การสืบสวนจาก TechCrunch พบว่า Facebook จ่ายเงินให้คนติดตั้งแอพ VPN ที่สามารถดูข้อมูลและพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้เป็นเงิน 20 ดอลลาร์ต่อเดือน โดยการลงทะเบียนเข้าร่วมเปิดรับอายุหลากหลายตั้งแต่ 13 - 35 ปี
Facebook hid its identity but had intermediaries like uTest advertise to teens on Snapchat & Instagram that they could earn money via "social media research" aka selling their privacy. 3/ pic.twitter.com/9ohODeYXxM
— Josh Constine (@JoshConstine) January 29, 2019
จากการสืบสวนพบว่า Facebook ได้ทำงานร่วมกับสามบริษัทคือ Applause, BetaBound และ uTest ในการช่วยกระจายการทดสอบแอพ Facebook Research นี้ด้วย โดยหน้าจอรับสมัครของโครงการวิจัยผ่านบริษัทต่างๆ ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า Facebook เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำวิจัย ระบุเพียงว่ามี "ลูกค้า" ต้องการข้อมูลเท่านั้น โดยผู้วิจัยจะรับรู้ว่าผู้วิจัยคือ Facebook ได้ก็ต่อเมื่ออ่านคู่มือติดตั้งแอพ หรือในกรณีที่ผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้เยาว์แล้วต้องขอให้พ่อแม่ยินยอม เอกสารยินยอมจึงแสดงชื่อ Facebook
ส่วนหนึ่งของหลักฐานการสืบสวนคือภาพถ่ายหน้าจอจากโปรแกรมที่รันโดย uTest บน Instagram และ Snapchat ว่ามีปุ่มให้ลงทะเบียนเข้าร่วมการวิจัยการใช้งานอินเทอร์เน็ต และใช้รูปผู้หญิงถือโทรศัพท์ และมีเงินปลิวว่อน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีค่าตอบแทน เป็นการดึงดูดให้คนกดเข้ามาลงทะเบียนกันเยอะๆ และในหน้าลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ BetaBound ระบุว่าจะจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงิน 20 ดอลลาร์ต่อเดือนผ่าน e-gift cards ซึ่งก็ไม่มีการพูดถึงเช่นกันว่า Facebook เข้าถึงข้อมูลการวิจัยนี้ได้
TechCrunch สอบถามไปยัง Will Strafach ผู้เชี่ยวชาญจาก Guardian Mobile Firewall ได้ตรวจสอบแอพ Facebook Research และพบว่ามันให้ติดตั้งใบรับรองเข้ารหัสเพิ่มในเครื่อง ทำให้ Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มหาศาลทั้งข้อมูลการค้นหาเว็บ, ข้อความแชทของทุกเว็บ, ข้อความในอีเมล, และประวัติการเข้าเว็บ
อย่างไรก็ดีเขาระบุว่าไม่แน่ชัดว่า Facebook พยายามดูข้อมูลจริงๆ แค่ไหน แต่ยืนยันว่าการให้สิทธิ์แอพระดับนี้จะทำให้ Facebook สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แทบทุกอย่าง
Strafach ยังสืบการทำงานของแอพ Facebook Research ด้วยและเขายืนยันว่าข้อมูลถูกส่งไปที่ vpn-sjc1.v.facebook-program.com ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่ IP ของ Onavo และโดเมน facebook-program.com ตัวแอพสามารถอัปเดตตัวเองโดยไม่ต้องเชื่อมโยงเข้ากับกับ App Store แต่เชื่อมโยงกับที่อยู่อีเมล PeopleJourney@fb.com
โฆษกของ Facebook ยืนยันว่ากำลังรันโปรแกรมนี้อยู่จริงๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเรียนรู้ว่าผู้คนใช้โทรศัพท์และบริการอื่นๆ อย่างไรซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับหลายๆ บริษัท โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ Facebook เข้าใจว่าผู้คนใช้อุปกรณ์มือถือของพวกเขาอย่างไร Facebook จึงให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับประเภทของข้อมูลที่รวบรวม Facebook จะไม่เปิดเผยข้อมูลนี้กับผู้อื่นและสามารถหยุดการเข้าร่วมวิจัยได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้ Facebook ยังบอกว่า Onavo กับ Facebook Research นั้นเป็นโครงการแยกส่วนกัน แต่มีทีมซัพพอร์ตเป็นทีมเดียวกับ Onavo นั่นจึงเป็นเหตุผลที่มี IP เดียวกัน
Onavo คือแอพ VPN ของ Facebook ที่ถูกวิจารณ์ว่าเก็บข้อมูลผู้ใช้ และนำไปวิเคราะห์ว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์อะไร โดย Onavo ถูกนำลงจาก App Store ไปแล้ว
ที่มา - TechCrunch
Comments
ข้อความแชmแอr
ขอบคุณค่ะ
ถ้าเป็นรูปในข่าวผมเข้าใจว่าผู้หญิงถือโทรศัพท์นะครับ?
ขอบคุณคะ
ค่ะ*
ผมว่ามันก็โอเคนะถ้าทุกคนอ่าน ไม่ใช่กดแต่ Agree รัวๆ และยังควรที่จะให้อายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่ควรให้เด็กลงรับสมัครได้
อันนี้ผมก็ว่าปกตินะ ถ้าชี้แจงชัดเจนว่าเอา data อะไรไปบ้างใครเป็นผู้ว่าจ้าง ผมว่า respondent ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้นะครับ
การลง Root CA นี่จำเป็นต่อการวิจัยด้วยเหรอ
ต่อให้ชี้แจงว่าเอาไปทำอะไรบ้าง
แต่สิทธิ์ของการลง Root CA เท่ากับว่า ทุกชนิด Traffic อ่านได้หมด
(จะมีสักกี่แอพที่เช็คว่า CA Chain ถูกต้องทุกใบ)