ภารกิจ Artemis I ยังเป็นมหากาพย์ไม่จบไม่สิ้น หลัง NASA เตรียมพยายามยิงจรวดเป็นรอบที่สองคืนนี้ราว 1.17 น.
ล่าสุด NASA ประกาศยกเลิกการยิงจรวดแล้ว หลังพบปัญหาไฮโดรเจนเหลวรั่วขณะเติมในถังเชื้อเพลิงของจรวด Space Launch System (SLS) ซึ่งเป็น อาการคล้ายๆ กับปัญหาของรอบที่แล้ว แต่รายละเอียดยังต้องรอการสอบสวนของ NASA อีกครั้ง
The #Artemis I mission to the Moon has been postponed. Teams attempted to fix an issue related to a leak in the hardware transferring fuel into the rocket, but were unsuccessful. Join NASA leaders later today for a news conference. Check for updates: https://t.co/6LVDrA1toy pic.twitter.com/LgXnjCy40u
— NASA (@NASA) September 3, 2022
ที่มา - NASA
Comments
ผมว่าคนใน NASA มีควันออกหูแน่ๆ หละ เจอเลื่อนแบบนี้ 2 รอบติด ไม่มีความคืบหน้าอะไรนอกจากปัญหาเดิมๆ อาจได้มีคนโดนไล่ออก หรือทะเลาวิวาทได้ก็คราวนี้หละ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คนในน่าจะรู้อยู่แล้วนะผมว่า
ตามคาด
โครงการยำชิ้นส่วนเก่าๆเอามาใช้เพราะเรื่องธุรกิจ/การเมือง มากกว่าอยากจะกลับไปดวงจันทร์
ปัญหาจุกจิกก็เลยเยอะตามไปด้วย ดีไซน์ใหม่หมดอาจจะง่ายกว่ายำแบบนี้
องค์ความรู้สมัยที่ใช้ในโครงการกระสวยอวกาศ คงหายไปพร้อมกับคนรุ่นนั้น
จีน รัสเซีย นั่งขำกลิ้งแล้วมั้งตอนนี้
จะขำเรื่องอะไรล่ะครับ การทำภารกิจแบบนี้ ถ้าใครเคยลงงานจริงจะรู้ว่าโอกาสผิดพลาดมันสูงกว่าโอกาสประสบความสำเร็จ ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากแค่ไหนก็ตาม ทั้งจีน และรัสเซีย เขาก็สูญเสียไม่ต่างกันในการทดสอบของเขาเอง ยิงกี่ลำกว่าจะประสบความสำเร็จ และคงแบบไว้ได้ มีแต่คนที่ไม่เคยทำอะไรนั่นแหล่ะครับที่จะขำ คิดว่ามันง่าย
ถามแบบคนไม่รู้นะครับ เราส่งของไปสถานีอวกาศก็หลายรอบ ส่งดาวเทียมไปก็เยอะ ยานลำนี้มันมีอะไรพิเศษตรงถังเชื่อเพลิงครับ ถึงรั่วทุกรอบ
ผมเข้าใจว่าระยะมันเทียบกันไม่ได้ แต่แค่แปลกใจที่ มันมีปัญหาจุดนี้อีกแล้ว
ปัจจัยในการยิงแต่ละครั้งมันมีตัวแปรเยอะครับ เพราะเชื้อเพลิงที่ใช้มันมีความดันสูง เก็บรักษายาก แค่ตัวแปรใดตัวแปรนึงผิดเพี้ยนไป มันก็มีผลที่คาดไม่ถึงได้เสมอ รวมถึงเรื่อง Human Error ด้วย เพราะอุปกรณ์พวกนี้มี Sensor มากมาย และมีความละเอียดอ่อนสูง หลายๆ ครั้งก็เกิดจากมนุษย์นี่แหล่ะครับ ลืมนู่น ลืมนี่ มันเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยของคนเก่งๆ เขาจะโฟกัสในสิ่งที่เขาสนใจจนลืมเรื่องรายละเอียด ต้องมีคนที่มีลักษณะจู้จี้จุกจิกคอยตรวจสอบให้อีกที ถึงจะมี Check list แต่เมื่อถึง เวลา อุณหภูมิ องศาการยิง ฯลฯ คลาดเคลื่อนนิดหน่อยก็มีผลแล้ว
ส่วนที่มันยากกว่าโครงการอื่น เพราะมันเป็นการส่งสิ่งของไปนอกวงโคจร มันเหมือนคุณปาลูกบอลเป็นวิถีโค้งไปยังเป้าที่อยู่ไกลมากและมีขนาดเล็ก และมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ความผิดพลาดเล็กน้อย หรือการรั่วไหลเล็กน้อยจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเชื้อเพลิงส่วนใหญ่จะถูกใช้ตอนก่อนออกจากชั้นบรรยากาศหมดแล้ว ทำให้การปรับวิถีโคจรทำได้จำกัด ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นมากๆ อาจทำให้วัตถุไม่ลงจุดที่กำหนดได้เนื่องจากพลังงานที่ใช้ปรับมุมไม่เพียงพอ
ระบบที่จะต้องขนคนซับซ้อนกว่าระบบขนของครับ ทุกอย่างต้องมี redundancy เสมอ อเมริกาก็เพิ่งจะกลับมามีจรวดขนคนเป็นของตัวเองเมื่อไม่นานมานี้เอง แล้วจะไปดวงจันทร์ต้องใช้เชื้อเพลิงมากกว่าขึ้นวงโคจรโลกมาก
ทุกอย่างไม่ได้เอาของเดิมมาขยายขึ้นเฉย ๆ พอถึงจุดนึงถังจะหนักจนรับน้ำหนักตัวเองก็ไม่ไหวแล้ว ถังสีส้มอันใหญ่ ๆ ที่เห็นนั่นถ้าคิดความหนาแน่นนี่เบากว่ากระป๋องน้ำอัดลมอีกครับ
ลำใหม่เอี่ยมเลยครับ พึ่งใช้งานครั้งแรก ถ่ายทอดสอดไปทั่วกาแลคซี่ ฮ่าๆ ถ้าพลาดทีงามหน้าครับ ภาษีเขา ประชาชนจับจ้องอยู่ ไม่เหมือนฝั่งตรงข้ามยิ่งยุคสงครามเย็นปิดข่าวเงียบ ภาพที่เห็นว่าสำเร็จคือภารกิจสำเร็จแล้ว ถ้าล้มเหลว กว่าจะปล่อยขาวก็นานมากๆๆๆๆๆ
นึกถึงเชอโนบิลเลยครับ ถ้าไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องปิดข่าวกัน คงไม่มีคนตายเยอะขนาดนี้
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ
ภารกิจดวงจันทร์คงเลื่อนอีกยาวละ
ไปใช้บริการ SpaceX เต็มตัวเหอะ
สอบถามครับ ท่านๆคิดว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากงบประมาณน้อยหรือไม่ครับ
The Last Wizard Of Century.
ผมว่าส่วนหนึงเลย
เหมือนเคยอ่านผ่านๆ จากที่ไหนไม่รู้ แต่ละชิ้นส่วนงี้ออกแบบมาจากหลายๆ เจ้า ต้นทุนบาน เปล่าไม่แน่ใจ ปัญหาน่าจะเยอะด้วย
งบน้อย วิจัยใหม่ไม่ได้ ใช้ของเก่าแทน ซึ่งไม่รู้เครื่องเก่า มาเทสกับระบบใหม่ๆ นี่ยังไง ทำไมมีปัญหาก็ไม่รุ้ (ซึ่งของเก่าจริงผ่านการใช้ ผ่านการทดสอบแล้วว่าออกแบบดี ทนทาน ถึก แก้ไขมาหมดแล้ว แถมได้ประหยัดงบไม่ต้อง R&D ใหม่)