ไม่กี่ชั่วโมงหลัง Epic ทำระบบจ่ายเงินของ Fortnite บนมือถือเอง เพื่อเลี่ยงจ่ายส่วนแบ่ง 30% ให้แอปเปิล-กูเกิล แอปเปิลก็แบนเกม Fortnite ออกจาก App Store ตามคาด
แต่ดูเหมือนว่านี่เป็นแผนของ Epic อยู่แล้ว สิ่งที่ตามมาทันทีคือ Epic ยื่นฟ้องแอปเปิลต่อศาลแคลิฟอร์เนียในข้อหาผูกขาด (คำฟ้องเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว) ในคำฟ้องพูดถึงโฆษณา 1984 ที่สร้างชื่อให้แอปเปิลในยุค Macintosh ว่าตอนนั้นแอปเปิลต้องการเป็นผู้ทำลายการผูกขาดของ IBM แต่พอมาถึงปี 2020 แอปเปิลกลายเป็นผู้ผูกขาดยิ่งกว่า IBM ด้วยซ้ำ
เท่านั้นยังไม่พอ Epic ยังปล่อยคลิปล้อเลียนโฆษณา 1984 แต่เปลี่ยนตัวละครจาก IBM เป็นแอปเปิล และเปลี่ยนจากแอปเปิลเป็น Fortnite ด้วย (ซึ่งก็แน่นอนว่าเตรียมคลิปไว้ล่วงหน้าแล้ว)
Fortnite Party Royale will premiere a new short: Nineteen Eighty-Fortnite. Join us at 4PM ET. pic.twitter.com/BWvndK3gDt
— Fortnite (@FortniteGame) August 13, 2020
Epic ระบุว่าเกม Fortnite ยังสามารถเล่นได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆ และขอให้ผู้เล่นร่วมกันประท้วงแอปเปิลด้วยการติดแท็ก #freefortnite ด้วย ส่วนคนที่จ่ายเงินผ่าน App Store ไปแล้วต้องไปขอทำเรื่องคืนเงินจากแอปเปิลเอง
ที่มา - Epic Games
Comments
ละเมิดข้อตกลงเอง appleเขาไม่ได้บังคับลงstoreเขานิ
แล้วเอาจริงๆ 1984 นี่เด็กที่เล่นforniteไม่มีใครรู้จัก(เกิดไม่ทันด้วยซ้ำ)
เกลียดการตลาดepicชะมัด
คนใช้ iOS มีแค่ 1 store คงอ้างไม่ได้นะ ว่าไม่ได้บังคับลงซะหน่อย นี่ไม่ใช่ Steam vs Epic store
มีกฏ แต่ถ้าไม่เป็นธรรม กีดกันการแข่งขัน ก็ฟ้องได้
ถึงแม้จะเกลียดการตลาดแบบนี้นะ แต่ถ้าแอปเปิ้ลมีให้ลงแบบ alternative เงียบก็คงไม่โดนฟ้องครับ ล็อคเกินไปครับ ค่าเครื่องก็สููงอยู่แล้ว ก็น่าจะเปิดให้ใช้ได้เต็มที่หน่อย ยิ่งใน Big Sur ที่ต้องลงแอปผ่าน Mac Store รวม ๆ กับเรื่อง ตัดสล็อตแรม และสล็อตเปลี่ยน SSD ด้วย นี่ผมเอาตังเก็บซื้อ iMac ตัวถัดไป ไปประกอบ PC Windows ดีกว่าครับ สบายใจกว่าเยอะ บังคับกันเกินครับ
ผมว่ากรณีนี้ epic มีโอกาสชนะนะครับ เพราะการซื้อเครื่องเป็นแบบซื้อขาดแต่การลงซอฟแวร์ที่เครื่องโดนผูกขาดกับ store เจ้าเดียว ไม่ใช่ระบบที่ปล่อยให้เอาไฟล์มาอินสตอลในเครื่องได้เอง ไม่เอาลงสโตร์แล้วจะเอาวิธีไหนลงเกม จะมีแอพแบบสตีมก็ไม่ได้ผิดเหมือนกัน
ถ้ายึดแบบนั้นเครื่องเกม console ก็โดนเรื่องผูกขาดกับ store เจ้าเดียวเหมือนกันนะ
แต่เขามีแผ่นขายนะครับ มีทางเลือกกับไม่มีทางเลือกมันต่างกันนะและที่ผมว่ามีโอกาสชนะ ก็เพราะมันมีกรณีที่ฟ้องชนะกันมาแล้ว
ถ้ามองลักษณะนั้นเลี่ยงบาลีเป็น eGift Card ขายที่ไหนก็ได้เหมือนกันครับ
และ console เครื่องแบบ Digital Edition ที่ใส่แผ่นไม่ได้ก็มีนะ
อยากมองงั้นก็เรื่องของท่านละครับ เพราะผมก็ไม่ได้ว่าอะไรถูกผิดอยู่แล้ว ผมแค่บอกว่ามันมีโอกาส แต่เหมือนท่านจะชี้ถูกผิด ซึ่งมันตัดสินไม่ได้อยู่แล้วเพราะคู่เทียบมันคนละเรื่องเดียวกันเราจะเอาตัวเทียบที่อยู่คนละอุตสาหกรรมและมี fundamental ต่างกันมาบอกว่าอะไรถูกผิด 100%ไม่ได้อยู่แล้ว
ถ้าจำไม่ผิด ขายแผ่นก็เสียเงินส่วนแบ่งให้เจ้าของ console เหมือนกันนะครับ ไม่ใช่ว่าทำขายได้ฟรี ๆ อันนี้ก็ไม่มีทางเลือกเหมือนกันครับจะทำเกมลง PS4 ถ้าแบบ digital หรือแผ่น ก็เสียส่วนแบ่งยอดขายให้ Sony เหมือนกันครับ
เคส Sega vs EA นี้น่าจะใกล้เคียงhttps://www.youtube.com/watch?v=-aLfKnJAe0Y
ต้องแยกเป็นสองประเด็นครับ
1. การผูกขาด
ถ้าepicไม่เคยส่งลงเกมapp storeเลย แต่เรียกร้องให้iOs มีstoreอื่นเป็นทางเลือก epicอาจจะพอฟ้องกฎหมายผูกขาดในบางทวีป-บางประเทศได้
2.เรื่องละเมิดข้อตกลง
การที่epicเคยเอาเกมลงapp storeแล้ว
..แปลว่า คุณต้องยอมข้อตกลงการแบ่ง%(ไม่ว่าจะกดปุ่มตกลงหรือเซ็นยินยอมก็มีผลเท่ากันทางกฎหมาย) แล้วepicมาผิดข้อตกลงซะเองภายหลัง appleเขาก็ทำตามกฎที่เขาระบุ
ผมมองเคสนี่ epicงอแงเอง จงใจเรียกกระแสกดดันหวังให้ลด%หัวคิวมากกว่า(ดูจากการเตรียมการคลิป) แต่ส่วนตัวคิดว่ากระแสอาจจะตีกลับมากกว่า
อยากให้ Apple กับ Google จับมือแท็กทีมเฉพาะกิจจัดการปัญหานี้จริงๆ
หายไปจาก Play Store แล้วด้วยครับ
เล่นทำช่องทางจ่ายเงินที่เปรียบเทียบราคาตัวเองกับ Apple ให้เห็นชัดเจนแบบนี้ สมควรโดนเก็บ. ทำไมไม่กินเงียบๆแบบ PUBG หรือ ROV
Timmy เอ๊ย Timmy เล่นอะไรไม่เล่นนะ...
เดี๋ยวบนคอนโซลก็โดนอีกดอก เชื่อเหอะ (ยกเว้น PS)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
PS ถ้าจำเป็นจริงๆก็คงโดนเหมือนกัน เว้นแต่ว่าจะมีสัญญาพิเศษแบบที่ผ่านมานี่แหละ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมก็ว่างั้นนะ ถ้ามัน "exclusive" จริง ๆ ก็คงไม่โดนอะไร
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ทำอะไรตามใจคือEpic
อยากรู้เหมือนกันว่าพฤติกรรมของบริษัทนี้ มาจากวัฒนธรรมของบริษัทเองอยู่แล้ว หรือมาจาก Tencent กับผู้ถือหุ้นหว่า เพราะก่อนที่จะโดน Tencent ซื้อไปบางส่วน ก็ไม่มีอะไรแบบนี้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คิดว่าน่าจะเพราะ Tencent เข้ามาควบคุมนโยบายในบริษัทด้วยครับ รวมถึงพวกแจกเกมด้วยอันนั้นก็เพิ่งมาทำตอน Tencent เข้ามา
love
นี่ขนาดบริษัทใหญ่ๆยังฟ้อง เห็นเรื่อง Floatplane ที่โดนไอ้ 30% นี่ด้วยแล้วก็แบบ ไม่ได้เงินถุงเงินถัง
กรณีนี้ผมว่าพอจะ dodge ได้นะ ถ้าใช้ระบบ token แบบเดียวกับที่ Twitch ใช้ในการ sub ใครสักคน
แต่ปัญหาคือ การลงทุนในส่วนนั้น มันทำให้เสียต้นทุนเยอะขึ้นครับ และ Luke เองก็คงไม่คิดอยากจะทำเช่นนั้นเหมือนกัน (เพราะมันไม่แฟร์กับคนใช้ iOS)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แล้ว sub token มันไม่โดน 30% เหรอครับ
ผมกำลังงงว่าทำไมไม่ทำระบบ subscription บน iOS แต่ค่า sub แพงขึ้น (ก็คือ 5.99)
หรือว่าการใช้ token ทำให้เงินที่ส่งไปถึง streamer คือ (สมมติว่า) $5 เต็มๆ ส่วน twitch เป็นคนแบก 30% tax เอง?
โดนเหมือนกันครับ แต่ประเด็นคือ ให้ sub-token ราคาสูงกว่าที่กำหนดไว้ใน Floatplane (ถ้าสมมติว่า สมัคร LTT ไว้ราคา 5 ดอลลาร์ อาจจะจ่าย 2 tokens อันละ $3.50 อะไรพวกนี้น่ะครับ)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ที่ผมสงสัยคือทำไมไม่ทำ subscription ธรรมดาผ่าน in-app purchase ของ Apple แต่ตั้งราคาสูงขึ้น ทำไมต้องไปทำ token อะครับ
คือเท่าที่ดู ราคา subscription ใน Floatplane มันไม่เท่ากันน่ะครับ การแปลงเป็น token มันเลยน่าจะง่ายกว่าในส่วนนี้ครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ผมเพิ่งเห็นคนถามว่าทำไมไม่ทำให้ sub แพงขึ้นใน iOS คำตอบคือไม่อนุญาตเหมือนกัน คงเป็นที่มาของ token แหละครับ
แพงขึ้นได้สิ ไม่งั้น YouTube หลุดจาก store ไปแล้ว
ผมมองว่า epic น่าจะพยายามเล่นกับกระแสม๊อบสมัยใหม่ที่จุดติดง่ายเหลือเกิน ถึงขนาดทำคลิปเตรียมไว้ล่วงหน้า ถ้าสำเร็จก็ดีไป ถ้าไม่สำเร็จก็ยอมให้เก็บ 30% แล้วกลับขึ้น store เหมือนเดิม เพราะด้วยยอดคนเล่นจำนวนมากขนาดนี้คงไม่แบนถาวรแน่ๆ
สำหรับคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย รู้สึกว่าทุกอย่างของเรื่องนี้มันอี๋มากครับ ทุกอย่างถูกตั้งใจทำไว้เป็นพีอาร์แคมเปญ เตรียมพร้อมไว้อย่างดี ฯลฯ คือภาพลักษณ์บริษัทดูติดลบไปอีก เสียดาย เพราะผมค่อนข้างชอบ Epic(แบบเมื่อก่อน)
แต่สำหรับแฟนคลับเด็กๆ ของ Fortnite นี่ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ แต่คิดว่าถึงจุดติดก็ไม่ได้มีผลอะไรเท่าไหร่
แอปเปิลก็ไม่ได้เก็บ 30% ตลอดนี่ครับ
การตลาดแบบจีนๆแหละนะ
Epic ฟ้องว่า แอปเปิ้ลผูกขาดเรื่องแอปเปิ้ลไม่เปิดให้ลงแอปผ่านทางเลือกแบบอื่น ๆ เช่น App Store ยี่ห้ออื่น หรือ การลงแบบโหลดไฟล์มาแล้วลงกับเครื่องเอง เรียกง่ายว่า เหมือนตอนไมโครซอฟท์โดนฟ้อง Internet Explorer แต่ที่หนักว่า คือ ไมโครซอฟท์ให้ลงเบราว์เซอร์ได้ แต่แอปเปิ้ลไม่ให้โหลด น่าสนใจว่า แอปเปิ้ลจะแถกับศาลยังให้ตัวเองชนะ
อยากจะขายของในตลาด แต่จะไม่จ่ายค่าเช่าแผง มันสามารถทำได้ด้วยหรอครับ
ถ้าจะเทียบเป็นตลาด ต้องบอกว่าทั้งจังหวัดนั้นมีได้ตลาดเดียว ใครอาศัยอยู่ในจังหวัดนี้ต้องขายที่นี่เท่านั้น ห้ามเปิดตลาดอื่น ไม่งั้นต้องไปจังหวัดอื่น
ค่าเช่าแผงต้องจ่ายอยู่แล้ว อันนี้กำลังพูดถึงส่วนแบ่งจากรายได้การขายครับ
เราลืมเรื่อง User Agreement ก่อนเปิดใช้เครื่องหรือเปล่าครับ?
ผมว่าถ้ามีแอปเปิ้ลมีโอกาสชนะนะ สมมติมีสักข้อว่าแอปเปิ้ลขอสิทธิ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงสุด
จึงมีสโตร์แห่งเดียวภายใต้ h/w ของเค้าไรเงี่้ย
ผมไม่ใช่นักกฏหมายแต่กฏหมายผูกขาดน่าจะอยู่สูงกว่า EULA นะครับ
EULA เป็นข้อตกลงครับ ไม่ใช่กฎหมาย
อันนี้ผมแย้งครับ ข้อตกลง มันเป็นสัญญาซึ่งโดนรับรองในกฎหมายหรือเปล่าครับ?
เพราะผมจำได้มีข้อนึงในแพ่ง-พาณิชย์จะมีระบุกฎหมายราวๆนี้ไว้(อันนี้ผมก็ไม่มีความรู้ลึกๆนะครับ)
แต่อยากยกตัวอย่างสักหน่อย
อย่างเช่น ผมยกตัวอย่าง กรณีกู้นอกระบบ
บางที่มีเอกสารชัดเจนว่าดอกแพงเกินกว่ากฎหมายนะแลกกับไม่มีหลักประกันทำไมภาครัฐต้องจ่ายหนี้ให้แทน
เพื่อดึงลูกหนี้กลับเข้าระบบหละครับ?
หรืออย่างกรณีการทำสัญญา TOR ผมยังเคยเขียนกฎที่มันเข้มงวดกว่า
กฎหมายเลย เช่นผมต้องการของมีมาตรฐานรับรองจาก เมกา กับ ยุโรป
แต่ก็มีผู้รับเหมาบางรายบอกมันไม่มี มอก. แล้วถามว่าการซื้อขายสินค้าไม่มี
มอก. ผู้ขายผิดไหมครับว่ากันจริงๆมันก็ผิดนะครับในเชิงแพ่ง-พาณิชย์
เพราะ กฎหมายระบุ สินค้ามันต้องมี มอก. ในการขาย
แต่อีกนั่นหละผมไม่รู้กฎหมายเมกาแต่คิดว่ากฎหมายพวกนี้น่าจะใกล้เคียงกัน
อืมมมมมมมม
คือที่ผมสงสัยบางเรื่องคือ
สัญญามันต้องไม่ขัดแย้งกับกฎที่ รธน. รับรอง แต่
แต่กฎหมายก็ระบุว่าการทำสัญญาถือว่าชอบด้วยกฎหมาย....
จะว่าไปไม่เคยหาคำตอบแหะ......
หรือว่าต่างกรรมต่างวาระ กฎหมายผูกขาดก็ข้อนึง
กฎหมายแพ่งก็อีกข้อนึง.....
สัญญาชอบด้วยกฎหมาย แต่ "ศักด์" ของกฎหมายสูงกว่าครับอะไรก็ตามที่ระบุในสัญญาที่สามารถแย้งได้ด้วยกฎหมาย ให้ถือเป็นโมฆียะครับ (มีผลผูกพันธ์ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าขัดกับกฎหมาย)
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
Apple เค้าก็มีเงื่อนไขนี้มาแต่แรกแล้วไม่ใช่เหรอ
อยากขายของในพาราก้อน ไม่มีตังค์จ่ายค่าเช่าแผง มาปูเสี่อเร่ขายแล้วบอกให้ไปซื้อที่เซนเตอร์พอยท์ ยามมาไล่ที่ก็ถูกแล้วนี่
อยากได้ก็ไปที่แผงหลัก ไม่ก็ตามตลาดนัดที่เค้าขายกันเอง
งงว่าคิดว่าโดนเอาเปรียบยังไง
iOS นี่เซ็นเตอร์พอยท์อยู่ที่ไหนครับ
ไปตั้ง kiosk (profile) ให้จ่ายตังค์แล้วหยิบให้ของมาส่งในพาราก้อนให้ถูกต้องสิครับ
อยากใช้หน้าร้านเค้า แต่ไม่เอาเงื่อนไข ก็ไม่ต้องใช้
ค่าเช่าแผงจ่ายแล้ว แต่คราวนี้บังคับให้จ่ายเงินผ่านระบบที่ได้ส่วนแบ่งด้วย
อย่างที่บอกๆด้านบน iOS มีแค่ 1 store จะบอกว่าก็ไม่ต้องใช้ นั่นแหละเป็น argument ว่าผูกขาด
ไม่มีเซ็นเตอร์พอยท์ ไม่มีแผงอื่น ไม่มีตลาดนัดครับ
จะใช่ฐานเค้า ใช้ลูกค้าเค้า แต่ไม่จ่ายส่วนแบ่ง ตรรกะคุ้นมากเลยฮะถ้าไม่พอใจส่วนแบ่งก็ออกไปหา chanel เอง ก็ถูกต้องแล้ว แต่ไม่ใช่มาโวยวายว่าเค้าเอาเปรียบ เพราะเจ้าของ platform ก็มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาช่องทางเหมือนกัน
พฤติกกรมเหมือนพ่อค้าแม่ค้าโปรฝรั่งประท้วงค่าเช่า mbk ตอนต้นปีเลยครับ
ผมเข้าใจท่านนะ แต่กฎหมาย Anti Trust ไม่ได้คิดแบบนั้นสิครับ
เหมือนยังไม่เข้าใจ ถึงได้พูดว่าให้ไปหาที่อื่นและยังยกตัวอย่างพ่อค้าแม่ค้าอยู่
คำฟ้องบอกว่าเพราะ App Store คือช่องทางเดียวในการเข้าถึงฐาน user ของ ios ไงครับ มันไม่มีทางอื่น
Epic ยกตัวอย่างต่อว่า Mac, iMac ยังอนุญาตให้ distribute apps นอก app store ได้และไปเลือกใช้ระบบจ่ายเงินได้เอง เฉลี่ยแล้วเก็บแค่ 3% ไม่ใช่ 30%
นั่นก็คือ Mac Os มีช่องทางอื่น (หรือชาแนลอื่นที่คุณบอกว่าไม่พอใจก็ไปหาเอา) แต่ iOS ไม่เปิดโอกาสให้ทำแบบนั้น
แต่ IOS ทาง epic ไม่จ่ายแม้แต่ 3% ขอใช้ที่ฟรีๆ
3% ที่ว่ามันคือค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตครับ
ผมว่าอันนี้อาจจะเทียบลำบากนะกับเคส iOS
ถ้าเทียบให้ถูก ผมว่าควรจะเป็นประมาณว่า พื้นที่สยาม ทั้งพื้นที่ มีเพียงแค่พาราก้อนที่เดียวที่ซื้อของได้ แบบนั้นถึงจะสมเหตุสมผลกับกรณีนี้ครับ การที่คุณจะตั้งร้านค้าได้ คุณก็จำเป็นต้องจ่ายค่าต๋งให้กับเจ้าของที่ด้วย ยกเว้นว่าพื้นที่ขายนั้นจะให้ขายได้ฟรี ๆ ไม่เสียสตางค์สักบาท แต่ถามว่า จะมีลูกค้าเข้ามาซื้อของร้านของคุณหรือไม่ ก็อีกเรื่องหนึ่ง
จริงอยู่ว่าการทำนาบนหลังคนมันผิดก็จริง แต่ในเคสนี้คือ App Store เป็นรายเดียวที่ผูกขาดในอุปกรณ์ iOS (เสมือนพื้นที่สยาม ซื้อได้แค่ที่เดียว) ต่างจากความเป็นจริง ถ้าเทียบกับสยาม มันเหมือนเทียบกับกรณีของ Android มากกว่าครับ (ที่พื้นที่สยาม ซื้อของได้หลายห้าง) แม้จะมีตลาดมืด อย่าง AltStore ก็ตามแต่
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เปรียบสยามทั้งพื้นที่ จ่ายให้จุฬาจะถูกกว่าแล้วมีคนอยากเปิดร้านขายในสยามแต่ไม่อยากจ่ายให้จุฬา
นั่นสิครับ ผมผิดเอง โทษที
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ถ้าเตรียมไว้ล่วงหน้าจริงๆ ก็แสดงว่า epic จงใจจะฟ้องร้องโดยใช้ platform ของตัวเองเป็นที่ตั้ง มันไม่งามเท่าไรนะ
จะฟ้องเอาเงินมาแจกเกมฟรีไหมนะ...
Just a nerd, who interested in technology :p
น่าคิด คงจะหมดไปเยอะกับเกมแจกฟรี มีแต่คนสมัครมาโหลดฟรี แต่เวลาซื้อเกม ซื้อที่ steam เหมือนเดิม มันช่างเจ็บนัก
คิดว่าไม่จำเป็นครับ
รายได้หลักepic มาจากUnreal engine
ถ้าเทียบง่ายๆ แจกเกมในepic storeให้หนักกว่านี้อีก4เท่าต่อปี ยังแค่ทำให้รายได้ปีนั้นเท่าทุน(แล้วepicยังมีเงินสดอยู่อีกเยอะ)
ข้อกำหนดในการนำแอพลง app store มันไม่ได้กำหนดไว้แต่แรกแล้วหรอครับ ถึงได้ไปฟ้องร้องเขาแบบนั้น
เชียร์ให้ Epic จับมือกับ Huawei ออก Gaming Smartphone แบบ Nintendo Switch เลยครับ แต่ขอแบบทนๆงานประกอบดีๆจะเอามาพกไว้เล่นเกมโดยเฉพาะ
ผมมองว่าส่วนแบ่งจากการขาย 30% นี่มันเยอะไป
ทำให้เกิดผลเสียหลายอย่าง- ลดคุณภาพ ลดการแข่งขัน ลดการพัฒนาของ software เพราะมันไปเพิ่มข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดคือต้นทุน
- ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าแพงขึ้น ตัวเลือกลดลง คุณภาพลดลง
ค่าวางก็มี ค่าโฆษณาก็จ่าย ยังต้องหักส่วนแบ่งจากราคาสินค้าไปอีก 30%
ลดลงเลือก 12-15% น่าจะ win-winเอาจริงๆ ผมว่าแต่ละ store (play store,app store, steam etc) หักส่วนแบ่งแค่ 5% กำไรก็ยังบานเบอะอยู่นะ
จริง ๆ แล้วต้องเช็คครับว่า 30% นั้นคือกินเปล่าหรือว่ามีการ Support
อย่างง่าย ๆ คือกรณี Steam ถ้าผมซื้อเกมไปแล้วเกมนั้นต้องอยู่ใน Lib ผม โหลดมาเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ การที่คิด 30% ก็คือการเก็บตัวเกมไว้ตลอด หรือไม่ก็พวก Cloud Save พวกนี้ครับ
ถ้า 30% มันได้ของเหล่านี้มา ผมว่ามันก็โอเคที่จะจ่ายนะ
เก็บ 30% ไม่ว่า แต่อยากให้ลง Alt Store ได้จะดีมากครับ
เคยเห็นข่าวในนี้(blognone)บอกว่า 30% ที่ได้มานี่หักลบกับค่าดำเนินการ(ระบบ-เซิฟ-ค่าจ้างพนักงาน บลาๆ)แทบจะทั้งหมดเลย อันนี้ทำให้แอพใน app store โดยเฉลี่ยมีคุณภาพมากกว่า play store ด้วย เพราะไม่ได้ใช้บอทคัดกรองดื้อๆอย่างเดียว
รอบนี้เชียร์ epic ขอให้ชนะ เผลอๆคนจะร่วมลงขันอีกหลายบริษัทอย่าง Nextflix กับ Spotify
ถ้า epic ชนะ ก็จะมี epic store ใน iphone ได้สินะ กินนิ่มไปเลย
เหมือนพวกอันธพาลอะ
ถ้าเกิดกดดันจน Apple ยอมให้ลง app จากนอก store ได้ ก็น่าสนใจนะครับ
Apple & Google ก็ต้องออกมาชี้ให้ได้แหละครับว่าทำไมถึงควรเก็บ 30% ถ้าปล่อยตรงนี้ไปไม่ผูกขาดไว้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
คหสตผมยังไงก็ต้องเก็บส่วนแบ่ง ค่าเซิร์ฟเวอร์ค่าจ้างพนักงานค่าดูแลอื่นๆยังไงก็ต้องมีแต่อาจจะไม่ต้องถึง 30% อีพิกพูดอย่างกับตรงนี้มันเสกขึ้นมาได้ฟรี
อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้มีหลายๆ store ได้บนมือถือ