Elon Musk เคยแสดงวิสัยทัศน์และความฝันเกี่ยวกับการเดินทางและตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารอยู่หลายครั้ง ล่าสุดดูเหมือนความพฝันของเขาน่าจะเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นแล้ว จากการเปิดตัวยานอวกาศภายใต้โครงการ Interplanetary Transport System ที่ตั้งเป้าจะส่งมนุษย์ไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารให้ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้า
ถึงแม้ชื่อของยานลำดังกล่าวจะยังไม่ได้ข้อสรุป แค่เบื้องต้นคาดว่าจะเป็น "Heart of Gold" ขณะที่ตัวจรวดซึ่งมีชื่อเล่นว่า BFR (Big Falcon Rocket ก่อนจะถูกเรียกอย่างขำๆ ให้เป็น Big F*cking Rocket จากความมโหฬารของมัน) มีความสูง 122 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 17 เมตร โดยเจ้า BFR ขับเคลื่อนด้วย Raptor Engine เครื่องยนต์ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นตัวขับเคลื่อน มีแรงผลักมากกว่า Merlin Engine ที่ใช้ใน Falcon 9 ถึงเกือบ 10 เท่า
สำหรับกระบวนการปล่อยยาน BFR จะถูกปล่อยจากฐานยิง 39A ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการสร้างที่ Kennedy Space Center (ฐานปล่อยจรวดที่ SpaceX เช่าจากนาซ่า) โดยใช้ Raptor Engine ราว 50 ตัว ซึ่งจะทำให้เกิดแรงยกราว 127,800 นิวตัน ส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรของโลก ก่อนที่ BFR จะแยกตัวออกจากยานอวกาศ และจุดเครื่องยนต์เพื่อนำตัวเองกลับสู่ฐานยิง สำหรับการขนส่งเชื้อเพลิง โดยตัวยานอวกาศจะลอยโคจรอยู่รอบโลก เพื่อรอเชื้อเพลิงสำหรับเดินทางไปดาวอังคาร
เมื่อ BFR กลับสู่ฐานก็จะถูกติดตั้งด้วยถังเชื้อเพลิง (Propellant Tanker) ก่อนจะถูกปล่อยเพื่อนำถังเชื้อเพลิงไปเติมให้กับยานที่รออยู่ และออกเดินทางสู่ดาวอังคาร ซึ่งตัวยานอวกาศจะมีแผงโซลาร์เซลส์เพื่อให้พลังงานกับยานถึง 200 kW ด้วย ขณะที่ภายในยาน Musk ระบุว่าจะมาพร้อมกับระบบความบันเทิงและอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ เหมือนกับการเดินทางบนเครื่องบิน
เบื้องต้นการเดินทางคาดว่าจะอยู่ที่ราวๆ 80-150 วันและขนส่งคนได้ราว 100 คน โดนทาง SpaceX ตั้งเป้าจะทดสอบส่งยานอวกาศที่ชื่อว่า Red Dragon เดินทางไปยังดาวอังคารก่อนในปี 2018 ก่อนที่จะเริ่มขนส่งคนได้จริงได้เร็วที่สุดในปี 2024 หากไม่มีอะไรผิดพลาด อย่างไรก็ดีโครงการ Interplanetary Transport System ยังมีเป้าหมายระยะไกล ในการสำรวจดาวหรือดวงจันทร์ดวงอื่นด้วย
Comments
ไม่ได้พูดถึงขากลับเลย....
เหมือนมีแย้มๆไว้ว่าเป้าหมายคือต้องสร้าง energy farm บนดาวอังคารเพื่อเก็บเกี่ยวเอาพลังงานมาใช้ขากลับ
ใครจะเป็นผู้โชคดีเหล่านั้น 555
มันจะระเบิดอีกไหม
ใช้มีเทนเหลวเป็นเชื้อเพลิงแทนออกซิเจนกับแคโรซีนเพราะสามารถเก็บได้บนดาวอังคาร
เห็นว่าค่าเดินทาง $200,000me อยู่บนโลกต่อไป
นี่ลดจาก 10 พันล้านเหรียญนะครับ.... 5555
คือถ้าอยู่บนโลกต่อไป มันยังเป็นทางเลือก (ทางรอด) ก็คงอยู่แหละ
เทียบระยะทางกับเครื่องบินแล้วไม่แพงนะครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
จาร์ซูม
บาร์ซูมหรือเปล่าครับ (ถ้าหมายถึงเรื่อง John Carter ล่ะก็นะ)
ที่น่ากลัวสุดคือ ต้องเซ็นสัญญาเตรียมพร้อมยอมรับความตาย หากเกิดอะไรขึ้น -..-'
my blog
One way ticket ^ ^''
คนจะไปนี่ จิตใจทำด้วยอะไรนะ...มันระคน ด้วยอารมณ์หลายๆอารมณ์...ทั้งตอนก่อนไป ตอนยานทะยาน ตอนลอย อวกาศ ตนลงดาว สามวันแรกบนดาว...
ผมว่าที่น่าสนใจที่สุดคือวันที่ 100 บนดาวมากกว่าครับ หลังเดินทางไป หลังลงจอด หลังความตื่นเต้นจางหายไปหมด ยกเว้นจะมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนมาก เช่น ทำฟาร์มเชื้อเพลิงสำหรับขากลับ
อาจจะต้องปลูกมันบนดาวอังคารด้วยนะครับ
ต้องปลูกแน่ๆ อยู่แล้วมากกว่าครับไม่น่าจะเป็นอาจ
แต่ที่แน่ๆไม่ต้องปลูกยางครับ เพราะท่านผู้นำได้นำร่องส่งขายยางพาราที่ดาวอังคารไปก่อนหน้านั้นแล้ว...
เครื่องยนต์เพียบ แอบเหมือนสมัยก่อนของโซเวียตเก่าเลย ฮ่าๆ
มีวาร์ปไปตอนปี2024 เลยไหม
นึกถึงสัญชาตญานของเราตามธรรมชาติ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ ถ้าความต้องการยังมีมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่พ้นที่ทรัพยากรบนดาวอังคารจะถูกถลุงมาใช้จนใกล้หมดเหมือนโลกในตอนนี้เป็นแน่แท้ และต่อให้มีการสำรวจดาวดวงอื่นไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีวันพอ
หวังว่าคราวนี้คงไม่ผลาญเอามาใช้สรุ่ยสุร่ายเหมือนในอดีตที่ผ่านมานะ
Get ready to work from now on.
ถึงตอนนั้นมนุษย์ก็ดิ้นรนจนหาหนทางไปสูบทรัพยากรจากดาวอื่นๆ นอกระบบสุริยะ มาใช้จนได้แหละ
ความต้องการคน 1 คนมันอาจจะมีสิ้นสุด แต่เราขยายพันธุ์(?) กันไม่มีที่สิ้นสุดเลย
ปั๊มออกซเจนรอไว้บนดาวสินะ
พอก่อร่างสร้างตัวได้ ก็หาเรื่องทะเลาะแล้วแยกตัวเป็นไท หรือไม่ก็มีคนขุดเจาะเหมืองแล้วดันไปเปิดประตูนรก 555
อย่าส่งแมลงสาปกับมอสไปนะ.
ฝากยางไปขายด้วย..... โลละ 20 จนโคตรๆ
แปรรูปขายเองไม่คุ้มหรองับ เช่นหมอนยางพารา
สงสัยแค่ว่า ทำไมได้แรงยกน้อยจัง น่าจะต้องใช้เป็นหลักล้านนะ"โดยใช้ Raptor Engine ราว 50 ตัว ซึ่งจะทำให้เกิดแรงยกราว 127,800 นิวตัน"
ไม่มีลายเซ็น
มัน 127,800 kN (น่าจะ กิโลนิวตัน?) คือเท่ากับ 127.8 ล้านนิวตันรึเปล่าครับ