ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีผนึกกำลังกันเอง โดยซัมซุงในฐานะแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้า เซ็นสัญญากับแบรนด์รถยนต์ Hyundai และ Kia (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเครือเดียวกัน) เพื่อเชื่อมต่อระบบสมาร์ทโฮม SmartThings ของซัมซุง เข้ากับระบบ infotainment รุ่นถัดไปในรถยนต์ของ Hyundai/Kia
ตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบ ได้แก่
ซัมซุงออกแอพตัวใหม่ที่ใช้ตามหามือถือและอุปกรณ์ต่างๆ ในชื่อ Samsung Find มาแบบเงียบๆ โดยมาพร้อมรอม One UI 6.1 ของ Galaxy S24 และ เปิดให้ดาวน์โหลดบน Galaxy Store แล้ว
ก่อนหน้านี้ซัมซุงมีฟีเจอร์ ตามหามือถือชื่อ SmartThings Find เปิดตัวตั้งแต่ปี 2020 แต่อยู่ในแอพ SmartThings ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอีกที คราวนี้เป็นการแยกแอพสำหรับค้นหาออกมาต่างหากเลย โดยฟีเจอร์ยังเหมือนเดิมทั้งหมด ทั้งการตามหาอุปกรณ์ผ่าน Wi-Fi, cellular, Bluetooth, UWB
ซัมซุงประกาศความร่วมมือกับ Tesla โดยสินค้าด้านพลังงานของ Tesla เช่น แบตเตอรี่ในบ้าน Powerwall, Solar Inverter, ระบบชาร์จ Wall Connector จะรองรับการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม SmartThings ของซัมซุง ผ่าน API ของ Tesla ทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการอุปกรณ์และพลังงานได้บน SmartThings
ประกาศนี้เป็นความร่วมมือเพิ่มเติมจากที่ซัมซุงก็เพิ่ง ประกาศความร่วมมือกับ Hyundai Group ไป
นอกจากตรวจสอบข้อมูล ผู้ใช้แอป Powerwall ของ Tesla ยังสามารถใช้ฟีเจอร์ Storm Watch เพื่อแจ้งเตือนหากเกิดปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน โดยสามารถแสดงข้อความผ่านอุปกรณ์ในบ้าน เช่น สมาร์ททีวีของซัมซุง ที่เชื่อมต่ออยู่กับ SmartThings ได้ด้วยเช่นกัน
Samsung ประกาศความร่วมมือกับ Hyundai Motor Group ขยายการทำงานอุปกรณ์ SmartThings ให้รองรับกับรถยนต์และรถไฟฟ้าของ Hyundai Group
ทั้ง 2 บริษัทจะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาบริการ Home-to-Carและ Car-to-Homeรวมถึงบริการจัดการพลังงานภายในบ้านแบบครบวงจร โดยเริ่มจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ SmartThings ของซัมซุง เข้ากับรถยนต์จาก Hyundai และ Kia
ซัมซุงเปิดตัว SmartThings Station ฮับควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมภายในบ้าน (รองรับทุกอย่างที่เป็นโปรโตคอล Matter) โดยตัวมันเองยังเป็นแท่นชาร์จไร้สาย 15W ได้ด้วย
หน้าที่ของ SmartThings Station คือเป็นเซิร์ฟเวอร์กลางสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และตั้งค่า routine ให้ทำงานอัตโนมัติ (ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนอีกที) ตัวเครื่องมือปุ่มกดสำหรับเปลี่ยนโหมด เช่น โหมดเข้านอน (ปิดไฟ ปิดม่าน) หรือโหมดออกจากบ้าน (ปิดไฟ เปิดระบบความปลอดภัย) เป็นต้น ฟีเจอร์อื่นคือ SmartThings Find ใช้ค้นหามือถือ Galaxy หรืออุปกรณ์ที่แปะแท็ก SmartTag ของซัมซุงได้
สินค้าระบุว่าจะวางขายในสหรัฐและเกาหลีใต้ ราคา 80 ดอลลาร์
หลังจากที่ Matter ได้ประกาศข่าวการตั้ง มาตรฐานกลางสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม Matter 1.0 เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ Samsung ได้เริ่มอัพเดตระบบ SmartThings ทั้งอุปกรณ์ฮับและแอปให้รองรับมาตรฐานดังกล่าวแล้ว
ก่อนหน้านี้ Samsung ได้ประกาศข่าว การเชื่อมต่อระบบ SmartThings ของตนเองเข้ากับ Google Home ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบสมาร์ทโฮมทั้ง SmartThings และ Google Home ควบคู่กันได้ในเวลาเดียวกัน
ซัมซุง ประกาศเชื่อมระบบสมาร์ทโฮม SmartThings ของตัวเอง เข้ากับระบบ Google Home ของกูเกิล โดยอุปกรณ์สมาร์ทโฮมรุ่นใหม่ที่รองรับโปรโตคอล Matter สามารถเซ็ตอัพกับ SmartThings แล้วนำไปใช้กับฝั่ง Google Home ได้ทันทีโดยไม่ต้องเซ็ตอัพใหม่ (หรือจะกลับทิศกันคือเริ่มจาก Google Home ก่อนแล้วไปใช้กับ SmartThings ได้เช่นกัน)
ฟีเจอร์นี้อยู่ในสเปกเรื่อง multi-admin ของโปรโตคอล Matter ที่จัดการอุปกรณ์ได้จากหลายทาง ฟีเจอร์นี้จะอัพเดตให้ในแอพฝั่งซัมซุงและกูเกิลภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ที่มา - Samsung
ซัมซุงมีเครือข่ายอุปกรณ์ IoT เพื่อใช้ระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ที่สูญหาย ลักษณะเดียวกับ Find My ของแอปเปิล โดยใช้ชื่อว่า SmartThings Findซึ่งบริษัทออกมาประกาศว่ามีอุปกรณ์ในเครือข่ายค้นหาเกิน 200 ล้านชิ้นแล้ว
เครือข่าย SmartThings Find สามารถค้นหาอุปกรณ์แบรนด์ Galaxy ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต นาฬิกา หูฟัง รวมถึง สิ่งของอื่นที่แขวนป้ายติดตาม SmartTag และ SmartTag+ ที่เปิดตัวช่วงต้นปี 2021 วิธีการใช้งานนั้นผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้งแอพ SmartThings บนมือถือ และสมัครเข้าร่วมแบบ opt-in (มีให้บริการทั่วโลกยกเว้นจีน)
ทั้งนี้ ซัมซุงไม่ได้เปิดเผยประเภทของอุปกรณ์ในเครือข่าย SmartThings Find ว่ามีสัดส่วนอย่างไร รวมถึงการกระจายตัวของอุปกรณ์ในแต่ละประเทศด้วย
ซัมซุงเปิดตัว Samsung Home Hub มันคือแท็บเล็ตขนาด 8.4 นิ้วพร้อมแท่นชาร์จ ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมภายในบ้าน
แท็บเล็ตตัวนี้สามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมของซัมซุงที่เป็น SmartThings ทั้งหมด เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น แอร์ เครื่องฟอกอากาศ แบ่งได้เป็น 6 หมวดคือ Cooking, Clothing Care, Pet, Air, Energy, Home Care Wizard ซัมซุงบอกว่าในอนาคตจะสามารถเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นได้ด้วย เช่น หลอดไฟ และล็อคประตูอัจฉริยะ แต่ยังไม่ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
เดิมที อุปกรณ์เหล่านี้สามารถควบคุมได้ผ่านสมาร์ทโฟนอยู่แล้ว แต่อาจไม่สะดวกในการใช้งาน ซัมซุงจึงออกแท็บเล็ตนี้มาให้เป็นอุปกรณ์แสดงสถานะและสั่งการบ้านแยกเฉพาะ มีฟีเจอร์ Bixby รองรับการสั่งงานด้วยเสียง
ซัมซุงทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่สำหรับงาน CES 2022 ล่วงหน้าก่อนวันงานจริงเล็กน้อย โดยเริ่มจากสินค้ากลุ่มจอมอนิเตอร์ 3 รุ่น จับกลุ่มผู้ใช้งาน 3 กลุ่มที่แตกต่างกัน ได้แก่
Samsung SmartThings เป็นแบรนด์สินค้า IoT รายล่าสุดที่ประกาศรองรับ โปรโตคอล Matter อย่างเป็นทางการ ทำให้สื่อสารกับอุปกรณ์ IoT แบรนด์อื่นๆ ที่รองรับโปรโตคอลเดียวกันได้ (ก่อนหน้านี้คือ Google Nest และ Amazon Echo )
แอป Samsung SmartThings แอปสำหรับควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมของ Samsung และใช้ค้นหาอุปกรณ์ Samsung เช่นมือถือ แท็บเล็ต Galaxy SmartTag กับ SmartTag+ หรือแม้แต่หูฟังตระกูล Galaxy Buds ได้ คล้ายแอป Home รวมร่างกับ Find My ของ iOS เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานบนพีซีได้เป็นครั้งแรก ผ่าน Microsoft Store แล้ว หลังก่อนหน้านี้มีแค่บน Apple App Store และ Google Play Store เท่านั้น
Samsung เปิดตัว Galaxy SmartTag และ SmartTag+ ไปเมื่อกลางเดือนที่แล้ว รุ่นธรรมดาใช้งาน bluetooth low energy เพื่อเชื่อมกับเครือข่ายมือถือ Galaxy ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ผ่าน SmartThings Find ส่วนรุ่นพลัสใช้คลื่น ultra wide-band เพื่อหาของด้วย AR ในพื้นที่จริงได้ แต่ Samsung กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Fast Company ว่า SmartTag ทำได้มากกว่านั้น
ในที่สุด Google และซัมซุงก็ประกาศความร่วมมือเชื่อมต่อแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมของตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกันได้แล้ว ทำให้อุปกรณ์อย่างกล้อง, กริ่งประตูหน้าบ้านและ thermostat ของ Nest สามารถสั่งงานได้ผ่านแอป SmartThings หรือกระทั่งสมาร์ททีวีและตู้เย็นอัจฉริยะของซัมซุงแล้ว
ในทางตรงกันข้าม อุปกรณ์สมาร์ทโฮมของซัมซุงก็จะรองรับการสั่งงานผ่าน Google Assistant ทั้งหมดแล้ว เช่นสั่งอุ่นเตาอบอัจฉริยะ หรือสั่งเปิดปิดและเปลี่ยนช่องทีวี (ทีวีจะรองรับเฉพาะ รุ่นที่ประกาศก่อนหน้านี้ ) ขณะที่การตั้งค่าในแอป SmartThings ก็จะมีลิงก์เชื่อมต่อกับ Google Assistant ให้ในแอป
ซัมซุงเปิดบริการ SmartThings Find สำหรับค้นหาตำแหน่งของอุปกรณ์ Galaxy (สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ และหูฟัง) ด้วย Bluetooth LE และ ultra-wideband (UWB)
สิ่งที่ทำให้ SmartThings Find แตกต่างจากบริการค้นหาอุปกรณ์อื่นๆ ในท้องตลาด (เช่น Find My ของแอปเปิล หรือ Find My Device ของกูเกิล) คือ
- หลังจากอุปกรณ์ชิ้นนั้นออฟไลน์ไปแล้ว 30 นาที มันจะปล่อยสัญญาณ Bluetooth LE ออกมาอัตโนมัติ
- อุปกรณ์ Galaxy ของคนอื่นๆ สามารถช่วยสแกนหาสัญญาณ Bluetooth LE ในบริเวณใกล้เคียงได้ด้วย (opt-in)
ผลคือ SmartThings Find มีโอกาสค้นหาอุปกรณ์ที่หายไปได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่หายนอกบ้าน และในพื้นที่นั้นมีคนที่ใช้มือถือและแท็บเล็ตของซัมซุงอยู่ด้วย
ซัมซุงเปิดตัวตู้เย็นปัญญาประดิษฐ์ Family Hub รุ่นปี 2020 เพิ่มฟีเจอร์ Smart Recipes โดยแนะนำเมนูที่ควรกินประจำสัปดาห์ จากแนวทางการกินที่ตั้งไว้ ประกอบกับวัตถุดิบที่เหลือในตู้เย็น พร้อมกับแนะนำให้ซื้อวัตถุดิบเพิ่มเติมได้ด้วย
ตัวตู้เย็นมีกล้องส่องภายในและจดจำได้ว่าวัตถุดิบอะไรเหลืออยู่หรือหมดไปแล้วบ้าง และนอกจากการตั้งค่าสำหรับการกินส่วนตัวแล้ว ยังบอกได้ว่ามีแผนจะพาแขกมาที่บ้าน เพื่อตู้เย็นจะได้แนะนำรายการซื้อของมาเติมได้
ซัมซุงยังคงมองว่าตู้เย็นเป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์ IoT ในบ้าน โดย Family Hub สามารถตรวจสถานะและสั่งการอุปกรณ์ SmartThings ในบ้านได้ทั้งหมด มองกล้องวงจรปิดได้จากห้องครัว
ทางซัมซุงยังไม่เปิดเผยราคาและกำหนดการวางจำหน่าย
ซัมซุงเปิดเผยในงาน Samsung Developer Conference 2019 ที่กำลังจัดขึ้นว่าแพลตฟอร์ม IoT ของตัวเองอย่าง SmartThings มีผู้ใช้งานรายเดือน (Monthly Active Users) เกิน 45 ล้านแล้ว โดยมีอุปกรณ์ที่รันอยู่กว่า 5,000 รุ่นจากผู้ผลิตกว่า 100 ราย
ตอนนี้ซัมซุงมีแค่ Works as SmartThings Hub (WASH) ที่ให้ OEMS ฝังซอฟต์แวร์ของ SmartThings เอาไว้ในอุปกรณ์ ขณะที่ SDKs ยังอยู่ในเฟสเบต้าก่อนจะเปิดตัวจริงในปีหน้า
ที่มา - Venturebeat
ซัมซุงได้ฤกษ์เปิดตัวอุปกรณ์สมาร์ทภายในบ้าน หลังก่อนหน้านี้ได้เปิดตัว SmartThings Wifi เร้าเตอร์ไวร์เลสแบบ Mesh ที่รองรับแพลตฟอร์ม IoT โดยล่าสุดซัมซุงเปิดตัวอุปกรณ์อีก 3 ชิ้น คือ SmartThings Cam, Wifi Smart Plug และ Smart Bulb
Mossab Hussein นักวิจัยความปลอดภัยของบริษัท SpiderSilk รายงานถึงโดเมนหนึ่งของซัมซุงที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ GitLab สำหรับใช้งานภายในบริษัท แต่กลับมีโครงการจำนวนหนึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะเอาไว้ ทำให้คนภายนอกเข้าถึงโค้ดและโทเค็นที่เกี่ยวข้องได้
นอกจากตัวซอร์สโค้ดแล้ว ข้อมูลสำคัญที่อยู่ใน GitLab ได้แก่ กุญแจลับสำหรับรับรองแอป, โทเค็น AWS, และโทเค็น GitLab เอง ทำให้เขาเข้าถึง repository ที่ล็อกเอาไว้ได้อยู่ดี รวมทั้งหมด 135 โครงการ
Hussein ระบุว่าแจ้งทางซัมซุงตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา และทางซัมซุงล็อกข้อมูลทั้งหมด พร้อมกับยกเลิกโทเค็น AWS ไปแล้ว ส่วนโทเค็น GitLab นั้นเพิ่งยกเลิกไปเมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา แต่ไม่มีข้อมูลว่ากุญแจลับนั้นถูกยกเลิกหรือยัง
วันนี้ซัมซุงประเทศไทยจัดงานพูดคุยถึงภาพรวมของปี 2018 ที่ผ่านมาและแนวทางในปีหน้า คุณเฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ รองประธาน ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า ของทางซัมซุงก็เปิดเผยว่าปี 2019 นี้ ทางซัมซุงจะนำอุปกรณ์ IoT แบรนด์ SmartThings เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยแล้ว
แบรนด์ SmartThings เคยเป็นบริษัทแยก เริ่มผลิตฮับและอุปกรณ์ของตัวเอง มาตั้งแต่ปี 2013 และ ทางซัมซุงซื้อบริษัทไปในปี 2014 แม้จะทำตลาดมาตลอดแต่ที่ผ่านมาก็ไม่เคยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย แม้จะมีผู้นำเข้ามาขายอยู่บ้าง
ซัมซุงเปิดตัวอุปกรณ์สำหรับติดตามสิ่งของหรือสัตว์เลี้ยงบนแพลตฟอร์ม SmartThings ในชื่อพื้นๆ ว่า SmartThings Tracker ที่เชื่อมต่อกับระบบติดตาม GPS ผ่าน eMTC หรือ LTE-M
SmartThings Tracker มีขนาดเล็ก พกพาง่าย เชื่อมต่อกับแอป SmartThings ทั้งบนแอนดรอยด์และ iOS สามารถส่งอัพเดตโลเคชันได้แบบเรียลไทม์ ด้วยการกดปุ่มพาวเวอร์ 2 ครั้ง จะมีการแจ้งเตือนที่แอป SmartThings ที่เชื่อมเอาไว้ ซึ่งจะสามารถติดตามตำแหน่งแบบเรียลไทม์ได้ต่อเนื่อง 10 นาที
ซัมซุงเปิดตัว SmartThings Wifi เร้าเตอร์ไวร์เลสแบบ Mesh ที่รองรับแพลตฟอร์ม IoT ของซัมซุง โดยทางซัมซุงระบุว่าเป็นเทคโนโลยี Mesh Wi-Fi มีการ AI ในการ optimize เน็ตเวิร์คด้วยอาศัยความร่วมมือกับ Plume เจ้าของโซลูชัน Wi-Fi ภายในบ้านมาเป็นพาร์ทเนอร์
จุดเด่นของ AI จากแพลตฟอร์ม Plume คือระบบจะสามารถจัดการแบนด์วิธ, แก้ปัญหาสัญญาณรบกวน, เลือกช่องสัญญาณและความถี่ที่ดีที่สุดให้ผู้ใช้ ขณะที่ SmartThings Wifi จะช่วยให้การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT บนแพลตฟอร์ม SmartThings ภายในบ้านมีความ seamless มากขึ้น โดยเร้าเตอร์ 1 ตัวรองรับพื้นที่ราวๆ 457 ตร.ม.
งาน Samsung Developer Conference 2017 วันนี้ ซัมซุงประกาศรวมแพลตฟอร์มและโซลูชัน IoT ที่มีทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นฝั่งฮาร์ดแวร์ Samsung Connect, คลาวด์ Artik Cloud และโซลูชัน SmartThing เอาไว้ภายใต้แบรนด์ SmartThings Cloud
SmartThings Cloud เป็นแพลตฟอร์ม IoT แบบเปิด ทำให้รองรับอุปกรณ์และโซลูยี่ห้ออื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่ของซัมซุงอย่างเดียว ซึ่งการรวมโซลูชัน IoT ของซัมซุงให้มาอยู่ภายใต้แพลตฟอร์มเดียวกันทั้งหมดครั้งนี้ ดูจะทำให้ซัมซุงได้เปรียบแพลตฟอร์มอื่นๆ เล็กน้อย โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่าซัมซุงมีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เป็นของตัวเอง
ทั้งนี้ซัมซุงยังไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับ SmartThings Cloud มากนัก นอกจากว่าน่าจะได้เห็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับในช่วงปีหน้า
ทีมวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมิชิแกนและ Microsoft Research รายงานถึงการวิเคราะห์ความปลอดภัยของเฟรมเวิร์ค SmartThings ที่ตอนนี้อยู่ภายใต้ซัมซุง ( รีวิวอุปกรณ์ใน Blognone ) โดยวิเคราะห์เฟรมเวิร์คสำหรับส่วน SmartApps ที่เปิดให้พัฒนาเข้ามาพัฒนาแอปพลิเคชั่นควบคุมบ้านได้ พบว่ามีแนวโน้มที่เฟรมเวิร์คจะให้สิทธิ์กับแอปพลิเคชั่นเกินความจำเป็น จนกระทั่งทำให้แอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญๆ ได้ทั้งที่ฟังก์ชั่นการทำงานไม่จำเป็น
สวัสดีครับ พอดีผมได้เจ้า Samsung SmartThings Home Monitoring Kit ที่สั่งมาจาก Amazon เพื่อมาใช้เองที่บ้าน ก็เลยมารีวิวกันให้เพื่อนๆ ดูกันว่าเจ้านี่มีดียังไง ทำไมถึงขึ้นชื่อว่าเป็น Smart Home Hub ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้
เกริ่นกันสักนิดนึงก่อนเข้ารีวิว ตลาด Smart Home ตอนนี้ SmartThings ถือเป็นบริษัท startup ที่ค่อนข้างมาแรง บริษัทก่อตั้งเมื่อปี 2012 โดยออกแคมเปญที่ Kickstarter ระดมทุนให้ SmartThings Hub Version 1 และประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้เงินลงทุนถึง 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับการเพิ่มทุนจากนักลงทุนเรื่อยๆ จนในปี 2014 ถูกซัมซุงซื้อกิจการด้วยเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ และเปลี่ยนชื่อเป็น Samsung SmartThings ในที่สุด