เมื่อเอ่ยถึงซีพียูในคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าชื่อว่า Intel อยู่ในลำดับแรกที่หลายคนนึกถึง ตลอดหลายสิบปี Intel ครองความเป็นผู้นำในตลาดซีพียู จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพฝังอยู่ในซีพียูหลายต่อหลายรุ่น
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน Intel กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งสำคัญจากคู่แข่งอย่าง AMD ที่ใช้เวลากว่า 6 ปี ทุ่มงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ พัฒนาซีพียู “Ryzen” ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ที่เปรียบเสมือนไพ่เด็ดในการเขย่าบัลลังก์ Intel
ความผิดหวังจาก AMD Bulldozer
ย้อนไปในปี 2011 AMD พยายามผลักดันซีพียูที่ได้รับการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรม Bulldozer กระบวนการผลิตระดับ 32 นาโนเมตร (วางจำหน่ายในชื่อ AMD FX) เพื่อแข่งขันกับ Intel ที่เปิดตัวซีพียู Sandy Bridge ในปีเดียวกัน กลับต้องประสบกับความผิดหวังทั้งในแง่ของการทดสอบประสิทธิภาพจากหลายๆ สำนัก และบรรดาแฟนๆ AMD ที่ไม่สามารถสู้กับซีพียูของ Intel ในช่วงเวลานั้นได้ ทำให้ AMD จำเป็นต้องริเริ่ม คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อลดช่องว่างระหว่าง Intel และ AMD
เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
หลังความผิดหวังใน AMD Bulldozer ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารภายในองค์กร ในปี 2011 ทาง AMD ได้แต่งตั้ง Mark Papermaster อดีตผู้บริหารของ IBM และ Apple เข้ามารับตำแหน่ง CTO (Chief Technology Officer) พร้อมคำสั่งแรกในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทีมออกแบบซีพียู และเน้นการออกแบบซีพียูที่เอื้อต่อการเล่นเกม, การประมวลผลไฟล์ 3D รวมไปถึงการเรนเดอร์วีดีโอความละเอียด 4K
โครงสร้างทีมออกแบบของ AMD ก่อนหน้านี้ถูกแยกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้รับผิดชอบซีพียูสำหรับแล็ปท็อปและเดสก์ทอปราคาประหยัด ส่วนกลุ่มที่สองทำหน้าที่ออกแบบซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ทอประดับไฮเอนด์ ซึ่ง Papermaster เข้ามาปรับทีมงานออกแบบ Zen เป็นการนำทั้งสองทีมมารวมกัน กลายเป็นทีมขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างซีพียูที่ดีกว่าที่ผ่านมา
ช่วงปี 2012 AMD เปิดตัวผู้บริหารใหม่อีกหนึ่งคนคือ Lisa Su ในตำแหน่ง Senior Vice President และ General Manager พร้อมเป้าหมายในการเจาะตลาดกราฟิกและเกมมิ่ง การเดินหมากครั้งนี้ในเชิงธุรกิจถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจาก AMD สามารถบรรลุข้อตกลงในการเป็นพันธมิตรร่วมกับ Sony และ Microsoft ในการผลิตซีพียูให้กับ PlayStation 4 และ Xbox One
หลังจากนั้น 2 ปี Lisa Su ก้าวขึ้นเป็น CEO ของ AMD พร้อมดำเนินการร่วมกับ Mark Papermaster และ Joe Merci รองประธานและซีทีโอด้านผลิตภัณฑ์ ในการพัฒนาซีพียู Ryzen ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ให้กับ AMD
Getting ready to ship @AMDRyzen #Threadripper ... super excited! More details on @Radeon Vega and Threadripper at #SIGGRAPH2017 . pic.twitter.com/gZdazFmkdE
— Lisa Su (@LisaSu) July 24, 2017
สร้างเทคโนโลยี Infinity Fabric
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทีมออกแบบซีพียูของ AMD เปลี่ยนแปลงหลายส่วนของซีพียู เพื่อปรับปรุงความเร็ว พร้อมตัดสินใจทิ้งสถาปัตยกรรมเดิม Bulldozer พร้อมทุ่มทรัพยากรเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรม Zen
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ Zen คือการปรับปรุงระบบบัส HyperTransport พร้อมกับสร้างระบบบัสแบบใหม่ที่เรียกว่า “Infinity Fabric”
Jim Keller วิศวกรรมผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบสถาปัตยกรรม Zen และเทคโนโลยี Infinity Fabric เปิดเผยว่า AMD ใช้แนวทางการออกแบบที่เรียกว่า “chiplet” การจัดโปรเซสเซอร์หลายชุดรวมเข้าด้วยกันและเชื่อมต่อผ่าน Infinity Fabric ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ซีพียูมีความเร็วมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถผลิตซีพียูได้ในราคาที่ถูกลง
เทคโนโลยี Infinity Fabric ยังมีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นได้ง่าย เปรียบเสมือนบล็อกสำหรับการต่อเลโก้ ที่สามารถผสานกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น การนำหน่วยประมวลผลกราฟิกมาใส่รวมกับซีพียูได้เลย เป็นต้น หากต้องการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องออกแบบใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้ AMD สามารถผลิตซีพียูได้ในปริมาณมหาศาล
ภาพจาก wccftech
เมื่อทุกอย่างพร้อม ได้เวลาเดินหน้า!
จากการพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ร่วมหลายปี ในที่สุด AMD Ryzen ซีรีส์แรกก็ประเดิมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปลายปี 2016 ประกอบไปด้วย Ryzen 3, 5 และ 7 เป็นซีพียู 8 คอร์ 16 เธรด ที่มีประสิทธิภาพด้านความเร็ว ราคาถูก เหมาะสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีงบประมาณจำกัดและต้องการความคุ้มค่า
นอกจากนี้ AMD ยังเปิดตัวซีพียูในกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ Epyc ซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์, Ryzen APU สำหรับแล็ปท็อป และ Threadripper สำหรับเดสก์ทอป ที่ให้พลังในการประมวลผลแบบ 16 คอร์ 32 เธรด ซึ่งเป็นซีพียูที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคและผู้ผลิตพีซี รวมถึงเดสก์ทอปเกมมิ่ง Alienware ด้วย
จากการยอมรับของผู้บริโภคต่อซีพียู Ryzen ส่งผลให้สถานการณ์ของ AMD ดีขึ้นตามลำดับ จนสามารถพลิกฟื้นธุรกิจขึ้นมาทำกำไรได้อีกครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งในปี 2018 นี้ AMD เริ่มต้นครึ่งปีแรกด้วยการเปิดตัวซีพียู Ryzen รุ่นที่ 2, APU สำหรับเดสก์ทอป และ Mobile APU สำหรับแล็ปท็อป
เว็บไซต์ Gizmodo คาดการณ์ว่าภายในปีนี้จะมีแล็ปท็อปและเดสก์ทอปกว่า 60 รุ่นที่ใช้ซีพียู Ryzen โดยส่วนใหญ่จะเป็นแล็ปท็อปในระดับพรีเมียมที่คุณอาจไม่เคยเห็นจากค่าย AMD มาก่อน
สุดท้ายนี้ จากความก้าวหน้าของ AMD ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ทำให้การแข่งขันในตลาดซีพียูมีชีวิตชีวามากขึ้นอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าสถานการณ์แบบนี้ย่อมทำให้ Intel ไม่สามารถนิ่งเฉยหรือชะล่าใจได้อีกต่อไป แต่เหนือสิ่งอื่นใดแล้วการไม่หยุดยั้งการพัฒนานวัตกรรมย่อมนำมาซึ่งผลดีแก่ผู้บริโภคทั้งสิ้น
อ้างอิง : Gizmodo
Comments
สองฝั่งนี้สู้กันสนุกขึ้นมาหน่อย ต้องค่อยดูยุคหลังจาก The Force Awakens ว่าจะสนุกขึ้นไปอีกไหม
ที่ได้รับออกแบบ ?
แถบ => แทบ
เชียร์มวยรอง ครับบบ
Jim Keller ตอนนี้ไปอยู่ Intel ได้สักพักแล้วใช่ไหมครับ
เหมือนว่าเพิ่งไปตอนต้นปีนี้นะครับ
"หายร้อนยัง"
คนใกล้ตัวผมคงพูดแบบนี้แน่ๆ หากไปถามความคิดเห็นเกียวกับซีพียูตระกูลนี้
เรื่องร้อนไม่ร้อน มันมีประเด็นมานาน เพราะค่าย AMD ตั้งแต่สมัย Athlon64 หมกเม็ด ใช้วิธีการแสดงเลข Temp ที่เป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นสูตรแบบ relative ครับ (ยุคนั้นเคยเจอคนcap ตัวเลขมาโชว์ในกระทู้ว่าเย็นกว่าอุณภูมิห้องทั้งๆที่ใช้พัดลมแถมปกติ เอิ่ม ตกthermodymic มาหรือเปล่า?)
คือเคยใช้ FX8350 เดิมๆตัวเลข full loadโชว์ 60c แต่ลมร้อนที่ออกมานี่มหาศาล แถมมีหลายคนขู่ว่า ถ้าไป70นี่คือไหม้แล้ว ในขณะที่ i7 gen4@4.6GHz โชว์ 70-80c แต่ไหงลมมันเย็นกว่าเยอะ เคยเผลอทำปลั๊กปั๊มน้ำหลุดไป98c ก็ไม่พัง(แต่clock ลดเองมาวิ่งที่800MHz นะ) แถมi7กินไฟ(input power วัดจาก watt meter plug) น้อยกว่าครึ่งนึง (ที่เคยวัดเอง i7@4.6GHz full loadแบบไม่ใช้GPU กินทั้งระบบ 111watt แต่ FX8350 กินทั้งระบบ 200watt)
ส่วน Ryzen ยังไม่เคยลองเอง ไม่รู้ว่ายังกั๊กโชว์ตัวเลขหลอกๆไหม แต่หลายคนบอกว่าเย็นลงจริงๆ(?)
ตำนานร้อนนี่คงต้องย้อนไปตั้งแต่ Duron, Thunderbird เลยแหละครับชื่อ ดูร้อน, นกย่าง ไม่ได้จับสลากมาก XD
ซึ่งสำหรับหลาย ๆ คน นั่นมันเป็นเรื่องเมื่อชาติที่แล้วเลยนะครับ :)
แต่ยุคนั้นนี่เป็นยุครุ่งเรืองของ AMD เลยทีเดียวนะใครมาถาม แนะนำ AMD ตลอด
ผมก็ใช้ครับ Duron 700ร้อนสมคำร่ำลือจริง
ผมก็เริ่มเล่นAMDตั้งแต่ Duron ยุคนั้นนี่แหละ Athlon XP, athlon64,sempron,athlon64 x2 จนมาเจอ C2D แรงกว่าเย็นกว่า ถึงย้ายค่าย C2D C2Q i5 i7 พอ FX 8หัวออกมา ก็จับจองมาเล่นสักพักถึงบอกว่า มันโคตรร้อนทั้งๆที่ตัวเลขโชว์ไม่ร้อนเท่าไร(ตัวเลขหลอกดาว!)
เรื่องร้อนเห็นว่าข้างล่าง บอกRyzenว่าเย็นแล้ว ก็น่าสนใจ รอ Ryzen gen2 ทีเดียวแล้วกัน ตอนนี้ DDR4 แพง จะ upgrade ไม่ว่าค่ายไหนก็ทำใจกับราคาแรมไม่ได้ -_-"
มีทั้ง FX,i5 Gen7,Ryzen 5 1600
ฟันธงว่า i5 ร้อนกว่าตอนเล่นเกมส์ครับผม แถมเสียงพัดลมดังกระหึ่มRyzen เงียบ เย็นกว่า เสียงพัดลมแทบไม่ได้ยิน
ปล. ไม่ไห้เย็นได้ไง ซิ้ง Wrait Cooler ตัวเบ้อเร้อ
มาช้ายังดีกว่าไม่มาเลย โลกใช้ cpu 4หัว มาเกือบ10ปี เพราะไร้คู่แข่ง
เชียร์ให้แซงเหมือนสมัย Athlon64 เลย
แต่แซงแล้วอย่าทำตัวแบบเดิมละกัน พอกลายเป็นผู้นำตลาดก็ปั้มราคาสูงทุกที
ส่วนตัวผม CPU กี้หัวไม่สำคัญเท่า Performance ขึ้นปีละ 10 - 15 % มา 7 - 8 ติดๆๆกัน ครับ
ทั้งๆที่สามารถเพิ่มมันได้มากกว่านี้น่ะหรอครับ ??
ถ้า ryzen ไม่ใส่มา 8หัว , การจะเห็น intel ยัดมา 6หัว คงยาก
ต้องเข้าใจว่าการเพิ่ม Performance ของ CPU มันยากอยู่นะครับ พื้นที่มันจำกัด เพิ่มส่วนนั้นกระทบส่วนนี้ บางทีต้องยอมลด Integer ไปเพิ่ม Floating Point เพิ่มทุกอย่างก็ซับซ้อนเกินไป ชิพใหญ่ ผลิตยาก Yield ต่ำ ความร้อนสูง ปัญหามากมาย อัด Pipeline Stage เยอะๆ ก็ล่มมาแล้วใน NetBurst Pentium 4E Presscott
ผมก็มองว่ามันเริ่มตันแล้วกับ Single Core Performance (หลายปีแล้ว) เขาเลยหันมาพัฒนา Multicore กันแทน แต่ที่ยังประสิทธิภาพเพิ่มอยู่ได้ก็เพราะเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง (มีพื้นที่เพิ่มขึ้น) ปรับเล็กปรับน้อย เพิ่มชุดคำสั่ง เพิ่มความเร็วเข้าไป
จริงๆ Intel ก็ยังแรงกว่าพอสมควรแต่การที่ Ryzen เข้ามาก็ชัดเจนเลยว่า Intel แพ้เรื่องจำนวนคอร์ เลยรีบเพิ่มเป็น 6 แทบจะทันที ซึ่งตอนนี้ก็กลับมาสู้กันแบบสบายๆ ถ้า Ryzen2 3 4 เร็วขึ้น Intel ก็ยังสามารถเพิ่มคอร์มาเท่ากันได้อีก เรียกว่า Intel ก็ยังสบายๆ ไม่นับรุ่นใหม่ๆ ที่ยังกั๊กอยู่ในแผนการอีกเพียบครับ
ผมว่าก่อนหน้านี้ Intel ประสิทธิภาพ เพิ่มเจนละนิดๆ เป็นเรื่องของการตลาดเป็นส่วนใหญ่ครับ เพราะถ้าเอาจริงๆ เทคโนโลยีในเจนนั้นๆ ผมมองว่าสามารถเพิ่มได้มากกว่านี้ แต่ว่าไม่มีคู่แข่ง ยังไงก็ไม่มีปัญหา เลยเพิ่มเจนละนิดๆ ซอยไว้ขาย พอ AMD มา เริ่มสู้ได้ ก็อัดประสิทธิภาพให้แซงไปได้อีกนิด เหมือนตระกูล U ของ Laptop
ไม่เชิงการตลาดครับ ประสิทธิภาพของ CPU core เดียวมันเริ่มตันมานานแล้วครับ ทั้งทาง architecture และทาง clock performance(แถมยิ่งเล็กยิ่งดัน max clock ได้น้อยอีก)
อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ของ CPU ในปัจจุบันเลยครับ ทางแก้ที่ทำกันในปัจจุบันหลักๆก็คือเพิ่ม core, ใส่ instruction set ที่ช่วยรีดประสิทธิภาพ, ใส่ dedicated IC เพิ่มเพื่อช่วยคำนวนงานเฉพาะทางด้านอื่นๆ(AI, DSP, motion,etc.)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ประเด็นที่จะสื่อน่าจะเป็นว่า พอ Ryzen ออกปุ๊บ intel เกิดจะอัปเกรด core x2 เท่าออกมาได้ในราคาเดิมๆ นะครับแต่จริงๆ ผมว่าอินเทลก็ลำบากพอสมควรนะ ก่อนหน้านี้ก็คงพยายามกอบโกยเงินเพื่อไปพัฒนาทางอื่นให้ได้นั่นแหละ แต่สุดท้ายแล้วมันก็ยังไม่ได้เลยทำได้แค่อัดคอร์เข้ามาดื้อๆ
จะบอกว่าอินเทลไม่ทำอะไรผมว่าก็ไม่ใช่ครับ อินเทลเองก็ติดกำแพงประสิทธิภาพ ซ้ำยังติดปัญหาหลายๆ อย่าง (แบบ meltdown) แล้วยังสมองไหลอีก (ซึ่งอันนี้น่าจะคงตัวแล้ว?)
สมองไหลไปไหน
ขอใช้สิทธิ์ไม่ตอบนะครับผมเกรงต้นข่าวจะเดือดร้อนได้ ถ้าความน่าเชื่อถือลดลงผมก็คงต้องยอมรับแต่คือต้นข่าวผมเองและคนรู้จักที่ทำอินเทลด้วยกันจำนวนนึงย้ายในช่วงเวลาใกล้เคียงกันน่ะครับ บอกได้แค่ว่าไม่ได้ฟังแบบต่อๆ กันมาแต่ฟังจากคนที่ย้าย
ได้ยินว่า ที่ US ... Intel, AMD และพวกบริษัทที่ทำชิพขายส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน
ส่วนใหญ่ย้ายงานก็แค่เดินทางไกลหรือใกล้ขึ้นอีกครึ่งชม. อะไรงี้ะครับ
เพราะ การเพิ่ม Performance มันยากไงครับ
อย่าง AMD ตอนนี้ที่ทำได้ใกล้เคียงหรือชนะ เพราะยัด core มาให้มากกว่า แสดงว่าตัว performance ต่อ core เองก็ยังไม่ได้ทำได้เหนือกว่า
ยากครับ
ผมเห็นสาย Core i นี่ เพิ่มได้แค่ปีละไม่ถึง 5% เองมั้ง
การเพิ่มความเร็วใน 1core เป็นอะไรที่ยาก ผมว่าทุกๆท่านก็รู้ ตัวผมก็รู้เช่นกัน
แต่ว่าผมคิดแบบนี้ เหมือนว่า intel ไม่ใส่มาเหลือใช้ บรรดานักพัฒนาโปรแกรมก็ออกแบบโปรแกรมมาให้เหมาะสม มันเหมือนว่า รถข้างหน้าช้า รถข้างหลังก็ช้าตาม
แต่การมาของ Ryzen คือคิดเพือไว้มากกว่าเก่า Ryzen7 เจนแรกจะใส่มาแค่ 6หัว ก็ได้ แต่ทำไมถึงใส่มา 8มันเหมือนกับ รถข้างหลัง มองข้างหน้าไม่ค่อยขยับซักที หงุดหงิด ก็แซงมันไปซะซิ
สรุป มันก็คือ ธุรกิจ นั่นล่ะ มีคนท้าแข่งก็ต้องเร่งกันหน่อย
ขอความเป็นมาของ มุคุโร่ กับ โยมิ ด้วยครับ
The Last Wizard Of Century.
รอยูสุเกะมาเกิดก่อน
สาวกอ่านแล้วยิ้มทั้งน้ำตาแต่สงครามเพิ่งตีตื้นยังอีกยาวไกล
เป็นสาวก AMD มาตั้งแต่ Socket AM2 รู้สึกแย่กับช่วงเวลาอันยาวนานที่ AMD เอาอย่าง Intel ด้วยการซอย Socket จุดขายของ AMD มาแต่ไหนแต่ไรคือ.. CPU ตัวเก่าสามารถใส่กับ M/B Socket ใหม่ได้ พอมาช่วง AM3 ดันตัดสินใจแยก Socket ของ APU ออกมา ด้วยการออก Socket FM และลากยาวมาจนถึง FM2+ ฝัง CPU เพียวๆก็ไปต่ออีกนิดกับ Socket AM3+ สุดท้ายมาถึงวันนี้.. ผมเข้าใจว่า AMD ตัดสินใจยกเลิก Socket สาย APU แล้ว และรวมกันเป็น Socket AM4 Socket เดียว ซึ่งใส่ได้ทั้ง CPU/APU แบบนี้สิที่ fanboy ต้องการและนึกถึง AMD เสมอ
จัดมาแล้ว หลังจากรอ APU มาตั้งนาน เกือบจะไปซื้อ Intel แล้วเชียว
นึกถึงตอนออก 64bit
Ooh
ตอนนี้จัดสเปค PC ให้ออฟฟิศ ใช้ Ryzen3 2200G ยาวไป ราคาประมาณ i3 แต่แรงกว่ากันเยอะมาก
ยี่ห้อและรุ่นไหนครับ ดูทั้ง Dell, HP, Lenovo เจอแต่ Intel
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ประกอบครับ เขาชอบแบบนี้มากกว่าแบรนด์
อยากใช้แบบประกอบเหมือนกัน แต่ค่า Windows แบบกล่อง แพงกว่า OEM มากมาย
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ถ้าใช้งานในสำนักงาน ซื้อแบบ volume license ดีกว่าเพราะจะได้ license enterprise ด้วยครับ
OEM ก็มีขายนะครับ ถูกกว่า
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เทียบกับ i3 gen ไหนล่ะครับ?
ถ้าเทียบยุคเดียวกัน 2200G ราคาพอๆกับ i3-8100 ก็ได้ 4c/4t เท่ากัน clock ใกล้เคียงกัน(3.7 vs 3.6GHz) แต่ IPC ของintel น่าจะดีกว่า แต่ก็ไม่น่ารู้สึกแตกต่างกันมากนะ
Jim Keller ย้ายไปอยู่intelแล้วครับ โดนดึงตัวไปจากtesla เขาบอกว่าCPU AMD ที่ดีทุกตัวเป็นฝีมือเขาออกแบบและวางroad map
ถึงจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ แต่เอาใจช่วยมวยรอง ถ้ามีใครประกอบเครื่องใหม่ ก็จะแนะนำ AMD แล้วนะ ส่วน VEGA ยังไม่ค่อยโอเคเลยครับ XD
เครื่องที่บ้าน X3 720BE (ปลดคอร์ไม่ได้ ถถถ) นานมากแล้วแต่ก็ไม่มีใครใช้มากมาย ใช้แค่ทั่วไปเล่นเว็บพิมพ์งาน VGA ร่วงไปแล้ว (HD4850) เลยถอดออกใช้แต่ออนบอร์ดเป็นชิพเซ็ท Gen สุดท้ายที่ยังมีออนบอร์ด (890G) ก่อน AMD จะย้ายมา APU เต็มตัว
คิดถึงสมัย AMD เปิดตัว 3DNow! เอาชนะ Intel ไปแบบสวยๆ แจ้งเกิด AMD ตั้งแต่นั้นมา
ตอนนั้น Intel ถึงขั้นต้องใช้วิธีเล่นสกปรกเลยล่ะครับ เมนบอร์ด AMD นี่ต้องใส่กล่องขาวขาย ห้ามแปะยี่ห้อกันเลย (ก็โดนฟ้องกันไปในคราวหลัง แต่ก็คิดว่าไม่น่าจะคุ้มกับความเสียหายเท่าไหร่)
จริง ๆ ก็มีคนแย้งมาว่าสุดท้ายแล้ว Intel ตัวบนสุดก็ยังแรงกว่า AMD ตัวท๊อป แต่ด้วยราคาสูงกว่าเกือบ ๆ สามเท่า (ผมจำไม่ได้นะขึ้เกียจหาข้อมูลด้วย ฟังมาจาก Linus Tech Tip อีกที 555) คิดว่าน่าจะมาจาก AMD ไม่อยากไปเล่นตลาด Hi Performance ที่ค่อนข้าง Conservative และน่าจะล็อบบี้ Partner ยากด้วยครับ
กำลังจะเปลี่ยนเจ้า FX-4100 ที่บ้านเป็น laptop อยากได้ AMD เพราะถูกกว่าแต่สงสัยจะรอไม่ไหว เพราะตอนนี้ยังไม่เจอรุ่นที่ออกมาชนกับ i7-8750H เลย
การแข่งขัน จะนำมาซึ่งเทคโนโลยี และผลประโยชน์ของผู้บริโภค
สาย mobile app developer ยังคงต้องมองข้ามอยู่ไหมครับ
เห็นว่าทาง Intel เอาคน AMD ไปเยอะแล้ว
gen 1 มีปัญหากับแรม gen 2 เหนว่าดีขึ้นรอจัด amd gen 3 ละกัน
ถ้าราคาแรมไม่ลงสักที ผมก็รอไปยาวๆ
ผมใช้ Athlon XP 2000+>Sempron LE-1150>Athlon x2 4400+>Athlon x4 845
AMD เก่าๆร้อนจริงครับ โดยเฉพาะตัวแรก ซิ้งแถมตอนหน้าร้อน full load เหยียบๆร้อยองศา
ตัวที่สอง ใช้แปปเดียว ไม่ร้อนเท่าไร ตัวที่ 3 ถ้าอากาศภายนอกร้อน ซิ้งแถมขึ้นไปสัก 70-80 องศา เลยเอาซื้อซิ้ง cm มือสองมาใส่
ตัวที่ 4 ใช้อยู่ปัจจุบัน full load ไม่เกิน 65 องศาแม้อากาศร้อน ใช้งานทั่วไปโอเค แค่หลังหักนิดหน่อย ซื้อ 2,200 ผ่านไปเดือนเดียวเหลือ 1,400 บาท
ส่วนไรเซ็น เอาใจช่วยละกัน เพราะใช้ 845 ก็ครอบคลุมการใช้งานของผมละ