บริษัท HGST (Hitachi Global Storage Technology) ที่รู้จักดีในฐานะอดีตบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อ Hitachi ซึ่ง ถูกซื้อโดย Western Digital ไปเมื่อปีก่อน ออกมาประกาศความสำเร็จในการพัฒนาฮาร์ดดิสก์บรรจุก๊าซฮีเลียมในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรกของโลก
คำถามที่ตามมาคือ ทำไมเราต้องบรรจุฮีเลียมลงไปด้วย เหตุผลมีอยู่ว่า ในปัจจุบันนี้ภายในฮาร์ดดิสก์ไม่ได้มีสภาพสูญญากาศ และเมื่อจานดิสก์หมุนด้วยความเร็วสูงนั้นจะถูกแรงต่างๆ กระทำ อย่างเช่นแรงต้านอากาศ ซึ่งส่งผลให้มอเตอร์ต้องใช้ไฟมากขึ้นและทำงานหนักขึ้นเพื่อเอาชนะแรงดังกล่าว นอกจากนี้เมื่ออากาศภายในเริ่มหมุนเวียนก็จะส่งผลให้เกิดแรงกระทำต่อหัวอ่านที่ต้องเลื่อนออกมาเพื่อทำการเขียนและอ่านข้อมูลตลอดเวลา ส่งผลให้ความแม่นยำในการเข้าถึงตำแหน่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องลดลง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มความจุของไดรฟ์โดยการบีบขนาดของแทรกข้อมูลลงไปได้อีก
ทั้งนี้การบรรจุก๊าซฮีเลียมเข้าไปแทนที่ในปริมาณ 1 ใน 7 ของอากาศนั้นจะทำให้แรงดังกล่าวมีน้อยลง ส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้เงียบขึ้น ลดการใช้พลังงานลง 23% และยิ่งไปกว่านั้น ทำให้สามารถเพิ่มขนาดความจุของฮาร์ดไดรฟ์ด้วยการเพิ่มจำนวนจานดิสก์เป็น 7 จานจาก 5 จานในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อเทราไบต์ได้ถึง 45%
จริงๆ แล้วงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จากการอัดก๊าซฮีเลียมเข้าในฮาร์ดดิสก์นั้นมีมานานแล้ว ซึ่ง Brendan Collins รองประธานฝ่ายการตลาดของ HGST กล่าวว่า "ปัญหาอยู่ที่ว่า บริษัทอื่นยังไม่ประสบความสำเร็จในการป้องกันการรั่วของก๊าซฮีเลียมออกจากตัวไดรฟ์ รวมถึงความสามารถในการผลิตในปริมาณมากๆ ได้ต่างหาก"
อย่างไรก็ดี HGST ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเอาชนะปัญหาดังกล่าว รวมไปถึงขนาดความจุฮาร์ดไดรฟ์ที่จะผลิตออกมาในชุดแรก แต่บอกเพียงว่าตัวไดรฟ์จะออกสู่ตลาดได้ในปี 2013 โดยเจาะกลุ่มตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นหลัก
ที่มา : Wall Street Journal Blog ผ่าน Engadget
Comments
ระเบิดทีก็เลิกหวังเรื่องกู้ข้อมูลไปเลย
onedd.net
ฮีเลียมเป้นก๊าซเฉื่อยไม่ใช่หรอ
+1
+1
ฮีเลียมเป็นก๊าซมีตระกูลครับ ไม่ทำปฏิกิริยากับใคร ใกล้ๆตัวเรานี่ก็ใช้ใส่ลูกโป่งแพงๆเหมือนที่ซื้อตามสยามพารากอนน่ะครับ กลืนฮีเลียมเข้าไปก็จะมีเสียงที่แหลมเล็ก แต่ไม่เป็นพิษไม่อันตราย และก็ไม่ติดไฟครับ
???? ทำไมหรอครับ He ทำอะไร ?
คุณจะสื่อว่าอะไรหรอครับ ??
โอ้้ ขอโทษด้วยครับ ผมมอง Reply ผิดช่อง นึกว่าถามผม แหะๆ -/-
สงสัยต้องกลับไปเปิดตารางธาตุใหม่ ฮ่าๆๆๆๆ
ต้องใส่ ไฮโดรเจน เข้าไปแทน
อ้ะ จริงด้วย จำผิดไปครับ ขออภัยด้วย
onedd.net
มันจะระเบิดรึเปล่า
เหมือนที่ด้านบนบอกครับ ฮีเลียมเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นก๊าซที่เบามาก ๆ รองเพียงแค่ไฮโดรเจนแต่ไม่ติดไฟเหมือนไฮโดรเจนและไม่ช่วยให้ไฟติดเหมือนออกซิเจนจึงนิยมนำมาบรรจุในลูกโป่งสวรรค์ และมีค่ามหาศาลแต่มูลค่าต่ำ สักวันอาจจะมีนักวิทยาศาสตร์ออกมาประท้วงการผลิต HDD ได้
ผมเข้าใจผิดมาตลอดเลยว่าก๊าซฮีเลี่ยมที่อัดในลูกโป่งติดระเบิดได้ แสดงว่าในลูกโป่งเป็นก๊าซตัวอื่น
ตัวนั้นเป็นไฮโดรเจนครับ
ลูกโป่งฮีเลียมก็มีครับ แต่แพงมาก ลูกละ50บาทขายปลีกฮีเลียมสร้างใหม่แทบไม่ได้ มีน้อยลงทุกวัน ขุดของเก่ามาใช้อย่างเดียว ใช้แล้วพอรั่วออกก็ลอยขึ้นออกอวกาศไป เหลืออีกวิธีเดียวคืสังเคราะห์จากนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้ไอโซโทปเดิมนะ
แล้วด้านบนผมก็เป็นคนพิมพ์เองนะครับว่าลูกโป่งนิยมใช้ฮีเลียมเพราะไม่ติดไฟ
ขุดของเก่าที่ว่า ขุดจากอะไรครับ
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
ตามนั้นครับ
ฮีเลี่ยมไม่ระเบิดที่ระเบิดคือ ไฮโดรเจน ตัวอย่างคือ "เรือเหาะฮินเดนเบิร์ก"
นักวิทยาศาสตร์โวยลูกโป่งสวรรค์ "เอาฮีเลียมคืนมา!"
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ลิงก์ข่าวเดียวกันเลยทีเดียว XD
ผมลืมอ่านคอมเมนต์ข้างบนแฮะ พอดีอ่านข่าวแล้วนึกถึงเลย อาจมีประท้วงโรงงานแทน 555+
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ฮา
นักวิทยาศาสตร์ คงต้องจ้างคนขายลูกโป่งสวรรค์จัดหาฮีเลียม แต่ถ้าจะได้ฮีเลียมเหลวมันต้องใช้ฮีเลียมมหาศาลเลยนะครับ ฮาร์ดิสยังอัดก๊าซน้อยกว่าลูกโป่งเลย เพราะอัดมากไปความหนาแน่นสูงเกินทำให้แรงต้านเยอะอีก
พอพูดเรื่องขาดแคลน He ทำให้นึกถึง He-3 ในหนังเรื่อง Iron Sky
ผมอ่านเป้น Iron man เลยนั่งงงไป 3 วินาที
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ขอให้มาไวไว นะ
ในอนาคตเราต้องเอา HDD เก่าที่พังแล้วไปดูดเอาฮีเลียมออก แล้วไปใส่อันใหม่จะได้ไม่เปลือง
HDD จะเบาขึ้นด้วยรึเปล่า ^^"
ฮีเลียมหนึ่งลูกบากศ์เมตรก็ยกได้ประมาณหนึ่งกิโล แต่หักลบวัสดุที่ใช้ซีล กับปริมาณที่บรรจุแล้วเผลอๆ หนักกว่าเดิม
แล้วบริษัทรับกู้ข้อมูลจะทำอย่างไร ถ้าจะเปลี่ยนแผ่นจาน
อาจจุปล่อยก๊าซออกมาได้แต่ความสามารถลดลงแทนถ้าไม่ได้บีบอัดข้อมูลเพื่อเพิ่มความจุต่อดิสไว้
ฮาร์ดดิกส์ => ฮาร์ดดิสก์
อุปสรรค์ => อุปสรรค
ไดร์ฟ => ไดรฟ์
เทอราไบต์ => เทระไบต์ / เทราไบต์
ไดร์ฟ => ไดรฟ์
แล้วถ้าเกิดฮีเลียมรั่วออกมาฮาร์ดดิสก์ก็เสียเลยหรือเปล่าครับ แถมซ่อมไม่ได้อีก
น่าจะใช้ไม่ได้นะครับเพราะแรงที่กระทำต่อหัวอ่านเพิ่มขึ้น อ่านข้อมูลไม่ได้
ทำไมเขาไม่ทำเป็นสุญญากาศไปเลยหว่า
มันมีการใช้หลักแอร์โรว์ไดนามิคในการหมุนด้วยครับ
ถ้าเป็นสุญญากาศ การหมุนก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งหลักแอร์โรว์ไดนามิคใด ๆ เลยนะครับ ผมเห็นมีแต่ข้อดี อาจจะยกเว้นแค่ถ้าเค้าใช้แรงอากาศกั้นหัวอ่านกับจาน
ถ้ามีจุดไหนผมมองข้ามไปรบกวนชี้แนะด้วยครับ
ผมไม่่รู้ว่าจะบอกไรมากมายกว่านี้มันจะงานเข้ามั้ยครับ ขอเงียบดีกว่าเข้าใจนะครับ = =!!
อ้อ ความลับของทางบริษัทสินะครับ (>_<) โอเคครับเดี๋ยวผมล้วงไส้ เอ้ย สืบต่อเองครับ (^.^)d
มันไม่เห็นจะเป็นความลับอะไรตรงไหนเลยค่ะ ที่ว่าต้องมีอากาศในhddเพื่อให้หัวอ่านข้อมูลบินอยู่เหนือจานแม่เหล็ก ถ้าเป็นสุญญากาศมันก็บินไม่สิ เทคโนโลยีก็ไม่ได้ใหม่อะไร ก็อย่างที่ว่าปัญหามันอยู่ที่จะกันไม่ให้ He รั่วได้ยังไงมากกว่า ส่วนที่ว่าทำไมไม่ใส่Heทั้งหมด ให้เดาก็คงเป็นเรื่องการยกตัวของหัวอ่านเหมือนกัน ถ้าอากาศมันเบาบางเกินเดี๋ยวมันบินไม่ขึ้น
ผมไม่มั่นใจครับ เลยเงียบดีกว่าเสี่ยง เพราะคนตีความว่ามันเป็นการเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ ไม่ใช่ผมเลยขอแบบไม่อะไรมากดีกว่า
ค่ะ เข้าใจว่ากลัวเสี่ยง แต่ถ้าgoogleดูจะเห็นว่าข้อมูลพวกนี้มันเบสิคมากๆ แต่ดิฉันอยากทราบว่าคุณtanit9999พอจะรู้รึเปล่าว่าเค้ากันHeรั่วยังไง ตอบแค่ใช่ไม่ใช่ก็พอค่ะถ้าลำบากใจ เพราะดิฉันเดาเอาว่าคงเป็นการพ่นเคลือบปิดรอยรั่วอากาศรอบเคส และรักษาระดับความดันให้เท่ากับภายนอกด้วยการหาอะไรที่ยืดหยุ่นมาช่วยลดแรงดันharddiskเวลาอยู่ในที่ความดันต่ำ(เดาเอาล้วนๆ แต่มันดูเป็นไปได้ 55)
ใหนๆก็เม้นตอบผมแล้ว เอาว่าข้อมูลต่อให้มันออกสู่สาธารณะยังไง แต่ก็มันไม่ได้รับอนุญาติให้คนในพูดอะครับ ผมเลยเลี่ยงเพราะตอนนี้เค้าแข่งกันสูง เรื่องกันรั่วจริงๆส่วนที่เป็นที่เก็บส่วนจานหมุนถ้าผมจำไม่ผิดเคยเห็นเอกสาร มันจะเป็นระบบปิดอยู่แล้วนะครับ การกู้ข้อมูลตามร้านเมื่อ HD เสี่ยจริงๆไม่มีเค้าแค่เปลี่ยนแผงวงจรส่วนจ่ายไฟพวกนั้น ส่วนจานหัวอ่านภายในไม่โดนแกะ เพราะเค้าต้องทำกันใน Lab เท่านั้น เพราะงั้นผมมองว่าระบบมันปิดมาตั้งแต่แรกอะครับเลยไม่เข้าใจคำถามว่าทำไมต้องถามว่ากันยังไง ถ้าอยากรู้ชัวว์ผมจะแอบไปชำเลืองดูเอกสารให้เพราะงานโดนตรงผมมันแค่ส่วนของหัวอ่านซะส่วนใหญ่
ถ้าจำไม่ผิด ขณะที่ disk หมุนมันจะยกตัวขึ้นเพราะแรงยกจากอากาศครับ
ถ้าเป็นหัวอ่านอาจจะใช่นะครับ แต่จานแม่เหล็กไม่น่ามีผลขนาดนั้น มีใครพอยืนยันข้อมูลได้ไหมครับ?
Fluid bearing ป่าวครับที่เป็นต้นเหตุ ทำให้ต้องมีอากาศ
air-bearinghttp://en.wikipedia.org/wiki/Disk_read-and-write_head
จริง ๆ ผมคาดว่าจะเจอคำถามว่าทำไมไม่เติมฮีเลียมทั้งหมดไปเลยมากกว่านะเนี่ย XD
ถ้าให้ผมเดา สงสัยเป็นเรื่องของการระบายความร้อนด้วยมั้งครับ ย้ำนะว่าเดา
ตอนเด็กๆเหมือน รร สอนว่า ฮาร์ดดิสก์จะเป็นสูญญากาศ - -
แต่ HDD เปิดฝาก็ยังใช้ได้นี่ครับ?
Dream high, work hard.
ใช้ไปไม่นานพังครับ ของผมเป็นรอยเลย แต่ hdd ตัวนั้นมันเก่ามาก (รุ่น 4 ร้อยกว่าเมก)
ผมก็เรียนมาแบบนี้ล่ะ - -
ในฮาร์ดดิสไม่ได้เป็นสูญญากาศ แต่ต้องปลอดฝุ่นครับ เพราะแม้ฝุ่นขนาดเล็กติดเข้าไปก็อาจทำให้ข้อมูลเสียหายได้
จากที่อ่านมาของทุกคน สรุปได้ว่าไปใช้ SSD กันดีกว่า ไม่มีจานแม่เหล็ก ไม่ต้องใช้ก๊าซอะไรให้มันหมุนแบบเสถียร
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
ไม่ดีหรอกครับ เดี๋ยวมันจะทำเอาบางคนกลัวเรื่องอายุ SSD แล้วไม่กล้าใช้ XD