วันนี้ ผมได้รับข่าวจากสภาเยาวชนกทม.ว่ากระทรวงวัฒนธรรมจะจัดงานสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเชิงบวก สำหรับเด็กและเยาวชน” พร้อมกันนี้จะมีการเปิดตัว โปรแกรมป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก (GamerGuard) ที่พัฒนาร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังด้วยครับ ซึ่งผมได้รับลิงค์ดาวน์โหลดโปรแกรมมาด้วยเลยนำมารีวิวครับ
คุณสมบัติที่น่าสนใจของโปรแกรม GamerGuard
- ตั้งค่าเพื่อเฝ้าดูการใช้งานเกม และอินเทอร์เน็ต
- ดูข้อมูลสถิตการใช้งานเกม และอินเทอร์เน็ต
- ดูข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเล่นเกม และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
การติดตั้ง และการใช้งานโปรแกรม GamerGuard
สามารถติดตั้งเหมือนโปรแกรมอื่นทั่วไป เมื่อจบการติดตั้งแล้วจะมีหน้าต่างให้ตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าโปรแกรม
สามารถเข้าถึงโปรแกรมได้ทาง System Tray ในหน้าจอหลักต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้ง
เมื่อเข้าไปแล้วจะพบ 3 ส่วนหลักคือ การตรวจตราเกม (ตั้งค่าโปรแกรมที่ให้เฝ้าติดตาม), รายงานสถิติ และข้อมูลความรู้
ลองใช้โปรแกรม GamerGuard อยู่พักใหญ่ๆ แล้วพบว่า
หน้าต่างล็อกอิน และหน้าต่างสรุปผลจะแสดงผลเพื้ยนเมื่อไม่ได้ตั้งค่าหน้าจอตามที่แนะนำ
โปรแกรมไม่มีฐานข้อมูลเกม (แม้แต่เกมไพ่ของ Windows) ผู้ใช้เพิ่มการตั้งค่าสำหรับเกมเข้าไปเอง
โปรแกรมรู้จักเว็บเบราว์เซอร์ชื่อดัง (IE , Firefox ,Google Chrome และ Opera) ทำให้สามารถเริ่มบันทึกสถิตได้ทันทีแต่ถ้าเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ไม่เป็นที่นิยมเช่น Maxthon
จะต้องตั้งค่าเพิ่มเข้าไปเอง และไม่สามารถตั้งค่าให้ตรวจนับสถิตเป็นรายเว็บได้ (ถึงจะเปิดหาข้อมูลทำรายงานมันก็ยังนับสถิตอยู่ดีครับ)
โปรแกรมสรุปข้อมูลให้เป็นรายวัน (ย้อนหลังได้สูงสุด 14 วัน)
เมื่อเปิดเกม หรือเว็บเบราว์เซอร์ไปครบ 1 ชั่วโมงจะมีป็อบอัพขึ้นมาแจ้งเตือน พร้อมแสดงเคล็ดลับการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย
สรุป
โปรแกรมนี้สมชื่อครับ ว่าเป็นการป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก เพราะไม่มีคุณสมบัติการบล็อคโปรแกรม หรือเว็บตามที่ผมวาดฝันไว้ (เข้าใจว่านั้นเป็นการหักดิบ) มีแต่เพียงการเก็บข้อมูลสถิต แต่ในแง่ของผู้ปกครองที่อาจต้องออกไปทำงานในช่วงที่ลูกหลานอยู่บ้านก็สามารถดูสถิตคร่าวๆ ได้ว่า ระหว่างที่เราไม่อยู่นั้นมีการใช้งานเกม และอินเทอร์เน็ทมากแค่ไหน ตัวโปรแกรมใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งผมประทับใจมากสำหรับการเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีครับ สนใจก็ลอง ดาวน์โหลดจากเว็บโครงการ ได้ครับ
สำหรับท่านที่สนใจงานสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและเกมเชิงบวก สำหรับเด็กและเยาวชน” ที่จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง งานจัดที่โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว วันที่ 23 กันยายน นี้ครับ ข้อมูลเพิ่มเติม
Comments
มองไม่เห็นรูปเลยครับ
เสริมครับ
ปรับปรุงแล้วครับ เรื่องรูปผมเพิ่งเปลื่ยนจาก Picasa เป็น Skydrive ครับ ช่วยดูให้หน่อยว่ามีปัญหาไหมครับ
we can build a more peaceful.
มีปัญหาที่เซฟมาเป็น .bmp ครับ ไฟล์ใหญ่บิ๊กเบิ้มมาก
แปลงเป็น .png ได้มั้ยครับ
จะปรับให้เป็น jpg หรือ png ครับ สำหรับข่าวหน้า ส่วนข่าวนี้จะรีบแก้ไขครับ
we can build a more peaceful.
เดียวนี้มีเกมแปลกๆ ที่ผมไม่ค่อยรู้จักเยอะเลยนะครัช(เอารูปมาจาก FB)
55 แล้วแต่คนตั้งเลยครับ
we can build a more peaceful.
เพิ่งรู้ว่า Word กับ WinRAR เป็นเกม ....
18+ อืม...
ctrl+del game guard endtask - -
+1 :3
และแล้ว Developer ก็พบกับ
1. How to enable or disable the CTRL+ALT+DELETE sequence for logging on to Windows XP, to Windows Vista, and to Windows 7
2. How to protect a process from Task Manager End Process
ผมเคยทำโปรแกรมทำนองนี้ให้โรงเรียนผมเองครับ แต่เป็นแนวหักดิบเลย
เด็กจะเอาเกมส์ใส่ Flash Drive มาเล่นในโรงเรียนโปรแกรมผมจะคอยเช็คว่าหากมีการเปิด Application ตาม Black List ให้เครื่อง Shutdown
ผมป้องกันโปรแกรมของผมโดยให้มันทำงานคล้ายมัลแวร์ ซ่อนตัวเองเป็น Service มีโปรแกรมทั้งหมด 4 ตัวทำงานเหมือนกัน คอยเช็คกันเองตัวไหนถูกปิดให้เปิดขึ้นมาใหม่ ตัวไหนถูกลบก็สร้างขึ้นมาใหม่ บวกกับเครื่องที่โรงเรียนใช้ BackCard ทำให้โปรแกรมยังอยู่ทุกครั้งที่ Restart ซึ่งก็พบว่าใช้ได้ผลดี จนผมจบไม่มีใครดูแลต่อ โรงเรียนก็หักดิบยิ่งกว่าเปลี่ยน OS เป็น Ubuntu เลย
ถ้าเป็นผม ผมใช้wineครับปล. ในกรณีที่root ไม่มีรหัสครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ผมยกโน็ตบุ๊คไปเล่นเน็ทโรงเรียนนะครับ :P ง่ายกว่าแยะ (แต่เดี่ยวนี้มือถือแทบจะแย่ง wifi ไปหมดละ)
we can build a more peaceful.
อีกวิธีครับ เอาแท็บเล็ตWindows 8 cpu i5 ไปนั่งเล่นเน็ตก็ได้ครับ :Pปล. เก็บเงินอยู่ครับ -_-'
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
แทบเบล็ตใช้ core i5 นี่น่าจะใหญ๋พิลึกเลยนะครับ
เป็นผมก็ ในเมื่อเป็น Ubuntu ผมก็เอา Ubuntu Live USB บูตเล่นเองเลยครับ ทำอะไรก็ได้ ยืมโรงเรียนเฉพาะเครื่องอย่างเดียว ไม่เอา OS
+1 แต่ระวังเรื่อง I/O และครูเดินผ่านมาเห็นครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ยังไงก็(เกือบ)เนียนครับ Ubuntu เหมือนกัน
ใช้ Ubuntu ไม่ให้สิทธิ Root ครับล็อก BIOS password ป้องกันการตั้งค่า Boot Order
tasklist กับ taskkill (ในกรณีที่ User เป็นแอดมิน)
เท่าที่ผมเคยลองสมัยก่อน rootkit เอาอยู่นะครับสำหรับสองคำสั่งนี้
ใช้ได้กับเด็กเล็กๆ
วิชา ctrl+alt+del ได้มาจากคอมเก่าๆที่โรงเรียนกันทั้งนั้น
+1 ผมใช้ปิดโปรแกรมปลาดาวยิ้มครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
เห็นโลโก้แล้วนึกถึง Guilty Crown พิกลๆ (Anata ni Okuru Ai no Uta - Egoist, เพราะเกิ๊น)
ดูว่าจะโดน Kill Process ง่ายๆไหม?
ผมงงกับคำว่าเชิงบวกอ่ะครับ ถ้าอ่านเป็น "เกมเชิงบวก" ก็จะงงว่าอ้าวแล้วเกมเชิงบวกคืออะไรไม่ดียังไง
ผมว่าแค่ "ป้องกันเด็กติดเกม" ก็เพียงพอจะสื่อความหมายแล้วนะ
เข้าไปดูเว็บแล้ว เมา ui ออกแทบไม่ทันเว็บหลงยุคมาก
"ป้องกันเด็กติดเกม(ด้วยวิธีการ)เชิงบวก"
ผมว่าแนวทางโอเคนะ
อาจต้องปรับปรุงต่อไป (ถ้ามีการสนุบสนุน)
แต่ในเฟซนี่ก็ด่ากันจัง
ดีๆๆ ตอนนี้รัฐบาล ข้าราชการ เริ่มให้ความสนใจกับระบบสรสนเทศมากขึ้นช้าไปนิดหนึ่งแต่ดีกว่าไม่มาละกัน
ลองใช้เพื่อเก็บสถิติตัวเองดูบ้าง บางทีอาจติดเกม/เน็ตยิ่งกว่าเด็ก 555
เออ น่าลองแฮะ 555
ความเห็นผมนะครับ
ผมว่ารัฐเริ่มทำได้ดีขึ้นนะครับ ดีกว่าการหักดิบห้ามเล่นเกมไปเลยเหมือนแนวคิดสมัยก่อนเยอะเลย โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เก็บสถิติและเตือนผู้ใช้เป็นหลักครับ ซึ่งมันก็จะเป็นไปตามข้อตกลงร่วมระหว่างเด็กและผู้ปกครองเด็กจะได้รู้จักการควบคุมตัวเองด้วยตัวเองไม่ใช่การบังคับ เพราะการบังคับด้วยอำนาจนั้นถ้าว่ากันตามหลักเป็นไปได้สูงเลยว่าถ้าหากพ้นจากอำนาจนั้นเขาจะไม่ทำตามอีก แต่กรณีคือใช้การขัดเกลาทางสังคมในเชิงที่ให้รู้จักข้อตกลงร่วมระหว่างตัวเองกับบุคคลอื่น และการขัดเกลาแบบไม่ได้บังคับแต่เป็นในเชิงข้อตกลงที่เด็กจะทำตามข้อตกลงหรือไม่ก็ควรปล่อยให้เขาคิดเอง และเมื่อทำตามข้อตกลงจะได้ผลแบบใด และถ้าไม่ทำตามข้อตกลงจะได้ผลอย่างไรอันนี้เป็นภาระของสถาบันครอบครัวแล้วล่ะครับตามแต่คุณจะทำข้อตกลงแบบไหนถึงจะดีที่สุด
มันต่างกับการบังคับยังไง? ถ้าเด็กเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเขาเลือกเองมันจะเป็นผลทางบวกในเชิงการสอนมากกว่าเพราะเมื่อเกิดการเลือกแบบนี้ซ้ำๆมีความเป็นไปได้ที่สิ่งที่เขาจะจำได้ภายในกรอบความคิดเขาคือเขาเป็นผู้เลือกที่จะหยุดเอง ไม่ใช่ถูกให้หยุดด้วยการบังคับ (กรณีคล้ายกับคนทำผิดแต่ไปหลอกคนอื่นว่าตัวเองไม่ผิดซ้ำๆกันไปจนกระทั่งผลที่เขาไปหลอกนั้นทำให้เขาเชื่อขึ้นมาจริงๆว่าตัวเองไม่ผิดน่ะครับ) ซึ่งในสถานะการที่ไม่อยู่ภายใต้อำนาจที่มาบังคับคนเราก็มักจะเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่คิดว่าเป็นความคิดตนเองนี่ครับ?
+1 ครับ
+1
ป้องกันเด็กติดเกมเชิงบวก เพื่อให้ไปติดเกมเชิงลบ