สหภาพนักแสดง-สมาคมศิลปินโทรทัศน์ และวิทยุแห่งอเมริกา หรือ SAG-AFTRA ที่มีสมาชิกทั้งหมด 160,000 คนได้เข้าร่วมการประท้วงหยุดงานกับ สมาคมนักเขียนบทที่เริ่มประท้วงหยุดงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากการเจรจากับบรรดาสตูดิโอต่าง ๆ ล้มเหลว ตอนนี้สตูดิโอต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกากำลังเจอการประท้วงการหยุดงานครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 63 ปี ประเด็นหลักมาจากเรื่องการจ่ายค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม และต้องการรับประกันว่างานของพวกเขาจะไม่ถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)
โดยการประท้วงเริ่มต้นเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐ หลังจากที่คณะกรรมการของสหภาพมีมติเป็นเอกฉันท์ให้หยุดงานหลังจากการเจรจากับบริษัทต่าง ๆ เช่น Netflix, Amazon, Disney และ Warner Bros เป็นสัปดาห์ที่แล้วล้มเหลว หนึ่งในข้อเสนอจากสตูดิโอคือการสแกนหน้านักแสดงประกอบฉากโดยใช้ AI และจะจ่ายเงินค่าตัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งสตูดิโอจะสามารถใช้สิ่งที่สแกนได้ตลอดไปโดยไม่ต้องจ่ายเงินหรือการยินยอมจากนักแสดง
โดยล่าสุดในงานรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์เรื่อง Oppenheimer ของผู้กำกับ Christopher Nolan เหล่านักแสดงต่างร่วมกันเดินออกจากงานเพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนการประท้วงของ SAG-AFTRA
รูปภาพจาก Twitter ทางการของ SAG-AFTRA
ที่มา - No Film School , Reuters
Comments
ค่ายเล็กๆหนังทุนต่ำยังไงก็ใช้Aiถ้าผลงานออกมาดีเดี๋ยวค่ายใหญ่ก็ต้องตาม
Ai สะกดแบบนี้ทำให้คิดว่า Illustrator ทำหนังได้แล้วหรอ 55+
วัยรุ่นเรียกโปรแกรมเอไอ วัยลุงเรียกอิลลัด แต่ลุงใช้ corel draw หน้าตาเป็นมิตรกว่าของค่ายอะโด่บี้
โหดอยู่นะ แทบไม่ต่างกับสัญญาทาสเลยถ้าจริง
Deadline:
The Verge:
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
น่าเกลียดอะ AI Arts ยังมีแบ่งเงินให้ผู้สร้างผลงาน อันนี้ไม่มีคือแบบเกินไปมาก
เรียบร้อย มันจะเหลืองานให้มนุษย์ไม่กี่อย่าง แบบนี้ ให้ AI ทำงานแล้ว ให้พนักงานบริษัท AI ที่เป็นที่สุดท้ายที่มีรายรับมาใช้จ่าย เศษฐกิจพังสิครับ เงินกระจุกอยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม
ใครต้นคิดเนี่ยมันคือบังคับขาย identity ของนักแสดงตัวประกอบในราคาค่าแรงวันเดียว เลยนะ
อ่านแล้วคือแบบจุกเลยกะจะไม่ให้เค้าโล่นเล่นในวงการหนัง ภาพยนต์ คือแบบจะให้นักแสดงเล่นเรื่องเดียวแล้วจบชีวิตนักแสดงลงตรงนั้นเลยว่างั้น นายทุนนี่มันเหมือนกันทั้งโลกจริงๆ
หนังเรื่อง Simone ไง ผู้มาก่อนกาล
สแกนหน้าเราแล้วเอาไปใช้ตลอดนี่แย่นะ น่าจะแบ่งเงินให้บ้ง แต่อาจจะไม่เยอะไรงี้น่าจะดีกว่าอะ
คิดในทางที่ดียั้งน้อยที่ไทยยังไม่มีการใช้ AI ทำแทนในหลายๆด้านนี้สินะผลดีต่อประเทศกำลังพัฒนา
เอาจริงๆมันคือเรื่องสัญญาไม่เป็นธรรมมากกว่านะ ไม่ค่อยเกี่ยวกับ AI เท่าไหร่
ผมว่ามันก็คล้ายๆวงการอื่นนะครับ
เทคโนโลยีมันเปลี่ยน ทำให้การผูกขาดโดยคนกลุ่มเล็กๆ มันถูกทำลายลงเหมือนสำนักข่าว ตอนนี้คนรู้ข่าวผ่าน TikTok ไวกว่าสำนักข่าวอีก จากสถานที่เกิดเหตุเลย การแข่งขันมันสูงขึ้น
ต่อไปนี้ นักแสดง .. ไม่สิ โมเดล จะเป็นใครก็ได้ อาจจะทำงานอะไรก็ได้มาถ่ายวันเดียวจบ รับเงินไป ตัวเลือกมากขึ้น มูลค่าก็ลดลง
เอาจริงๆวงการเกมมันก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่ต้นบางเกมแยก คนทำ motion capture กับ model
อันนี้ความเห็นส่วนตัว
คนใน Hollywood อยู่ใน bubble มานานเขาเพิ่งเคยเจอการเปลี่ยนแปลง แบบที่คนอื่นเขาเจอกันมาก่อน
จะยังไม่ชิน ก็ธรรมดา
คิดว่าคนละเรื่องกันครับ ระหว่างเกมกับหนังนะ ในกรณีนี้
คือวงการเกมมันเป็นการจ้างมาเป็นโมเดลโดยเฉพาะ จ้างมาทำ asset นี่ล่ะ สัญญากับค่าตอบแทนมันก็จะเป็นแบบนึง ส่วนหนังจ้างมาเป็นตัวประกอบ สัญญากับค่าตอบแทนมันก็เป็นอีกแบบนึง
ผมเข้าใจว่าฝั่งหนังเค้าลงสัญญาแบบนั้นเพราะเผื่อกรณีที่แบบตัดต่อแล้วข้อมูลไม่มีก็สามารถดึงภาพตัวประกอบมาใช้แทนได้ (แทนที่จะต้องจ้างมาถ่ายใหม่ คิวตรงไหมก็ไม่รู้) แต่ว่าสัญญาก็ต้องเขียนให้ครอบคลุมกว้าง ๆ คนก็ไม่ยอมอะไรแบบนี้ครับ
ต้องแยกให้ออกระหว่างเรื่องเทคโนโลยีกับเรื่องกฎหมายหรือสัญญา
ในแง่เทคโนโลยี ผมมองว่ายังไงเทคโนโลยีพวกนี้มันก็ต้องได้ใช้แน่ๆในอนาคตแน่นอนอยู่แล้ว มันง่ายเกินไป? เทคโนโลยีถูกคิดขึ้นมาเพื่อให้ชีวิตมันง่ายขึ้นอยู่แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่อนาคตมันจะไม่ถูกนำมาใช้
เพียงแต่ปัญหาตอนนี้มันเป็นเพราะสังคมปรับตัวตามไม่ทัน ไม่ว่าจะเรื่องกฎหมายหรือเรื่องสัญญาต่างๆ อย่างในกรณีนี้ดูแล้วมันน่าจะเป็นเรื่องสัญญามากกว่า ซึ่งเท่าที่อ่านผมก็เห็นด้วยว่าควรปรับปรุงสัญญาให้มันเป็นธรรมมากกว่านี้ เช่น ถ้าเอาไปใช้ใน AI ก็ต้องได้รับส่วนแบ่งเท่านั้นเท่านี้ อะไรทำนองนี้ก็ว่ากันไป
แต่ไอ้รับประกันว่างานจะไม่ถูกแทนที่ด้วย AI เนี่ยผมว่ามันเอาแต่ใจเกินไป ไม่ว่าอาชีพไหนๆมันก็มีความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีตลอดเวลาอยู่แล้ว
การประท้วงนี่ใช่ความพยายามบอกว่าใช้ ai ดีแล้วรึเปล่าครับ