กรณีการแบน Huawei ของรัฐบาลสหรัฐ อาจมีข้อยกเว้นให้บริษัทกลุ่มที่รับงานจากรัฐบาลสหรัฐ (contractor) มีเวลาปรับตัว ยังสามารถค้าขายกับ Huawei ได้อีก 2 ปี
สำนักงานการจัดการและงบประมาณของทำเนียบขาว (Office of Management and Budget หรือ OMB) ยื่นจดหมายขอให้สภาคองเกรส ยืดเวลาการแบนห้ามไม่ให้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารจากบริษัทที่เป็นภัยต่อความมั่นคง
คำสั่งแบนอันนี้เป็นคนละส่วนกับ คำสั่งทางปกครองของ Trump ที่ห้ามบริษัทเอกชนสหรัฐทำธุรกิจกับ Huawei ที่อยู่ในรายชื่อของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ แต่เป็นคำสั่งอีกชุดตามกฎหมายความมั่นคง (กฎหมาย National Defense Authorization Act ของปีงบประมาณ 2019) ที่ห้าม "หน่วยงานของรัฐ" ใช้อุปกรณ์ของ Huawei
คำสั่งห้ามหน่วยงานของรัฐใช้อุปกรณ์ของ Huawei ยังจะมีผลบังคับใช้ในปีนี้ แต่ส่วนที่ขอขยายเวลาอีก 2 ปี คือ "บริษัทเอกชนที่เป็นคู่สัญญาของรัฐ" ที่ต้องขอเวลาปรับตัว เพื่อรักษามาตรฐานความปลอดภัยให้ได้ตามที่รัฐบาลต้องการ
การตัดสินใจว่าจะยืดเวลาให้ตามคำขอของ OMB หรือไม่ ขึ้นกับมติของรัฐสภา
ภาพจาก Huawei
ที่มา - Reuters
Comments
ใจปลาซิวไม่แน่จริง
อีก 2 ปี คงรู้คำตอบชัดเจนที่สุดว่า คบ หรือ จากไป
นักร้องนำ modern dog
ธนชัย อุชชิน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ป๊อดดดดดดดดดดดดด
นึกว่าจะแน่ที่มาแหยมกับชาติพ่อค้า(ที่ตัวเองไปสะกิดให้ตื่น) สุดท้ายก็แพ้กลับมาทุกที ทั้งที่ประเทศตัวเองก็มียิวอยู่เยอะนะ แต่ก็แพ้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
อ้าวเห้ยยย แบบนี้จีนก็มีเวลาตั้งหลักดิ
ตอนนี้ พี่จีนเขา นอกจากตั้งหลักได้แล้ว
ก็กะลัง ง้างหมัดจะสวนกลับอยู่
อีแร้งหัวทองเห็นท่าไม่ดี ก็เลยรีบยกมือ ขอเวลานอก
+1
ผมมองว่ามันคือการตบหัวแล้วลูบหลังนะ
ออกมาตรการแรงๆ ให้ตกใจ แล้วผ่อนปรน เปิดช่องให้มาเจรจา
หลายคนบอกป๊อด แต่ตอนนี้คนเสียหายหนักคือฝั่งบริษัทนี่แหละ เสียชื่อ เสียภาพลักษณ์ที่ใช้เงินสร้าง brand มาไม่รู้เท่าไร ฝั่งเมกา ก็ยังซื้อของได้ตามปกติ...
ถั่ว, เนื้อ ที่ขายจีนอยู่ ก็ขายไม่ใด้ แต่นั้นไม่เท่าไร่
us เสียซื่อเสียงหนัก ระดับที่มีบางประเทศบอกว่าอยากกลับไปไช้ gold standard แทนเงิน us เลยนะ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เขาเคยทำสำเร็จกับ ZTE มาแล้วไงครับ ไม่เห็นมีใครเลิกใช้สิทธิบัตรของเมกา?
ตอน ZTE อเมริกายังทำตัวไม่น่าเกลียดมากแล้วจีนยอมนะ
แต่งวดนี้ อเมริกาน่าเกลียดเกินระดับใส่ Entity List จนคนเห็นชัดเลยว่าคบไม่ได้แล้วไม่แน่ต่อไป กฎหมายบังคับเปิดเผยเทคโนโลยี จะเป็นความชอบธรรมของประเทศต่างๆเลย
ขณะที่จีนมีกฎหมายนี้ ถ้ามีเรื่องก็ยังผลิตสินค้าเองต่อได้แต่เมืองไทยทำตัวรับจ้างผลิต พอค่าแรงสูง เค้าย้ายโรงงานก็ผลิตอะไรเองไม่ได้เลย
ผมว่าเหมือนมวยแบบ Hit&Run นะ
แบนไปแล้ว Huawei ยอดขาย/ความเชื่อมั่น เสียหายไปแล้ว
พอจีนกำลังจะสวนด้วย rare earth
ก็รีบผ่อนปรนก่อนจะซวย
แต่อเมริกาไม่จบแน่ๆ ยังมีไพ่ลูกสาวประธาน Huawei อีกใบ
ถ้าตบหัวแล้วฝ่ายตรงข้ามหงอ จะบอกว่ารอลูบหลังก็เรื่องนึงครับอันนี้คือตบหัวแล้วฝ่ายตรงข้ามง้างจะต่อย ตอนจะถอยก็เลยพูดได้ไม่เต็มปากว่าเปิดช่องเจรจา
จริงๆมันก็คงเป็นแผนของอเมริกาที่จะสร้างภาพผู้ใหญ่ตบเด็กเหมือนที่ทำมาตลอดละนะครับ เผอิญรอบนี้ฝ่ายตรงข้ามต่อยสวนเลย มันก็เลยไม่ได้ภาพเหนือกว่าแบบที่เคยทำ
ผมกลับเห็นว่า ฝั่งเมกาทยอยปล่อยหมัดหนักขึ้นเรื่อยๆ ดูจากการแบนที่ค่อยๆเข้มข้น จนถึง ARM ที่ดูไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แล้วถอยออกมาให้พักไปคิด ว่าจะสู้ต่อไหม
อันที่จริงยังมีไม้ตายเรื่อง android อีกอัน ที่ถ้าประกาศห้ามใช้ AOSP ก็จบเลย โดยอ้างว่าขัดต่อความมั่นคง
เรื่อง rare earth มีผลทำให้เมกาซื้อแพงขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะขาดแคลน ไม่ต่างจากคำขู่ของ apple ที่บอกว่า iphone จะแพงขึ้นนั่นแหละ
ระยะสั้น huawei กระทบความเชื่อมั่นของลูกค้าแน่นอน
แต่เรื่องการตั้งข้อหาที่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน
มาตรการที่ยึกๆยักๆไม่แน่นอน
กับการใช้ความเป็นมหาอำนาจของตัวเองบีบบังคับประเทศอื่นให้ทำตามคำสั่ง
ก็ทำให้ประเทศอเมริกาเสียเครดิตไปมหาศาลเหมือนกัน
งานนี้ไม่รู้ใครเสียหายมากกว่ากัน
แต่ที่แน่ๆ..
มังกรคงตื่นแล้ว
ผมว่าตื่นนานแล้วนะ ตั้งแต่ทรัมป์ไปยุ่งกับจีน อย่างบังคับให้จีนขึ้นค่าเงินหยวน แล้วเป็นไงสุดท้ายก็โดนจีนเล่นกลับ โดยขึ้นค่าเงินนิดเดียวแถมยังต้องรอถึง 3 ปี ถึงจะขึ้นตามที่จีนประกาศให้โลกรู้
ความเห็นส่วนตัว
ผมมองในมุมว่า Patent System ยึดโยงบน US นะ
ทำอะไรพลาด ถึงจะบอกว่าปลายทางคุมด้วยสิทธิบัตร แต่ถ้าขั้วใหม่จับกันได้จริงๆ
มันก็อาจจะเกิดระบบใหม่ที่ทำให้องค์กรลดความสำคัญลง
ส่วนตัวมองว่ามันก็สำคัญ มันเป็นเรื่องของการแข่งขัน แต่มันค่อนข้าง Unfair เพราะในขณะที่วิจิย พื้นฐานงานวิจัยทั้งโลกมันเหมือนกัน แต่สุดท้าย 1st Launcher มัน Take all .. แปลว่าโลกเสีย Research power ฟรีไปค่อนข้างมาก (แข่งกันทำเพื่อไปให้ไกลสุดๆ แล้วออก Patent) ช่วงหลังๆผมว่าหลายฝ่ายก็คิดนะ มันเลยมี Opensource มี GNU/GPL และอื่นๆ แล้ววงการฝั่งหลังมันก็ไปไวไปได้ไกลอยู่ sharing economy บนของที่เป็นปัจจัย หลักการพื้นฐาน มันดูพาโลกไปได้ไกลกว่า patent 25/50 years
ของหลายอย่างยุคหลังที่เป็น Patent มันเป็น Principal จ๋าๆด้วย
แต่ก็นั่นแหล่ะ มุมมองส่วนตัว
ระบบ opensource ก็ยัง"คุ้มครอง" ทรัพย์สินทางปัญญานะครับ เพียงแต่คุ้มครองในรูปแบบที่ไม่ผูกขาดโดยตรง แต่ก็ไม่ใช่จะยกให้ไปใช้ฟรีๆแบบไร้เงื่อนไข หรือขโมยไปทำต่อได้โดยไม่อ้างอิงต้นทาง (เช่นกรณีไปพัฒนาเพื่อขายต่อ)
อีกอย่างถ้าไม่มีคน contribute ให้ ระบบมันก็ไม่พัฒนาครับ องค์กรที่"บริจาค"เงินมหาศาลให้ foundation พวกนี้ ก็มาจาก บ.เอกชนใหญ่ๆในสหรัฐทั้งนั้น
กลับกันระบบ patent นี่แหละที่สร้างเทคโนโลยีให้พัฒนาได้มากขนาดนี้ โดยไม่ต้องรอมีสงครามใหญ่
ผมเห็นด้วยในบริบทว่า IP ควรได้รับการคุ้มครองนะครับ
แต่ Patent Wars ชนิดกว้านซื้ออยู่ในมือแล้วจำกัดการใช้งาน (ทั้งที่เป็น Race to win และทุกคนต้องลงทุน แล้วถ้าวิ่งเข้าเส้นชัยไม่ทัน ทุนก็จมไป) ต่างหากที่ผมคิดว่าเป็นปัญหา
คนที่ contribute เข้า foundation/opensource มีทั้งเชิงการกุศล เชิงเอาหน้า และเชิงพัฒนา ... แต่ตราบเท่าที่ contribute มากพอก็ควรพึงได้ใช้ (แต่จะเชิงไหนก็ดีหมด)
การได้ใช้กับการผูกขาดสิทธิ์และทุกคนต้องจ่ายเท่าที่ฉันจะเรียก ผมว่าเป็นปัญหาฉุดรั้งมากกว่า Product ที่มี patent แต่ละอย่าง ผมไม่เชื่อจริงๆว่าแต่ละแบรนด์ที่ถืออยู่เป็น Sole R&D + ในขณะที่พัฒนาไม่มีใครอื่นในโลกเลยสักบริษัทที่ "คิดเหมือนกัน" มันก็เกิดจากการรวมยอดกันทั้งนั้น แต่กว้านซื้อไปกว้านซื้อกันมา เหลืออยู่ที่รายในตลาดตอนนี้ ผมว่านับนิ้วมือหมด สำหรับ Patent ที่ "จำเป็นต้องมีในการพัฒนาโปรดักส์แต่ละชนิด"
ผมว่า Form factor ต่างๆ มันล้วนแล้วแต่มีคนคิดพร้อมกัน เช่น Multi touch มีใครในโลกคิดไม่ได้ ว่าถ้ามีจอหนึ่งอันต้องแตะได้หลายจุด (เพราะคนจะคิดได้ตั้งแต่ตอนมีจอแล้วว่าถ้าทำควรจะแตะได้นะ แต่ใครจะแตะได้ก่อน แต่ patent ทำให้การแตะปุ่มหลายจุดเป้นสิทธิ์ของบริษัทๆเดียว) [เคสยกเฉยๆ ผมเข้าใจว่าถอนไปหลายตัวแล้วแต่ไม่มั่นใจว่าตัวไหนบ้าง]
ที่ผมจะเน้นคือ ก่อนที่จะมีคนมาประกาศ Patent แทบไม่มี patent ไหนใดโลก ที่ฉันคิดแบบนี้ได้คนเดียว มันมีอีกทีมทำ ด้วยวิธีเดียวกัน ใกล้เคียงกัน เหมือนกัน หรือต่่างกัน เสมอ (เพราะ root ของแนวคิดแต่ละเรื่องมันเกิดมาพร้อมกัน เช่นเกิดหลอดไฟ ก็จะเกิดคำถามว่า ถ้ามีแสงสว่าง จะทำอะไรได้บ้าง ... patent ดันให้คนที่คิดว่ามีแสงสว่างและรู้ว่าจะทำอะไรได้ เป็นผู้ชนะ .. ทั้งที่คนอื่นก็คิดได้และกำลังพยายามทำสิ่งเดียวกัน แต่ทุนน้อยกว่า)
ซึ่งคนไม่เห็นด้วยก็ที่เห็นในฝั่ง Opensource ก็เยอะไงครับ และมันเลยมีกระบวนการป้องกันสิ่งนั้นด้วยสารพัด Licensing Model ที่ "คุ้มครอง" แต่คุ้มครองไม่เหมือนกันกับ Patent Model