Oleg Obleukhov และ Ahmad Byagowi วิศวกรจาก Meta เขียนบล็อกเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิก Leap Second หรือ อธิกวินาที ที่หลายบริษัทเทคโนโลยีเคยเสนอก่อนหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันถูกใช้เป็นวิธีชดเชยการนับเวลาของโลก ที่ไม่ได้หมุนรอบตัวเท่ากันเป๊ะในทุกปี โดยการบวกชดเชยเวลานั้น จะมีหน่วยงาน IERS เป็นคนกำหนดว่าให้ทำในปีใดวันใด
การ ชดเชยเวลาครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในวันสิ้นปี 2016 และที่ผ่านมาโลกก็ใช้การบวกเวลาเพิ่มไปแล้ว 27 ครั้ง ยังไม่เคยลดเวลาลง ซึ่งย่อมต้องทำในช่วงเวลาหนึ่งหากยังใช้วิธีบวกเวลาเพิ่มแบบนี้ แต่ปัญหาคือยังไม่เคยมีการทดสอบในระดับใหญ่ว่าการลดเวลาจะทำงานอย่างไร โดยวิธีการอาจเป็นการทำเวลาให้หายไป 1 วินาที เช่น 23:59:58 -> 00:00:00
วิศวกรของ Meta อธิบายว่าวิธีเพิ่ม Leap Second ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 1972 ซึ่งช่วยแก้ปัญหาของนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์ได้ แต่กับฝั่งเทคโนโลยี-อินเทอร์เน็ต ที่อาศัยการซิงก์ของเวลากับอุปกรณ์ต่าง ๆ เรื่องนี้กลายเป็นความยุ่งยาก และเสี่ยงต่อระบบล่มจากปัญหาเวลาไม่ตรงกัน
แนวทางที่ Meta เสนอเรียกว่า Smearing โดยใช้การหน่วงหรือเพิ่มความเร็วนาฬิกาเล็กน้อยสำหรับชดเชยเวลา ช่วงเวลาสำหรับการปรับความเร็วนาฬิกาจะกินเวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ซึ่งสามารถชดเชยเวลาที่แตกต่างกันช่วงนั้นใน NTP ได้
ทั้งนี้คาดว่าการเพิ่ม Leap Second ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในปีนี้วันที่ 31 ธันวาคม 2022 อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับ IERS ประเมินการหมุนของโลกอีกครั้ง
ที่มา: Meta และ Silicon Angle
Comments
เวลาโลก คนบนโลกเป็นผู้สังเกตุใช่มั้ยครับ
ในเมื่อหน่วงเวลาได้ ไม่เอา Equation of time ยัดใส่เข้าไปเลยล่ะ ทีนี้แม่นกว่าอีก
ยังไงก็ต้องวัดจากของจริงครับ แผ่นดินไหวก็เปลี่ยนแล้ว
การปรับเวลาเกิดจากการพยายามทำให้โลกมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่าเดิมครับ ที่มันคลาดเคลื่อนเพราะโลกไม่ได้หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ ทำให้เวลาคลาดเคลื่อนตามไปด้วย เค้าปรับเวลาเพื่อชดเชยกับความเร็วการหมุนของโลกให้เวลาเมื่อเทียบกับตำแหน่งการหันหาดวงอาทิตย์ของโลกคงที่ครับ