Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากสถาบัน Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รายงานถึงผลทดสอบการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ว่าแม้จะมีข่าวว่า LLM สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างน่าทึ่งแต่ก็มีความผิดพลาดสูง ต้องระมัดระวัง

ทีมงานทดสอบการใช้งาน LLM โดยใช้โมเดล 4 ตัว ได้แก่ GPT-4, Claude 2.1, Mistral Medium, และ Gemini Pro เฉพาะ GPT-4 นั้นสร้างแอป retrieval augmented generation (RAG) ครอบอีกชั้นเพื่อทดสอบ โดยวัดว่าเวลาที่ LLM เหล่านี้ตอบคำถามแล้ว สามารถสร้างคำตอบโดยมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องหรือไม่

การวัดความถูกต้องมี 3 ระดับ ได้แก่ 1) การวัดว่าที่มาข้อมูลมีจริง ตัวปัญญาประดิษฐ์ไม่ได้สร้าง URL มั่วๆ มาเอง, 2) วัดว่าแต่ละประโยคนั้นมีในที่มาจริง มีแหล่งข้อมูลสนับสนุน, 3) วัดว่าคำตอบโดยรวมมีที่มาสนับสนุนจริงหรือไม่ โดยรวมใช้คำถาม 1,200 คำถาม

ผลทดสอบพบว่า LLM มีแนวโน้มจะสร้างที่มาข้อมูลเองค่อนข้างบ่อย แม้แต่ GPT-4 ก็ยังสร้างที่มา มั่วๆ ถึง 30% ปัญหานี้ลดได้โดยอาศัยการทำ RAG ที่แหล่งที่มาเกือบทั้งหมดมีจริง แต่พอไปดูคำตอบแล้วกลับพบว่าข้อความแต่ละส่วนนั้นไม่ได้มีที่มาสนับสนุนประโยคในคำตอบจำนวนมาก แม้แต่ GPT-4 แบบ RAG ก็ยังมีคำตอบแบบนี้สูงถึง 30%

ทีมวิจัยระบุว่ามีกระแสตื่นเต้นที่ LLM สามารถคำคะแนนทดสอบได้เหนือกว่านักเรียนแพทย์ แต่แพทย์จริงๆ นั้นต้องอาศัยการประเมินหลายด้านกว่าการทำข้อสอบแบบตัวเลือกที่ใช้ทดสอบ LLM มาก

ที่มา - Institute for Human-Centered AI

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: specimen
Windows Phone Android
on 25 February 2024 - 18:14 #1306466
specimen's picture

ใช้บรรดาสารพัด AI ในการหาข้อมูลทางการแพทย์ ไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยคนไข้นะบอกไว้ก่อน

ข้อมูลที่มากับเนื้อหาที่สรุปไม่ได้มีที่มาที่แท้จริง link ที่ให้มาก็ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านั้น อยู่ดีๆก็อุปโลกขึ้นมาเอง

ถ้าหากว่าให้มันสร้างบทความขึ้นมาให้ ระยะเวลาในการตรวจสอบบทความและต้องแก้ใหม่นานกว่าที่จะเขียนเองด้วยซ้ำไป ถ้าจะให้มันสร้างให้เราต้องมีความรู้มากกว่ามันถึงจะจับผิดมันได้ แต่ถ้าเป็นเด็กน้อยขี้เกียจทำการบ้าน แล้วให้ AI สร้างบทความขึ้นมาให้ตายสถานเดียว เพราะคุณไม่มีความรู้มากพอที่จะไปจับผิดมันหรือเฉลียวใจว่ามันให้ข้อมูลผิด

แต่ถ้าคุณมีความรู้มากกว่ามันและให้มันสร้างบทความให้ คุณก็ต้องมาแก้ไขเนื้อหาบทความนานกว่าที่จะเขียนเองด้วยซ้ำไป

By: Asadalak on 26 February 2024 - 11:50 #1306495 Reply to:1306466
Asadalak's picture

มันช่วยเรากำหนดขอบเขตเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น แม้ detail จะไม่ได้ลึกมาก แต่ก็ยังไม่เจอข้อมูลที่มันตอบผิด (ผมใช้ copilot) โดยรวมแล้ว มันช่วยทำให้เราเขียนบทความได้ไวขึ้นนะครับ

By: globeland on 25 February 2024 - 23:09 #1306477

จริง ชอบใช้ลองใส่อาการคนไข้ลงไปให้ลองวินิจฉัย ได้คำตอบไม่ต่างจาก google เท่าไหร่ กว้างๆและมั่ว
แนวเนื้อหาตรงๆก็ตอบถูกปนผิด
แต่ถ้าทำแนวๆ akinator ทายดารา แบบ ai ถามเพิ่มเติมไปเรื่อยๆจนคิดว่า confidence ที่จะตอบถูก น่าจะแม่นยำขึ้น

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 26 February 2024 - 01:08 #1306480 Reply to:1306477
lew's picture

Google เท่าที่เคยค้นอาการ สองสามอันดับแรกนี่ได้เว็บโรงพยาบาลแทบตลอดนะครับ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษนี่ได้ mayo clinic อันดับหนึ่งแทบจะ 100% เลย

เลยสงสัยว่าที่ค้นๆ กันแล้วเจอว่ามั่วนี่ใช้ keyword อะไรกัน


lewcpe.com , @wasonliw

By: platalay
iPhone Windows Phone Android Windows
on 26 February 2024 - 18:57 #1306509 Reply to:1306480

อาการ... pantip

:D

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 26 February 2024 - 22:59 #1306516 Reply to:1306509
lew's picture

Google: -*-


lewcpe.com , @wasonliw

By: globeland on 28 February 2024 - 01:13 #1306592 Reply to:1306477

ปกติใช้ approach to .... อาการที่เป็นศัพท์แพทย์ครับ

By: deaknaew on 26 February 2024 - 00:17 #1306479

น่าจะยากนะ เพราะ เป็นข้อมูลปิด