โลกการเงินทุกวันนี้ถูกควบคุมด้วยธนาคารชาติต่างๆ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารชาติต่างๆ มีอำนาจในการกำหนดค่าเงินของตัวเองด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การกำหนดระดับดอกเบี้ย, เงินสำรองของธนาคาร, หรือการพิมพ์เงินออกมาสู่ตลาด นอกจากการกำหนดค่าเงินแล้ว หน่วยงานเหล่านี้ยังมีอำนาจในการตามรอยการเงินของผู้ใช้ผ่านทางการควบคุมธนาคาร รัฐบาลประเทศต่างๆ มีอำนาจในการหยุดธุรกรรมทางการเงินของบุคคลได้ หรือการกระทำอย่างสุดโต่งเช่นในปี 1987 ที่รัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกธนบัตร 25, 35, และ 75 จ๊าด โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้าทำให้เงินหายไปจากระบบถึง 75%
แนวคิดการสร้างระบบการเงินที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีแทนที่นโยบายการเงินจากธนาคารจึงมีขึ้นในหมู่แฮกเกอร์มานานแล้ว แต่สุดท้ายในวันนี้ระบบที่ได้รับการยอมรับสูงสุด คือ BitCoin คำถามของตัวผมเองกับระบบนี้คือ ทำไมระบบนี้จึงปลอดภัย หลังจากนั่งอ่านอยู่พักใหญ่ๆ วันนี้เราจะลองมาดูกันว่าระบบของ BitCoin คืออะไรและมันเข้ามาเป็นระบบการเงินใหม่ได้อย่างไร
BitCoin สร้างขึ้นโดย Satoshi Nakamoto บุคคลลึกลับที่อ้างว่าตัวเองมาจากประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเดี่ยวกับตัวเขา เขาใช้อีเมลจากบริการฟรีเพื่อพูดคุยใน เมลลิ่งลิสด้านการเข้ารหัส เขาเริ่มพัฒนา BitCoin ในปี 2007 และเปิดเผยมันออกมาในปี 2009 ( เอกสารการออกแบบ (PDF) ) จากนั้นจึงค่อยๆ ลดบทบาทตัวเองลงไป จนกระทั่งหายตัวไปในที่สุด เชื่อกันว่าชื่อ Satoshi ถูกสร้างขึ้นโดยเฉพาะเพื่อโครงการนี้ เมื่อพิจารณาจากความเชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัสที่สูงมาก แต่กลับไม่มีชื่อนี้ในวงการวิชาการการเข้ารหัส เช่น บทความในวารสารวิชาการหรืองานประชุมวิชาการใดๆ ที่เป็นที่รู้จัก โดเมนหลักของโครงการคือ BitCoin.org นั้นถูกจดทะเบียนกับบริษัทรับจดทะเบียนแบบปกปิดตัวตนก่อนจะโอนให้กับ Martti Malmi หนึ่งในนักพัฒนาหลักของโครงการชาวฟินแลนด์ สิ่งที่ระบุตัวตนของ Satoshi เข้าได้จริงๆ มีเพียง กุญแจ PGP ที่ใช้ติดต่ออีเมลกับเขาเท่านั้น
BitCoin เป็นหน่วยเงินใช้ชื่อย่อสกุลเงินว่า BTC ใช้สัญลักษณ์ B⃦ แทนหน่วยเงินแต่เนื่องจากเป็นอักขระที่ไม่ได้รับความนิยม หลายครั้งเราจึงเห็นเว็บที่รับเงิน BitCoin ใช้สัญลักษณ์เงินบาท (฿) แทน โดยตัวเงินจะสามารถแบ่งย่อยไปได้ถึงทศนิยมแปดหลัก เรียกหน่วยย่อยที่สุดว่า satoshi ตามชื่อผู้ให้กำเนิดมัน
การออกแบบของ BitCoin อาศัยการเชื่อมต่อ P2P ของโลกอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก โดยหลักการแล้ว การโอนเงินทุกครั้งจะต้องประกาศออกไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกที่รันโปรแกรม BitCoin อยู่ ทำให้ทุกคนรับรู้ว่ามีการโอนเงินก้อนใดไปยังใครบ้าง เงินแต่ละก้อนสามารถแตกออกเป็นเงินย่อยๆ ได้ ทุกครั้งที่คนๆ หนึ่งจะโอนเงินไปให้กับคนอื่นจะเป็นการแตกเงินออกเป็นสองก้อน นั่นคือการโอนให้ยังปลายทาง และที่เหลือโอนกลับเข้าตัวเอง
เว็บ Mt.Goxผู้ให้บริการแลกเงินรายใหญ่ของ BitCoin ที่ดำเนินธุรกรรมถึง 80% ในการนำเงินเข้าและออกจาก BitCoin ตัวเว็บเคยถูกแฮกทำให้เงินหลุดออกสู่ตลาดจำนวนมาก ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่ยุ่งเหยิงไปช่วงหนึ่ง
การถือเงินใน BitCoin จะอาศัยการสร้างกระเป๋าเงินดิจิตอลที่มีสิ่งอ้างอิงคือ BitCoin address ที่เป็นตัวเลขผสมตัวอักษรยาว 34 ตัวอักษร เช่น 19kgqNAaq983PXpaxeZSvLTcuieiVojmrN
โดยกระเป๋าเงินดิจิตอลแต่ละใบจะมีกุญแจลับเป็นของตัวเอง หากกุญแจนี้หายไป เงินทั้งหมดในกระเป๋านั้นจะหายไปตลอดกาล และเนื่องจากระบบของ BitCoin เป็น P2P ทำให้เราสามารถเข้าไปดูกระเป๋าเงินของใครก็ได้ เช่นกระเป๋าเงิน 19kgqNA... ตัวอย่างข้างต้น สามารถดูได้ที่ Block Explorer
ว่ามีการโอนจากกระเป๋าเงินใบอื่นเมื่อไรเป็นจำนวนเงินเท่าใด เมื่อสองเดือนก่อน นิตยสาร Forbes สามารถ จัดอันดับเศรษฐี BitCoin
ได้ว่าบัญชีใดมีเงินเท่าใด และใช้จ่ายไปกี่ครั้ง เช่น บัญชีอันดับหนึ่ง 1DkyBEKt5S2GDtv7aQw6rQepAvnsRyHoYM
มีเงินกว่า 500,000 BTC คิดเป็นมูลค่ากว่าหกล้านดอลลาร์ หรือประมาณสองร้อยล้านบาท แม้จะตรวจสอบการโอนทั้งหมดได้ ใครๆ ก็สามารถสร้างกระเป๋าเงิน BitCoin ขึ้นใช้งานเองได้ และมีคนจำนวนมากที่ถือหลายกระเป๋าเพื่อปกปิดตัวตน หรืออาจจะมีคนกระจายเงินไปยังกระเป๋าเงินหลายใบเพื่อไม่ให้ตัวเองตกเป็นเป้าการตรวจสอบ
กระบวนการที่สำคัญของ BitCoin คือการยืนยันว่ามีการโอนเงินแล้วจริง โดยปกติแล้วในระบบเงินทั่วไป เราเชื่อใจระบบธนาคารว่าจะดูแลให้การโอนเงินของเราเป็นไปอย่างถูกต้อง แต่ BitCoin ถูกออกแบบให้ทุกคนช่วยการยืนยันการโอนเงินซึ่งกันและกัน เมื่อผู้ใช้ในเครือข่ายประกาศการโอนเงินจะ ข้อความประกาศเหล่านั้นจะถูกรวบเข้าด้วยกันเป็นชุด แล้วคำนวณหาค่าแฮช (hash) แบบ SHA256 เรียกว่า บล็อค (Block) ตัวอย่าง เช่น บล็อคหมายเลข 194462 มีการโอนที่ถูกรวบรวมเข้ามา 209 รายการ รวมเป็นมูลค่า 8979.63213863 BTC
การยืนยันการโอนแต่ละบล็อคเป็นงานที่ออกแบบให้ยากในระดับที่สร้างบล็อคใหม่ได้ในเวลาประมาณสิบนาที หลักการคือผู้ที่จะคำนวณค่ายืนยันบล็อคแต่ละอัน จะต้องปรับค่า nonce ที่ใช้เติมในแต่ละบล็อคเพื่อให้แฮชค่าของทั้งบล็อคแล้วได้คุณสมบัติตามที่กำหนด ค่าความยาก (difficulty) นี่คือการกำหนด "ค่าเป้าหมาย" (target) ที่ยอมรับได้ของแฮชของบล็อคนั้นๆ แต่ใน SHA256 กำหนดค่า nonce เพื่อให้ได้ค่าแฮชที่น้อยตามที่ต้องการเป็นงานที่ยังไม่มีทางทำได้ตามทฤษฎี ทางที่เป็นไปได้คือการไล่ค่า nonce ไปเรื่อยๆ ทีละค่าแล้วคำนวณแฮชใหม่จนกว่าจะได้ค่าตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยโพรโทคอลของ BitCoin จะกำหนดให้ค่าความยากนี้ใหม่ทุกๆ 2016 บล็อค โดยคำนวณจากความยากปัจจุบันและระยะเวลาเฉลี่ยที่คำนวณแต่ละบล็อคในช่วงเวลาสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถปรับค่าความยากให้ยากขึ้นเกินกว่า 4 เท่าตัวได้ในการปรับแต่ละครั้ง ทุกวันนี้ค่าแฮชที่ยอมรับได้จะมีเลขศูนย์นำหน้าถึง 13 ตัว เช่น 00000000000006b6470a28d420c957609e22f56c5f3a58dfe9ad4d498f63e3fa
การหาค่า nonce ที่ทำให้ค่าแฮชเป็นไปตามเงื่อนไขนี้จะต้องอาศัยการลองผิดลองถูกนับล้านล้านครั้ง หลังจากนั้นเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายสามารถคำนวณค่า nonce และแฮชที่ถูกต้องของบล็อคปัจจุบันได้ ก็จะประกาศไปทั่วเครือข่าย การตรวจสอบความถูกต้องนั้นทำได้ง่ายเพราะเป็นเพียงการดูไฟล์บล็อคที่มักมีขนาด 50-200KiB แล้วคำนวณแฮช SHA256 ว่าตรงกับที่ประกาศออกมาหรือไม่ และซอฟต์แวร์จะถูกกำหนดให้รับฟังการประกาศบล็อคล่าสุดเสมอ
การปรับค่าความยากให้ระยะเวลาสร้างบล็ิอคใหม่ได้ในสิบนาที เป็นความพยายามที่จะสมดุลกันระหว่างความปลอดภัย โดยคนโจมตีจะสร้างห่วงโซ่บล็อคปลอมๆ ได้ยากมาก ขณะที่การใช้จ่ายเงินจะได้รับการยืนยันว่าอยู่ในห่วงโซ่สายหลักแน่นอน (มีบล็อคต่อท้ายไปอีก 6 บล็อค) ภายในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งไม่นานเกินไปสำหรับการใช้งานซื้อขายที่ไม่ต้องการความเร็วสูงๆ เช่น การซื้อหุ้น
แต่ละบล็อคของ BitCoin จะอ้างถึงบล็อคก่อนหน้าหนึ่งบล็อคเสมอ ทำให้แต่ละบล็อคอ้างถึงกันเป็นลูกโซ่ไปข้างหน้าทางเดียว การคำนวณค่าบล็อคปัจจุบันจึงเป็นการยืนยันความถูกต้องของบล็อคก่อนหน้า โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์กระเป๋าเงิน BitCoin จะแจ้งผู้ใช้ว่าการโอนเงินได้รับการยืนยันต่อเมื่อบล็อคที่บันทึกการโอนเงินถูกอ้างถึงไปอีก 6 บล็อคข้างหน้า
การคำนวณค่า nonce และแฮชของแต่ละบล็อคนั้นเป็นงานที่มีต้นทุนสูงเพราะต้องใช้ไฟฟ้าและเครื่องที่แรงจึงคำนวณได้รวดเร็ว หลายค่ายสร้างชิปเฉพาะสำหรับการคำนวณค่าบล็อค กระบวนการนี้มีแรงจูงใจระบุให้ผู้ที่สามารถคำนวณ ค่า nonce และแฮชได้สำเร็จ สามารถประกาศนำเงินเข้ากระเป๋าตัวเองได้ 50 BTC (มูลค่าปัจจุบ้นคือ 600 ดอลลาร์หรือเกือบสองหมื่นบาท) เงินจำนวนนี้จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ทุกๆ 210,000 บล็อคที่คำนวณได้ กระบวนการนี้เป็นแนวคิดที่จะจำกัดจำนวน BitCoin ไม่ให้เกิน 21,000,000 BTC
ระบบโซ่ของบล็อคที่สร้างฐานข้อมูลของ BitCoin แต่ละบล็อคจะบันทึกการโอนเงินไว้นับร้อยรายการ โดยเครื่องทั่วโลกจะเชื่อถือเพียงสายที่ยาวที่สุด (สีดำ) แม้บางครั้งจะมีการคำนวณบล็อคได้พร้อมกันทำให้เกิดการแตกสาย แต่เมื่อสายใดแข่งขันแล้วแพ้ สายนั้นก็จะถูกทิ้ง (สีเทา) ทุกสายจะชี้กลับไปยังบล็อคเริ่มต้นที่เรียกว่า Genesis Block ให้เงิน 50BTC แก่ Satoshi ผู้สร้าง BitCoin แม้เขาจะหยุดการพัฒนาซอฟต์แวร์และไม่ได้พูดคุยในเว็บบอร์ดแล้ว แต่ บัญชีของเขา ก็ยังมีรายการอยู่เรื่อยๆ
เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางควบคุม จึงเป็นไปได้ที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโลก คำนวณบล็อคใหม่ออกมาได้พร้อมกัน โดยมีจำนวนข้อมูลการโอนไม่เท่ากันและค่า nonce และแฮชที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการ "แตกสาย" ของฐานข้อมูล BitCoin อาศัยแนวคิดว่าเครื่องส่วนใหญ่ในโลกนั้นเป็นเครื่องที่ดีและคำนวณอย่างซื่อสัตย์ เมื่อเกิดการแตกสายของฐานข้อมูลเครื่องทุกเครื่องจะเลือกสายที่ยาวที่สุด นั่นคือ เมื่อมีการคำนวณบล็อคลำดับเดียวกันได้พร้อมๆ กัน ทั้งสองสายจะต้องแข่งกันคำนวณบล็อคต่อไปให้เร็วที่สุด หากบล็อคใดแพ้ สายนั้นจะถือเป็นสายกำพร้า (Orphaned Block) และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะไม่สนใจต่อสายนั้นอีกต่อไป ทำให้ผู้ที่คำนวณบล็อคได้สำเร็จและได้รับเงิน 50BTC ถูกยกเลิกเงินของตัวเอง เพราะเงินที่ได้รับจะถูกบันทึกในสายหลักเท่านั้น การคำนวณโซ่ของบล็อค (Block Chain) ใหม่จะใช้ทรัพยากรมหาศาล เช่นทุกวันนี้ที่มีจำนวนบล็อคในโลกเกือบสองแสนบล็อค ในภาพรวมแล้วทั้งโลกจึงมีฐานข้อมูลการโอนเงินเพียงฐานข้อมูลเดียวที่มองเห็นเหมือนกันทั่วโลก
ทุกวันนี้การคำนวณบล็อคใหม่จะใช้เวลา 5-10 นาที ในช่วงแรกโปรแกรมกระเป๋าเงิน BitCoin จะเปิดให้ทุกเครื่องช่วยกันคำนวณบล็อคนี้ไปพร้อมๆ กัน แต่เนื่องจากการคำนวณยากขึ้นเรื่อยๆ จนคอมพิวเตอร์ธรรมดาไม่สามารถคำนวณได้ทันและจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวในระบบที่ได้รับเงิน 50BTC ไปในแต่ละบล็อค ช่วงหลังจึงมีการรวมกลุ่มแบบต่างๆ เพื่อเร่งคำนวณค่า nonce และแฮชให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นการแข่งขันคำนวณค่า SHA256 ขนานใหญ่ทั่วโลก หลายกลุ่มอาศัยชิปกราฟิกเพื่อจะคำนวณค่าให้เร็วขึ้น บางกลุ่มใช้ชิป FPGA ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อช่วยเร่งการคำนวณ บางกลุ่มเปิดรับสมาชิกจากภายนอกโดยมีสัญญากันว่าจะแบ่งเงินให้ตามสัดส่วนที่คำนวณได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้คำนวณบล็อคได้สำเร็จหรือไม่ เรียกว่า mining pool
ระบบของ BitCoin ยังเปิดให้ผู้โอนเงินสามารถโอนค่าธรรมเนียมเข้าไปยังผู้ที่คำนวณบล็อคได้สำเร็จ แนวทางนี้ทำให้การโอนเงินแต่ละครั้งถูกบันทึกไม่พร้อมกัน เพราะผู้ที่คำนวณบล็อคจะพยายามดึงรายการโอนเงินที่มีค่าธรรมเนียมเข้าสู่บล็อคที่ตัวเองกำลังคำนวณก่อนเสมอ ระบบสุดท้ายแล้วเมื่อเงินฟรีที่ได้รับจากคำนวณบล็อคหมดไป ทุกคนจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อให้การโอนเงินของตัวเองได้รับการบันทึก ระบบการโอนเงินและค่าธรรมเนียมจะเป็นระบบเสรี คือ ถ้าเราประกาศค่าธรรมเนียมการโอนน้อยเกินไป ผู้คำนวณบล็อคจะไม่สนใจรวมรายการโอนเงินของเราเข้าสู่บล็อคของตัวเองที่กำลังคำนวณ ในอนาคตเราจะรู้ได้ว่าเราต้องประกาศค่าธรรมเนียม "ประมาณเท่าใด" จึงได้รับการบันทึกลงในฐานข้อมูล นั่นคือคนที่คำนวณบล็อคที่คำนวณได้เร็วที่สุด ยอมรับรายการโอนของเราเข้าไปคำนวณในบล็อคให้
ทั้งหมดคือมุมมองในเชิงเทคโนโลยีของ BitCoin ความน่าทึ่งของมันไม่ได้หยุดอยู่ที่การเป็นระบบการเงินที่เปิดเผยทุกอย่าง มันยังสร้างมุมมองใหม่ๆ ในเชิงเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เพราะระบบการเงินทั่วไปในโลกนั้นเงินในระบบมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการพิมพ์เงินของธนาคารกลาง แต่ในระบบ BitCoin ไม่สามารถเพิ่มเงินในระบบได้ เราจะกลับมามาสำรวจมุมมองทางการเงินต่อ BitCoin อีกครั้งในบทความตอนต่อไป
Comments
สรุปแล้วก็ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนสร้างมันสินะ
อันนั้นเป็นส่วนย่อหน้าที่สามย่อหน้าเดียวครับ ล่างๆนี่ก็อ่านไม่รู้เรื่องแล้ว
สำหรับผมมันเป็นเรื่องที่เข้าใจยากครับ โดยเฉพาะเขาได้เงินกันยังไง ลองอ่านแล้วก็ยังงงอยู่เลยครับ
ถ้าในระบบการเงิน BitCoin เป็นสิ่งที่ได้มายากๆ (ต้องคำนวณ hash) แล้วมีคนจำนวนหนึ่งให้ความเชื่อถือที่จะเอาสิ่งของมาแลกกับ BitCoin ครับ
เหมือนทองคำที่คนเชื่อว่ามันหายาก เลยเอาไปแลกของได้
lewcpe.com , @wasonliw
nounce << nonce ครับ
(เจอเพราะไปหาว่ามันคืออะไร -_-")
แก้แล้วครับ - -"
lewcpe.com , @wasonliw
สรุปคือตอนเริ่มต้น ไม่มีใครมีเงินในระบบเลย เงินจะเกิดจากการคำนวณ block ได้ใช่ไหมครับ
Block แรกของ Satoshi เกิดจากการ "สุ่มเลข" แล้วคิดค่า hash เลยครับ แทบจะได้ 50BTC ไปฟรีๆ (ถ้าไม่คิดค่าพัฒนาซอฟต์แวร์สองปีของเขา)
lewcpe.com , @wasonliw
ซึ่งเขาก็ไม่ได้ใช้ 50BTC นั้นด้วย ทำงานฟรีจริง ๆ (แต่เบื้องหลังผมว่าคงได้เยอะอยู่)
50BTC BTC ละ 427 บาท = 21,350 บาท กับการเขียนโปรแกรมทั้งปี ไม่คุ้มมั้ง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ตอนนี้ 50 BTC = 4,536,025.65 บาทแล้วครับ
ตอนนี้ 50 BTC = 4,536,025.65 บาทแล้วครับ
ตอนนี้ 50 BTC = 58,116,929.50 บาทแล้วครับ
ผมว่าตอนนี้คุ้มจนไม่รู้จะคุ้มยังไงแล้ว
ตอนนี้ 50BTC = 91,155,168.00 บาท แล้วครับ :)
ตอนนี้ 50BTC = 100,000,000.00 บาท แล้วครับ
ตอนนี้ 50BTC = 168,000,000 บาท แล้วกัพ
อ่านทั้งหมดแล้วนึกถึง Architect และ Neo ผู้เข้ามาสร้างแล้วเดินจากไป ..
my blog
โอ้ race condition.. นี่นา
มันจะเป็นยังไงถ้าเงินกว่า 90% ไปกระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
คนนั้นจะรวยครับ
lewcpe.com , @wasonliw
มันจะเหลือเงินอยู่ในระบบ 10% แล้วค่าเงินจะแพงขึ้นตามหลักเศรษศาสตร์หรือเปล่าครับ เพราะมันไม่สามารถทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงได้ด้วยวิธีเพิ่มเงินเข้าไปในระบบ
อันนี้ผมว่าจะเขียนเรื่องความเป็นไปได้ทางการเงินอีกรอบใน meconomics
แต่รวมๆ แล้วเงิน BTC จะหยุดที่ 21 ล้าน BTC ดังนั้นถ้าเศรษฐกิจในระบบเงินนี้โต มันจะกลายเป็นระบบเงินผืดครับ
จริงๆ แล้วคาดกันว่าจะมีเงินจำนวนหนึ่งหายไปจากระบบเรื่อยๆ จากการทำกุญแจ private key หายไป ทำให้สุดท้ายแล้วระบบเงิน BitCoin จะหายไปหมดโลกเมื่อถึงเวลาหนึ่ง
แต่ในความเป็นจริง เครื่องทั่วโลกสามารถอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้ตรงกัน แล้วซอยย่อยเงินออกไปเกินทศนิยม 8 หลักได้ ทำให้ระบบเงินเดินหน้าต่อไปได้
lewcpe.com , @wasonliw
ซอยเงินออกทศนิยมปัจจุบัน หมายความว่า BitCoin จะมีค่ามากขึ้นในจำนวนเท่าเดิมใช่ไหมครับ? ถ้าผมเอาเงิน $30 ไปแลก BitCoin ตอนนี้ แล้วทิ้งไว้จนถึงยามที่เขาซอยเงินออกอีกมูลค่าก็จะเพิ่มขึ้นมหาศาล?
อันนี้ราวๆ 1BTC ครับ ผมไปเจอคนรับแลกราวๆ 374.31 THB ต่อ BTC
หมายถึงว่าถ้ามีการแตกทศนิยมย่อยไปอีกน่ะครับ
มาเม้นในปี 20171 btc = 200,000 THB
มาเม้นในปี 20211 btc = 1,100,000 THB
20241 btc = 3,300,000 THB
แตกย่อยแปดหลักนี้ ถ้าไม่คิดในเชิงทศนิยม คิดแค่ในเชิงปริมาณ เงินในระบบก็จะมีได้ 2.1พันล้านล้านซินะ คงยากที่เงินทั้งหมดนี้จะหายออกจากระบบไปหมด
คือแล้วค่าเงินตัวนี้มันเริ่มเอามาใช้จับจ่ายใช้สอยได้อย่างไรครับ?
เอาไปซื้อของร้านที่รับครับ มีรายชื่อคร่าวๆ อยู่ ที่นี่
อ่านแล้วพอเข้าใจหลักการ แต่ไม่เข้าใจว่าเริ่มต้นเราจะมี BitCoin ได้ยังไงแล้วในการคำนวณแต่ละครั้งจะมีผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว ผู้แพ้ทั้งหมดก็เปลืองไฟเปล่าสิครับ
ถ้าไม่แน่จริงว่าเครื่องแรง ก็ไปซื้อเงินจาก Mt.Gox เอาครับ
ผู้แพ้เปลืองไฟฟรีครับ เป็นกติกาของระบบ
lewcpe.com , @wasonliw
งั้นในอนาคตคนที่มีเครื่องแรงๆพอที่จะคำนวณได้ แบบ Mt.Goxก็จะมีสถานะเหมือนกับธนาคารที่คอยดูแลระบบการเงิน แล้วก็กำหนดรูปแบบค่าเงินเหมือนเงินจริงในปัจจุบัน??
Mt.Gox ไม่ได้คำนวณเองครับ (เราไม่รู้ว่าเขาคำนวณไหม อาจจะแอบๆ อยู่ก็ได้) แค่เป็นด่านหน้ารับแลกเปลี่ยนเงิน ไปซื้อเงินจากคนที่มี BTC มาขายเป็นสกุลต่างๆ
lewcpe.com , @wasonliw
โอ้ ขอบคุณครับ เริ่มเข้าใจหลักการล่ะ
งี้ลูกค้าหลักที่จะยอมมาใช้หน่วยเงิน BTC ก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่..... เน้นธุรกรรม anonymous แบบพวก... ขายยา ขายอาวุธ สินะ
มันไม่ได้ anonymous ได้ขนาดนั้นครับ สาเหตุเพราะ key เป็นสิ่งที่ public มากๆ (ใครก็ดูได้ว่าใครโอนจากไหนไปไหน) กรณีที่เราเอาเงิน BTC ไปขายให้คนอื่น เค้าก็จะ trace ได้ โดยเฉพาะถ้าขายให้แหล่งรับซื้อที่ประกาศ key ตัวเองไว้อยู่แล้ว
เราก็ทำ key (กระเป๋าตังค์) ขึ้นมาเยอะๆไงครับ จะโอนโยกไปมาสับขาหลอก ส่งผ่านคนกลาง ยังไงก็ได้เราไม่มีทางรู้เลยว่าเจ้าของกระเป๋าใบไหน จริงๆแล้วเป็นใคร ใครมีกระเป๋าไหนบ้าง
ตอนที่จะแลก BitCoin เป็นเงินจริง มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะมี log น่ะครับ
ประเด็นความ anonymous ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในวงวิชาการครับ ต้องบอกว่า BitCoin ไม่ได้ออกแบบให้ปกปิดตัวตน มันแค่ออกแบบให้ไม่มีธนาคารกลาง
เช่นถ้า CIA ไปรื้อฐานข้อมูลของ Mt.Gox ได้ก็จะรู้ว่าคนที่ซื้อเงิน BitCoin เป็นใคร แล้วตามรอยเงินก้อนนั้นได้ตลอดเส้นทางเพราะทั้งหมดเป็นข้อมูลเปิดเผย
การใช้ BitCoin เองถ้าไม่ broadcast ผ่าน TOR ก็จะเปิดเผยหมายเลขไอพีทันทีเหมือนกัน ตำรวจสามารถตามจับผ่านการหมายเลขไอพีได้
การได้เงินมาลอยๆ มีทางเดียวคือแอบๆ ไปคำนวณ Block ใหม่เพื่อให้ได้ 50BTC โดยไม่คุยกับใคร ไม่ทำ Pool กับคนอื่น ปัญหาคือจะคำนวณเร็วขนาดนั้นได้ เครื่องต้องแรงเทพ จน CIA หรือตำรวจสากลอาจจะตามได้จากการสั่งการ์ดจอล็อตใหญ่ๆๆๆๆ อยู่ดี
lewcpe.com , @wasonliw
โอ้ เช็คจากการซื้อการ์ดจอเลย ฮ่าๆๆ
ที่ผมสนใจมากคือ อะไรเป็นทริกเกอร์ให้คนกล้าใช้ bit coin แทนเงิน
ถ้าเกิด ที่แลกเงินปิดตัวหนีหายไปจะทำยังไงดี....
สกุล BTC ไม่มีการรองรับว่า ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายจากรัฐบาล เหมือนเงินจริงๆ แล้วเราจะเชื่อถือในราคาของมันได้ยังไง??? ว่าอยู่ดีๆจะไม่กลายเป็นแค่ก้อนข้อมูล (ตอนแรกจะพิมพ์ว่าเศษกระดาษ..)
ตรงนี้เขาถือกันว่าเป็น reward ครับ เพราะบิทคอยน์ช่วงแรกๆ หาง่ายมาก (ประมาณเอา Atom คิดยังออกทัน) ทำให้พวก early adopter ได้บิทคอยน์ไปเยอะมาก (ก็ครั้งละ 50BTC) ทำให้เริ่มมีคนสนใจมากขึ้นครับ
ปล. ผมมีอยู่ 0.0001568BTC = =
ที่แลกเงินมีนับสิบบริษัท (ใครก็ๆ ก็เปิดรับแลกเงินได้) Mt.Gox เป็นเพียงบริษัทหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงเท่านั้น
แต่ถ้าถึงวันหนึ่งแล้วทุกคนเลิกรับแลกด้วยเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงไม่รับจ่ายค่าบริการ เงินนั้นก็จะด้อยค่าไปเอง เหมือนเงินจริงๆ ที่บางสกุลเงินไม่ได้รับความเชื่อถือ ไม่มีใครรับแลก ไม่มีใครรับจ่าย ก็ด้อยค่าไป
เงินที่รัฐบาลรับรองก็มีโอกาสด้อยค่าได้ และเกิดขึ้นไปแล้วกับหลายประเทศ
แม้แต่แร่โลหะมีค่าสูงเช่นทองคำหรือเงินในระบบการเงินล้วนไม่ใช่ "ของจริง" ทั้งสิ้น ตัวทองคำเองไม่มีค่าในตัวมันเอง (กินไม่ได้ ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน) แต่อาศัยว่ามันเกิดขึ้นใหม่ได้น้อย
โอกาสที่โลหะจะด้อยค่าก็มีอยู่ เช่น หากใครสักคนคิดกระบวนการสังเคราะห์ทองขึ้นมาได้ ระบบทองคำก็จะล่มสลาย ทองด้อยค่าและต้องหาอย่างอื่นมาแทน แนวคิดนี้ถูกสร้างเป็นหนังเรื่อง Hudson Hawk เหตุการณ์ในโลกความเป็นจริงคือก่อนหน้านี้หลายชาตินิยมมาตรฐานเงินมาก่อนที่จะใช้ทองคำ แต่เยอรมันปล่อยแร่เงินสำรองออกมาทำให้เงินเกิดการด้อยค่า และชาติต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยนมาเป็นทองในการทำสำรองในที่สุด
lewcpe.com , @wasonliw
ทำไมอ่านเรื่องย่อ hundson hwak แล้วไม่ใช่อะครับ สนใจอยากหามาดูมากครับ
“Life is like a journey, every experience matters.”
เนื้อเรื่องหลักมันแทบไม่เกี่ยวครับ เป็นแผนการของฝ่ายตัวร้ายที่จะครองโลกด้วยการทุบค่าทองคำ (จากการผลิตทอง)
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณครับ
“Life is like a journey, every experience matters.”
การอัพเดตซอฟต์แวร์ให้ปรับเพิ่มเงินรางวัลกลับมาที่ 50 BTC ก็น่าจะทำให้เพิ่มเงินกลับเข้ามาในระบบ แล้วอย่างนี้ อำนาจการควบคุมเงินจะอยู่ที่ซอฟท์แวร์ต้นน้ำสิครับ?
ระบบนี้ถือเป็นระบบที่มีเงิน(จริง ๆ)สูญเปล่าใช่มั๊ยครับ? เพราะมีโซ่ที่ถูกทิ้ง
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
จริงๆ แล้วโซ่ที่ถูกทิ้ง จะถือว่าไม่มีเงินนั้นเคยเกิดขึ้นครับ (ไม่มีใครจำโซ่สายรอง ไม่มีใครสนใจว่าใครเป็นคนคำนวณได้)
เงินที่หายไปจะเกิดจากกุญแจลับของกระเป๋าเงินหาย เช่น คนทำ mining ได้เงินน้อยๆ แล้วลบกระเป๋าเงินทิ้ง เงินนั้นก็จะหายไปตลอดกาล
lewcpe.com , @wasonliw
พอจะเริ่มเข้าใจขึ้นแล้วครับ
ตอนแรกสงสัยอยู่กับข้อความนี้ เข้าใจว่าถ้าอยากได้รับการคำนวณก็จ่ายค่าธรรมเนียมซะเหมือนจ่ายค่าจ้าง ซึ่งตรงนี้ตอนแรกผมคิดว่าต้องจ่ายเงินจริงก่อนเพื่อให้ถูกคำนวณ ซึ่งถ้าเจ้านั้นคำนวณไม่สำเร็จคนจ้างก็จะเสียเงินฟรี ๆ
แต่ถ้าบอกว่าระบบไม่มีเงินสูญแสดงว่าค่าธรรมเนียมนี่ต้องจ่ายหลังการโอนสำเร็จใช่มั๊ยครับ
คือตัว block จะประกาศตัวว่าผู้คำนวณได้รับเงินค่าจ้างเท่าใดครับ เป็นค่ารวมของธรรมเนียมที่แต่ละ transaction ประกาศออกมาในเครือข่าย
ณ ตอนที่ผู้ที่คำนวณ block ได้ประกาศ block ที่ตัวเองคำนวณได้ออกมาก็จะประกาศโอนเงินนี้เข้าตัวเองเลย
แต่ถ้ามีคนอื่นคำนวณ block ลำดับเดียวกันได้แล้วชนะ block ที่แพ้ทุกคนก็จะลืม และไม่มีใครรับรู้ว่าคนแพ้ได้รับเงินค่าธรรมเนียม
lewcpe.com , @wasonliw
อ้อ ขอบคุณครับ
โดน -> โอน
ตำนวณ -> คำนวณ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
คนๆ => คนคนหนึ่ง หรือเปล่าครับ?
ลิงก์เข้าไม่ได้ครับ ผมเข้าทาง https://blockexplorer.com/address/1DkyBEKt5S2GDtv7aQw6rQepAvnsRyHoYM แทน
"คำนวณ" ต => ค ครับ
"ผู้โอน" นี่ใครครับ ขอละเอียดเพิ่มอีกหน่อยนะครับอ่านแล้วงง
อ่านแล้วงงๆครับเลยไปอ่านเอง แล้วพบว่า ถ้าเกิดเขียนเป็นแบบนี้อาจจะอ่านง่ายขึ้น? มีผิดนิดหน่อยด้วยครับ เลยเรียบเรียงใหม่และแก้ไขให้ครับ
การยืนยันการโอนแต่ละบล็อคเป็นงานที่ออกแบบให้ยากและยากขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา หลักการคือผู้ที่จะคำนวณค่ายืนยันบล็อคแต่ละอัน จะต้องปรับค่า nonce ที่ใช้เติมในแต่ละบล็อคเพื่อให้แฮชค่าของทั้งบล็อคแล้วได้คุณสมบัติตามที่กำหนด ค่าความยากนี่คือการกำหนด "ค่าสูงสุด" ที่ยอมรับได้ของแฮชของบล็อคนั้นๆ แต่ใน SHA256 นั้นการคาดเดาผลของฟังก์ชั่น และการทำให้ผลลัพธ์ของฟังชั่น มากน้อยตามที่ต้องการเป็นงานที่ยากมาก ทางที่เป็นไปได้คือการไล่ค่า nonce ไปเรื่อยๆ ทีละค่าแล้วคำนวณแฮชใหม่จนกว่าจะได้ค่าตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยโพรโทคอลของ BitCoin จะกำหนดให้ค่าความยากนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ 2016 บล็อค เมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายสามารถคำนวณค่า nonce และแฮชที่ถูกต้องของบล็อคปัจจุบันได้ ก็จะประกาศไปทั่วเครือข่าย การตรวจสอบความถูกต้องนั้นทำได้ง่ายเพราะเป็นเพียงการดูไฟล์บล็อคที่มักมีขนาด 50-200KiB แล้วคำนวณแฮช SHA256 ว่าตรงกับที่ประกาศออกมาหรือไม่ และซอฟต์แวร์จะถูกกำหนดให้รับฟังการประกาศบล็อคล่าสุดเสมอ
ผมเรียบเรียงใหม่เป็น
การยืนยันการโอนเงินของแต่ละบล็อคนั้นเป็นงานที่ออกแบบให้ยากมากขึ้นเรื่อยๆตามกาลเวลา มีหลักการคือจะมีค่าเป้าหมายอยู่ค่าหนึ่ง (อาจถูกเรียกว่าค่าความยาก ปัจจุบันคือ 0x00000000000007A85E0000000000000000000000000000000000000000000000 http://blockexplorer.com/q/hextarget ) ระบบจะทำการรับบล็อคการโอนเงินทันทีที่เราสามารถนำข้อมูลการโอนเงินมาต่อกับค่า nonce แล้วทำการแฮช SHA256 ได้ค่าที่น้อยกว่าค่าเป้าหมาย
เนื่องจากการแฮชนั้นเปรียบเสมือนกับการสับข้อมูลที่มีอยู่ เราไม่สามารถคิดกลับได้ ดังนั้น หากเราอยากได้แฮชที่น้อยกว่าค่าเป้าหมาย เราก็ทำได้โดยเปลี่ยนค่า ค่า nonce ไปเรื่อยๆ และทำการแฮชอีกครั้ง (ค่า nonce คือตัวเลขธรรมดาๆนั่นแหละ ที่ถูกนำไปแฮชพร้อมๆกันมันถูกใส่ไปเพื่อ ทำให้ผลของการแฮชเปลี่ยนไป) เป็นเรื่องของโอกาส เราอาจจะแฮชครั้งเดียวแล้วตรงเลยก็ได้ หรือว่าอาจจะต้องแฮชมันเป็นหลายล้านครั้งก็ได้
ความยากนั้นจะถูกปรับทุกๆ 2016 บล็อค โดยอาจปรับให้ยากขึ้น หรือว่าง่ายลงก็ได้แล้วแต่ตามสมควร (พิจารณาจากข้อกำหนดว่า ควรมีการคิดบล็อคสำเร็จประมาณสิบนาที ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะเปลี่ยนค่าเป้าหมายทุกๆสองสัปดาห์ และปรับแต่ละครั้งไม่มากเกินไป https://en.bitcoin.it/wiki/Target ) ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าการหาค่า nonce และคิดค่าแฮชจะทำได้ยาก แต่ว่าการยืนยันความถูกต้องนั้นง่ายมาก ทำได้โดยการนำค่าบล็อกที่มักมีขนาด 0-200KiB มาแฮชพร้อมกันกับ nonce เพียงครั้งเดียว ก็สามารถยืนยันได้แล้ว
ขอบคุณคุณริวที่เปิดเรื่องนี้ครับ ก่อนหน้านี้เคยอ่านแล้วงงกับมันมาก พอมาอ่านบทความนี้แล้วไปอ่านต่อเลยเข้าใจเลยครับ
กลายเป็นคุณริวไปซะละ :D
นึกถึง ริว จิตสัมผัส
ผมรู้สึกเหมือนกันครับผมยอมรับว่าพยายามอ่านช้า ๆ อย่างตั้งใจ ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจครับ ก็เข้าใจนะว่ามันเป็นบทความที่อ่านเข้าใจยากและการนำมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทยให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ยิ่งยากไปอีก
อ่านแล้ววิธีใช้ น่าจะเอาไว้เป็นเงินสกุลกลางในการแลกเปลี่ยนเงิน เหมือน ทองคำ หรือ USD เพิ่มขึ้นมาอีก 1 สกุลเงิน (ความเป็นไปได้ของมันคงอยู่ที่ ความน่าเชื่อถือ และจะมีคนกล้าใช้มันจริง ๆ หรือเปล่า)
ถ้ามีคนใช้คอมแรงๆรวมกลุ่มกัน มันจะไม่กลายเป็นธนาคารไปหรอครับ
ทางทฤษฎีว่าถ้ามีใคร (คน กลุ่มคน หรือแม้แต่ mining pool) ที่คุม processing power เกิน 50% ของระบบจะสามารถครอบงำระบบได้ครับ (คิดว่าคงประมาณว่าออก transaction มาเองแล้ว confirm เอาเองได้เพราะสามารถ confirm ได้ไวกว่าระบบที่เหลือ)
จริงๆ ก็มีคนแก้ไขปัญหานี้อยู่นะครับโดยแยกไปเป็นเครือข่าย litecoin ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับ bitcoin เลย (คือ ค่าเงินคนละค่า mining กันคนละแบบ และไม่ได้ใช้สายแฮชโยงกัน) โดย litecoin ใช้ scrypt (คล้ายๆ bcrypt) โดยคุณสมบัติสำคัญของ scrypt คือมันจะกินทั้ง CPU และ Memory ทำให้การสร้างเครื่องเฉพาะทางความเร็วสูงใช้เงินมากขึ้น ขณะที่ bitcoin ใช้ GPU cluster ก็ได้ หรือ FPGA ต่างๆ
เท่าที่เข้าใจ มันก็คือการสร้างเงินสกุลใหม่ (คล้ายกับระบบชิปในเกมออนไลน์) แล้วเงินที่เกิดใหม่ก็อาจจะถือว่าเป็นค่าในการดูแลระบบเงินใช่ไหมครับ
อ้อ ไปเจอ วิดีโอ มีอนิเมชั่นแนะนำคร่าวๆ ด้วยเผื่อใครจะสนใจในรูปแบบ Infographics
ฝากแก้ย่อหน้าที่ 3 "...แต่ไม่มีข้อมูลอื่นใดเดี่ยวกับตัวเขา..." ใช้คำว่า "เกี่ยวกับตัวเขา" รึเปล่า
และแล้วคนก็จะเริ่มใช้เครื่องหมาย
฿
ซะที
@TonsTweetings
เมื่อวาน GeekCampSG เพิ่งมีพูดถึงเรื่อง Bitcoin พอดี เหมือนได้อ่านสรุปอีกครั้ง ดีจัง :)
Warun.in.th
ซื้อ Bitcoin ตอนนี้มาตุนไว้เพื่อเก็งกำไรขายในอนาคตจะเวิร์กไหมครับ
ไม่มีใครตอบได้ครับ วันนึงมันอาจจะล้มก็เป็นได้
ถ้าไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร นั่นคือความเสี่ยงลองถามตัวเองดูว่าทำไมค่าเงิน BTC มันถึงจะแพงขึ้นในอนาคต
{$user} was not an Imposter
...เงิบ เหมือนAnimeเรื่อง The Money of Soul and Possibility Control เลย
บทความเป็นประโยชน์มาก ผมเพิ่งรู้ว่ามีคนทำโครงการด้านการเงินขนาดนี้ด้วย
ว่าแต่ ถ้าเรามานั่งคำนวณบล็อกเล่นๆ นี้พอมีโอกาสฟลุคได้เงินเก็บมั่งมั้ยครับเนี่ย :p
ก็มีโอกาสครับ หากเราสุ่มค่าได้เร็วมาก ๆ มาชุดนึง แล้วมีคนเอาบล็อกของเราไปคำนวณต่อได้อย่างรวดเร็วถัด ๆ ไปเพราะผมเชื่อว่าเราคงไม่สามารถสุ่มค่าได้ฟลุ๊กติดกันหลายครั้ง - -" คงโดนพวก super com ชิงไปหมด
ว่าแล้วก็ไปใช้ Amazon Cloud คำนวณ XD
มันได้คุ้มหรือเปล่าเนี่ยสิ - -*
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
BitCoin ธนาคารรูปแบบใหม่ ทำเองได้มากกว่า (ห๊ะ...)
อธิบายให้เข้าใจง่ายดีครับ เรื่องนี้น่าสนใจมากๆ
My Blog
ขอบคุณครับ เคยศึกษาแต่ตัวการใช้ไม่เคยรู้ถึงระบบเลย
จากข้อจำกัดนี้ เป็นไปได้หรือไม่หากอนาคตจะมีการเปิดโครงการถัดไป แล้วทำให้มีการโอนเงินข้ามระบบไปทางเดียวเพื่อไปยังโครงการใหม่ที่ปรับปรุงความปลอดภัยหรือจำนวน BitCoin ที่ถูกจำกัดไว้ครับ
ถ้าผมทำได้ครั้งนึง แล้วรีบใช้เงินนั้นไปเรียบร้อยแล้วจะเกิดอะไรขึ้นครับ? การโอนทั้งหมดจะต้องถูกเมินเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น?
lewcpe.com , @wasonliw
จากข้อหนึ่ง ทำแบบว่าใครต้องการย้ายค่อยกดโอนเงินไปที่ .... เพื่อย้ายข้ามไม่ได้หรือครับ?
แต่ถ้าอย่างนั้นก็เท่ากับว่ากลายเป็นระบบเงินมีศูนย์กลางอยู่ดี ทำระบบใหม่แลกเงินกลับเป็นเงินจริงแล้วค่อยเอาเข้าระบบใหม่คงรุ่งกว่า
อ่านแล้วงง ฮ่าๆๆ
แต่พอเข้าใจนิดๆ
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
ตอนนี้นั่งสงสัยว่าเว็บ Bitmit นี หลังจากการซ์้อขายสำเร็จจะมีการจัดส่งสินค้ายังไง
ปล. น่าจะมีแหล่งพูดคุยเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยนะครับ ฮาๆ
นั่งซิงค์บล๊อคอยู่เหลืออีก 9000 กว่าๆ
ก็น่าสนใจดีครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ตอนนี้ผมเหลือ 3000 กว่าแล้วครับซิงค์นานเอาเรื่องเลยทีเดียว =A=
ลองใช้ lightweight client ดูครับ ผมใช้ MultiBit อยู่
ตัว lightweight มันมีสองแบบครับ แบบนึงคือฝากชีวิตไว้กับ cloud คือเกาะกับตัวที่มันมี bitcoin chain เต็มๆ จะทำอะไรก็ต้องฝากตัวนั้นทำหมด แต่ถ้าไอ้ตัว chain มันต้มเราก็เปื่อยเลยครับ อีกแบบคือประเภทโหลดไม่สมบูรณ์อย่าง MultiBit มันจะโหลด chain มาเฉพาะของใหม่ๆ และอันไหนไม่เกี่ยวกับเรา มันจะเก็บแค่ header ฉะนั้นจะประหยัดที่มาก
(บน home server ผมมี bitcoin chain อยู่ มันกินที่ 3.4GB ขณะที่ในเครื่องส่วนตัวผมมี MultiBit Blockchain อยู่ มันกินที่ 20MB ผมเปิด MultiBit หลังไม่ได้ sync มาหลายวัน มันโหลดแค่ 895 blocks ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหา)
ทั้งนี้ทั้งนั้นบางคนก็เรียกพวก MultiBit ว่า client เห็นแก่ตัวนะครับตามลักษณะของมัน คือระบบจะอยู่ได้ก็เพราะทุกคนช่วยกันตรวจสอบ ตัว bitcoin แบบปกติก็ยังเป็นที่จำเป็นอยู่ แต่ในอนาคตมันอาจจะมีคนรันลดลงเพราะ blockchain โตขึ้นเรื่อยๆ
จริงๆ มี cloud wallet ด้วยเลยนะครับ คือฝากไว้กับ cloud หมด เกิดมันโกงหรือเจ๊งขึ้นมาเราก็เจ๊งเหมือนกัน
จริงๆ แล้วหลายคนก็เชื่อกันว่าสุดท้ายแล้วมันจะมีธนาคารในระบบเงิน BitCoin (ถาระบบมันไม่ล่มสลายไปเสียก่อน) การถือ BitCoin เองไม่ใช้ Cloud Wallet จะเหมือนการถือเงินสด และระบบการเงินทีมีเงินจำกัดก็จะแก้ปัญหาได้ด้วยการทำ ธนาคารที่สำรองเงินแค่บางส่วน เหมือนระบบเงินจริง
ข้อดีของการใช้ BitCoin แบบนั้นคือไม่มีธนาคารกลางที่ปั๊มเงินออกมาตามใจชอบได้แล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
ยาวแท้เหลา ไว้ค่อยอ่านอีกที
Coder | Designer | Thinker | Blogger
คุณริวครับ มันมีเรื่องที่ผิดอยู่อะครับ
ค่าความยากไม่ได้ปรับขึ้นเรื่อยๆอย่างเดียวครับ มันมีการปรับลงด้วย
ความยากนั้นจะถูกปรับทุกๆ 2016 บล็อค โดยอาจปรับให้ยากขึ้น หรือว่าง่ายลงก็ได้แล้วแต่ตามสมควร (พิจารณาจากข้อกำหนดว่า ควรมีการคิดบล็อคสำเร็จประมาณสิบนาที ดังนั้นถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะเปลี่ยนค่าเป้าหมายทุกๆสองสัปดาห์ และปรับแต่ละครั้งไม่มากเกินไป https://en.bitcoin.it/wiki/Target ) แต่ด้วยลักษณะความเร็วที่เพิ่มขึ้นของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แล้ว ค่าความยากจึงมีแนวโน้มที่จะมีการเพิ่มความยากขึ้นเรื่อยๆ
ชื่อ Founderอ่านว่า ลิ่ว จิตสัมผัส ครับ
ไม่ใช่ ริว จิตสัมผัส :)
แอะ พึ่งรู้ครับ ขออภัยครับ
แก้ตามนั้นครับ ผมอธิบายใหม่โดยอ่านจากข้างบนมาเพิ่มเติมด้วย
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณครับ
บทความนี้สุดยอดเลยครับ แต่ผมในฐานะคนธรรมดา ยอมรับว่าสมาธิหลุดกระเด็นไปตั้งแต่ช่วงกลางๆ มันล้ำเกินสติปัญญาของผมจริงๆ!
+1
ได้ยิน BitCoin มาจากซีรี่ย์เรื่อง The Good Wife ประมาณว่ารัฐบาลเข้ามาสอบสวนเกี่ยวกับเงินสกุล BitCoin ว่ามันมาแลกเปลี่ยนเหมือนกับเงินจริงๆได้
สารภาพว่าตอนนั้นที่ดู คิดว่า BitCoin ได้มาจาก การปล่อยโหลดบิท 5555+
เพิ่งมาเข้าใจตอนนี้เองว่า BitCoin คืออะไร
ฮาจริงๆ พูดตรงๆผมเห็น Topic นี้ ก็แอบคิดไปเหมือนกันว่า เงินของ bittorrent client อันไหนซักอัน
เป็นบทความแรกที่อ่านแล้วเกือบจะเข้าใจครับ สงสัยจะแก่เกินที่จะเข้าใจไปแล้ว
ปัญหาเดียวของ bitcoin ก็คือมันไม่มีสเถียรภาพแบบสุด ๆhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:Bitcoin_exchange.png
หากดูย้อนหลังเทียบกับ exchange rate กับ Dollar จะเห็นได้ว่า สวิงมากพอสมควร
เหตุเพราะไม่มีตัวการ ที่จะจัดการดูแลเสถียรภาพของค่าเงินนั่นเอง
กลัวว่า Bitcoin ตอนนี้คนได้รับความสนใจ มันจะกลายเป็นฟองสบู่สำหรับหน้าใหม่และแห่กันเข้าไปใช้เยอะ ๆ แล้วสุดท้ายก็จะเจ็บตัวจากมูลค่าที่ลดลงภายหลัง
การลงทุนมีความเสี่ยงครับ :)
ประเด็นคือตัดตัวกลางออกไป คือ รัฐบาลกับ bank เพื่อไม่ต้องการเกิดการควบคุม
และลดค่าธรรมเนียม กล้บทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงกว่า
คือ มูลค่าของมันเหวี่ยงเกินจะใช้งานได้ในชีวิตจริง
ผมว่ามันไม่ใช่การลงทุน หลัง ๆ เห็นคนเล่น แบบ Forex เยอะมากมันกลายเป็นการพนัน รูปแบบนึงไปเสียแล้ว
และคนที่มี bitcoins ในมือมาก ก็สามารถกำหนดทิศทางได้
ตรงนี้น่าจะเป็นจุดอ่อน
มันไม่มีทางเกิน 21000000 ฿ มันคงไม่สามารถ เฟ้อ หรือ เกิน ได้
ผมดูกราฟแล้ว รู้สึกเหมือนกำลังเล่นหุ้นดูจากแนวโน้มคือมันกำลังขึ้นเหมือนมันถูกปั่น ถ้าเข้าตอนนี้ อาจได้กำไร เพราะแนวโน้มขึ้นชัดเจน แล้วซักวันมันจะโดนทุบ
อันนี้เป็นเรื่องปกติของสกุลเงินใดๆ ที่มีปริมาณน้อยมากๆ ทำให้คนที่มีเงินมากๆ เข้ามากำหนดมูลค่าของมันได้ครับ นึกถึงโซรอสทุบค่าเงินหลายประเทศได้ เพราะโซรอสระดมทุนได้จนกระทั่งมีเงินเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่เทียบกับเงินกลายสกุล ทำให้ไล่ปั่นค่าเงินได้
lewcpe.com , @wasonliw
Geek มาก
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
( °_°) ... I have no idea why i'm here
Nothing to do here ซินะครับ ;D
ถ้าใช้ Quantum Computer คำนวณล่ะ จะเกิดอะไรขึ้น ?
ต้องคำนวณกี่บล็อคจะคุ้มค่าไฟล่ะครับ (ค่าเครื่องว่ากันทีหลัง)
ก็ขึ้นกับ Quantum Computer มันทำ SHA-256 ได้เร็วขนาดไหน
ปัจจุบัน solution
ถูกสุด = cluster ATI/AMD การ์ดแบบเทพๆ
ประหยัดไฟสุด = cluster FPGA
นอกจากมีความรู้เรื่องการเข้ารหัสดีมาก แล้วยังต้องมีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ดีมากอีก ถึงจะคิดได้นะเนี่ย
มันคือ แชร์
อ่านแล้วเกือบจะเข้าใจ รู้สึกว่าตรงกลาง ๆ มีรายละเอียดทางเทคนิคเยอะเกินไปหน่อย ถ้ามีการอธิบายให้เห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน แล้วค่อยลงในรายละเอียดก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
บทความนี้เป็นบทความ "เทคนิค" ครับ
lewcpe.com , @wasonliw
แปลว่าเราควรจะมีพื็นฐานเกี่ยวกับ BitCoin มาก่อน ที่จะมาอ่านบทความทางเทคนิคนี้ใช่ไหมครับ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
คือไม่รู้อะไรก็ถามกันได้ครับ (ข้่างบนคุยกันยาวเลย) แต่ก็ใช่ครับ บทความมันอธิบายว่า "BitCoin ทำงานอย่างไร" มากกว่าจะมาคุยกันว่ามันคืออะไร
lewcpe.com , @wasonliw
หลังจากที่ตามไปหาอ่านว่า BitCoin คืออะไรก็ได้ความรู้พื้นฐานมาดังนี้
ตัว BitCoin เองมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน
ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ทำให้ BitCoin สามารถนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ คล้าย ๆ กับทองคำ ที่ทุกคนรู้ว่ามันหามาได้ยากและก็นับวันก็จะหาได้น้อยลงเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนกับ BitCoin ที่ความยากในการขุดจะมากขึ้น ๆ เป็นแบบ exponential เช่นเดียวกัน และคุณสมบัติอีกเรื่องก็คือการทำรายการโอนที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้
แต่ยังสงสัยนิดหน่อยว่า BitCoin นี้ คนที่รับแลกเป็นเงินสกุลจริง ๆ นั้นจะได้อะไร หรือว่าแค่คน ๆ นั้นเชื่อถือว่าสิ่งที่เรากำลังแลกกับเงินจริงมีความน่าเชื่อถือก็เลยยอมแลกให้แล้วเท่านั้นเอง?
คนรับแลกได้ส่วนต่างครับ
เวลาซื้อ BitCoin แล้วจ่ายดอลลาร์ จะจ่ายถูกกว่าตอนตัวเองขายนิดหน่อย เหมือนบริการรับแลกเงินทั่วโลก ถ้ารับแลกมากพอ คนแลกเข้าๆ ออกๆ เงินก็จะมหาศาล เป็นกำไร
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ
หลังจากที่ ซิงค์ เสร็จ มึนๆ ... I have no idea what I'm doing.
บทความสนุกมาก :D
อ่านจบไป 2 รอบแล้วต้องกลับมาอ่านอีก
แสดงว่า ไม่ใช่แค่ Hardware ของเครื่องที่คำนวนอย่างเดียว Network ก็มีผลด้วยเช่นกันเพราะต้อง Broadcast ค่าที่คำนวนได้อยู่ตลอดเวลา
Texion Business Solutions
ยากที่จะเข้าใจ แต่พออ่านคอมเม้นท์หลายๆ ท่านแล้วก็เข้าใจขึ้นมากครับ ขอบคุณครับ
ยังไงๆ การลงทุนก็มีความเสี่ยงจริงๆ
ปล. Hudson Hawk เหยี่ยวแซ้งมือเทวดา
ถ้าสนใจมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ แนะนำให้อ่านบทความนี้ครับ Bitcoin – finally, fair money?
pittaya.com
สารภาพว่าความสามารถไม่ถึงจริงๆ
..: เรื่อยไป
เอ...คอมเม้นท์ที่ผมโพสเมื่อเช้ามันหายไปไหนหว่า หรือโพสไม่สำเร็จ -*-
สายโดนทิ้งมั้งครับ
ฮาา
เอ ผมไปพิมพ์อะไรไม่ดีเข้าหว่า -*-
จำได้แค่ว่า บอกว่างง ความสามารถไม่ถึง เอง หรือผมพิมพ์อะไรไป งง -*-
ฮา
ผมก็ยังงงอยู่ดี 555
ถ้ามีคนรวมกลุ่มกันเพื่อนำเงินทั้งหมดมาเป็นของตัวเอง พอจะมีทางทำได้ไหมครับ?
เคยมี malware ที่ขโมย bitcoin นะครับ แต่ bitcoind มีความสามารถที่จะ encrypt wallet ไว้ตลอดเวลา ถ้าจะใช้ค่อยสั่ง decrypt ซึ่งตั้งเวลาได้ หมดเวลาปุ๊บมันจะ lock กลับทันที (ขณะที่ไม่ได้ล็อคกระเป๋า หรือไม่ได้ใช้ encryption นั้นทุกคนที่เข้าถึง bitcoind ได้สามารถจะสั่งโอนเงินได้)
ถ้าจะโกงเงินในระบบ ตามทฤษฎีต้องมีพลังประมวลผลมากกว่า 50% ของระบบรวมกันทั้งหมดครับ ซึ่งอย่าง pool ใหญ่ที่สุดอย่าง deepbit ยังวิ่ง 3700GH/s อย่างอันที่ผมเคยอยู่ (slosh) ก็ 1400GH/s หรือ p2pool อยู่ที่ 310GH/s การจะเอาชนะทั้งหมดนี้รวมกันยากครับ แถมยังได้แค่ขัดขวาง ไม่ใช่ขโมย (2011 MBP 15" ตัวบนของผมแฮชเรทอยู่ที่ ~71MH/s หรือถ้าใช้ CPU อย่าง Pentium 4 แฮชเรทแค่หลัก 1MH เองครับ)
แล้วถ้าเกิดมี malware ที่เข้าไปเกาะเครื่องที่มี BitCoin เกินจำนวน 50% ของเครื่องทั้งหมด แล้วตั้งเวลาให้เครื่องนั้นเหล่าพร้อมใจกันสร้างโซ่หลักเส้นใหม่เข้ามาสู่ระบบละครับ
เข้าใจว่าคงไม่สามารถโกงเงินของคนอื่น ๆ ได้เพราะเรื่องกุญแจ แต่ว่าน่าจะทำให้ระบบล่มได้เลยนะครับ
ไม่ใช่ 50% ของเครื่องครับ แต่ต้องเป็น 50% ของ "พลัง Hash" เพื่อจะสร้างโซ่เส้นใหม่ขึ้นมาแข่ง
ตอนนี้อัตราการ Hash ของระบบอยู่ที่ 20 Tera-hash/sec ( blockchain stat )
lewcpe.com , @wasonliw
คือถ้าเกิดว่ามี Malware ที่หลอกให้เครื่องมากกว่า 50% ของเครื่องในระบบสร้างโซ่เส้นใหม่ (ที่มีหน้าตาเหมือนกันในเครื่องที่ติด Malware) ขึ้นมาพร้อม ๆ กันเนี่ยมันจะเป็นยังไงครับ เครื่อง Bitcoin เครื่องอื่น ๆ ในโลกก็จะต้องหันมายึดเอาโซ่เส้นใหม่เส้นนี้หรือเปล่าครับ เพราะว่าเครื่อง Bitcoin เกินครึ่งของทั้งหมดเชื่อถือในโซ่เส้นนี้
พออ่านถึงนี่แล้วนึกถึง Kaspersky ขอความช่วยเหลือนักรหัสวิทยา ถอดรหัสโมดูลในมัลแวร์ Gauss
เอาที่ผมเข้าใจนะครับ
Concept มันคือ เอา BitCoin มาเป็นเงินตรา การที่มันเป็นเงินตรามันต้องหายาก การถ่ายโอนเงินนั้นจำเป็นต้องมีคนคำนวณให้ แต่BitCoin ไม่มี Server แต่ให้ใครก็ได้คำนวณ ซึ่งคนที่คำนวณได้ก็จะได้ BitCoin มา แต่ว่ามันก็ไม่ได้คำนวณได้ง่ายๆ ทำให้ BitCoin กลายเป็นของหายาก
Methuz'es Blog
+1
มันเป็นระบบที่ใช้ระบบการเงินที่เป็นลับ ๆ ครับโดยการตรวจสุ่มไม่มีอะไรตายตัวมันจะรันไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงมือผู้รับ ถามว่ามันผิดศีลธรรมไหมอันนี้แล้วแต่มุมมองครับ มันมีประโยชน์กับการเงินบางประเภท แต่มันเสียหายถ้าไปพูดถึงเกี่ยวกับการเงินบางประเภทครับ :)
อ่านรอบ 3 แล้ว
ที่อ่านเพราะอยากลองเอาเครื่องไปลองมั่ง แต่อ่านหลาย ๆ comment สงสัยจะเฟลเพราะ dota ยังกระตุกเลย :D
เห็นเขาฝรั่งเขาตั้งเครื่องขุดกันแล้วเงิบเลยครับ
bitcoin มีมานานแล้ว และฟาร์มขุดเขาก็ไม่ค่อยทำกันแล้ว
รู้แต่ว่าค่าเงิน bitcoin ผันผวนมากๆ ไม่เหมาะแก่การลงทุน
ตัวผมเองไม่มี BitCoin นะครับ และยังไม่ได้สำรวจ BitCoin ในเชิงลงทุน (อย่างที่คุณเห็น ตลาดมันเล็ก ก็ผันผวน)
แต่ในเรื่องฟาร์มขุด ผมยังเห็นคนลงฟาร์มใหม่กัน้เรื่อยๆ นะครับ แค่อาจจะไม่เหมาะกับคนทั่วไปแล้ว
ความสามารถของฟาร์มมันดูได้จากค่า Difficulty ที่ยากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่ามีคนแข่งกันขุดหนักขึ้นเรื่อยๆ
lewcpe.com , @wasonliw
ค่าเงินผันผวน ก็เป็นจังหวะเก็งกำไรระยะสั้นนะครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
สักวัน Satoshi Nakamoto จะกลับมา รึเปล่า?
กลับมาปิดระบบ ด้วยการปล่อยไม้ตายจนทุกอย่างกลับไปเริ่มต้นใหม่ แล้วจากไปอีกครั้ง ~Fin~
สงสัย ผมเด็กเกินไป งง จริงๆ
ลองวัด - ลองขุดดูเล่นๆ ครับ:
2011 MBP 15" Top / ATI Radeon HD 6750M (#1) (6 CU, local work size of 256) / DiabloMiner
ผมวัดไฟด้วย OS มันพบว่าการนั่งเล่นเน็ตอ่านเว็บใช้ไฟ ~16 วัตต์ การขุด bitcoin ใช้ไฟ ~46 วัตต์ (เปิดจอขณะขุดด้วย) ฉะนั้นแล้วมันกินไฟขึ้น 30 วัตต์ เดือนนึงก็ 21.6 หน่วย ไฟหน่วยละ 2.7628 บาท (อัตราปกติสำหรับใช้เกิน 150 หน่วย) ก็จะตกที่เดือนนึงเสียค่าไฟเพิ่ม 59.68 บาท
p2pool บอกผมว่าอัตรา 1 share คาดว่า ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง (อาจจะผิดเพราะผมยังไม่เคยได้แชร์จาก p2pool) หนึ่งวันสมมุติว่าได้ 2 share ขณะที่เขียนคอมเมนต์นี้แชร์ต่ำสุดใน p2pool รอบปัจจุบันมีค่า 0.00493259 BTC * 2 = 0.00986518 * 30 = 0.29595540 BTC (ในความจริงการที่เราได้แชร์มากขึ้นไม่ได้แปลว่าเงินที่ได้จะคูณสองเพราะตัวแบ่งก็ย่อมมากขึ้น และคนอื่นก็ขุดไปพร้อมกับเรา ได้แชร์พร้อมกับเราด้วยนะครับ) ราคา MtGox ตอนนี้ $9.17 เท่ากับว่าจะได้เดือนละ 2.71 บาท (ซื้อไฟยังไม่ได้หน่วยเลย ._.)
ระบบทุกวันนี้ถ้าจะเอาจริงจัง อาจจะต้อง "ย้ายบ้าน" เพื่อไปอยู่ในโซนที่ค่าไฟถูกครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ขนาดเช่า ec2 ทำฟาร์มยังขาดทุน
https://bitcointalk.org/index.php?topic=8405.0
เช่า ec2 ทำฟาร์ม
ขอบคุณคุณ lew สำหรับบทความนี้้ครับ เปิดโลกทัศน์ผมได้มากๆ เลย
positivity
ผมไม่ค่อยเข้าใจครับว่าทำไมเขาใช้การ์ดจอในการคำนวณแทนที่จะใช้ CPU
CPU มันคือคนฉลาดมากๆ รวมกัน 4-8 คนครับ การ์ดจอคือคนโง่ๆ รวมกันเป็นพันคน
bitcoin ใช้การหาแฮช (ผมจำไม่ได้ รู้สึกจะเป็น SHA256) ซึ่งการหาแฮช CPU บางตัวมีคำสั่งพิเศษให้รันได้เร็ว แต่แค่ 4 คนสู้กับพันๆ คนไม่ได้หรอกครับ
ผมใช้ Pentium 4 mine บน p2pool ใช้เวลา 30 นาทีได้ 1 accepted hash ผมใช้ Radeon mine 20 นาทีได้เกือบ 10 share
(มันมีด้วยนะครับว่า ATi แรงกว่า NVIDIA เพราะ NVIDIA ออกแบบมาคิดทศนิยม แต่ ATi รันจำนวนเต็มได้เร็วกว่า และการคิดแฮชนี้ไม่ได้ใช้เลขทศนิยม)
แทบจะไม่เข้าใจ :( สงสัยไม่รู้เรื่องพวกนี้เลยเหะ
ว่าแต่ตอนนี้มันไปกี่บล็อคแล้วครับ ยอดเงินในการคำนวณบล็อคเหลือบล็อคละเท่าไหร่แล้ว?
block ยัง 50BTC อยู่ครับ
Mine กันไปถึงชั้นที่เท่าไรแล้ว: http://blockchain.info/
ขอบคุณมากครับ
เจ๋งตรงเม้นจากหลายๆ คนนี่แหละครับ ขอบคุณครับ :d
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
แต่ก็ไม่เจ๋งเท่า Blognone Waterfall หรอกครับ :P
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ฮาฮา ทู้นั้นผมมะรู้เรื่องเลยนะ มองไม่เห็น เลยไม่เก็ตว่าเขาเล่นไรกันด้านบน 55
แต่รู้สึกจะกลายเป็นที่มาของกฎ reply ไม่เกิน 6 ชั้นไปเลยนะ :D
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.