การประมูลคลื่น 1800 จบลงไปอย่างเรียบง่ายอย่างที่หลายๆ คนคาด คือ AIS และ dtac ที่เข้าร่วมการประมูลต่างเลือกคลื่นแค่ 1 สล็อตและเคาะเพิ่มราคาเพียงครั้งเดียวตามกฎ มูลค่าคลื่นอยู่ที่รายละ 12,511 ล้านบาท ส่วนคลื่น 900 ที่ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล ก็ต้องรอทาง กสทช. ดำเนินการต่อไป
อย่างไรก็ดีสิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ ไม่ใช่แค่ AIS และ dtac ได้คลื่นเพิ่มรายละ 10 MHz (5MHz x 2) แต่หลังจากวันที่ 15 กันยายน 2561 คลื่น 1800 และ 850 ที่ dtac ถือครองอยู่จะหมดอายุสัมปทานลงและโอเปอเรเตอร์ทั้ง 2 ถึงจะได้สิทธิเริ่มใช้งานคลื่นที่เพิ่งได้ประมูลไป บทความนี้เลยจะอัพเดตกันอีกครั้งว่า ภายหลังเดือนกันยายน 261 เป็นต้นไป โอเปอเรเตอร์แต่ละเจ้าเหลือคลื่นกันคนละเท่าไหร่และคลื่นไหนกันบ้าง
คลื่นในมือแต่ละค่าย
เริ่มจาก True ที่ไม่เข้าร่วมประมูลครั้งนี้ เพราะคลื่นในมือน่าจะมีเพียงพอแล้วทั้งหมด 4 คลื่นความถี่ทั้ง high-band และ low-band ได้แก่ คลื่น 850MHz ความกว้าง 30 MHz (15MHz x 2), คลื่น 900MHz ความกว้าง 20 MHz (10MHz x 2), คลื่น 1800MHz ความกว้าง 30 MHz (15MHz x 2) และคลื่น 2100MHz ความกว้าง 30 MHz (15MHz x 2)
ด้าน dtac สถานการณ์เสียเปรียบมากที่สุด เพราะหลังหมดอายุสัมปทานคลื่น 850 คลื่นที่ dtac เหลืออยู่จึงมีแต่ high-band เท่านั้น ได้แก่คลื่น 1800MHz ขนาด 10MHz (5MHz x 2), คลื่น 2100MHz ขนาด 30MHz (15MHz x 2) และ 2300MHz จาก TOT ขนาด 60MHz
สุดท้ายคือ AIS ที่หลังจากเดือนกันยายน 2561 เป็นต้นไป จะเป็นผู้ถือครองคลื่นมากที่สุดได้แก่ คลื่น 900MHz ขนาด 20 MHz (10MHz x 2), คลื่น 1800MHz ขนาด 40 MHz (20MHz x 2), คลื่น 2100MHz ขนาด 30 MHz (15MHz x 2) และ 2100MHz ที่โรมมิ่งมาจาก TOT อีก 30 MHz (15MHz x 2)
AIS คลื่นเยอะสุด กว้างสุด รองรับลูกค้าได้เยอะที่สุด
ไม่เพียงมีคลื่นเยอะสุดเท่านั้น แต่อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของ AIS คือการประมูลคลื่น 1800 ครั้งนี้ทำให้ AIS ได้ช่วงคลื่นที่ติดกับที่มีอยู่กับของเดิมมาด้วย เป็น Super Block รวมกันขนาด 40MHz (2x20Mhz)
การมี Super Block ทำให้ความเร็วในการให้บริการ LTE-FDD บนคลื่น 1800 เร็วขึ้น 30% รองรับลูกค้าได้มากขึ้น 33% บนความครอบคลุม 98% ทั่วประเทศ ที่สำคัญคือคลื่น 1800 เป็นคลื่นที่สมาร์ทโฟน LTE รองรับมากที่สุดในโลก
ส่วนเรื่องการให้บริการก็ไม่มีปัญหา เมื่อกฎหมายผ่าน ทาง AIS สามารถนำคลื่น 1800 ที่ประมูลได้มาให้บริการได้เลย ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม โดยคลื่น 1800 ส่วนหนึ่งจะถูกนำมาใช้งานกับเครือข่าย eMTC ซึ่งเป็นเครือข่าย IoT ความเร็วสูงด้วย โดย ณ ตอนนี้ AIS เป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีเครือข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั่วประเทศ จนได้รับการรับรองจาก GSMA เรียบร้อยแล้ว
Comments
ผู้บริหาร AIS เก่งจริงๆ อนาคตที่เขากำลังจะไปให้ถึง
ภายหลังเดือนกันยายน 261
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
อันนี้บทความ Advertorial หรือเปล่าครับ อ่านแล้วรู้สึกทำนองว่า อวย AIS ครับ
advertorial เต็มๆ ครับ
แปลว่า DTAC จะเริ่ม TDD ได้ก่อนค่ายอื่น AIS มีแผนนี้อยู่ไหมครับที่จะย้ายไปใช้คลื่น TDD
ไม่มีคลื่น TDD ให้ใช้ครับ
มีของ MCOT ที่กสทช.ร่ำ ๆ อยากจะเอามาประมูล มีบางช่วงเป็น TDD ครับ เห็นว่าจะเป็น 20x2MHz FDD 2 ผืน 20MHz TDD 1 ผืน ถ้ามีเงินก็กดแบบ FDD เถอะครับ
แต่ลูกค้า AIS มากกว่า True และ DTAC สองเท่า คลื่นกว้างกว่าแค่ 10-20%จำนวนเสา ก็ไม่ได้เยอะกว่ามาก
เว้นแต่จะลงทุนรถพ่วงหลัง หรือรถกระบะพร้อมอุปกรณ์ปล่อยสัญญาณเครื่อนที่หลักหมื่นคันไปจอดประจำการในพื้นที่ห่างไกล ก็น่าจะช่วยได้เยอะแล้วนะ จะได้ใช้คลื่นได้คุ้มค่าหน่อย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้า dtac ไม่ได้ TOT นี่ดูไม่จืดเลย
บทความ โฆษณาตัวนี้ เข้าทุกเวป