Tags:
Node Thumbnail

จากข่าว ธนาธรทวีตโชว์รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี Hyperloop ในประเทศไทย วันนี้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงข้อมูลเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

รายงานฉบับนี้เป็นการว่าจ้างบริษัท Transpod จากประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี Hyperloop ตามแนวคิดของ Elon Musk เช่นเดียวกับ Hyperloop One และ Hyperloop Transportation Technologies) ให้เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของ Hyperloop ในประเทศไทย โดยเริ่มศึกษาในเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ-ภูเก็ต เริ่มศึกษาในเดือนตุลาคม 2018 และใช้เวลาประมาณ 5 เดือน

นายธนาธรระบุว่า ตอนแรกตั้งใจจะเผยแพร่รายงานศึกษาฉบับเต็มกับสาธารณะ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ตอนนี้ยังติดประเด็นเรื่องกฎหมายเลือกตั้ง จึงยังไม่เปิดเผยรายงานจนกว่าจะเลือกตั้งเสร็จ คือจะเปิดรายงานในวันที่ 1 เมษายน 2562 ส่วนค่าจ้างศึกษานั้นยังไม่ขอเปิดเผย เพราะเป็นการจ้างศึกษาโดยส่วนตัวของนายธนาธรเอง

No Description

นายธนาธรบอกว่าแผนการเรื่อง Hyperloop เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ในการสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมในประเทศไทย ที่เป็นแค่รับจ้างการผลิตให้กับแบรนด์จากต่างประเทศ สร้างรายได้ให้คนในประเทศไม่เยอะนัก ที่ผ่านมาประเทศไทยใช้ยุทธศาสตร์เดินตามต่างประเทศ (path-following) แต่ตอนนี้ได้เวลาแล้วที่จะกระโดดข้ามอุตสาหกรรมเดิม (path-skipping) หรือสร้างทางเดินใหม่ของตัวเอง (path-creating) ดังที่ประเทศอย่างไต้หวันหรือเกาหลีใต้ทำสำเร็จมาแล้ว ซึ่งในมุมมองของเขา เทคโนโลยี Hyperloop เป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทย

ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายคมนาคม บอกว่า Hyperloop ถือเป็นรูปแบบการเดินทางแบบที่ 5 (นอกเหนือจากการขนส่งทางถนน ราง น้ำ อากาศ)

No Description

รายละเอียดทางเทคนิคของ Hyperloop คือใช้ท่อขนาด 4 เมตร วางอยู่เหนือดินโดยใช้เสาเป็นโครงสร้าง ใช้พื้นที่น้อยกว่าการขนส่งทางรางประเภทอื่น ส่วนตัวยานพาหนะหรือ pod ที่วิ่งในท่อ มีความปลอดภัยระดับเดียวกับเครื่องบิน ขนส่งได้ในทุกสภาพอากาศเพราะอยู่ในท่อระบบปิด และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ

No Description

No Description

นอกจากการขนส่งผู้โดยสารแล้ว Hyperloop ยังสามารถใช้ขนส่งสินค้า (freight) ได้ด้วย เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของการขนส่งทางเครื่องบินได้อีกทางหนึ่ง

No Description

ในแง่ของความเร็ว Hyperloop สามารถทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบันทดลองที่ประมาณ 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ซึ่งถือว่าเยอะกว่ารถไฟความเร็วสูง ที่มีความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเข้าไปแข่งขันกับเครื่องบินได้ด้วย

No Description

ในแง่ของการใช้พลังงาน Hyperloop ใช้พลังงานต่ำกว่าการขนส่งประเภทอื่น คือ 0.15 เมกะจูลล์ต่อผู้โดยสารหนึ่งคนต่อกิโลเมตร

No Description

หากเปรียบเทียบ Hyperloop กับรถไฟความเร็วสูง โดยเทียบเส้นทางระหว่างกรุงเทพ-เชียงใหม่ ประมาณ 600 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ Hyperloop สามารถทำได้ภายใน 52 นาที อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ pod ของ Hyperloop มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้นจึงสามารถปล่อยได้ถี่กว่ารถไฟความเร็วสูงมาก อยู่ในระดับการปล่อย 42 pod ต่อชั่วโมง คิดเป็นปริมาณผู้โดยสาร 4,000 คน/ชั่วโมง ในขณะที่รถไฟความเร็วสูงอาจทำได้มากที่่สุดแค่ประมาณ 3 ขบวนต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นปริมาณผู้โดยสาร 2,750 คน/ชั่วโมง

ส่วนประเด็นเรื่องเส้นทางวิ่ง จะแตกต่างจากเส้นทางวิ่งของรถไฟอยู่พอสมควร เพราะเส้นทางของ Hyperloop จะไม่มีความคดเคี้ยวเท่ากับทางรถไฟ และโครงสร้างของตัวเสาจะต่างกับเส้นทางรถไฟ เพราะตัว pod มีน้ำหนักเบากว่าขบวนรถไฟมาก และไม่จำเป็นต้องไปสร้างกำแพงกั้นแนวแบบเดียวกับทางรถไฟ ทำให้ตัวเลขความยาวของเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ของ Hyperloop สั้นกว่าเส้นทางรถไฟเดิม

No Description

ในแง่ของต้นทุนการก่อสร้าง ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากการประเมินของ JICA อยู่ที่ 727 ล้านบาท/กิโลเมตร ส่วน Hyperloop คือ 598 ล้านบาท/กิโลเมตร ราคาค่าโดยสารใกล้เคียงกัน (1090 บาท vs 1012 บาท) ส่วนผลตอบแทนด้านการเงินเป็นการประเมินคร่าวๆ ในรายงานขั้นต้น และจะไปศึกษาต่ออย่างละเอียดในขั้นถัดไป

No Description

No Description

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ อุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงมีการพัฒนามานานแล้ว มีประเทศที่เป็นเจ้าตลาดอย่างเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน ทำให้ไทยมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีเองน้อย ชิ้นส่วนต้องนำเข้าเป็นหลัก ในขณะที่ Hyperloop เป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังมีโอกาสด้านการศึกษาวิจัยอีกมาก รวมถึงมีโอกาสผลิตชิ้นส่วนในประเทศเอง สร้างห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) อื่นๆ ตามมาอีกมาก

No Description

No Description

นายธนาธร บอกว่าตอนนี้หลายประเทศกำลังเริ่มศึกษา Hyperloop กัน ซึ่งประเทศไทยก็ควรจะเริ่มศึกษาด้วยเช่นกัน หากพรรคอนาคตใหม่ได้เป็นรัฐบาล จะจำลองท่อขนส่งความยาว 10 กิโลเมตร ทำห้องทดสอบความดัน และห้องทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-อาณัติสัญญาณต่างๆ และน่าจะมีรถต้นแบบเสร็จในปี 2021 เพื่อใช้ทดสอบในท่อความยาว 10 กิโลเมตร และตั้งเป้าเปิดใช้งานจริงในปี 2030

No Description

นายธนาธรบอกว่าหากตั้งเป้าเปิดบริการจริงในปี 2030 ก็ต้องเริ่มกระบวนการต่างๆ เริ่มดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมทุนในแบบ PPP ตั้งแต่ปี 2021 เพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในแง่เทคโนโลยี แง่กฎหมาย เช่น ใบอนุญาต

No Description

แนวทางของพรรคอนาคตใหม่ ตั้งเป้าให้ศูนย์กลางของอุตสาหกรรม Hyperloop อยู่ที่พิษณุโลก เพราะเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมในอินโดจีนอยู่แล้ว และช่วยขยายความเจริญออกจากเขตอุตสาหกรรมเดิมคือบริเวณภาคตะวันออกด้วย

No Description

นโยบายคมนาคมของพรรคอนาคตใหม่ มองว่าควรให้ความสำคัญกับรถไฟรางคู่เป็นอันดับแรก แต่ให้ข้ามรถไฟความเร็วสูงไปเลย แล้วมุ่งไปสู่ Hyperloop แทน โดยจะลงทุนสร้างมันเมื่อเทคโนโลยีพร้อม เมื่อเร็วกว่าและถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง นอกจากนี้ยังต้องการสร้างอุตสาหกรรมผลิตรถไฟ-รถเมล์ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง และเป็นการจ้างงานในประเทศด้วย

No Description

No Description

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: ravipon
iPhone Windows
on 14 March 2019 - 13:44 #1101303
ravipon's picture

เราข้ามไปสร้างลิฟวงโคจรแทนเลยไม่ได้หรอครับ…

By: mk-
Symbian
on 14 March 2019 - 13:52 #1101305
mk-'s picture

อยากให้ศึกษาเรื่อง Graviton Drive กับ Mass Relay ถ้าทำได้เมื่อไหร่นะ ประเทศไทยเราจะมีอนาคตใหม่สดใสโชติช่วงชัชวาล

By: Mujinot on 14 March 2019 - 15:43 #1101368 Reply to:1101305

ธนาธรแกก็ความพยายามสูงนะ คือพยายามเล่นแร่แปรภาพลักษณ์ตลอดเวลา
แต่ยิ่งนักแสดงเปลี่ยนบทบ่อยๆ การแสดงก็ยิ่งขาดความน่าเชื่อถือ
นักแสดงฮอลลีวูดถึงได้ จะพยายามรักษาเลือกบทที่จะแสดงไงครับ

แต่แกมือใหม่ ที่ผ่านมาพยายามเปลี่ยนชุดคอสบ่อยเกินวันนี้พยายามคอสเป็น Elon ก็ตอน Elon ดังแล้ว มีฉายา iroman มีภาพลักษณ์ที่เป็นที่รู้จัก

แต่ชาวไอทีตัวจริง เขารู้จัก Elon ตั้งแต่แกยังไม่ดัง ไม่มีใครสนใจชื่อ และยังไม่ได้ปลูกผมด้วยซ้ำ

สิ่งที่แกอาจจะไม่รู้ คือการเอามะพร้าวมาขายสวน มันไม่ได้ผลเพราะเดิมข่าวสารต่างๆทีมงานแก ก็อ่านมาจาก blognone

ผมดูวีดีโอดีเบตทีม อคม ที่จู่ๆโพล่งโฆษณามือถือกลางรายการแบบสุด KY แล้วอย่างเพลีย

คนทำงานไอทีจะเคยชินและคุ้นเคย กับการตอแหลของ ceo ตัวเอง เป็นอย่างดี(ต้องสร้างภาพว่าเรามีของ สารพัด ล่อลวงลูกค้า ถึงจะไม่มีอะไรนอกจากกระดาษก็เถอะ) เพื่อหลอกเอาเงินจาก investor

ความพยายามด้วยกลวิธีที่ไม่ซื่อตรง ขาดความตรงไปตรงมา เป็นธรรมชาติของโลกธุรกิจหลอกได้อย่างมากก็แค่พวก ซื้อ gadget เข้าบอร์ดไอที วันนาบี จะเป็น smart genius โดยไม่ต้องเรียนตรรกะสักบรรทัด

เดิมผมก็คาดหวังกับพรรคนี้อยู่บ้าง พยายามมองข้ามเรื่องโป๊ะแตก ต่างๆ และพยายามมองในแง่ดีมาตลอดแต่บังอาจมาคอสเพลย์เป็น Elon แบบนี้่สาวก zealot คงมองคุณเป็นได้แค่ตัวปลอมที่น่าเวทนาเท่านั้น

By: orchidkit on 14 March 2019 - 16:20 #1101383 Reply to:1101368

อิหยังวะ

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 17:05 #1101401 Reply to:1101383
whitebigbird's picture

อ่านไปเรื่อยๆ ครับ ผมเจอสมาชิกที่สมัครเข้ามาใหม่ๆ ไม่เคยโพสต์ไม่เคยคอมเมนต์ แต่มาโจมตีธนาธรเท่านั้น

ข้อหาเลียนแบบ Elon ข้อหาชอบ cosplay เป็นคนอื่นก็ยังสรรหามาได้ครับ ในข่าวเก่าก็คอมเมนต์เชิง ad hominem มาข่าวนี้ก็แนวเดิมอีก

By: MorningTail
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 17:31 #1101410 Reply to:1101383
MorningTail's picture

ผมอ่านจบนะ แต่พอเลื่อนลงมาแล้วผมเห็นด้วยกับคอมเม้นนี้จริงๆ อิหยังวะ

By: breambeem
Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 17:34 #1101413 Reply to:1101368
  • อยากรู้ว่านักแสดงตรงไหนหรอครับ พอดีผมไม่ได้ช่างสังเกตุพอ พอจะมีมีหลักฐาน หรือประเด็นข้อสงสัยมั้ยครับ
  • ผมไม่มีความรู้เรื่อง technology พวกนี้เท่าไหร่ แต่ส่วนตัวรู้สึกว่ามันก็เปิดหูเปิดตาดี
By: toooooooon
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 17:40 #1101415 Reply to:1101368

เม้นนี้ก็พยายามสูงนะ...

By: TNkyo
Android Ubuntu
on 14 March 2019 - 18:06 #1101421 Reply to:1101368
TNkyo's picture

ตัวตนเค้าชัดเจนมาแต่แรกแล้วนะผมว่า ไม่เข้าใจว่าเปลี่ยนภาพลักษณ์นี่จะสื่ออะไร -.-?

By: Moshekai on 14 March 2019 - 18:59 #1101428 Reply to:1101368

กล่าวหาผู้อื่นโดยไร้ซึ่งหลักฐาน คิดเองเออเอง
แล้วคุณทำอะไรให้กับโลกบ้างนอกจากวิจารณ์ในอินเตอร์เน็ต แสดงตัวให้โลกเห็นหน่อยว่าอัจริยะเขาทำกันยังไง?
คนพวกประเภทที่ดีแต่พูดดีแต่วิจารณ์แต่ไม่ลงมือทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆคนประเภทนี้ไม่มีชื่ออยู่ในประวัติศาสตร์เป็นคนที่โลกลืมและก็ไม่รู้ว่ามี่ตัวตนในโลกเพราะไม่ทำดีแต่พูด

By: Mujinot on 14 March 2019 - 19:39 #1101433 Reply to:1101428

ผมเจอการ pitching ทุก sprint ครับเจอ ceo หลากบริษัท ทุกเดือนครับ

ผมไม่เห็นว่าธนาธรจะเป็นอะไรได้มากกว่าของปลอมเลยครับ
เป็นนักการเมือง ก็ดูปลอมๆ ดีเบตเขา เอาแต่ชวนตี
คิดไปเองว่าต้องทะเลาะ จึงจะเป็นนักการเมือง

จะพยายามทำตัวดูดีมีปัญญา ก็ได้แต่ไปก๊อปเขามา ทำ slide ลวกๆมาอวดขอโทษเถอะ คิดว่าคน IT เขาเจอของแบบนี้มากี่ร้อย กี่พันครั้ง ?

รอบที่แล้วก็อะไรนะ เศรษฐกิจดิจิตอล ยังไม่ทันเคลียร์ เปลี่ยนประเด็นซะแล้วหมุนๆไปเรื่อยแหละครับ หน้าใหม่ ไร้ความรู้ ชัดๆ

ผมอ่านหนังสือของธนาธรด้วยนะครับ เพราะเดิมก็สนใจนิดหน่อย
อ่านไปอ่านมา จะมาอ่านความคิดเห็น ดันมีหัวข้อโชว์ความรู้อะไรก็ไม่รู้
เหมือนอ่านหนังสือสอนเศรษฐกิจ 101 แบบห่วยๆ อธิบายตื้นเขินสุดๆ บางอย่างอธิบายไม่เหมือนที่ผมเรียนมาก็มี

อย่าเอามายากล มาหลอกนักมายากลเลยครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 20:08 #1101443 Reply to:1101433
whitebigbird's picture

ผมว่าที่คุณกล่าวมาทั้งหมดก็มีแต่คำกล่าวอ้างนะครับ

  1. เจอการ pitching ทุก sprint
  2. เจอ ceo หลากบริษัท
  3. อ่านหนังสือธนาธร
  4. ตัวเองเรียนเศรฐกิจมา

ไม่มีใครรู้เลยครับว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ แบบนี้ก็กล่าวอ้างล้วนๆ รึเปล่าครับ

แต่เรื่อง copy slide เห็นด้วยนะครับ

By: darkleonic
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 21:38 #1101467 Reply to:1101433
darkleonic's picture

เจอ CEO หลากหลายบริษัทแต่ไม่รู้จักรองประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท?


I need healing.

By: luna777
Android Windows
on 14 March 2019 - 22:26 #1101476 Reply to:1101433

ดูคุณมองคนทำงานไอทีเป็นคนที่เก่งสุด อยากบอกว่า blog นี้ไม่ได้มีแต่คนไอทีนะ ฉันคนนึงที่ไม่ใช่

By: nrml
Contributor In Love
on 15 March 2019 - 06:38 #1101519 Reply to:1101433
nrml's picture

จากที่คุณอ้างว่าเจอการ pitching ทุก sprint เจอ ceo หลากบริษัท ทุกเดือน ผมไม่รู้ว่าคุณทำอะไรอยู่ในตำแหน่งไหนของกระบวนการนี้นะครับ ถ้าให้เดาน่าจะอยู่ในวงการสตาร์ทอัพ ถ้าใช่ นั่นผมมองว่า การ pitching สำหรับโปรดักเดียว กับการ pitching เพื่อเข้าสู่การเป็นตัวแทนประชาชนเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศมันเป็นคนละลักษณะกัน ระดับการโฟกัสในประเด็นต่างๆ มันมีความหลากหลายไม่เท่ากัน ถ้าให้เทียบก็ต้องเทียบกับการคัดเลือก CEO เพื่อเข้าไปบริหารบริษัทมหาชน แบบนั้นน่าจะใกล้เคียงกว่า

และด้วยความที่ตอนนี้มีเงื่อนไขของเวลาที่จำกัดและประเด็นที่ต้องระวังในเรื่องการโจมตีจากฝั่งการเมืองก็พอจะฟังขึ้นอยู่บ้างว่าทำให้ไม่สามารถพูดอะไรได้มากในตอนนี้ เอาจริงๆ ถ้าเทียบกับพรรคอื่น การออกมาแถลงที่ลึกถึงในระดับ detail ขนาดนี้ ก็ถือว่าลึกกว่าหลายๆ พรรคในตอนนี้ที่มีแค่แถลงนโยบายด้วยซ้ำมั้งครับ ซึ่งไม่รู้จะโดนคุณเหมารวมว่าเป็นของปลอมไปด้วยหรือเปล่า

By: chalitbur
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 14 March 2019 - 21:37 #1101466 Reply to:1101368

ดูข่าววันนี้หรือยัง ผมว่าอีกฝ่ายน่ะ ปลอมของแท้ เซอร์ไพรส์ เปิดคลิป ต้นสัปดาห์ ก็ถ่ายซะแบบฉีก look กันเลยทีเดียว

By: thanyadol
iPhone
on 15 March 2019 - 01:11 #1101502 Reply to:1101368

ผมอ่านความเห็นนี้แล้ว นึกถึงตอนพวกที่รุมด่าการส้ราง BTS ใน กทม เลย ตอนนี้เป็นงัยละแน่นยังกะปลากระป๋องทุกเที่ยว

By: tg-thaigamer
Contributor iPhone Android Blackberry
on 15 March 2019 - 07:24 #1101527 Reply to:1101368
tg-thaigamer's picture

เอาจริงๆ นะ ตอนนี้ทุกพรรคเสนอมาไม่รู้ทำได้จริงป่าวเหอะ


มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ

By: ravipon
iPhone Windows
on 14 March 2019 - 13:59 #1101307
ravipon's picture

“ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากการประเมินของ JICA อยู่ที่ 727 ล้านบาท ส่วน Hyperloop คือ 598 ล้านบาท ราคาค่าโดยสารใกล้เคียงกัน (1090 บาท vs บาท)“

727ล้านบาท/กิโล รึเปล่าครับ?

แล้วค่าโดยสารที่ vs กันของไฮเปอร์ลูปเท่าไหร่ครับ?

By: mk
Founder Android
on 14 March 2019 - 14:07 #1101310 Reply to:1101307
mk's picture

กำลังค่อยๆ อัพเดตครับ เผอิญเขียนสดจากในงาน อันไหนงงๆ ยึดตามในรูปเป็นหลักได้เลยครับ

By: sudlor_gang on 14 March 2019 - 14:03 #1101308

รอให้ต่างประเทศใช้จริงจังก่อนก็ได้ครับ เทคโนโลยีนี่ไม่รู้หมู่รู้จ่าเลย ประเทศเรากำลังพัฒนาไม่ต้องเป็นผู้นำขนาดนั้น

เน้นรถไฟฟ้ามั้ย รถ ev เริ่มเยอะแล้ว เทคโนโลยี ev คิดว่าไปได้ไกลแน่แล้ว อะไรแบบนี้ดีมั้ยเข้าใจอยากเสนออะไรใหม่ๆ แบบแนวคิดใหม่

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 14:13 #1101314 Reply to:1101308

ความเสี่ยงสูง แต่ผลตอบแทนก็สูงนะครับ ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลยุคไหนของบ้านเรากล้าเสี่ยงแบบนี้บ้าง


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: GodPapa
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 14:33 #1101325 Reply to:1101314
GodPapa's picture

เขียนเหมือนคนไทยสร้างซื้อเขาใช้ ไม่ได้ทำขายซักหน่อย

By: gab
Windows Phone Android Windows
on 14 March 2019 - 14:39 #1101328 Reply to:1101325
gab's picture

มีเป้าตั้งศูนย์กลางอุตสาหรรม รวมถึงผลิตชิ้นส่วนในประเทศเอง สร้างห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ..ฟังเหมือนเค้าจะทำขายเลยนะครับ

By: wklk
Contributor Android
on 14 March 2019 - 16:11 #1101379 Reply to:1101325

เค้าตั้งเป้าวิจัยและพัฒนาในประเทศ เพราะตอนนี้จะซื้อที่ไหนก็ไม่มีขายซึ่งถ้าทำสำเร็จก็ต่อยอดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ ผลิตขายประเทศอื่นเลย

By: GodPapa
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 17:55 #1101419 Reply to:1101379
GodPapa's picture

วิจัยและพัฒนาของแบบนี้มีรัฐบาลประเทศไหนเขาทำ มีแต่เอกชนเขาทำกันตัวอุโมงค์เขาสร้างเสร็จก็ปิดโรงงานผลิตไปทำที่อื่นต่อ ตัวรถตัวระบบก็นำเข้าจากประเทศอื่นไม่มาลงทุนในประเทศที่ได้กำไรน้อย เพราะจะแพงอย่างไรก็ต้องซื้อเขาอยู่ดี

By: wklk
Contributor Android
on 15 March 2019 - 19:56 #1101687 Reply to:1101419

รถไฟความเร็วสูงของจีนยังวิจัยและพัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจจีนจนมีสิทธิบัตรเทคโนโลยีเป็นของตัวเองได้เลยคุณ

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 16 March 2019 - 19:29 #1101867 Reply to:1101687

เหมือนเห็นแวบๆจีนกำหนดในสัญญาจ้างกับซีเมนต์ ว่าต้องให้ทีมงานจีนประกบในตอนทำงานและมีสัญญาเรื่องถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยครับ

By: orchidkit on 14 March 2019 - 14:14 #1101315 Reply to:1101308

เหตุผลที่ธนาธรเสนอเรื่องนี้เพราะไม่มีประเทศไหนใช้จริงจังนั่นแหละครับเหตุเดียวกัน แต่มองไม่เหมือนกัน บังลังค์เทคโนโลยีที่ยังไม่มีใครนั่ง เป็นโอกาสดีของประเทศกำลังพัฒนาจะกระโดดได้

ส่วนรถ EV ทำแน่ จริงจังกว่าไอ้ไฮเปอร์ลูปอีก ถึงขั้นเป็นแผนสร้างอุตสาหกรรมสร้างงานใหญ่ของพรรคเลย
คนไทยติดกับดักทำอันนี้แล้วไม่ทำอันนั้น ทำอันนั้นแล้วไม่ทำอันนี้ ทำถนนลูกรังต้องไม่ทำรถไฟความเร็วสูง
ทั้งๆที่การพัฒนาไม่ได้ขัดกัน มันทำพร้อมกันได้

เหมือนฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเป็นต้น บริหารเศรษฐกิจอยู่ไม่ได้แปลว่านักกฏหมายไม่ต้องทำงานสร้างผลผลิตอยู่ไม่ได้แปลว่าแผนกวิจัยไม่ต้องทำงาน

By: MorningTail
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 17:33 #1101411 Reply to:1101308
MorningTail's picture

ถ้าเค้าคิดแบบนี้ คงไม่ข้ามรถไฟความเร็วสูงมา hyperloop หรอกครับ

By: sdc on 14 March 2019 - 18:07 #1101422 Reply to:1101308

เพราะคิดแบบนี้ไงครับ ประเทศเราถึงยังเป็นประเทศโลกที่ 3 ด้อยพัฒนา - กำลังพัฒนามาเกือบ 20-30 ปี ไม่มีทางเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 14:28 #1101309

ถ้ามีความเป็นไปได้ก็คุ้มที่จะลองเริ่มต้นธุรกิจใหม่ที่ตลาดยังมีคู่แข่งน้อยครับเหมือนบางประเทศและบางบริษัท ที่มุ่งไปเริ่มต้นในธุรกิจใหม่ คู่แข่งก็ยังยึดติดกับความสำเร็จเดิมอยู่

เช่น จีน ที่ข้ามการทำรถยนต์ใช้น้ำมัน ไปเริ่มเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอนนั้นคู่แข่งยังน้อย จนตอนนี้ล้ำมากหรือ Samsung ที่ขายธุรกิจฮาร์ดดิสทิ้ง เพื่อไปมุ่งพัฒนา SSD จนกลายเป็นเจ้าตลาดแบบทุกวันนี้

By: Sxton on 14 March 2019 - 14:11 #1101311

เข้ามาดูวิสัยทัศน์...

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 14 March 2019 - 14:12 #1101312
hisoft's picture

เป็นการศึกษาก็ดีครับ แต่ต้องไม่ลืมว่าบริษัทที่เข้ามาทำรายงานมีส่วนได้/เสียกับเรื่องนี้ค่อนข้างมากต้องชั่งใจและคิดตามมากๆ เวลาเราอ่านรายงานไปด้วย

การศึกษาทางเลือกหลายๆ ทางแม้จะต้องใช้งบประมาณและเวลาแต่ในหลายครั้งก็ดีกว่าครับ

By: rattananen
Android Windows
on 14 March 2019 - 14:13 #1101313

ทำไมคือมันดีจัง ไม่มีข้อเสียบ้างเหรอครับนี้

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 14:15 #1101317 Reply to:1101313

ผมนึกออกอย่างนึงคือความที่มัน "เกือบตรง" นี่แหละครับ เขาบอกข้อดีคือระยะมันจะใกล้กว่า แต่จริง ๆ คือเป็นข้อเสียที่ออกแบบยาก จะไปโผล่ตรงไหนบ้างก็ไม่รู้ ทับบ้านใคร แม่น้ำ สถานที่ราชการ ป่าสงวน ฯลฯ ใครจะไปรู้


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Avexiouz
Android Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 15:32 #1101364 Reply to:1101313

hyperloop min radius คือ 40 milesจะวางให้ผ่านกรุงเทพยังไง น่าจะมีปัญหากับการเวนคืนมากๆละครับ

By: devilblaze
iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 16:13 #1101381 Reply to:1101313
devilblaze's picture

ข้อเสียคือ บางคนอาจรู้สึกอึดอัด เพราะอยู่ในท่อไม่เห็นสภาพแวดล้อม

พวกกลัวที่แคบอาจทนใช้ไม่ได้

By: mheeno
Contributor
on 14 March 2019 - 16:21 #1101384 Reply to:1101381

ใส่แว่น VR ใส่วิว เครื่องบิน จบ

By: mk-
Symbian
on 14 March 2019 - 20:11 #1101444 Reply to:1101313
mk-'s picture

ข้อเสียคือมันยังไม่มีใครทำขึ้นได้จริงเลยครับ มันเลยมีแต่ข้อดีซึ่งคาดหวังเอาว่ามันจะดีอย่างนั้นอย่างนี้

By: F16
iPhone Windows Phone Android In Love
on 14 March 2019 - 14:19 #1101318

กลัวเลือกไปเดี๋ยวก็โดนยุบอีก

By: titleN
iPhone
on 14 March 2019 - 17:30 #1101409 Reply to:1101318

ถ้าใช้ตรรกะนี้ในการเลือกตั้ง ควรเลือกพลังประชารัฐครับ ไม่โดนยุบแน่

By: chettaphong
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 15 March 2019 - 09:16 #1101556 Reply to:1101409

อาจจะดูเหมือนฝันแต่ถ้าเราเลือกพรรคที่ไม่เอา พปชร ทั้งหมดเค้าก็กลับมาได้ยากครับ เพราะเสนอนายกไม่ได้

By: sdc on 14 March 2019 - 18:11 #1101424 Reply to:1101318

ไม่ต้องเลือกก็ได้ครับ เพราะยังไงพลังประชารัฐก็น่าจะได้อยู่แล้ว มีสว 250 เสียง แถมเห็นว่าคนที่อยู่นอกราชอาณาจักรโดนตีบัตรเลือกตั้งกลับอีก เอามันทุกทางเลย

By: luna777
Android Windows
on 14 March 2019 - 21:13 #1101461 Reply to:1101424

ถ้าไปเลือกพรรคฝั่งตรงข้ามคสช เพื่อจำนวนที่นั่งฝ่ายค้านในสภา บ้านเมืองจะดีขึ้นไหมคะ

By: sdc on 15 March 2019 - 08:12 #1101533 Reply to:1101461

ไม่น่าจะดีนะครับ เดี๋ยวเขาก็ออกอะไรมาช่วยฝั่งตัวเองอีก 5 ปีที่ผ่านมาก็น่าจะเห็นแล้ว เผลอๆ อาจชุมนุมประท้วงไม่ได้ด้วย ถ้า ม44 ยังคงอยู่ โดยอ้างเรื่องความมั่นคง

By: catoin
Windows Phone Windows
on 14 March 2019 - 14:24 #1101319
catoin's picture

แล้วมันขนคนได้รอบละเท่าไหร่ ถูกกว่านิดหน่อยแต่ที่เคยดูมันลำเล็กๆ เหมือนของเล่นคนรวยมากกว่าที่ประชาชนทั่วไปใช้ได้จริง ประเทศอื่นก้ไม่เหนมีใครให้ความสนใย

By: geumatee
Contributor iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 15:02 #1101347 Reply to:1101319

42 pod ต่อชั่วโมง คิดเป็นปริมาณผู้โดยสาร 4,000 คน/ชั่วโมง

เอามามาหารกัน น่าจะประมาณ pod ละ 95 คนครับ

ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากการประเมินของ JICA อยู่ที่ 727 ล้านบาท/กิโลเมตร ส่วน Hyperloop คือ 598 ล้านบาท/กิโลเมตร ราคาค่าโดยสารใกล้เคียงกัน (1090 บาท vs 1012 บาท)

บริษัทที่จ้างศึกษาบอกว่าราคาถูกกว่า ถ้าเราเองไม่เชื่อ และคิดว่าแพง ก็ต้องมาศึกษากันเองแหละครับ

By: toooooooon
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 15:41 #1101367 Reply to:1101319

ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ มีรถไฟฟ้า เต็มเมือง มีเครื่องบินเพียบ

การจะเอา ของแบบนี้ไปเพิ่มอีก มันเป็นภาระมากกว่า...

มันเลยเหมาะกับประเทศที่กำลังจะมี Mega Project ซึ่งข้ามไปใช้ HyperLoop เลยซึ่งเหมาะที่สุด

By: Holy
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 14:26 #1101320
Holy's picture

ทำห้องทดสอบความอันดับ และห้องทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-อาณัติสัญญาณต่างๆ

ห้องทดสอบความอันดับ > ห้องทดสอบความดัน?

ดูแล้วก็น่าสนใจถ้าบอกว่าเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ มัน Feasible นะ รอดูรายงานละเอียดอีกที (จริงๆ รัฐบาลไหนขึ้นมาเป็นในอนาคตก็น่าทำรายงานศึกษาเป็น Second Opinion นะ) อยากให้ทำได้จริงอยู่เหมือนกัน

By: blackdoor on 14 March 2019 - 14:25 #1101321
blackdoor's picture

ถ้าอัตราค่าโดยสารพอๆกับเครื่องบินผมก็ยังเลือก Hyperloop

By: Thammarith on 14 March 2019 - 14:43 #1101332 Reply to:1101321
Thammarith's picture

ผมว่าถ้าทำได้จริงนี่ตอบโจทย์คนกลัวเครื่องบินเลยนะครับ

By: soullz
Android Ubuntu
on 14 March 2019 - 15:16 #1101356 Reply to:1101332
soullz's picture

แต่อาจจะเป็นปัญหากับคนกลัวที่แคบ กลัวท่อ แทนเพราะท่อโดยสารเป็นระบบปิด ขนาด 4 เมตร

By: nessuchan
iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 15:21 #1101358 Reply to:1101356
nessuchan's picture

ถ้ากลัวขนาดนั้น อาจจะนั่งรถหรือขึ้นลิฟต์ไม่ได้นะครับ รถนี่แคบกว่า4เมตรตั้งเยอะต่อให้เป็นรถบัสก็ตามที ลิฟต์นี่ไม่ต้องพูดถึงอาจจะต้องขึ้นบันใดเอา น่าสงสาร ใช้ชีวิตค่อนข้างลำบากเลย แต่ถ้ากลัวขนาดนั้นจริง ๆ เครื่องบินยังขึ้นได้อยู่ครับ เค้ายังไม่ได้ยกเลิกเครื่องบินครับ อาจจะต้องเลือกให้เหมาะกับเรา อันนี้ถ้าคนกลัวเครื่องบินมาก ๆ ก็เป็นตัวเลือกให้คนพวกนั้นครับ จากเดิมโดยสารได้แต่รถไฟ หรือต้องจำใจนั่งเครื่องบินทั้ง ๆ ที่กลัว

By: Holy
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 16:01 #1101375 Reply to:1101358
Holy's picture

เข้าใจว่าคนกลัวที่แคบจะมีปัญหาเพราะมันไม่มี "หน้าต่าง" ครับ อย่างรถ รถบัส รถไฟ เครื่องบิน มันมีหน้าต่างมองเห็นภายนอกพอไม่ให้รู้สึกอึดอัดได้ แต่ Hyperloop ผมว่าไม่น่ามี

ส่วนเรื่องลิฟท์นี่ก็น่าจะกลัวแหละครับ แต่ใช้เวลาแป๊บๆ ทั่วไปไม่เกินนาทีก็น่าจะถึงที่ แต่ Hyperloop น่าจะหลายสิบนาทีเป็นอย่างน้อยกว่าจะถึง

By: bubbleball on 14 March 2019 - 18:14 #1101425 Reply to:1101356
bubbleball's picture

ใช้จอโทรทัศน์ฉายภาพวิวภายนอกเคลื่อนภาพให้สอดคล้องกับแต่ละสถานี เอาจริงๆ ระหว่างเดินทางเราใช้ลูปวิดีโอแบบเร่งเร็ว แค่ตอนเริ่มเคลื่อนที่กับตอนใกล้จอด พยายามเล่นให้มันสอดคล้องความเร็วก็พอจะได้เนียนๆ หน่อย

By: panitw
Windows Phone
on 15 March 2019 - 06:59 #1101522 Reply to:1101356
panitw's picture

ผมว่าไม่ต่างอะไรกับรถไฟใต้ดินนะครับ

By: IDCET
Contributor
on 14 March 2019 - 14:25 #1101322

ถ้าจะดี ขอแบบนี้นะระหว่างศึกษาและพัฒนา Hyperloop ตามนี้ (ขอก็อปจาก Comment ในข่าวเก่า):

ตอนนี้ต้องเริ่มจากสร้างระบบรถไฟทั่วประเทศเป็นแบบสองราง แล้วแทนที่ด้วยระบบ Diesel Electric หรือไฟฟ้าล้วน พร้อมสายพาดบนราง แล้วค่อยปรับตัวสถานีให้รองรับและเข้าถึงในเมือง และต้องตรงเวลาด้วย (อย่าลืมสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มไฟบ้อนเข้าระบบรถไฟและชุมชน รวมถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้าด้วยนะ)

ส่วนถนนในประเทศก็ขยายให้รองรับความต้องการ ทำ Motorway หรือ Expressway เชื่อมศูนย์กลางจังหวัดของแต่ละภูมิภาค และเลิกใช้การลาดยางมะตอยเสียที จะเป็นอะไรที่ดีกับบ้านเรามากจริงๆ

ส่วนการก่อสร้าง ต้องกำหนดให้สร้างต่อเนื่อง 24x7 ทำเป็นแบ่งกะไป แบ่งเป็น 8 ชั่วโมง รวม 3 กะต่อวัน จนกว่าจะเสร็จ แล้วต้องเสร็จอย่างเร็ว 2-3 ปี และให้มากสุด 5 ปี ครับ ขอเลย นานกว่านี้ไม่ไหวครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: icez
Contributor iPhone Android Red Hat
on 14 March 2019 - 14:29 #1101323

รถไฟความเร็วสูงอาจทำได้มากที่่สุดแค่ประมาณ 3 ขบวนต่อชั่วโมง

รถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นเห็นวิ่งออกแทบทุกห้านาทีด้วยซ้ำ

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 14:36 #1101326 Reply to:1101323

อันนี้ใช้การศึกษาให้เข้ากับไทยครับ ของไทยถ้ารถไฟขบวนใหญ่ออกทุก 5 นาที ในตู้คงว่างมาก

By: api on 14 March 2019 - 14:43 #1101330 Reply to:1101326

ถ้าแบบนั้น pod hyperloop น่าจะยิ่งคุ้มน้อยกว่า

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 15:02 #1101334 Reply to:1101330

ใช้ในการขนส่งสินค้าได้ด้วยครับ ซึ่งวันหนึ่งมีการขนส่งเยอะมากลดการใช้รถบบรรทุก ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ

แต่การสร้างระบบขนส่งสาธารณะจะดูแต่รายได้ของตัวระบบเองอย่างเดียวไม่ได้ต้องดูความเจริญทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากสถานีต่างๆ นับรวมเข้าไปด้วยครับ

By: api on 14 March 2019 - 15:10 #1101353 Reply to:1101334

ดูจากขนาดแล้วน่าจะขนส่งได้น้อยกว่ารถบรรทุกนะ

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 15:27 #1101361 Reply to:1101353

มันอยู่ที่การออกแบบครับ ถ้าขนส่งสินค้าก็ต้องใหญ่พอที่จะใส่ตู้ขนสินค้าได้

No Description

No Description

By: api on 14 March 2019 - 16:29 #1101389 Reply to:1101361

ถ้าเอาไซส์นั้น ต้นทุนค่าก่อสร้างจะโดนบวกขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งขนาดเสารับน้ำหนัก ขนาดพื้นที่โดยรวม การสร้างทางเพื่อลำเลียงตู้ แต่ละเส้นซึ่งไม่คุ้มค่าใช้จ่าย

สถานีขนาดใหญ่ที่ต้องทำแบบเปิดเพื่อขนย้ายตู้สินค้า ซึ่งดูขัดกับท่อระบบสุญญากาศ

แบบนั้น เอารถบรรทุกพลังไฟฟ้าของมัสก์มาใช้ยังเป็นไปได้มากกว่า

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 16:51 #1101393 Reply to:1101389

ถ้าทำ ผมว่าเขาต้องแยกท่อผู้โดยสารกับท่อขนส่งสินค้า

เหมือนของรถไฟที่ก็มีแยกระหว่างเส้นทางของผู้โดยสาร กับเส้นทางขนส่งสินค้าซึ่งตอนนี้ก็ใช้เชื่อมท่าเรือตะวันออก กับท่าเรือตะวันตกที่พม่า ซึ่งคนไทยไปลงทุนอยู่

By: api on 14 March 2019 - 16:58 #1101396 Reply to:1101393

จากในรูปข้างบนรายงานศึกษา สื่อว่าใช้ได้ทั้งขนคนและขนของ แสดงว่าใช้ท่อร่วมกันไม่ได้แยกท่อ

ส่วนในแง่ใช้งานจริง เช่น จะใช้ขน สินค้าอุตสาหกรรมหนัก เคมีภันฑ์ วัสดุก่อสร้าง ได้จริงไหม คนที่นั่งโดยสารจะเอาด้วย?

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 17:05 #1101399 Reply to:1101396

ในรูปของธนาธรเขาเน้นขนส่งเหมือนแบบเครื่องบิน สินค้าก็จะไม่ได้อันตรายหรอก

แต่ผมอยากให้ไปประยุกต์ใช้แบบขนส่งสินค้าจำนวนเยอะๆ เหมือนในรูปที่ผมแนบมากกว่า

ซึ่งมันวิจัยพัฒนากันได้ ถ้าเราเป็นฐานการผลิต Hyperloop แล้ว เพราะเราผลิตเอง จะออกแบบให้รองรับความต้องการได้หลากหลายกว่า ต่างจากการไปซื้อสินค้าสำเร็จรูปที่แก้ไขไม่ค่อยได้

By: api on 14 March 2019 - 17:07 #1101403 Reply to:1101399

ทางท่อมันสร้างแล้วสร้างเลยเนี่ยสิ ขยายปรับใหม่ทีต้นทุนก็เพิ่มถ้าเราผลิตท่อขนส่งที่สามารถขยายและหดตัวได้เองก็อีกเรื่อง (แน่นอนว่ายังสร้างไม่ได้)

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 17:12 #1101404 Reply to:1101403

ก็อย่างที่ผมบอกไปไง ปกติถ้าขนส่งสินค้าเยอะๆ เขาจะแยกเส้นทางขนส่งสินค้าออกจากการโดยสารอยู่แล้ว เป็นปกติครับ

By: Zatang
Contributor iPhone Android
on 14 March 2019 - 15:18 #1101357 Reply to:1101334

ถ้าแทนรถบรรทุกควรจะเป็นรถไฟธรรมดาครับ ถ้าของที่ไม่ได้เร่งด่วนนี่ไม่ได้เน้นความเร็วแต่เน้นราคา ถ้าแทนเครื่องบินนี่อาจจะ hyperloop แทนได้เพราะพวกนี้เน้นความเร็วเหมือนกัน


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: wohlklang
iPhone Android
on 14 March 2019 - 15:23 #1101359 Reply to:1101357

ควรลองเช็คกับต้นทุนขนส่งต่อหน่วยครับ เช่น รถบรรทุก 1 คันรถ บรรจุสินค้าได้กี่หน่วย มีค่าเชื้อเพลิงเท่าไร เทียบกับรถไฟ กับไฮเปอร์ลูป แล้วก็ต้องดูค่าขนส่งจากไฮเปอร์ลูปไปโกดังสินค้าด้วย อันไหนรวมแล้วถูกกว่าก็จบที่อันนั้น ซึ่งตรงนี้กว่าจะเทียบได้ก็ตอนที่เค้าตั้งราคาเสร็จแล้วแหละ

By: Zatang
Contributor iPhone Android
on 14 March 2019 - 15:30 #1101362 Reply to:1101359

คือถ้าราคาใกล้เคียงรถไฟความเร็วสูง มันก็แพงกว่ารถไฟธรรมดาอยู่แล้วแหละครับ ขึ้นกับสินค้าเลย ถ้าความเร็วมีผลก็เทียบพวกที่เร็วด้วยกัน แต่ความเร็วไม่มีผล ยอมช้าได้ พวกเรือ รถไฟธรรมดาก็ได้เปรียบ ส่วนเทียบกับรถบรรทุกก็อย่างที่คุณว่าแหละครับ เพราะรถบรรทุกมันได้ถึงหลายจุด ไม่ใช่แค่สถานี ยังไงก็ต้องมีรถบรรทุกมาที่สถานี


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 15:42 #1101366 Reply to:1101357

ก็ต้องดูต้นทุนแหละครับซึ่งต้องคิดในหลายแง่ ทั้งค่าเสื่อมของรถบรรทุก ค่าบำรุงรักษา จำนวนปีที่กฎหมายให้ใช้ได้ การลดอุบัติเหตุ ไม่ต้องมีค่าประกันรถ ค่าใบขับขี่ การใช้เวลากับครอบครัวของพนักงาน ความเหนื่อยล้า พนักงานแอบนำน้ำมันไปขาย และอื่นๆ

ซึ่งถ้ามาใช้ Hyperloop ก็ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา กลายเป็นจ่ายเหมาหรือจ่ายเป็นเที่ยวไป

No Description

By: เอี้ยก้วย ณ แอนฟิลด์ on 14 March 2019 - 14:35 #1101327

มีคลิปเต็มมั้ยครับ อยากฟังตัวเต็ม

By: mk
Founder Android
on 14 March 2019 - 14:57 #1101344 Reply to:1101327
mk's picture

เห็นมีสื่อมากันเยอะอยู่นะครับ น่าจะมีบางที่ถ่ายเป็นวิดีโอไปครับ

By: Gored on 14 March 2019 - 15:05 #1101350 Reply to:1101327
Gored's picture

แอบงงนิดทำไมพรรคไม่ไลฟ์ให้ดู

By: Aoun
Android Windows
on 14 March 2019 - 16:10 #1101377 Reply to:1101350

กลัวผิดกฎหมายเลือกตั้ง ?
ไม่แน่ใจว่าที่ออกมานี้ เพราะโดนกองเชียร์อีกฝั่งมาว่าขี้โม้เรื่องไฮเปอร์ลูป หรือเปล่า
ถ้าใช่ก็เป็นการปิดปากไปอีกเรื่อง

By: เอี้ยก้วย ณ แอนฟิลด์ on 14 March 2019 - 22:25 #1101475 Reply to:1101327

มาแล้ว https://www.facebook.com/ThanathornOfficial/videos/345689066060960/

By: iStyle
Contributor iPhone Android Symbian
on 14 March 2019 - 14:41 #1101329
iStyle's picture

ยากสุดคือเวนคืน


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: IDCET
Contributor
on 14 March 2019 - 14:46 #1101335 Reply to:1101329

ถ้าเจาะใต้ดิน ก็อาจไม่ต้องเวนคืนก็ได้ แต่จะเจาะแบบตรงตามระบบ Hyperloop จากกรุงเทพฯ ไปเชียงราย น่าจะยากพอสมควร แถมพื้นที่สูงต่ำก็ไม่เท่ากันอีก แล้วต้องรอดูผลการพัฒนาก่อนที่จะสร้างจริงด้วยว่าจะใช้ได้จริงหรือไม่

ดังนั้น ระบบรางความเร็วสูงกับระบบรถไฟรางไฟฟ้าข้ามจังหวัดจะ Work กว่าในกรณีนี้ แต่จะช้ากว่าเครื่องบิน แค่นั้น


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Aoun
Android Windows
on 14 March 2019 - 16:12 #1101380 Reply to:1101335

จะติดปัญหาเรื่องถนนลูกรังหรือเปล่า ...ผมกลัวว่ามันจะขุดยากนะ

By: เอี้ยก้วย ณ แอนฟิลด์ on 14 March 2019 - 14:48 #1101337 Reply to:1101329

สร้างบนไฮเวย์เดิม

By: tlenetto
Android Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 14:43 #1101331
tlenetto's picture

หาเสียงอะไรๆ ก็เป็นไปได้หมดแหละครับนาทีนี้

By: Gored on 14 March 2019 - 14:45 #1101333
Gored's picture

มีเอกสารให้ดาวน์โหลดมาอ่านไหมครับ

By: mk
Founder Android
on 14 March 2019 - 14:57 #1101343 Reply to:1101333
mk's picture

รอวันที่ 1 เมษาครับ

By: poa
Android
on 14 March 2019 - 16:15 #1101382 Reply to:1101343

ตอนอ่านข่าวก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอเห็นวันที่ 1 เม.ย.ลอยๆ ก็อดคิดไม่ได้ว่าจะเชื่อถือได้ไหมนะ

By: mk-
Symbian
on 14 March 2019 - 19:58 #1101438 Reply to:1101382
mk-'s picture

April fool day พอดีเลย

By: nrml
Contributor In Love
on 15 March 2019 - 12:20 #1101601 Reply to:1101438
nrml's picture

ตรงกับวันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลด้วยครับ

By: mk
Founder Android
on 15 March 2019 - 10:29 #1101574 Reply to:1101382
mk's picture

ตอนแรกเห็นว่าจะแจกวันที่ 25 มีนาคมเลยครับ หลังเลือกตั้ง 1 วัน แต่เปลี่ยนเป็น 1 เมษา

By: qo
iPhone Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 14:48 #1101338
qo's picture

สมมติว่าจะทำจริงๆ มันจะต้องทำเส้นทางท่อยังไงบ้าง ผมยังคิดไม่ออกเช่นว่า จาก กทม ไป เชียงใหม่ แล้วอยากจะลงที่จังหวัดใหญ่ๆระหว่างทางเช่น พิษณุโลก ต้องสร้างท่อเพิ่มอีกท่อจาก กทม หรือต้องตัดท่อระหว่างทางให้จอดพิษณุโลกได้ หรือมันทำทางแยกในท่อได้ว่าลงที่นี่แล้วลดความเร็ว แล้วไปท่อซ้าย ถ้าไม่ลงไปท่อขวา อะไรนี้ไม่ชัว

ปล ยังไม่ได้อ่านเทคโนโลยี Hyperloop

By: wisidsak
Android In Love
on 14 March 2019 - 14:48 #1101339
wisidsak's picture

ผมมองว่า Hyperloop คือ Louis Vuitton ของโลกรถไฟฟ้า
มันต้องแพงมากแน่ๆ เข้าใจว่าคุณธนาธร มองถึงการเปิดธุรกิจใหม่ให้ประเทศ
แต่ถ้ามองกรณี เอาให้ประชาชนใช้ รถไฟรางแม่เหล็ก มันน่าจะทำได้ไวกว่าหรือป่าว?

By: qo
iPhone Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 14:54 #1101340 Reply to:1101339
qo's picture

ต้องถามต่อด้วยว่า จะขายใคร คนจะยอมจ่ายจนถึงคุ้มต้นทุนก่อสร้าง ค่าดำเนินการหรือไม่

By: api on 14 March 2019 - 15:19 #1101341

ท่อ hyperloop น่าจะบังคับตรงตลอด ซึ่งคงลำบากในการวางตามแผนผังเมืองไทยที่ เลี้ยวไปมา รวมไปถึงความสูงต่ำของพื้นที่

ด้วยความเป็นท่อปิด การขนส่งสินค้าที่มีมูลค่าตามน้ำหนัก และขนาด ถูกจำกัดลงไป ทำให้อาจไม่คุ้มค่าเท่าการขนส่งด้วยรถยนต์ที่เดินทางได้ทุกสภาพทางและทั่วจริง หรือรถไฟ+เรือ ที่ขนส่งครั้งละมากๆ
การขนส่งต่อรอบ 42pod/ชั่วโมง น่าจะทำได้น้อยกว่าหากเจออุปสรรคใช้งานจริง ทั้งจุดจอดสถานี จำนวนผู้ใช้งาน นิสัยผู้โดยสารไทยอันหลากหลาย
ตัวเลขความเร็วก็ไม่ได้เกิดจากการคำนวนใช้งานจริง ที่ต้องจอดระหว่างสถานี ผู้โดยสารขึ้น-ลง การขนส่งสินค้าที่ยุ่งยาก

ราคาต้นทุน สร้างยังเป็นแค่การประเมิน ไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นต้นทุนจากที่ไหนกันแน่? พอถึงเวลาสร้างก็ไม่พ้นโดนบวกต้นทุนด้านอื่นๆเพิ่ม เช่น ค่าที่ดิน ค่าสัมปทาน ค่าแรงก่อสร้าง ฯลฯราคาค่าโดยสาร ถ้าหลักพันก็ไปขึ้นสายการบิน low cost เอาดีกว่าไหม หลักร้อยก็เสี่ยงไม่คุ้มค่า

Knowhow เราจะไปเรียนคิดค้นพวกนี้จากไหนเองได้ สุดท้ายก็ต้องซื้อเขามาลง

ต้นทุนการดูแลผลวิจัยแคนาดาเป็นเมืองหนาวแต่ของไทยเป็นเมืองร้อน พายุฝนก็มี อัตราเสื่อมสภาพน่าจะสูงกว่า

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 15:02 #1101348
whitebigbird's picture

รอดูฮะ ว่าจะถูกกกต.เล่นงานจากกรณีนี้ไหม เพราะกกต.น่าจะง้างรอแล้ว

เรื่อง hyperloop นี่ผมมองว่าธนาธรไม่ได้เอาไว้หาเสียงเลือกตั้ง เพราะ hyperloop ไม่น่าจะลงทุนในนามรัฐบาล และไม่น่าจะเล็งเป้าไปที่คนทั่วๆ ไป แต่น่าจะเป็นการเดินทางสำหรับคนมีฐานะมากกว่า

By: 0FFiiz
Windows Phone Android Windows
on 14 March 2019 - 15:04 #1101349
0FFiiz's picture

ค่อนข้างอันตรายนะครับ การเอาข้อมูลที่ยังศึกษาไม่ละเอียดพอ มาแถลงข่าวในขณะที่ยังไม่ได้ วิจัยเเลยว่า ความเหมาะสม ข้อจำกัด ความคุ้มค่า และ ปัญหาในการจัดการต่าง ๆ

มันดูเป็นเป็นผู้นำที่ฉวยโอกาสหาเสียง มากกว่าเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เพราะนำสิ่งที่ ไม่รู้เลยว่าจะทำได้จริงหรือเปล่า หรือ แม้กระทั่ง ทำยังไง มาประกาศให้คนว้าว

By: McKay
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 15:12 #1101355 Reply to:1101349
McKay's picture

+1 รายงานพูดถึงแต่ข้อดีแต่ไม่พูดถึง concerns เลย ทั้งๆที่มีเรื่องให้ concern เยอะมาก


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: toooooooon
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 15:47 #1101370 Reply to:1101349

ถูกครับ ^ ^''

มันเลยเป็น รายงานการศึกษา..แนวๆเปิดช่องไว้ว่าแค่ศึกษา...ได้โอกาศบางส่วนเอามา PR พรรคการเมืองกกต จะลงดาบไหม อันนี้ก็ไม่แน่ใจแต่มันไม่ใข่ "นโยบาย" ...ออกแนวๆ ศึกษามานะ เลยเล่าสู่กันฟัง

ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง มันดีตรงนี้แหละครับตอนแรกๆผมก็คิดว่ามันไกลเกินฝัน แต่พอฟังๆ มันมีส่วนที่น่าศึกษาจริงๆ

By: NoppawanConan
Contributor iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 15:49 #1101373 Reply to:1101349
NoppawanConan's picture

+1 ด้วยคนแต่โปรดระมัดระวังนิดนึงอาจจะถูกยัดเยียดให้ไปเป็นฝ่ายตรงข้ามได้ถ้าเจอคนค้านแบบนี้ครับ


แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที

By: naja_return
Android Windows
on 14 March 2019 - 17:58 #1101418 Reply to:1101373

+1 เห็นตาม page fb ใคร concerns นี่โดนยัดอยู่ในกะลาเรียบร้อยเลย = =

By: hirewolf on 14 March 2019 - 15:55 #1101374 Reply to:1101349

เขาบอกไว้ว่า จะเปิดเผยผลการศึกษา พอไม่เปิดเผยก็มีคนมาทวงถาม และคงจะอยากทำประชาพิจารณ์ก่อนการนำมาใช้ทำจริง คนไทยจะได้มีทางเลือกและความรู้เพิ่มขึ้นนะ

By: 0FFiiz
Windows Phone Android Windows
on 14 March 2019 - 19:07 #1101429 Reply to:1101374
0FFiiz's picture

ตามจริงการเอาเรื่องนี้มาพูด ไม่ใช่เรื่องผิดนะครับ เป็นเรื่องที่โอเคนะ อาจจะทำให้คนสนใจในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น

แต่เคสนี้นี่ พลาดตรงที่ไม่บอกข้อจำกัดเลย แถมผลการวิจัยยังเปิดได้ตอนหลังเลือกตั้งเสร็จ ซึ่งเจตนาไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่นะ

By: akira on 14 March 2019 - 15:07 #1101351

ผมว่ามันยังต้องวิจัยกันอีกพอสมควร เพราะระบบขนส่งแบบนี้มันเดินรถกันด้วยระบบอัตโนมัติเต็มระบบ ความถี่ในการปล่อยรถสูงมาก เพราะแต่ละเที่ยวรถบรรทุกได้จำกัด เลยทดแทนด้วยความถี่ในการปล่อยรถ ขนาดธุรกิจการบินที่ดำเนินมานานยังมีข้อผิดพลาดกันให้เห็นเรื่อยๆ ธุรกิจไฮเปอร์ลูป ก็เช่นกัน ทั้งปัจจัยความถี่ และความเร็วในการวิ่ง ถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในระบบเนี่ย ไม่อยากคิดเลย เพราะรถที่วิ่งในท่อมันก็เหมือนกระสุนปืนวิ่งออกจากปลายกระบอกดีๆ นี่เอง

แต่ถ้ามองในมุมมองของนวัตกรรม และการสร้างฐานธุรกิจใหม่ ไม่ได้มองแค่เป็นผู้ใช้เพียงอย่างเดียว ก็น่าสนใจ แต่เมืองไทย รากฐานต่างๆ ทั้งด้านการวิจัย ศักยภาพของคนที่จะมารองรับโครงการ พร้อมหรือเปล่า ? มันต้องสร้างฐานก่อนหรือเปล่า ? ถ้าจะไปในทิศทางนี้ ตอนนี้คงต้องตอบก่อนแหล่ะว่าจะเป็นผู้ใช้ หรือเป็นฐานการผลิตด้วย

By: Majestic
Android
on 14 March 2019 - 15:08 #1101352
Majestic's picture

1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปัจจุบันทดลองที่ประมาณ 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เล่นเอาข้อมูลสูงสุดทางทฤษฎี มาเปรียบเทียบ
จริงๆ ควรจะใช้ ที่ความเร็ว 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มาเปรียบเทียบมากกว่า
เพราจะทำให้ตัวเลขที่ยกมาเปลี่ยนแปลง ผลที่คำนวณออกมาหมดเลย
ตัวเลขตอนนี้เหมือน การขายฝันเลย

ถามว่า Hyperloop มีกี่สถานี
อย่างรถไฟฟ้าความเร็วสูง มี 12 สถานี ตามที่มีข้อมูลมาบางซื่อ , ดอนเมือง , อยุธยา , ลพบุรี , นครสวรรค์ , พิจิตร , พิษณุโลก , สุโขทัย , ศรีสัชนาลัย , ลำปาง , ลำพูน , เชียงใหม่
สถานีเยอะ มันมีผลหลายอย่างนะ ทั้งค่าก่อสร้างสถานี ค่าโดยสาร

4,000 คน/ชั่วโมง 42 pod ต่อชั่วโมง เท่ากับต่อ pod ต้องมีคนขึ้น 96 คนต่อ pod (96 x 42 = 4032)
42 pod ต่อชั่วโมง มีเวลาแค่ 1 นาที 25 วินาที ในการขนคน 96 คน เป็นไปได้หรือ ?ความถี่ขนาดนี้ รถ BTS ในกรุงเทพ ยังไม่ถี่ขนาดนี้เลยนะ เหมือนเอาตัวเลขทางทฤษฎีมาคิด
แต่ในทางปฏิบัติจริง คนเดินทางไม่มีจำนวนมากขนาดนั้นหรือเปล่า ?

By: MrThursday
Contributor Red Hat Ubuntu Windows
on 14 March 2019 - 18:03 #1101420 Reply to:1101352

เข้าใจว่าเขาเทียบตัวเลขเพื่อวัดผล improvement จาก baseline ที่เป็นรถไฟ ซึ่งตัวแปรพวกการจอดต่างๆ ต้องรอดูว่าเขาได้หมายเหตุเอาไว้หรือยัง

By: thailandebiz
Contributor Android
on 14 March 2019 - 15:11 #1101354
thailandebiz's picture

สงสัยตรงไหนไปถามในงานนี้เลย

ขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ เทคโนโลยี Hyperloop กับทีมจากบริษัท Transpod ประเทศแคนาดา
.
วันพฤหัสที่ 14 มีนาคม เวลา 18.00 น.
ห้องเธียเตอร์ ชั้น 8 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร
.
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มไทยไฮเปอร์ลูป โทร : 0621985964

By: pote2639
Contributor iPhone Windows Phone Windows
on 14 March 2019 - 15:27 #1101360

จะพูดขายฝันเหมือนลุง trump เปล่าน้า ออกมาพูดว่าจะสร้างกำแพงก่อนเลือกตั้ง แถมพูดไม่รู้ความเป็นไปได้ ตอนนี้ก็เหมือนเดิม

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 14 March 2019 - 20:04 #1101441 Reply to:1101360

เอิ่ม แกยอมปล่อย shutdown เพราะจะดึงดันเอางบมาทำกำแพงนี่แหละ ต้องบอกว่าแกพูดจริงทำจริงยิ่งกว่าใครเลย

By: pote2639
Contributor iPhone Windows Phone Windows
on 14 March 2019 - 20:15 #1101446 Reply to:1101441

ผมว่าไม่ทันเลือกตั้งปีหน้าอ่ะ แถมแต่ละคนหลังๆเอือมลุงแกแม้กระทั้ง 4chan

By: pepporony
Contributor Android
on 15 March 2019 - 06:23 #1101518 Reply to:1101441

จริงครับ ที่ยังทำได้ไม่ได้เพราะมีระบบคานอำนาจแกอยู่ 555 ถ้าลองให้ทรัมป์มาอยู่เมืองไทยนี่คงน้ำตาไหล ดิส อีส เฮฟเว่น

By: nant
Contributor Windows Phone Red Hat Ubuntu
on 14 March 2019 - 15:31 #1101363

ในแง่ของความเร็ว Hyperloop สามารถทำความเร็วได้สูงสุดประมาณ 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ปัจจุบันทดลองที่ประมาณ 387 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยังติดอะไร ครับ

By: chettaphong
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 14 March 2019 - 15:47 #1101371 Reply to:1101363

เดาว่า ระยะทางในอุโมงค์ทดสอบสั้นไปมั๊งครับ

By: Sephanov
iPhone Ubuntu
on 14 March 2019 - 15:33 #1101365
Sephanov's picture

จะสื่อว่าถ้าสร้างก่อน เราก็จะมี Know-how สินะถ้าจะออกมาเป็น Mega project ก็น่าสน

By: massacre
Android Ubuntu
on 14 March 2019 - 15:45 #1101369

เขาก็แค่เปิดเผยผลการศึกษาเอง ไม่ใช่เหรอครับ

By: Gored on 14 March 2019 - 15:48 #1101372
Gored's picture

จะข้ามรถไฟความเร็วสูงไปเป็น hyperloop เลย อยากถามถึงความความปลอดภัยว่าตอนนั้นความปลอดภัยจะมึมารตรฐานขนาดไหน

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 16:10 #1101378 Reply to:1101372
whitebigbird's picture

hyperloop ต้องใช้มาตรฐานของรถไฟความเร็วสูงเหรอครับ?

By: Gored on 14 March 2019 - 17:01 #1101398 Reply to:1101378
Gored's picture

มาตรฐานด้านความปลอดภัยครับ ผมไม่รู้ว่าปี2030 ความปลอดภัยของ hyperloopไปถึงไหนแล้ว แต่รถไฟความเร็วสูงมาตรฐานความปลอดก็เป็นที่ยอมรับกันแล้ว จะข้ามไป hyperloop นี่ผมไม่เห็นด้วย มันต้องพัฒนารถไฟความเร็วสูงด้วย

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 17:06 #1101402 Reply to:1101398
whitebigbird's picture

มันใช้เทคโนโลยีของรถไฟฟ้าความเร็วสูงเหรอครับ?

By: poa
Android
on 15 March 2019 - 14:14 #1101617 Reply to:1101402

hyperloop มันไม่เกี่ยวกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงครับ
มาตรฐานความปลอดภัยของรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ใช้มานานแล้ว ตอนนี้มันไปไกลมากแล้ว ทุกประเทศรู้หมดแล้วว่าต้องมี checklist อะไรบ้าง ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง
แล้วส่วนของ hyperloop มีใครสามารถชี้แจง checklist ได้บ้าง ความเสี่ยงตอนใช้งานจริงมีอะไร ที่บริษัทพัฒนาคิดเคสกันขึ้นมา ก็มาจากหลักการของการเดินทางวิธีอื่น + จินตนาการเข้าไป แต่ยังไงก็ไม่ครบทุกเคสจริงๆหรอก ต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลอีกเยอะกว่าจะได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 14:53 #1101632 Reply to:1101617
whitebigbird's picture

นั่นสิครับ ผมก็ว่า hyperloop มันไม่เกี่ยวกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง แต่ทำไมคุณ Gored ถึงบอกว่าต้องสร้างรถไฟฟ้าก่อน ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยของรถไฟฟ้าก่อน

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 15 March 2019 - 21:57 #1101707 Reply to:1101632
hisoft's picture

ผมเข้าใจว่าเค้าจะสื่อเรื่องรถไฟมันมีมาตรฐานความปลอดภัยค่อนข้างมากแล้ว ถ้าเรากระโดดไปใช้ Hyperloop ทีเดียวนี่เราจะต้องเอาตัวไปเสี่ยงกับความไม่ปลอดภัย ในขณะที่ถ้าเราใช้รถไฟไปก่อนระหว่างเปลี่ยนผ่านอย่างน้อยเราก็ค่อนข้างมั่นใจในความปลอดภัยได้นะครับ

ถ้าถามผมผมว่ามันก็ไม่ผิดทั้งสองทางนี่แหละครับ มีข้อดีข้อเสียเหมือนกันทั้งคู่ การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ เสี่ยงมากผลตอบแทนก็มาก (หรือเจ๊งมาก)

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 22:46 #1101717 Reply to:1101707
whitebigbird's picture

แต่ถ้ามาตรฐานความปลอดภัยมันไม่ได้อิงกัน และไม่ได้มีส่วนเหลื่อมกัน ผมยังคิดไม่ออกเลยอ่ะครับ ว่าทำไมต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงก่อน

คือเราเอา knowhow ของรถไฟความเร็วสูงมาใช้ได้เยอะขนาดนั้นที่ว่าถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงก่อน แล้วจะใช้ประสบการณ์มาต่อยอด hyperloop ได้เหรอครับ?

คือถ้าเป็นแบบนั้นจริง ผมมองว่ารถไฟความเร็วสูงก็อันตรายพอกับ hyperloop เพียงแต่ความเร็วต่างกัน

และอาจกลับกันถ้าเทคโนโลยีมันเอามาใช้ด้วยกันได้จนถึงขนาดที่ต้องรอสร้างรถไฟความเร็วสูงก่อนเพื่อจะเอา knowhow ผมมองว่า ถ้าสร้าง hyperloop ก่อน อาจทำให้สร้างรถไฟความเร็วสูงง่ายกว่าด้วยครับ

ผมยังไม่ได้สนับสนุน hyperloop นะครับ

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 15 March 2019 - 23:22 #1101721 Reply to:1101717
hisoft's picture

ไม่ครับ คือไม่เกี่ยวข้องกันเลยแค่ว่าไม่ต้องไปเสี่ยงว่าปลอดภัยแค่ไหนแต่เลือกของที่ปลอดภัยมาใช้ก่อน พอ hyperloop ปลอดภัยดีมีมาตรฐานแน่นอนแล้วค่อยตามไปซื้อมาใช้อีกที ไล่อัปเกรดแบบเสียเงินสองรอบน่ะครับ

แต่นั่นก็เป็นมุมมองที่ผมได้แค่เดาว่าคุณ Gored คิดแบบนั้นเฉยๆ นะครับ เค้าอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้นก็ได้

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 23:45 #1101725 Reply to:1101721
whitebigbird's picture

ขอบคุณมากครับ

By: gift099
Windows Phone Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 16:22 #1101386

อยากให้มีแต่ขอ Hyperloop แบบเห็นวิวข้างนอกนะ

By: SomeThing
Windows
on 14 March 2019 - 16:43 #1101392

ชอบแนวคิดและความกล้า คนไทยขาดความมั่นใจที่จะทำอะไรก่อนเสมอ รอเค้าใช้ก่อนบ้าง สุดท้ายซื้อเทคโนโลยีเใช้ตลอดในขณะที่ประเทศกลายเป็นที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่รู้ตัว

By: xenatt
Contributor Windows Phone Red Hat Symbian
on 14 March 2019 - 16:54 #1101395
xenatt's picture

หลายๆคน ทัศนคติ น่ากลัวมาก แค่ฝันยังไม่กล้าเลย


Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project

By: MorningTail
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 17:38 #1101414 Reply to:1101395
MorningTail's picture

นั่นสิ

By: darkleonic
Contributor Android WindowsIn Love
on 14 March 2019 - 17:00 #1101397
darkleonic's picture

ขนาดคนไอทีที่เน้นนวัตกรรม การสร้างสรร ขนาดฝันยังกลัวเลย


I need healing.

By: orchidkit on 14 March 2019 - 17:03 #1101400

เงินวิจัยอันนี้เขาก็จ่ายเอง อย่าลืมสิ่งที่ธนาธรย้ำในภาพสุดท้ายนะครับ"Hyperloop คือเทคโนโลยีแห่งอนาคต เราจะสร้างก็ต่อเมื่อมันเร็วและถูกกว่ารถไฟความเร็วสูง โดยฝีมือคนไทย"

ถ้ามันไม่ดีไปกว่ารถไฟความเร็วสูง ก็ไม่ทำเท่านั้นเอง คุณค่าของ R&D คือองค์ความรู้เราก็ได้บูรณาการณ์อีกไปหลายส่วน

ประเทศกำลังพัฒนาแท้ๆ แต่แค่บอกว่าจะ R&D ก็กลัวสิ่งที่ยังไม่ทำยังไม่เกิดขนาดนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรละพัฒนาประเทศแบบขนานได้ครับ ปัญหาตรงหน้าก็สร้างไปแก้ไป แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะคิดทดลองสิ่งใหม่ๆล่วงหน้าไม่ได้

By: IDCET
Contributor
on 14 March 2019 - 17:14 #1101405 Reply to:1101400

เห็นด้วยครับ ประเทศไทยต้องกล้าออกมาจาก Comfort Zone หรือที่ผมเรียกว่า วงจรอุบาทว์ ได้แล้ว กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและก้าวข้ามปัญหาซ้ำซากเสียที น่าเบื่อจริงๆ

ถ้าไม่ทำอะไรเลยหรือเอาแต่ค้าน หาทางโจมตีอย่างงี้ไปเรื่อยๆ เราก็ยังจมปรักอยู่ในปัญหาจนสายเกินแก้ แล้วประเทศก็จะล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา แล้วกลายเป็นว่าเราต้องอยู่ใต้ความล้มเหลวของชาตจนทนไม่ไหวต้องหนีออกมา จะเอาแบบนั้นเหรอ ถ้าไม่ชอบก็อยู่เงียบๆ ทำงานของคุณไป ไม่ต้องสนใจสิ่งที่คุณเกลียดให้ปวดหัว หรือลองรับฟังและยอมรับความเห็นต่างซะ ง่ายๆ ครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: beersonic
Android Windows
on 14 March 2019 - 19:44 #1101434 Reply to:1101400

เห็นด้วยเลยคับ

ต้องเริ่มคุยเริ่มคิด วิเคราะห์ผลดีผลเสีย ถ้าไม่โอเคก็กลับตัว จริงๆ แทบจะเห็นเป็นปกติในโลก IT จนผมแปลกใจคนที่กลัวการเริ่มมองสิ่งใหม่ๆ

By: Mujinot on 14 March 2019 - 19:58 #1101436 Reply to:1101400

เดิมทีความจำเป็นของ Hyperloop มีไว้เพื่อกิจกรรมทางการทหารของสหรัฐครับเนื่องจากเมืองหลวงสองฟากมหาสมุทร อยู่ห่างกันนับพันกิโลเมตร

การเดินทางทางอากาศ ไม่สามารถขนย้ายอาวุธขนาดใหญ่ได้เอาแค่สภาพทางธรณีวิทยา ประเทศไทยซึ่งมีทางน้ำใต้ดินมหาศาล ก็ไม่สามารถทำได้แล้ว

ความจริงเรื่อง hyperloop เชิงลึก เขาพับโครงการกันไปนานแล้ว

ตอนนี้หน้าม้าจากทีม อคม ก็เหมือนจะแห่กันเข้ามาโอนกระแสเหมือนที่เขียนใน youtube กันซ้ำๆ ซากๆ อยู่เหมือนเดิม

ไม่เบื่อกันบ้างหรือครับ ??

พยายามป้อนงานให้ บ ธนาธรกันจัง
รถไฟทำเองบ้าง
โน่นบ้าง นี่บ้าง
วันนี้อยากเหนือ อยากเกทับ เอาไฮเปอร์ลูปละกัน
หิวครับ

เดี๋ยวจะ รอดูแกเกทับด้วย quantum computer และอื่นๆนะครับblognone มีทุกสิ่งให้เลือกสรร หยิบไปได้ตามใจเลยครับ

ประสพความสำเร็จในการล่อเป้าให้คนเข้ามาสนใจตัวเองแล้วเดี๋ยวก็เปลี่ยนไปเรื่อยอื่นครับ เรื่อยๆ

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 20:11 #1101445 Reply to:1101436
whitebigbird's picture

เดิมทีความจำเป็นของ Hyperloop มีไว้เพื่อกิจกรรมทางการทหารของสหรัฐครับ

...

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 14 March 2019 - 20:18 #1101449 Reply to:1101436

มั่วแล้ว hyperloop ตะหากที่ขนอาวุธขนาดใหญ่ไม่ได้ ไม่งั้นจะทำลายความได้เปรียบที่ชูมาตอนแรกไป

เครื่องบิน C5 galaxy นี่ขนได้ทุกอย่างเลยนะครับขนฮ. ขนรถถังอะไรได้หมด

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 20:31 #1101454 Reply to:1101449
whitebigbird's picture

ผมคิดถึงเทอดศักดิ์เลยครับ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ การเมือง การปกครอง

ความคิดของมาร์กซ ถูกนำไปใช้ประสบความสำเร็จในเยอรมัน (โดย) เลนิน ผู้ตั้งตำรวจลับที่เรียกว่า เกสตาโป

ประมาณนั้นแหละครับ

By: GodPapa
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 14 March 2019 - 21:47 #1101469 Reply to:1101400
GodPapa's picture

จากข้อความนี้หากพรรคอนาคตใหม่ได้เป็นรัฐบาล จะจำลองท่อขนส่งความยาว 10 กิโลเมตร ทำห้องทดสอบความดัน และห้องทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์-อาณัติสัญญาณต่างๆ และน่าจะมีรถต้นแบบเสร็จในปี 2021 เพื่อใช้ทดสอบในท่อความยาว 10 กิโลเมตร และตั้งเป้าเปิดใช้งานจริงในปี 2030

ฟังดูไม่เหมือนออกเงินเองถ้าออกเงินเองก็ไปตั้งบริษัทวิจัยพัฒนาซิ ทำเสร็จก็ขาย

By: Wichai.Tree on 14 March 2019 - 17:49 #1101416
Wichai.Tree's picture

มันเป็นเรื่องการเมืองทั้งนั้น(น้ำลาย)หุหุหุ

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 18:05 #1101417 Reply to:1101416

ก็ต้องดูกันในระยะยาวครับ ธนาธรเขาเพิ่งลงมาเล่นการเมืองเต็มตัวปีเดียวเอง(แต่เขาก็สนใจตั้งแต่ตอนเป็นกลุ่ม NGO ก่อนที่พ่อเขาจะเสียแล้วต้องมาบริหารงานแทนพ่อซะอีก)

อย่างของนักการเมืองที่ทำทีมฟุตบอลและอื่นๆ ตอนแรกก็มีคนดูถูกเขาแบบนี้แหละ จนตอนนี้เป็นอันดับหนึ่งของไทยในหลายเรื่อง

ขอเอาข้อความจาก ข่าวก่อนหน้านี้ มาเขียนใหม่แล้วกันนะครับ

By: jokerxsi on 14 March 2019 - 18:10 #1101423

ผมชอบหัวคิดก้าวหน้าแบบธนาธร แต่ตอนนี้ยังไงก็ไม่เชื่อ Hyperloop เพราะมันพูดมานานหลายปีแล้ว แต่ไม่มี Prototype เลยมันไม่น่าสงสัยเหรอ รถไฟฟ้าญี่ปุ่นยังมีสถานีทดลองรถไฟใหม่ๆ ถ้าให้ Hyperloop มีใกล้เคียงแบบนั้นได้ก่อนผมถึงจะเชื่อ

ใจผมนะ วิจัยระบบ Maglev ก่อนดีกว่าไหม เพราะยังไงก็ได้ใช้แน่ๆ Hyperloop ก็ Maglev ในหลอดสูญญากาศนั้นแหละ

Hyperloop ได้เปรียบ Maglev แค่เรื่องไม่มีแรงด้านอาจจะใช้พลังงานในการเคลื่อนที่น้อยกว่าจริง นอกนั้นไม่น่ามีอะไรถูกกว่า Maglev เพราะมันคือ Maglev ในหลอดคุมความดัน ถ้าบอกว่าผลิต Hyperloop ในไทยได้ ทำไมจะผลิต Maglev ในไทยไม่ได้

ช่วยทดลองตอนท่อแตกด้วยว่าคนใน Pod ที่ห่างไปสัก 200 - 300 เมตร ไม่ตาย

ถ้าใช้ตัวเลขความเร็วกับอัตราการปล่อย Pod แบบนี้ สถานีน่าจะมีความซับซ้อนไม่น้อยนะ เพราะน่าจะต้อง Load คนเรียงไว้ก่อน เพราะมันมีเวลาแค่ 85 วินาทีแค่นั้นเอง

ยังดีที่ประกาศเป้าหมายไว้เป็นปี 2030 เพราะไม่น่าเกิน 2025 ก็น่าจะชัวร์ว่า Hyperloop Work หรือไม่ตอนนี้ยังคาดว่าที่พอเป็นไปได้คือ Maglev ในท่อความกดอากาศใกล้เคียงความสูงประมาณ 8,000 ฟุตครับ

By: mk-
Symbian
on 14 March 2019 - 20:07 #1101442 Reply to:1101423
mk-'s picture

Maglev จีนใช้อยู่ ระบบของเยอรมัน จีนมองว่าแพงไม่คุ้ม เลยหันไปทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงธรรมดาๆ
ระบบของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ยังทดลองอยู่ ตอนนี้ก็มีแต่เส้นทางทดลอง
ผมไม่ค่อยอยากจะเชื่อเท่าไหร่ว่าแคนาดาจะเก่งกว่าเยอรมันหรือญี่ปุ่น

By: nrml
Contributor In Love
on 14 March 2019 - 18:18 #1101426
nrml's picture

ดูไบสร้างสิ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าน่าเหลือเชื่อ เปลี่ยนทะเลทรายเป็นเมือง ถมทะเลสร้างเกาะพัฒนาเป็นโรงแรมที่พักอาศัยได้ ถ้าคนที่ริเริ่มตอนนั้นยอมถอดใจง่ายๆ ก็คงจะไม่มีดูไบในวันนี้

By: beatlebb
iPhone Android Symbian
on 14 March 2019 - 18:34 #1101427
beatlebb's picture

เขาแค่เปิดเผยผลการศึกษาเอง ยังค้องทบทวนกันอีกหลายขั้นตอน แล้วถ้าไม่กล้าฝัน ก็ไม่ต้องไปไหนกันเลย นวัตกรรมเกิดขึ้นเพราะความกล้าฝันทั้งนั้น

By: obnetarena
Windows Phone Windows
on 14 March 2019 - 19:31 #1101431

Hyperloop ในประเทศไทย น่าสนใจนะครับ คือ อย่างแรกเป็นประเทศท่องเที่ยวการเดินทางย่อมเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้

ต่อมาคือโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมที่มีอยู่ไม่ดีเอาซะเลย ไม่มีรถไฟความเร็วสูงมาเป็นคู่แข่งดังนั้นแล้วลงทุนที่ hyperloop เลย ก็ยังได้ครับถ้าต้นทุนไม่ห้างกันเท่าไหร่

ถ้าเราต้องทำ 1 2 3 ตามคนอื่น เมื่อไหร่เราจะเป็นผู้นำสักทีล่ะครับลองคิดดูถ้าผมอยากใช้ iPhone XS ผมต้องไปไล่ซื้อ iPhone 2 iPhone 3 ไล่มาก่อนหรือเปล่า ก็ไม่เลย เพราะเทคโนโลยีมันคือดูกันที่ ปัจจุบัน ไม่ใช่ไล่ตามประวัติศาสตร์

By: Neoz
Android Windows
on 14 March 2019 - 19:36 #1101432

ใครสนใจ หรือยังสงสัยรอดู Facebook Live คืนนี้ 20.00 น.ครับ เป็นคลิปที่การบันทึกแถลง

Facebook Live บันทึกการแถลงข่าว “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย”.
โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ.
https://www.facebook.com/ThanathornOfficial

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 14 March 2019 - 20:20 #1101450 Reply to:1101432
บันทึกการแถลงข่าว “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมไทย”

“อนาคตใหม่” แถลงผลศึกษา “ไฮเปอร์ลูป” ในไทย สร้างงาน 1.8 แสนตำแหน่ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9.7 แสนล้านบาท พร้อมนำไทยสู่การเป็นแนวหน้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโลก
.
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษาโนบายคมนาคมพรรคอนาคตใหม่ จัดแถลงข่าว “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย” โดยนายธนาธรเริ่มต้นโดยการอธิบายหลักวิธีคิดและวิธีการออกแบบนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ โดยยึดหลักการสร้าง “คนไทยเท่าเทียมกัน ประเทศไทยเท่าทันโลก” ทำให้นโยบายที่ออกแบบมาแต่ละด้านจะร้อยรัดกัน มีลักษณะพลิกประเทศเพราะแก้ปัญหาที่ต้นตออย่างยั่งยืน แต่ที่ผ่านมาตนและพรรคอนาคต-ใหม่แสดงออกชัดเจนเกี่ยวกับจุดยืนและนโยบายทางด้านการ “สร้างคนเท่าเทียมกัน” มาตลอดหลายเดือนแล้ว แต่ที่ตนและพรรคยังไม่ได้แสดงให้ประชาชนเห็นชัดก็คือนโยบาย “สร้างไทยเท่าทันโลก”
.
โดยนายธนาธรกล่าวย้อนถึงการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงยุคทศวรรษที่ 1980-1990 ประเทศไทยเคยได้รับการขนานนามว่าเป็นเสื้อตัวที่ห้าแห่งเอเชีย ที่จะกลายเป็นประเทศร่ำรวยต่อจากฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่กลับทำไม่สำเร็จ แถมประเทศไทยยังถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ ในขณะที่ประเทศที่ตามหลังไทยอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียก็เริ่มไล่กวดไทยจนไกลจะแซงหน้าไทยแล้วเช่นกัน
.
เมื่อพูดถึง “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ปี 2540 คนส่วนใหญ่จะนึกถึงแค่ ปัญหาการจัดการเศรษฐกิจมหภาคหรือการต่อสู้กับการเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่นั่นเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ปัญหารากฐานของเศรษฐกิจที่อยู่ลึกกว่านั้นคือ การเติบโตที่ผ่านมาของไทยตั้งอยู่บนเป้าหมายการเป็น “ฐานการลงทุน” ให้กับกิจการต่างชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ตัวเลขส่งออกและจีดีพีสูงขึ้นภายในเวลาสั้นๆ และมีการจ้างงาน รายได้เข้าประเทศแค่เพียงผิวเผินเท่านั้น ไม่ยั่งยืน แต่เราไม่เคยสนใจการพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะความสามารถของเราเองอย่างจริงจัง จนงานวิชาการหลายชิ้นเรียกการพัฒนาของไทยว่าเป็น Technologyless Industrialization หรือ “การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไร้เทคโนโลยี” ซึ่งทำให้ในระยะยาว ไทยไม่สามารถไล่กวดทันกับประเทศอื่นได้
ซึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมมีเทคโนโลยีเฉพาะตัว ประเทศที่มาทีหลังมี 3 ทางให้เลือก ก็คือ
1. Path-following Strategy การเดินตามผู้นำ โดยให้ผู้นำถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้มาให้ทีละขั้นตอน ซึ่งประเทศไทยมัดเดินตามเส้นทางนี้มาตลอด แต่เกาหลีใต้และไต้หวันประสบความสำเร็จมาแล้วจากการเดินตาม 2 ทางเลือกต่อไปนี้ คือ�
2. Path-skipping Stategy อาศัยความได้เปรียบจากการมาทีหลัง ข้ามลัดขั้นตอนลองผิดลองถูกของผู้นำ และ�
3. Path-creating Strategy กล้าเลือกเส้นทางใหม่เลย�
.
ดังนั้นเทคโนโลยี “ไฮเปอร์ลูป(Hyperloop)” ถือเป็นหนึ่งในหลายความเป็นไปได้ที่ทำให้เรามุ่งสู่เส้นทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย
.
ทางด้าน ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ กล่าวแนะนำไฮเปอร์ลูป ว่าเป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาพัฒนา มีระบบการทำงานลักษณะคล้ายตู้ทรงกระบอกความยาวประมาณ 25 เมตรที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแม่เหล็กไฟฟ้าภายในท่อที่มีแรงกดอากาศต่ำใกล้เคียงสูญญากาศ เพื่อลดแรงเสียดทานจากปัจจัยต่างๆ โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วถึง 1,100 กม./ชม. แต่ใช้พลังงานและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ
.
ส่วนรายละเอียดผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและประโยชน์ที่จะได้รับจากไฮเปอร์ลูปในประเทศไทย ต้นแบบการศึกษาเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ และกรุงเทพ-ภูเก็ต พบว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้สูง เพราะอาจมีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูง และได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่น้อยไปกว่ากัน (คาดว่าประมาณ 9.7 แสนบ้านบาท) โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างงานในประเทศได้ถึง 1.8 แสนตำแหน่งงาน และไฮเปอร์ลูปมีความปลอดภัยและความสเถียรและโดยเฉพาะความสะดวกรวดเร็วที่ถือว่าดีที่สุดเมือเทียบกับการเดินทางแบบอื่นๆ
.
สุดท้าย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวสรุปว่าพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เสนอนโยบายให้สร้างไฮเปอร์ลูปทันที แต่จะเสนอนโยบายตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไฮเปอร์ลูปทั้งหมดเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างอุตสาหกรรมไฮเปอร์ลูป อย่างไรก็ตามหากพบว่าผลการศึกษาหรือการวิจัยพัฒนานั้นไม่สามารถทำได้จริง ก็ยังมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมายที่ได้องค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีไฟฟ้า อวกาศ เกษตร คมนาคม ระบบการขึ้นรูปโลหะ ระบบปรับแรงดันอากาศ ฯลฯ
.
แต่หากเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปประสบความสำเร็จ ไทยจะเป็นประเทศที่ขยับจากผู้ตามไปเป็นผู้นำ สามารถผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ สามารถขยับที่ทางของประเทศไทยไปเป็นแนวหน้าของประเทศอุตสาหกรรมโลกได้ ตามแนวทาง Path-skipping Stategy และ Path-creating Strategy
.
และนี่คือวิสัยทัศน์ของพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมประเทศไทยของพรรคอนาคตใหม่
.
โดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวว่าจะเปิดเผยรายงาน Preliminary Feasibility Report ในช่วงหลังการเลือกตั้งเพราะหากเปิดเผยในช่วงนี้มีความเป็นไปได้ว่าอาจขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ ดังนั้นคาดว่าจะเปิดเผยในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 โดยรายงานผลการศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น แต่ทุกคนสามารถนำไปศึกษา พัฒนา อ้างอิง ทำซ้ำ ดัดแปลง และวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่ โดยถือว่าผลการศึกษาชิ้นนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของสาธารณะ
.

โพสต์โดย Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2019

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 14 March 2019 - 20:03 #1101437

เพจ IO เพิ่งด่าเช้าๆว่าไม่ยอมแถลง ตอนนี้แถลงสักที หน้าหงายกันไป

ส่วนตัวผมนับถือตรงที่มีการศึกษาจริงจัง ไม่ใช่ฟังใครโม้แล้วโม้ต่อ ส่วนความเป็นไปได้ ต้องอภิปรายกันอีกยาว ตอนนี้เรื่องข้อจำกัด พูดมากไม่ได้ เพราะโดนจ้องยุบพรรคแน่ ถ้าเพิ่มนโยบายที่ไม่แถลงแต่แรกไป

ป.ล.คคห.หลายๆคน เหมือนcopy จากชุดความคิดที่เพจ IO ปล่อยออกมาเป๊ะๆเลย คือเริ่มต้นด้วยการดูถูกว่าไม่มีความรู้แต่เลียนแบบคนดัง....โดยไม่อภิปรายถึงเนื้อหาความเป็นไปได้

ป.ล.2 ขำตรง เพจ IO เจ้าเดิม ออกมาด่าว่า powerpoint ลอกจากเวบเฉยๆ ไม่ใช่การศึกษาใหม่ เอ้า เขาก็เชิญทีมงานต้นฉบับมาตอบข้อซักถามเอง ยังจะบิดเบือนหาว่าไม่ได้ศึกษาจริงอีก?

By: Mujinot on 14 March 2019 - 20:04 #1101440 Reply to:1101437

ไม่เอาครับ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติครับเครื่องบิน 1.30 ชม ครับ จบครับ

คนฉลาดใช้ดินสอ บนอวกาศครับ

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 14 March 2019 - 20:16 #1101447 Reply to:1101440

ไปเชียงใหม่ เครื่องบินใช้เวลาเดินทางรวมมากกว่า 3-4 ชั่วโมงครับ(เผื่อ check-in เผื่อดีเลย์) ถึงจะมี web check-in ที่ย่นเวลาตรงนี้ลงได้บ้างก็เถอะ

ยังไม่นับว่า ข้อจำกัดของเครื่องบิน คือมันไม่มีแวะจังหวัดใกล้ๆครับ อย่างจ.พิษณุโลก นี่ก็สายการบินเปลี่ยนกันไปเยอะ เพราะส่วนใหญ่จะเจ๊ง เนื่องจากราคาไม่สัมพันธ์กับระยะทาง จ่ายพอๆกับบินไปเชียงใหม่เชียงราย

ในขณะที่รถไฟความเร็วสูงหรือ hyperloop มันตอบโจทย์ตรงนี้ได้ คือแวะจังหวัดรายทางได้ โดยราคาคิดเป็นสัดส่วนได้

ไม่งั้นจีนไม่สร้างเครือข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรอกครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 20:18 #1101448 Reply to:1101440
whitebigbird's picture

ผมไม่ได้เห็นด้วยกับ Hyperloop แต่ผมคงไม่ต้านทุกอย่างเหมือนกับพวกต้านรถไฟความเร็วสูงหรอก นี่แค่ศึกษายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผลการศึกษา หรือผล EIA จะผ่านมั้ย แถมธนาธรยังไม่ได้เป็น สส.ด้วยซ้ำ แต่คุณก็ต้านแบบ ad hominem ตลอด

ผมรู้สึกสงสัยขึ้นมาเลยว่าตอนก่อนรถไฟความเร็วสูงจะถูก ศาลฯ ตีตกไป คุณต่อต้านด้วยเหตุผลว่ามันทำลายทรัพยากรธรรมชาติรึเปล่า เพราะรัฐบาลปัจจุบันก็สานต่อโครงการ แต่ไม่เห็นมีใครต้านเลย พวกที่ต้านช่วงแรกก็เงียบกันหมด

By: Fourpoint
Windows Phone Android Symbian
on 14 March 2019 - 20:22 #1101452 Reply to:1101448

ที่ตลกคือ กลุ่มเพจที่เคยด่าเรื่องรฟครส ตอนรบ.ปู ว่าจะขนผักเหรอ เป็นหนี้50ปีเหรอ ฯลฯ ตอนนี้กลับมาอวยรบ.ตู่ โดยบอกว่า ถ้าไม่ได้รบ.ทหาร คงไม่ได้สร้างรถไฟฟ้าเต็มเมือง หรือเริ่มต้นรถไฟครส ได้ขนาดนี้(ที่กำลังสร้างที่ภาชี ระยะทาง 3km นั่นแหละ)

By: TNkyo
Android Ubuntu
on 14 March 2019 - 20:23 #1101451 Reply to:1101440
TNkyo's picture

ดินสอใช้บนอวกาศไม่ได้ไม่ใช่หรอครับ เพราะไส้ดินสอแตกเป็นฝุ่นได้ ตัวดินสอเองก็เป็นวัสดุติดไฟง่ายอีก

By: whitebigbird
Contributor
on 14 March 2019 - 20:34 #1101456 Reply to:1101451
whitebigbird's picture

การแก้ไขความคิดของคนที่เลือกจะเชื่อเรื่องเล่าที่บลัฟกันคงเป็นสิ่งลำบากครับ

By: raifa
Contributor iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 20:35 #1101457 Reply to:1101451

ดินสอบนสถานีอวกาศน่าจะเป็นแค่โจ๊กแหล่ะครับเหมือนเคยมีคนเอาข้อมูลมาแย้งอยู่ตามที่คุณอธิบาย เพราะมีความเสี่ยงเรื่องผงละอองคาร์บอน

By: Configuleto
Android Windows
on 14 March 2019 - 21:33 #1101464 Reply to:1101451
Configuleto's picture

เรื่องแบบนี้จริงๆกดหาใน gg, yt แปบเดียวก็รู้นะ แต่อย่างว่าละครับ จะมีคนมากแค่ไหนกันเชียวที่สนใจ validate สิ่งที่พูดตามๆกันมาให้จริงจัง

By: pepporony
Contributor Android
on 15 March 2019 - 06:22 #1101517 Reply to:1101451

ดินสอบนอวกาศ เป็นเรื่องเอาไว้คัดคนครับ 5555

คนที่เชื่อก็จะจัดอยู่กลุ่มหนึ่ง

By: anoid on 15 March 2019 - 07:53 #1101531 Reply to:1101517

จบเลย ที่สะสมมา 555

By: dedaa on 14 March 2019 - 21:15 #1101462 Reply to:1101440

คนฉลาด(ไม่)ใช้ดินสอ บนอวกาศ(หรอก)ครับ

By: Mujinot on 15 March 2019 - 16:54 #1101656 Reply to:1101462

ประเด็นนี้ยังคงใช้ดักยักย้อน "นักรู้กูกเกิล" ได้ดีเสมอมาเลยล่ะครับ

ผมบอกแล้วไงครับ "คนฉลาดใช้ดินสอ บนอวกาศ"

ที่มาของวลี "ดินสอบนอวกาศ" แท้จริงเป็นการเปรียบเปรยระหว่าง "ดินสอกด" และ "ดินสอเครยอน" ครับ

ในยุคบุกเบิกอวกาศ สหรัฐลงทุนวิจัยดินสอกด สำหรับอวกาศจริงๆครับ
และก็มีปัญหา มากมาย ที่สำคัญคือ "ใส้ดินสอหัก" จนกลายเป็นอันตราย
ในขณะที่รัสเซียใช้เพียง "ดินสอเครยอน" ซึ่งมีเนื้อนิ่มกว่า ผลิตง่ายกว่า แก้ปัญหาได้เกือบหมด

ก็ไม่น่าประหลาดใจเลยครับ ว่าทำไมหลายๆคอมเมนต์แม้จะเปิด "กูเกิล"แต่ก็ดูเหมือนจะอ่านเพียงฉาบฉวยกันเท่านั้น

https://twistedsifter.com/2017/07/the-nasa-space-pen-story-is-false/

การแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด คือการใช้สิ่งที่มีอยู่แก้ปัญหา
ในการพัฒนาต่างๆ จะมีหลัก ที่เรียกว่า MVP (minimum viable product) เป็นหลักในการพัฒนา
ซึ่งคนไอทีจะเจออยู่ทุกวันครับ

กลุ่มเป้าหมายและเหยื่อของการสร้างภาพ ก็เป็นกลุ่มคนแบบนี้แหละครับ
ยุคนี้ผมก็ไม่ได้คาดหวังคอมเมนต์ที่มีคุณภาพจากที่นี่เท่าใหร่หรอกครับเพราะกลายเป็นบอร์ดดึงดูด แฟชั่นนิสต์ สรรหาความแลดูดีประดับตัวเป็นหลักไปเสียแล้ว
สมัยก่อนมีแต่เรื่องน่าเบื่อที่คนอ่านไม่ค่อยเข้าใจ แต่จะได้เห็นคนเก่งๆ ซึ่งหายไปหมดแล้วสนทนากันอย่างลึกซึ้ง

blognone นี่ผมก็เดินผ่านอยู่บ้างนะครับ คิดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นข้างล่างจัง เมื่อใหร่จะปรับปรุงเสร็จกันนะ

By: nrml
Contributor In Love
on 15 March 2019 - 17:15 #1101660 Reply to:1101656
nrml's picture

้น่าสนใจดีครับ ที่คุณยกคำว่าคอมเมนต์ที่มีคุณภาพขึ้นมา ผมก็อยากรู้เช่นกันว่า เต็มสิบคุณจะให้คะแนนคุณภาพของแต่ละคอมเมนต์ที่คุณโพสต์มาในช่วงวันสองวันที่ผ่านมาเป็นเท่าไหร่บ้างครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 17:50 #1101666 Reply to:1101656
whitebigbird's picture

น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง แถม crayon ก็ยังผิดอยู่ดี

ไร้สาระครับ

By: sunVSmoon
Windows
on 15 March 2019 - 18:46 #1101672 Reply to:1101656

“ในยุคบุกเบิกอวกาศ สหรัฐลงทุนวิจัยดินสอกด สำหรับอวกาศจริงๆครับ
และก็มีปัญหา มากมาย ที่สำคัญคือ "ใส้ดินสอหัก" จนกลายเป็นอันตราย
ในขณะที่รัสเซียใช้เพียง "ดินสอเครยอน" ซึ่งมีเนื้อนิ่มกว่า ผลิตง่ายกว่า แก้ปัญหาได้เกือบหมด”

“Both pencils came with their own set of problems. For mechanical pencils, when the lead broke—as it so often does (even for astronauts!)—it would float around and could either get in someone’s eye or find its way into the machinery, perhaps shorting an electronic device. More concerning was that lead is a flammable material in a high-oxygen environment. (See Apollo 1: Fire)For grease pencils, it was highly smudgy and imprecise. You also had to peel layers of paper which caused waste. And like its mechanical counterpart it was flammable.”

อ่านเพียงฉาบฉวย…???

By: Configuleto
Android Windows
on 15 March 2019 - 20:25 #1101693 Reply to:1101656
Configuleto's picture

แหมๆ พอผมคอมเม้นว่าแค่ gg นิดเดียวก็รู้ เลยไปค้นบทความมาวางซะ

แต่เสียดาย ถ้าอ่านบทความ(ที่คุณยกมาเอง)ให้มันจบ จะรู้ว่ามันหักล้างคำพูดคุณเองหมดเลยครับ 55555

ผมบอกแล้วไงครับ "คนฉลาดใช้ดินสอ บนอวกาศ"

แสดงว่ารัสเซียที่ใช้ดินสอก็ไม่ฉลาดสิครับ ที่ซื้อปากกา Fisher ไปใช้ด้วย

Fisher offered the pens to NASA in 1965, but, because of the earlier controversy, the agency was hesitant in its approach. In 1967, after rigorous tests, NASA managers agreed to equip the Apollo astronauts with these pens. Media reports indicate that approximately 400 pens were purchased from Fisher at $6 per unit for Project Apollo (at a 40% discount). The Soviet Union also purchased 100 of the Fisher pens, and 1,000 ink cartridges, in February 1969, for use on its Soyuz space flights.

........

ที่มาของวลี "ดินสอบนอวกาศ" แท้จริงเป็นการเปรียบเปรยระหว่าง "ดินสอกด" และ "ดินสอเครยอน" ครับ

No, it's not.

มันการเปรียบเทียบระหว่างปากการาคาแพงกับดินสอ อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจกันนั่นละครับ

..นี่คุณพยายามดึง narrative เต็มที่สุดๆ สีข้างถลอกแล้วหายาทาหน่อยครับ

........

ในยุคบุกเบิกอวกาศ สหรัฐลงทุนวิจัยดินสอกด สำหรับอวกาศจริงๆครับ
และก็มีปัญหา มากมาย ที่สำคัญคือ "ใส้ดินสอหัก" จนกลายเป็นอันตราย
ในขณะที่รัสเซียใช้เพียง "ดินสอเครยอน" ซึ่งมีเนื้อนิ่มกว่า ผลิตง่ายกว่า แก้ปัญหาได้เกือบหมด

ก็อีกละ จากบทความที่คุณยกมาเองนั่นละ

For grease pencils, it was highly smudgy and imprecise. You also had to peel layers of paper which caused waste. And like its mechanical counterpart it was flammable.

¯\_(ツ)_\/¯

By: Mujinot on 15 March 2019 - 21:20 #1101701 Reply to:1101693

ก็น่าจะเห็นแล้วนะครับ ว่าเป็นการร่ำลือที่ผิดๆต่อกันมา

จากข้อเท็จจริงของ
ดินสอกด (ผลิตลงทุนวิจัยโดย usa) > ดินสอเครยอน
ของรัสเซีย ภายใต้กรอบเวลาเดียวกัน

ผวนผันเป็น ปากกา (ที่วิจัยโดย Nasa) > ดินสอ ของรัสเซีย

จุดนี้ใช้ดักกลุ่มคนที่สนใจหลักฐาณชั้นต้น กับชั้นมือสองได้อย่างดี

ปากกาของ Fisher นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจาก Nasa ตามคำร่ำลือเรื่องการลงทุนวิจัยปากกาเลยแม้แต่น้อยNasa ลงทุนกับ "ดินสอกดที่เที่ยงตรง" ครับผม

จะเห็นได้ว่าวลี "ดินสอบนอวกาศ" มีเนื้อหาที่แท้จริงอยู่ที่ "ดินสอสองแท่ง ของสองประเทศ"ตามที่ผมได้เขียนตั้งแต่แรกทุกประการ

บทสรุปของเรื่องก็คือ Nasa สูญเงินวิจัยดินสอกด และยังต้องเสียเงินซื้อปากกาอีกด้วยในขณะที่รัสเซียใช้เพียงดินสอฉลาดๆ ยังมีเงินเหลือไปซื้อปากกามาใช้

Hyperloop ก็ไม่ได้ต่างกัน แถมยังเป็น "ดินสอเลเซอร์ มายา" ซึ่งไม่มีอยู่จริงอีกด้วย

ขอให้สนุกกับการอ่านบทความเก่าๆ เหล่านี้เยอะๆนะครับ :)

By: sunVSmoon
Windows
on 15 March 2019 - 22:12 #1101713 Reply to:1101701

ขอให้สนุกกับการแถข้างๆ คูๆ นะครับ ... เอาที่สบายใจเลย...เปลืองโควตา comment จริงๆ ด้วย

By: Configuleto
Android Windows
on 15 March 2019 - 22:35 #1101715 Reply to:1101701
Configuleto's picture

โอ้โห

โอเคครับ เอาที่สบายใจเลย

By: nrml
Contributor In Love
on 15 March 2019 - 22:40 #1101716 Reply to:1101701
nrml's picture

ขอ Quote คอมเมนต์ด้านบนมาใช้ตรงนี้ด้วยแล้วกันนะครับ

"อิหยังวะ"

มาปักธงเอาไว้เผื่อว่าคอมเมนต์ด้านบนนี้อาจจะกลายเป็นคอมเมนต์คุณภาพทรงคุณค่าแห่งปี 2019

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 16 March 2019 - 06:04 #1101768 Reply to:1101701
zerocool's picture

ที่ผ่านมาเคย pitching จนปิด deal สำเร็จบ้างไหมครับ ?


That is the way things are.

By: raifa
Contributor iPhone Android Windows
on 17 March 2019 - 20:02 #1101946 Reply to:1101701

ยิ่งอ่านยิ่งงงแฮะ

By: Musoft
Windows Phone
on 18 March 2019 - 08:26 #1101988 Reply to:1101701
Musoft's picture

ตามมาหลายคอมเม้น สิ่งที่คิดในหัว "___อะไรเนี้ย???" ทำไมต้อง อธิบายชวนสับสน ขนาดนี้

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 15 March 2019 - 00:40 #1101499 Reply to:1101440
zerocool's picture

ผมอ่านความคิดเห็นคุณมาหลายอันเกี่ยวกับข่าวธนาธร ผมไม่ชอบลักษณะการตอบโต้ของคุณนะ คือคุณเป็นประเภทที่ตอบโต้ comment คนอื่น ๆ แต่คุณมักไม่เคยตอบเวลาที่คนอื่นมา reply แย้งตอบคุณอีกครั้ง มันดูไม่มีมารยาทนะ

ข้อมูลหลายอย่างที่คุณยกมาทั้งให้เหตุผลก็ดี ทั้งใช้โจมตีก็ดี คุณควรจะยกหลักฐานอ้างอิงมาด้วยนะ ทำเป็น link ไปยัง source ที่คุณได้อ่านมาก็ได้ การโต้เถียงของคุณมันจะได้ดูน่าเชื่อถือขึ้นมาบ้าง แล้วก็เลิกเถอะที่บอกว่าตัวเองฉลาดอย่างนั้นอย่างนี้ คนอื่นเขาไม่รู้หรอกครับว่าจริงหรือไม่จริง สิ่งเดียวที่จะแสดงระดับสติปัญญาของคุณออกมาได้ที่นี่คือ ข้อความความคิดเห็นที่คุณพิมพ์ออกมานี่แหละ

กลับมาเรื่องที่ comment นี้บ้าง ผมไม่รู้ว่าคุณพูดจริง (เพราะความไม่รู้) หรือว่าพูดเล่นนะ แต่บนยานอวกาศเนี่ยเขาไม่ได้ใช้ดินสอกัน มันใช้ไม่ได้ ใช้ทีมีเศษผง carbon ลอยฟุ้งแถมยังติดไฟง่ายอีก ลองไปหาข้อมูลดูนะครับ


That is the way things are.

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 02:37 #1101507 Reply to:1101499
whitebigbird's picture

ผมไม่คิดว่าเค้าจะตอบนะครับ เค้าเหมือนเข้ามาแบบมีจุดหมายคือมา discredit ธนาธรด้วยวิธีแบบที่น่าจะใช้ได้แค่ตามเพจเรารักลุงตู่อะไรแนวๆ นั้น

คือไม่ได้มีความคิดเป็นของตัวเอง แค่แพร่ false info แล้วก็จบงาน

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 15 March 2019 - 08:19 #1101536 Reply to:1101507
zerocool's picture

ผมก็คิดแบบนั้นครับ แต่ก็ยังแอบหวังลึก ๆ ว่าเขาจะไม่ใช่อย่างที่ผมคิด


That is the way things are.

By: whitebigbird
Contributor
on 18 March 2019 - 19:48 #1102057 Reply to:1101536
whitebigbird's picture

doanga?

By: จักรนันท์ on 18 March 2019 - 18:30 #1102050 Reply to:1101507

ผมเพิ่งได้มาอ่าน Comment ในข่าวนี้นะครับ

การที่เขารู้จัก Ginzado นั้น ผมคาดว่าเขามาเพื่อ discredit ตัว Blognone นี่แหละครับ

การเจาะจงสื่อถึงสิ่งที่เฉพาะคนที่อยู่บนอาคารเท่านั้นที่รู้ด้วยว่าหมายถึงอะไรถ้าผมเป็นคุณยอด, lew หรือ mk ผมจะจับตาว่าอาจเป็นการส่งสัญญาณ "คุกคาม" ได้ครับ

ผมอาจจะ Paranoid เกินไปก็เป็นได้ด้วยเช่นกัน

By: jokerxsi on 14 March 2019 - 21:58 #1101470 Reply to:1101437

ก็ต้องระวัง IO จริงๆแหละ เพราะเห็นแล้วว่ามีจริง
เห็นด้วยที่จะวิจัย ถ้าเป็นเงินตัวเองจะวิจัยอะไรก็ได้
แล้วถ้าวิจัยด้วยเงินตัวเองแล้ว Work จะทำเอาขายในประเทศหรือต่างประเทศก็ไม่น่าใช่เรื่องน่าเกลียดนะ

ถ้าให้ผมวิจารณ์เลยผมมองว่ามันดูออกตัวแรงก่อน Prototype ไปหน่อยกลัวมันจะกลายเป็น Theranos2 นะ มันดันมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ไม่มี Prototype ที่ทำงานได้จริงหลังประกาศมานานแล้ว!!!

ว่าก็ว่าถ้าไม่ได้ Hyperloop ก็ไม่เป็นไร ถ้าได้รถไฟที่ไปกรุงเทพถึงเชียงใหม่ภายใน 1:30 หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง ผมก็ปรบมือให้แล้ว ซึ่งผมว่ามีไม่กี่คนที่ทำได้และยังเชื่อว่าธนาธรอยู่ในนั้นด้วย

หวังว่าพวกเพจ IO ไม่เอา Comment ผมไปใช้นะ

By: TNkyo
Android Ubuntu
on 14 March 2019 - 23:04 #1101484 Reply to:1101470
TNkyo's picture

เห็นด้วยครับ หลังจากได้ฟังแถลงธนาธรแล้วลองไปหาข้อมูลจากฝั่งที่บอกว่า Hyperloop จะไม่สำเร็จซึ่งมันก็มีประเด็นที่น่าคิด คงต้องรอดูผลศึกษาฉบับเต็มต้องมีการถกเถียงอีกยาวเป็นประเด็นทางสังคมกันไป

แต่ถ้าทำได้จริงประเทศไทยคงได้อยู่ในกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีกับเค้าบ้าง เอาเป็นว่าสนับสนุนในวิสัยทัศน์แล้วกัน

By: PandaBaka
iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 21:18 #1101463
PandaBaka's picture

ทำไมอ่านไปอ่านมาเหมือนพอได้รับเลือกปุ๊ปเสกของลงได้ปั๊ปหว่า ของจริงมันจะของบง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ - -*

By: chalitbur
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 14 March 2019 - 22:06 #1101472 Reply to:1101463

2030 ?

By: PandaBaka
iPhone Android Windows
on 14 March 2019 - 22:45 #1101479 Reply to:1101472
PandaBaka's picture

2030 หมายถึงเข้าปุ๊ปเสกงบมาได้ปั๊ป เสนอโครงการได้ไม่โดนตีตกผ่านฉลุยนะครับ

ในความเป็นจริงโครงการแบบนี้ต่อให้เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากยังยากเลยครับ เพราะสุ่มเสี่ยงเรื่อง R&D กับเทคที่อยู่ในขั้นทดลอง โครงการประเภทเผางบถ้ายาวไปไม่น่าจะรอดมักโดนสอยก่อน

By: chalitbur
iPhone Windows Phone Android Red Hat
on 15 March 2019 - 02:38 #1101509 Reply to:1101479

ถ้าจำไม่ผิด ในการแถลงข่าวระบุว่า ใช้งบ R&D ในช่วงแรกประมาณ 1,000 ต่อปี

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 15 March 2019 - 00:13 #1101492
TeamKiller's picture

กลัวพวกนี้มันเสีย ติดอยู่ท่อออกจากท่อไม่ได้ ไม่เหมือนรถไฟเปิดประตูมารอข้างนอกได้งี้

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 00:39 #1101498 Reply to:1101492
whitebigbird's picture

ผมก็กลัวครับ ตอน ARL เสียก็คาอยู่บนรางและไม่มีอากาศหายใจอยู่นานนะครับ นั่นขนาดมีประตูนะ

By: qo
iPhone Ubuntu Windows
on 15 March 2019 - 08:53 #1101542 Reply to:1101498
qo's picture

ARL ไม่มีอากาศหายใจอยู่นาน แต่ก็ไม่มีใครเป็นอะไรนะครับแต่อันนี้ค่อนข้างน่ากลัวจริงๆ คงต้องศึกษามาตรการรักษาความปลอดภัยอีกเยอะ

By: whitebigbird
Contributor
on 15 March 2019 - 09:18 #1101557 Reply to:1101542
whitebigbird's picture

กรณี ARL ผมว่าแค่ยังไม่เป็นอะไรครับ ถ้านานกว่านั้นล่ะมีปัญหาแน่ ผมจำได้ว่ามีหน้าต่างเปิดระบายอากาศอยู่นะ แต่ไม่รู้ทำไมว่าวันนั้นถึงไม่เปิดกัน

ในกรณี hyperloop ผมคิดว่ามันก็น่าจะหายใจได้ แต่ระยะเวลาน่าจะสั้นกว่าครับ

By: anoid on 15 March 2019 - 04:57 #1101513

ทะเยอะทะยานมากแนวคิดนี้ แต่ญี่ปุ่นได้ชินกันเซ็นมา JNR ก็ถึงขั้นล้มละลายเลยนะ
ผมว่า mindset แบบTJ มีไว้ก็ดี กล้าบวกดี ไม่กลัวเสีย
จริงๆอยากให้ของ Virgin มาศึกษาด้วย ดูเหมือนจะไปไกลกว่าของ Transpod

By: Bigkung
iPhone Windows Phone
on 15 March 2019 - 10:45 #1101581
Bigkung's picture

ถ้าไฟดับ จะตายทั้งอุโมงเลยมั้ยครับเนี่ย ระบบปิดใช่มั้ย นึกถึงเรือดำนามมากกว่าแฮะถ้ามีปัญหานี่ต้องรอคนมาช่วยเท่านั้น ไม่อย่างงั้นเตรียมขาดอากาศตาย และผู้โดยสารไม่ใช่ทหารฝึกด้วยวุ่นวายแน่ๆ ยังไม่รวมเรื่องแผ่นดินไหวในอนาคตของไทยอีก

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 15 March 2019 - 12:08 #1101598 Reply to:1101581
TeamKiller's picture

ไฟดับปกติตัวรถควรจะมีแบตสำรองนะครับ เพือรบบแสงสว่างกะบปรับอากาศ ถ้าอย่างพวก ARL ที่ดับ เห็นเขาบอกว่าแบตเสื่อมไม่ได้เปลี่ยน เลยไฟดับทั้งคัน จริงๆ จะอยู่ได้นานกว่านี้

แต่อย่าง Hyperloop ผมคิดว่าถ้าตัวรถมีไฟสำรองคงรถวิ่งคลานๆ ไปถึงทางออกฉุกเฉิน แล้วตัวรถเชื่อมประตู airlock ออกโลกภายนอกได้ ก็น่าจะรอดตาย ดีกว่าติดในตัวรถ ฮ่าๆ

By: wohlklang
iPhone Android
on 15 March 2019 - 12:19 #1101600 Reply to:1101598

อ่านแล้วเราควรกังวลเรื่องระบบราชการมากกว่าเทคโนโลยีอีกครับ รถเสื่อมสภาพแล้วแต่ไม่มีงบซ่อมบำรุง ใช้จนมันเสียกลางทาง

By: TheOrbital
iPhone Windows Phone Android Symbian
on 15 March 2019 - 12:43 #1101606 Reply to:1101600
TheOrbital's picture

ถ้ายกให้ รฟท ดูแลล่ะเตรียมตัวปาดเหงื่อกันได้เลย -_-"

By: TeamKiller
Contributor iPhone
on 15 March 2019 - 12:58 #1101607 Reply to:1101606
TeamKiller's picture

เห็นข่าวว่าจะให้เอกชนมาดูต่อ หรือไรสักอย่างนะครับ เลยไม่ยอมจัดซื้อรถเพิ่มเติม ทนๆ ใช้ไปแบบนี้ รถก็มีแค่พอดีวิ่ง ถ้าเสียคัน นี่ก็คิวแน่นล้นเลยมั้งครับยิ่งกว่า BTS ซึ่งปัจจุบันก็คนแน่นอยู่แล้วด้วย ซึ่งคนมาดูต่อจากนี้ ก็ไม่รู้จะมาเมื่อไรด้วยนะครับ

By: TEERAS on 15 March 2019 - 11:25 #1101589

comment เยอะสุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยครับ คุณธนาธร เรียกแขกดีจริงๆ

By: Bluetus
iPhone
on 15 March 2019 - 14:25 #1101622
Bluetus's picture

ถึงจะยังกังวลกับความปลอดภัยอะไรหลายๆ อย่าง

แต่อย่าลืมว่าเค้าก็กำหนดไปตั้ง 2030 เลยนะระดับ อีก 10 ปี

ยังไงก็ต้องมีการศึกษา ลง R&D กันอย่างเข้มข้นอีก

และมันก็ยังเป็นแค่หนึ่งในความหลาย อาจจะปัดตกก็ได้

ดูหลายคน offend กันหนักมาก 555

By: sakura
Contributor Windows Phone Symbian
on 15 March 2019 - 16:39 #1101654

7 วัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้ IDEO เป็นสุดยอดบริษัทออกแบบและสร้างนวัตกรรมระดับโลก

เคยสงสัยไหมว่าบริษัทระดับโลกที่สามารถสร้างสุดยอดนวัตกรรม ทำรายได้มหาศาล และเป็นที่ยอมรับจนใครๆ ก็อยากร่วมงาน มีวัฒนธรรมองค์กร ปรัชญา วิธีคิด หรือที่เรียกรวมกันว่า Core Value อย่างไรให้พนักงานได้ยึดถือและปฏิบัติตาม

เคน-นครินทร์ แชร์ประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับ ทอม เคลลี่ พาร์ตเนอร์ของบริษัท IDEO พร้อมเล่าถึง 7 ความเชื่อหลักจากหนังสือ The Little Book of IDEO ในพอดแคสต์รายการ The Secret Sauce

  • 1 มองโลกในแง่ดี (Be Optimistic)

เมื่อไรก็ตามที่เริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ หรือกำลังแก้ปัญหาสักอย่าง ให้เชื่อไว้ก่อนเสมอว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ เพราะถ้าคิดว่า ‘ไม่น่าเป็นไปได้หรอก อย่าลงมือทำดีกว่า’ สิ่งต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เปลี่ยนจากคำถาม ‘มันเป็นไปได้ไหม’ ให้เป็น ‘จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราลงมือทำ’ หรือ ‘จะเริ่มต้นทำอย่างไร’ ย่อมดีกว่า และทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

  • 2 ทำงานร่วมกัน (Collaborate)

สินทรัพย์ที่มีพลังมากที่สุดของ IDEO คือคำว่า ‘We’ สิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในศตวรรษที่ 21 เพราะปัจจุบันเราไม่สามารถทำงานได้คนเดียวอีกต่อไป ความถนัดย่อมแตกต่างหลากหลาย การสร้างสรรค์งานขึ้นมาหนึ่งโปรเจกต์จึงเกิดจากการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร รวมถึงการร่วมมือของหลายองค์กรเพื่อสร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับกลุ่มเป้าหมาย

  • 3 อย่ากลัวความไม่แน่นอน (Embrace Ambiguity)

ระหว่างทางที่กำลังทำโปรเจกต์ แน่นอนคุณไม่รู้หรอกว่าปลายทางจะเป็นอย่างไร แม้ว่าอยากให้ประสบความสำเร็จมากแค่ไหน แต่ก็ไม่อาจรู้ได้ถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอยู่ดี สิ่งนี้อาจทำให้เครียด กังวล ไม่มั่นใจ เชื่อเถอะว่าความรู้สึกคลุมเครือเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราวางแผนมาอย่างดีแล้ว สิ่งที่ทำได้คือตั้งใจทำให้ดีที่สุดเท่านั้นพอ

  • 4 เรียนรู้จากความล้มเหลว (Learn from Failure)

ในหนังสือ The Little Book of IDEO กล่าวไว้ว่า คุณควรขออภัยมากกว่าขออนุญาต เพราะทุกการทดลองย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้เสมอ ให้คิดไว้ว่านั่นเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้เพื่อต่อยอดสู่หนทางแห่งความสำเร็จนั่นเอง

  • 5 ทำให้คนอื่นประสบความสำเร็จ (Makes other Successful)

บริษัท IDEO มีพนักงานเก่งๆ มากมาย แต่ไม่ว่าจะเก่งแค่ไหน ทุกคนไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ และไม่มีทางเลยที่จะมีใครสักคนโดดเด่นหรือเก่งที่สุดตลอดเวลา ดังนั้นอย่าคิดถึงแค่ตัวเอง ทุกแผนกควรทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด พร้อมช่วยให้คนอื่นประสบความสำเร็จไปด้วยกัน

  • 6 มีความเป็นเจ้าของ (Take Ownership)

ทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของ เพื่อให้พวกเขาทำงานได้อย่างเต็มที่ และรู้สึกภาคภูมิใจในองค์กรของตนเอง

  • 7 พูดให้น้อย ลงมือทำให้มาก (Talk Less, Do More)

6 ข้อแรกที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่เริ่มต้นลงมือทำ ฉะนั้นเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เถอะครับ

ที่มา - หนังสือ The Little Book of IDEO ผ่าน THE STANDARD