เหล่าวิศวกรชีววิทยาแห่ง MIT ได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ด้วยการเขียนโปรแกรมดังกล่าว พวกเขาจะสามารถออกแบบวงจรรหัสพันธุกรรมให้แก่เซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะของเซลล์นั้นได้
ด้วยภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ ไม่ว่าใครก็สามารถออกแบบฟังก์ชั่นของเซลล์ได้ เช่น สั่งให้เซลล์ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและทำการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด จากนั้นพวกเขาก็จะสร้างรหัสพันธุกรรมขึ้นมาตามโปรแกรมที่เขียนเอาไว้ ก่อนจะนำไปใส่ไว้ในเซลล์สิ่งมีชีวิต
ถึงตอนนี้สิ่งมีชีวิตที่เหมาะแก่การใส่รหัสพันธุกรรมที่ได้จากการเขียนโปรแกรมมาก็คือเซลล์แบคทีเรีย โดย Christopher Voigt หัวหน้าทีมวิจัยงานนี้พร้อมด้วยทีมจาก Boston University และ National Institute of Standards and Technology ได้อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ลงใน Science ประจำวันที่ 1 เมษายน ว่าพวกเขาสร้างวงจรรหัสพันธุกรรมให้เซลล์คอยตรวจจับสัญญาณ 3 อย่าง โดยให้แสดงการตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณแต่ละอย่างแตกต่างกันไป 3 แบบ ซึ่งในอนาคตเราสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคนี้ได้มาก เช่น การเขียนโปรแกรมสั่งให้เซลล์แบคทีเรียปล่อยสารที่เป็นตัวยาต้านมะเร็งเมื่อตรวจเจอก้อนเนื้อร้ายในร่างกาย, การเขียนโปรแกรมให้ยีสต์หยุดการแพร่พันธุ์ตัวเองเมื่อพบว่าในระหว่างการหมักนั้นเกิดสารพิษไม่พึงประสงค์ขึ้นในกระบวนการ
การออกแบบเซลล์ให้มีฟังก์ชั่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใส่นาฬิกาชีวภาพไว้ในเซลล์, การใส่เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม หรือกระทั่งให้เซลล์มีสถานะเป็นหน่วยความจำนั้นก็ยังได้ หากทว่าที่ผ่านมาการจะทำงานเหล่านี้ได้ต้องใช้กระบวนการด้านพันธุวิศวกรรมซึ่งต้องลงมือทำโดยผู้มีความชำนาญเท่านั้น และต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาไม่น้อยกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่งานวิจัยออกแบบเซลล์ด้วยการเขียนโปรแกรม จะทำให้ใครก็ออกแบบเซลล์แบบพิเศษได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวกรรม
ตัวภาษาที่ใช้ในงานนี้ถูกพัฒนาต่อมาจาก Verilog ซึ่งนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมชิปคอมพิวเตอร์ ทีมวิจัยออกแบบองค์ประกอบพื้นฐานของงานโปรแกรม เช่น ลอจิกเกต, เซ็นเซอร์ (มีหลากหลายประเภททั้งที่ใช้ตรวจจับออกซิเจน, กลูโคส, แสง, อุณหภูมิ, ความเป็นกรด-ด่าง ฯลฯ) ให้สามารถเข้ารหัสเป็นส่วนหนึ่งของสาย DNA ได้ ซึ่งความยากนั้นก็อยู่ที่การออกแบบลอจิกเกตทั้ง 14 ประเภทให้ไม่มีรูปแบบรหัสพันธุกรรมที่อาจก่อกวนกัน
ถึงตอนนี้ทีมวิจัยของ MIT ได้พัฒนาวงจรรหัสพันธุกรรมสำหรับฟังก์ชั่นเฉพาะของเซลล์หลากหลายถึง 60 แบบแล้ว ซึ่ง 3 ใน 4 ของฟังก์ชั่นเหล่านั้นสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทดสอบ โดยขณะนี้ได้ทดสอบใช้กับแบคทีเรีย E. coli เท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้พวกเขาจะขยายผลงานไปทดลองใช้กับ Bacteroides ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในทางเดินอาหารของมนุษย์ และ Pseudomonas ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อยู่บริเวณรากพืช
ตอนนี้ทีมวิจัยกำลังออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเขียนโปรแกรมนี้ผ่านทางเว็บได้
ที่มา - MIT News
Comments
น่าภาคภูมิใจะ
ต่อไปมันจะเป็นปัญหาทางมนุษยธรรมมั้ยครับนี่
micro bio-bot ของจริง สินะๆ
The Dream hacker..
**Spoiler Alert
The Division
อีกหน่อยคงมีคนเขียนไวรัสที่เป็นไวรัสจริงๆ ซะทีน่ากลัวไวรัสคอมเป็นไหนๆ
ต่อไปคงมีบริการรับลง antivirus ในตัวคน
พันธุวิศวรรม => พันธุวิศวกรรม
น่าสนใจ
ข้อดี
ปล่อย cell ในกระแสเลือด หากระดับน้ำตาลสูงเกิน สร้าง insulin ให้เลย ไม่ต้องฉีดแล้ว
ข้อเสีย
ถ้ามี Bug ?
ถ้า mutate
ถ้าเอาไปใช้ในทางที่ผิด
ทำไมคิดถึงอาวุธชีวภาพ พวกไวรัสซอมบี้หลุดจากห้องทดลองนะ
สร้างเซลล์ที่ให้ผมสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กควบคุมโลหะได้
เรามาถึงจุดจุดนี้ได้ยังไง.......
คิดเหมือนผมเลย นี่มันล้ำมากเลยอ่ะ
ยังอีกไกลครับ ในด้านแล็ปมันไม่ง่าย เร็วสุดอย่างน้องก็อีก 50 ปี
หรือจะเป็น จุดกำเนิด ทีไวรัส
ต่อไปหลักสูตร computer science ต้องเรียนชีวะด้วยไหม
สาขา biomedical ครับ เขาต้องเรียนแล้วเขียนเอง ถ้าให้ cs เรียนด้วยคงอ้วกแตกละ
ไคจูมาแน่นอน เตรียมสร้างหุ่นบังคับได้เลย
ผมว่ามันล้ำโคตรๆเลย เขียนโปรแกรมใส่ dna ของสิ่งมีชีวิต
มันเหนือกว่าจิตนการของผมไปแล้ว
สุดยอด
ตรวจสอบระดับ อะดรีนาลีน ในกระแสเลือด และส่งข้อมูลไปกระตุ้นการงอกของกระดูดหลังมือ
เหลือแค่แร่อะดาเมนเที่ยมเท่านั้น
โห อ่านแล้วอ้าปากค้างเลยอ่ะ สุดยอดมาก
..: เรื่อยไป
รอเทคโนโลยี ครรภ์เทียมด้วย
ต่อไปจะสร้างสัตว์แบบไหน ก็เขียนโปรแกรมเอาแล้วคอมไพล์ออกมาเป็น รหัสเบส ACGT แทน ไบนารี่
ส่งเข้าเครื่องเรียงรหัส DNA ยิงเข้าไข่ เอาไปฝังในครรภ์เทียม แล้วก็รอ กี่สัปดาห์ก็ว่าไป...
แล้วไอ้ตัวหัวยาว ๆ สีดำ ๆ ฟันแหลม น้ำลายยืด ๆ ก็แหวกครรภ์เทียมออกมา
ฟังก์ชั่น>>ฟังก์ชัน
ไม่คิดว่าโลกยุคนี้จะมีจริง ฮ่า ๆ
รู้สึกโชคดีที่เกิดมายุคที่ทันเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงแบบนี้ (และหวังว่าอยู่ถึงมันใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้นะ)
ล้ำสุดๆ
ลล :Oะละละล้ำไปแล๊วววว
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.