วันนี้กสทช. เคาะหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 และ 900 แล้ว พร้อมกำหนดวันประมูลคลื่นคือวันที่ 18 สิงหาคม 2561 สำหรับคลื่น 900 และ 19 สิงหาคม 2561 สำหรับคลื่น 1800 ระยะเวลาถือครองคลื่น 15 ปี
ส่วนหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 ถูกกำหนดคลื่นมาทั้งหมด 45MHz และแบ่งเป็น 9 ใบอนุญาตย่อยใบละ 5MHz ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถประมูลได้สูงสุด 4 ใบหรือ 20MHz ราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 12,486 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท ผู้เข้าร่วมการประมูลจะต้องวางหลักประกันการประมูล 2,500 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดแรก 50% งวดสองและสามแบ่งเป็นงวดละ 25%
ขณะที่คลื่น 900 ถูกนำมาประะมูลที่ 5MHz ราคาเริ่มต้นการประมูล 35,988 ล้านบาท เคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 72 ล้านบาท หากมีผู้เข้าประมูลรายเดียว ผู้เข้าประมูลจะต้องเคาะเสนอราคาอย่างน้อย 1 ครั้ง จะต้องวางหลักประกันการประมูล 1,800 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 4 งวด งวดแรก ชำระ 4,020 ล้านบาท งวดที่ 2 ชำระ 2,010 ล้านบาท งวดที่ 3 ชำระ 2,010 ล้านบาท และงวดที่ 4 ชำระเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมด
ขณะที่วันที่เปิดให้ยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมประมูลคลื่นคือวันที่ 8 สิงหาคม 2561
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
Comments
ซอยย่อยแต่กำหนดราคาขั้นต่ำต่อ MHz เท่าเดิม (ผมกะเอานะ ถ้าผิดขออภัย) เมื่อเทียบกับของประเทศอื่นก็ยังถือว่าแพงอยู่ รัฐได้เงินค่าประมูลไปเยอะ ผู้ประกอบการเสียค่าประมูลเยอะ แล้วสุดท้ายเขาจะไปเก็บเงินมาจากใคร ปลายทางของค่าใช้จ่ายก้อนนี้สุดท้ายจะไปเก็บที่ไหน
คิดกันเอาเองแล้วกันว่าใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์
That is the way things are.
ไม่ต่างจาก vat หรอกครับคนใช้เสียเงินค่าใช้
vat มันหลึกไม่ได้ครับต้องทำใจยอมรับนอกจะออก กฎหมายฟรี Vat
แต่ว่าไอ้นี่มันเสียโดยไม่จำเป็นต้องเสียซึ่งทำให้มันถูกกว่านี้ได้.....
โดย Win-Win-Win
Win - กสทช. ได้ปล่อยคลื่นหาตังเข้ารัฐ
Win - เครือข่าย ได้คลื่นราคาถูกลง
Win - ผู้บริโภค ได้ใช้บริการถูกลง
ปล.1 อันบนนั่นอุดมคติปล.2 อันล่างสิของจริง
Win - กสทช. ได้ปล่อยคลื่นหาตังเข้ารัฐ
Win - เครือข่าย ได้คลื่นราคาถูกลงFair/Lose - บริโภค ได้ใช้บริการราคาคงที่ไปอีกสักพัก/เครือข่ายถอนทุนคืน
จากคลื่นนี้ขึ้นแม่มเหมือนเดิมอะหละ
ถ้ามันแพง ผู้บริโภคก็จะใช้น้อยลงหรือไม่ใช้ไม่ใช่หรอครับทุกวันนี้ Internet เป็นสิ่งจำเป็นแต่ Internet Mobile ก็ไม่ได้จำเป็นขนาดเพิ่มกี่บาทก็ต้องจ่ายหรือเปล่าครับ?
เพิ่มมากเกินไปคู่แข่งก็ตัดราคา คนก็เทไปทางนั้นอยู่ดี ยกเว้นว่า 3 ค่ายเค้าฮั้วกัน ซึ่งแบบนั้นต่อให้คลื่นมันไม่แพงเราก็จ่ายแพงอยู่ดี
มันก็ใช้น้อยลงในระดับนึงครับ แต่มันก็มีขั้นต่ำเพราะต้องบอกมันเป็นของจำเป็นในชีวิตไปแล้ว
สภาพตอนนี้เค้าเรียกไม่ฮั้วหรอครับ โปรออกมาคล้ายๆกันขั้นต่ำเท่ากัน
ออกโปรโทร เน็ต เพิ่มปริมาณไม่ลดราคา ซึ่งบางทีไม่รู้จะเอาไปใช้อะไรผมอยากให้มีสักค่ายกล้าออกมาถล่มเหมือนคราวไทยพาณิย์ครับไม่งั้นมันก็เป็นสามก๊ก
ผลประโยชน์อย่างงี้หละ
ก็ตามหลักอุปสงค์ อุปทานแหละครับ ถ้าราคามันแพง แต่ความต้องการน้อย ก็อาจล้มเหมือนรอบที่แล้ว
ทำไมราคาขั้นต่ำของ 900 กับ 1800 มันต่างกันขนาดนั้น หรืออ้างอิงจากครั้งก่อนๆ?
อิงราคาประมูลล่าสุดครับ
ยังไม่เข็ดสินะ
กสทช ปรับลดราคาเองไม่ได้ไม่งั้นเดี๋ยวโดนกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ต้องให้เอกชนล้มประมูลเองถึงจะมีข้ออ้างให้ลดราคาลงได้ เพราะราคาแพงเกินไป
เท่าที่อ่านจาก TDRI มาเห็นบอกว่าที่ลดไม่ได้เพราะรอบที่แล้วประมูลแพงแล้วไปรับปากผู้ชนะประมูลรอบที่แล้วว่ารอบต่อ ๆ ไปจะไม่ถูกกว่านี้… เอวังแทนที่จะทำประเมินราคาใหม่ทุกรอบ เพราะแต่ละรอบสถานการณ์ต่างกัน รอบที่แล้ว”เหมือน”จะมีเจ้าที่ 4 ผู้เล่นเก่าทุกคนเลยแข่งกันเต็มที่ รอบนี้เหลือแค่ 3 เจ้าเดิมแต่อิงราคารอบที่แล้วที่มี 4 เจ้า
แพงเกินไปอยู่ดี แพงแบบโง่ๆ กระเป๋าเข้า กสทช. อีก อิ่มเลย เก่งแต่ขู่หาเงิน แต่ตอนมีปัญหากับผู้บริโภคกลับบังคับใครไม่ได้ เป็นแค่เสือกระดาษ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
รุ้สึกจะเข้าคลังนะครับ รบ กำลังหิวเงิน
แพงไม่แพงก็คงอยู่ที่คนซื้อละครับ ถ้าขายถูกก็หาว่าโง่อีก
ถ้า dtac ประมูลค่ายเดียว และเอาแค่ 5MHz
ส่วนค่ายที่เหลือไม่ประมูล รอประมูลรอบหน้า
เพราะมีคลื่นเพียงพอแล้ว
แถมค่าประมูลคราวก่อนก็ต้องจ่าย
ส่วนคลื่นที่ขายไม่ออก กสทช.ลดราคาลง ครั้งละ 5พันล้านบาท
จนกว่ามีคนซื้อคลื่นจนครบ
ผมก็คิดว่าน่าจะประมาณนั้นล่ะครับ เอามาแปะเอาไว้รองรับลูกค้าเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนโทรศัพท์ ทำให้ต้องใช้คลื่นเดิม ให้ซื้อก้อนใหญ่ก็ไม่ไหว แต่ซอยย่อยเอามาแล้วก็พอไหว
lewcpe.com , @wasonliw
ในสถาพการแข่งขันตามปกติ ซึ่งคล้ายการแข่งขันของค่ายมือถือไทยน่าจะเป็นตามนี้
- ราคา Pro สูงต่ำขึ้นอยู่กับต้นทุน ซื่งค่าใบอนุญาติรวมอยู่ในนั้น- กำไรของค่ายมือถือ ขึ้นอยู่สถาพการแข่งขันว่าแรงมากน้อยแค่ไหน
สิ่งที่เราสนใจคือ ค่าใช้จ่ายของเราที่ต้องสร้างสินค้าและบริการไปแข่งกับต่างประเทศ
ผมไม่รู้ว่ารายได้จากการประมูลมันไปที่ไหนบ้างนะ ที่นึกออกก็คูปองส่วนลด Box TV-Digital มั๊ง
เงินประมูลเข้ากระทรวงการคลัง เป็นรายได้ของประเทศครับ
ก็ไม่อยากด่านะครับแต่ กสทช. ควรนึกซะบ้างว่า คลื่นโทรศัพท์มันเป็นสาธารณูปรโภคไปแล้ว มันไม่มีไม่ได้เหมือนประปา ไฟฟ้า ถนนจะเอาแพงทะลุโลกก็ชิกหายกันหมด แต่ดูจากคนออกแบบระบบ TCAS แล้ว ต่อให้ได้ปริญญาเอกมาซักสองเข่ง แค่นี้คิดไม่ออกหลอก
มันแพงเกิน และ capacity ของคลื่นในแต่ละค่ายยังเพียงพออยู่(แม้อาจจะไม่พอในอนาคต) ผมว่าก็ยังยากที่จะหาคนมาประมูลได้
ยกเว้นเล่นกดดันนอกเกม ถ้าเห็นจู่ๆเข้มงวดกฎอะไรบางอย่าง ขู่ถอนใบอนุญาตนี่...
ถ้ายอมให้ค่ายต่างชาติเข้ามาจะเป็นไงน้อ
การแข่งขันสูงขึ้น ประเทศได้เงินจากการประมูลเยอะขึ้น
ถ้าโชคดีค่ารายเดือนก็อาจถูกลงแย่งลูกค้ากัน
ตอนนี้ มันก็นอมินีต่างชาติอยู่แล้วหรือป่าวครับ
myth เรื่องใบอนุญาตราคาแพงจะทำให้ operator คิดค่าบริการแพง นี่มันมีในทุกวงการจริงๆ แม้แต่แถวๆ นี้ แถมแก้ยากด้วยอืมมม หรืออาจจะเป็นเพราะคณะสายวิทย์ในมหาวิทยาลัยหลายๆที่ ไม่ได้บังคับให้เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐาน?
Jas 4G เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ทุ่มประมูล900ตัวเลขแพงเว่อ สุดท้ายหาทุนมาจ่ายไม่ได้
ถ้ามันจัดการง่าย หรือทำต้นทุนได้ ก็ย่อมมีหน้าใหม่เข้ามาแย่งกันแล้ว ไม่ใช่มีแต่ขาใหญ่ที่ยังอยู่ได้
พอจะแชร์ความรู้ที่มีให้ทุกท่านในเว็บนี้บ้างได้มั้ยครับ ว่า Fixed Cost ไม่เกี่ยวกับการกำหนด Price อย่างไร
ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยก็ดีนะครับ
ส่วนตัวผมคิดว่าต้นทุนที่ถูก ผู้ให้บริการอาจจะขายแพงหรือถูกก็ได้ ส่วนต้นทุนที่แพงนี่ ผู้ให้บริการคงไม่มีทางเลือกที่จะขายถูกแน่ ๆ เพราะอย่างน้อยที่สุดบริษัทก็ต้องการกำไรหรือปลดหนี้ตัวเองให้ได้
That is the way things are.