IDC ประกาศยอดขายสมาร์ทโฟนไตรมาส 4/2022 ภาพรวมยอดขายลดลง 18.3% จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อ ทุกแบรนด์ล้วนยอดขายลดกันถ้วนหน้า โดย Xiaomi เป็นบริษัทที่ยอดขายลดลงเป็นเปอร์เซนต์สูงที่สุด 26.3%
อันดับหนึ่งแอปเปิล ได้แรงช่วยจาก iPhone 14 ทำให้ขึ้นอันดับหนึ่งในไตรมาส 4 ตามธรรมเนียม ยอดขาย 72.3 ล้านเครื่อง ลดลง 14.9% จากยอดขายไตรมาส 4/2021 ที่ขายได้ 85 ล้านเครื่อง
อันดับสองซัมซุง 58.2 ล้านเครื่อง (-15.6%) อันดับสาม Xiaomi 33.2 ล้านเครื่อง (-26.3%) อันดับสี่ Oppo 25.3 ล้านเครื่อง (-18.9%) อันดับห้า Vivo 22.9 ล้านเครื่อง (-18.9%)
หากคิดยอดขายรวมตลอดปี 2022 ภาพรวมขายได้ 1.205 พันล้านเครื่อง ลดลง 11.3% ถือว่าลดระดับกลับลงไปอยู่เท่ากับยอดขายปี 2013 โน่นเลย
อันดับหนึ่งซัมซุง 260.9 ล้านเครื่อง (-4.1%) อันดับสองแอปเปิล 226.4 ล้านเครื่อง (-4%) อันดับสาม Xiaomi 153.1 ล้านเครื่อง (019.8%) อันดับสี่ Oppo 103.3 ล้านเครื่อง (-22.7%) อันดับห้า Vivo 99 ล้านเครื่อง (-22.8%)
IDC ประเมินว่ายอดขายปี 2023 จะยังแย่ต่อไป และน่าจะเริ่มฟื้นกลับมาได้ อาจต้องรอช่วงปลายปี 2023 เลย ปีนี้เราจะเห็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนปรับยุทธศาสตร์สินค้ากันใหม่ และปรับปรุงเรื่องสต๊อกสินค้าไม่ให้มีส่วนเกินมากเกินไป ฝั่งของผู้บริโภคน่าจะเห็นโปรโมชั่นจูงใจ รวมถึงแคมเปญเครื่องเก่ามาแลกซื้อเครื่องใหม่กันมากขึ้นด้วย
ที่มา - IDC
Comments
เครื่องเก่ามันก็ยังเร็วจนไม่อยากเปลี่ยนเครื่องใหม่แล้ว ที่สำคัญราคามันขึ้นจนซื้อตัวทีอปไม่ไหวแล้ว
ยังถือ iPhone XR เมื่อ 4ปีที่แล้วอยู่เลย ใช้งานแอพปัจจุบันได้เกือบทุกตัว (ยกเว้นตัวที่ต้องการชิพพิเศษมั้งนะ)
ฉันเกิดในยุคมือถือรุ่นท็อปไม่ถึง 2 หมื่น ก็เลยทำใจซื้อรุ่นท็อปสมัยนี้ไม่ไหวจริงๆ
ค่าเงินนี่ทำเอาแตะไม่ลงและ apple ก็ไม่มีอะไรน่าสนใน iPhone 14 เท่าไหร่เลย
ค่าเงินเปลี่ยน แต่ราคากลับไม่เปลี่ยน
จะว่าทุกแบรนด์ก็ไม่ถูกซะทีเดียว ต้องบอกว่า Top 5 ยอดลดลง ส่วนพวกที่ถูกยัดๆอยู่ใน Others เนี่ยอาจมีเพิ่มบ้างลดบ้างแค่พอรวมกันแล้วมันลดลง อย่าง Pixel นี่เห็นว่าเพิ่มนะ
เศรษฐกิจโลกก็ส่วนนึง แต่ 1-2 ปีมานี้สมาร์ทโฟนไม่มีอะไรใหม่เลย ขนาดคนรู้จักผมที่เปลี่ยนเรือธงใหม่ทุกปีตามกระแส ปีที่แล้วยังไม่เปลี่ยนเป็นปีแรก บอกไม่มีอะไรต่างจากเดิม เหมือนแค่อัพแรม PC แต่ต้องจ่ายราคายกเครื่องใหม่
คิดว่ามือถือก็จะถึงจุดอิ่มตัว เหมือน notebook ที่คนมักจะไม่เปลี่ยนบ่อยแล้วมั้ง เพราะเปลี่ยนไปก็แทบจะไม่มีอะไรใหม่
เรืองธงสมัยนี้ครึ่งแสน ผมว่ามันมากเกินไป คือ ซื้อได้นะ แต่เงินขนาดนี้ซื้อได้แค่โทรศัพท์ ผมรับไม่ค่อยได้
เงินบาทแข็งค่า แต่ของแพงเท่าเดิม ขึ้นแล้วขึ้นเลยจ้า คนซื้อก็ชลอซื้อบ้าง
จะเทรนอะไรนักหนา ออกมาได้แทบทุกเดือน
มันไม่มีอะไรใหม่ให้อยากลองแล้วอ่ะ เรื่องประสิทธิภาพเครื่่องปีต่อปีก็ไม่ได้ทิ้งกันเป็นทุ่งแบบสมัยก่อนแล้ว
iPhone ตัวสุดท้ายที่ใช้คือ 13 Pro Max คือเทียบกับตัวก่อนหน้าที่ใช้คือ 12 และ XR คือมันไม่ได้ต่างกันขนาดเห็นได้ชัดขนาดนั้น
ส่วน Samsung S22 Ultra ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเทียบกับตัวก่อนหน้าอย่าง Note 20 Ultra และ Note 10 Plus คือต่างนิดหน่อยนเรื่อง ความเสถียร (อาจเป็นที่ Android 12, 13 ดีขึ้น) ความเร็ว ส่วนความร้อนนี่ต่างเยอะอยู่ รุ่นก่อนหน้าแม้ใส่เคสร้อนออกเคส ออกจอ จนรู้สึกได้
เมื่อก่อนเปลี่ยนมือถือทุกปี ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ตัวท๊อปของปีนั้น ๆ แต่ตอนนี้ ถือ S10 มา 3 ปีละ คงหาซื้อตัวท๊อปตกรุ่นมาใช้แทน สู้ราคาไม่ไหวจริง และมีความรู้สึกว่าตัวท๊อปตกรุ่น กับตัวท๊อปปัจจุนับ เทียบกับราคาที่ต่างกันแล้ว ไม่รู้สึกว่าเสียฟีเจอร์อะไรไปมากมาย
มือถือเดี่ยวนี้ ในแต่ละรุ่นไม่ได้มีความต่างอะไรมากแล้วนะ นอกจากพกวฮาร์ดแวร์ แต่ความแรงก็ไม่ต่างกัน แต่ราคาพุ่งขึ้นตลอด
เห็นด้วยว่าราคามันเพิ่มแบบก้าวกระโดดเกินไป ทั้งๆที่การใช้งานมือถือมันก็ไม่ได้อะไรขนาดนั้น คือคงมีบางกลุ่มแหละที่อาจจะอยากได้เครื่องแรงๆ แต่ผมว่าเกิน 70% ไม่ต้องการนะ
ตอนนี้ผมใช้เครื่องล่ะ 5-6 พัน ไม่ได้รู้สึกแตกต่างจากตอนซื้อเครื่องเกือบๆ 2 หมื่นสมัยก่อนเลย
..: เรื่อยไป
มือถือราคาเพิ่ม แต่เงินเดือนแทบไม่เพิ่ม
ทางนี้ก็พอมีเงินเปลี่ยนเครื่องใหม่ทุกปีอยู่หรอก แต่สมัยนี้มันแทบไม่ต่างอะไรกันมากแล้ว (iPhone)
เลยกัดฟันซื้อรุ่นรองท๊อปปีที่แล้วมาแล้วใช้ยาวๆ เอาดีกว่า
การใช้ชิปเดิมในรุ่นรอง มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรุ่นหรือไม่ครับ