ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหรือที่รู้จักกันในโลกออนไลน์ชื่อว่า Tony Woodsome เปิดเว็บไซต์ใหม่ Thaksin Official เป็นเว็บรวมแนวคิดทางการเมืองและวิสัยทัศน์ทั้งในรูปแบบวิดีโอ และพอดแคสต์ Good Monday โดยมีแท็กไลน์หลักสำหรับเว็บไซต์คือ "เราต้องมีความหวังในวันนี้และวันพรุ่งนี้"
ปัจจุบัน ทักษิณ สื่อสารในโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งการพูดคุยบน Clubhouse, Facebook Live เป็นต้น ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปิดตัวเว็บคือ นายพานทองแท้ ชินวัตร น.ส.พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นการเปิดเว็บไซต์เพื่อเป็นของขวัญวันเกิดครบรอบ 72 ปีของนายทักษิณ ชินวัตร
ที่มา - ไทยรัฐ
Comments
วงเวียนพระเจ้ากรุงธนฯ ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ดูแกพยายามจับกลุ่มวัยรุ่นอย่างมากเลยนะ
ผมเดาว่าอาจจะเพราะเสียคะแนนจากกรณีพรรคเพื่อไทยในหลายๆ ครั้งครับ ผมสังเกตดูในฟีดผมเองในกรณีดราม่าเพื่อไทยก้าวไกล คนอายุ 35 ขึ้นจะเอนไปทางเพื่อไทย ส่วนอายุน้อยกว่านี้จะเอนมาทางก้าวไกล ผมเลยคิดเอาเองว่าแกอาจจะต้องการเจาะฐานก้าวไกลเอามาเป็นของเพื่อไทยให้ได้ครับ
คนนับถือความรู้ความสามารถเขานะ แต่ไม่ช่วยเรื่องคะแนนนิยมหรอก เด็กเริ่มดูออกกันเยอะล่ะ นักการเมืองเพื่อไทยชอบเคาะกะลาให้หมาดีใจ(สำนวน ไม่ได้ว่าใครเป็นหมา) พูดเหมือนเห็นอกเห็นใจประชาชนที่เดือดร้อนในเรื่องต่างๆ เอาเข้าจริงก็ผลประโยชน์ตัวเองมาก่อนอยู่ดี ต่างจากพรรคส้มที่อุดมการณ์ล้วนๆ เล่นการเมืองเอามันส์ไม่เอาผลประโยชน์ เข้ามาทุบปัญหาเชิงโครงสร้างรัวๆ คนที่แฝงตัวเข้ามาหาผลประโยชน์เป็นผีขอส่วนบุญ เขาก็ไม่เลี้ยงไว้ ถ้าจะชิงคะแนนต้องมาสู้ที่จุดนี้
ทำงานบริหารมันจะฟัดอย่างเดียวไม่ได้หรอก ต้องประสานความร่วมมือทุกฝ่ายได้ถึงแม้จะเป็นฝ่ายตรงข้ามเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก รวมถึงใช้คนเป็นเลือกคนเหมาะสมกับปัญหา เอาจริงๆ ผู้นำไม่จำเป็นต้องเก่งกาจมากก็ได้ แต่อย่าปากพาจน จนคนเก่งเบือนหน้าหนี มีวิสัยทัศน์ดึงดูดคนเก่งมาทำงานให้ตามวิสัยทัศน์ได้
ผมว่าพรรคก้าวไกลยังต้องเรียนรู้อีกเยอะโดยเฉพาะเรื่องการประสานความร่วมมือเนี่ย งานใหญ่ทำคนเดียว พรรคเดียวไม่ได้หรอก ที่สำคัญต้องรอจังหวะเป็นด้วย เก่งแค่ไหนโดนทุบหัวเปรี้ยงตายก็จบ งานบริหารมันต้องพวกฆ่าได้แต่ตายยาก ทำงานเป็นทีม
เห็นด้วยครับ ส่วนตัวเห็นวิสัยทัศน์ เห็นความเป็นคนรุ่นใหม่ของก้าวไกลแล้วก็ยอมรับเลยว่าชื่นชม แต่เรื่องบริหารนี่บอกเลยว่ายังอีกไกล ประชาชนนิยมแต่สภาไม่นิยมด้วยนี่ทำงานยากมาก
เห็นด้วยครับ งานบริหารแค่เก่งและมีความสามารถมันไม่พอครับ มันต้องเอาตัวรอดได้ด้วย
จริง ทุบโครงสร้างทันทีแบบนี้ จะบริหารแก๊งราชการยังไงไหวครับ เจอเกียร์ว่างไปก็ร้องแล้วผมว่า
เห็นด้วยครับพรรคส้มเล่นการเมืองไม่เป็น อ่านเกมการเมืองยังไม่ออกถึงแม้ว่าจะมีอุดมการณ์สูงได้ใจวัยรุ่น ถ้าได้บริหารประเทศจริง นี่น่ากลัวเลย
กก. ยังไม่ทันได้ออกลายเลยครับ รอเขามีโอกาศทำผลงานก่อน ค่อยยกย่องว่าดีอย่างงั้นอย่างงี้
อย่าลืมว่าที่กลุ่มที่พวกคุณออกมาต่อต้าน เขาไม่ได้พึ่งมามีอำนาจตอนนี้ องค์กรเขาอยู่มานานแล้วไอโอสมัยนี้จิ๊บๆ เพราะเขาถือว่าเขาชนะแล้ว เลยมี "ฝึกงาน" ให้มีข่าว มีเอกสารรั่ว ให้กลุ่มที่ยังหัวแข็งอยู่ออกมาต่อต้าน
สมัยก่อนมันแนบเนียนกว่านี้ เห็น พท. โดนศาลทุบรัวๆ ไหม? เห็นโครงการจำนำข้าวไหม? เห็นการดำเนินคดีย้อนหลัง ที่ขัดกับหลักนิติธรรมไหม? วาทะกรรมทุจริตเชิงนโยบาย พวกคุณยังไม่โดนเลย เจอปารีณา เจอลุงพลก็โดนแย่งพื้นที่สื่อ ไปกันไม่เป็นแล้ว
ก้าวไกลยังไม่มีผลงานอะไรที่จับต้องได้ชัดๆเลย มุมนึงคือยังไม่ได้เป็นฝ่ายรัฐบาลและได้ขับเคลื่อนนโยบายจริงๆจังๆ แต่อีกมุมคือยังไทำหน้าที่ฝ่ายค้านได้ไม่ดีเท่าไหร่เลย พูดอยู่ตลอดว่ารัฐบาลมีปัญหาทุจริตต่างๆนาๆ แต่หาหลักฐานแบบหมัดน๊อกไม่ได้ซักที คือถ้าจะเข้ามาเล่นการเมือก็ต้องทำได้ทั้ง 2 ฝั่ง ถ้าเป็นฝ่ายค้านได้ดี ข้อมูลชัดเจน คนก็จะมีความเชื่อมั่นจนได้รับความไว้วางใจในครั้งหน้าด้วย
ขอแก้ต่างให้ฝ่ายค้านนิดนึงตรงเรื่องจับทุจริต จริงๆหลักฐานที่ยกขึ้นมาผมว่ามันแข็งแรงพอจะเป็นหมัดน๊อคได้แล้วนะ แต่ด้วยความเอียงกระเท่เร่ของศาลแบบนี้กลายเป็นรอดตลอด (อีกฝั่งยกข้อมูลมาแบบเบาบางก็เห็นผลจนถึงขั้นยุบพรรค ตัดสิทธิ์ทางการเมืองได้เลย) ผมเลยไม่อยากจะโทษฝ่ายค้านเรื่องนี้สักเท่าไหร่
+1 ครับ ผมเห็นแบบคาตากลางสภาหลายรอบละ ที่ติดตาก็เรื่องรัฐมนตรีพ่อค้ายา , กองทัพ IO ที่โดนแหกในสภาจนต้องแกล้งลุกหนีไปกดออกกลุ่มกันรัวๆ
แต่ด้วยความเอียงกะเทเร่ของระบบยุติธรรมของประเทศ ทำให้จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่มีใครโดนลงโทษอะไรทั้งนั้น เป็นอารยะประเทศนี่ต้องมีคนโดนไล่ออกไปละ
ผมก็อายุไม่มากไม่มายเท่าไหร่
แต่ก็พอเห็นการเมืองมาหลายยุคหลายสมัย
เห็นประโยคที่บอกว่า เค้าเล่นการเมืองเอามันส์ ไม่เอาผลประโยชน์แล้วอยากจะบอกว่า
เราชอบใจในอุดมการณ์การทำงานของใครก็ได้
แต่อย่าพึ่งปักใจ ชื่นชมว่าเขาจะเป็นคนดี ไม่เอาประโยชน์จากใคร
นี่ไม่ได้หมายความว่าปัจจุบันเค้าเป็นคนเลวนะ
แต่แค่ไม่อยากให้หลงไหลได้ปลื้มกับนักการเมืองคนใดคนนึงมากเกินไป
อยากให้คิดซะว่าเราเป็นบอร์ดบริษัท แล้วพวกเค้าเป็นคณะผู้บริหารที่เราเปิดรับสมัครเข้ามา
เลือกเค้าที่ทัศนคติและวิสัยทัศน์ อย่าเลือกเพราะคิดว่าเค้าจะเป็นคนดี
อนาคตยังมี ค่อยๆดูไป คนก็คือคน มันเปลี่ยนแปลงกันได้เผื่อวันไหนเค้านอกลู่นอกทางขึ้นมา จะได้ไม่ต้องเสียดาย
+1
ควรยึดถือที่ระบบที่ถูกต้อง ไม่ใช่ยึดถือคนที่ถูกใจอ่ะครับ บางทีก็อยากเตือนน้องๆที่กำลังแรงเรื่องการเมือง เรากำลังสู้กับระบบที่บิดเบี้ยว เราต้องการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารประเทศให้มีประสิทธิภาพและตรวจสอบได้ การเฮกันไปอวยบุคคลใดๆว่าเหมาะสมจะเข้ามาบริหารประเทศก็เหมือนกลับไปอีหรอบเดิมแค่เปลี่ยนฝั่ง
จริงครับ แกบอกตลอดว่าเด็กคืออนาคตของชาติ
ผมว่าไม่เชิงนะ
สื่อประเภทนี้ ผมว่าถ้าในเมือง กลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ก็บริโภคเยอะอยู่ครับ
แม่ผมอายุ 50 ต้นๆ ยังไปตามแกใน clubhouse เลยครับ แหะๆ
ผมว่าแกอ่านเกมออกครับ วันรุ่นที่ใชีชีวิตในช่วงปี 50 มาจนถึงเลือกตั้ง 60 เป็นต้นมา ไม่สบอารมณ์กับกลุ่มบริหารชุดนี้อีกแล้ว... และมีการตั้งข้อสังเกตุในวิสัยทัศน์ของผู้นำคนปัจจุบันอย่างมาก
แล้วแกชูเอาวิสัยทัศน์ของตัวเองในสมัยที่แกทำงานมาเล่าให้ฟัง มันเลยลงล๊อคเข้ากันกับสถานการณ์ปัจจุบันพอดีเปะ
อยากเห็นการแจมใน twitter spaces บ้าง
เสียดาย ถ้าท่านไม่โดนเล่นงาน ไทยน่าจะเจริญกว่านี้มาก
ถ้าไม่โกงก็ไม่โดนเล่นงาน
รออีกคน...ลงหลังเสือเมื่อไหร่ รับรอง โดน
ที่ผ่านมา ในประวัติศาสตร์สยามมันเคยมีนักการเมืองคนไหนเป็นคนดีทำเพื่อบ้านเมืองจริงๆบ้าง
+1
โกงอะไรบ้างครับ ที่เห็นเป็นชิ้นเป็นอันก็แค่เซนต์ชื่อให้เมียประมูลซื้อที่
ขนาด คตส. ที่ได้ทั้งแก้วหน้าม้า ทั้งหญิงเป็ดมาทำ ก็ยังฟ้องเป็นชิ้นเป็นอันอะไรไม่ได้
ขนาดบอกว่าเอื่อประโยชน์พวกพ้องเปลี่ยนระบบสัมปทานมาเป็นใบอนุญาตก็พิสูจน์แล้วว่ามันทำรายได้เข้ารัฐมากกว่าสัมปทานแบบเดิมหลายเท่า
แล้วคดีที่ตัดสินว่าผิดนี่ไม่มีคดีไหนที่ตัดสินในศาลปกติสักคดี มีแต่ตั้งคนตัดสินมาเองแล้วก็ตัดสินตามธงกันไปพอหลอกให้เสื้อเหลืองได้ชุ่มชื่นหัวใจ
หรือถ้าจะเอาที่ท่านบอกเองว่าถ้าไม่โกงก็ไม่โดนเล่นงานก็ดูเอสครับว่านายกสมัคร ที่ไม่มีการโกงอะไรเลย ก็ยังโดนเล่นงานด้วยการเอาพจนานุกรมมาตัดสินแทนที่จะใช้กฏหมาย
เพราะงั้นอย่าอ้างโกงเลยโดนเล่นงานเลยครับมันดูแล้วเหมือนไร้เดียงสาทางการเมืองเอามาก ๆต่อให้ไม่มีโกง เจ้าของอำนาจตัวจริงเขาก็หาเรื่องมาเล่นงานได้อยู่ดี ขนาดใช้พจนานุกรมตัดสิน บังคับใช้กฏหมายย้อนหลัง นิรโทษกรรมตั้งแต่อดีตยาวไปยันอนาคต หรือแม้แต่หลักฐานทุจริตหายไปกับน้ำท่วมจนคดีหมดอายุความเขาก็ยังทำกันมาแล้ว
แล้วอีกอย่าง ถ้าตราบใดที่ยังฝังใจว่าไม่มีนักการเมืองที่เป็นคนดีทำเพื่อบ้านเมืองเลยสักคน ตราบนั้นก็คือการเปิดทางหรือยอมรับได้ที่จะให้มีอำนาจพิเศษที่จะเข้ามาจัดการนักการเมืองที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไม่ดีได้อย่างชอบธรรมเลิกบูชาคนดีได้แล้ว แล้วมาหาระบบที่ดีที่จะทำให้คนเก่งและดีได้ทำหน้าที่ตามความเหมาะสมจะดีกว่า
ดูประเทศเจริญแล้วเถอะครับ เขาไม่มีใครมาโฆษณาว่าเลือกฉันเพราะฉันเป็นคนดี ขาไม่ได้สู้กันโดยการกล่าวหาว่าคนนั้นเลวคนนี้คนดี แต่เขาสู้กันด้วยนโยบาย สู้ด้วยผลงานถ้าจะกล่าวหาว่าใครโกง ก็ต้องมีหลักฐานต้องต่อสู้ในกระบวนการปกติ ไม่ใช่ตั้งกรรมการเอง ตัดสินเอง แล้วก็ยังมีพวกไร้เดียงสาหลงเชื่อว่านั่นคือการโกงกินจริง ๆ ถูกตัดสินว่าโกงจริงตามกระบวนการยุติธรรมแบบปลอม ๆ
Comment นี้ตรงกับความคิดและประสบการณ์ของผมดีจัง สมัยนั้น tony แกโดน io โดยเฉพาะtv ช่อง5,astv,foward mail(โดยเฉพาะพวกทำงานoffice) แกพลาดที่แกไม่ได้มีโอกาสมาตามdeclareตามช่องทางพวกนี้ เอาจริงๆแกเคยมีโอกาสdeclareครั้งนึงตอนตั้งเวทีที่วงเวียนใหญ่ ซึ่งจะมีกี่คนที่รู้เรื่องนี้
จริงๆอาจจะต้องถามว่า มีนักการเมืองคนไหนในประวัติศาสตร์มนุษยชาติที่เป็นคนดีทำเพื่อบ้านเมืองจริงๆบ้างคำตอบอาจจะเป็น... ไม่มี
มาโฟกัสที่ระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพดีกว่า เพื่อให้นักการเมืองมีแนวโน้มจะทำอะไรแบบนี้ให้น้อยที่สุดซึ่งประเทศเรายังห่างไกล
คนดีทำเพื่อบ้านเมือง ถ้ามันหาได้ง่ายๆก็ไม่จำเป็นต้องมีประชาธิปไตยหรอกครับ ไม่ว่าประเทศไหนๆก็ตาม
ส่วนตัวผมคิดว่าการที่ไม่มีเลยมันคือเรื่องปกตินะ แต่มันก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรถ้าอยู่ในระบอบประชาธิปไตยตามที่ควรจะเป็น (ประชาธิปไตยมันถูกคิดมาเพราะแบบนี้แหละ) ไม่ใช่ระบอบเสียงข้างมากที่เป็นอยู่แบบทุกวันนี้
เพราะในความเป็นจริงเราไม่ได้ต้องการ"คนดี"มาเป็นนักการเมืองครับ โดยเฉพาะนิยามคนดี มันตรวจสอบยังไงว่าเป็นคนดี ประกาศว่าตัวเองเป็นคนดี นับถือศีล?
ไม่งั้นยกตำแหน่งให้พระ ให้สังฆราชเลยไหมครับ?
เราต้องการคนบริหารผลประโยชน์ของประชาชนในประเทศครับ นักการเมืองที่คนนิยม เพราะตอบสนองความต้องการของประชาชนกลุ่มใหญ่ได้ดี แน่นอนไม่ใช่ว่าต้องทิ้งส่วนน้อย เพราะมันคือการผสานผลประโยชน์ แม้แต่ประเทศที่เจริญแล้ว หรือก้าวหน้าทางปชต.เต็มที่ เขาก็รับฟังทุกคน เพราะเขาถือว่าผลประโยชน์ของพลเมืองคือสิ่งสำคัญที่สุด แต่บ้านเราไม่ใช่?
รวมไปถึงว่าไม่ใช่ว่าประชานิยมอย่างเดียวแล้วจะได้ผลดี เพราะมันก็ต้องบริหารประเทศให้ดีพอจนมีงบประมาณมาใช้จ่ายได้ พอเศรษฐกิจดี ทุกคนก็อิ่มท้อง เมื่อคุณภาพชีวิตพื้นฐานดีก็ต่อยอดอะไรต่อไปได้อีกเยอะและก็มีงบพอจะตอบสนอผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ได้
และเราต้องการระบบที่ตรวจสอบนักการเมืองได้ ทำอะไรไม่ชอบมาพากล ก็ตรวจสอบได้ คานอำนาจได้
ซึ่งที่ผ่านมา เรามักจะว่าคนนั้นคนนี้โกง แล้วก็ตู้ม รปห. เสร็จแล้วใครตรวจสอบคณะรปห.? เล่นนิรโทษกรรมตัวเองยันอนาคต องค์กรอิสระมาเอาผิดฝ่ายตรงข้ามก็แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ไหนว่ากลัวคนโกงแต่ไม่กลัวคนตรวจสอบโกง?
เหมือนเราปิดตาด่าคนข้างเดียว สุดท้ายมันก็วนอยู่ในอ่างไปตลอด เพราะเราไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนกันอย่างที่พูดสักที
ป.ล. เพิ่งนึกออกว่า จริงๆก็เหมือนจะจ้างงานใครสักคนมาทำงาน คุณกำหนดrequirment ว่าเป็นคนดี? แล้วจะตรวจสอบยังไง ให้โชว์FBว่าลงคำคมจากธรรมะทุกวัน? หรือผ่านการบวชมาแล้ว(แล้วการบวชรับรองได้ด้วยหรือว่าปัจจุบันเป็นคนดี?) เราไม่ได้ต้องการคนมาทำงานหรือ? วัดผลงานด้วยKPI ตรวจสอบการทำงานด้วยprocedure และauditor? ใครจะแอบอู้งาน หรือโกงบ. มันก็ต้องตรวจสอบมาได้ด้วยวิธีการต่างๆที่รัดกุม สุดท้ายก็ไม่เกี่ยวกับคำว่า"คนดี"สักเท่าไรเลย?
เมื่อตอนสมัยก่อนผมก็เคยคิดว่าเขาโกงนะครับ แต่หลังจากที่ internet/ข่าวสาร เข้าถึงง่ายมากขึ้น
ทำให้ผมรู้จักศาลรัฐธรรมนูญ, รู้จักIO, รู้จักผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคน ฯลฯ
มันก็ทำให้ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเคยรู้มันเชื่อถือไม่ได้แล้วล่ะ
อาจจะแนวกินไม่แบ่งเลยโดนเล่นงานก็ได้นะครับ
เพราะคนที่เล่นงานแล้วก็ไม่ได้มาทำให้อะไรมันดีขึ้นมีแต่แย่ลง ๆ
จะกลับมาเป็นนายกอีกไหมครับ
อยากฟัง podcast อะครับ หายไปนานเลยนะ ทำไมไม่ทำต่อ :P
ตอนนั้นเผลอเปิดฟังค้างไว้ในรถแล้วบังเอิญว่าสลิ่มขึ้นรถมาได้ยินพอดี ซวยเลยปิดไม่ทัน 555
แล้วทำไมท่านถึงยอมให้สลิ่มขึ้นรถท่านหล่ะครับ ฮา
ผมว่าเขาน่าจะขับแท็กซี่หรือรถรับส่งสาธารณะหรือเปล่าครับ เลยขึ้นมาได้
เดี๋ยวนี้เจอเยอะครับที่คนขับเปิดเพลง, Youtube หรือวิทยุฟังส่วนตัวระหว่างรอลูกค้าหรือระหว่างไปส่งลูกค้า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สลิ่มฟังความเห็นต่างไม่ได้หรอครับ ฮ่าๆ
เกิดปัญหาทันทีเลยครับ
จริงๆ ต้องบอกว่าคนที่สุดโต่งทางความคิดที่ยึดติดมากกว่า
เคยไปนั่งแท็กซี่ ตอนนั้นคนขับเป็นเสื้อเหลืองบ่นเรื่องทักษิณกับเสื้อแดงตลอดทาง
ผมไปแย้งเรื่องเหตุผลบางอย่าง เดือดร้อนหาเรื่องผมตลอดทางเลยครับ
ฟังแล้วจะคลั่งครับ ฮา
จาก Comment ข้างบน โอเคที่ไม่หยาบคาย แต่ค่อนข้างเป็นประเด็นร้อนพอสมควรแฮะ
ถึงได้บอกว่าระบบ ปชต. ไม่เหมาะกับบ้านเราครับ ควรจะเป็นระบบอนาธิปไตยแบบสันติเสียด้วยซ้ำ แต่ก็มักจะถูกมองระบบนี้ในแง่ลบไปซะหมด ทั้งๆ ที่เป็นระบบที่ดีในตัวมันเองอยู่แล้ว
เลือกต่างคนต่างอยู่ กลุ่มใครกลุ่มมัน ทำอะไรตามใจ อิสระเต็มที่ ไม่มีขีดจำกัด แค่ไม่สร้างปัญหากับคนอื่นๆ โดยไม่จำเป็นก็พอ ไม่ต้องอยู้ใต้คนที่เราไม่ได้เลือกเข้ามาและทะเลาะกันเรื่อยๆ เป็นหน้าที่ทุกคนทำเองตามสบาย แค่นี้ก็จบแล้ว ง่ายๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ปัญหาคืออนาธิปไตยที่คุณว่า มันละเมิดคนอื่นตั้งแต่พื้นฐานแล้วครับ ถ้าต่างคนต่างอยู่โดยไม่ละเมิดใครมันไม่จริง แค่การใช้ภาษี สาธารณูปโภค หรือการเข้าถึงบริการจากภาครัฐ มันเกิดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน จะแบ่งยังไงให้เท่าเทียมในหลักอนาธิปไตย? ไม่งั้นก็ย้อนไปเหมือนสมัยก่อนใครใช้กำลังเข้าครอบครองทรัพยากรมากกว่าก็เป็นเจ้า ที่เหลือเป็นทาส?
เราผ่านยุคหินมาแล้วครับ
ประเทศอื่นเรียนรู้มาแล้วว่าระบอบการปกครองที่ดี ต้องไม่พึ่งพา"ผู้นำ"มากเกินไป
ผู้นำดีๆพาชาติเจริญและถ้สุดโต่งก็พาชาติล่มจม แบบก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนเป็นล้านได้เช่นกัน
สงครามโลกฆ่าคนทั่วโลกเป็นล้าน แต่ระบอบการปกครองในบางประเทศฆ่าคนชาติเดียวกันหลายสิบล้านคน...โหดกว่าเยอะ
ประเทศที่เจริญแล้วผ่านมาหมดแล้ว เรียนรู้มาหมดแล้ว แต่ความคิดเรายังเหมือนเตาะแตะเท่าเขาเมื่อ 200ปีที่แล้วก็ว่าได้
แต่ถ้าระบอบดีๆ มีการคานอำนาจ ผู้นำจะไม่สามารถทำอะไรทีเกินเลยไปได้มาก มันดีสุดกับประวัติศาสตร์มนุษย์แล้วล่ะ
เรามักมองโลกในแง่ดีว่า ในเมื่อเราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์โลกแล้ว เราจะ"ข้ามขั้น"การพัฒนาระบอบการปกครองได้ไหม แต่ดูแล้วท่าทางจะยากจริงๆครับ ดูแล้วอีกหลายสิบปีหลังจากนี้ ไทยอาจจะคล้ายๆเกาหลีใต้ แบบสมัยนายพลปาร์ค...
ผมมองว่าการใช้อะไรร่วมกันเป็นของส่วนรวมก็ต้องทำข้อตกลงระหว่างกันเอาเอง ผมว่ามันเป็นไปได้ครับ ไม่ว่าจะระบบใดก็ตาม แค่ไม่ก่อปัญหาให้กับผู้อื่นเป็นพอ และมีกฎออกมาจากความร่วมมือที่ตกลงกันได้ และการไม่มีส่วนกลางกับผู้นำเลย จะทำให้การเจรจาและหาทางออกเกิดค่อนข้างง่ายและเร็ว
ส่วนการทำอะไรก็ตาม พัฒนา หรือแม้แต่ใช้ทรัพยากร ก็ต้องเจรจาหรือหาข้อตกลงแบบเดียวกันเอาเอง ซึ่งมองว่าระบบนี้มีใช้อยู่ในวงเล็กๆ มาตลอดอยู่แล้ว ทั้งในครอบครัว ในชุมชน หรือแม้แต่ในที่ทำงาน
แต่ถ้าระบบที่ว่าไม่ไหวจริงๆ ก็ใช้ระบบเดิม แต่ไม่ต้องมีผู้นำและตัวแทนเลย ให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจโดยตรง เลือกเอาเองว่าจะให้ไปต่อยังไง ในเมื่อประชาชนคือส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบ แม้แต่ตอนจ่ายภาษีก็เลือกที่จะจ่ายเฉพาะส่วนที่ต้องการก็ได้ครับ หน่วยงานเดิมๆ ก็ยังอยู่ แต่ย้ายจากการควบคุมผ่านนักการเมือง มาอยู่ในมือของประชาชน 100% แทน ก็ได้อยู่
แต่น่าเสียดายที่เป็นได้แค่ทฤษฎี ไม่ถูกเอาไปใช้จริงจังอย่างที่ควรจะเป็น แล้วตอนถูกเอาไปใช้จริง ก็โดนปรับเปลี่ยนผิดเพี้ยนไปจากเดิม แบบเดียวกับ Communist ที่โดนตราหน้าว่าเลวร้ายไปหมด ทั้งที่ในทฤษฎีไม่ได้สร้างมาให้เป็นแบบนั้นเลยด้วยซ้ำไป
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
วงเล็กๆมันทำได้ไงครับ ลองนึกดูถ้ามีสักพันวงล่ะ? จะใช้เวลาในการพูดคุยมากน้อยแค่ไหน?
ของคุณจริงๆบางส่วนคือปชต.ทางตรง ซึ่งมันขาดประสิทธิภาพ ยังไม่นับว่าคุณจะไปคุยเองทุกครั้งไหม หรือถ้าส่งตัวแทนไป สุดท้ายก็จะเป็นระบบตัวแทน ซึ่งก็ไม่ต่างรัฐสภาในระบอบปชต.อยู่แล้วนั่นแหละ
อย่างการเลือกจ่ายภาษีเฉพาะส่วน มันก็มีปัญหา ระบบที่คนมองไม่เห็น คนก็อาจจะไม่ยอมจ่าย ทั้งที่จริงระบบนั้นเป็นbackendที่สำคัญก็ได้ เช่นคนเราอาจจะยอมจ่ายภาษีให้ถนน ไฟฟ้า แต่อาจไม่ค่อยอยากจ่ายให้ระบบจัดเก็บขยะ ระบบท่อน้ำเสีย ฯลฯ
ถ้าจะบอกให้ทุกคนต้องตระหนักได้เอง มันก็ideal ไม่ต่างจากบอกว่า ให้ทุกคนเป็นคนดี หรือถ้าทุกคนมีศีลธรรม กฎหมายก้ไม่จำเป็นนั่นแหละครับ ซึ่งที่ผ่านมามันเป็นไปไม่ได้ และในทางปฎิบัติพูดแบบนี้ก็เหมือนไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ระบบกฎหมาย โครงสร้างระบอบการปกครอง มันมีมาเพื่อแก้ไขปัญหาในโลกจริง
ที่คุณว่ามา มันคือประชาธิปไตยแบบอุดมคติเลยครับ คือทุกคนตกลงกันจนเป็นเอกฉันท์แล้วค่อยตัดสินใจ ไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้แทน ไม่มีเสียงข้างมาก ไม่มีการโหวต คุยกันจนทุกคนแฮปปี้แล้วค่อยตัดสินใจ
แต่ในความเป็นจริง ประชาธิปไตยแบบอุดมคติมันทำไม่ได้ เหตุผลหลักคือมันช้าและไม่มีประสิทธิภาพ ขนาดเพื่อนไม่ถึงสิบคนจะตกลงกันว่ากินข้าวร้านไหนยังแทบจะตกลงกันไม่ได้เลย เพราะเหตุนี้มันถึงต้องมีเครื่องมือต่างๆนานาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดคุณค่าของประชาธิปไตยให้น้อยที่สุด (เช่น ระบบผู้แทน ระบบการโหวต)
เพียงแต่ในบางประเทศดันให้ความสำคัญกับเครื่องมือมากเกินไป จนเข้าใจผิดว่านั่นคือประชาธิปไตย และความเป็นประชาธิปไตยจริงๆกลับถูกด้อยค่าลงไป (เชื่อไหมว่ายังมีอีกหลายคนที่เข้าใจว่าเสียงข้างมาก = ประชาธิปไตยอยู่เลย)
แบบที่คุณบอกมันคือประชาธิปไตยในอุดมคติ ซึ่งมันปฏิบัติจริงแล้วไม่เวิร์ค เลยต้องมีระบบสภาขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนเลือกตัวแทนของเขตตัวเองเข้าไปเป็นกระบอกเสียงในสภา
ระบบมันก็แค่นี้ครับ ถ้ามันรันของมันไปได้โดยไม่มีเหตุการณ์เตะถ่วงให้มันต้องย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นเรื่อยๆมันก็พัฒนาไปได้เรื่อยๆครับ ไม่ใช่ว่าระบบมันไม่ดีหรอกครับ
ตอนนี้ประเทศนี้แค่อ้างประชาธิปไตยมาบังหน้าครับรัฐตอนนี้พูดอย่าง ทำอย่าง และการกระทำมันไม่เคารพสิทธิมนุษชนแบบนี้มันไมใช่ครับ
การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคมมันควรจะมีระเบียบกฏ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ไม่ว่าจะประชาธิปไตยหรือหรือสัมคมนิยมอะไรก็ว่าไป ผมไม่ขัด แต่ขอให้ปฏิบัติตามกฏที่วางไว้
ฉะนั้นอนาธิปไตยนี้ไม่ใช่หนทางอยู่รวมกันแน่นอน
แต่ถ้าเป็นประเทศที่มีประชากร 4-5 คนนี้ จะอนาธิปไตยนี้ผมไม่ขัดนะครับ
พอมีคนตั้งตัวมาเป็นใหญ่สักคนนึงแล้วทำยังไงต่อนะครับ?
ก็แล้วแต่ครับ ในเมื่อเป็นระบบที่ไร้ส่วนกล่าง และเป็นอิสระ ก็ต้องจัดการกันเอง เลือกได้ว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไม่ ไม่มีใครบังคับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เห็นภาพความล่มสลายตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลยครับ