ปัญหาระบบธนาคารล่มเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมานานหลายปี และยิ่งนโยบายรัฐบาลสนับสนุนให้ใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นผ่านโครงการพร้อมเพย์ ยิ่งทำให้คนจำนวนมากต้องอาศัยบริการธนาคารมากกว่าเดิม
ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นโครงการพร้อมเพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) ระบุเหตุผลหนึ่งที่ควรสนับสนุนสังคมไร้เงินสด ว่าเป็นการลดต้นทุนการจัดการธนบัตร นับแต่การพิมพ์, เก็บรักษา, ขนส่ง, ไปจนถึงการทำลาย
แต่โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีที่ไร้ความน่าเชื่อถือ กำลังทำให้ผู้บริโภคกลายเป็นผู้ประสบภัย ในรอบปีที่ผ่านมา เราพบปัญหาของระบบธนาคารสารพัดรูปแบบ นับแต่ระบบการเงินที่ใช้งานไม่ได้นานหลายชั่วโมง, ระบบโอนเงินที่ดูดเงินหายไปในหลุมดำได้ครึ่งค่อนวัน ไปจนถึงปัญหายิบย่อยการล่มครั้งละไม่กี่นาทีที่ไม่มีใครรู้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดบ้าง
ความผิดพลาดในระบบไอทีเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่สิ่งที่น่าวิตกคือธนาคารแห่งประเทศไทยแทบไม่เคยมีท่าทีต่อสาธารณะในเรื่องนี้ ทั้งที่มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาลได้รับผลกระทบในวงกว้าง เราไม่เคยเห็นธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาแสดงตัวในฐานะผู้กำกับดูแลระบบธนาคารให้มีความน่าเชื่อถือ และไม่เคยเห็นมาตรการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
สิ่งที่เราเห็นกลับมีแต่การประกาศความสำเร็จในการผลักดันสังคมไร้เงินสด เรามักเห็นธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงตัวเลขผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น, ปริมาณเงินที่โอนผ่านระบบใหม่อย่างพร้อมเพย์ หรือสถิติอื่นๆ อย่างต่อเนื่องผ่านงานวิจัยและการแถลงในโอกาสต่างๆ แต่กลับไม่เคยแถลงสถิติว่าระบบต่างๆ ของธนาคารไทยมีปัญหากันแค่ไหน
การเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลปัญหาระบบธนาคารล่ม แม้ไม่ช่วยให้ธนาคารหายล่มไปในทันที แต่การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสว่าระบบล่มมากน้อยแค่ไหน ย่อมทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกผู้บริการได้อย่างถูกต้อง, มีการจัดการเมื่อเกิดปัญหาเพื่อผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และธนาคารมีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะลงทุนเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะยาว
สิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยควรบังคับธนาคารต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ผมเสนอแนวทางดังนี้
- เปิดเผยข้อมูลเสถียรภาพระบบไอทีธนาคารผมเชื่อว่าทุกครั้งที่ระบบไอทีธนาคารมีปัญหา ธนาคารต้องส่งรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจำอยู่แล้ว ผมเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยสถิติปัญหาของธนาคารแต่ละแห่งเป็นประจำตามห้วงเวลา รายไตรมาส, ครึ่งปี, หรือรายปี เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้บริการจากเสถียรภาพของการให้บริการเป็นอีกตัวแปร นอกจากโปรโมชั่น, การโฆษณา, หรือการจูงใจอื่น
- กำหนดแนวทางการแจ้งเตือนประชาชนที่ชัดเจนผมสังเกตพบว่าธนาคารหลายแห่งเปลี่ยนแนวทางการแจ้งข่าวระบบมีปัญหาไปมากในช่วงปีที่ผ่านมา หลายธนาคารเลิกโพสตามสื่อสังคมออนไลน์ชี้แจงปัญหา หลายธนาคารเลือกที่จะ “ตอบ” การร้องเรียนปัญหาทีละรายโดยไม่ยอมโพสแจ้งว่าระบบมีปัญหาตรงๆ ทำให้หน้า timeline ของธนาคารเหล่านี้ไม่ปรากฎข้อความแจ้งระบบมีปัญหาเลย การหนีปัญหาเช่นนี้สะท้อนการกำกับดูแลที่แย่ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงควรกำหนดให้มีมาตรฐานแจ้งต่อประชาชนเมื่อระบบมีปัญหาขนาดใหญ่พอ เช่น เมื่อระบบใช้งานไม่ได้เป็นเวลา 10 นาทีขึ้นไป ธนาคารต้องโพสผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์และหน้าเว็บหลักของธนาคาร, หากมีปัญหาเกิน 3 ชั่วโมงต้องออกจดหมายข่าวแจ้งสื่อมวลชนถึงแนวทางแก้ปัญหา เป็นต้น
- ให้ธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างหน้าเว็บบอกสถานะบริการการสร้างเว็บสถานะบริการเป็นเรื่องปกติของการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น AWS Service Health Dashboard หรือ Google Cloud Status ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่น บริการไม่ตอบสนองไม่กี่นาทีอาจจะไม่ต้องการการแจ้งเตือนในวงกว้าง แต่ควรเปิดเผยให้ตรวจสอบได้ ระบบกลางเช่น ITMX ควรแสดงให้เห็นว่าการเชื่อมต่อกับธนาคารไหนยังอยู่และธนาคารใดถูกตัดออกจากระบบ เพื่อให้ประชาชนสามารถหาทางเลือกในการทำธุรกรรมต่อไป
ผมเชื่อว่าหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทยในการสร้างระบบการเงินที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ควรกลัวว่าการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้จะสร้างความกังวลให้กับผู้ใช้ หรือทำให้ธนาคารบางแห่งเสียชื่อเสียง แต่ควรยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ประชาชนตัดสินใจเข้าใช้เทคโนโลยีเมื่อมันมีความพร้อม และมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เมื่อเกิดปัญหา
note: เวอร์ชั่นแรกของบทความนี้มีภาพประกอบแสดงชื่อธนาคารโดยมี suggest ถึงคำว่าล่มของกูเกิล สมาชิกทักท้วงว่าน่าจะเป็นประวัติการค้นหามากกว่าความนิยมในการค้นหาของคนหมู่มาก จึงถอดภาพออกไป
Comments
ฟู่ ฟู่ ฟู่
ผมว่า หลังบ้านของแต่ละแบงค์ไม่เก่งพอแบงค์ชาติตั้งค่าปรับหนักๆระดับแบงค์เจ๊ง ก็อาจจะยังมีล่มอยู่ดี ?
มีธนาคารเยอะเกินไป แบงค์เล็ก ๆ ลงทุนไม่ไหว ส่วนแบงค์ใหญ่ต้องลงทุนอีกแค่ไหน เห็นในงบการเงิน KTB ปลายปีที่แล้วก็ลงทุนระบบ IT ไปมาก หรือหมดไปกับค่าทำแอพใหม่หมด?
ใช่ครับ ปรับยังไงก็ล่มอยู่ดี จ่ายเงินค่าทำแอปเท่าไหร่เวลาล่มปรับบริษัทรับจ้างทำไม่ได้สักบาทละมั่ง
ผมก็ไม่ได้เสนอให้ปรับสักข้อเลยนะ
เรื่องปรับมันคงต้องมีระดับที่ยอมรับไม่ได้อยู่และโดนปรับล่ะครับ เรื่องปรับเพราะล่มนี่ถ้ามีก็เรื่องเล็กมาก อย่างมากไม่ถึงล้าน ไม่ต้องกังวลแทนธนาคารหรอกครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ผมคิดว่าควรตัดภาพประกอบที่เป็นการค้นหาคำว่า กรุงไทย ด้วย google ออกนะครับ เพราะว่าคำว่า กรุงไทยล่ม เป็นการแสดงประวัติคำค้นหาของเจ้าของบทความเอง ไม่ใช้คำค้นหาที่คนนิยมสืบค้นครับ
+1 ครับ ยังมี Remove อยู่เลย
จัดออกตามเสนอมาครับ
อันนี้ผมอาจจะพลาดไปเองครับ
lewcpe.com , @wasonliw
รูป search Google นี่สื่อถึงอะไรนะครับ?
จากรูป ผมเข้าใจว่า result 2 อันแรกไม่ใช่ suggestion ที่ Google เลือกมาให้ แต่เป็น recent ที่เราเคย search รึเปล่านะ เพราะมันมี link remove อยู่ด้านหลังด้วย
ถ้ายังไง ช่วยอธิบายกำกับใต้ภาพได้ไหมครับว่าจะสื่ออะไร ขอบคุณครับ
เห็นด้วยกับแนวทางทั้ง 3 ข้อครับ
เห็นด้วยกับข้อ 1 เป็นอย่างยิ่ง
สมมติว่ากำหนด due ในวันที่ 1 แล้ววันนั้นระบบล่ม มาฟื้นวันที่ 2 จะมีดอกเบี้ยที่เกิดจากผิดนัดชำระหนี้ทันทีใช่ไหม ยิ่งถ้าเป็นบัตรเครดิต ก็จะมีค่าธรรมเนียมอีกมากมายความเสียหายนี้ จะถูกยกเลิกหรือไม่ ถ้าเกิดเราไม่สามารถทำธุรกรรมได้เพราะระบบล่ม
เห็นด้วยกับทุกข้อเลยครับ
ผมเชื่อว่าระดับปฏิบัติการของ ธปท. อยากทำอะไรเยอะแยะใจจะขาด
แต่ระดับผู้บริหารของ ธปท. นี่สิ...
เวลาสื่อสารอะไรออกมา ถ้านักข่าวไม่กระทุ้ง ธปท. ไม่ออกมาพูดหรอกฮะ (เคยถามผู้ว่าฯ เรื่องการตรวจสอบการเปิดบัญชี เหมือน 3 ชั้นของฝั่งมือถือ ยังจะให้ FinTech ทำเลย)
ระบบ as400 มันซึมลึกเข้าอยู่ในกระดูกดำของธ. เพราะหลายๆ app มันproof ตัวเองแล้วว่า มันทำงานได้ถูกต้องแม่นยำขนาดไหนยิ่งกว่านั้น Database ที่มันใช้คือ db2 ความห่วยขนาดหนัก มิแปลกที่มันจะเป็นแบบนี้ ถึงจะทำให้ดีในหน้า front แต่ข้างหลังยังเป็น db2 มันก็ไม่ไปไหนหรอกครับ
เห็นด้วยครับ ว่าแต่...เขาไม่ได้ใช้ oracle หรอกเหรอครับเนี่ย
AS400 มันเกาะกับ DB2 ประมาณ OS +APP+DB ผสานกันเป็นเนื้อเดียว
ถามแบบไม่รู้หน่อยครับ? DB2 มันไม่ดียังไงหรอครับ แล้วต้องใช้อะไรถึงจะดี???
Ooh
มันเก่าครับ
มันคือระบบ database ที่ใช้บนเครื่อง mainframeการจะย้ายมาเป็น oracle หรืออื่นๆ มันยากมาก เพราะต้องทำ core banking ใหม่หมด function หลังบ้าน หน้าบ้านทุกอย่างต้องเริ่มใหม่จาก 0
บ้านเราน่าจะมีแค่ kbank ที่ย้าย core banking แล้ว (ใช้เวลานานน่าจะเกือบ 10 ปีถึงย้ายสำเร็จ)
เกลียด as400 เข้ากระดูกเช่นกัน ฮ่า
ผมเตรียมเงิน จะมาจ่ายหนี้
เมื่อวานสุดท้ายพอดี ระบบล่มไม่ได้จ่าย รอโดนฟ้องจากบัตรแล้วเนี้ยของผมค้างสามเดือนละ ว่าจะตัดสักเดือน
ธนาคารช่วยไรได้มั้ยค้าบ เศร้าใจเงินก้อนสุดท้ายเตรียมาจ่ายหนี้ไม่ได้จ่าย
---ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ การโอนเงินไม่เข้าบัญชี วันที่ 1 ก.พ.62 .ก่อนช่วงเวลา 22.00 ระบบจะปรับปรุงเงินเข้าบัญชีปลายทางพรุ่งนี้เวลาประมาณ 19.00 น.เป็นต้นไปค่ะ ***หากเงินยังไม่เข้าในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เข้าสามารถแจ้ง Call Center 02-111-1111 เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบรายการให้ค่ะ
ถ้าเอาไปโพสในพันทิป น่าจะเจอพวกที่คอมเมนต์สวนกระแสใส่แน่นอนผมว่า แต่ระบบมันแย่จริงๆ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เคสนี้ผมเคยโดนคล้ายๆกันอยู่ ตอนไปคุยปัญหากับเจ้าหน้าที่เค้าบอกระบบมันจะมีการตัดหนี้รอบสองกันความผิดพลาดด้วยนะ (ในกรณีรอบแรกตัดไม่ผ่าน/เงินไม่ครบตามยอด)
อย่างผมลืมใส่เงินลงในบัญชีที่ระบบจะตัดตอน 20:00 วันที่ 31 ม.ค ระบบจะตัดซ้ำให้ตอน 8:00 ของวันที่ 1 ก.พ. แทน ถ้าวันที่ 1 เป็นวันเสาร์ก็จะไปตัดวันที่ 3 ก.พ. แทน
แล้วแต่นโยบายแต่ละธนาคารนะ ยกตัวอย่าง SCB จะเป็นแบบนี้
เดือนไหนเจอวันหยุดในวันตัดรอบบิลก็จะตัดก่อน
และวันไหนที่เจอวันหยุดในวันกำหนดจ่ายก็จะเลื่อนให้ในวันทำการถัดไป
ผมว่าดีมากๆเลย
ถ้าค้างเดือนสองเดือน คงไม่เปนไรค้าบ อันนี้ค้างสามเดือนละครับผม ถ้าไม่ตัดสักเดือนจะขึ้น npl ครับผม
ติดต่อธนาคารรึยังล่ะครับ ถ้ายังไม่ได้ติดต่อธนาคารแล้วมาโพสต์ถามในบล็อกนันนี่ก็นะ
ติดต่อทุกช่องละค้าบ คอลเซ็นเตอร์วันนั้นยิ่งโทรไม่ติดเลย สายไหม้แน่นนอนเงินเข้าอีกวันเลยดีลคร้าบผม รอรับหมายศาลแล้ว
เขาตอบข้อความนี้ แล้วเงินก็เข้าวันเสาร์ ซึ่งดีลผมเปนวันศุกร์
ถ้าหมายถึงธนาคารที่ผมจะจ่าย ไม่ใช่แบ้งกรุงไทยครับ แต่โอนถอนเงินจากกรุงไทย
ถ้าเปนพวกสินเชื่อบ้าน คงโดนเลทชาร์จ อันนี้เปนบัตรเครดิตค้างสามเดือนครับผม
--ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ การโอนเงินไม่เข้าบัญชี วันที่ 1 ก.พ.62 .ก่อนช่วงเวลา 22.00 ระบบจะปรับปรุงเงินเข้าบัญชีปลายทางพรุ่งนี้เวลาประมาณ 19.00 น.เป็นต้นไปค่ะ ***หากเงินยังไม่เข้าในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เข้าสามารถแจ้ง Call Center 02-111-1111 เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบรายการให้ค่ะ
สู้ๆ นะครับ คุยเจรจาให้ได้ ไปคุยกับผู้จัดการสาขาใดสาขาหนึ่งเลยก็ดีครับ พยายามคุยแบบ in person ให้ได้ครับ
ลองคุยกับธนาคารเจ้าหนี้ดูครับ ถึงจะค้าง 3 เดือน 1 วัน แล้วบางธนาคารอาจจะยังไม่ส่งฟ้องทันทีก็ได้ครับ ถ้าเค้าเห็นอยู่ว่าเงินเข้าแล้วเดือนนึงก็อาจจะไปหยุด Process ทางกฎหมายไว้ให้ (หรืออาจจะหยุดออโต้เลยก็ได้ ถ้ายังไม่เริ่ม) ลองโทรไปคุยกับธนาคารเลย จริงๆ ลูกหนี้ที่จ่ายช้าแล้วโดนดอก/ดอกปรับไปเรื่อยๆ แต่ยังจ่ายนี่คือลูกหนี้ที่ดีที่สุดของธนาคารแล้ว เค้าเองก็ไม่อยากฟ้องให้เสียโอกาสกับลูกค้ากลุ่มนี้หรอกครับ
ถูกครับ ฟ้องปุ๊บกลายเป็น npl หรือไม่ก็ต้องเข้าสู่การประนอมหนี้
เพิ่มเติมสำหรับคุณ z2 ให้อีกว่า ถ้าวันครบ 3 งวดคือวันที่ 1 จริงๆ (ไม่ใช่ 31) ถึงแม้ว่าในระบบจะจ่ายทะลุไปวันที่ 3 เดือน 1 วัน แต่การรายงาน NCB จะสรุปรายงานทุกสิ้นเดือน ดังนั้นตราบใดที่ธนาคารยังไม่ฟ้อง และคุณไปจ่ายให้ครบงวดนึงภายในเดือน ก.พ. สิ้นเดือน ก.พ. คุณจะยังไม่เป็น NPL ใน NCB ครับ
ปล. แต่ระวังเรื่องเบี้ยปรับ/ค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย บางธนาคารอาจให้จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้แยกออกมาก่อน เงินที่เหลือถึงไปตัดดอก/ต้นหนี้
ต้องไม่ชำระเงิน 1 ปีขึ้นไปถึงได้หมายศาลครับให้ไปเจรจาประนอมหนี้
แต่ก่อนหน้านั้นจะมีบริษัททวงหนี้โทรมาทวง ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป ให้คุยปกติ บอกความเป็นจริงที่เราเจอ เค้าจะช่วยหาทางออกให้ครับ เพราะคนโทรมาทวงเค้าก็ไม่ได้อยากโทรหลอก เค้าอยากช่วยเราปิดไวๆ งานเค้าก็เสร็จ ได้ค่าคอม
เห็นด้วยครับ ธปท. ควรจะเข้ามากำกับและดูแลปัญหานี้อย่างจริงจัง เพราะส่วนตัวเชื่อในศักยภาพของธนาคารเอกชนว่าเค้าสามารถทำให้ระบบมันนิ่งได้ ถ้าอยากทำจริงๆ
..: เรื่อยไป
ดีที่ธนาคารใช้หลักไม่ใช่ kbank ktbเลยไม่เคยได้รับผลกระทบ
นึกถึงทวีตของเซเลปไอทีท่านหนึ่ง ที่บอกว่าทำไมร้านอาหารบางแห่งถึงยังกำหนดขั้นต่ำของการจ่ายด้วยบัตรเครดิตอยู่ เหมือนจะไม่เกี่ยว แต่ก็สะท้อนได้ว่าผู้ประกอบการก็ไม่มั่นใจใน Cashless เหมือนกัน เรื่องธนาคารเจ้าของ EDC ที่ยังเก็บค่าธรรมเนียมแพง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งสังคมไร้เงินสดเช่นกัน
2.5% เรตกลางๆ ร้านทั่วๆไปผมว่าก็เยอะนะครับ สมมุติยอดขายต่อวัน 50,000 ก็โดนไป 1250 บาทแล้ว x 30 วัน = 37500 บาท เงินก้อนนี้ผมมองจากผู้ประกอบการ เราจ้างพนักงานทั่วไปได้เพิ่ม 2-3 คนเลยนะครับ แน่นอนว่ามันก็มีเรต 1-1.5% แต่ร้านค้านั้นต้องยอดขายเยอะจริงๆถึงต่อรองได้เรตดีขนาดนี้
ผมเป็นกลุ่มสังคมไร้เงินสดแบบ 99% เข้าใจทั้งสองฝั่ง อยากให้ระบบเกิด แต่ค่าธรรมเนียมก็อยากให้ธนาคารทบทวนอีกครั้ง
เห็นด้วยครับ มันกลายเป็นว่าความสะดวกต้องจ่ายด้วยเงินที่เยอะมากทีเดียว ใช้เงินสดดีกว่า ไม่เสียค่าธรรมเนียม ผมยังนิยมใช้เงินสดอยู่นะครับ สะดวกมากซื้ออะไรก็จ่ายเงินเลย จบกันไปตรงนั้นไม่ต้องกังวลระบบมันจะตัดเงินไหม คนรับได้เงินไหม กลับจะเครียดกว่าเดิมอีก
งดสดข้อเสียคือโกงเงินทอน แบงค์ปลอม และเจอปล้นก็หาเจ้าของเงินจริงๆไม่เจอครับ
ถึงจุดหนึ่งจะเสียค่าธรรมเนียมครับ ธ.บอกว่ายอมไม่เก็บค่าธรรมเนียมพร้อมเพย์แล้ว ขอเก็บค่าธรรมเนียมตู้ atm แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยหน่อยครับ เค้าเจรจากับแบงค์ชาติมาซักพักแล้ว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
การขายปลีก มันรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่คุรไม่ได้ใช้เข้าไปแล้วครับ เช่น ค่ารูดบัตร เป็นต้น ถึงแม้จะใช้หรือไม่ใช้ก็ถูกคิดรวมไปแล้วครับ ดังนั้นถึงคุณจะใช้เงินสดทางร้านค้ายิ่งยินดีรับ เพราะร้านค้าจะได้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 2.5% ของมูลค่าที่รูด แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า เดี๋ยวนี้บางธนาคารให้โปรฯ EDC เรียกว่าแทบจะรูดฟรี ค่าธรรมเนียมถูกยิ่งกว่า 2.5% รายเดือนไม่เสีย ค่าสลิปไม่ต้องจ่าย ขออย่างเดียวปั่นยอดรูดให้ถึง ทำให้บางร้านเดี๋ยวนี้ขอรับบัตรเดบิต บัตรเครดิตดีกว่า เพราะต้นทุนมันถูกมากๆ ครับ ใครจ่ายผ่าน QR Code นะ แทบอุ้มเพราะ 1.ไม่มีค่าธรรมเนียม 2.คนคุม POS ไม่ต้องเสียเวลานั่งเคลียร์บัญชีหลังปิดร้านหากเงินขาด ปิดยอดไม่ลงตัว แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาไปต่อคิวเอาเงินฝากเข้าบัญชีสำนักงานใหญ่ด้วย
ของ SCB เมื่อ 2 ปีก่อนที่ได้มาคือ รายเดือนไม่เสียเพราะใช้ net จาก Lanค่าธรรมเนียมสูงสุดคือบัตรเครดิษ platinum ขึ้นไปอยู่ที่ 1.7% เองมั้ง ไม่รู้หลังจากนี้จะมีถูกกว่านี้ไหม
ผมมองเรื่องนี้สองประเด็นครับ
ผมหาข้อมูลทางการไม่ได้ แต่ใน Quora ระบุว่า เรต Alipay สำหรับร้านในจีนเพียง 0.25% เท่านั้นและเป็นเรตสูงสุด ร้านส่วนมากได้ที่ 0% หรือ 0.1% เท่านั้นเอง
lewcpe.com , @wasonliw
Promtcard ไม่เคยเจอคนไทยใช้งานเลย Alipay ส่วนใหญ่เป็นคนจีน มีลูกค้าจ่ายบ้างสะดวกดี ในการจ่ายเงิน แต่การพิมพ์เอกสารออกมาค่อนข้างยุ่งยากตัดเงินเข้าบัญชียุ่งยากกว่าของ credit card
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
บังคับตั้งกองทุนเยียวยาดีไหมครับ เช่นถ้ามีปัญหา ใช้งานโอนเงินแล้วเน็ตล่ม ให้คืนเงิน สัก 10%
พอรู้ข่าวว่าธนาคารไหนล่มคงมาโอนกันหมดบัญชีแหละครับทีนี้ เพราะได้เงิน 10%
หรืออีกทาง ธนาคารก็ปรับระบบ พอล่มแล้วกดไม่ผ่านทันที
เพราะไปอมเงินลูกค้าเป็นวันๆ แบบทุกวันนี้แล้วไม่เสียอะไรเลย
lewcpe.com , @wasonliw
เอาเฉพาะ รายการที่ทำสำเร็จจากต้นทาง แต่ปลายทางไม่ไม่เข้ากะพอ กระมังครับช่วงที่ระบบ ก่อนจะล่ม...
อย่างน้อย ธ ต้นทางจะได้หาทางป้องกัน ใครล่มก่อน คนนั้นจ่าย...
ผมว่า ควรจะมีมาตราการปรับเงินธนาคารที่ล่มนะครับ เพราะการให้เปิดเผยข้อมูลความเสถียรภาพของระบบไอทีธนาคาร ธนาคารก็แค่ทำรายงานส่งๆ แล้วเราก็อาจจะได้นั่งอ่านรายงานของธนาคารที่คนทำงานเกี่ยวกับไอทีอ่านแล้วก็จะหัวเราะแล้วบอกว่า "ไอทีธนาคารมีปัญญาทำได้แค่นี้เหรอ?" ซึ่งเขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่ผู้บริหารธนาคารอาจจะพยายามลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นลง หรือมองไม่เห็นถึงความจำเป็น ดังนั้นเพื่อให้ธนาคารต่างๆ ตระหนักผมว่าก็ควรมีมาตราการปรับไปเลยครับ
ควรจะมีมาตรการนะ เช่น ถ้าถอนไม่ได้เกิน 10 นาที ปรับ 10% ของเงินที่ลูกค้าจะถอน(รวมกัน)และขึ้นข้อความประกาศทุกช่องทาง พร้อมเวลาที่จะแก้ไขได้ รวมถึงจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เช่นเว็บ ตู้ แอพ หรือ line, Facebook, Twitter ถ้าไม่ขึ้น ปรับธนาคาร 20% ในเดือนนั้น ถ้าเกิน 20 นาที ปรับ 25% และถ้ายังไม่ขึ้นอีกปรับ 30% ที่ธนาคารควรได้รับ และถ้าเกิน 30 นาทีขึ้นไป และยังไม่ขึ้นข้อความทำหนังสือแจ้งเหตุใดถึงไม่แจ้งลูกค้า และปรับ 50% หรือครึ่งหนึ่งของเงินธนาคาร พร้อมทั้งให้ธนาคารออกมาขอโทษและจะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก พร้อมทั้งมาตรการป้องกัน
ถ้าธนาคารไหนเกิดบ่อยเกิน 2 ครั้งติดกัน และ 3 ครั้งไม่ติดกัน ไม่ว่าจะกี่นาที และให้ทำหนังสือแจ้งธนาคารที่เกิดบ่อย ให้ธนาคารแจ้งเหตุผลและมาตรการป้องกัน
ใครที่จ่ายหนี้ หรือหักเงินตามรอบบิลต่างๆ แล้วทำรายการไม่ได้ ไม่ให้คิดดอกเบี้ย จนกว่าจะทำรายการภายใน 3 วันทำการ ถ้าเกินคิดปกติจากนี้คิดปกติ
แบงค์ชาติควรจะหาทางป้องกันด้วยนะ ไม่ใช่ให้ผู้ใช้โวยวาย และรับผิดชอบหาทางกันเอง อยากจะพาไทยไป 4.0 ทุกอย่าง แต่ระบบยังเน่าเป็น 0.4 อยู่เลย
ถ้าปรับเงินเพราะล่ม ผมมองว่าไม่เกิดประโยชน์เท่าไหรคนจะหาช่องโหว่หาเงินอีก
ความเห็นตามบทความทุกข้อ 1.2.3. ผมว่าดีมาก แต่แนะนำบังคับลงรายละเอียดย้อนหลังหน้าwebหรือบังคับออกแถลงข้อมูลประวัติย้อนหลังอย่างน้อย 2-5ปีไปเลย
แฟร์ๆกับทุกฝ่าย
- สำหรับผู้ใช้ ใครล่มบ่อยมีผลต่อภาพลักษณ์ เสถียรภาพการใช้งานจริง เลือกที่คิดว่าตัวผู้ใช้รับได้- สำหรับรัฐ ถ้าล่มแล้วให้ข้อมูลไม่ตรงตามจริง ค่อยเสียค่าปรับให้รัฐ ช่วยผลักดันcashless และรัฐได้ตัง
- สำหรับธนาคาร ถ้าลงข้อมูลไม่บิดพริ้วก็ไม่โดนปรับ บังคับลงรายละเอียด/แถลงการ ผมมองว่าดีกว่าเอะอะล่มแล้วปรับเงินแบบนั้นมันบีบบังคับธนาคารเกินไป
ผู้บริหารธนาคารแต่ละที่คงยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของไอทีว่ามันทำรายได้ได้มากน้อยแค่ไหนในปัจจุบัน เพราะคิดว่าตัวเองเป็นบริษัท non-IT แต่ถ้า BoT ลงมากำกับดูแลมากกว่านี้ เหล่าผู้บริหารของธนาคารก็คงต้องทำตามระเบียบปฏิบัติและธนาคารจะให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นกับเรื่องเหล่านี้
เครียดแค่ไหนเขาก็มองเหมือนค--ยที่นั่งกดคีย์บอร์ดได้น่ะครับ สัญญาจ้างเป็นรายปีอยู่แล้ว
ความสำคัญของไอทีมีแค่นั้นจริงๆ
ง่ายๆ ออกค่าปรับธนาคารที่ 10% ของรายได้ทั้งหมดปีล่าสุด (ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อม) แน่นอนว่าจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงบ้างหละนะ
เอาเป็นว่า ถ้าอยากทำแบงค์ก็ห้ามล่มเลย หรือปิดกิจการทิ้งแล้วโอนให้คู่แข่งไปดำเนินการต่อเลยจะดีกว่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บริษัทที่ขายเครื่องนับแบงค์ เครียดมาก
ปล่อยให้มันเป็นไปตามกลไกตลาดไปซักพักแหละครับ
ผมเชื่อว่าไม่มีธนาคารใหนอยากระบบล่ม แต่พอมีปัญหาบ่อยๆ ลูกค้าก็จะหนีไปธนาคารอื่นเอง
ส่วน Cashless society มันก็เป็น goal อยู่แล้ว BOT สนับสนุนจริง แต่จะให้บังคับธนาคารให้มี penalty ทุกครั้ง ก็คงไม่มีธนาคารใหนอยากทำครับ ใจเขาใจเรา
ตอนนี้เปนช่วง learning curve สูงอยู่ ธุรกรรม online เราโตสุดๆ ก็ต้องให้โอกาศแต่ละธนาคารปรับปรุงระบบและแย่งลูกค้ากันตามกลไกตลาดคับ
จริงๆ ลูกค้าบุคคลนี่ย้ายหนียากพอควรครับ เพราะบัญชีหลักส่วนมากคือบัญชีที่ไว้รับเงินเดือน ซึ่งก็ผูกกับบริษัทว่าบริษัทใช้ธนาคารอะไรอีกทีอีก
ของผมโชคดี มีให้เลือก 3 แบงก์ bbl kbank tmb
ปรกติธนาคารไม่ได้ประมาณการโหลดเอาไว้ล่วงหน้าก่อนเหรอ
เห็นแต่ละธนาคารชอบมาอวดว่าทำระบบใหม่ไปหลายร้อยล้าน
รองรับความทันสมัยอะไรมากมาย บลาๆๆๆ แต่ระบบล่มแทบทุกเดือน
แย่ยิ่งกว่าแต่ก่อนอีก ทำระบบมายังไง จะมาอ้างคนใช้เยอะก็ไม่ได้
เพราะมีระบบของประเทศอื่นที่คนใช้เยอะกว่าเป็นร้อยๆเท่า ยังทำกันได้เลย
ตอนนี้ที่ทำได้ก็คือปรับเวลาทำธุรกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ไม่ให้อยู่ในช่วงวันสิ้นเดือนช่วงสิ้นเดือนก็ใช้เงินสดไป 555