Facebook ส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมถึงแชทส่วนตัวให้ตำรวจดำเนินคดีทำแท้งผิดกฎหมายหลังได้รับหมายค้น จนทำให้คู่แม่ลูกชาวเนบราสก้าถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญาหลัง Jessica Burgess วัย 17 ปีผู้เป็นลูกสาวใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ขณะมีอายุครรภ์ประมาณ 23 สัปดาห์ ซึ่งผิดกฎหมายเนบราสก้า
Meta บริษัทแม่ของ Facebook แถลงว่าหมายค้นไม่ได้กล่าวถึงการทำแท้งแต่ระบุเพียงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบสวนคดีการเผาและการฝังศพทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างผิดกฎหมายเท่านั้น และหมายค้นมาพร้อมกับคำสั่งห้ามเปิดเผยข้อมูลการทำคดีด้วย
การที่ Facebook เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ให้กับตำรวจทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าบริษัทเทคโนโลยีควรจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานให้กับตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายเพื่อการสืบสวนคดีหรือไม่ หรือควรเปลี่ยนแปลงระบบการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล และควรจะจัดเก็บข้อมูลอะไรบ้างในปริมาณไหน ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2558 ก็มีกรณีแบบเดียวกันระหว่าง Apple และ FBI ด้วย แต่ครั้งนั้น Apple ไม่ยอม FBI
ที่มา: The Register
Comments
เนแบรสกา
stillborn infant แปลว่า "ทารกตายคลอด" น่าจะตรงความหมายกว่าครับ
ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ มากกว่าถ้ามีการบังคับได้ก็ต้องทำต้องดูกฎหมายแต่ละประเทศอีกที
ถึงมี #DeleteFacebook ในเทรนด์ Twitter หลาย ๆ วันที่ผ่านมา พูดถึงเนบราสกานึกถึง Penny เลย
ความเป็นส่วนตัว กับกฎหมาย
และความเชื่อใจต่อ platformมันก็ยากเหมือนกันนะ แต่ถึงกับบริษัทออกหน้าเองเป็นคนส่งข้อมูลให้เอง
มันทำความมั่นใจคนใช้หายวับ ถึงผู้ใช้จะไม่ได้ใช้มันทำผิดกฎหมายก็เถอะ
ศาลไม่สั่ง
ก็เปิดเลยให้ตำรวจเลย
ผู้ใช้หายก็ทำใจล่ะกัน
ในข่าวเป็นหมายค้นถ้าไม่ร่วมมือจะโดนข้อหาขัดขวาง จนท. มั๊ย?
คงต้องนิยามให้ชัดก่อนว่ากรณีข้อมูลส่วนตัวแบบไหน ใช้หมายค้นหรือหมายศาล 🤔
ประเทศไทยหมายค้นต้องออกโดยศาลเท่านั้น แต่ผมไม่รู้กฎหมายรัฐนั้นเป็นเหมือนของไทยรึเปล่านะครับ
ที่ไม่ควรคือตอนนี้เปิดเฟสเจอแต่โฆษณาหาเพื่อนแทบไม่เจอ
ก็ทำถูกต้องแล้วนี่ เกิดเป็นพ่อค้ายา อย่าส่งๆข้อมูลให้ตำรวจต้องปกป้องข้อมูล
ดูข่าว โพสโชว์เงินลง TikTok ปรากฎเป็นเงินปล้นบ้านคนอื่นแล้วเจ้าทุกข์จำได้(คงแค้นมาก)เลยโดนตำรวจตามรวบคาบ้าน
บางอย่างมันก็สำคัญตรงนี้