Insurance Institute for Highway Safety ได้ทำผลสำรวจผู้ใช้เกี่ยวกับความเข้าใจในระบบอัตโนมัติ และพบว่าชื่อเป็นปัจจัยสำคัญสุดที่ทำให้ผู้ใช้ไว้ใจในระบบอัตโนมัติมากเกินไป โดยเฉพาะ Autopilot ของ Tesla ที่ทำให้ผู้ใช้คาดหวังในความสามารถเกินจริง
จากแบบสอบถามที่ IIHS สอบถามผู้ขับรถยนต์กว่า 2,000 คนเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติหลายค่าย ได้แก่ Autopilot (Tesla), Traffic Jam Assist (Audi และ Acura), Super Cruise (Cadillac), Driving Assistant Plus (BMW) และ ProPilot Assist (Nissan) พบว่า 48% ของผู้ตอบแบบสอบถามยินดีที่จะปล่อยมือจากพวงมาลัยบนรถ Tesla ด้วยระบบ Autopilot ตามมาด้วย 33% บนรถยนต์ Nissan ด้วยระบบ ProPilot นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้ 34% ที่ระบุว่าการคุยโทรศัพท์ในขณะเปิด Autopilot เป็นเรื่องที่รับได้ และ 6% บอกว่าสามารถนอนหลับในขณะเปิดโหมด Autopilot ได้
จากกราฟด้านล่างจะเห็นได้ว่า ผู้ใช้ไว้ใจ Autopilot มากที่สุดและสูงกว่าระบบอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด แต่ปัจจุบัน Autopilot รวมถึงระบบอื่น ๆ ยังเป็นระบบอัตโนมัติเพียง level 2 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่ามือของผู้ขับรถจะยังต้องถือพวงมาลัยตลอดเวลาที่เปิดใช้งาน ถ้าไม่ทำจะเป็นเรื่องอันตรายมาก
นอกจากนี้ IIHS ยังทำการศึกษาเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่แสดงบนชุดอุปกรณ์บนรถยนต์ด้วย โดยทดสอบกับ Mercedes-Benz E-Class ปี 2017 ที่มีระบบ Driver Pilot โดยให้ผู้ทดลองดูวิดีโอที่บันทึกจากตำแหน่งที่นั่งของรถยนต์ และจะถูกถามเกี่ยวกับสถานะการทำงานของฟีเจอร์ adaptive cruise control และ lane-centering ว่าถ้าเกิดฟีเจอร์เหล่านี้ไม่ทำงาน จะต้องอธิบายว่าทำไม โดยครึ่งหนึ่งของผู้ทดลองได้รับการบรีฟเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์แล้ว
จากการทดลอง IIHS พบว่าแม้ผู้ใช้เกือบทุกคนจะทราบว่าระบบเหล่านี้ไว้ใช้ทำอะไร แต่ถ้าระบบไม่ทำงาน กลับตอบไม่ได้ว่าทำไม ยิ่งถ้าเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่เคยได้รับการบรีฟมาก่อนจะสับสนด้วยว่าระบบเหล่านี้ทำงานอยู่หรือไม่
IIHS ระบุว่า โซลูชั่นที่ดีที่สุดคือการทำให้สัญลักษณ์ต่าง ๆ จากอุปกรณ์เข้าใจได้ง่ายขึ้น และการอธิบายเบื้องต้นจากดีลเลอร์ขายรถยนต์ก็ช่วยได้ด้วยเช่นกัน
Comments
ควรเปลี่ยนชื่อเป็นอะไรแนว ๆ self-driving assistance ได้แล้ว อุบัติเหตุกันมาเยอะเพราะคำว่า autopilot นี่ล่ะ คนไม่ได้ตามข่าวก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า autopilot ที่ใส่ในรถมีหลายระดับอีก ยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่
ไม่ตามข่าวคนขับก็ต้องรู้นะเพราะต้องกดเปิดใช้งานระบบนี้เอง แล้วก็ต้องกดตกลงคำเตือนกับข้อตกลงการใช้งานที่ขึ้นบนจอก่อนจะใช้ได้ด้วย
อย่าบอกให้ผู้ใช้ต้องระวังทุกอย่างเองสิครับฟีเจอร์ที่ดีคือ ต้องเข้าใจได้ง่ายและทันที ไม่ใช่ทุกอย่างต้องไปไล่อ่านใน EULA
ชื่อฟีเจอร์ก็การตลาดมากๆ ชวนเข้าใจผิดจริงๆ
ถ้าอยู่ๆมีคนมาถามว่าฟีเจอร์ autopilot กับ full drive ต่างกันยังไง? (ออกโดย Tesla ทั้งคู่)
ผมตอบไม่ถูกเหมือนกันนะ
มันไม่ต้องไปไล่อ่านนะมันขึ้นมาเต็มจอเลยตอนกดเปิดใช้ตัวอักษรก็ค่อนขัางใหญ่แล้วก็มีไม่กี่บรรทัดข้อความสำคัญก็อยู่บรรทัดบนๆหมด แต่ด้วยนิสัยคนแหละไม่อ่านอะไรพวกนี้หรอกต่อให้มีบรรทัดเดียวก็ตาม OK ข้ามๆไป
autopilot เหมือนเป็นชื่อเรียกรวมๆระบบมากกว่าไม่ได้เปิดทีเดียวได้ทั้งหมดต้องกดเปิดแยกแต่ละฟีเจอร์แล้วตอนกดเปิดแต่ละฟิเจอร์ก็จะขึ้นเตือนตลอด
"ต่อให้มีบรรทัดเดียวก็ตาม OK ข้ามๆไป" แปลว่าเราเห็นปัญหาชัดๆอยู่แล้วนี่ครับว่ามันไม่เวิร์ค ยิ่งในฐานะวิศกรด้วยแล้ว เราจะปล่อยให้คนเอาชีวิตมาเสี่ยงกับปุ่ม "Ok" ได้เหรอ เอาอย่างนั้นจริงๆเหรอ
อันนั้นมันก็เหมือนเป็นด่านแรกครับ การป้องกันอื่นๆก็มีเช่นแจ้งเดือนบนจอ ส่งเสียงเตือน รวมทั้งปิดการทำงานของ Autopilot ในการขับครั้งนั้นถ้าไม่สนใจคำเตือน
สุดยอดมาก ระบบที่มีผลกระทบกับชีวิตคนอื่นและตัวเองมีรุ่นเบต้าด้วย น่าเสียดายที่ Bing 747mix ไม่ได้ใส่คำนี้ในระบบก่อนจะซื้อ ที่เกิดปัญหาจะได้อ้างได้หรือเปล่า
จริงๆควรออกกฎหมายว่าถ้าจะโฆษณาระบบอัตโนมัตอะไรที่มีผลต่อชีวิตคนใช้ ก็เลียนแบบบุหรีไปเลย เอารูปตอนอุบัติเหตุมาติดพร้อมคำบรรยายว่าอะไรที่ไม่ควรทำเมื่่อใช้ระบบนี้ เช่น
" เปิดระบบ auto pilot รุ่น Beta แล้วไม่จับพวงมลัยและมองถนนตายอถาถตายไม่รู้ตัว " พร้อมรูปคนหรืออุบัติเหตที่เกิดพร้มอแถบคาดตาสีดำ อาจมีเซนเซอร์บ้างถ้าเลือดเยอะ
สังเกตว่า เรามักจะได้เห็นความเห็นในลักษณะนี้เสมอๆ ในข่าวเกี่ยวกับ Tesla
ก็ดูความหมายมันสิ ! ใครจะไม่คิด ?
len => lane
เรื่องความน่าเชื่อถือ?
ไม่ใช่ความหมายนี้ครับ ผมแก้ให้ความหมายชัดเจนขึ้นละครับ
จะย้อนไปดู แต่จำไม่ได้แหล่ว ขอบคุณฮะ
คือไม่เข้าใจว่า อุบัติเหตุมันเกิดกันโคตรง่าย การไปไว้ใจระบบพวกนี้คือไม่ได้ศึกษาหรืออ่านคู่มือกันเลยหรือไง เห็นแค่ชื่อก็คิดว่ามันต้องแจ่มเจ๋งฝากผีฝากไข้กันได้เลย
อ่านคู่มือ is so 2000!
ส่วนตัวถ้าหากมีโอกาสเป็นเจ้าของรถพวกนี้คงไม่กล้าไว้ใจอ่ะ เกิดระบบผิดพลาดขึ้นมาจะทำอย่างไร ต่อให้ขับเองแล้วเกิดอุบัติเหตุยังเสียใจน้อยกว่าวางใจให้ระบบพวกนี้
ตอนผมซื้อรถผมมองหาฟังก์ชันที่คุ้มอย่าง ครูยส์คอนโทรล แต่พอเอาเข้าจริงกลับไม่กล้าใช้ ใช้เท้าเหยียบเบรกเหยียบคันเร่งเองรู้สึกปลอดภัยกว่า 555
Autopilot ของ Tesla ช่วยชีวิตคนมามากมายนะ ทำนายอุบัติล่วงหน้าก็ได้
https://www.youtube.com/watch?v=RjGe0GiiFzw
ผมเห็นด้วยนะครับ ใครจะว่ายังไงก็เถอะ แต่สถิติมันโกหกไม่ได้ว่า Autopilot ของ Tesla มันปลอดภัยกว่ามนุษย์เป็นคนขับเองซะอีก ปลอดภัยกว่าเยอะด้วย เท่าที่ดูๆ มาก็เห็นว่าระบบมันล้ำไปไกลแล้วเพียงแต่ยังติดว่ามันยังถูกจัดใน category 2 ก็เท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าคนที่ขับ Tesla คงใช้มันจนรู้สึกไว้ใจได้แล้ว ก็เลยเกิดพฤติกรรมอย่างที่โพลสำรวจมา
เพียงแต่หลายๆ คนก็ชอบเอาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่กี่ครั้งของ Autopilot ยกมาอ้างว่ามันไม่ปลอดภัย ทั้งๆ ที่ถ้าเทียบกันตามอัตราส่วนแล้ว มนุษย์จับพวงมาลัยขับเอง เสี่ยงกว่ากันเยอะมาก ต้องยอมรับข้อนี้ให้ได้ว่าระบบอัตโนมัติมันปลอดภัยกว่ามนุษย์ขับเองแล้ว เพียงแต่มันยังมี % ข้อผิดพลาดอยู่ที่มันเอามาเล่นเป็นประเด็นได้ แต่ถ้าชั่งน้ำหนักแล้ว ระบบอัตโนมัติช่วยชีวิตคนไว้เยอะกว่า
คือเข้าใจประเด็นของเขาว่าระบบมันยังไม่น่าไว้วางใจจนควรจับพวงมาลัยไว้ตลอดเวลา แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าถ้ากรณีสุดวิสัยแล้ว กับเหตุการณ์ฉับพลัน การควบคุมพวงมาลัยของมนุษย์กับให้ระบบอัตโนมัติจัดการอะไรจะปลอดภัยกว่ากัน (เหมือนระบบ TCAS ของเครื่องบินที่เคยเป็นประเด็น คือเครื่องบินกำลังจะชนกันและระบบตรวจพบว่ากำลังจะชน ระบบอัตโนมัติสั่งนักบินให้ควบคุมทิศทางไปในทางปลอดภัย แต่นักบินดันไปเชื่อคนจากหอบังคับการให้บินไปในทางตรงกันข้าม สุดท้ายก็เครื่องบินชนกลางอากาศ)
ไม่ได้มีใครบอกว่า autopilot ไม่ดีนี่ครับ ปัญหาคือคำว่า autopilot มันสร้างความรับรู้ที่ผิดๆ ควรจะใช้คำว่า self assist ครับ
เปลี่ยนเป็นคำว่า self assist แล้วระบบทุกอย่างก็อยู่คงเดิม แต่ช่วยให้คนเข้าใจได้มากขึ้นว่าระบบยังต้องการมนุษย์อยู่
พวกนี้ คือเขาทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้ระบบเหล่านี้มาก่อนเลยใช่หรือเปล่าครับ ถ้าใช่แสดงว่าชื่อมีปัญหาจริงๆ แม้ว่าคนออกแบบเค้าจะคิดว่าชื่อมันอธิบายการทำงานได้ถูกต้องแล้วก็ตาม
ไม่แน่ว่าในอนาคตคงต้องบรรจุเรื่องนี้ลงในการสอบใบขับขี่ หรืออบรมพิเศษตอนซื้อรถถ้าสอบไม่ผ่านก็ไม่ได้ใช้ระบบนี้ เพราะจากการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเข้าใจระบบหลังอธิบายแล้วก็ยังคงพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจปัญหาของระบบอยู่ดีแม้จะอธิบายแล้ว ถ้าเทียบกับ Autopilot ในเครื่องบินนักบินก็น่าจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับการทำงานของระบบ Autopilot ของเครื่องแต่ละรุ่นเป็นอย่างดีเหมือนกัน เพื่อเวลาที่เกิดปัญหาก็จะได้เข้าใจอาการและแก้ปัญหาได้
+1 ครับ อยากทราบเหมือนกันว่ากลุ่มตัวอย่างจากผู้ขับรถ 2,000 คน โดยถามแบบคละแบรนด์ แสดงว่ากลุ่มคนทั้งหมดนี้ได้รับ "ประสบการณ์เสมือน" ว่าถ้าเป็นตัวเองขับรถแบรนด์ดังกล่าว จะปฏิบัติตัวอย่างไร
หรือว่าถ้าถามคนขับเทสลา มันจะกลายเป็นสำรวจความเข้าใจในตัวรถเทสล่า มากกว่าความไว้ใจในแบรนด์เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ รึเปล่านะ
กลัวอย่างเดียว ถ้ามันทำงานผิดพลาดแบบแก้ไม่ทัน นานแล้วแบบรถหักออกนอกเส้นทางเองเฉยๆ งี้ ถึงมือจะจับพวงมาลัยแต่รถมันกระชากหักไปแล้วจะแก้คืนเดี่ยวบางทีก็อาจจะไม่ทัน
ชอบระบบพวกนี้มันเป็นหูเป็นตาให้เราเพิ่ม ลดอุบัติเหตุได้
แคมรี่รุ่นใหม่นี่มีระบบป้องกันไม่ให้เราออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ (ไม่เปิดไฟเลี้ยว) เมื่อขับเร็วกว่า 50 km/h และอยู่บนถนนที่มีเส้นครับ ตอนมันกระตุกกลับครั้งแรกๆ นี่ผมตกใจมากเลย กลัวเหมือนกัน แต่หลังๆ ชินละ
ผมสงสัยมากๆ เลยว่า แล้วนักบินนี่เค้าเปิด autopilot ปิด autopilot กันตอนไหน ซึ่งถ้าให้เดาในฐานะคนที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ นักบินก็ต้องทำความเข้าใจระบบ autopilot รู้ว่าควรเปิดตอนไหนควรปิดตอนไหน เมื่อไหร่ที่จำเป็นต้องเข้าควบคุมด้วยมือแบบฉุกเฉิน
และการมี autopilot ในเครื่องบินมันก็ไม่น่าจะเป็นการกดปุ่มเดียวแล้วสามารถปล่อยให้เครื่องทำอะไรเองทุกอย่างได้ ตั้งแต่เทคออฟยันแลนดิ้ง ซึ่งถ้าลองไปถามคนทั่วไป ก็คงเป็นส่วนน้อยที่เข้าใจการทำงานของ autopilot บนเครื่องบิน ซึ่งทีนี้ถ้าจะมองเปรียบเทียบกัน มันก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่คนทั่วไปจะไม่เข้าใจการทำงานในระบบ autopilot ของ tesla ผมว่าปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ชื่อ แต่เป็นเรื่องของการสื่อสารมากกว่า
ระบบ AUTO PILOT ของเครื่องบินพาณิชย์ (Boeing, Airbus) มีเงื่อนไขในการเริ่มหรือหยุดทำงานยังไงบ้าง
ระบบ autopilot ของเครื่องบินต่างกัน self-driving ของรถยนต์เยอะเลยครับ
ปกติการบิน มันจะมีเส้นทางบนฟ้า (airway) ที่แน่นอนอยู่แล้วครับ และมีรันเวย์สนามบินที่แน่นอนด้วยเหมือนกัน มันเลยมีระบบ "นำร่อง" แสดงผลให้นักบินควบคุมเครื่องบินไปตามเส้นทางที่กำหนด/แพลนไว้อยู่แล้ว รวมถึงตอนลงจอดที่มีระบบ "นำร่อน" ส่งสัญญาณวิทยุจากปลายรันเวย์ ว่ารันเวย์อยู่พิกัดไหน เครื่องบินจะต้องบินแนวไหน และลดระดับลงยังไง ถึงจะทัชดาวน์ลงรันเวย์ที่กำหนดได้พอดี และมันจะไปแสดงผลกับจอนักบิน นักบินก็บินให้ตรงกรอบในจอ มันก็จะพาเครื่องบินลงรันเวย์ได้เลยต่อให้หมอกลงจัดจนไม่เห็นสนามบินก็ตาม
ส่วน autopilot ก็เป็นระบบมาจับงานแทนนักบิน เช่นให้บินไปตามเส้นทาง airway ที่แพลนเอาไว้ และรักษาความสูง รักษาความเร็ว รักษาทิศทาง ฯลฯ ซึ่งนักบินจะตั้งค่าเอาไว้เพื่อรักษาระดับแล้วก็ปล่อยให้เครื่องบินบินไป หรือตอนร่อนลงรันเวย์ ก็ให้ autopilot นำเครื่องร่อนลงไปตามสัญญาณวิทยุของระบบนำร่องได้ (แต่ระบบนำร่องที่ติดกับรันเวย์สนามบินก็มีระดับความแม่นยำที่จัดเป็น category ไว้เหมือนกัน
และเครื่องบินไม่มีปัญหาเรื่องสวนทางกันกลางอากาศ เพราะถูกจัดเส้นทางและความสูงให้แตกต่างกันในแต่ละลำโดยศูนย์ควบคุมการบินภาคพื้นอยู่แล้ว หรือถ้ากรณีผิดพลาดขึ้นมาก็มีเรดาร์ป้องกันการชนของตัวเครื่องบินแต่ละลำเอง (ชื่อระบบว่า TCAS ระบบนี้แพงมาก แต่บังคับติดกับเครื่องบินทุกลำเพื่อความปลอดภัย และทำให้โลกเราแทบไม่มีเครื่องชนกันกลางอากาศอีกเลย) ระบบมันจะสื่อสารกันเอง ถ้ามันพบว่าเครื่องบินสองลำมีแนวโน้มเส้นทางจะบินชนกัน มันจะรีบเตือนนักบินของตัวเองให้ควบคุมเครื่องไปในทิศทางตรงข้ามกันเพื่อไมให้ชนกัน
ก็คือเครื่องบินมันมีระบบนำร่อง ระบบนำร่อนอยู่แล้ว ระบบ autopilot เลยเกิดขึ้นได้ง่าย และมีการจัดเส้นทางการจราจรสำหรับเครื่องบินแต่ละลำจากภาคพื้น รวมถึงมีระบบป้องกันการชนติดอยู่กับเครื่องบินทุกลำอยู่แล้ว ดังน้้น autopilot บนเครื่องบินจึงไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย และเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในเครื่องบินมาหลายสิบปีแล้ว
autopilot ของเครื่องบิน จริงๆ ก็แค่ช่วยงานส่วนหนึ่งของนักบิน เพราะตั้งแต่การเช็คลิสท์ สตาร์ทเอนจิ้น แท็กซี่ เทคออฟ ไต่ระดับ อันนี้นักบินต้องขับเองล้วนๆ แต่พอถึงช่วง cruise รักษาระดับ นักบินถึงเปิดระบบ autopilot มาเพื่อให้เครื่องบินบินตามความสูง ความเร็ว เส้นทางที่กำหนด (ซึ่งก็หนีไม่พ้นนักบินเป็นคนตั้งค่าอยู่ดี) จนมาถึงช่วงลดระดับไปจนถึงแลนดิ้งที่สามารถใช้ autopilot ช่วยได้ แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่างทัศนวิสัยแย่ นักบินก็มักจะเอาเครื่องลงด้วยการบังคับมืออยู่ดี
แต่รถยนต์มันซับซ้อนกว่านั้นเยอะเลย รถยนต์ไม่มีระบบนำร่อง (ดีที่ยุคนี้มี GPS แล้ว) รถยนต์ไม่มีการจัดเส้นทางจราจรจากส่วนกลาง วิ่งใครวิ่งมัน รถยนต์แต่ละคันก็ไม่มีการสื่อสารกัน และตัวถนนเองก็ไม่มีระบบนำร่องอะไรทั้งนั้น สภาพบนถนนก็ซับซ้อนกว่าบนท้องฟ้ามาก ไหนจะคนข้ามถนน ไหนจะสิ่งกีดขวาง รถวิ่งช้า วิ่งเร็ว ถนนก็มีแค่ไม่กี่เลน พอเราจะมีเทคโนโลยี self drivinf ก็เลยต้องไปขุดสารพัดเรดาร์ กล้อง และระบบประมวลผลที่ซับซ้อนมาก
ถ้าจากลิงค์ที่คุณ panurat2000 เอามาแปะไว้ ถ้าเป็นจริงอย่างที่มีในคอมเมนต์หนึ่งเขียนเอาไว้ autopilot ของเครื่องบินพาณิชย์ตอนนี้มันล้ำหน้ามาก ขนาดที่ว่าสามารถใช้งานตั้งแต่ take off จนถึง landing ได้เลย ซึ่งส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากที่คุณว่าไว้ เพราะเครื่องบินมีหน่วยงานที่ควบคุมตรงนี้อย่างเข้มข้นและมีการใช้มาตรฐานในระดับเดียวกันทั่วโลก ทำให้ควบคุมในเรื่องนี้ได้ง่าย
ส่วนในรายละเอียดทางเทคนิคว่าทั้งสองระบบเหมือนหรือต่างหรือมีเงื่อนไขแตกต่างกันยังไง ตรงนี้ผมขอละไว้ก่อนนะครับ
แต่พออ่านจบแล้วมันทำให้เห็นว่าคนทั่วไปก็ยังไม่เข้าใจการใช้งานระบบ autopilot ในเครื่องบินอยู่ดี ดังจะเห็นได้ว่าแม้ว่าระบบนี้จะมีความล้ำหน้าแค่ไหน แต่ก็ยังคงต้องการคนไปนั่ง standby เพื่อให้สามารถพร้อมเข้าไปควบคุมเมื่อยามจำเป็น
ในภาวะปกติ หลังจากเทคออฟ พอเครื่องลอยจากพื้นได้ความสูงที่กำหนด (หลักร้อยฟุต) ก็ใส่ autopilot ได้เลยครับ แล้วก็ใส่ยาวจนมาปลดอีกทีตอนจะใกล้ๆจะลง (500-1000 ft ราวๆนี้) กรณีทำ manual land หรือถ้าทำ autoland ก็ไปปลดอีกทีตอน rollout เลยครับ