The New York Times ได้เอกสารภายในที่ยื่นชั้นศาลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงสัมภาษณ์ทั้งอดีตและพนักงานปัจจุบันของแอปเปิล 17 คน, ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย 4 คน เผยข้อมูลที่ไม่เคยได้รับการรายงานที่ไหนมาก่อนว่าแอปเปิลมีความประนีประนอมกับรัฐบาลจีนมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเรื่องการเซนเซอร์เนื้อหาตามแนวทางรัฐบาลจีน การปฏิเสธการเข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในจีน
การวิเคราะห์ของ The New York Times พบว่ามีแอปจำนวนมากกว่าที่รายงานข่าวหายไปจาก App Store ในจีนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่แอปข่าวสารต่างประเทศ, แอปหาคู่รักเพศเดียวกัน, แอปแชทเข้ารหัส, บล็อกเครื่องมือช่วยการประท้วง และบล็อกเนื้อหาเกี่ยวกับดาไล ลามะ โดยตั้งแต่ปี 2017 แอปที่ใช้งานอยู่ประมาณ 55,000 แอปได้หายไปจาก App Store จีน ซึ่งกว่า 35,000 แอปเป็นเกม
ภาพประกอบจาก แอปเปิล
ด้านศูนย์ข้อมูลของแอปเปิลในจีน การประนีประนอมของแอปเปิลทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหยุดรัฐบาลจีนไม่ให้เข้าถึงข้อมูลประชาชนอย่าง อีเมลรูปภาพ เอกสารรายชื่อติดต่อ และที่ตั้งของผู้อยู่อาศัยในจีนหลายล้านคนได้เลย เนื่องจากใช้บุคลากรของรัฐในการดูแล ไม่ใช้การเข้ารหัสเนื่องจากรัฐบาลจีนไม่อนุญาต จากการสัมภาษณ์พนักงาน ยังระบุด้วยว่า ทิม คุก เองก็พยายามค้านอำนาจของรัฐบาลจีนภายใต้ สี จิ้นผิง ที่พยายามควบคุมบริษัทต่างประเทศ แต่สุดท้ายก็ต้านไม่อยู่ ยอมอนุมัติแผนการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าบนเซิร์ฟเวอร์ของจีน
ในประเทศจีน แอปเปิลได้ยกสิทธิ์การเป็นเจ้าของข้อมูลลูกค้าตามกฎหมายให้กับบริษัท Guizhou-Cloud Big Data หรือ GCBD ซึ่งเป็นบริษทของรัฐบาล อยู่ในมณฑลกุ้ยโจว ลูกค้าชาวจีนต้องยอมรับ เงื่อนไขใหม่ของ iCloud ที่ระบุว่า GCBD เป็นผู้ให้บริการและแอปเปิลเป็นบริษัทที่เพิ่มเติมเข้ามา ตัวเงื่อนไขระบุว่า แอปเปิลและ GCBD จะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ในบริการนี้ รวมถึงสิทธิ์ในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนและเปิดเผยข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตอนนี้มีศูนย์ข้อมูลของแอปเปิลในเมือง Guiyang ที่คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ และศูนย์ข้อมูลในแคว้น Inner Mongolia ซึ่ง ทิม คุก เคยให้สัมภาษณ์ว่าตัวข้อมูลนั้นจะถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย Nicholas Bequelin ผู้อำนวยการ Amnesty International กลุ่มสิทธิมนุษยชนประจำภูมิภาคเอเชียกล่าวว่า แอปเปิลกำลังกลายเป็นฟันเฟืองสำคัญของรัฐบาลจีนในการเซนเซอร์เนื้อหา ซึ่งจากพฤติกรรมการควบคุมของรัฐบาลจีนที่ผ่านมา มองไม่เห็นการต่อต้านใดๆ จากแอปเปิลเลย
The New York Times สัมภาษณ์ Doug Guthrie จากมหาวิทยาลัย George Washington University ที่แอปเปิลในปี 2014 จ้างไว้ทำวิจัยเกี่ยวกับตลาดในประเทศจีน โดยเฉพาะเรื่องซัพพลายเชน ก็ได้ข้อสรุปว่า จีนตอบโจทย์แอปเปิลในเรื่องกำลังการผลิต ในขณะเดียวกันก็ระบุความเสี่ยงจากอำนาจรัฐจีนแก่ผู้บริหารในแอปเปิลไปแล้ว ซึ่งแอปเปิลก็รับรู้ข้อนี้อยู่แล้ว จนกระทั่งในปี 2016 จีนก็ผ่านกฎหมายเก็บข้อมูลผู้ใช้งานไว้ในประเทศจีน ชกระทบการใช้งาน iCloud เต็มๆ ซึ่งถ้าแอปเปิลไม่ยอมทำตามกฎหมาย บริการ iCloud จะต้องถูกปิดใช้งาน
ล่าสุดแอปเปิลออก แถลงการณ์ ยืนยันว่าใช้มาตรฐานความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในจีนเท่าเทียบกับระดับเดียวกับประเทศอื่นๆ กฎหมายจีนกำหนดว่าข้อมูล iCloud ที่เป็นของคนชาตินั้นจะต้องอยู่ในประเทศ ซึ่งบริษัทได้ปฏิบัติตามแล้ว แต่ไม่เคยประนีประนอมกับความปลอดภัยของผู้ใช้ ยังคงใช้การเข้ารหัสอยู่ และแอปเปิลเป็นผู้เก็บรักษาคีย์เพื่อความปลอดภัยเอง
ที่มา - The New York Times
Comments
air tag จะรอดมั้ย
ถ้าจริง แปลกตรงไหน ทำแล้วเข้าไปขายได้ ได้เงินมหาศาล ซึ่งบริษัทหน้าเงินแบบนี้ย่อมปฏิเสธไม่ลง
เงินมหาศาล ใครจะไม่ยอมละ
ถ้ามองอีกมุมนึง ชาวจีนก็เลือกไม่ได้อยู่แล้ว เพราะทุกบริษัทที่เข้าไปขายในจีนต้องทำแบบนี้หมด
ประเด็นคือ คนใช้อาจจะเกิด false sense of security จากการโหมโฆษณาสร้างภาพมาตลอดว่าตัวเองปลอดภัยไม่ยอมให้แม้แต่ FBI ขอดูข้อมูล ฯลฯ ก็อาจจะทำให้ชีวิตซวยได้ถ้าบอกไปตรงๆ ว่าลูกค้าจีนไม่ปลอดภัยแบบที่อื่นนะจ๊ะอะไรก็ว่าไป อย่างนี้คงไม่มีใครมากล่าวหาว่าหลอกลวงได้
ส่วนตัวผมคิดว่า คนจีนน่าจะเคยชินอยู่แล้วว่ารัฐบาลเก็บข้อมูลทุกสิ่งอย่าง และแอปเปิ้ลคงไม่โฆษณาเรื่อง Security ของตัวเองในจีนเท่าไร
บริษท => บริษัท
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ชกระทบ => กระทบ
เก่งแต่นอกจีน ชอบคำนี้ นี่แสดงให้เห็นว่าคนเห็นเงินมีค่าแค่ไหน พี่น้องยังตัดกันได้เลย ประสาอะไรกับบริษัทๆนึงที่ไม่ได้มีอุดมการณ์อะไรหรอก พูดดูดีไปงั้น เงินมาก็ลืมทุกอย่างไปหมด หึๆๆ
ไม่กล้าทิ้งตลาดจีนหรอก
พ่อค้าจะไปสู้กับประธานาธิบดีก็น่าจะยากอยู่นะ
That is the way things are.