สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้ 100% สำหรับผู้ประกอบการ SME เมื่อซื้อหรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA โดยภาษีที่หักต้องอยู่ในหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
ดร.วินิจ วิเศษวุวรรณภูมิ ผู้อำนวยการกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก กรมสรรพากร ขยายความเพิ่มเติมถึงคำว่าลดภาษี 200% ว่า หัก 100% เป็นค่าใช้จ่าย และหักค่าเสื่อมได้อีก 3 ปี รวมเป็น 200%
ภาพจาก Pexels
ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถนำใบเสร็จมาลดหย่อนภาษีมีเงื่อนไขดังนี้
- ผู้ประกอบการหรือ SME ต้องเลือกใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนาหรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับ DEPA หรือมีรายชื่ออยู่กับ DEPA เท่านั้น
- ผู้ประกอบการหรือ SMEs ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย มีหุ้นเป็นทุนตั้งแต่ 51% ของนิติบุคคลนั้น ถือโดยบุคคลที่มีสัญชาติไทย
ด้านเงื่อนไขฝั่งผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่มาขึ้นทะเบียนมีชื่ออยู่ใน DEPA
- เป็นผู้ทำธุรกิจด้านพัฒนาโปรแกรม ซอฟต์แวร์ที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนขาย
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตหรือพัฒนาบริการซอฟต์แวร์ เช่น ISO/IEC 29110 หรือ CMMI หรือมาตรฐานอื่นตามที่สำนักงานฯกำหนด
รายละเอียดจาก เว็บไซต์ DEPA ระบุด้วยว่า "คณะรัฐมนตรีได้มีมติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหรือค่าจ้างทำหรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ขาย ผู้รับจ้างทำ หรือผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล"
DEPA ระบุว่ามาตรการนี้วินวินกันทั้งสองฝ่าย พรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการ DEPA ระบุว่า ผู้ได้ประโยชน์มีทั้งฝั่งผู้ผลิตคือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ แต่ข้อแม้คือต้องมีมาตรฐานสากลเป็นจุดขายในทางหนึีงคือเป็นการสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ว่าต้องได้รับมาตรฐานสากล ส่วนวินในฝั่ง SME ที่มาช็อปปิ้งโปรแกรมจากบริษัทที่มีชื่อใน DEPA ก็เอาใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้
ข่าวประชาสัมพันธ์
ดีป้า ประกาศมาตรการภาษีใหม่ 200%“หักรายจ่ายภาษีสองเท่า เราทำได้” ยกระดับเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน
ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย – SMEs ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล จำเป็นต้องส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์หรือเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ เพื่อให้เข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติให้ออกมาตรการทางภาษี
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการSMEs ตั้งแต่ขนาดเล็ก – กลาง ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มจากเดิมได้อีก 100%
เมื่อซื้อหรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากนักพัฒนา หรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนอยู่กับทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้านายพรชัย หอมชื่น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ด้านยุทธศาสตร์และบริหาร) กล่าวว่า มาตรการภาษีใหม่ 200% “หักรายจ่ายภาษีสองเท่า เราทำได้” ถือว่า “win-win” กันทั้งสองฝ่าย เพราะนอกจากผู้ประกอบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะได้เพิ่มโอกาสทางการตลาด เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้ขยายฐานลูกค้าใหม่ ได้แล้ว ทางฝ่ายกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่ขนาดเล็ก – กลาง ในฐานะผู้ซื้อซอฟต์แวร์ยังสามารถนำใบเสร็จค่าใช้จ่ายมาหักภาษีได้เป็นสองเท่า ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การนำใบเสร็จไปหักลดหย่อนภาษีนั้น มีเงื่อนไขว่า ผู้ประกอบการ SMEs ต้องเลือกใช้บริการกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่จดทะเบียนอยู่กับสำนักงานดีป้า หรือมีรายชื่ออยู่เท่านั้น โดยปัจจุบันทางดีป้า ได้เปิดให้ผู้ประกอบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั่วไป ที่สนใจเข้าสู่มาตรการภาษีใหม่ สามารถลงทะเบียนผ่านระบบฐานข้อมูหรือเครือข่ายกับทางดีป้าได้โดยตรง เพียงแค่มีคุณสมบัติดังนี้
จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนตั้งแต่ร้อยละห้าสิบเอ็ดของนิติบุคคลนั้น ถือโดยบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หากเป็นนิติบุคคลในรูปแบบอื่น ต้องรับความเห็นชอบจากคณะทำงานเป็นกรณีไป
ทำธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทน
เพื่อขายหรือให้บริการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้รับการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตหรือพัฒนาหรือบริการซอฟต์แวร์ เช่น ISO/IEC 29110 หรือ Capability Maturity Model Integration (CMMI) หรือมาตรฐานอื่น ๆ ตามที่สำนักงานฯ กำหนด
อย่างหนึ่งอย่างใดจากหน่วยรับรอง (Certified Body)ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.depa.or.th และผู้ประกอบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ สามารถติดต่อลงทะเบียนโดยยื่นคำขอเพื่อพิจารณา ได้ที่ http://tax200.depa.or.th หรือติดต่อได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โทร. 0-2141-7101
Comments
ดีเลยครับ Win-Win ทั้งวงการซอฟต์แวร์ไทย - SME ไทย
ประเด็นจากผู้ประกอบนะ คือรายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองเนี่ยมันน้อยมาก!!!ขนาด startups เจ้าดังๆ ในเมืองไทยยังไม่เล่นด้วยเลย