เทคโนโลยีด้านการแสดงผลที่ปรับอัตราการรีเฟรชภาพแบบไดนามิก (dynamic refresh rate หรือ variable refresh rate) ตามเนื้อหาการแสดงผล แบ่งออกเป็น 2 ค่ายคือ NVIDIA G-Sync และ AMD FreeSync
G-Sync ออกสู่ตลาดตั้งแต่ปี 2013 แต่กลับเป็น FreeSync ที่มาทีหลัง (เปิดตัว 2015) และมาแรงกว่า ด้วยเหตุผลว่า AMD ไม่คิดค่าไลเซนส์การใช้งานเทคโนโลยีแบบที่ NVIDIA ทำ ส่งผลให้บริษัทผลิตจอภาพสะดวกใจกับการซัพพอร์ต FreeSync มากกว่า มีจอที่เป็น FreeSync ออกสู่ตลาดเยอะกว่า
รอบนี้ NVIDIA จึงแก้เกมด้วยการออกไดรเวอร์ซัพพอร์ต หากจอภาพ FreeSync ตัวใดสามารถรองรับเทคโนโลยีแบบเดียวกับ G-Sync ได้ด้วย ตัวจีพียูก็จะเปิดฟีเจอร์ G-Sync ให้เองเลย
NVIDIA บอกว่าทดสอบจอภาพกว่า 400 รุ่น และมีจอภาพ 12 รุ่นที่เข้าข่าย โดยมีทั้งจอของ Acer, Agon, AOC, Asus, BenQ (รายชื่อรุ่นตามภาพ) และจะอัพเดตไดรเวอร์ GeForce Experience ตามมาให้ในวันที่ 15 มกราคมนี้
จอภาพเหล่านี้จะถูกเรียกว่า G-Sync Compatible และสามารถดูรายชื่อรุ่นจอทั้งหมดได้จาก รายชื่อของ NVIDIA
นอกจากนี้ NVIDIA ยังประกาศออกมาตรฐาน G-Sync Ultimate ที่เพิ่มคุณสมบัติเรื่องความสว่างมากกว่า 1000 nits และฟีเจอร์ระดับสูงอื่นๆ ด้วย ทำให้ตอนนี้จอ G-Sync แยกออกเป็น 3 ระดับตามตาราง
ที่มา - NVIDIA Blog , NVIDIA
Comments
ในชีวิตจริงได้หากได้ใช้ refresh rate 60 ก็พอละตาไม่กระพริบมากเท่าไหร่ แต่ถ้าจะหาแบบที่มากกว่านั้นแพง ไม่คุ้มที่จะซื้อ
คนที่ซื้อรุ่นที่ต้องเลือก2ค่ายไปแล้วบางคนนี่เงิบกันทีเดียว ซื้อแพงกว่าเปล่าๆเลย
เป็นอะไรที่คิดว่าซักวัน NVIDIA จะต้องยอมทำออกมารองรับ แต่ไม่คิดว่าจะไวขนาดนี้
แก้ไข: NVIDIA ประกาศแล้วว่าจอที่รองรับ AMD FreeSync/VESA Adaptive Sync รุ่นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 12 รุ่นในข่าวจะสามารถเปิดใช้งาน G-Sync ได้ด้วย แต่ต้องเปิดเอง และไม่รับประกันว่าจะใช้งานได้เท่ากับจอ 12 รุ่นที่ว่าครับ
nvidia จอมกั๊ก ไล่มาตั้งแต่สมัย physx
ซื้อมาแพงน่ะครับ (ฮา)
อ่าวฟลุคได้อัพเกรดจอเฉย
ดีงาม ไม่ต้องไปซื้อจอ G-SYNC แพงๆ แล้ว
ในทางกลับกัน คนที่ซื้อจอ G-Sync ไปแล้ว จะเอามาใช้กับ การ์ดจอ AMD Freesync ได้ไหมครับ?