที่ลาว" อาจจะไม่ดราม่าขนาดนี้ก็ได้นะ 555
ข่าวนี้น่ากลัวจริง เนื้อหานิดเดียวคอมเมนต์ยาว
หัวข้อข่าวเสี้ยมมาก :P
ยังไงครับ ?
หัวข่าวข่าวแอบซ่อนข้อความระดับซับลูมินอลที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยเทคโนโลยีอะไรก็ตามที่มีในปัจจุบันครับ
คนมันจะดราม่า ... ที่ไหนก็ฟัดกันได้
พาดหัวบอกว่าย้ายไปแล้ว แต่อ่านเนื้อข่าวแล้วคือ Nikon เขาไปเปิดโรงงานเพิ่มที่ลาว ส่วนที่อยู่ในไทยยังอยู่นี่ครับ?
หรือผมเข้าใจอะไรผิดไป???
นิคอนประกาศย้ายฐานการผลิตกล้อง DSLR "บางส่วน" จากประเทศไทยไปที่ลาว
เค้าย้ายไปบางส่วนจริงๆ ครับ คือชิ้นส่วนง่ายๆ เอาไปปลิตที่โน่นเลย
จะบอกว่าเปิดเพิ่มก็ได้ แต่ในไทยน่าจะไม่ผลิตชิ้นส่วนที่ว่าแล้วครับ ก็คือย้ายไปผลิตที่โรงงานที่เปิดเพิ่ม
บ๊ะ ยิ่งพูดยิ่งมึน
อันนี้อ่านจากคห.บนๆ เอานะครับ ลองตามอ่านดู (3 วัน)
แสดงความเห็นกันเรื่องค่าแรงเยอะมากๆ บ้างก็ว่ากระทบ บ้างก็ว่าไม่
ถ้าจะบอกว่าเป็นเพราะน้ำท่วมก็คงจะไม่ค่อยมีเหตุผลสักเท่าไรนักเพราะประเทศไทยมีนิคมอุตสาหกรรมที่ไม่ได้โดยน้ำท่วมและไม่เคยโดนเลยมีตั้งเยอะแยะ ย้ายไปสิไม่เห็นจะยาก
แต่ถ้าเข้าไปอ่านในต้นฉบับชึ่งก็คือข้อมูลจากนิคอนเองก็คงจะรู็ว่าเหตุผลด้านต้นทุนคืนเหตุผลหลักอันเหตุผลหนึ่งที่เค้าต้องตั้งฐานที่โน้นเพิ่ม
น่าคิดนะว่าทำไมเค้ามองว่าบ้านเรามีต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้นจนต้องย้ายฐานไปประเทศอื่นทั้งๆที่บ้านเราการขนส่งหรืออะไรต่างๆมันพร้อมมากกว่า
ส่วนตัวมองว่าเหตุผลของการขึ้นค่าแรงไม่ว่าจะกี่บาทก็ส่งผลกระทบท้างอ้อมกับทุกๆบริษัทชึ่งผลกระทบท้างอ้อมนี้สร้างรายจ่ายให้กับบริษัทมากกว่าทางตรงเสียอีก การขึ้นแบบก้าวกระโดดโดยไม่ฟังเสียงของบริษัทต่างๆเลย อนาคตจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ค่าแรงขั้นต่ำจะไม่เท่ากับ 1,000 บาทละ
ผมเห็นผู้บริหารนิคอน ไปลาวบ่อยช่วงหลังน้ำท่วมนะครับ
จบปะ
กว่าจะอ่านทุกคอมเม้นจบ เกือบครึ่งชั่วโมง
รับรางวัลได้ที่ @mk ครับ
ผมยังอ่านแบบผ่านๆ เลย
มาเสพดราม่า เอ้ย มารับความรู้หลายๆมุมมอง
โรงงานในลาว แต่ Ownership
Nikon (Thailand) Co., Ltd. (Approximately 99.99%) and other
ไม่ใช่ Nikon Corp Japan ครับ ฝั่งไทยก็เป็นฝ่ายดูแลทางนั้นอยู่ดี
แต่การจ้างงานไปอยู่ที่ลาวไงครับ
ขอถามเป็นความรู้ แล้ว Nikon Japan นี่ถือหุ้นใน Nikon (Thailand) กี่ % อะครับ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มาม่าเว็บนี้ไม่เห็นเหมือนเว็บอื่นเลยแฮะะะะะ
+1 อ่านแล้วเหนื่อยได้เลย
อ่านคอมเม้นต์แล้วนึกว่านิคอนจะปิดโรงงานที่ไทยแล้วมีพนักงานตกงานเยอะแยะซะอีก
ข่าวนี้มันไม่น่าดราม่าเลยนะ ถ้าไม่สาดสีใส่กันน่ะ
Topic Discussion Of The Week!
ข่าวก็บอกแล้วว่า "เพื่อปรับยุทธศาสตร์การผลิตและควบคุมต้นทุน" นั่นคือต้นทุนบ้านเราแพงกว่า คำถามก็คืออะไรที่แพงกว่าลาวบ้าง ค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ ค่าพลังงานเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง ฯลฯ
ไหนๆก็นอกเรื่องกันไปไกล ขอแนะนำ อันนี้ หน่อยครับ
แนะนำว่าให้ดูให้จบ แต่ดูแล้วอย่าเชื่อหมด ค.ว.ย ก่อนสรุปครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)