องค์การอนามัยโลกประกาศรับรอง (validate) วัคซีน Sinovac-CoronaVac ที่ตอนนี้นับเป็นวัคซีน COVID-19 ตัวหลักของประเทศไทยให้เข้ารายชื่อวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานแบบฉุกเฉิน (Emergency Use Listing - EUL) เป็นตัวที่ 6 ต่อจาก Pfizer/BioNTech, AstraZeneca, Janssen (Johnson & Johnson), Moderna, และ Sinopharm
กระบวนการรับรองเข้า EUL เป็นเงื่อนไขที่วัคซีนจะสามารถนำไปใช้งานในโครงการ COVAX Facility ได้ โดยกระบวนการพิจารณาอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกมาร่วมพิจารณาข้อมูลทั้ง คุณภาพ, ความปลอดภัย, และประสิทธิผลของตัววัคซีน
แม้ว่าจะมีรายงานการศึกษาประสิทธิผลของ Sinovac-CoronaVac หลายครั้งและได้ตัวเลขประสิทธิผลต่างกัน แต่ทางองค์การอนามัยโลกระบุว่าประสิทธิผลของวัคซีนในการกันป่วยแบบมีอาการอยู่ที่ 51% และสามารถกันอาการรุนแรงได้ 100% แต่ผลการวิจัยในผู้สูงอายุเกิน 60 ปียังมีน้อยและทางองค์การอนามัยโลกไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีประสิทธิผลเพียงใดแต่ก็ไม่แนะนำให้จำกัดอายุการใช้งาน โดยแนะนำให้ประเทศที่ใช้งานติดตามประสิทธิผลของวัคซีนต่อไปเพื่อประโยชน์ต่อประเทศอื่นๆ
ที่มา - WHO
ภาพโดย qimono
Comments
51% ผ่านฉิวเฉียด
ส่วนตัวเป็นวัคซีนที่ทำให้รู้สึกอยาก-หิว จริงๆ
ใครจะฉีดเชิญจ๊ะ เราขอผ่าน รอตัวอื่น
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
แค่พอดีผ่านหรือเปล่าเนี่ย จะไหวหรอ
ไหวล่ะครับ ตอนเรายังไม่มีวัคซีนแล้วขีดเส้นไว้ที่ 50% นี่เราก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้เมื่อไหร่ ตัวเลขนี้ก็คิดมาแล้วว่าน่าจะช่วยลดความรุนแรงได้ ถ้าฉีดทั้งประเทศอีกหน่อยเป็นก็น่าจะดูอาการอยู่กับบ้านได้แล้ว
แน่นอนเราอยากได้ดีกว่านี้ แต่นาทีนี้ถ้ายังมีแค่นี้ก็ฉีดก่อน WHO เองก็บอกว่าฉีดตัวอื่นได้หลังจากฉีดตัวนี้แล้ว 14 วัน
lewcpe.com , @wasonliw
ขอ source หน่อยได้มั้ยครับ อยากอ่านอันนี้หน่อยตอนนี้พยาบาลที่ฉีดให้ผมบอกว่าต้องรอ 6 เดือนถึงจะฉีดตัวอื่นได้แนะ
จาก เอกสารแนะนำของ SAGE หัวข้อ Co-administration with other vaccines
แต่ 14 วันเป็นตัวเลขขั้นต่ำ โรงพยาบาลหรือสาธารณสุขแต่ละประเทศคงกำหนดกันเองเพิ่มเติม มากกว่าก็ไม่น่าแปลกใจ
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณครับ
+1 กันตายได้ก็ดีหน่อย และถึงแม้จะติดก็ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขไม่ให้ล่มได้
ครับ รอแค่ 14 วันไปฉีดตัวอื่นค่อยดีหน่อย นึกว่าต้องรอครึ่งปีงี้
ไหวครับ เพราะถ้าเกิดเราจะบอกว่าผ่าน 1 คะแนนไม่พออย่างน้อยน่าจะผ่านซัก 10 คะแนนสิ แล้วถ้าเกิดปรับเกณฑ์เป็น 60% แล้วมีตัวที่ทำได้ 61% จะมีคำถามว่านี่ผ่านคะแนนเดียวเองอีก ก็จะวน loop ไปเรื่อย ๆ
เพราะฉะนั้นถ้ากำหนดเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าแล้วผ่านก็คือผ่านครับ
กลัวแบบปัดเศษเล่นเทคนิคอะไรแบบนี้นะครับ ให้พอดีผ่านหรือตั้งเกณฑ์เพื่อช่วยจีนขายของประมาณนี้อะครับอาจจะคิดมากไป ช่วงนี้จีนอิทธิพลใหญ่ซะด้วย
A: ประสิทธิภาพของวัคซีนเมื่อเทียบกับวัคซีนอื่น
B: ไม่ขอตอบ เพราะเป็นเรื่องไร้สาระ
A: ....
เกิดมาพึ่งเคยเห็นนี่แหละครับ คนเป็นหมอกลับบอกว่าประสิทธิภาพของยาไร้สาระ
อะไรที่ไม่เคยเจอก็ได้มาเจอในยุคนี้จริงๆ
ผมกลับเข้าใจหมอนะ เพราะการอธิบายว่า การคำนวณ efficacy ของวัคซีนแต่ละตัว มันคิดมาจาก controlled trials คนละกลุ่ม เกิดคนละที่ คนละเวลา สภาวะการระบาดก็ต่างกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มันเจาะผ่านกะลา หรือ โลกทัศน์ของคนบางกลุ่มไม่ได้จริงๆ
ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ออกมาบอกว่ามีกระบวนการที่สามารถทำให้เปรียบเทียบวัคซีนกันได้แม้ไม่ได้ทำ head-to-head comparison ตามในคลิปนี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=miN9WSQEoIc
อีกสาเหตุที่วัคซีนที่ได้ประสิทธิภาพเปอร์เซ็นต์การป้องกันสูง คือ วัคซีนเหล่านั้นส่วนมากจะเป็นวัคซีนที่ผลิตออกมาในช่วงโควิตพึ่งระบาด ทำให้ผลการทดสอบออกมาดีด้วยครับ (ก็แหงล่ะ)
ส่วนวัคซีนตัวไหนออกช่วงโควิตพีคสุดหรือช่วงวัคซีนกลายพันธุ์ไปแล้ว ผลประสิทธิภาพผลการทดสอบจะออกมาต่ำ ทั้งที่ต่อให้เอาตัวเดิมมาเปลี่ยนชื่อแล้วทดสอบใหม่ก็ตาม
good news
ในหน้า 6 ของเอกสาร มีคำว่า BBIBP (Beijing Institute of Biological Products) ที่เป็นสถาบันผู้ผลิต Sinopharm มาด้วย นี่งาน copy paste ป่ะเนี่ย
องค์การอนามัยโกล > องค์การอนามัยโลก
เป็นองค์การตรวจสอบสุขภาพผู้รักษาประตูในกีฬาฟุตบอลครับ ^ ^"
หน่วยงานไทยcropรูปเอกสารWHO ตัดคำว่า 51% ออกไปซะงั้น แล้วมาเขียนด้วยคำพูดว่า 51-84% แถมด้วยreal world 94%(จากไหน? WHOไม่ได้พูดถึงเลย)
ท่อนนี้หายไป Vaccine efficacy results showed that the vaccine prevented symptomatic disease in 51% of those vaccinated and prevented severe COVID-19 and hospitalization in 100% of the studied population.
ป.ล. ข้อความในเพจหน่วยงานรัฐcopy จากfbส่วนตัวของบุคคลหนึ่งมาแบบไม่แก้ไขเลย...ป.ล.2 ก็แปลกใจว่าจนป่านนี้ paper phase3 ก็ยังไม่ลงตีพิมพ์ มีแต่ฉบับpre-print
เขร้ ไม่ด้านจริงทำไม่ได้นะเนี่ย ตัดแปะง่าวๆแบบนี้ แต่ก็นั่นแหละเพราะมีคนเชื่อโดยไม่มีเงื่อนไขอยู่จริงเขาก็เลยยังทำอยู่
น่าจะเป็นกรณีในอินโดนะครับ
China's Sinovac vaccine may be better than previously thought: It was 94% effective at preventing symptomatic COVID-19 in a real-world study, Indonesian officials said
หน่วยงาน ควรเอาข้อมูลจาก WHO มาอ้างอิง ไม่ใช่เอาจากสำนักข่าวมาอ้างอิงแบบนี้เท่ากับลดความน่าเชื่อถือของตัวเองครับ
เข้าใจครับ แต่เขายกรูปหนังสือรับรองของWHO แต่ดันไม่เอาข้อความของWHOมาอ้างอิง
การนำตัวเลขอื่นมาใส่ มันก็ไม่ต่างจากชี้นำให้เข้าใจผิดว่า WHOเป็นคนระบุตัวเลขนี้
เอาจริงๆ Sinovac มันก็ไม่ได้เลวร้ายนักหรอก แต่มันก็ไม่ได้วิเศษวิโสไปกว่าวัคซีนอื่นเหมือนกัน
ตอนนี้ที่มีปัญหาคือเรื่องการประชาสัมพันธ์และความโปร่งใสของรัฐเสียมากกว่า พอสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนไม่ได้ หลายคนก็ต้องไปหาข้อมูลเอาเองในทะเลที่เต็มไปด้วยเฟคนิว มันก็ยิ่งบานปลายเข้าไปอีก
ว่าแต่... ถ้าเป็นแบบนี้ Sinovac จะถูกเพิ่มเข้าไปในรายการวัคซีนที่ฉีดแล้วสามารถเข้าประเทศอื่นๆได้โดยไม่ต้องกักตัวไหมนะ?
ผมว่ามันก็ไม่ได้แย่นะ ยังไงมันก็กันอาการหนักได้
นี่อยากฉีดมาก แต่ไม่ได้ฉีดสักที
ส่วนเพื่อนทีด่า ๆ นี่ ฉีดกันรัว ๆ จนน้อยใจ
รึต้องด่าถึงจะได้ฉีดบ้าง
อย่างน้อยก็น่าจะลดความรุนแรงไม่ให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ณ ตอนนี้ก็ฉีดไปก่อนครับ เดี๋ยวพอเรามีตัวเลือกเยอะขึ้น เดี๋ยวความต้องการของตลาดมันเทไปหาตัวที่คนเชื่อมันเอง
แต่ที่พูดแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าผมมองว่ารัฐบาลจัดการเรื่องวัคซีนได้ดีหรอกนะ คือสั่งช้าน่ะไม่ว่ากัน แต่พอจำเป็นต้องสั่ง วัคซีนที่ WHO อนุมัติให้ใช้งานฉุกเฉินได้แล้ว เราก็ควรออกกฏหมายพิเศษให้สั่งนำเข้าได้ทันทีเหมือนกัน
..: เรื่อยไป
ประเด็นคือ มันไม่ได้ถูกกว่าตัวอื่นที่ประสิทธิภาพดีกว่าด้วยเหมือนกัน