นักวิจัยจาก Harvard ได้ผลิตใบไม้เทียม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และทำการเปลี่ยนรูปพลังงานเพื่อจัดเก็บในรูปของพลังงานทางเคมีสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของมันนั้นทำได้ดีกว่าอุปกรณ์งานวิจัยอื่นที่เคยมีมา และดีเหนือกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ของใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติด้วย
ใบไม้เทียมที่ว่านี้ไม่เพียงแค่มีกระบวนการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปของพลังงานพันธะเคมีเท่านั้น แต่มันยังมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศมาใช้งาน เช่นเดียวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยตัวอุปกรณ์ใบไม้เทียมนี้ประกอบไปด้วยโถที่บรรจุน้ำและแบคทีเรีย Ralstonia eutropha ในน้ำที่มีแบคทีเรียนั้นมีแผ่นขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มไว้อยู่เชื่อมต่อกับแผงรับแสง
เมื่อใบไม้เทียมได้รับแสง มันจะทำการแยกองค์ประกอบของน้ำได้เป็นก๊าซออกซิเจนและก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งที่จริงแล้วเมื่อถึงขั้นตอนนี้ก็สามารถเลือกแยกเอาก๊าซไฮโดรเจนเอาไปใช้งานเป็นเชื้อเพลิงเลยก็ได้เช่นกัน แต่สำหรับใบไม้เทียมของ Harvard นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถจัดเก็บเชื้อเพลิงได้ง่าย ซึ่งนั่นก็คือหน้าที่ของแบคทีเรีย Ralstonia eutropha มันจะใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่ได้จากการแยกองค์ประกอบของน้ำ ร่วมด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาทำให้ตัวเองเจริญเติบโต
เมื่อแบคทีเรียเติบโตก็จะได้สารประกอบอินทรีย์ออกมา และด้วยเทคนิคด้านพันธุวิศวกรรมที่เข้ามาช่วยในส่วนนี้ จะทำให้สามารถควบคุมได้ว่าต้องการสารประกอบอินทรีย์ประเภทใดจากการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทีมวิจัยได้แสดงตัวอย่างสารที่ได้จากแบคทีเรีย พวกเขาประสบความสำเร็จในการเก็บ isobutanol และ isopentanol ซึ่งเป็นสารจำพวกแอลกอฮอล์ และสาร PHB ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของพลาสติกชีวภาพ
Harvard ได้พัฒนาใบไม้เทียมที่สามารถแปลงพลังงานแสงเป็นเชื้อเพลิงเคมีได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2011 หลังจากนั้นในปี 2013 ก็ได้มีการปรับปรุงให้ใบไม้เทียมสามารถซ่อมแซมตนเองได้ (หมายถึงขั้วไฟฟ้าจะสามารถซ่อมแซมตนเองได้ ไม่ใช่สึกกร่อนไปเรื่อยจนหมดอย่างรวดเร็ว) มาในปีนี้ใบไม้เทียมของ Harvard ที่ผ่านการปรับปรุงก็ดีขึ้นจนมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการสังเคราะห์ด้วยแสงตามธรรมชาติ
ความท้าทายที่ผ่านมาตลอดเวลางานวิจัยคือการหาวิธีทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบใบไม้เทียม เพราะแม้การเพาะเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia eutropha นอกระบบจะสามารถทำได้นานนับ 10 ปีแล้ว แต่การที่จะให้มันอยู่ในน้ำที่แช่โลหะตัวนำขั้วไฟฟ้านั้นกลับกลายเป็นเรื่องยากที่จะทำให้มันเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เป็นเพราะผลกระทบจากไอออนของโลหะที่อยู่ในน้ำซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการแยกน้ำ จนกระทั่งทีมวิจัยได้เลือกใช้น้ำที่มีโคบอลต์เป็นองค์ประกอบพื้นฐานด้วยจึงกลายเป็นผลสำเร็จได้ในที่สุด
การวัดประสิทธิภาพของใบไม้เทียมในการแปลงพลังงานแสงให้ออกผลลัพธ์มาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น ได้ตัวเลขออกมาสูงถึง 10% ซึ่งเหนือกว่าพืชที่แปลงพลังงานได้ดีที่สุดถึง 10 เท่า
ทางเลือกด้านพลังงานสำหรับอนาคตของโลกเราดูสดใสขึ้นอีกหน่อยแล้ว
ที่มา - The Christian Science Monitor , Gizmag
Comments
สุดยอดครับ
อายุการใช้งานนานมั้ย - - มีข้อเสียอะไรบ้าง ต้องคอยเติมอะไรบ้าง
เจ๋งอะ
ต่อไปก็ปลูกใบไม้เทียมไว้เต็มบ้านแทนไปเลย
ได้ทั้ง O2, กำจัด CO2, แล้วได้พลังงานอีก
ไม่ต้องดูแล ไม่ต้องคอยรดน้ำ (ไม่รู้ต้องเติมน้ำบ่อยป่าว) ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆค่าใช้จ่ายระยะยาวคงเป็นน้ำผสมสารเคมีที่เป็นตัวทำปฏิกริยาซินะ
ไม่รู้ว่าแค่เติมน้ำเปล่าเข้าไปให้ความเข้มข้นของโคบอลต์เหมาะสมจะเพียงพอไหมนะครับ เพราะจากปฏิกิริยาที่ว่า สิ่งที่ถูกใช้ไปน่าจะมีแค่ H2O เท่านั้น ก็เติมน้ำกลั่นเข้าไปแทนเรื่อยๆ
ถ้าไม่ใช่เอาฐานจากใบไม้ชื่อจะกลายเป็นงานวิจัยเก็บเกี่ยวพลังงานจากแบคทีเรีย... อีกหน่อยตามหเางคงจะมีโหลแบคทีเรียตั้งโชว์ไว้ฟอกอากาศ ไทยก็จะมีเครื่องฟอกอากาศบรรจุขวดขายตามตลาดนัด...
ถ้าใช้แสง ทำเป็นแผ่นน่าจะมีประสิทธิภาพที่สุดนะครับ ผมว่าปูหลังคา/ทำผนังตึกไปเลยน่าจะดีที่สุด
นิคมดาวอังคาร ไม่ไกลเกินแล้ว คงได้เห็นคนไปบุกเบิกอีกไม่กี่สิบปีนี้
ไม่มีลายเซ็น
จากนั้นก็จะมีสงครามอวกาศแย่งชิงทรัพยากร
ลองไปปรึกษา Mark Watney ดูครับ เขาไปปลูกมันฝรั่งบนนั้นมาแล้ว
อาจต้องรอข่าวแมลงสาปสายพันธ์ใหม่ก่อนครับ
แบคทีเรียเกิดการกลายพันธุ์ แพร่กระจายไปกับน้ำ มนุษย์ติดเชื้อ น่ากลัววว
นึกถึง Animation เรื่องหนึ่ง ที่ทั้งโลกเหลือเมล็ดพันธ์เม็ดสุดท้าย และต้นไม้ก็เป็นอุปกรณ์แทน 555
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
เชื้อเพลง => เชื้อเพลิง
อินทรย์ => อินทรีย์
source: Harvard gazette
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตัวเลข
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เคยดูสารคดีชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจน คือถ้าเราสามารถแยกไฮโดรเจนโดยใช้แค่แสงอาทิตย์ เราจะมีพลังงานเหลือล้นใช้ไปจนชั่วลูกชั่วหลานเลย
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การแยกไฮโดรเจน ใช้เซลแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าแยกไฮโดรเจนได้ง่ายๆ
แต่เอาไฟฟ้าไปใช้โดยตรงเลยง่ายกว่า
ไฮโดรเจนมีปัญหาในการจัดเก็บแล้วเอาไปใช้ ไฟฟ้าง่ายกว่าเยอะ
ใบไม้จริงมีประสิทธิภาพแค่ 1% เองเหรอครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แล้วแต่ประเภทของพืชครับ ในนี้ บอกว่าตั้งแต่ 0.1% - 7-8% เลย แต่ผมยังไม่ได้อ่านละเอียดเหมือนกัน
"ซึ่งเหนือกว่าพืชที่แปลงพลังงานได้ดีที่สุดถึง 10 เท่า"
แบบนี้ก็โม้สิครับ แต่ถึงจะไม่ถึง 10 เท่า มันก็ยังเยอะอยู่ดี น่าสนใจมากว่าจะต้องทำยังไงต่อไปเพื่อให้มั่นใจว่าเอาไปใช้งานแล้วจะดีจริง ไม่เป็นอันตรายทีหลัง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จากที่มาที่คุณ Holy ลิ้งไป พืชปกติจะอยู่ที่ 0.1-2.0% หน่ะครับ คิดว่าเค้าเอามาเทียบกับตัวนี้
ยกเว้นเพียงแต่ต้นอ้อย(ที่เอามาผลิตน้ำตาลอีกที) จะอยู่ที่ 7-8% ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จริงๆ แล้วถ้าเขียนว่า "ซึ่งเหนือกว่าพืชที่แปลงพลังงานได้ดีที่สุดถึง 10 เท่า" ก็ควรเอาต้นอ้อยเป็นเกณฑ์นะครับ เพราะอ้อยก็เป็นพืช แต่มันอาจจะฟังดูไม่ตื่นเต้นแหละ ก็เข้าใจ...
น่าสนใจมาก ๆ และตามข้อมูล Photosynthetic efficiency ที่คุณ Holy อ้างถึงแล้ว ปริมาณพลังงานก็ไม่ใช่น้อยเลย ถ้าสามารถดึงพลังงานในส่วนนี้จากทั้งโลกมาใช้งานได้
เป็นหัวข้อข่าวที่ผมกดอ่านต่อทันที โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก น่าตื่นเต้นสุดๆ
อาจเป็นอนาคตของ โลก
ว่าแต่ ต้องมีอาหารอะไรให้แบคทีเรียเพิ่มเติมไหมครับ
น่าตื่นเต้นจัง
..: เรื่อยไป