อินเทลประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ หลัง แถลงผลประกอบการไตรมาส 2/2020 ที่มาพร้อมข่าวร้าย 7 นาโนเมตรเลื่อนไปอีก 6 เดือน
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือฝ่าย Systems Architecture and Client Group (TSCG) จะถูกแตกออกเป็น 5 หน่วยย่อย และทุกหน่วยขึ้นตรงกับซีอีโอ Bob Swan
- Technology Developmentเน้นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต 7nm และ 5nm
- Manufacturing and Operationsจัดการเรื่องโรงงานและการผลิต
- Design Engineering
- Architecture, Software and Graphicsนำโดย Raja Koduri ที่ย้ายมาจาก AMD ในปี 2017
- Supply Chain
อินเทลยังเปลี่ยนแปลงผู้บริหารไปพร้อมกัน โดย Murthy Renduchintala หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม (chief engineering officer) ที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของฝ่าย TSCG จะลาออกจากบริษัทในสัปดาห์หน้า และ Mike Mayberry หัวหน้าฝ่าย Technology Development คนเดิมจะเกษียณอายุช่วงปลายปีนี้
ประกาศของอินเทลไม่ได้ให้เหตุผลของการเปลี่ยนโครงสร้าง แต่เว็บไซต์ AnandTech ให้ความเห็นว่าสาเหตุคงหนีไม่พ้นปัญหาในกระบวนการผลิต 10nm และ 7nm ที่เรื้อรังมายาวนาน ซึ่ง Murthy Renduchintala ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้นำสูงสุดของหน่วยงานนี้ และอินเทลจำเป็นต้องแตกฝ่าย TSCG เป็นหน่วยย่อยๆ ตามการลาออกของเขานั่นเอง
ภาพจาก Intel
Comments
ช้าไปป่ะ
ยังหาวิธีผลิตไม่ได้เหรอ?
ยังคงหา 7nm ที่แท้จริงอยู่ไหมครับ
I need healing.
แสดงว่าช้าจริงไม่ได้กั๊ก ...
Intel ยังหาทางเข้าสู่ 7nm ไม่พบ
หันไปมอง tsmc เอ้า! จะเข้า 3nm แล้วปีหน้าแลัวเหรอ
พี่ไม่รอ Intel หน่อยเหรอ
5555
หุ้น TSMC ขึ้นหนักมากๆ หลังจากข่าวนี้ ใครถีอไว้ก่อนยิ้มกันถ้วนหน้า
"คงจะมี 7nm แท้จริงซ่อนอยู่ ที่ดินแดนใดสักแห่ง"
เมื่อก่อนคิดว่าการเทคโนการย่อมันยากแสนยาก เพราะอินเทลทำไม่สำเร็จสักที แต่พอเจอ Arm ย่อได้ต่อเนื่องทุกปีเลยงงมาก
การย่อจริงๆมันไม่ยากครับ แต่การย่อให้ได้ voltage/frequency curve ที่ดีนั้นยากมาก
CPU Intel นั้น microarchitecture ปัจจุบันยังพึ่งพา frequency ค่อนข้างมาก(ทั้ง CPU/Cache ทั้ง Bus) ซึ่งการที่ process node เล็กๆไม่สามารถทำ frequency ที่ดีได้บน voltage ที่ระดับเหมาะสมทำให้มันยากที่จะย้ายไปผลิตใน node นั้นๆครับ
อย่าง AMD ใน node ปัจจุบันที่บอกว่าผลิตกันได้ที่ 7nm ก็อย่าลืมว่า safe long-term sustain อยู่ที่แค่ไม่เกิน 4.2-4.3 GHz ที่ประมาณ 1.35(+VDROOP=~@1.23V-1.28V) ครับ กลุ่มคนที่ overclock โชว์แล้วใช้ 1.5V+แล้วบอกว่านี่ AMD ทำได้ที่ 4.7-4.8GHzเลยนะ กำลังบอกให้คนค่อยๆฆ่า CPU ตัวเองทิ้งอยู่ครับ heat density เยอะขนาดนั้น (อย่าลืมว่า Intel ทำ 5.1GHzที่ <=1.37Vนะครับ)
อย่างไรก็ตามต้องบอกว่า Intel กำลังเข้าตาจนในตลาด consumer เพราะ CPU ตัวเองนั้นในตลาด consumer เน้นด้านการเล่นเกมเป็นหลัก ซึ่งความถี่และ latency ของ CPU/Cache/Bus มีผลค่อนข้างมาก การเปลี่ยน microarchitecture ให้เป็นแบบ horizontal scale และเปลี่ยนระบบ Bus จะทำให้ข้อดีตรงนี้หายไป พูดง่ายๆคือตอนนี้ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนทั้ง vertical ทั้ง horizontal scale นั้น Intel มีปัญหาทั้งคู่ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 ได้ความรู้ดีมากครับ เหมาะสำหรับผมที่ไม่ค่อยรู้อะไรเท่าไร
That is the way things are.
ขอบคุณครับ
ถ้ามาแนวนี้ ผมว่า Intel อาจหันไปเน้นตลาด Corporate ที่ยังทำกำไรได้อยู่พอสมควร และลดความสำคัญของฝั่ง Consumer ลง หากยังแก้ไม่ได้หรือยังล่าช้าไปอีก
อย่างน้อยก็ยังรักษาจุดแข็งของ Intel CPU ในระยะสั้นได้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เข้าใจว่า ARM ออกแบบแต่ไม่ได้ผลิต เรื่อง 7nm น่าจะอยู่ที่ฝีมือ TSMC / Samsung ใช่ไหม
เมื่อก่อน tick tok intel เทพมากใครก็ตามไม่ทัน พอเปลี่ยนปุ๊บ จอดเลย