เว็บไซต์ Windows Central รายงานข่าววงในของ Windows รุ่นปีหน้า 2024 ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะเรียก Windows 12 หรือไม่ เพราะฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ยังไม่ตัดสินใจเรื่องนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Windows ปี 2024 เกิดจากปัจจัย ผู้บริหาร Panos Panay ที่ดูแลทีม Windows ลาออก โดยแนวทางที่ Panos วางเตรียมเอาไว้คือ กลับมาออกตัวแกนหลักของระบบปฏิบัติการ (platform) ทุกสามปี แล้วออกอัพเดตฟีเจอร์ย่อยให้บ่อยๆ ปีละ 2-3 ครั้ง (ภาษาภายในไมโครซอฟท์เรียก Moment updates) ดังที่เราเห็นใน Windows 11 ช่วงหลัง
แต่หลัง Panos ลงจากตำแหน่ง นโยบายนี้กำลังเปลี่ยนมาเป็นการออกอัพเดตใหญ่ระบบปฏิบัติการปีละครั้ง (เหมือนยุค Windows 10 ช่วงหนึ่ง) โดยอาจมีอัพเดตย่อย Moment update บ้างแต่ไม่สำคัญนัก
ภาพ Copilot ของ Windows 11
แผนการของไมโครซอฟท์มีตัวแกนระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่ชื่อ Germanium และชุดฟีเจอร์ที่พัฒนาแยกจากตัวแกนระบบ ใช้ชื่อว่า Hudson Valley ซึ่งแนวทางนี้ใช้มาสักพักแล้ว ( รอบก่อนหน้านี้ชื่อ Cobalt กับ Sun Valley ในปี 2021 ที่กลายร่างมาเป็น Windows 11)
ตามข่าวบอกว่ารอบนี้ Germanium กับ Hudson Valley จะอัพเดตแยกจากกัน เพราะทำเสร็จไม่พร้อมกัน
- Germanium จะพัฒนาเสร็จในเดือนเมษายน 2024
- Hudson Valley จะพัฒนาเสร็จในเดือนสิงหาคม 2024 จะปล่อยอัพเดตในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม
รอบนี้คาดกันว่าไมโครซอฟท์จะออกอัพเดต Germanium ให้พีซีใหม่บางส่วนก่อน โดยเฉพาะ พีซีที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ตัวใหม่ของ Qualcomm ซึ่งไม่สามารถใช้งานกับแกนตัวเดิมของ Windows 11 ได้ จากนั้นไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดต Hudson Valley ให้กับพีซีที่ใช้ Germanium ในภายหลัง พร้อมกับผู้ใช้พีซีเดิมที่ได้อัพเดต Hudson Valley รอบใหญ่ทีเดียวเลย
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ของ Hudson Valley จะเน้นเรื่อง AI โดยเรียกกันว่า "advanced Copilot" คือเป็นส่วนติดต่อผู้ใช้ (shell) ของระบบปฏิบัติการที่นำพลัง AI มาใช้หลายส่วน
- ฟีเจอร์ history/timeline ที่ใช้ Copilot ช่วยจดจำงานที่เราทำไปก่อนหน้านี้ เราสามารถค้นหางานที่เคยเปิดทำเอาไว้ แล้ว Copilot จะหาทุกสิ่งที่อยู่บนหน้าจอที่มีคำนี้ให้
- ใช้ AI ปรับปรุงระบบค้นหาของ Windows ด้วยภาษาธรรมชาติ เช่น จำชื่อไฟล์งานไม่ได้ แต่จำได้ว่าใครส่งให้ พิมพ์คำสั่ง “find me the document that Bob sent me on WhatsApp a few days ago” หาไฟล์นั้นได้
- Super Resolution ใช้พลังของชิป NPU ในพีซีใหม่ๆ ช่วยอัพสเกลภาพวิดีโอและเกม
- ทำ Live Captions จากเสียงหรือวิดีโอที่กำลังเล่น พร้อมแปลเป็นภาษาอื่นได้
- ใช้ AI ช่วยปรับเอฟเฟคต์ parallax ของภาพพื้นหลัง หากขยับเคอร์เซอร์หรือเอียงเครื่องโน้ตบุ๊ก (ที่มีไจโรสโคป)
ฟีเจอร์ใหม่อื่นๆ ที่มีในข่าว
- Start Menu และ File Explorer จะมีพื้นที่ Creator สำหรับสร้างเนื้อหาจากบริการต่างๆ ในเครือไมโครซอฟท์ เช่น Microsoft 365, Word, PowerPoint, Microsoft Designer
- ปรับปรุงเรื่องการประหยัดพลังงานให้ดีกว่าเดิม ฮาร์ดแวร์บางรุ่นอาจแบตอึดขึ้น 50%
Windows Central ชี้ว่าในเรื่องชื่อแบรนด์ยังไม่ชัดเจนว่าไมโครซอฟท์จะเอาอย่างไร เพราะตอนนี้ไมโครซอฟท์มีฐานผู้ใช้ Windows ทั้งหมด 1.4 พันล้านเครื่อง แบ่งเป็น Windows 10 ราว 1 พันล้านเครื่อง และ Windows 11 อีก 400 ล้านเครื่อง ยังมีปัญหาเรื่องพีซีเก่าอัพเกรดเป็น Windows 11 ไม่ได้อยู่อีกมาก หากจะออก Windows 12 มาอีกจะยิ่งทำให้กลุ่มฐานผู้ใช้แตกกระจาย จึงเป็นอีกปัจจัยที่ไมโครซอฟท์อาจยังไม่กล้าปรับตัวเลขเวอร์ชันในระยะอันใกล้นี้ แต่สุดท้ายผู้มีอำนาจตัดสินใจคือฝ่ายการตลาด ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้เคาะกัน
ที่มา - Windows Central
Comments
ai เต็ม ไปหมด
intel gen 8 จะยังได้ไปต่อไหม
มาขนาดนี้แล้ว น่าจะเกินครึ่งที่ ไม่ได้ขยับไป Windows 11 ถ้าเป็นองค์กรก็คงซื้อ Extended service จนกว่าจะปลดระวางแล้วซื้อเครื่องใหม่
..: เรื่อยไป
อารมณ์เหมือนสมัย Windows XP ใช้ลากยาวเป็นสิบปีเพราะรัน Windows รุ่นใหม่ๆไม่ไหว
ผมสงสัย ios Android สร้างแกนใหม่ตอนออก
หรือ อัพแกนเก่าแต่ใช้ชื่อใหม่ครับ เช่น ios 15-->16
Android 12--> 13
เหนื่อยครับ ออกมาใหม่ที เปลี่ยน UI ที ไม่เหมือน MAC OS ที่ฟีเจอร์ใหม่ๆมาแต่ UI ยังคุ้นตาเหมือนเดิม windows เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนสำหรับผู้ใช่ทั่วไปแล้ว ทำคู่เมือใหม่ไปเลยมะ ขนาดตั้งค่า network หาดู UI แบบใหม่ยัง งง เลย
แอบเห็นด้วย ตอนแรกคิดว่าถ้ามา Windows 11 จะนิ่งกว่านี้แต่กลายเป็นว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมามั่วกว่าเดิม
ดีกว่า Mac อย่างเดียวคือ Legacy Support แต่นั่นก็ทำให้ระบบบวมมาก
ไม่ใช่แค่หาจนงงนะการใช้งานมันก็ไม่เหมือนกัน สุดท้ายเข้าหน้าเดิมเซ็ทค่าง่ายกว่าไม่มีปัญหา
ผมก็ทำแบบนั้นครับ แต่ปัญหาคือเขาทยอย เอาหน้าการตั้งค่าเดิมๆพวกนี้ออกไปด้วย ไม่รู้ว่าหน้าการตั้งค่า Network พวกนี้จะหายไปเมื่อไหร่เลยพยายามลองใช้งานแบบของใหม่ควบคู่กันไปด้วยน่ะครับโควต้าผมหมดแล้ว เดี๋ยวต้องไปตอบอันอื่นต่อวันอื่น เรื่องนี้ผมขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัวจบที่ตรงนี้แหล่ะครับ ขอบคุณครับ
ต้องลองฝึกหาบ่อยๆ ครับ สุดท้ายแล้วมันจะหายไปทีละส่วน
เช่น Windows Updatesถ้าจะถอนอัปเดตตอนนี้คือเชื่อมไป Settings แล้ว (กดใน Control Panel ก็จะเด้งไป Settings)
ทำทุกอย่างยกเว้นรวม Control Panel กับ Settings 😂
ยังย้ายมาไม่ครบครับ + น่าจะอยู่ไปอีกสักพักเลย
บางอย่างย้ายมาแล้วแต่ยังไม่เอาออก เช่น Network, Devices มา(เกือบหมด)แล้วบางอย่างย้ายมาแล้วหายไปแล้ว เช่น Windows Update ถ้าจะถอดถอน Installed Update จะเด้งมาที่ Settings ใหม่เลย
Control Panal คือศูนย์รวมโปรแกรมครับ (CPL) แต่ละส่วนจะเป็นไฟล์โปรแกรมแยกกัน
Satya Nadella: เราเรียกมันว่า The New Windows เพราะไม่อยากให้ใครเดาชื่อผลิตภัณฑ์ของเราถูก
Windows 10 อายุที่วางไว้มันก็เกือบ ๆ 10 ปี (Jul 29, 2015 - Oct 14, 2025) ซึ่งจากวัน EOL ก็เหลืออีกประมาณ 2 ปี
ฝั่ง Windows 11 ก็เปิดตัวมาประมาณ 2 ปีนิดๆ (เปิดตัว Oct 4, 2021)
ปัญหาคือพวกที่อายุเครื่องไม่ครบ 5 ปี แล้วใช้ Windows 10 อยู่ซึ่งบางตัวมันไม่รองรับให้อัพเกรดไป Windows 11 (พวกไม่มี TPM อะไรพวกนี้) ซึงจะติดปัญหาเรื่อง software support ได้ เพราะปรกติเครื่องในองค์กรเปลี่ยนทุกๆ 5 ปี ถ้าจะให้เนียนๆ หน่อย Microsoft ต้องขยาย EOL ของ Windows 10 ออกไปสัก 1 ปี เป็น Oct 14, 2026 คิดว่ากำลังสวยๆ
ถ้าจะขายตัว Windows 12 น่าจสักช่วง 2026 น่าจะเหมาะกว่า
คิดว่า EOL น่าไม่มีการยืดออกครับ เพราะเพ่ิ่งมีประกาศ ESU ออกมา (เหมือน Win7/2008/2008R2 หรือล่าสุดกับ 2012/2012R2)
"Extended Security Updates (ESU) program for Windows 10"
จะรอดูอันนี้
ทำไมไม่ออกทุกปีเหมือน macOS และทำ UI ให้ friendly หน่อย อย่างเช่น setting menu ที่ทำแยกกันตั้งแต่ 8 ลากยาวมาจน 11 ก็ยังไม่เสร็จ แถมตัวใหม่ก็ใช่งานยุ่งยากลำบากอีก หาอะไรก็ไม่เจอ
บางฟีเจอร์อย่างกับมาจากการ์ตูน แปลภาษาเป็นคำพูดแบบเรียลไทม์รึ ฮ่าๆๆฟ ตลกสิ้นดีทุกวันนี้แค่เปิดซัพในyoutubeยังโคตรจะมั่วเลย เพ้อฝัน
The Last Wizard Of Century.
หรือนี่คือสัญญา?
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3