กูเกิลถอด Kaspersky เวอร์ชัน Android ออกจาก Google Play Store ทั่วโลก โดยโฆษกของกูเกิลชี้แจงว่าทำตาม คำสั่งแบน Kaspersky ของรัฐบาลสหรัฐ
ฝั่ง Kaspersky แนะนำให้ผู้ใช้ Android ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเองผ่านช่องทางอื่น เช่น Galaxy Store, Huawei AppGallery, Xiaomi GetApps รวมถึงการดาวน์โหลดไฟล์ APK จากเว็บไซต์ Kaspersky โดยตรง
ตอนนี้สโตร์อื่นๆ รวมถึง Apple App Store ที่เป็นบริษัทอเมริกันด้วยกัน ยังไม่ปิดกั้น Kaspersky แต่อย่างใด
ที่มา - Bleeping Computer
อัพเดตจากกรณี ผู้ใช้ Kaspersky ในสหรัฐงง จู่ๆ แอพเปลี่ยนเป็น UltraAV โดยไม่บอกกล่าว ลบออกไม่ได้
เว็บไซต์ TechCrunch สอบถามไปยังโฆษกของ Kaspersky ได้รับคำยืนยันว่า ได้แจ้งเตือนผู้ใช้ในสหรัฐถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่ UltraAV ทางอีเมลแล้ว แต่อาจมีผู้ใช้บางส่วนไม่เคยให้อีเมลไว้กับ Kaspersky จึงสามารถแจ้งเตือนเฉพาะทาง in-app message เท่านั้น
ข่าวต่อเนื่องจาก Kaspersky โดนรัฐบาลสหรัฐบีบให้ถอนตัวจากการทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และภายหลัง ได้ขายฐานลูกค้าในสหรัฐให้กับบริษัทความปลอดภัยชื่อ Pango เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
ล่าสุดมีกลุ่มผู้ใช้ Kaspersky เดิมในสหรัฐ รายงานว่าจู่ๆ ก็พบว่า Kaspersky หายไป แล้วมีซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสตัวใหม่ชื่อ UltraAV (ซึ่งเป็นของ Pango) ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองโดยไม่บอกกล่าว ผู้ใช้หลายคนบอกว่าเปิดคอมพิวเตอร์มาก็เจอกับ UltraAV พร้อมใช้งานอยู่แล้ว แถมไม่สามารถถอนการติดตั้ง UltraAV ได้ด้วย ( ตัวอย่างกระทู้ Reddit , ตัวอย่างกระทู้ในเว็บ Kaspersky , กระทู้ในบอร์ด Neowin )
Pango บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์เปิดเผยว่าได้ทำข้อตกลงซื้อต่อลูกค้าของ Kaspersky Lab ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลจาก คำสั่งแบน Kaspersky ทำให้ Kaspersky ประกาศ ปิดส่วนธุรกิจในสหรัฐ ทั้งหมด โดยจำนวนลูกค้าที่ได้จากดีลนี้มีประมาณ 1 ล้านบัญชี
ลูกค้าปัจจุบันของ Kaspersky ในสหรัฐ จะได้รับการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสมาเป็น Ultra AV ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของ Pango ทำให้ผู้ใช้งานยังคงได้รับอัปเดตความปลอดภัยต่อเนื่อง
ผู้บริหารของ Pango ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลราคาที่บริษัทซื้อลูกค้าต่อจาก Kaspersky
Kaspersky ประกาศแจกบริการความปลอดภัยให้ลูกค้าเดิมในสหรัฐอเมริกาฟรี 6 เดือน เพื่อเป็นของขวัญอำลา หลัง ต้องถอนตัวจากการทำธุรกิจในสหรัฐ
ลูกค้าในสหรัฐจะได้รับแจ้งเตือนผ่าน inbox ในระบบ Kaspersky และจะได้สิทธิใช้งานแอพ Kaspersky Standard; Kaspersky Plus; Kaspersky Password Manager; Kaspersky Safe Kids; Kaspersky VPN Secure Connection ฟรีเป็นเวลา 6 เดือน อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์ฐานข้อมูลไวรัสจะถูกปิดในวันที่ 29 กันยายน (ตามคำสั่งของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ) แต่ฟีเจอร์อื่นๆ รวมถึงระบบต่อต้านมัลแวร์จะยังใช้งานได้ต่อไป
ที่มา - The Register , Techradar
Kaspersky Lab บริษัทความปลอดภัยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย แถลงว่าบริษัทเตรียมปิดให้บริการส่วนธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ 20 กรกฎาคม เป็นต้นไป โดยจะปลดพนักงานทั้งหมดที่อยู่ในสหรัฐ ซึ่งตอนนี้มีจำนวนน้อยกว่า 50 คน
การตัดสินใจของ Kaspersky นี้ เป็นผลจาก คำสั่งแบนห้ามจำหน่ายซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ในอเมริกา ที่ออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน แต่ยังสามารถออกอัปเดตความปลอดภัยและซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าปัจจุบันได้ต่อไปถึง 29 กันยายน
Kaspersky บอกว่าคำสั่งนี้ทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินธุรกิจในอเมริกาต่อไปได้ จึงตัดสินใจปิดธุรกิจทั้งหมด
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ออกคำสั่งแบน Kaspersky ไม่ให้ขายซอฟต์แวร์ความปลอดภัยให้กับลูกค้าในสหรัฐ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเพราะ Kaspersky เป็นบริษัทจากรัสเซีย และมีความเชื่อมโยงกับกองทัพ-หน่วยข่าวกรองของรัสเซียในปฏิบัติการไซเบอร์
คำสั่งแบนนี้รวมถึงการอัพเดตซอฟต์แวร์ให้ลูกค้าเก่าด้วย คำสั่งนี้จะมีผลในวันที่ 29 กันยายน 2024 เพื่อให้ลูกค้าของ Kaspersky ในสหรัฐมีระยะเวลาหาตัวเลือกอื่นทดแทน
สำนักอุตสาหกรรมและความปลอดภัยของสหรัฐ ออกคำสั่งแบนห้ามจำหน่ายซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ภายในประเทศ ซึ่งระบุว่าเป็นการออกคำสั่งแบนแอปป้องกันไวรัสเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน เนื่องจาก Kaspersky เป็นบริษัทจากรัสเซีย
บริษัทความปลอดภัย Kaspersky ออกเครื่องมือจัดการไวรัสและมัลแวร์บนลินุกซ์ Kaspersky Virus Removal Tool (KVRT) for Linux ซึ่งเคยมีเวอร์ชันบนวินโดวส์มาก่อนแล้ว
KVRT ไม่ได้เป็นแอนตี้ไวรัสเต็มรูปแบบที่คอยมอนิเตอร์เครื่องของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ใช้สแกนดูได้ว่าเครื่องลินุกซ์ของเรามีไวรัสหรือมัลแวร์แอบแฝงอยู่หรือไม่ โปรแกรมตัวนี้ เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีบนเว็บไซต์ Kaspersky สิ่งที่ต้องแลกมาคือมันไม่อัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้อัตโนมัติ หากต้องการให้ข้อมูลอัพเดตก็ต้องขยันดาวน์โหลดไฟล์ใหม่มาเรื่อยๆ (Kaspersky บอกว่าเวอร์ชันไฟล์เปลี่ยนบ่อยๆ วันละหลายครั้ง)
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แคนาดาประกาศห้ามใช้แอปจาก Tencent และ Kaspersky บนอุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดา โดยอ้างว่าแอปดังกล่าว มีความเสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่แคนาดาไม่สามารถยอมรับไม่ได้
รัฐบาลแคนาดากล่าวว่า มุ่งมั่นที่จะรักษาข้อมูล และเครือข่ายของรัฐบาลให้ปลอดภัย พร้อมทั้งติดตามภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ และจะดำเนินการทันทีเพื่อจัดการกับความเสี่ยงต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชัน WeChat และ Kaspersky ถูกลบออกจากอุปกรณ์มือถือที่รัฐบาลแคนาดาใช้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม 2023 เป็นต้นไป ผู้ใช้อุปกรณ์ของรัฐบาลแคนาดาจะถูกบล็อกไม่ให้ดาวน์โหลดแอปดังกล่าว
FCC หรือ กสทช. สหรัฐ เพิ่มรายชื่อบริษัทที่ถูกแบล็คลิสต์ห้ามทำธุรกรรมด้วย เนื่องจากความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ
เดิมทีรายชื่อนี้มีผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายสัญชาติจีนอย่าง Huawei และ ZTE, ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด Hytera, Hikvision, Dahua ล่าสุดเพิ่มโอเปอเรเตอร์จีน (นับเฉพาะบริษัทนิติบุคคลในอเมริกา) 2 รายคือ China Telecom และ China Mobile รวมถึงบริษัทแอนตี้ไวรัส Kaspersky จากรัสเซีย
ช่วงหลังมานี้ ซอฟต์แวร์สอดแนม-ตามรอยที่เรียกว่า stalkerware หรือ spouseware ซึ่งมักใช้ในการติดตามพฤติกรรมของคู่รัก สามี/ภรรยา บุตรหลาน พนักงานในองค์กร ฯลฯ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า legal spyware คือเป็นสปายแวร์ที่ถูกกฎหมาย (เพราะเป็นการใช้งานกับคนในครอบครัวกันเอง หรืออาจบอกว่ามันคือ parental control แทน) แม้ไม่ถูกต้องในเชิงจริยธรรม (ผู้ถูกติดตามไม่ทราบว่าถูกติดตั้งซอฟต์แวร์นี้)
สภายุโรป (European Paliament) ผ่านมติ P8-TA-2018-0258 เรื่องการเสริมความแข็งแกร่งของการป้องกันภัยไซเบอร์ โดยมีญัตติข้อ 76 ยืนยันว่าสินค้าทั้งซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ของ Kaspersky Lab นั้นยืนยันแล้วว่าเป็นภัย (malicious) และให้ชาติสมาชิกตรวจสอบว่าไม่มีการใช้งานในระบบ
แนวทางนี้ตรงกับแนวทางของสหรัฐฯ ที่ประกาศ ห้ามหน่วยงานภาครัฐใช้ซอฟต์แวร์ Kaspersky ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว หรือ สหราชอาณาจักรก็มีการแจ้งเตือนหน่วยงานในช่วงเดียวกัน
จากประเด็น รัฐบาลสหรัฐแบน Kaspersky โดยอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย ส่งผลสะเทือนต่อบริษัท จนต้องปรับมาตรการทางธุรกิจหลายอย่าง เช่น ให้บริษัทภายนอกเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสของโค้ด
Kaspersky ยังเดินหน้ากู้ความเชื่อมั่นคืนกลับมา มาตรการล่าสุดที่ประกาศคือย้าย "ฐานการผลิตซอฟต์แวร์" และเซิร์ฟเวอร์บางส่วนไปยังประเทศที่เป็นกลางแบบสุดๆ อย่างสวิตเซอร์แลนด์
Eugene Kaspersky ซีอีโอของบริษัทความปลอดภัยจากรัสเซีย Kaspersky Lab ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงกรณีที่ Twitter แบนโฆษณาของบริษัท โดยมีจดหมายสั้นจากพนักงาน Twitter ที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า เหตุผลที่แบนโฆษณาของ Kaspersky Lab เนื่องจากทางบริษัททำธุรกิจโดยใช้โมเดลธุรกิจที่ขัดแย้งกับหลักการทางธุรกิจที่ยอมรับได้สำหรับการโฆษณาบน Twitter
Kaspersky ยืนยันว่าบริษัทของเขาไม่เคยทำผิดกฎทั้งที่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีระบุ ส่วนโมเดลธุรกิจของบริษัท Kaspersky Lab ก็ไม่ได้ซับซ้อน เพราะเหมือนกับบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทั่ว ๆ ไป คือขายสินค้าและบริการให้ลูกค้า และเมื่อปีที่แล้วทางบริษัทจ่ายเงินกว่า 75,000 ยูโรเป็นค่าโฆษณาใน Twitter ด้วย
Kaspersky รายงานถึงการสำรวจมัลแวร์รอบล่าสุด โดยมุ่งสำรวจว่ามัลแวร์มีความเกี่ยวข้องกับเว็บโป๊มากน้อยเพียงใด จากเดิมที่เราอาจจะมีความเชื่อว่าเว็บเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการแพร่มัลแวร์อยู่บ้าง แต่ไม่มีการสำรวจในเชิงปริมาณมากนัก
รานงานระบุว่ามัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือนั้น 25.4% ของผู้ที่ติด ติดมัลแวร์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภาพโป๊ รวมมีเหยื่อในปี 2017 จำนวน 1.2 ล้านคน โดยแบ่งเป็นมัลแวร์ 23 ตระกูล ตัวแอปอ้างตัวเองเป็นแอปภาพโป๊แต่ที่จริงแอบรูตเครื่อง, ขโมยข้อมูลธนาคาร
Kaspersky Lab ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยจากรัสเซียได้ยื่นฟ้องเพื่อล้มคำสั่งการแบนซอฟต์แวร์ต่อศาลของสหรัฐฯ หลังจากที่กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (DHS) สั่งแบนซอฟต์แวร์จาก Kaspersky ที่ใช้ในหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมดตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมาเนื่องจากกังวลว่าอาจมีจารกรรมข้อมูลจากรัสเซีย
ทางบริษัทกล่าวโทษว่ารัฐบาลเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่ยังไม่แน่ชัด และใช้เป็นหลักฐานในการทบทวนการใช้งานซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ทางบริษัทจึงขอให้ศาลสั่งให้ยกเลิกคำสั่งแบนที่ DHS ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ และอธิบายว่าซอฟต์แวร์ของบริษัทไม่ได้เป็นภัยต่อคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ
ประธานาธิบดี Donald Trump ได้เซ็นกฎหมายเพื่อแบนซอฟต์แวร์ Kaspersky Lab สำหรับการใช้งานในรัฐบาลสหรัฐฯ แล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายนโยบายการใช้จ่ายเพื่อการป้องกันประเทศ
ทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงมีความกังวลว่าการใช้ซอฟต์แวร์จาก Kaspersky จะทำให้ข้อมูลจะถูกขโมยและนำไปส่งมอบให้รัฐบาลรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) ก็ได้สั่งห้ามหน่วยงานภาครัฐใช้ซอฟต์แวร์จาก Kaspersky และล่าสุด Cristopher Krebs จาก DHS ก็กล่าวว่าตอนนี้หน่วยงานภาครัฐได้ถอด Kaspersky ออกจนเกือบจะหมดแล้ว ซึ่งการเซ็นกฎหมายนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความกังวลของรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าคงจะไม่กลับมาใช้ซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ง่าย ๆ
Kaspersky Lab ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยจากรัสเซียซึ่งถูก รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งแบน เตรียมปิดออฟฟิศใน Washington D.C. ซึ่งเป็นสำนักงานที่ทำงานร่วมกับรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ทางบริษัทจะยังคงการดำเนินธุรกิจกับลูกค้าที่ไม่ใช่รัฐบาลต่อไป และเตรียมจะเปิดออฟฟิศใน Chicago, Los Angeles และ Toronto เพิ่มเติมในปีหน้า
Anton Shigarev ผู้บริหารจาก Kaspersky กล่าวในการให้สัมภาษณ์ถึงการปิดออฟฟิศดังกล่าว และยังพูดถึงเรื่องการเปิดซอร์สโค้ดของบริษัทให้กับบริษัทภายนอกตรวจสอบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ของ Kaspersky ไม่มีฟังก์ชันแอบแฝงใด ๆ ไม่มีการส่งไฟล์ไปยังบุคคลที่สาม ไม่มีการสอดแนม และทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้าอย่างเต็มที่
สำนักงานความปลอดภัยไซเบอร์ในสหราชอาณาจักร (National Cyber Security Centre: NCSC) ได้แจ้งเตือนหน่วยงานรัฐบาลทุกภาคส่วนให้หลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสจากบริษัทรัสเซีย เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล โดยการตัดสินใจครั้งนี้ของ NCSC เป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ความเสี่ยงมากกว่าหลักฐานของการจารกรรมข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว
Ciaran Martin หัวหน้า NCSC ในจดหมายที่ส่งถึงหน่วยงานรัฐบาลว่า ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ผลิตโดยรัสเซียนั้นไม่ควรจะถูกใช้กับระบบที่เก็บข้อมูล เนื่องจากรัฐบาลรัสเซียอาจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ และเป็นภัยต่อความปลอดภัยประเทศ
Nghia Hoang Pho อดีตโปรแกรมเมอร์ของ NSA ยอมรับผิดว่านำเครื่องมือของ NSA กลับบ้านจนกระทั่ง รั่วไหลไปยัง Kaspersky
Pho ทำผิดหลายประการตั้งแต่การนำข้อมูล NSA กลับไปทำงานต่อที่บ้าน และคอมพิวเตอร์นั้นยังติดตั้ง Kaspersky ที่ NSA ไม่ได้อนุญาตให้ใช้งาน ตัว Pho เองยืนยันว่าไม่ได้มีประสงค์ร้ายอะไรที่นำเครื่องมือของ NSA กลับไปทำงานที่บ้าน
อัยการรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เรียกร้องโทษจำคุก 8 ปี แม้ว่าข้อมูลที่รั่วไปอาจจะเกิดจากความประมาทเท่านั้น แต่ Pho เป็นผู้ถือสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลความมั่นคงระดับลึก ความผิดพลาดเช่นนี้เป็นเรื่องยอมรับไม่ได้
ช่วงนี้ Kaspersky Lab ถูกกล่าวหาว่าได้รับว่าจ้างจากหน่วยข่าวกรองของรัสเซียให้ล้วงข้อมูลจากอเมริกาด้วยซอฟต์แวร์ความปลอดภัย ทำให้รายได้ของบริษัทนั้นลดลงอย่างมากในตลาดอเมริกาเหนือ (แต่ในตลาดอื่นยังคงเติบโตอยู่) และซอฟต์แวร์ของเขาถูกแบนจากหน่วยงานภาครัฐของอเมริกาเนื่องจากโปรแกรม แอบไปคัดลอกไฟล์สำคัญ
จากประเด็นเรื่องความเชื่อมโยงของ Kaspersky กับรัสเซีย จนบริษัทต้อง ประกาศสอบสวนข้อมูลเป็นการภายใน และ ออกมาตรการเรื่องความโปร่งใส
ล่าสุด Kaspersky ออกมาให้ข้อมูลในประเด็น ข้อมูลของพนักงาน NSA โดนล้วง โดยอ้างจากข้อมูล log ภายในของบริษัทเอง ว่าข้อมูลของ NSA ที่หลุดออกไปตามข่าว มีลักษณะตรงกับ มัลแวร์จากกลุ่ม Equation ที่ Kaspersky เคยรายงานการค้นพบในปี 2015 ทำให้ระบบของ Kaspersky พยายามตรวจจับมัลแวร์ที่คล้ายคลึงกันในเวลาต่อมา
หลังจาก Kaspersky เจอปัญหารุมเร้าจากข้อกล่าวหาเรื่องรัฐบาลรัสเซีย จนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ วันนี้บริษัทประกาศมาตรการกู้วิกฤตศรัทธา เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมา
แผนการของ Kaspersky มีชื่อว่า Global Transparency Initiative เน้นสร้างความโปร่งใสในผลิตภัณฑ์และกระบวนการทำงานของบริษัท ดังนี้
จากประเด็นข่าวเรื่อง Kaspersky กับรัฐบาลรัสเซีย ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องในรอบหลายเดือนมานี้ เว็บไซต์ข่าว The Daily Beast (สมัยก่อนเคยเป็นเครือเดียวกับ Newsweek) รายงานข้อมูลวงในว่า บริษัทอเมริกันหลายแห่งเลิกใช้ Kaspersky กันแล้ว โดยเฉพาะบริษัทสายการเงินที่เป็นห่วงเรื่องข้อมูลรั่วไหล
แหล่งข่าวของ The Daily Beast ยังบอกว่าบริษัทที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยหลายแห่ง เลือกขายเฉพาะซอฟต์แวร์ความปลอดภัยของบริษัทสัญชาติอเมริกันเท่านั้น และธุรกิจของ Kaspersky ในสหรัฐเองก็ย่ำแย่ และต้องปิดบางฝ่ายงานด้วย