กูเกิลประกาศปรับสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการ Wear OS 4 ให้รองรับหน่วยประมวลผลคู่แบบไฮบริด (dual-chipset) ที่เริ่มใช้งานใน OnePlus Watch 2 ซึ่งเปิดตัววันนี้เหมือนกัน
แนวทางของนาฬิกา Wear OS ของ OnePlus (และคงมียี่ห้ออื่นทยอยตามมา) ใช้ชิปสองตัว ได้แก่ชิปหลัก application processor (AP) และชิปประหยัดพลังงาน microcontroller unit (MCU) เพื่อรองรับสถานการณ์ประมวลผลที่ต่างกัน เป้าหมายเพื่อให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานกว่าเดิม
กูเกิลได้ปรับสถาปัตยกรรมของ Wear OS ใหม่ให้รองรับการ "สลับ" การทำงานของชิปสองตัว โดยงานพื้นๆ ที่ใช้พลังประมวลผลน้อย เช่น การแสดงผลหน้าปัดนาฬิกา (watch face), การรับข้อความแจ้งเตือน และการเก็บค่าจากเซ็นเซอร์สุขภาพ-ฟิตเนส จะทำผ่าน MCU เพื่อลดการใช้พลังงาน แต่เมื่อผู้ใช้กดที่หน้าจอเพื่อทำงานที่มากขึ้น ระบบปฏิบัติการจะสลับไปยังชิป AP ตัวหลักให้อัตโนมัติ
กูเกิลบอกว่า Wear OS จะจัดการเรื่องสลับชิปให้อัตโนมัติ ขอเพียงให้นักพัฒนาเรียกใช้ API มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ เช่น Notification API, Health Services API และฟอร์แมตหน้าปัด Watch Face Format ที่เป็น XML แล้วระบบปฏิบัติการจะจัดการที่เหลือให้เอง
ที่มา - Android Developers Blog
Comments
big.LITTLE เวอร์ชันข้ามชิป
ต่อไปคงมีเวอร์ชั่นชิป 3 ตัว + AI ชิบ เป็น Tribridge OS เข้าไปอีกตัวเพื่อรับ และประมวลผลคำสั่งเสียงให้ดีขึ้น 555 พวก Wearable ถ้าออกแบบดีๆ ให้เบา และบาง มีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นหน่อย เพื่อแสดงผลลัพท์จากการประมวลผลคำสั่งเสียง ดีไม่ดีอาจเป็นคู่แข่งมือถือในอนาคต โดยเฉพาะยุคของ Generative AI ที่มันทำให้ core api ไม่ยึดติดกับคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์เขียนเอาไว้
Casio เบ้ปากให้กับสิ่งนี้
เกิดอะไรขึ้นเหรอครับถึงต้องเบ้ปาก
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
Casio ทำระบบแยกการทำงานมานานแล้วไง แต่ไม่ค่อยปังเท่าไรhttps://www.blognone.com/node/121999
นึกถึงเมือก่อน ที่มีซีพียู สองตัว