Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

รัฐบาลอินเดียผ่านกฎหมายห้ามอีคอมเมิร์ซขายสินค้าในแบรนด์ตัวเอง และสินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย โดยแถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์อินเดียระบุว่า "หน่วยงานที่มีส่วนร่วมกับอีคอมเมิร์ซ หรือมีการควบคุมสินค้าคงคลังโดยหน่วยงานอีคอมเมิร์ซ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์ของตนบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซดังกล่าว ขายได้เฉพาะสินค้าจากบริษัทภายนอกเท่านั้น

กฎหมายดังกล่าวมาจากข้อร้องเรียนจากผู้ค้าปลีกและผู้ค้าปลีกชาวอินเดีย ที่ว่าอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่กำลังใช้อำนาจในการควบคุมสินค้าคงคลังจากบริษัทในเครือของพวกเขาและลดราคามาก ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในตลาด

สมาคมผู้ขายออนไลน์ในอินเดียได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการแข่งขันต่อต้านการผูกขาดของอินเดีย โดยกล่าวว่า Amazon สนับสนุนเฉพาะร้านค้าที่ตัวเองเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งเช่น Cloudtail และ Appario และยังยื่นคำร้องด้วยว่า Flipkart ที่มี Walmart เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ละเมิดกฎการแข่งขัน โดยการให้สิทธิพิเศษเฉพาะผู้ขายที่ได้รับการคัดเลือก

No Description
ภาพจาก Shutterstock

Amazon ตกเป็นที่วิจารณ์มานานแล้วเรื่องการพยายามผูกขาดสินค้า ดันสินค้าตัวเองขึ้นมาขายในราคาถูกกว่า แทนที่จะเป็นแพลตฟอร์มสื่อกลางขายของออนไลน์ให้แบรนด์ต่างๆ กลายมาเป็นคู่แข่งของแบรนด์ต่างๆ เสียเอง โดยปัจจุบัน Amazon มีแบรนด์แยกขายสินค้าของตัวเองถึง 76 แบรนด์

ที่มา - Reuters

Get latest news from Blognone

Comments

By: gondolaz
Android Ubuntu Windows
on 27 December 2018 - 21:51 #1089309
gondolaz's picture

อันนั้ก็น่าคิดนะ แต่ถ้าเอาแนวทางนี้จริงๆ ในทำนองเดียวกัน 7-11 ก็ควรใช้หลักการเดียวกันนี้ด้วย

By: Aoun
Android Windows
on 28 December 2018 - 13:39 #1089396 Reply to:1089309

เค้าคงว่าเป็นคนละบริษัท แต่ housebrand ตามห้างค้าปลีกนี่เต็มๆ ในกรณีขายออนไลน์นะ

By: alonerii
Android Ubuntu Windows
on 27 December 2018 - 22:04 #1089311

เหมือนที่เซเว่นทำน้ำเปล่า ขนม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาวางข้าง ๆ กับยี่ห้ออื่นเลย

By: MaxxIE
iPhone Android Ubuntu Windows
on 27 December 2018 - 23:20 #1089318
MaxxIE's picture

อยากให้กระทรวงพาณิชย์บ้านเราคิดแบบนี้ได้บ้าง

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 28 December 2018 - 00:10 #1089322
zerocool's picture

ผมเองก็เห็นด้วยกับความคิดนี้เหมือนกัน คิดแบบนี้มานานแล้วว่าการที่ตัวเองเป็น distributor เองแล้วผลิตสินค้ามาขายแข่งเองด้วย มันคือการเอาเปรียบคู่ค้าจนสุดท้ายคู่ค้าก็อยู่ไม่ได้ และเมื่อคู่ค้าอยู่ไม่ได้สุดท้ายคนที่เสียคือผู้บริโภคเอง เพราะสินค้าทางเลือกจากผู้ผลิตเจ้าอื่นจะไม่มีให้เลือกเลย

ทุกวันนี้ 7-Eleven แทบจะผูกขาดไส้กรอก แฮม โบโลน่า ในร้านของตัวเองแล้ว ไม่มียี่ห้ออื่นมาให้เลือก ถ้าอยากกินยี่ห้ออื่นต้องเดินไปหาซื้อที่ supermarket


That is the way things are.

By: tanapon000 on 28 December 2018 - 08:38 #1089342 Reply to:1089322
tanapon000's picture

แต่ผมว่าพวกไส้กรอกเนี่ย cp อร่อยที่สุดนะ

By: Mypandacm on 28 December 2018 - 09:07 #1089346 Reply to:1089342
Mypandacm's picture

อร่อย ไม่อร่อยไม่ใช่ประเด็นครับ ประเด็นมันคือการผูกขาด ที่ทำให้คู่แข่งไม่สามารถแข่งได้

By: alonerii
Android Ubuntu Windows
on 28 December 2018 - 09:44 #1089355 Reply to:1089342

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับว่ามันอร่อยหรือไม่อร่อยเลยครับ อย่าหลงประเด็น มันเป็นเรื่องที่เจ้าอื่นไม่มีโอกาสได้เข้ามาแข่งขันตรงนี้ในเซเว่นมากกว่า

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 28 December 2018 - 11:22 #1089370 Reply to:1089342

อาจอร่อยสุดเพราะสามารถคุมต้นทุนได้ครับ หลายคนอาจไม่ทราบ แต่การนำสินค้ามาวางขายในห้างหรือร้านเฟรนไชส์ใหญ่ ๆ อย่างเซเว่น นอกจากจะต้องผ่านการคัดคุณภาพแล้ว ยังต้องเสีนค่าแรกเข้ามหาศาลครับ ตรงนี้ทำให้ร้านค้าพวกนี้สามารถผลิตของตัวเองมาแข่งได้สบายมาก (หรือจ้าง OEM มาลองตลาดก่อนแล้วค่อยผลิตเองทีหลังก็ยังได้) เพราะตัวเองไม่ต้องจ่ายค่าแรกเข้า อยากลองผลิตอะไรมาขายก็ลองเลย ขายได้ก็ทำต่อ ขายไม่ได้ก็เปลี่ยนสินค้าใหม่ ไม่เหมือนยี่ห้ออื่น ต้องมั่นใจจริง ๆ สำรวจตลาดจริงจัง ถึงจะเอาไปวางขาย เพราะถ้าขายไม่ออก นอกจากจะเสียแบรนด์แล้ว ยังเสียค่าแรกเข้าฟรี ๆ อีก (ซึ่งปกติจะคืนทุนเป็นปีโน่น)


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: mr_tawan
Contributor iPhone Android Windows
on 28 December 2018 - 21:53 #1089472 Reply to:1089322
mr_tawan's picture

7-11 ไทยแลนด์นี่ ผมว่าถ้าเทียบกับของญี่ปุ่นนี่เด็กๆ ไปเลย ของเค้านี่เป็นเฮาส์แบรนด์ทั้งชั้นจริงจังมาก ไม่มีแบบเอายี่ห้ออื่นมาแซมๆ ไว้ชั้นล่าง ๆ แบบบ้านเรา

แต่ของเฮาส์แบรนด์เค้าโอเคนะ (ของแฟมี่ลี่กับลอว์สันก็โอเคเหมือนกัน)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: heart
Contributor iPhone
on 28 December 2018 - 01:37 #1089324
heart's picture

ก็เปิดแยกอีกอัน

By: alonerii
Android Ubuntu Windows
on 28 December 2018 - 09:46 #1089357 Reply to:1089324

ห้ามอีคอมเมิร์ซขายสินค้าในแบรนด์ตัวเอง และ สินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย

By: A4
iPhone Android Red HatSUSE
on 28 December 2018 - 02:04 #1089326
A4's picture

เห็นด้วย

By: zda98
Windows Phone
on 28 December 2018 - 12:35 #1089381

เห็นด้วยครับอยากขายก็เอาไปลงที่อื่นที่ไม่ใช้ร้านของตัวเอง

By: IDCET
Contributor
on 28 December 2018 - 12:58 #1089388

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: iambodin
Ubuntu
on 28 December 2018 - 15:48 #1089429

งั้น walmart กะ amazon จับมือกัน deal เอาของขายสลับเว็บไร้กำแพงส่วนต่าง % ค่าธรรมเนียม ฯลฯ เหมือนร้านเพื่อนกัน สลับ shelf วาง ก็เลี่ยงได้แล้วหรือเปล่า

By: langisser
In Love
on 28 December 2018 - 17:19 #1089446 Reply to:1089429

ก็มีประเด็นเรื่องขายสินค้าที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเปล่าครับอันนี้ผมก็ตีความไม่ถูกเหมือนกัน