Voyager แพลตฟอร์มกู้ยืมคริปโตที่โฆษณาว่าให้ผลตอบแทนสูงสุด 12% ประกาศว่าจะผิดนัดชำระหนี้ (default) ของเจ้าหนี้รายใหญ่คือกองทุน Three Arrows Capital (3AC) ของสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงินในมือไม่พอ
โมเดลธุรกิจของ Voyager คือรับเงินคริปโตจากบุคคลหรือบริษัทอื่นไปลงทุนต่อ โดยให้ผลตอบแทน (ไม่ใช่ดอกเบี้ยแต่ใช้คำว่า reward!) กลับคืนมา 12% ส่วนกองทุน Three Arrows Capital เป็น hedge fund ที่หากำไรจากการลงทุนในคริปโตรูปแบบต่างๆ โดยนำเงินลงทุนจากคนอื่นมาอีกทีเช่นกัน
ตลาดคริปโตที่ราคาร่วงแรงทำให้ Three Arrows Capital ถูกลูกค้าบังคับให้ทำ margin call หรือขายเหรียญในราคาต่ำตามที่กำหนดเพื่อมาชดใช้หนี้ ซึ่งกองทุนเพิ่งประสบปัญหาลงทุนในเหรียญ Terra/Luna และขาดทุนมารอบหนึ่งในเดือนที่แล้ว ทำให้ต้องเรียกเงินลงทุนจากแหล่งต่างๆ กลับมาอีกที
หนี้ของ Three Arrows ที่อยู่ใน Voyager แบ่งเป็น Bitcoin 15,250 BTC และเหรียญ Stablecoin อีก 350 ล้าน USDC (มูลค่ารวมกันประมาณ 670 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2.4 หมื่นล้านบาท) แต่ Voyager ระบุว่ามีเงินสดในมือ 137 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
Voyager บอกว่าขอกู้เงินจากกองทุนอีกแห่งคือ Alameda Ventures ของ Sam Bankman-Fried ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง FTX เว็บเทรดคริปโตรายใหญ่ เพื่อมาเติมสภาพคล่อง (เคยขอมาแล้ว 200 ล้านดอลลาร์ + 15,000 BTC และขอเพิ่มอีก 75 ล้านดอลลาร์) บริษัทกำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้จ่ายเงินให้ลูกค้าคืนได้
การที่ Three Arrows ไม่สามารถเรียกเงินคืนจาก Voyager ได้ และติดหนี้ต่อกันเป็นทอดๆ แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนของโครงสร้างการเงินโลกคริปโต และต้องจับตาว่าจะส่งผลกระทบต่อวงการคริปโตในภาพรวมขนาดไหน
ก่อนหน้านี้เราเห็น ข่าวบริษัทคริปโตหลายรายที่หยุดให้ลูกค้าถอนเงินออกชั่วคราว เพราะเจอปัญหาสภาพคล่อง แต่กรณีของ Voyager คือถึงขั้นออกมาประกาศว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วจริงๆ
Comments
ในฐานะคนนอก อยากให้ปัญหาปรากฏออกมาให้หมด จะได้ชัดเจนซะทีว่า เหรียญ crypto ที่เทรดกันทุกวันนี้ จะหายไปหรือทำยังไงให้อยู่รอด
..: เรื่อยไป
เอ้า แชร์ล้ม แยกย้ายๆๆ
เทรดดิชั่นแน่วไฟแนนซ์เค้าเรียกว่า Ponzi 55555555555555555
เอาเข้าจริงมันก็โมเดลธนาคารครับ แต่กระบวนการกระจายความเสี่ยง การควบคุมหนี้เสีย ปริมาณสภาพคล่องที่ถูกบังคับว่าต้องรักษาไว้ ธนาคารโดนคุมทุกจุดหนักกว่ามาก
lewcpe.com , @wasonliw
คงต้องขยายความว่ามัน Ponzi เพราะจากที่เห็นคือมันไม่มี collateral เพียงพอ แถมกระบวนการหาเงินเพิ่มยังไม่สอดคล้องกับผลตอบแทนที่สัญญาว่าจะให้อีก ที่ผมเข้าใจถ้าเสี่ยงมากขนาดนี้ (ตลาดคริปโตร่วงจะไม่มีเงินจ่ายเลย) มันไม่ควรได้ถึง 12% และไม่น่ามีธนาคารที่ทำได้ถึงขนาดนี้ มันเลยเข้าเค้าว่า Ponzi ตรง high return (We promised) Low to zero risk. ไปซะงั้น
คุมหนักแค่ไหนก็แตกได้ครับถ้าเล่นใหญ่เกินตัวตัวอย่างเช่น lehman brothers
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ซึ่งเป็น investment bank ไม่ได้รับฝากเงิน มันคงไม่ใช่ธนาคารในแบบที่คนวงกว้างเข้าใจ (และใช้บริการกัน)
lewcpe.com , @wasonliw
เห็นด้วยครับ ขนาดคุมเข้มยังมีกรณีแบบนั้น นี่ถ้าปล่อยฟรีผมนึกไม่ออกเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
จริงๆ กลับกันเลยครับ คืออเมริกามี deregulation ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การควบคุมที่เข้มงวด (deregulation) หลายเรื่อง นับตั้งแต่ยุค 90s เป็นต้นมา จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตปี 2007-2008 ครับ อ้างอิง
ความหมายของผมคือโลกคริปโตมันมีข่าวพวกนี้ออกมาให้เห็นเพราะไม่มี regulatory น่ะครับ
ประเด็นของผมคือประโยคว่า "คุมเข้มยังมีกรณีแบบนั้น" ครับ หมายถึงว่ากรณีของ Lehman ไม่ได้คุมเข้มจริงๆ ต่างหากครับ
อันนั้นผมแค่ตามน้ำคอมเมนท์ก่อนหน้าครับ 555
โมเดลหาทุนแบบลูน่าเลยนี่นา
ความเสี่ยงคงแถวๆ B C D เนี่ยละ
พี่ Tony ไม่ถูกใจสิ่งนี้
Tony Stonk?
Tony Ja?
Tony Rak kan?
Tony Taka?
Tony ไม่เสียตังค์
Tony Phee?
Tony Leung ?
ปวดกบาลแทนต้นเม้นบน
บนใกล้ๆ หรือบนไกลๆ?
ทำไมช่วงนี้ โดนกันเยอะจัง ไม่มีคนไปลง หรือ คนขุดน้อยลง
ต่อเนื่องจาก Luna แหละครับเลยกระชากแรง
LUNA/UST Effect ครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
เวลาเกิดปัญหาศก.ขนาดใหญ่ มันก็มีแบบนี้แหล่ะ สมัยฟองสบู่DotCom ตอนแตก บ.ที่สายป่านไปยาวพอก็ล้มตายไปเกือบหมด ตอนDotCom หายไปเกิน 80% เหลือผู้รอดชีวิตไม่เยอะแต่เอาจริงๆ Crypto Winter แต่ละครั้งก็หายไปเกิน 90% เหมือนกัน แต่รอบนี้ที่ต่างออกไปเพราะ VC เข้ามาเยอะ แถมที่ผ่านมา QE พิมพ์เงินเข้ามาแบบไม่จำกัด แล้วอย่างที่เห็นๆ การพิมพ์เงินปัจจุบัน พิมพ์ไปไม่ได้เพิ่มโปรดักทีวิตี้อะไรทั้งนั้น เงินที่พิมพ์ออกมามันดันไปยังสิททรัพย์เสี่ยง อย่างตลาดหุ้นทั่วโลก คริปโต แล้วพอมันแตกมันก็แบบๆนี้แหล่ะ คริปโตอาจจะเป็นแค่รายแรกที่แตกก่อน เพราะเสี่ยงสุด