พรรคก้าวไกลเผยนโยบายที่เจาะจงเรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางของกระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม เนื่องจากมองว่า เป็นกระทรวงที่เป็นฟันเฟืองสำคัญและมีศักยภาพ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับความสำคัญในแง่บทบาทระดับประเทศนอกจาก “บล็อกเว็บ” โดยประกาศแนวทางของกระทรวงทั้งหมด 5 ข้อ
1. Single Digital ID
ทำให้บัตรประชาชนหรือเลข 13 หลัก สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐได้ทั้งหมด เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนหรือกรอกเลข 13 หลัก ก็สามารถเข้ารับบริการได้ทันที หลังจากที่ผ่านมาเราได้ยินกันบ่อย แต่แทบไม่เคยใช้ได้ในทางปฏิบัติ โดยพรรคจะเชื่อมโยงระบบที่กระจัดกระจายของหลายหน่วยให้มารวมกันที่ระบบเดียว
2. โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล
เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่จะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความฝันของพรรคคือ การสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลของภาครัฐและเอกชน จัดเก็บไว้ข้อมูลเดียวกันและเปิดให้ทุกคนนำไปใช้ประโยชน์ ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยและการรักษาสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล
3.เปิดข้อมูลภาครัฐทั้งหมดให้เป็น “รัฐเปิดเผย”
พรรคมีนโยบายเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นสาธารณะและโอเพนซอร์ส โดยจะเริ่มจากข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดจะต้องออกมาในรูปแบบที่เข้าถึงและตรวจสอบได้ ต้องเปลี่ยนจาก PDF ที่สแกนมาจากกระดาษให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลที่สามารถดึงออกมาประมวลผลได้ และการประชุมต่างๆ ของหน่วยงานรัฐต้องมีการไลฟ์สดการประชุมให้ประชาชนสืบค้นได้
4. การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
จะเริ่มจากการแก้ปัญหาเพจหน่วยงานรัฐถูกแฮค สิ่งที่ก้าวไกลทำได้ทันที โดยการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลคนใหม่ เรียกคุยกับทุก social media platform ให้บังคับใช้ MFA ซึ่งไม่จำเป็นต้องรอจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ต้องใช้งบประมาณ เพจไหนไม่ทำตามก็จะถูกระงับการใช้งานจนกว่าจะปฏิบัติตาม
ในระยะยาวรัฐบาลพรรคก้าวไกลจะทำให้คลาวด์กลางภาครัฐเกิดขึ้นจริง เพื่อป้องกันระบบจากการถูกแฮค และผลักดันกฎหมาย Data Protection Act เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนที่มีมาตรฐานมากขึ้น
5. ยุบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม และเลิกบทบาทปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทั้งหมด
แนวคิดของไอเดียนี้คือ "การบอกว่าอะไรจริงไม่จริง ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ แต่เป็นหน้าที่ของสังคม" โดยจะเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบ ถกเถียง นำเสนอชุดความจริงได้ กระทรวงดิจิทัลภายใต้รัฐบาลก้าวไกลจะไม่ได้มีหน้าที่บล็อกเว็บไซต์ แต่เอื้อให้สังคมเกิดสิทธิและเสรีภาพ หนึ่งใน 45 กฎหมายที่พรรคก้าวไกลเสนอ คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่จะยกเลิกอำนาจรัฐในการปิดปากประชาชน
รู้สึกหรือไม่ ว่าการที่เราต้องกรอกชื่อ-ที่อยู่ตามบัตรประชาชนทุกครั้งที่เราต้องไปติดต่อขอรับบริการจากหน่วยราชการนั้นเป็นปัญหา?ทำไมหลังจากที่รัฐบาลไทยพูดถึงนโยบาย Single Digital ID มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ทุกครั้งที่ประชาชนต้องการรับสวัสดิการจากรัฐ… pic.twitter.com/lE0p8gLv9U
— พรรคก้าวไกล - Move Forward Party (@MFPThailand) June 16, 2023
Comments
"การบอกว่าอะไรจริงไม่จริง ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ แต่เป็นหน้าที่ของสังคม"
ก็คือ ปล่อยให้่คนเลือกที่จะเชื่อว่าอะไรคือความจริงเองสินะครับชอบใช้คำว่า เสรีภาพ มาบิดเบือนทุกสิ่งทุกอย่างจังเลยนะ
สุดท้ายก็แค่จะสร้างสังคมที่พวกมากลากไป
ทำลายทุกความดีงาม และ ระเบียบวินัย
และสร้างสังคมที่เต็มไปด้วยความไร้ระเบียบและเลวทรามสินะครับ
ก็คิดอยู่แล้ว ชอบพูดถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว
แต่ไม่เคยพูดถึงการบังคับใช้กฎหมายเลยสักครั้ง
ทั้ง ๆ ที่แทบทุกประเทศที่พัฒนาแล้ว มีสิ่งนี้ที่เหมือนกัน
อันนี้ออกแนว "คิดเกินจากที่พูด" ไปค่อนข้างมากอยู่นะครับ
อยากได้ "กระทรวงความจริง" หรอครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
เนื้อหาถูกระงับ เนื่องจากผิดพรบ.คอมพิวเตอร์
หืมมมมมมม
ทำไมเวลามีข้อเสนออะไรที่มันก้าวหน้ากว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องมีคนอ้างว่าเห็นมั้ยขนาดประเทศพัฒนาแล้วเขายังไม่ทำเลย แต่ทำไมเวลามีอะไรที่มันล้าหลังกว่าประเทศอื่น ไม่เห็นจะอ้างแบบนี้เลย ชอบบอกว่าประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเหมือนชาวบ้าน ชอบบอกว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของประเทศไทย
แบบนี้เขาเรียกว่า strawman
วางอคติลงก่อน ลองฟังเหตุผลเขาดีไหม
ทำไมพวกมากลากไปแล้วมันกลายเป็นสังคมเลวทรามได้รึครับ? อันนี้งงเหมือนพวกโหวตแพ้ เป็นคนส่วนน้อยแล้วคิดว่าตัวเองคือความดี ความถูกต้อง?
"ปล่อยให้่คนเลือกที่จะเชื่อว่าอะไรคือความจริง"
มันก็เป็นแบบนั้นตามธรรมชาติอยู่แล้วนิ จะดัดจริตให้เราจะต้องเชื่อตามคนอื่นเหรอ แล้วต้องเชื่อใคร
ทุกคนมีสมอง ก็ให้สมองแต่ละคนทำงานเองก็ถูกแล้วเปล่า
เสรีภาพมันไปบิดอะไรได้ แต่กฎข้อบังคับมันบิดจริตและการกระทำของคนใต้ข้อบังคับได้
ระเบียบวินัยไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป ระเบียบที่ไม่ตอบโจทย์ข้อห้ามที่ไร้เหตุผลสร้างต้นทุนให้สังคมได้มหาศาลนะครับ
เรื่องบังคับกฎหมาย ถ้ามันมีข้อที่เป็นโทษเป็นต้นทุนกับสังคม คุณจะบังคับใช้ไหมนั่นเป็นกระดุมเม็ดหลังๆต่อจากกระดุมเม็ดแรกๆที่ติดผิด เราควร Focus ให้ถูกจุดดีกว่า
เพ้อเจ้อ
วางอคติลง แล้วอ่านประโยคถัดไปครับ
"โดยจะเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบ ถกเถียง นำเสนอชุดความจริงได้"
มันก็ยังมีการตรวจสอบควบคุมอยู่ เพียงแค่ไม่ได้เกิดจากรัฐบาลเพียงฝั่งเดียวอย่างที่เคยเป็นมาแค่นั้นเอง
ส่วนตัวผมก็ไม่เห็นด้วยกับการปล่อยอิสระไม่มีการควบคุมเหมือนกันนะ แต่ถึงจะไม่มีการควบคุมจริงๆ... คุณคิดว่าคนไทยส่วนใหญ่สันดานเลวทรามไร้ระเบียบขนาดนั้นเลยเหรอครับ? ถึงคิดว่าถ้าปล่อยเสรีให้พวกมากลากไปมันต้องทำลายทุกอย่างให้เลวทรามไร้ระเบียบแน่ๆ?
นึกถึงคลิปคุณสรยุทธเลยครับ
ชอบให้มีคนจูงจมูกสินะ
อาการหนัก
เดี๋ยว "เจ้าพ่อเฟคนิวส์" จะอยู่ยากไงครับ
-1 ครับ
That is the way things are.
เพ้อเจ้อ
วางถุงกาวลงก่อนนะ
เห็นด้วยเลยต่างประเทศ รัฐเขาจริงจังกับข่าวปลอมมาก
ผมว่าการจัดการข่าวปลอมคือนำเสนอความจริงอย่างเปิดเผย ไม่ใช่การปิดกั้นหรือ censor ครับ
อย่างถ้ามีคนหาว่ารัฐโกงโน่นนี่นั่น ก็แค่เปิดเอกสารการจัดซื้อให้หมด สังคมก็จะวิพากย์กันเอง
ประชาชนไม่ได้เป็น mindless doll นะครับ โอเคว่าอาจจะมีเรื่องจิตวิทยามวลชน ที่มันนำคนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้ง่ายแต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนในสังคมจะคิดแบบเดียวกันหมด ที่เห็นได้ชัดก็ผลการเลือกตั้งไงครับ
มันมีคนที่คิดหลากหลาย เลือกพรรคที่หลากหลายได้เลย
ตั้งแต่ประเทศนี้มีกระทรวง ICT มา ผมยังไม่เคยเห็นมันทำอะไรที่สมกับเป็นกระทรวง IT เลยคืออยากเห็นมาก
เห็นแววพนักงานราชการ ข้าราชการเตรียมทำเอกสารกับงานหนักมากกว่าเดิมแน่ ๆ ถ้านโยบายไม่มีการเพิ่มงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มจำนวนลูกจ้างหรือพนักงานราชการสำหรับทำงานด้านเอกสารดิจิตอล
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
เอกสารดิจิตอล มันควรจะลดงานนะผมว่า
ช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่น่าจะลดงานนะครับ ต้องอบรมพนักงานราชการ เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ อะไรต่าง ๆ กฎระเบียบให้ใช้งานระบบใหม่ที่ไม่มีกระดาษแบบสมบูรณ์ ระบบอะไรต่าง ๆ ของหน่วยงานต้องปรับเยอะมากครับ ดีไม่ดีบางหน่วยงานทดลองไปแล้วเจ้าหน้าที่ลองแล้วมีปัญหา ต่อต้าน อาจจะไม่ยอมเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ก็ได้ครับ ดีไม่ดีการเปลี่ยนผ่านอาจจะเสร็จทั้งหมดไม่ทันในยุครัฐบาลใหม่ด้วยครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
เอาตรงๆนะครับ ทุกคนก้รู้ว่ามันเป็นระบบที่ดี ที่ควรจะเป็น เราควรเปิดใจและหาวิธีปรับเปลี่ยน ตอนนี้เหมือนทุกคนช่วยกันจับผิดแต่ไม่ช่วยกันหาวิธีแก้ มันก็เดินหน้ายากอยู่นะครับแบบนี้
การ implement ระบบภายในองค์กรเป็นงานยากครับโดยเฉพาะกับการเผชิญแรงต้านจากคนใช้ภายในยิ่งระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและมีขนาดใหญ่เหนื่อยครับ โดยเฉพาะตอนที่ระบบยังไม่ 100% มันต้องทำงานคู่ขนานไปกับของเก่า มันไม่ใช่ทุกคนที่ยอมทนช่วงที่มีภาระงานเพิ่มขึ้น2เท่าเพื่ออนาคตงานเบาลงได้ครับต้องมานั่งทำความเข้าใจและต้องทำการเสนอให้เขาเชื่องใจได้ว่ามันจะเสร็จและลดภาระงานในอนาคตได้จริง เพราะถ้าทำให้รวมมือได้ไม่สำเร็จก็จะเจอกระแสต่อต้านขึ้นมา ขนาด software ระบบจัดการองค์กรดังๆอย่าง sap ยังมีมุก sad after purchase ก็เพราะเรื่องพวกนี้
กลายเป็นไปจับผิดเฉย สิ่งที่พรรคกำลังเสนอมัน มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อข้าราชการ พนักงานภาครัฐทุกคนนะครับ รวมถึงเอกชนที่ต้องทำงานกับภาครัฐด้วย งบประมาณที่มาจาก ภาษีของคนไทยทุกคนถ้าคุณมองว่าผมและคนอื่นแสดงความคิดเห็นกลายเป็นจับผิด หรือมองว่าไม่ชอบพรรคหนึ่ง ขอให้คุณมองใหม่นะครับ
เอาจริง ๆ ข้าราชการ พนักงานรัฐ ลูกจ้าง งานเอกสาร หลาย ๆ อย่างกำลังเปลี่ยนเป็นออนไลน์อยู่แล้วนะครับ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลก่อน ๆ จนถึงตอนนี้ ปัญหาการเปลี่ยนผ่านก็เห็น ๆ กันอยู่ว่าคืออะไร มีบทเรียนในปัจจุบันให้เห็นอยู่แล้วนะครับ
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ในทางปฏิบัติแล้วงานไม่ลดลงเลย มาตรฐานความโปร่งใสที่กำลังผลักดันกันอยู่นี่ภาระแบบสุด ๆ เพราะระบบมันไม่เอื้อให้ส่งรายงานแบบง่าย ๆ ได้เลยน่ะสิ
ระบบมันไม่เอื้อ ก็สร้างให้มันเอื้อไงครับ
ถ้าคุณได้ดูหลายๆ ครั้งที่คุณเท้งเค้าพูด เค้าไม่ได้เป็นคนไม่เข้าใจโลก IT หรือ business นะ
คือการเอาระบบ computer มาใช้ มันต้องลดงาน ไม่ใช่เพิ่มงาน อะไรที่มันยากก็หา software หรือ พัฒนา software มาช่วย
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ
การจัดทำรายงานการใช้งบประมาณ ก็แค่สร้าง form มา แล้วให้ทำงานบน form แล้ว upload ผ่าน website
แต่อนาคต ถ้ามีระบบจัดซื้อที่เชื่อมกัน ก็แค่ทำขั้นตอนจัดซื้อ แล้วก็ link ข้อมูลมาระบบรายงานอีกที
หรือยกตัวอย่างง่ายๆอีกอันนึง งบการเงิน ที่ถ้าเป็นบริษัทในตลาด ทำไมต้องส่ง 2 หน่วยงาน ส่งหน่วยงานเดียวไม่ได้เหรอ แล้วตอนนี้ก็ส่งเป้น pdf ส่งทำไม เอาไปใช้อะไรได้ สู้กรอกลง form หรือ csv ง่ายกว่าไหม แถมยังตัดขั้นตอนการตรวจเอกสาร (ใช้ระบบตรวจได้เลย คนไม่ต้องนั่งตรวจตัวเลขที่ไม่ตรง) แล้วก็ไม่ต้องมานั่งกรอกลงระบบ เวลาจะเอาไปใช้ต่อ
ตัวผมเองก็มีส่งรายงานบางส่วนให้ กลต เขาจะมีระบบรับรายงานระบบนึง ซึ่งรับเป็น file csv และมี api ให้ upload ซึ่งมันง่ายมาก (ผมให้ระบบดึงข้อมูลส่งอัตโนมัติ) และมันตรวจสอบรายงานให้เลย เช่นถ้าไฟล์นึง ข้อมูลไม่เท่ากับอีกไฟล์ มันจะแจ้งเลยว่าข้อมูลไม่ครบ
แต่มีอีกรายงาน ที่เป้นรายงานแบบ form excel (ทำคล้าย form กระดาษและไม่มี format ตายตัว) อันนั้นต้องมีคนทำเลย เอาออกจากระบบไม่ได้ด้วย แถมเวลา upload ต้อง upload มืออีก ไม่มี api อันนี้เพิ่มงานจริง ซึ่งในส่วนนี้มันควรหมดไป
ไม่นับว่า มีหน่วยงานอื่น ต้องส่งรายงานคล้ายๆ กับที่ผมส่งให้ กลต อีก ทั้งที่จริงๆ มันควรรวมศูนย์ และเอา data ชุดเดียวไปใช้งาน
ในโลกธุรกิจที่องค์กรแบบเก่าๆ ยังทำงานแบบ สร้างของแยกกัน เลยต้องมีกรอกใส่กระดาษ แล้วให้พนักงานไปพิมพ์ลงคอมอีกที อันนั้นก็สร้าง pain เหมือนกัน
ปัญหาคือ มันยังไม่เกิดขึ้น
เกริ่นไว้ก่อนว่าผมไม่ได้บอกในแง่ลบว่าก้าวไกลทำไม่ได้ และถ้าบอกแบบนั้นก็จะตลกมากเพราะยังไม่ทันได้เริ่มงาน
คุณไปดูของปีนี้ก็ได้ มาตรฐานส่งเสริมความโปร่งใส่ ITA ได้มาปรับใช้กับตำรวจปีนี้ ผลของการอบรมคือ WordPress Shell ที่ไม่แม้กระทั้ง Premade มาให้ใส่ข้อมูลง่าย ๆ ต้องร่างเว็บขึ้นมาใหม่ทั้งหมด และการอบรมการใช้งานแค่สั้น ๆ ไปดูได้เลย เข้าเว็บจากทุกที่ ลองหาที่ ๆ ใช้แผนผังเว็บเดียวกันดู
ทำไมผมถึงรู้ เพราะผมนี่แหละเข้าไปจัดการให้สำหรับองค์กรย่อยแห่งหนึ่งที่ไม่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้เลย ปัญหามันใช่ว่าพึ่งจะเกิดขึ้น แต่มันสั่งสมมาเป็นปีแล้วจากหน่วยงานอื่น ไม่แก้ไขสักที
จากประสบการณ์ที่บริษัทพึ่งเปลี่ยนมาใช้ Paperless พบว่า ไม่ได้ลดลงเลยนะครับ แค่เปลี่ยนรูปแบบ แล้วช่วงเปลี่ยนผ่านคือยาก และเหนื่อยมากๆ และปัญหาใหญ่สุดคือ ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะเรียนรู้ใหม่ ขนาดพนักงานแค่ 1000 กว่าคนยังวุ่นวายแล้ว แล้วระดับประเทศที่ข้าราชการและพนักงานรัฐรวมกันหลายล้านคน แล้วไม่จบ ต้องรวมประชาชนอีก 70 ล้านคนด้วย ทำระบบมา ประชาชนก็ต้องใช้เป็นด้วย ระดับหัวหน้างานหรือฝ่ายอบรม คงได้เหมายาพาราหมดโรงพยาบาลแน่ๆ คนสั่งการบนสุด แค่คิดแล้วบอกให้ทำ แต่คนหน้างานจะตายเอา 5555 คงทำได้แหละ Paperless ในภาครัฐ แต่น่าจะเกิน 5 ปี สนับสนุนให้ทำนะ แต่มีโบนัสให้คนทำงานได้ไหม สงสาร เพราะมันเหนื่อยเกินงานปกติจริงๆ ช่วงเปลี่ยนผ่าน
เห็นด้วยครึ่งนึงในฐานะคนทำหน่วยงานรัฐแรกๆแน่นอนปรับกระจาย แต่มันแค่เดือนแรกแหล่ะครับ ถ้าแบ่งให้ดีคือ Flow Chart สำหรับงานนั้นๆ ซึ่งทำตามเท่านั้นไม่มีใครออกนอกทาง ปัญหาที่ระบบ IT ในหน่วยงานภาครัฐให้เกิดคือมีลุงๆป้าราชการอยากทำสิ่งที่ตัวเองทำสมัยยังพิมพ์พิมพ์ดีด
เลิกใช้เลขประจําตัวประชาชนซะที มันเป็นเลขที่ไม่ปลอดภัยหรือเป็นความลับอะไรเลย แค่จะเอาใบกำกับภาษีเต็มรูปก็็ต้องยื่นให้คนอื่นละ โดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายก็ต้องให้เขาไปอีกละ แทบจะให้แม่งทุกที่
ใช้อะไรแทนดีฮะ?
มันตรวจสอบ ใบหน้า นิ้ว อยุ่นะ
การยืนยันตัวตน กับ การใช้เลขบัตรเชื่อมต่อบริการยืนยันตัวตน ผมว่าคนละเรื่องกันนะครับ
ถ้าไม่ใช้เลขประชาชน ลำบากพวกผมแน่ ๆ เพราะผมเจอชื่อ-นามสกุลเดียวกันอยู่อำเภอเดียวกัน 4 คน แต่อยู่คนละหมู่บ้านมาแล้ว
หรือจะให้ใช้เบอร์โทรศัพท์ล่ะ แต่อย่าลืมว่าเปลี่ยนเบอร์ได้นะ และ 1 คน ไม่จำเป็นต้องมีแค่ 1 เบอร์ด้วยผมว่าที่ต้องใช้เลขประชาชน เพราะจะได้ไม่ Misidentified คนนั่นแหละ
หรืออีกวิธีก็ใช้ Biometric แต่เราไม่ได้มี National Biometric Databank นี่สิ (หรือมีแต่ไม่ได้ใช้)
เหมือนจะมีครับ ก็รูปตอนถ่ายบัตรประชาชนนั่นล่ะครับลายนิ้วมือก็มี
ตอนทำบัตร หน้าผม ไปเหมือนกับ อีกคน กว่าจะทำผ่านได้ ยุ่งยากมาก
ไม่แน่ใจมาตรฐานการจัดเก็บbiometricของบัตรประชาชนได้upgradeเหมือนฝั่งpassportหรือยัง
เพราะpassportโมเดลล่าสุด(ตั้งแต่ที่เริ่มมีแบบ 10ปี)เก็บตามมาตรฐานใหม่ ไม่ใช่เก็บเป็นรูปภาพเหมือนของเดิม ทำให้scan ได้ไวและแม่นยำขึ้น แถมบินไปญี่ปุ่นล่าสุดประทับใจระบบ face scan ของcustom/immigrantเขามากๆ
ผมสงสัยครับ passport นี้ผมจะถามยังไงดีถามไม่ถูก
ผมคนลาวทำ passport มาไทยต้องผ่าน ต.ม แล้ว
ต.ม ไทยตวจยังไงว่าผมเป็นคนลาวจริงๆ ผมเห็นฝรั่งถือ
passport กัมพูชาเยอะอยู่
เวลาไปมาเลย์ พม่า ผมก็แค่ยื่นให้เขาตวจแปปเดียวเอง
ข้อมูลมันซิงค์กันทั่วโลกใช่ไหมครับ ขอบคุณครับ🙏
*ตอนไปสถานทูตลาวที่ขอนแก่นก็เห็น ชาวแอฟริกา ถือ
passport ลาว
ในชิปที่ติดอยู่กับหนังสือเดินทางมีข้อมูลส่วนตัวของคุณที่กรอกไว้ตอนขอเอกสารเรียบร้อยแล้วครับ เจ้าหน้าที่เอาไปวางใส่เครื่องอ่านมันก็จะอ่านออกมา ไม่ได้ซิงค์ทั่วโลกเพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เทคโนโลยีในของหนังสือเดินทางมันระดับเดียวกับพิมพ์ธนบัตรดังนั้นเรื่องความปลอดภัยและความถูกต้องไม่ต้องห่วงหรอกครับ
ส่วนคนชาติแปลกๆ ที่ถือหนังสือเดินทางไม่ตรงสัญชาติอันนี้ผมของไม่ก้าวล่วงเพราะเป็นปัญหาภายในประเทศของผู้ออกเอกสารยืนยันสัญชาติ
นึกสภาพตอนกรอกข้อมูลสมัครบริการบางอย่างที่ดันจำเป็นต้องใช้ ID เนื่องจากว่าบังคับใช้ลายนิ้วมือหรือบัตรประชาชน
พอใช้คอมพิวเตอร์ ฉิบหาย ... คอมพิวเตอร์ไม่มีเว็บแคม ... ไหนไปเปิดแล็ปท๊อปสิ ... โอ้ว แล็ปท๊อปก็ไม่มีเว็บแคม ใช้กล้องหน้ามือถือละกัน ... ที่กรอกข้อมูลมาทั้งหมด พิมพ์ใหม่หมดเพราะต้องไปเข้าทางมือถือแทน พอจะถ่ายรูป ... ไม่ติดสักที บิดคออยู่นั่นแหละ ถ่ายไปถ่ายมา อ้อ ... ไฟในห้องไม่พอ ต้องวิ่งไปหาไฟฉายห้องข้าง ๆ มาช่วยส่องอีกสองสามอัน ...
งานที่ควรจะเสร็จภายใน 3 วินาที ต้องใช้เวลากว่าสามชั่วโมงแบบนี้ผมว่า มันไม่ค่อยเวิร์คนะ
อ๊ะ สแกนลายนิ้วมือนี่ยิ่งยากใหญ่เลยครับ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์ผมจะมีตัวอ่านลายนิ้วมือก็เถอะ คือมันไม่สามารถเอาภาพลายนิ้วมือออกจากตัวเครื่องได้เลยครับ
ปล. เลขบัตรประจำตัวประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล KYC ที่ธนาคารจะต้องเก็บอยู่แล้วครับ
ทำเรื่องการเงินเขาถึงเพิ่มเลขหลังบัตรไง
ไม่ควรเลิกครับ เลขประจำตัวประชาชน มีความสำคัญในการระบุตัวตน เป็นสิ่งที่ต้องมีการใช้เลขประจำตัว ต้องเข้าใจว่าเลขประจำตัวไม่ใช่ความลับ ไม่สามารถใช้ยืนยันตัว และไม่สามารถยืนยันเจตนาใดๆ
มันต้องใช้ครับ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเดินทาง (Passport) ทั้งโลกก็มีเลข National Identification Number บน Passport เหมือนกันหมดครับ
+1 ยังไงก็ต้องมีเลขอะไรสักอย่างครับ ในการทำธุรกิจข้ามชาติ
[S]
ผมเห็นด้วยนะ แต่คำถามถัดไปคือรัฐของเรามีความน่าไว้วางใจในเรื่องของการดูแลรักษา PKI มากน้อยขนาดไหน
Single Digital ID กับฐานข้อมูล อันนี้อยากให้ทำได้จริงๆ นะ รวมข้อมูลทุกอย่าง จะง่ายๆ
ได้ฟังนโยบายส่งเสริมดิจิตอลบ้างซักทีไม่ใช่เอะอะอะไรก็ Block Web กับจะไป Single Gateway
ข่าวปลอมจาก IO เต็มบ้านเมือง ยุบๆ ไปเถอะ ไม่มีประสิทธิภาพ
จริงครับพิมพ์กูเกิ้ลว่าเจ้าพ่อเฟคนิวส์ นี่ขึ้นมาหราเลยหน้าคุ้นๆ เหมือนพรรคที่จะออกนโยบายนี้แหละครับ
เอาจริงศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตอนนี้ก็เหมือนช่องทาง ปชส. ของรัฐ ส่วนถ้าเรื่องข่าวปลอมส่วนใหญ่ก็พวกอาหารเสริมต่าง ๆ ถ้ารัฐบาลจริงใจที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ศูนย์นี้ก็ไม่จำเป็น
Propaganda Center
ศูนย์ข่าวปลอมยกเลิกได้ก็ดีครัฟ เห็นปล่อยข่าวปลอมบ๊อยบ่อยอ่าวโทษ ๆ อ่านผิด
เรื่องลดอำนาจการปิดกั้นลงผมเห็นด้วยคือให้ผู้ให้บริการนำข้อมูลออกในเวลาจำกัดแบบเถียงไม่ได้นี่ไม่ไหวนะ แต่ผมไม่เห็นด้วยถ้าจะตัดอำนาจไปทั้งหมดคือเรายังจะมีกลไกอื่นในการปิดกั้นหรือให้นำข้อมูลเท็จซึ่งสร้างความเสียหายออกได้หรือไม่? แล้วกลไกที่ว่าใช้เวลานานจนความเสียหายบานปลายหรือไม่? เช่นสมมุติศาลสั่งให้นำลงชั่วคราวได้หรือไม่?
อีกเรื่องคือ "โดยจะเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามาตรวจสอบ ถกเถียง นำเสนอชุดความจริงได้" คือหน่วยงานจะมีหน้าที่เป็นแค่หน่วย passive รับข้อมูลอย่างเดียวเหรอ? ถ้าเป็นงั้นก็ไม่เห็นด้วยหน่วยงานยังควรที่จะ active ทำหน้าที่ตรวจสอบถ้ามีการแจ้งเข้ามา (หรือจะโยกหน้าที่ให้ตำรวจไปเลย?) ผมแค่ไม่เห็นด้วยกับการที่หน่วยงานตรวจสอบมีอำนาจยับยั้งได้โดยตรงโดยไม่มีการคานอำนาจกับหน่วยอื่นแต่จะให้หมดบทบาทตรวจสอบไปเลยงี้ก็ไม่ไหวนะ
ผมเห็นด้วยนะครับว่าไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันความเสียหาย แล้วก็มองว่าก้าวไกลยังไม่ได้ตอบเรื่องนี้เท่าไหร่ในทวิต เลยไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง
แต่ส่วนตัวผมมองว่าการปิดกั้นหรือการนำข้อมูลออก มันเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพในยุคที่ข้อมูลสามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วอย่างในยุคนี้ครับ หรือก็คือ ไม่ว่าจะปิดกั้นเร็วแค่ไหน ข่าวปลอมมันก็กระจายออกไปได้เร็วไม่ต่างกันอยู่ดี และมันยังเผยแพร่ต่อไปได้ด้วย การไล่ปิดมันไปเรื่อยๆจึงแทบไม่มีประสิทธิภาพเลย
เพราะงั้นผมจึงไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ที่จะยึดติดว่าต้องปิดกั้นหรือเอาข่าวปลอมลงเท่านั้นครับ
จริงๆมันมีอีกหลายวิธีครับ เช่น การขอความร่วมมือกับสื่อให้ช่วยนำเสนอข่าวจริงกลบข่าวปลอม ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ทำได้ (และผมว่าได้ผลดีกว่าการปิดกั้นข่าวปลอมด้วย) ซึ่งผมเข้าใจว่า COFACT ของไต้หวัน (ที่ทวิตต้นทางของก้าวไกลอ้างอิงมา) ก็ใช้วิธีการนี้ แต่ทวิตของก้าวไกลก็ไม่ได้บอกว่าจะทำยังไงอยู่ดี
เผื่อใครต้องการอ่านข่าวเก่า กรณียุโรปที่ผ่านกฎหมายดำเนินการในเรื่องลักษณะเดียวกันกับข้อ 5 นี้ อ่านได้ที่ ข่าว 129250 ครับ
ออกเลกันเลย