Panasonic ในยุคแรกๆ ผลิตหลอดไฟภายใต้แบรนด์ National และต่อมาก็เข้าสู่ธุรกิจผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในปี 1952 แต่ระยะหลังธุรกิจนี้ก็ทำบริษัทขาดทุนมาโดยตลอด
ล่าสุด Panasonic ก็ไปต่อกับตลาดนี้ไม่ไหว ตกลงขายธุรกิจผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้บริษัท Nuvoton Technology จากไต้หวันเป็นมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7.57 พันล้านบาทโดยรับเป็นเงินสดทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดค่าใช้จ่าย 1 แสนล้านเยน หรือราว 2.78 หมื่นล้านบาท ภายในต้นปี 2022
เมื่อไม่มีธุรกิจผลิตเซมิคอนดักเตอร์แล้วก็แปลว่าวงการผลิตเซ็นเซอร์รับภาพของกล้องก็จะเสียผู้เล่นไปด้วย โดยธุรกิจผลิตเซ็นเซอร์รับภาพนั้นถูกครองตลาดโดย Sony อยู่ ซึ่งผลิตเซ็นเซอร์รับภาพในกล้องถ่ายรูปราว 50% และผลิตเซ็นเซอร์รับภาพในสมาร์ทโฟนถึง 70% ของตลาด
ที่มา - Reuters , Nikkei Asian Review , Petapixel
สำนักงานใหญ่ Panasonic ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค | ภาพโดย Panasonic
Comments
เสียธุรกิจญี่ปุ่นให้กับไต้หวันไปอีกหนึ่ง หลังจาก Sharp โดน Foxconn ซื้อไปหลายเดือน มันแก้ไม่ได้เลยเหรอเนี่ย ปัญหาแบบนี้
ส่วน Sony ก็คงได้เป็นที่หนึ่งตลาดนี้ไปอีกนาน แต่ก็ไม่วายมีปัญหาเรื่องกั๊กในกล้องของมือถือค่ายตัวเองอยู่อีก แม้จะมีข่าวออกมาว่าแก้ได้แล้วก็ตาม
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
sony ก็ขายธุรกิจบางส่วนไปแล้วเหมือนกัน อย่าง vaio กับ ส่วนผลิตจอภาพ ขายไปได้พักใหญ่ ๆ แล้ว
แล้วกัน แล้วทีนี้ทีวีกับมือถือทำไงซื้อจอ Samsung ใส่หรือจ้างใครผลิตอีก
Vaio ขายเพราะไม่ทำกำไร
จอภาพ ส่วนนึงทำ อยู่กับ Samsung เป็น S LCD ก็ขายให้ Samsung ไปทั้งหมด
แล้วดึงกับมาทำร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นเจ้าอื่นๆๆเป็น Japan Display
ถ้าไม่แก้ระบบอุปถัมภ์ที่คนของตัวเองทำอะไรก็ไม่ผิด ทุจริตก็ไม่ผิด กับ เกษียณแล้วจ้างกลับมาเป็นที่ปรึกษาในเงินเดือนสูงลิบแบบนี้คงลำบากที่จะทำต่อ
ญี่ปุ่น เสีย บริษัท เก่าไป อีกหนึ่ง สุ้ตลาดไม่ไหวสินะ
แปลกใจว่า ธุรกิจ กล้องของ Pana ก็จัดว่าดีเลยนะ แถมไหนจะ Leica ก็ยั่งใช้ Sensor ของ Pana อีกนี้อีกอย่างคือ Sony เองก็ผลิต ไม่ทันถ้า Pana จะขายจริงๆๆทำไม Sony ไม่ซื้อแทนไปเลย แปลกแหะ