MacBook Pro, MacBook Air และ Mac Mini ที่รันด้วยชิป Apple M1 เริ่มมีการปล่อยรีวิวชุดแรกจากสื่อเมืองนอกออกมาแล้ว
ถึงแม้ตอนนี้แอปที่สามารถรันบน ARM แบบเนทีฟจะยังมีน้อย ส่วนใหญ่เป็นแอปของแอปเปิลเอง ซึ่งก็พอจะคาดเดาได้ว่าประสิทธิภาพดีกว่าเดิม แต่ที่น่าสนใจคือแอปหลายตัวอย่างของ Adobe ที่ยังเป็น x86 และรันผ่าน Rosetta 2 กลับมีประสิทธิภาพการใช้งานออกมาดีกว่า MacBook หรือแม้แต่แล็บท็อปที่ใช้ชิป Intel หลายรุ่นด้วยซ้ำไป โดยสรุปรีวิวนี้ผมจะเน้นไปที่ประสิทธิภาพชิป Apple M1 เป็นหลัก
ผลเบนช์มาร์ค
หลาย ๆ สื่อนำเอาชิป M1 มาทดสอบเบนช์มาร์คแบบสังเคราะห์ผ่าน GeekBench 5 (มีเวอร์ชัน 5.3 ที่เนทีฟ Arm), Cinebench R23 ที่รองรับ Arm, และ Handbrake ผลออกมาอาจแตกต่างกันไปตามแค่ซีพียูที่นำมาจับคู่ทดสอบ แต่ในภาพรวมคือ M1 อยู่ในระดับท็อปของแทบทุกผลการทดสอบ โดย M1 ส่วนใหญ่มีผลคะแนนเบนช์มาร์คที่เหนือกว่าโปรเซสเซอร์แบบประหยัดพลังงานที่ใช้บนแล็บท็อปแบบคอร์เดียว แต่ก็แพ้ให้กับโปรเซสเซอร์ระดับเดสก์ท็อปในบางการทดสอบ ไปจนถึงการเบนช์มาร์กแบบหลายคอร์
แต่ที่น่าสนใจคือการทดสอบ Cinebench 5 ของ ArsTechnica และ Anandtech ออกมาเหมือนกันคือชิป M1 ได้คะแนนการทดสอบแบบเธรดเดียวสูงที่สุด
ขณะที่การทดสอบบีบอัดด้วยไฟล์ gzip เพื่อวัดพลังซีพียูจากการใช้งานจริง ในการทดสอบแบบคอนฟิกให้รันโพรเซสเท่าจำนวนคอร์ ตัวชิป M1 ทำได้ใกล้เคียง Ryzen 7 4700U ที่เป็น 8 คอร์แบบ high-performance (M1 มี high-performance และ high-efficiency อย่างละ 4)
ขณะที่เมื่อคอนฟิกให้บีบอัดไฟล์เฉพาะ 4 คอร์ high-performance ชิป M1 ทำความเร็วออกมาให้ใกล้เคียง Ryzen 9 5950X และเมื่อบีบอัดแบบคอร์เดียว M1 ทำความเร็วได้มากกว่า 5950X เล็กน้อย ซึ่ง ArsTechnica สรุปสั้น ๆ ว่า Apple M1 เป็นชิปที่มีพลังประมวลผลแบบเธรดเดียวแรงที่สุดในโลก (แบบไม่ใช่ก็ใกล้เคียง)
การทดสอบใช้งานจริง (แอปเนทีฟ)
ขณะที่การใช้งานจริง ผลออกมาไม่ได้แตกต่างจากผลเบนช์มาร์คมากนัก โดยตอนนี้แอปสำหรับคนทำงานระดับโปรที่เป็นเนทีฟมีเพียง 2 แอปหลัก ๆ ซึ่งเป็นของแอปเปิลล้วนคือ XCode และ Final Cut Pro
ผลการคอมไพล์โค้ดบน XCode ที่ Dave Lee ทดสอบด้วย M1 (8 คอร์ / แรม 16GB) เทียบกับ Mac รุ่นอื่น ๆ หลายรุ่นที่ผ่านมา ผลคือเวลาคอมไพล์ทั้งบิลด์ใหม่และ incremental build ใช้เวลาไปแค่ราว 41-45 วินาทีและ 16 วินาทีตามลำดับซึ่งเร็วที่สุด เทียบเท่าเครื่อง Hackintosh ที่ใช้ Ryzen 9 3950X 16 คอร์ แรม 64GB และใกล้เคียงกับ MacBook Pro 16 (2019) ที่ใช้ Core i9
ขณะที่ Final Cut Pro เรนเดอร์ความละเอียด 5K จากกล้อง Red Scarlet-W ความยาว 10 นาที ชิป M1 ทำเวลาไปราว ๆ 6 นาทีครึ่ง ใกล้เคียงกับ MacBook Pro 16 (2019) Core i9
นอกจากเรื่องประสิทธิภาพแล้ว ในแง่ประสบการณ์ใช้งานแอปเนทีฟ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุดคือเวลากดเปิดแอป แอปจะถูกเปิดขึ้นมาแทบจะทันที แม้จะเปิดติด ๆ กัน 6-7 แอปก็ตามที
การทดสอบใช้งานจริง (แอป x86)
แอปส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่ใครหลาย ๆ คนหรือแม้แต่สื่อเมืองนอกเองไม่ได้ตั้งความคาดหวังเอาไว้มากนัก เพราะต้องรันผ่าน Rosetta 2 เพื่อแปลงโค้ดไบนารีจากชุดคำสั่ง x86-64 ให้มาเป็น ARM64 ซึ่งก็น่าจะมีปัญหาหรือความผิดพลาดอยู่บ้าง เพราะสถาปัตยกรรมชุดคำสั่งคนละชุด ไม่น่าสามารถแปลงแล้วใช้งานได้ 100%
Rosetta 2 แปลงโค้ดแบบ AOT (ahead-of-time) ระหว่างกระบวนการติดตั้งแอป ซึ่งจะทำงานอยู่เบื้องหลัง ไม่มีส่วนติดต่อผู้ใช้หรือหน้าจอบ่งบอกใด ๆ เมื่อผู้ใช้เปิดแอปที่เป็น x86-64 ขึ้นมา กระบวนการแปลงโค้ดเท่ากับเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตามเมื่อใช้งานจริง ผลการทดสอบค่อนข้างน่าประทับใจกว่าที่คาด (ติดภาพ Windows on Arm กันล่ะสิ) อย่าง Dave Lee ทดสอบเรนเดอร์ Premier Pro เรนเดอร์ความละเอียด 5K จากกล้อง Red Scarlet-W ความยาว 10 นาที MacBook ทั้ง 2 รุ่นใช้เวลาไปราว 24 นาทีครึ่ง Mac Mini 21 นาที เทียบกับ MacBook Pro 13 (2019) ที่ 33 นาที แพ้ก็แค่ MacBook Pro 16 (2019) เท่านั้น
มีแค่ The Verge ที่ระบุว่าเจอบั๊กตอนเรนเดอร์ Premier Pro แล้วบิทเรทตอนเรนเดอร์ต่ำกว่าที่ตั้งเอาไว้
ขณะที่การทดสอบประสิทธิภาพจีพียู ของ M1 ถ้าเทียบกับชิป ARM บนสมาร์ทโฟนหรือซีพียู Intel ที่มีจีพียูในตัว (integrated graphic) ประสิทธิภาพของ M1 กินขาด แต่แน่นอนว่ายังสู้เครื่องที่รันด้วยการ์ดจอแยกไม่ได้
การใช้งานโดยรวมและความแตกต่างระหว่าง Pro vs Air
ความแตกต่างของ MacBook Air และ MacBook Pro รอบนี้ถือว่าน้อยมาก ๆ ได้แก่ความสว่างหน้าจอ, คุณภาพไมโครโฟน, TouchBar, ลำโพง, แบตเตอรี่และระบบระบายความร้อนชิปเซ็ตที่มีพัดลมและไม่มีพัดลม ซึ่งส่วนที่ถูกพูดถึงเยอะคือ 2 ประเด็นหลังสุด
อย่างที่ทราบกันสเปคภายในของ MacBook Air และ Pro เหมือนกันทุกประการ ผลการทดสอบออกมาก็แทบจะเหมือนกัน หลายสื่ออย่างเช่น MKBHD ตั้งข้อสังเกตว่าเวลาทดสอบเรนเดอร์หรือเบนช์มาร์ค ที่ไม่ได้ใช้เวลานานมาก แทบไม่ได้ยินเสียงพัดลมของ MacBook Pro
พัดลมระบายความร้อนชิปเซ็ตจะเข้ามามีบทบาทเมื่อเรนเดอร์หรือรันเบนช์มาร์คต่อเนื่องนาน ๆ โดย Dave Lee ตั้งข้อสังเกตุเอาไว้ว่าเมื่อทดสอบรันเบนช์มาร์คต่อเนื่องที่ราว 8-9 นาที MacBook Air จึงจะเริ่มเจอปัญหา Thermal Throttling และลดประสิทธิภาพชิปเซ็ตลง
ดังนั้นความแตกต่างที่อาจเป็นจุดช่วยตัดสินใจว่าจะซื้อ MacBook Pro หรือ Air ก็น่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรมการใช้งานซีพียูเป็นหลัก ว่าจำเป็นจะต้องเค้นประสิทธิภาพซีพียูอย่างต่อเนื่องเกิน 10 นาทีมากน้อยแค่ไหน กับจำนวนเงินที่แตกต่างกันราว 10,000 บาท
Dieter Bohn แห่ง The Verge บอกว่า MacBook Pro ก็เหมือน iPhone 12 Pro ที่คุณจ่ายเพิ่มขึ้นแลกกับความดีงามขึ้นเล็กน้อยบนพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว (a nicer version of default)
ส่วนแบตเตอรี่ เป็นอีกหนึ่งจุดที่ได้รับคำชมไปในทางเดียวกันว่าอึดขึ้น ใช้งานได้นานขึ้นและใกล้เคียงที่แอปเปิลโฆษณาเอาไว้ตอนเปิดตัว อย่าง Pro ดูวิดีโอต่อเนื่องได้เกือบ 20 ชม.และ Air ที่ 18 ชม. ส่วนการใช้งานจริง (บนแอป x86 เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ Chrome ที่ก็ยังคงกินแบตเหมือนเดิม) แม้จะพยายามรีดแบตเตอรี่แค่ไหน ก็สามารถใช้งานได้ราว ๆ 8 - 12 ชม. และหากแอปสำคัญ ๆ ออกเวอร์ชันเนทีฟ ก็น่าจะยิ่งประหยัดแบตเตอรี่ไปมากกว่านี้
ปัญหาบน MacBook Pro และ Air ใหม่ไม่ใช่ว่าจะไม่มี หลัก ๆ คือกล้องเว็บแคมที่ยังคงความละเอียด 720p คุณภาพห่วยแตกเช่นเดิม โดยเฉพาะบนรุ่น Pro ที่แพงกว่า แม้ M1 จะมีชิปประมวลสัญญาณภาพใหม่ ที่ทำให้ภาพออกมาดีกว่าตอนใช้ Intel ก็ตาม (The Verge ถึงกับตัดคะแนนจากที่จะให้ 10/10 เหลือ 9/10 เพราะกล้องเว็บแคม)
อีกประเด็นคือการใช้งานแอป iOS ที่ยังมีปัญหาทั้ง UI/UX และบั๊กต่าง ๆ ซึ่งหลายสื่อพูดไปในทางเดียวกันว่าแอปเปิล ช่วยออก MacBook ที่มีทัชสกรีนทีเถอะ ทำมาถึงขนาดนี้แล้ว
สรุป
ซื้อ!!!!
ที่มา - The Verge ( 1 , 2 ), Dave Lee , Anandtech , ArsTechnica , MacWorld , TechCrunch
Comments
โดยรวมดีทุกด้าน ดุไปแล้วถ้าทุกอยุ่มันเข้าทีเข้าทาง แมคน่าจะโดนตัดออกไป เพราะซีพียู แอพต่างๆมันก็แทบจะเหมือนกันหมดแล้ว ไปขายไอแพด แล้วขายคีย์บอร์ดแยก ได้กำไรมากว่า
ถ้าเอาไว้ใช้ทำงานในบ้าน Mac Mini น่าเอามาลองของมากเลย แต่ถ้าไปใช้นอกบ้านโดยที่ไม่เน้นเว็บแคมอันแสนห่วยแตก ก็อยู่ที่จะเลือก ถ้าทำงานเบาก็ Air งานหนักก็ Pro
ผลทดสอบรอบนี้ถือว่าผิดคาดมาก นึกว่าจะแย่ซะอีก
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
คนทำด้าน DevOps ควรขายเครื่องเก่าย้ายไปเครื่องซีพียูใหม่ไหมครับ
Tool ที่รองรับคือสิ่งที่สำคัญครับ อย่าพึ่งรีบจนกว่าจะมีการ Compile ออกมา Support จะดีกว่าครับเพราะว่าอาจจะไม่เข้ากันได้ แล้วต้องดูด้วยว่า Infrastructure เราอะไรเป็นหลักครับถ้าเป็น x86 ละก็ต้องระวังเยอะมาก ก็คงเป็นเรื่อง Tool กับ lib พวกนี้ครับแต่ถ้าบอกว่าหลัก ๆ ทำอยู่บน Cloud Shell อยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาครับ ขอแค่รองรับ ssh ก็น่าจะผ่านหมด
งาน dev อย่าเพิ่งเลยครับ homebrew package ที่ไม่รองรับยังมีอีกเยอะไม่ support golang (ทำให้ docker ใช้ไม่ได้) และยังไม่รองรับ virtualization ใดๆ เลย
ต้องถามตัวเองว่า DevOps ทำอะไรบ้างอ่ะครับ ใช้ Tools อะไรบ้างอ่ะครับ สำรวจตัวเองว่าย้ายแล้วชีวิตดีขึ้นหรือแย่ลง ส่วนผมตอนนี้ รอผลทดสอบ Docker บน M1 ก่อนค่อยตัดสินใจ
มันไม่มี Virtualization นะครับ สาย DevOps ที่ต้องใช้ Docker หรือ k8s อาจจะต้องรอผลทดสอบ Docker Native ARM นิดหนึ่งครับ
Virtualization เริ่มมาแล้วครับ
CrossOver is software (based on Wine Project) that runs Microsoft Windows apps on the Mac by translating Windows APIs into their Mac equivalents. The Codeweavers team was able to run the current version of CrossOver on the new Apple M1 MacBook Air under Rosetta 2 to achieve this feat.
https://www.macrumors.com/2020/11/18/run-windows-software-on-m1/?utm_source=feedly&utm_medium=webfeeds
Virtualization มันมี แต่ CrossOver (หรือ Wine) เป็น translation layer เฉยๆครับ
CrossOver ไม่ใช่ virtual machine และไม่ใช่ emulator เป็นเพียง Windows binary translation layer งาน emulator มี Rosetta ทำให้อยู่แล้ว
ใจเย็นๆ รออีกนิดดดดดดดดส์ มือสันสุดๆ ทั้งที่คอมไม่มีระบบสันในตัว
ถือว่าดีเกินคาด แต่สำหรับผมที่ยังเล่นเกมในคอมอยู่ และใช้ GPU ในการทำงานด้วย M1 ยังไม่เหมาะในตอนนี้ รอ M2 หรือ M3 ตอนนั้นน่าจะมี native apps เยอะพอสมควรละจอสัมผัสผมไม่สนใจเท่าไหร่ อยากให้ใส่จอ OLED มากกว่า จะน่าใช้ขึ้นอีกเยอะมาก
รอ M150 เลยครัฟ
ไม่หลับนานสุดกี่ชม.ครับ?
ได้ ๆ ชอบ 555
รุ่นนี้ไม่มีลิมิต
จะมีรุ่นเดสท็อปแบบอัดคอร์มาแบบ 128 คอร์ไรงี้ไหม
ก็เป็นไปได้ครับ
แต่ผมว่าที่เป็นไปได้มากกว่าน่าจะเป็นพวกที่ 16-32core + 32-64GB DRAM นะ
Apple ติดปัญหาอะไรกับกล้องเว็บแคม o_O
ชนะตระกูล U 15W ไปไกลเลย
ในระดับ dev ทั่วๆไป การเขียนแอพให้ซัพพอร์ต x86 กับ arm มันมีความแตกต่างกันขนาดไหนหรอครับ ผมเคยเขียนแต่เว็บมาแบบก๊อกๆแก๊กๆ อ่านแล้วดูเจ้า m1 ที่ใช้ arm มันดูจะเทพเหลือเกิน
แทบจะรื้อทำใหม่ครับ
Code structure เปลี่ยนด้วยหรอครับผมนึกว่าไม่เปลี่ยนซะอีก ก็ใช้ swift เหมือนเดิมได้นี่นา หรือผมเข้าใจอะไรผิด
ถ้าเป็น Xcode compile ใหม่เฉยๆ นิครับ ตราบใดที่เราไม่ได้ทำ custom อะไรแปลกๆ มันแปลงให้เอง
ถ้ารื้อทำใหม่ แอพที่ผมซื้อมาใช้ แอพใหญ่พอสมควร แต่มีทีมงาน 3 คน
ผมไม่ต้องรอเป็นปีเลยหรอครับ กว่าเขาจะทำเสร็จ 555
ถ้า xcode แค่คอมไฟลไหม่ครับ ไม่รวมเทสนะ
ถ้าไม่เขียน ASM แล้วก็ถ้าไม่ใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงอย่างพวก SIMD Instruction ทั้งหลายก็ไม่น่ายากครับ
ยิ่งพวกภาษา interpreter ยิ่งไม่น่ายากใหญ่ (เพราะคนปวดหัวคือคนเขียนรันไทม์ ฮา)
แต่ที่แน่ ๆ คือต้องทดสอบใหม่ทั้งหมดครับ เพื่อความมั่นใจว่ามันจะเข้ากันได้
เกินคาด หักปากกาเซียนไปพอสมควร ผมรีเฟรช รอกดซื้อทุกวันเลยแอบเสียดายเรื่อง eGPU อย่างเดียว
WE ARE THE 99%
Windows on ARM : O o O
"Chrome ที่ก็ยังคงกินแบตเหมือนเดิม"
ตอนแรกดูผิดคิดว่า M1 ผล Cinebench R23 พอๆกับ ryzen 5950 แต่ดูอีกที single core แต่พอหาผลเปลียบเทียบแบบ multicore ต่างกันมากใครจะซื้อเพราะคิดว่าแรงก็ดูผลที่เพิ่มขึ้นแล้วกัน
M1 ได้ 7800
ryzen 9 5950x ได้ 28600
ryzen 7 4800u ได้ 10500
Intel Core i9-10900K ได้ 17325
Intel Core i7-10750H ได้ 7300
ntel Core i7-1185G7 ได้ 6200
ผมว่าน่าสนใจนะแรงระดับตัดต่อ 4k vdo แถมประหยัดแบตเรื่องเกมส์ผมไม่สนอยู่ละ
แหงล่ะครับ ถ้าแพ้ก็เกินไป
R5950x (ราคาไทย) เฉพาะราคา CPU เดี่ยวๆ เกือบถอย Mac Air ได้ตัวนึงส่วน 10900K เฉพาะราคา CPU เดี่ยวๆ เพิ่มอีกนิกก็ได้ Mac Mini ล่ะ
แต่ผมว่าแค่นี้ Intel กับ AMD หนาว ๆ ร้อน ๆ ละแค่ M1 ยังขนาดนี้ถ้าไม่ทำอะไรดี ๆ หรือปล่อยของที่กั๊กไว้ออกมา Arm เอาไปกินแน่ ๆ
จริงๆก็สงสัยว่าเวปรีวิวจะเอามาเปลียบเทียบทำไมเหมือนจงใจให้คนเข้าใจผิด แถมเอาผลทดสอบแค่บางส่วนมาทั้งที่ความเป็นจริงซื้อมาจะใช้แค่เทรดเดียวหรือเปล่า ถ้าไปดูเวปต้นทางจะเห็นค่อนข้างชัด
ถ้าจะเอารุ่นเปลียบเทียบกันก็น่าจะ Ryzen 5 4800 ราคาไม่ถึง30000 บางรุ่นได้ถึง 1660tiถ้าตัวบางก็ 4800u benchmark 10k up ถ้าเทียบตอนนี้ก็พูดยากนอกจากจะดันผลรีวิวออกมาแบบแปลกๆเหมือนเจ้าของค่ายทำเองอะไรชนะจะเอานิดเอาหน่อยก็เอามาเพราะไม่ใช่ทุกคนที่อ่านครบและเข้าใจหมด
ส่วนฝั่ง Intel คงหนาวตั่งแต่ zen2 ออกมาแล้ว
ที่บอกคอม 3หมื่นบางรุ่นได้นู่นได้นี่ ถ้าคิดว่าดีกว่าต้องเอามาเทียบกันเรื่องตัดต่อ 4K ไฟล์ดิบๆว่าทำได้ลื่นกว่าไหมต้องเทียบแบบนี้แหละเพราะคนใช้แมคส่วนมากก็เอามาทำไม่กี่อย่างหรอก
Single Core สำคัญครับ เพราะ Multi เอากี่ Core มาใส่ก็ได้ ผลก็ตามนั้น และ Single core เห็นผลมากที่สุดใน Task ทั่ว ๆ ไป
แล้วต้องเข้าใจว่า M1 คือตัวล่างสุดของ Apple แล้วนะครับ ใส่มา 4+4 ก็พอดีแล้ว เทียบกับ Intel กับ AMD ก็รหัส U แล้วดูจากราคาด้วย คนจะว้าวก็ไม่แปลก มันหมายความว่า Platform นี้ยังมีอนาคตอีกไกล อนาคตอาจจะมี 8+4 สำหรับ Desktop และ High performance Laptop ก็อาจจะช่วยเรื่อง Multicore ได้
เราอาจจะได้เห็น 16+4 Core ก็ได้ใน Mac pro ในอนาคต ถึงตอนนั้นก็จะเป็นการเปรียบเทียบที่สมน้ำสมเนื้อหน่อยถ้าจะเอามาเทียบกับ Ryzen 9 หรือ Core i9 แต่เข้าใจว่าตอนนี้มันออกมาแค่ตัวเดียวมันเลยเอาไปเทียบซะตัวท๊อปเลยคะแนนมันก็จะห่าง ๆ หน่อย
จริงครับ ผมเห็นคนขิง multicore กันตั้งแต่ในวงการมือถือละ แอปเปิ้ลถ้ามันเอา คอร์ให้เท่าชาวบ้านเขาหน่อย แรงพุ่งนำไปสอง gen ได้เลยแบบ ipad pro เพราะ single core คือต้นทางที่ดี multicore จะเยอะได้มันก็ต้องมี single core โหดๆ อยุ่ดี
Final Cut Render พอๆกันกับ MBP16” เลยหรอ น่าสนใจแหะ
รุ่นต่อไปคงมี ทัชสกรีน
ดูงามทุกอย่างตัดคะแนนเพราะกล้อง อันนี้เห็นด้วย
I need healing.
รอ generation ถัดไป ซื้อแน่นอน!!
ARM มาแบบนี้ซื้อ nvidia ดีกว่า
แหม่ บางคนก็ยังไม่ยอมรับว่ามันเร็วอ่ะนะ ทำไปเทียบกับ desktop chip ตัวท็อป
นี่แค่ตัวอ่อนๆ ไม่มีพัดลม จิบไฟเล็กๆ ยังขนาดนี้
ตัวที่จะใช้กับ mbp16, imac, imac pro, mac pro ล่ะ
Mac ชุดนี้ก็เห็นๆอยู่มันแค่ระดับเบสิค ถ้าเทียบ form factor ระดับเดียวกันก็เรียกได้ว่าไม่เห็นฝุ่น
Arch fabric แบบนี้ จะเอา cpu gpu กี่คอร์ก็แค่นึกเอาแล้ว
+1
ที่เห็นนี่คือจิบไฟ 10W แค่นั้นเอง
ยังเอาไปชนกับ x86 สบายๆ ไม่อยากคิดว่า M1X M1Z M1T (จากข่าวลือ)
ที่จะออกมาหลังจากนี้จะขนาดไหน
ทุกคนอาจจะลืมไปว่า M1 คือ Entry Level
จริงๆอยากจะเรียกว่า อย่าเทียบกันเลยดีกว่า
นี่ยังไม่นับเรื่องกว่าจะ throttling ก็ปาไป 8-9 นาที! บน system ที่ไม่มีพัดลม
ไม่ใช่ 8-9 วินาที ที่พวกชิพอ่อนๆเป็นอยู่ แม้จะติด heatpipe 2-3 เส้นอยู่บนตัวมัน
ผมคิดว่า performance gain (และ power consumption ที่ลดลง) ส่วนหนึ่งมาจากการที่เอา DRAM ไปใส่บน die เลย ซึ่งน่าจะทำให้ลด latency ได้มากโข
แต่แลกกับการที่ผู้ใช้ไม่สามารถอัพเกรดอะไรได้เลย คือก็แอปเปิลสไตล์ (ฮา) ถ้าใช้งานจริงจังมันจะหมดเร็วมาก เช่นการรัน VM การเล่น Software Sampler (สายดนตรี) งานตัดต่อวิดีโอ การเรนเดอร์กราฟิคสามมิติ แรมแค่นี้ไม่พอจริง ๆ
ก็ต้องรอดูว่า พอทำ Desktop Chip ในอนาคต จะยังใช้วิธีวางแรมบน Die อยู่หรือเปล่า แล้วถ้าใช้วิธีนี้แล้วจะรองรับการอัพเกรดภายนอกมั้ย (แล้ว perf จะตกมั้ย ในเมื่อความได้เปรียบด้าน latency ก็น่าจะหายไป) หรือถ้าไม่จะอัดแรมได้หลัก TB อย่างที่งานโปรบางตัวต้องใช้หรือเปล่า ฯลฯ
แล้วที่ผมลุ้นอีกอย่างคือ อนาคต Apple จะเอา nand มาใส่บน die ได้มั้ย จะตัดพอร์ทอัพเกรด storage ทิ้งไปหรือเปล่า แล้วจะมีที่พอใช้มั้ย ฯลฯ
พอคิดเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยผมว่ามันก็สนุกดีนะ
ปล. Apple มีความได้เปรียบอีกอย่างคือการผลิตที่ 5nm node ซึ่งผู้ผลิตอื่นยังไม่ไปกัน
ปล. 2 ผมว่า Zen3 ทำได้ดี งานที่เป็น single-thread ยังสูสีมาก (ส่วน multi-thread ยังไงก็กินอยู่แล้ว thread เยอะกว่ามาก) ส่วนที่ตอนนี้ดูน่าอดสูที่สุดคือ Intel ครับ
AMD ติดเรื่องเดียวสำหรับในไทยคือ ในเรตราคาเดียวกันของเมืองนอก เข้าไทยแพงกว่าอินเทลเยอะครับ
ส่วน Apple ผมคาดหวังเรื่องสายดนตรี กับสายทำ Post Production ด้านเสียง ว่าในอนาคตจะรันงานหนักๆสู้ชิปเดิมๆได้มั้ย
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
มองในแง่ดี ของเราไม่แพงเท่าที่ญี่ปุ่นนะครับ 555
ถ้าพูดถึงเริ่มเพิ่ม RAM เองไม่ได้ อันนี้รู้สึก Macbook รุ่น 13" ไม่ว่าจะ Air หรือ Pro ที่เป็น Intel ก็เพิ่มเองไม่ได้หนิครับ ต้อง Custom จากโรงงาน เพราะมันแปะไปกับ mainboard เลย ดังนั้นผมเลยมองว่า การรวมเข้าไปมันมีผลดีมากกว่าผลเสียที่ว่าเพิ่มเองไม่ได้(ทั้งที่ของเดิมก็เพิ่มเองไม่ได้อยู่แล้ว)
แต่การที่ custom ได้สูงสุดแค่ 16GB นี่อาจจะแย่หน่อย ต้องดูว่ารุ่นต่อไปจะ custom ได้มากกว่านี้ไหมครับ
ถ้าพูดถึงกรณี uncompressed งานโปรดักชันทั่วไปผมว่ายังไงก็ไหว แต่ถ้าไป 4K ขึ้นนี่ไม่พอแล้ว นอกจากแอปเปิลจะ utilize แรมได้โหดจริงเหมือนในอุปกรณ์ mobile จึงจะเหลือ ๆ ซึ่งก็น่าจะมีแต่ซอฟต์แวร์ของแอปเปิลเท่านั้นที่ทำได้ แต่วิธีนี้ใช้กับบางงานยากมาก เช่น VM
ถ้าสำหรับ entry model ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ performance โหดขนาดนั้น อาจจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกก็ได้นะครับ คือกว่าเครื่องมันจะไปไม่ไหว ก็ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนแล้วอะครับ
onedd.net
ถ้าเป็น SW Sampler สายดนตรี อาจจะพอครับ เพราะล่าสุดเห็นมีคนเอาไป test กับ Logic Proเล่นได้ 90 Track บน Ram 8G เฉย
อีก 2-3 ปีคงไม่มีเหตุผลให้ซื้อ notebook x86
ด้วยเพราะว่ามัน CPU เดียวกันทั้ง desktop, notebook
Mac mini เทียบกับ desktop PC อาจจะไม่ค่อยแตกต่าง
แต่ลองเอา notebook มาเทียบซิ มี cpu series U ตัวไหนสู้ได้ใกล้เคียงบ้าง
ไม่พูดถึง series H นะเพราะ ทั้งขนาดทั้งอายุ batt มันไม่เพราะกับ portable อยู่แล้ว
จากใจคนใช้ notebook x86 ราคาเท่า macbook pro
ประสิทธิภาพดีกว่าที่คิด นึกถึงสมัย PowerPC ขึ้นมาเลย
สงสัยตระกูลเครื่อง Server 1U ตอน Steve Job มีชีวิตอยู่ อาจได้กลับมาเห็นอีกครั้งก็เป็นได้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Apple XServe
ก็พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นสิบปี
สงสาร AMD จัง กำลังโงหัวขึ้น ยังไม่ทันโกยเงินเข้าเป๋าเท่าไหร่เลย แอปเปิ้ลมาจากไหนไม่รู้มาตีซะงั้น
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมว่าดีซะอีก AMD จะได้ทำของดีๆออกมาแข่ง ตั้งแต่ Dr.Lisa เข้ามา AMD ก็ดีเอาดีเอา
จะมีเรื่องแบบนี้ไหมนะ ขณะที่เอเอ็มดีรุกคืบแย่งส่วนแบ่งจากอินเทล จนกำลังเป็นผู้ชนะเบ็ดเสร็จ ขุนศึก เฮ้ย ผู้บริหารคนหนึ่งของอินเทลได้เปิดประตูรับแอปเปิลเข้ามายึดส่วนแบ่งแทน ส่วนจะรับเข้ามายังไงไม่รู้ไม่ได้คิด :v (ล้อช่วงราชวงศ์หมิงล่มแล้วราชวงศ์ชิงขึ้นแทน)
ถ้าจะเทียบก็ประมาณว่า ที่ผ่านมา AMD แค่ตบหัว Intel ก็แค่มึนๆ แต่ Apple มานี่ถีบส่ง Intel ลงหลุมเลย
ยิ่งคีย์แมนใน intel ก็แทบจะไม่เหลือแล้ว โอกาสกลับมาเป็นผู้นำน่าจะริบหรี่ คงจะแค่พออยู่ได้
เห็นด้วย เป็นห่วง intel มากกว่า แค่ m1 แรงเท่า i7 เลย ไม่แปลกใจที่ apple จะถอยออกจาก intel
กับ Amd มันคนละตลาดอยู่แล้วนะครับ มันไม่เคยมี amd on Mac อยู่แล้วมีแต่ที่คนลงเถื่อนซึ่งก็ไม่ค่อยดี คนทำงานกับpcเขาก็ยังใช้ pc คนใช้แมคเขาก็ใช้แมค ต่อให้ m1 ทำประสิทธิภาพได้แย่กว่านี้คนใช้แมคเขาก็ใช้แมคอยู่ดีคนใช้ pc เขาก็ใช้ pc อยู่ดี
ที่ตายจริงๆคืออินเทลตะหากที่เคยกินรวบส่งซัพพลายให้แมคแต่ผู้เดียวตอนนี้เขาไม่เอาแล้ว ตลาด pc ก็ถูกตี
แต่จากผลรีวิว ผมว่าคนอยากใช้ mac จะมีมากขึ้น เพราะ แค่ รุ่นเริ่มต้นก็ตัดต่อ 4k ได้แล้วและ MS กับ Google จะไม่อยู่เฉย จะดิ้นเพื่อ มาใช้ arm ด้วยทำให้ arm อาจกลายเป็น platform หลักในอนาคต
+1 คือตอนนี้เห็นอนาคตในอีกอย่างน้อย 5 ปีข้างหน้าเลย ใช่แน่ๆ
+1 และนั่นคือสิ่งที่ผมกลัวครับ ?
กลัวในเรื่องอะไรครับ
คนใช้ mac มากขึ้น -> ตลาดนอก apple คนใช้น้อย -> ผู้ผลิตของที่เป็นกลาง (แบบใครหยิบไปใช้ก็ได้ ถึงอาจจะต้องเสียเงิน e.g. x86-64) ขายได้น้อยลง -> ทุนน้อย พัฒนาได้ช้าลง -> apple นำหน้าตลาดไกลลิบทั้งราคาและประสิทธิภาพ -> ตลาดอื่นเริ่มหาย -> apple มีอำนาจเหนือหลายๆ สิ่ง control ได้ถึงว่าอยากให้ dev ทำหรือไม่ทำอะไร บอกว่าไม่ก็คือไม่ คล้ายๆ บน iOS ครับ
อย่าหาว่าใจร้าย แต่ผมว่าเจ้าอื่นก็ควรสำเหนียกตัวเองแล้วผลิตจองที่มันดีๆ มาสู้สิครับ จะได้ไม่เกิดการผูกขาดเห็นชอบมีคนบอกแอปเปิ้ลเป็นผู้ตามเรื่อยมาๆ
อยากเห็น ARM open source laptop ใช้ macOS ได้จังเลย
ไม่หาว่าใจร้ายหรอกครับ ผมก็กึ่งๆ จะด่าฝั่งเปิดเหมือนกันว่าทำไมขยับตัวกันช้าแบบนั้นอยู่ ?
AMD ก็ตาย ถ้าไม่มีอะไรที่สู้ได้จริงๆมา และจะตายเร็วกว่า Intel ด้วย เพราะ Intel มีเงินบุญเก่าในมือหนาอยู่
คนธรรมดาจะไปใช้แมคกันมากขึ้น เพราะทำงานพื้นฐานได้ดีกว่าและแบตอย่างอืด ไอคำพูดที่ว่าคนชอบอันไหนก็ใช้อันนั้นมันก็จะลดลง
ส่วนพวก pro ก็จะไปใช้แมคกันมากขึ้น ยิ่งสายที่มี app ทั้ง Mac/PC แทบจะไม่ต้องเลือก ถ้ามันเร็วกว่าแบบทิ้งกันขนาดนี้
2 กลุ่มใหญ่ย้ายไป ตลาด PC มันก็ต้องหดลงอยู่แล้ว แค่ว่าจะหดไปขนาดไหน
เมื่อก่อนกล้องฟิล์มมันก็คนละตลาดกับกล้องดิจิตอลครับ ฟีเจอร์โฟนก็คนละตลาดกับสมาร์ทโฟน เผลอแป็บ ๆ เจ้าตลาดเดิมตายดื้อ ๆ เลยครับ
.
ชิพ M1 ขนาดรุ่นแรกยังโชว์ศักยภาพขนาดนี้ ชาว PC มันต้องมีหันขวับมามองบ้าง (ผมยังหันเลย) แล้ว MS ที่พยายามปลุกปั้น Windows on ARM อยู่แล้วก็คงเป็นแล้วมีความหวังว่ามันทำให้ดีมันก็ทำได้นี่หว่า ไหนจะตลาดโมบายล์ที่เติบโตเร็ว พัฒนาเร็วกว่าตลาด PC มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา มันก็เบียดไปเรื่อย ๆ (มาแผ่วเอาตอนช่วง WFH เพราะโควิดเฉย ๆ ) ผมมองไม่เห็นว่ามันจะไม่เกี่ยวกับฝั่ง Intel - AMD ตรงไหนนะครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมคิดว่า กว่าจะถึงขั้นที่ AMD จะตาย อย่างน้อย Apple ต้องกินส่วนแบ่งตลาดได้เกินครึ่งของตลาดพีซีทั้งหมด ซึ่งมันยากมากครับ ณ.จุดนี้นะ
ผมว่าไม่ได้ตายจาก apple ครับ แต่ตายจาก arm ขยายตัว เพราะ Google กับ Microsoft ขยับมาเล่นด้วยครับ
และต้องมี hardware standard ด้วย ตอนนี้โมเดลการพัฒนาเฟิร์มแวร์ของ ARM ยังเป็นแบบตัวใครตัวมันอยู่ ไม่เหมือนฝั่ง PC ที่มี BIOS/UEFI อยู่แล้ว การอัปเกรดฮาร์ดแวร์บน ARM ตอนนี้ยังเป็นไปได้ยาก จะอัปเกรดทีก็ต้องใช้ของที่ผู้ผลิตขาย หรือใช้ฮาร์ดแวร์ที่โคตรของโคตร generic จริง ๆ เช่นอุปกรณ์ USB
ตอนนี้มีทีมโอเพนซอร์สพยายามสร้าง standard อยู่แต่ก็ยังไปไม่ได้ไกลนัก
Apple ใช้ชิปตัวเอง
Microsoft พาร์ทเนอร์กับ Qualcomm
NVIDIA ถือ arm ในมือ ลอยลำ
AMD + intel ตายคู่
ทำไมผมมองว่า ฝั่ง pc ทั้ง intel และ amd ยังไม่หมดหน้าตัก
เพราะเห็นๆอยู่ว่าแค่เส้นทางลำบากเนื่องจากปัญหาด้านมาตรฐานกลางๆที่ใช้กัน ถ้า intel amd ดัดแปลงและออกแบบซิสเต็มของตัวเองได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องสนใจพื้นฐานเดิมๆ แบบรุ่นใหม่ก็ใหม่ทั้งหมดทำเอาอุปกรณ์เดิมๆนำมาใช้งานร่วมไม่ได้ ผมว่า intel และ amd ยังสู้ต่อไปได้
ซึ่งถ้าทำแบบนั้นแล้วใครจะใช้นั่นก็อีกเรื่องนะครับ ?
จริงๆ ปัญหาก็กึ่งๆ คล้ายกับฝั่งโลกเผด็จการ VS โลกเสรีล่ะครับ ?
"ซึ่งถ้าทำแบบนั้นแล้วใครจะใช้นั่นก็อีกเรื่องนะครับ ?" ซึ่งไอ้เรื่องนี้คือเรื่องใหญ่ที่สุดด้วยสิ
เอาจริงนะ Google น่ากลัวกว่า Appleดูจำนวน devices ที่ใช้สิครับมากกว่าขนาดไหน
Google น่ากลัวมานานมากแล้วครับด้วยปริมาณข้อมูลที่ได้ไปมหาศาล แต่ผมยอมแพ้เข้าร่วมกับ Android ไปเมื่อหลายปีก่อนแล้ว orz
i กับ A ยังต้องยืมจมูก MS หายใจอยู่เยอะครับ
และจุดขายของ MS คือการ Backward Compatibility ซึ่งการที่จะมาล้มโต๊ะเลิกสนใจของเดิมเลยนี่ เท่ากับกลับไปเริ่มนับ 0 ใหม่เลยนะครับ ขนาด Apple ยังไม่กล้าตัดของเก่าให้ขาดทั้งหมดเลย
ถ้าจะสู้ให้ได้ MS ต้องทำ OS ที่ร่วมพัฒนากับ i และ A และพาร์ทเนอร์ชิ้นส่วนทุกอย่าง ให้ออกมาเป็น Device ที่สมบูรณ์ได้ในระดับเดียวกับ Apple ครับ อย่างน้อยๆก็ให้ Touchpad การปรับ dpi การอัพเดทระบบ และหน้าSetting มันดีได้ในระดับเดียว กับ Mac ก็ยังดีครับ
แล้วตั้งเป็น OS Premium ไปเลย เจาะกลุ่มคนทำงานด้วยการไปจีบโปรแกรมระดับ Production มาร่วมวงด้วย ถ้าได้ Performance ดีๆ ก็อาจจะแข่งกับ Apple ได้ครับ เพราะผมเข้าใจว่าคนทำงานกลุ่มนี้เค้าไม่น่าสนโปรแกรมเก่าๆอยู่แล้ว ขอแค่โปรแกรมที่ใช้ทำงานมันใช้งานได้ดี
ส่วน Windows ก็ปล่อยเป็น OS มหาชนไปเถอะครับ มันคงปรับให้ตรงใจทุกคนไม่ได้แล้วละครับ กลุ่มคนใช้งานมันหลากหลายเกินไป
แอปเปิ้ลอาจจะมีเซอร์ไพรส์ ทำ M1X ใส่ cpu สองตัวช่วยกันทำงานสำหรับรุ่น 16"
เป็น chiplet design วางแยกไดกันแต่อยู่ในแพคเกจเดียว :)
M1 สามารถทำ Multi CPU ได้ไหมนะ อยากรู้จริงๆ
5800x ที่ผมชี้อได้อาทิตย์หนึ่งกำบังใจสั่นกับอนาคต
โห มาอย่างดีเลยแฮะ
ปล. ชอบรีวิวมาก อ่านสนุก
..: เรื่อยไป
น่าซื้อมาก โดยเฉพาะเรื่องประหยัดแบต
my blo g : : sthepakul blo g