
สัปดาห์ที่ผ่านมา Fedora ออกเวอร์ชัน 42 ที่ตอนนี้แตกลูกแตกหลานออกไปเยอะมาก หากนับเฉพาะ Editions หลักมีทั้งหมด 6 ตัวคือ Workstation, KDE Plasma Desktop, Cloud, Server, CoreOS, IoT
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Fedora ที่เป็น KDE Plasma Desktop ถูกเลื่อนสถานะขึ้นมาเป็น Edition กับเขาแล้ว (เทียบเท่ากับ Fedora Workstation ที่ใช้ GNOME) เท่ากับว่าผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบเดสก์ท็อปหลักเป็น KDE Plasma 6.3 หรือ GNOME 48

GNOME ออกเวอร์ชัน 48 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ใช้โค้ดเนม Bengaluru ตามสถานที่จัดประชุม GNOME Asia 2024
ของใหม่ที่สำคัญใน GNOME 48 ได้แก่

GNOME 46 ออกเวอร์ชันใหม่ตามรอบทุก 6 เดือน เวอร์ชันนี้มีของใหม่หลายอย่างดังนี้

GNOME Foundation มูลนิธิผู้ดูแลโครงการลินุกซ์เดสก์ทอป GNOME ได้รับเงินจาก Sovereign Tech Fund กองทุนสนับสนุนเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้รับเงินก้อน 1 ล้านยูโร ทำให้ทาง GNOME เตรียมปรับปรุงฟีเจอร์ขนานใหญ่ตลอดปี 2024 ได้แก่

GNOME ออกเวอร์ชัน 45 โค้ดเนม Riga ชื่อเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่

เดสก์ท็อป GNOME ออกเวอร์ชัน 44 ตามรอบการออกรุ่นทุก 6 เดือน เวอร์ชันนี้ใช้โค้ดเนม Kuala Lumpur ตามสถานที่จัดงาน GNOME.Asia 2022
ของใหม่ใน GNOME 44 ได้แก่

การสื่อสารด้วย mailing list เป็นวิธีมาตรฐานของโลกโอเพนซอร์สมายาวนาน แต่ล่าสุดโครงการ GNOME ประกาศปิดระบบ mailing list ทั้งหมด เปลี่ยนมาสื่อสารผ่านเว็บบอร์ดแทน การเปลี่ยนแปลงจะมีผลสิ้นเดือนตุลาคม 2022 หลังจากนั้น mailing list จะเข้าโหมดอ่านได้อย่างเดียว
เหตุผลเป็นเพราะซอฟต์แวร์จัดการ mailing list ที่ใช้คือ Mailman 2 นั้นเก่าแล้ว ต้องรันด้วย Python 2 เท่านั้น แม้มี Mailman 3 ที่ใช้ Python 3.7 ขึ้นไป แต่ชุมชน GNOME ก็ขาดแคลนแอดมินมาบริหารจัดการ รวมถึงดูแลแก้ปัญหาสแปม

GNOME ออกเวอร์ชัน 43 โค้ดเนม Guadalajara ตามชื่อเมืองในเม็กซิโก
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ Quick Settings ตามอย่างระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ คลิกที่มุมขวาบนของจอเพื่อเปิดเมนู Quick Settings มาตั้งค่าต่างๆ เช่น Wi-Fi, ระดับเสียง, ความสว่างของจอ, จับภาพหน้าจอ, VPN โดยไม่ต้องเข้าแอพ Settings ให้เสียเวลา
แอพจัดการไฟล์ Files (Nautilus เดิม) ปรับเอนจินมาใช้ GTK 4 ที่ออกเมื่อปี 2020, ปรับหน้าตาเล็กน้อย, สามารถปรับขนาดหน้าต่าง แล้วอินเทอร์เฟซเปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับขนาดหน้าต่างอัตโนมัติ เช่น หน้าต่างเล็กลงแล้วไม่มี sidebar แต่ขยายแล้ว sidebar จะกลับคืนมา

Ubuntu ประกาศเปลี่ยน text editor ของระบบปฏิบัติการ จากของเดิม Gedit ที่ใช้มานานตั้งแต่ Ubuntu เวอร์ชันแรก มาเป็น GNOME Text Editor ตัวใหม่ ของโครงการ GNOME
GNOME เพิ่งเปลี่ยน text editor ในเวอร์ชันล่าสุดคือ GNOME 42 และดิสโทรอื่นคือ Fedora 36 เริ่มนำมาใช้ก่อนแล้ว กรณีของ Ubuntu เวอร์ชันล่าสุด 22.04 LTS ใช้ GNOME 42 เหมือนกัน แต่ยังคงแพ็กเกจ Gedit ไว้เป็นดีฟอลต์อยู่ ในเวอร์ชันถัดไป Ubuntu 22.10 จะย้ายมาใช้ GNOME Text Editor แทน

เดสก์ท็อป GNOME ออกเวอร์ชันใหม่ที่เปลี่ยนเลขเวอร์ชันเป็น 40 (แทน 3.40 ตามที่เคยประกาศไว้ ) อย่างอื่นยังเหมือนเดิม รวมถึงระบบการออกรุ่นทุก 6 เดือนด้วย

GNOME ออกเวอร์ชัน 3.38 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่

GNOME ออกเวอร์ชัน 3.36 โค้ดเนม "Gresik" ตั้งตามชื่อเมืองในอินโดนีเซียที่ใช้จัดประชุม GNOME.Asia 2019
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
- ส่วนขยายของ GNOME Shell สามารถจัดการได้จากแอพตัวใหม่ชื่อ Extensions แทนแอพ Software
- หน้าล็อคสกรีนแบบใหม่ที่ใช้ง่ายขึ้น เรียบง่ายขึ้น
- จัดระเบียบหมวดหมู่ในแอพ Settings ใหม่
- แอพ Software หยุดอัพเดตอัตโนมัติ หากพบว่าเชื่อมต่อเน็ตแบบคิดเงินตามปริมาณข้อมูล (metered network)
- แอพนาฬิกา Clock ดีไซน์ใหม่เป็น responsive ใช้ได้ดีแม้บนหน้าจอขนาดเล็ก
ที่มา - GNOME
- Read more about GNOME 3.36 ออกแล้ว
- 1 comment
- Log in or register to post comments

GNOME 3.34 ออกแล้ว ใช้โค้ดเนมว่า Thessaloniki (อิงจากชื่อเมือง Thessaloniki ในประเทศกรีซ ซึ่งจัดประชุม GNOME GUADEC ประจำรุ่นนี้)
ของใหม่ใน GNOME 3.34 ได้แก่
- ลากไอคอนแอพมาชนกันเพื่อสร้างโฟลเดอร์ได้ (แบบเดียวกับ Android)
- ปรับปรุงหน้าจอเลือกภาพพื้นหลังใหม่
- ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้น ทำงานลื่นไหลกว่าเดิม
- เบราว์เซอร์ GNOME Web ทำงานใน Sandbox เพื่อความปลอดภัย, ปักหมุดแท็บได้แล้ว
ที่มา - GNOME
- Read more about GNOME 3.34 ออกแล้ว ปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำงานเร็วขึ้น
- Log in or register to post comments

GNOME ออกเวอร์ชัน 3.32 ของใหม่ในเวอร์ชันนี้คือการยกเครื่อง UI ใหม่ เปลี่ยนชุดไอคอนใหม่, ปรับธีม Adwaita ให้สีสันสดใสขึ้น, เปลี่ยนหน้าตาของปุ่มควบคุมต่างๆ เล็กน้อย เน้นแสงเงามากกว่าเดิม
ฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างในเวอร์ชันนี้คือรองรับ fractional scaling ให้สามารถขยายขนาดของเดสก์ท็อปแบบไม่ต้องเป็นจำนวนเต็ม (เช่น 150% หรือ 175%) ยืดหยุ่นกับจอภาพความละเอียดสูง HiDPI มากกว่าเดิม
GNOME 3.32 ยังปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ เฟรมเรตของแอนิเมชันดีขึ้น ในแง่การใช้งานจึงให้ความรู้สึกตอบสนองรวดเร็วกว่าเดิม, ปรับประสิทธิภาพของฐานข้อมูล ทำให้ค้นหาชื่อแอพในระบบได้เร็วขึ้นด้วย
ที่มา - GNOME
- Read more about GNOME 3.32 ออกแล้ว ปรับหน้าตาใหม่ เปลี่ยนธีมไอคอนใหม่
- 1 comment
- Log in or register to post comments

พบกันทุก 6 เดือนกับ GNOME ที่เลขเวอร์ชันเดินมาถึง 3.30 แล้ว เวอร์ชันนี้ใช้โค้ดเนมว่า Almería มีของใหม่ดังนี้

กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกโอเพนซอร์สในรอบเดือนที่ผ่านมา เมื่อโครงการดังๆ หลายตัวย้ายระบบจัดการซอร์สโค้ดของตัวเองมาใช้ GitLab
โครงการสำคัญที่สุดคือ GNOME ที่ประกาศย้ายโครงการย่อยทั้งหมดกว่า 400 โครงการขึ้น GitLab เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2018
ที่ผ่านมา GNOME มีแผนจะย้ายระบบโครงสร้างพื้นฐานของตัวเองอยู่แล้ว ก่อนหน้านี้เลือกใช้ cgit จัดการซอร์สโค้ดและ Bugzilla จัดการบั๊ก แต่ระบบเริ่มเก่าและจัดการยาก แถมไม่เป็นมิตรกับนักพัฒนาหน้าใหม่ ทำให้ GNOME มองหาตัวเลือกอื่นมาแทน และสุดท้ายตัดเหลือ 2 ตัวเลือกคือ GitLab กับ Phabricator ( รายละเอียด )

โครงการ Xenlism เป็นโครงการที่เกิดจากแนวคิดง่ายๆ คือ "อยากได้ต้องทำเอง" ซึ่งเป็นที่มาของโครงการ Xenlism : Wildfire
Xenlsim : Wildfire
โครงการพัฒนาไอคอนธีมสำหรับลินุกซ์เพื่อใช้งานเอง (พอใจจึงแจกจ่าย) ใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 1 ปี เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558
ได้ออกอัพเดตเวอร์ชันใหม่เป็นเวอร์ชันเบต้า เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน เพื่อแก้ไขปัญหาก่อนออกเวอร์ชันจริง
- Read more about Xenlism : Wildfire ออกอัพเดตเวอร์ชัน 2018.05 เบต้า 2
- Log in or register to post comments

Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลัง การเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS

GNOME ออกเวอร์ชันใหม่ตามรอบ 6 เดือน รอบนี้ใช้เลขเวอร์ชัน 3.28 โค้ดเนมว่า Chongqing ตามสถานที่ประชุมของนักพัฒนาประจำเวอร์ชัน (ปีนี้จัดที่ Chongqing ประเทศจีน) โดยมีฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงหลายอย่าง เช่น

Ubuntu 17.10 Artful Aardvark ได้ฤกษ์ออกตัวจริง เวอร์ชันนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ Ubuntu ในรอบหลายปี เพราะ เลิกใช้เดสก์ท็อป Unity หันมาใช้ GNOME แทน
Ubuntu 17.10 ใช้ GNOME 3.26.1 ที่รันบน ระบบแสดงผล Wayland (แทน Mir) , ย้ายปุ่มควบคุมหน้าต่างกลับมาไว้ด้านขวา (ครั้งแรกนับจากปี 2010) , เปลี่ยนซอฟต์แวร์หน้าจอล็อกอินจาก LightDM มาเป็น GDM
ที่มา - Ubuntu , Release Notes

พบกันทุก 6 เดือนกับ GNOME เวอร์ชันใหม่ รอบนี้เลขเวอร์ชันวิ่งไปถึง GNOME 3.26 โดยใช้โค้ดเนมว่า Manchester ตามสถานที่ประชุมของนักพัฒนาประจำเวอร์ชัน
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
- Read more about GNOME 3.26 ออกแล้ว
- 6 comments
- Log in or register to post comments

GNOME Web เว็บเบราว์เซอร์ของ GNOME (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ Epiphany) กำลังจะได้ฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือ ซิงก์ข้อมูลกับ Firefox ได้
ฟีเจอร์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ Mozilla เปิด API ของ Firefox Sync ให้โปรแกรมอื่นเรียกใช้งานได้ ส่งผลให้ GNOME Web สามารถซิงก์ข้อมูล bookmarks, history, password, tabs กับบัญชี Firefox ได้ด้วย
ฟีเจอร์นี้จะใช้งานได้ใน GNOME 3.26 ที่จะออกในเดือนกันยายนนี้
ที่มา - OMG Ubuntu

เคยเป็นประเด็นขัดแย้งอย่างหนักในปี 2010 ตอนที่ Ubuntu ย้ายปุ่มควบคุมหน้าต่างจากมุมขวาบนมาเป็นมุมซ้ายบน เวลาผ่านมาอีก 7 ปี เมื่อ Ubuntu กลับลำ ย้ายจาก Unity มาเป็น GNOME ปุ่มก็จะถูกย้ายกลับมาด้านขวามืออีกครั้ง
ทีมงาน Ubuntu ประชุมกันแล้วได้ข้อตกลงว่า จะรักษาความเป็น GNOME ต้นฉบับให้มากที่สุด โดยจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของ GNOME ให้น้อยที่สุด แปลว่า Ubuntu เวอร์ชันหน้า 17.10 ก็จะใช้การเรียงปุ่มควบคุมด้านขวาเหมือน GNOME ด้วย
สิ่งที่ Ubuntu จะใส่เพิ่มเข้ามามีเพียงแค่ธีม Ambience, ไอคอน และฟอนต์ ส่วนคนที่อยากได้พฤติกรรมแบบ Unity ก็สามารถปรับแต่งได้ผ่านส่วนขยายของ GNOME Shell

Ubuntu เตรียมเปลี่ยนจาก LightDM มาใช้ GDM (GNOME Display Manager) เป็นตัวจัดการแสดงผล (display manager) หลักบน Ubuntu เวอร์ชัน 17.10 และ 18.04 LTS พร้อมกับการเปลี่ยนจาก Unity มาเป็น GNOME
ในตอนแรกนั้น ทีมงานพยายามจะทำให้ GNOME Shell เป็น LightDM Greeter แต่เนื่องจากการแยกโค้ดนั้นไม่ง่าย ซึ่งจากการชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและปริมาณงานที่ต้องทำในการแก้ไข GNOME ให้รองรับ LightDM ทีมงานจึงตัดสินใจเลือกใช้ GDM แทน
ปัจจุบัน ระบบจัดการแสดงผลนี้มีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแสดงผลในหน้าล็อกอิน ดังนั้นหากเปลี่ยน LightDM เป็น GDM จริง เราน่าจะเห็นหน้าจอล็อกอินและหน้าจอล็อกของ Ubuntu เปลี่ยนไปด้วย

โครงการ Ubuntu GNOME ประกาศออกรุ่น 17.04 โดยใช้ GNOME 3.24 รุ่นล่าสุด พร้อมประกาศทิศทางในอนาคตว่าจะไปรวมกับ Ubuntu ตัวหลักแล้ว
ทีมงาน Ubuntu GNOME และ Ubuntu Desktop (Unity) จะถูกรวมเข้าเป็นทีมเดียวกัน ตอนนี้ทางทีม Ubuntu GNOME กำลังวางแผนการทำงานกับทีมฝั่ง Canonical อยู่ว่าจะทำอะไรในช่วงไหน และจะประกาศข่าวต่อไป
ผู้ที่ใช้ Ubuntu 16.04 LTS หรือ Ubuntu GNOME 16.04 LTS จะได้อัพเกรดเป็น Ubuntu 18.04 LTS ทีเดียวเลยในปีหน้า ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการแยกดิสโทรสองสายนั่นเอง
ที่มา - Ubuntu GNOME