นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บคาร์บอนในอากาศได้ดีกว่าเดิม
เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันยังทำงานได้ดีในการดูดคาร์บอนหนาแน่นจากแหล่งเดียว (เช่น ปากปล่องควันโรงงานผลิตไฟฟ้า) หากเราเอามากักเก็บ CO2 ตามท้องถนนทั่วไป มันยังทำงานได้ไม่ดีนัก
ระบบปฏิบัติการ FreeBSD มีอายุครบ 30 ปีเมื่อวานนี้ 19 มิถุนายน 2023 โดยมูลนิธิ FreeBSD Foundation ได้จัดฉลองด้วยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการติดแท็ก #FreeBSD30 ในโซเชียลต่างๆ ด้วย
FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สที่สร้างโดยทีมจาก University of California และพัฒนาต่อจากระบบปฏิบัติการดั้งเดิม Berkeley Software Distribution (BSD) อีกทีหนึ่ง จุดเริ่มต้นของการเลือกชื่อ FreeBSD เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 1993 และซอฟต์แวร์เวอร์ชันแรกออกในเดือนพฤศจิกายน 1993
โค้ดของ FreeBSD ถูกนำไปใช้ในโครงการ Darwin ของแอปเปิล ที่ภายหลังกลายเป็นแกนของระบบปฏิบัติการ macOS และ iOS ส่วนโครงการอื่นที่นำไปใช้งานคือระบบปฏิบัติการ Orbis OS ของ PS3, PS4, PS5
- Read more about ระบบปฏิบัติการ FreeBSD มีอายุครบ 30 ปีแล้ว
- 7 comments
- Log in or register to post comments
ถึงแม้ OpenAI เปลี่ยนมาใช้แนวทางปิด ไม่เปิดเผยรายละเอียดของโมเดล GPT-4 และฝั่งกูเกิลเองก็ ยังค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อย Bard ทีละนิด แต่โลกเราก็ยังมีโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model หรือ LLM) ตัวอื่นให้ใช้งาน โดยเฉพาะ LLaMA ของ Meta ที่เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ซึ่งเป็นโอเพนซอร์ส ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPLv3 และเปิดทางให้หน่วยงานวิจัยมาขอชุดข้อมูลที่ใช้เทรนไปศึกษาได้
ตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ Nebuly AI สร้าง ChatLLaMA แบบโอเพนซอร์ส ใช้โมเดล LLaMA ของ Meta เป็นฐาน
Chan Zuckerberg Biohub ทีมวิจัยด้านการแพทย์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยชีวะการแพทย์ของมหาวิทยาลัย UC Berkeley, Stanford และ UCSF โดยมีเงินทุนสนับสนุนจาก Mark Zuckerberg และภรรยา Priscilla Chan
ล่าสุด Mark Zuckerberg เปิดเผยว่า CZBiohub ได้พัฒนาและออกแบบเครื่องช่วยหายใจของตัวเอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาเครื่องช่วยหายใจขาดแคลน โดยการพัฒนาเริ่มต้นมาได้ 2-3 สัปดาห์แล้วและจะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้
ที่มา - Mark Zuckerberg
โครงการ SETI@home ที่เป็นต้นแบบของ distributed computing กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกันแชร์พลังจากคอมพิวเตอร์ของตัวเองช่วยประมวลผลข้อมูล โครงการเริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 นับเวลาถึงปัจจุบันนานกว่า 20 ปี ล่าสุดประกาศยุติการส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ช่วยประมวลผลในวันที่ 31 มีนาคม 2020
หน้าเว็บของโครงการระบุว่า ตอนนี้มีข้อมูลเยอะพอกับความต้องการแล้ว และการจัดการกับข้อมูลที่กระจายให้คนทั่วโลกช่วยกัน กลายเป็นภาระของทีมงาน ที่ควรจะไปโฟกัสที่การวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า
วันนี้ที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยฝ่าย Ananda UrbanTech และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงข่าวร่วมกันเปิดตัวโครงการ "How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer" ซึ่งเป็นโครงการจัดการประชุม เพื่อเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบุคลากรและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
University of California at Berkeley (UCB) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างมากในโลกไอที ตัวอย่างศิษย์เก่าที่ดังๆ ก็อย่างเช่น Gordon Moore, Andrew Grove, Steve Wozniak, Eric Schmidt เป็นต้น
UCB เพิ่งประกาศเปลี่ยนระบบอีเมลและปฏิทินภายในไปเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากระบบเก่า CalMail ที่ใช้มานานมีปัญหาล่มจนใช้งานไม่ได้ ตัวเลือกที่เข้าข่ายมีเพียงสองรายคือ Google Apps for Education กับ Microsoft Office 365 สุดท้ายทางมหาวิทยาลัยตัดสินใจเลือกกูเกิล
เรื่องก็ควรจะจบแค่นี้ไม่มีอะไรต่อ แต่ทาง UCB เลือกจะเปิดเผยเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจเพื่อความโปร่งใส ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีและน่าปฏิบัติตาม
โครงการ OpenCourseWare (OCW) นั้นอาจจะกล่วได้ว่าเริ่มมาจาก MIT ที่ได้ประกาศรวบรวมสื่อการเรียนการสอนเพื่อแจกให้ทุกคนในอินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ฟรีมาตั้งแต่ปี 1999 หลังจากนั้นก็มีการสร้างความร่วมมือออกมาเรื่อยๆ จนเราเห็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกประกาศเปิดสื่อการสอนกันมากมายในวันนี้ จนก่อตั้งเป็น Open Courseware Consortium
แม้คนส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่าการโทรศัพท์ขณะขับรถจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น แต่รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Berkeley ชิ้นล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่าในช่วงปี 2002 ถึง 2005 ที่ผ่านมา พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะขับรถไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณอุบัติเหตุบนท้องถนนแต่อย่างใด
รายงานดังกล่าวศึกษาแนวโน้มของปริมาณอุบัติเหตุในช่วงปี 1987 ถึงปี 2005 ในทุกรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วหาความเกี่ยวข้องกับปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 1990 จนถึงปี 2005