ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศตั้งเป้าเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตที่ยังเป็นบัตรแม่เหล็ก ให้เป็นบัตรชิป โดยธนาคารในประเทศไทยได้ หยุดออกบัตรแม่เหล็กมาตั้งแต่ปี 2016 ตอนนี้ทางก็มีกำหนดออกมาว่าบัตรแม่เหล็กทั้งหมดจะใช้งานได้ถึงวันที่ 15 มกราคม 2020 เท่านั้น
ประกาศเดิม ของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุให้บัตรแม่เหล็กใช้งานได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2019 ประกาศล่าสุดนี้จึงเป็นการเลื่อนออกไปแล้วเล็กน้อย
ตอนนี้บัตรแม่เหล็กยังคงเหลืออยู่ในระบบอีก 20 ล้านใบทั่วประเทศแม้จะหยุดออกบัตรใหม่มานานแล้ว ขณะที่บัตรชิปมีจำนวน 47 ล้านใบ
บัตรแม่เหล็กนั้นเป็นเทคโนโลยีเก่าที่แทบไม่มีการป้องกันใดๆ การทำสำเนาทำได้ง่ายอย่างยิ่ง หากเป็นบัตรที่รูดจ่ายก็ไม่มีการป้องกันอื่น หรือหากเป็นบัตรเอทีเอ็มคนร้ายก็มักหาทางแอบบันทึกรหัสผ่าน ทำให้เกิดคดีการสำเนาบัตรไปกดเงิน (skimming) อยู่เนืองๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย
Comments
เปลี่ยนบัตร 20 ล้านใบใน 4 เดือนMission impossible หรือเปล่าเนี่ย
เดาว่าพอถึงเวลาจริง ๆ คงตามเปลี่ยนกันไม่หมดหรอกครับเหมือนตอนลงทะเบียนซิม ก็ทำค่ายมือถือเบอร์ลงทะเบียนหายไปสามสี่ล้านเบอร์หรือใกล้ ๆ นี้กสทช. กับค่ายมือถือจะปิด 2G 31 ตุลาคม 2562 คาดว่าคนที่ยังใช้อยู่คงปล่อยซิมดับไป บัตรแถบแม่เหล็ก 20ล้านใบ จะเป็นบัตรที่แอคทีพจริงเท่าไหร่ จะหายไปเท่าไหร่ต้องรอดูเลยครับ
บัตรเก่าผมถ้าไม่โดนเครื่องยึด (จำไม่ได้ว่าลืมดึงบัตรคืนหรือเครื่องไม่คายบัตรออกมา) ใช้ได้ก็ใช้ต่อไปเรื่อยๆดีกว่าไปเปลี่ยนบัตรแล้วธนาคารบอกไม่มีบัตรเอทีเอ็มธรรมดามีแต่บัตรเดบิต
แนะนำว่าถ้ามีบัตรเครดิตของแบงก์นั้นด้วย บางแบงก์สามารถใช้บัตรเครดิตกดเอทีเอ็มได้นะครับ ปกติจะค่าธรรมเนียมปีละ 100 เหมือนบัตรเอทีเอ็ม (คนละอันกับบัตรกดเงินสดที่เป็นสินเชื่อนะครับ) ไปขอเค้าผูกบัตรที่สาขาน่าจะได้้ เสร็จแล้วก็ยกเลิกบัตรเดบิตเดิมทิ้ง ประหยัดได้ปีละ 100
หรือไม่ก็ลองค้นดู ที่นี่ ว่าแบงก์ที่ใช้มีบัตรแบบไหนให้เลือกบ้าง แล้วเดินไปขอทำเลยครับ หลายใบก็ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีครับ
ถ้าค่าธรรมเนียมมันเท่ากันคิดว่าบัตรเดบิตก็น่าจะดีกว่า ATM นะครับ
เรื่องยกเลิก2G ตอนต.ค.นี่น่าด่ามากๆ ในวงกว้างแทบไม่รู้เรื่อง ผมเองก็รู้จากกลุ่มปิดเรื่องคมนาคม
ทั้งๆที่ผลกระทบร้ายแรงมากๆ โดยเฉพาะกับอุปรกณ์พวก IOT ยุคแรกเริ่ม(3-5ปี)ที่ใช้ซิม2G เช่นกันขโมยบ้าน GPS tracking รถยนต์ พวกนี้เปลี่ยนยาก อุปกรณ์ใหม่ราคาแพง ต้นทุนค่าแรงเปลี่ยนสูง
เออ ออกข่าวช่วงเดือนเมษายนนะครับ
เอาจริง ๆ ที่ไม่แตกตื่นกันเพราะคิดกันละมั้งครับว่าไม่ปิดจริงหรอก พอใกล้ ๆ ถึงเวลาคงมีคนไปร้องเรียนให้เลื่อนออกไปเรื่อย ๆ คนเลยไม่ตื่นตัวกัน
ส่วนตัว - ปิดไปเลยครับ ยังไงมันก็ต้องเปลี่ยนอะครับของพวกนั้นแค่เปลี่ยนช้าเปลี่ยนเร็ว
คือการเผยแพร่ข่าวมันคนละระดับกับตอนปิด 2G 900 ตอนหมดสัมปทานนั้นน่ะครับ อันนั้นขู่จะเป็นจะตาย
มีแต่คนในวงการที่รู้ ซึ่งผมเชื่อว่าผู้ใช้ GPS tracking กับระบบกันขโมยบ้านแบบใส่ซิม ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะใช้ต่อไม่ได้แล้ว
เทคโนโลยีเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนครับ แต่มันก็หมายถึงเงิน อย่างระบบกันขโมยบ้าน ถ้าติดตั้งเกิน3ปีก็ 2G ทั้งนั้นแหละครับ ขนาดที่ขายๆกันปีสองปีมานี้ ถ้าไม่ใช่ตัว top ก็ยังมี 2G ขายกัน ยกเว้นจะหนีไป smart home device วิ่งผ่าน wifi เอาซึ่งบางอย่างก็แพงโดยไม่จำเป็น ถ้าเปลี่ยนทั้งระบบ แพงกว่า iphone11 อีกครับ(อย่าลืมค่าติดตั้ง)
หรือ GPS tracking 4G ก็เพิ่งเริ่มเอามาขายกันปีนี้เอง(ของปีก่อนหรูสุดก็แค่ 3G)ยังดีที่อันนี้ราคาแค่หลักพัน(แต่ถ้าถามเจ้าของกิจการขนส่งก็อาจจะเหนื่อยหน่อย)
ที่บ่นเพราะกสทช. ไม่เคยพูดถึงผลกระทบเรื่องพวกนี้เลย และออกแผนshutdownล่วงหน้าไม่ถึงปีด้วยซ้ำ
พล็อตมัน ATM เออรัก..เออเร่อ จริงๆ
เรื่องนี้เริ่มดำเนินการและประกาศมาตั้งแต่ปี 2016 แล้วครับทุกธนาคารก็โปรโมท แต่พอนานไปคนก็ลืม เพราะคิดว่ายังใช้ได้อีกนาน
เสียดาย k-my card ไม่ได้ไปทำตอนมันออกบัตรชิพด้วย
ชวนคุยครับ คิดว่าเมืองไทยควรทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้ร้านค้าเลิกเอาบัตรลูกค้าไปรูด และให้ลูกค้ารูดเองครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
นั่นสิครับ ผมคิดหนทางไม่ออกเลยกับที่ที่ขนาดเอาตู้ self service มาตั้งแล้วยังต้องเอาพนักงานมายืนกดตู้ให้อีกทีนึงเนี่ย
ให้ธนาคารออกกฎว่าหากโดนนำไปรูดแล้วจะไม่รับผิดชอบ?
เรื่อง พนง. มาเฝ้าตู้นี่เป็นอะไรที่ผมรำคาญมาก เคยเจอถึงขนาดว่ากดให้ไปเสร็จสรรพแล้วด้วยแล้วไม่รงกับที่จะสั่ง เสียเวลามากดยกเลิกออกมากดใหม่อีกรอบ ต้องให้บอกว่าเดี๋ยวผมจัดการเองถึงจะเลิกเซ้าซี้
แล้วก็เวลาใช้บัตรแล้วไม่มีให้กดพินเอง กดที่ตู้ไปสุดท้ายก็ต้องมาเซ็นสลิปที่เคาน์เตอร์เองอีกทีอยู่ดี เป็นอะไรที่ผมโคตรงง ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมว่าฝึกจากพวกห้างหรือร้านสะดวกซื้อเชนใหญ่ๆ ก่อน แทนที่จะให้พนักงานหยิบบัตรเราไปเสียบ ก็เปลี่ยนเป็นยิ้มหวานๆ บอกให้ลูกค้าเสียบบัตรเข้าเครื่อง (ที่ตั้งไว้หน้าลูกค้า) แทน พอคนเริ่มชินก็ค่อยขยายไปร้านหรือสถานที่อื่นๆ ผมว่าถ้าทำจริงไม่น่ายากนะ แค่มันไม่มีเหตุกระตุ้นให้ทำ
เมืองนอกเค้าทำยังไงเวลาไปเติมน้ำมันอะครับ สงสัยมานาน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
บางที่รูดที่หัวจ่ายเลย บางที่ต้องเข้าไปรูดในเคาเตอร์ แต่แทบจะทุกที่ลูกค้าต้องรูดเองครับ
ถ้าเป็นปั๊มแบบไม่มีพนักงานก็รูดที่หัวจ่าย แต่ถ้ามีร้านสะดวกซื้อด้วยก็เติมก่อนแล้วเดินไปบอกว่าเติมจากหัวจ่ายเบอร์อะไร แล้วค่อยจ่ายเงินครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
เป็นกฎหมายครับ เมืองนอกเขาไม่ได้ทำกันเอง หลายรัฐรูดลับหลังลูกค้าผิดกฎหมาย
lewcpe.com , @wasonliw
ไปญี่ปุ่นก็พนักงานรูดบัตรให้อยู่นะครับ
เคยเห็นนักท่องเที่ยวเอเชีย เหมือนขอเครื่องมาจากพนักงาน มาเสียบบัตรเอง
ตอนนี้ที่ทำได้คงคล้ายๆการไม่ใส่ถุง คือต้องบอกพนักงาน ไม่งั้นต้องรอนโยบายจากเบื้องบนของแต่ละที่
ตอนไปนอร์เวย์ กินข้าวเสร็จพนักงานก็เดินถือเครื่องมาให้ที่โต๊ะเลย
มันก็ขึ้นอยู่กับประเภทร้านค้านะ คุณไปกิน MK ก็ส่งบัตรให้เด็กเสิร์ฟไปรูดที่ cashierแต่ถ้าเป็น Mc Donald คุณก็เสียบบัตรที่เครื่องเอง
ร้านข้าวแถวบ้าน พนักงานถือเครื่องรูดแบบต่อกับมือถือ มารูดที่โต๊ะเลยครับ บ้านผมก็กรุงเทพ ประเทศไทยนี่แหละ
TMB ตอนบัตรเก่าของผมหมดอายุ ธนาคารส่งบัตรใหม่มาให้ ให้ไปเปิดบัตรใหม่ที่ตู้ ATM เองทำแบบนี้ก็ได้นี่คับ สำหรับบัตรแถบแม่เหล็กที่ยังมีการใช้งานอยู่
บัตรเก่าไม่โดนบังคับเปลี่ยนไปนานแล้วเหรอ
ดีแล้ว ที่เลื่อนจาก 31 ธ.ค. -> 15 ม.ค.เพราะถ้าหลังจาก countdown เสร็จแล้ว กดตังค์ไม่ได้ คงบันเทิงน่าดู แบงค์ก็ปิดกันหมด
เห็นบางคนงง ทำไมมีคนไม่ยอมไปเปลี่ยน
ต้องเข้าใจว่า ตจว.ไม่ได้มีทุกธนาคาร และหลายๆอำเภอโดนปิดสาขาไปเพียบ บัญชีที่เคยทำเคยมี ก็กลายเป็นติดต่อสาขาลำบากกว่าเดิม
ที่บ้านนอกผมที่นึง มีบัญชีกับธนาคารสีน้ำเงิน จู่ๆก็ปิดสาขาไปแล้วให้ไปติดต่อบัญชีที่ สาขาอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งห่างไป 50km (ยังดีมีตู้ ATM เหลือไว้ให้)
สำหรับคนมีรถส่วนตัวมันก็สะดวกครับ แต่สำหรับชาวบ้านที่แทบไม่มีเวลาเดินทางก็ลำบากหน่อย ยิ่งถ้าคนแก่ไม่มีลูกหลานพาไปทำก็คงลำบาก จริงๆทางธนาคารควรออกหน่วยสัญจร ไปออกบัตรใหม่ตามฐานลูกค้าต่างอำเภอด้วย(ถ้าให้ส่งปณ.ผมว่าเสี่ยงหาย)
ถ้าคุณไม่เคยเห็นคนกลุ่มนี้ ก็ลองนึกถึงข่าวที่มีคนรับจ้างไปกดเงินบัตรคนจนนั่นแหละครับ คุณไม่แปลกใจหรือว่าทำไมมีคนยอมจ้าง?
แล้วพวกบัตรกดเงินสดละครับ แถบแม่เหล็กทั้งนั้นเลย
เลิกใช้บัตร ATM ละ กดผ่านแอพเอาไม่ต้องเสียรายปีไม่ต้องพกบัตรด้วย เปิดบัญชีสัก 2-3 ธนาคารก็ได้ละ จะกดตู้ไหนก็โอนเงินเอา
ถ้าระยะเวลาเตรียมการที่ทาง ธปท ยืดให้นั่นเพียงพอแล้ว ถึงเวลาเลิกก็ต้องเลิกละครับ ถ้ามีลูกค้าคนไหนได้รับความเดือดร้อน ก็ต้องถือเป็นความรับผิดชอบของธนาคารพานิชย์แต่ละแห่งเองที่ไม่รีบดำเนินการ
..: เรื่อยไป