เกลือ คือหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่พบได้ในตำรับอาหารแทบทุกเชื้อชาติทั่วทุกมุมโลก สารให้ความเค็มนี้คือพื้นฐานของความรู้สึกอร่อยในเมนูอาหารนานาชนิด แม้กระทั่งสูตรเครื่องดื่มหรือของหวานก็ยังมีการใช้เกลือเพื่อช่วยตัดรส และเพิ่มความกลมกล่อม แต่ปัญหาที่เรารู้กันดีคือการบริโภคเกลือมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ครั้นจะรณรงค์จูงใจให้ทุกคนหักห้ามความอยากแล้วทำความคุ้นเคยกับอาหารรสชาติจืดจางลงบ้างก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
ทว่างานวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ใน Food Research International ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Nimesha Ranasinghe นั้นเลือกที่จะท้าทายโจทย์ด้านโภชนาการนี้ด้วยการพัฒนาตะเกียบที่จะให้ความรู้สึกอร่อยแทนการบริโภคเกลือ
ตะเกียบที่ Ranasinghe สร้างขึ้นเป็นตะเกียบโลหะที่นำไฟฟ้าได้ บริเวณปลายตะเกียบด้านตรงข้ามกับที่ใช้คีบอาหารนั้นต่ออยู่กับอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่จะช่วยกระตุ้นการรับรสของต่อมรับรสบนลิ้น ในตัวอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณนั้นมีบอร์ด Arduino ทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยสัญญาณไฟฟ้า, สวิตช์เพื่อเปิดปิดการทำงานของอุปกรณ์, ไฟ LED แสดงสถานะการทำงาน, แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน, และช่องสำหรับต่อสายชาร์จไฟให้แบตเตอรี่
Ranasinghe ทดลองให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทดลองใช้ตะเกียบนี้ทานมันบดที่ไม่เติมเกลือ แล้วสรุปผลการทดลองได้ว่าตะเกียบของเขาเพิ่มการรับรู้รสเค็มของผู้เข้าร่วมการทดลองได้
สำหรับ Ranasinghe นั้นเพิ่งเข้าทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ใน University of Maine และรับบทบาทเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ Multisensory Interactive Media Lab เขาได้เริ่มงานวิจัยทดลองด้านการส่งกลิ่นและรสผ่านทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่สมัยที่เขายังศึกษาที่ National University of Singapore โดยได้แรงบันดาลใจจากงานวิจัยเมื่อราว 40 ปีก่อนเกี่ยวกับการทดสอบความสามารถในการรับรสของผู้ป่วยที่สมองได้รับความเสียหาย ซึ่งในงานวิจัยนั้นมีการใช้สัญญาณไฟฟ้าทดสอบลิ้นของผู้ป่วยว่ายังคงความสามารถในการรับรู้รสชาติต่างๆ ได้ดีเพียงไหน จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว Ranasinghe จึงริเริ่มงานวิจัยทดลองของตนเอง โดยการใช้สัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นลิ้นเพื่อทดสอบหาความสัมพันธ์ของสัญญาณไฟฟ้ากับการรับรสของมนุษย์
Ranasinghe ทดสอบปรับเปลี่ยนขนาดกระแสไฟฟ้า, ความถี่ของสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งตำแหน่งบนลิ้นที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า และเขาพบว่าสามารถใช้สัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นการรับรสเปรี้ยว, เค็ม และขมได้อย่างชัดเจน ส่วนรสหวานนั้นยังคงยากที่จะใช้สัญญาณไฟฟ้ามากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกถึงรสหวานได้ ส่วนรสที่ห้าซึ่งก็คือรสอูมามินั้น เขามิได้ทำการทดลองเนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ยังคงไม่ตระหนักและคุ้นเคยกับรสอูมามินี้ อนึ่งงานวิจัยทดสอบของ Ranasinghe นี้ยืนยันเรื่องที่ว่าทุกตำแหน่งบนลิ้นของคน (ยกเว้นบริเวณหลังลิ้น) สามารถรับรู้รสชาติทั้ง 5 ได้ เพียงแต่ในแต่ละตำแหน่งจะรับรสบางรสได้ดีกว่ารสอื่นแตกต่างกันไป
นอกเหนือจากการพัฒนาตะเกียบที่ให้รสเค็มแล้ว Ranasinghe ยังได้สร้างต้นแบบถ้วยซุปที่จะกระตุ้นให้ผู้ใช้รู้สึกถึงรสเปรี้ยวและรสขม ทำได้แม้กระทั่งถ้วยซุปที่กระตุ้นให้รู้สึกถึงกลิ่นและรสของซุปมิโสะ มีทั้งช้อนที่จำลองรสชาติอาหาร และรวมถึงแก้วค็อกเทลที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งช่วยให้เปรียบเทียบจับคู่สูตรการปรับแต่งรส, กลิ่น และสีของค็อกเทลได้
Ranasinghe เชื่อมั่นว่างานวิจัยอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นอุปกรณ์เพื่อการใช้งานจริงที่จะช่วยให้ผู้คนดูแลโภชนาการได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการใช้สัญญาณไฟฟ้าเพื่อการจำลองกลิ่นและรสของอาหารหลากหลายรูปแแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำลองกลิ่นซึ่งถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่เพิ่มอรรถรสในการกินอาหารอย่างมีนัย เพราะเขาคิดว่าการจำลองกลิ่นนั้นก็คือการสร้างความอร่อยในการกินอาหารโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องบริโภคกลืนกินสารใดเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นเทคนิคการควบคุมอาหารที่ให้มีประสิทธิภาพที่สุดแนวทางหนึ่ง
ที่มา - IEEE Spectrum , เอกสารงานวิจัย
Comments
ชอบการเขียนข่าวแบบนี้มากครับเหมือนนั่งดูสารคดีเลย อ่านเพลินไม่รู้ตัว
แจ่มเลย ช่วยคนได้เยอะเลยครับ
อนาคตอาจจะเอาไปใช้กับ VR หรือรายการอาหารด้วยก็ได้
กินน้ำเปล่าแต่งรสเหมือนน้ำอัดลมด้วยไฟฟ้า แก้วมหัศจรรย์เปลี่ยนน้ำเปล่าเป็นไวน์
ลดกาชาก็ลดเกลือแล้ว
ลดกาชานี่มันยากกว่าลดอาหารเค็มเสียอีกนะ
บริโภคไฟฟ้า กับบริโภคเกลือ ขอเลือกแบบเดิมธรรมชาติดีกว่า
ถ้าค่าไตแย่ ความดันขึ้น ก็อาจจะเปลี่ยนความคิดนะครับ..
น่าจะเหมาะกับการนำมาบำบัดคนติดรสจัดครับ
ทุกวันอาหารที่เราทานมีโซเดียมประกอบสูงมากก ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ เห็นปรุงอาหารแต่ละทีตักใส่กันเป็นช้อนๆ โดยเฉพาะอาหารเอเชียที่มีฐานเป็นรสเค็มเสียโดยมาก ถ้าลดเค็มได้ก็ลดเถอะครับ ไม่งั้นแก่ตัวมาโรคไตจะถามหา
แนะนำไปซื้อถ่าน 9V มาเลียละกันครับ ที่หลายคนเรียกว่าถ่านสองหัวอ่ะ
สมัยเด็กๆ ทำบ่อยมันออกเปรี้ยว เผ็ดนิดๆ อร่อยดี
เปรี้ยวนี่เข้าใจนะครับ เผ็ดนี่ยังไง?
มันช็อตลิ้นน่ะครับ
เอาพวกโลหะเข้าปากมันจะไม่มีผลอะไรในระยะยาวเหมือนกันเหรอ
เรื่องโลหะเข้าปากไม่น่าจะเป็นประเด็นนะครับ เพราะเราก็เอาช้อนส้อมหรือแม้แต่ตะเกียบที่เป็นโลหะเข้าปากเป็นปกติอยู่แล้วเลือกชนิดที่ไม่เป็นอันตรายก็จบ ที่น่าสงสัยและยังเป็นเครื่องหมายคำถามคือ กระแสไฟฟ้าแบบที่ใช้จะมีผลอะไรกับร่างกายในระยะยาวรึเปล่ามากกว่า
คิดเหมือนกันเลยค่ะ สงสัยอยู่ว่าใช้งานนานๆไปแล้วจะมีผลระยะยาวกับร่างกายมั้ย
มีแน่ โดยเฉพาะคนเป็นโรคไต ... ควบคุม โซเดี่ยม โพแทซเซี่ยม ง่ายขึ้น ไตก็ทรุดช้าลง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ขออนุญาตล็อคอินมาฮาชื่อครับ
สุดยอดอ่ะ ต่อยอดได้เลย ต่อไปรายการทำอาหารไม่ต้องมานั่งจินตนาการแล้วว่า อาหารในทีวี รสชาติเป็นไง
ยังตัดใจจากปลาเค็มใส่ะนาวไม่ได้ ขอบาย
หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย บีบมะนาว ข้าวต้มร้อนๆ อูยยยยส์
เห็นภาพเลยครับ
คุณก็เอามะนาวราดบนตะเกียบสิ ง่ายๆ
ขอโทษครับ ผมเมาไฟฟ้าจากปลายตะเกียบ
แนวคิดเค้าไช้ตะเกียบแทนเกลือเท่านั้นเองครับ
เมื่อเป็นโรคไตแล้ว แทนที่จะ "อด"กินปลาเค็มใส่มะนาว ก็ "ใด้" กิน(ปลาทอด+ตะเกียบรถเค็ม)ใส่มะนาว ผลคือ สถาณะเปลี่ยนจากอด เป็น ยังมีของทดแทนกิน
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แต่ปลาเค็มมันไม่ใช่แค่ปลาทอดใส่เกลือนะครับ แค่กลิ่นก็ไม่เหมือนกันแล้ว
เอาเป็นว่า อดเค็มเมนูอื่น เพื่อที่พอจะกินบางเมนูได้ละกัน
นัยยะ => นัย
รูปแแบบ -> รูปแบบ
เจ๋งเนอะ
..: เรื่อยไป
ประเด็นที่ผมสนใจคือการหลอกร่างกายแบบนี้มันมีผลกระทบด้านลบอะไรมั้ยครับ เช่นการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะเหมือนกับกำลังหลอกร่างกายอยู่ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่นการใช้ยาหลอกที่พิสูจน์แล้วว่าร่างกายสามารถตอบสนองต่ออะไรแบบนี้ได้