Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบเอกสาร RFC หรือ "เอกสารขอความคิดเห็น" ที่เริ่มฉบับแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1969 หรือ 12 ปีก่อนอินเทอร์เน็ตที่เริ่มจริงจังในยุค IPv4 ( RFC791 ) ในปี 1981 โดยตัว RFC เกิดขึ้นในยุค ARPANET

DARPA (ชื่อ ARPA ในยุคนั้น) ต้องการสั่งซื้ออุปกรณ์เครือข่ายแบบ packet-switching โดยเรียกว่า Interface Message Processors (IMP) หลังจากนักวิจัยได้รับงานจาก DARPA ก็มาออกแบบโปรโตคอลว่าควรมีหน้าตาอย่างไร กระบวนการออกแบบมีการถกเถียงในหมู่นักวิจัยจนกลายเป็นเอกสาร RFC ออกมา

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

กระบวนการเข้ารหัสเว็บ HTTPS ทุกวันเป็นการเข้ารหัสการเชื่อมต่อ ทำให้ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์จะอ่านเนื้อหาได้เสมอ หากเราต้องการส่งข้อมูลที่แม้แต่เว็บเซิร์ฟเวอร์อ่านไม่ได้ เราต้องอาศัยวิธีอื่นๆ เช่นส่งเมลเข้ารหัส PGP หรือส่งไฟล์ zip แบบมีรหัสผ่าน แต่ล่าสุด Martin Thomson จาก Mozilla ก็ผลักดันมาตรฐาน RFC 8188 ที่ทำให้การส่งข้อมูลเข้ารหัสเป็นมาตรฐานกลางแล้ว

มาตรฐานนี้กำหนดค่าสำหรับ "Content-Encoding" แบบใหม่ คือ "aes128gcm" ที่ระบุว่าข้อมูลถูกเข้ารหัสแบบ AEAD_AES_128_GCM เอาไว้ เมื่อประกาศ encoding แบบนี้แล้วข้อมูลส่วนแรกของเนื้อ HTTP จะกลายเป็นการประกาศกุญแจเข้ารหัส ตั้งแต่ค่า salt, ค่า record size สำหรับขนาดข้อมูล, ค่าหมายเลขประจำกุญแจเข้ารหัส

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

วิศวกรจากหัวเหว่ยและ ISC เสนอ RFC7873 DNS Cookie ให้กระบวนการขอข้อมูล DNS จะต้องมีกระบวนการยืนยันตัวตนก่อน

กระบวนการนี้เมื่อไคลเอนต์ต้องการขอข้อมูล DNS จะต้องส่งค่าสุ่มเสมือน (pseudorandom) Client Cookie ไปยังเซิร์ฟเวอร์ก่อน จากนั้นเซิร์ฟเวอร์จะส่งค่า Server Cookie กลับมา และใช้ค่านี้ในการขอข้อมูล DNS ครั้งต่อๆ ไป

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

IETF ออกเอกสาร RFC7858 ระบุถึงการขอข้อมูล DNS แบบเข้ารหัสแล้ว โดยใช้การเชื่อมต่อแบบ TLS ผ่านพอร์ต 853 ที่ประกาศใหม่

โดยปกติแล้วการเข้ารหัส TLS เช่นการเชื่อมต่อเว็บ จะต้องยืนยันชื่อโดเมนของเครื่องปลายทาง (เช่นโดเมน www.blognone.com) แต่เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ DNS เอง RFC7858 จะเปิดให้เข้ารหัสการเชื่อมต่อแบบไม่ต้องยืนยันตัวตน (authenticate) ก็ได้ หรืออาจจะใช้กระบวน key-pinning เช่นเซิร์ฟเวอร์ DNS สาธารณะอาจจะเปิดเผยค่า fingerprint ของกุญแจสาธารณะให้คนทั่วไปได้คอนฟิกไว้ล่วงหน้า

Tags:
Node Thumbnail

HTTP/2 เตรียมประกาศเป็นมาตรฐานมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ เมื่อวานนี้ทาง IETF ก็เผยแพร่เอกสารเป็น rfc7540 เป็นทางการแล้ว

RFC หรือ request for comments เป็นเอกสารที่ไม่ได้ขอความเห็นตามชื่อของมันเท่าใดนัก เพราะเอกสารที่ประกาศเป็น RFC จะเป็นมาตรฐานขั้นสุดท้ายที่ไม่มีการแก้ไขอีก จะมีเฉพาะการประกาศ RFC ใหม่เพื่อทดแทน RFC เดิมเท่านั้น

ที่มา - The Register

Tags:
Node Thumbnail

IETF หน่วยงานออกมาตรฐานอินเทอร์เน็ตกลายเป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง จากการออกมาตรฐานสำคัญ เช่น HTTP 2.0 หลายมาตรฐานเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้จำนวนมาก ต้นทุนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผลประโยชน์ของบริษัทเอกชนและรัฐบาลทั่วโลก หากใครได้ตามข่าวการออกมาตรฐานแต่ละครั้ง การถกเถียงใน mailing list ของ IETF จะยาวนับร้อยนับพันข้อความ และหลายครั้งที่ประธานกลุ่มทำงานระบุว่าน่าจะได้ข้อสรุปก็จะมีข้อถกเถียงกันต่อไปเรื่อยๆ อีกพักใหญ่โดย IETF ไม่ได้ยึดเสียงโหวตเพื่อหาข้อสรุปให้มาตรฐาน ทำให้น่าสงสัยว่าสุดท้ายแล้วมาตรฐานต่างๆ นั้นออกมาได้อย่างไร ตอนนี้ก็มีเอกสาร RFC7282 หัวข้อ "On Consensus and Humming in the IETF" มาอธิบายถึงกระ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

RFC เป็นเอกสารที่กำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านในอินเทอร์เน็ตมาช้านาน ที่น่าแปลกคือในบรรดาเอกสารที่เต็มไปด้วยเนื้อหาแล้วชวนปวดหัวเหล่านี้ มักมีการเขียนเอกสารมาตรฐานตลกๆ แทรกเข้ามาอยู่เสมอๆ เช่น การส่งข้อมูลแบบไอพีผ่านนกพิราบสื่อสาร (RFC1149) หรือจะเป็น ปัญหา Y10K (RFC2550) ที่น่าตกใจคือมาตรฐานเหล่านี้หลายๆ ตัวได้รับการอิมพลีเมนต์จริง เช่นมีการผูกหน่วยความจำแฟลชไปกับขานกพิราบจริง