หลังจาก กสทช. ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องผลการประมูล 3G วันนี้ทางบอร์ด กทค. ได้แถลงการณ์ "ประกาศเจตนารมรณ์ต่อสาธารณชนในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ" ดังนี้ (ตัวเน้นโดย Blognone)
- จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3G บนย่านความถี่ 2.1GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15-20 ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน
- จะกำกับดูแลคุณภาพของการให้บริการให้เป็นไปตาม มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
- จะกำกับดูแลให้ผู้รับใบอนุญาต จัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และแผนคุ้มครองผู้บริโภคก่อนเริ่มให้บริการ (สองแผนนี้มีระบุอยู่แล้วในเงื่อนไขการประมูล - mk)
- จะตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลวันที่ 16 ตุลาคมให้เกิดความชัดเจนอีกครั้ง
- จะปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องและพิจารณาเรื่องร้องเรียน โดยเน้นการแก้ปัญหาของประชาชนให้ทันท่วงที
- จะมีการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตามระเบียบ กสทช.
ผู้ผ่านการประมูลจะต้องรับเงื่อนไขข้อ 1-3 ก่อนให้บริการ
ที่มา - @Pat_ThaiPBS , เอกสารฉบับเต็มจาก กสทช. ด้านล่าง
กสทช. แถลงการณ์ประกาศจุดยืนในการคุ้มครองประโยชน์ของชาติและประชาชนจากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz
ตามที่ กสทช. ได้จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 และ กทค. ได้มีมติเห็นชอบผลการประมูลไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2555 และสำนักงาน กสทช. ได้มีการประกาศผลการประมูลไปแล้วนั้น และขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ผ่านการประมูล ล่าสุดวันที่ 22 ต.ค. 2555 พล.อ.อ.ธเรศปุณศรี ประธาน กสทช. พร้อมด้วย พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กสทช. และ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ร่วมแถลงการณ์ยืนยันเจตนารมณ์ในการที่จะคุ้มครองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนจากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz
พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และ ประธาน กทค. ได้แถลงว่า เพื่อให้การดำเนินการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมให้แก่ผู้ผ่านการประมูล เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยคณะกรรมการกิจการโทคมนาคม หรือ กทค. จึงขอประกาศเจตนารมณ์ต่อสาธารณชนในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ดังนี้
- จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 – 20 ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน
- จะกำกับดูแลให้คุณภาพการให้บริการเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานของคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทข้อมูลสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเคร่งครัด และ ให้มีมาตรการติดตามคุณภาพของการให้บริการอย่างต่อเนื่อง
- จะกำกับดูแลให้ผู้รับใบอนุญาตจัดทำแผนความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility – CSR) และแผนคุ้มครองผู้บริโภคก่อนเริ่มให้บริการ รวมทั้งให้มีมาตรการติดตามการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาตให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด
- จะมีการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมการประมูลในระหว่างการประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 เพื่อให้เกิดความชัดเจนอีกครั้งหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป
- จะมีการปรับปรุงกระบวนการรับเรื่องและพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามประกาศ กทช. เรื่อง การรับเรื่องร้องเรียน และกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. 2549 โดยเน้นกระบวนการในการพิจารณาและแก้ไขปัญหาของประชาชนให้ทันท่วงที
- จะมีการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ. 2555 ให้เกิดประสิทธิภาพ และสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ทั้งนี้การดำเนินการในข้อ 1 – 3 ผู้ผ่านการประมูลจะต้องรับเงื่อนไขดังกล่าวก่อนให้บริการ
จึงแถลงการณ์ให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นว่า กสทช. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และจะกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ
“อยากให้สื่อมวลชนและประชาชนมีความมั่นใจว่า กสทช. ไม่ได้รีบร้อนในการให้ใบอนุญาต และในการรับรองผลการประมูลที่ผ่านมา เป็นการรับรองตามกำหนดการที่ตั้งไว้ ไม่ได้เป็นการเร่งรีบ ดังนั้นในการออกใบอนุญาตจะต้องมีความโปร่งใส และประโยชน์จะต้องเกิดขึ้นกับประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ขอให้มั่นใจว่ากระบวนการทุกกระบวนการมีการดำเนินการอย่างระมัดระวัง” พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ฯ กล่าวทิ้งท้าย
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า กสทช. จะกำกับดูแลอัตราค่าบริการทั้งประเภทเสียงและข้อมูลของบริการ 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz ให้ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของอัตราค่าบริการในปัจจุบัน โดยการลดลงของอัตราค่าบริการ จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G โดยรวมทั้งประเทศได้รับประโยชน์จากการมีค่าบริการที่ถูกลงหรือสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนในการให้บริการที่ลดลง และระดับการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นในตลาด โดยผลประโยชน์ดังกล่าวซึ่งหากอัตราราคาค่าบริการลดลง 15% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4,571.25 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 54,855 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ทั้งหมดประมาณ 822,825 ล้านบาทภายในระยะเวลา 15 ปี และหากอัตราราคาค่าบริการลดลง 20% จะคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 6,095.22 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 73,142.64 ล้านบาทต่อปี และประมาณ 1,097,145 ล้านบาทภายในระยะเวลา 15 ปี ทั้งนี้ผลประโยชน์จากการใช้บริการ 3G จากอัตราค่าบริการที่ลดลงได้พิจารณาอ้างอิงจากราคาค่าบริการ 3G ในปัจจุบันในอัตราประมาณ 899 บาทต่อเดือน
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. กล่าวถึงประเด็นที่จะมีการตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมการประมูลในระหว่างการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนอีกครั้งหนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตต่อไป โดยได้มีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายของสำนักงาน กสทช. ทั้งในเรื่องของ พ.ร.บ.ความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งในส่วนของระบบ และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการประมูล ซึ่งก็ได้มีการยืนยันในส่วนของสำนักงานและบริษัทที่ปรึกษาฯ ในการประมูลว่าระบบการทำงานไม่ได้มีพฤติกรรมในการสมยอม แต่เนื่องจากมีกระแสข่าวในเรื่องของพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เสนอราคาในช่วงที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความชัดเจน สำนักงาน กสทช. จะได้มีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มาตรวจสอบอีกครั้ง และจะได้มีการเชิญผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการประมูลมาสอบถามอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าในการพิจารณาออกใบอนุญาตจะมีความโปร่งใสมากที่สุด ทั้งนี้ระยะเวลาในการตรวจสอบนั้นจะต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณไม่เกิน 15 วัน หลังจากนั้นจะนำเสนอที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณาต่อไป
Comments
ถ้าอยากให้ทั่วถึงจริงๆ ขอ Unlimited ไม่เกิน 199 (Fair use 500 mb ป่าวหว่า)
ทุกคนจะโหลด bit จะใช้กันไม่ได้พอดีล่ะแบบนั้น
I need healing.
fair use 500MB ตัดเหลือความเร้วไม่เกิน 256 kbps ราคาเดือนละ 199 ผมรับได้นะครับ โหลดบิตนิดเดียวก็ติด fairuse แล้ว ในขณะที่ความเร็วหลังจำกัดก็ไม่ต่ำเกินไปจนใช้งานจริงไม่ได้
เพราะแบบนี้ถึงมี Fair use ไงครับ
ไม่ไหวครับ ขอแพงขึ้นแต่ fair use 1 GB เถอะ
ซอยโปรย่อยสิครับ FUP ต่างกันไปตามราคา
ผมว่าทำแบบเน็ตบ้านไปเลยก็ได้ จำกัดความเร็วตั้งแต่แรกเลยก็ได้
ไอ้ลดลงก็ดีหรอก แต่ผมอยากรู้เขาดูเรื่องต้นทุนจริงๆ ด้วยหรือเปล่า
ปีที่แล้ว ถ้าจับสามเจ้ามารวมกัน กำไรจะเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของยอดขายครับ ถ้าจะลดราคา ก็ควรต้องลดค่าใช้จ่าย แต่จะยากเพราะข้อ 2-3 ก็ต้องใช้เงินเพิ่ม
"มีแผน" จะดูจริงๆ ครับ ผมคุยกับกสทช. ประวิทย์ แล้วตรงนี้จะมีการเข้าไปประเมิณ
แต่ต้นทุนจริงต้องอาศัยเวลา (อย่างน้อย 2-3 ปี) กว่าจะนิ่ง เพราะมันมีต้นทุนอื่นๆ เช่น ช่วงแรกจะเป็นค่าติดตั้งเกือบทั้งหมด ขณะที่หลังจากนั้นจะเป็นค่าซ่อมบำรุง ค่าประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ถึงตอนนั้นประเมิณออกมาเท่าไหร่คงมีรายการถกเถียงกันอีกที
lewcpe.com , @wasonliw
ต้นทุน..อึ่ม ถ้าผู้ให้บริการบอกลดไม่ได้มาก เพราะมีต้นทุนเพิ่ม กสทช. จะทำอย่างไร
ก็ต้องอธิบายต้นทุนได้ เพราะถ้ามันเพิ่มจริงๆ มันก็ต้องเพิ่มครับ ถ้ายังจะไปลดค่าบริการอีก บริษัทก็ "เจ๊ง" คงไม่มีใครอยากทำธุรกิจกับประเทศไทยด้วยแล้ว
ถูกต้องครับ แล้วประกาศไปลดราคา 15-20% แล้วถ้าผู้ให้บริการไม่เห็นด้วยล่ะ
ในความเห็นผม การแจ้งประกาศลดราคา เหมือนเป็นการลดแรงกดดันจากเสียงวิจารณ์ รอบข้างก่อนเท่านั้น ครับ
..จะตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลวันที่ 16 ตุลาคม ให้เกิดความชัดเจนอีกครั้ง..
จะรอดูครับ
ลดราคาลง 15-20% ก็เหมือนจะเป็นข่าวดีนะ แต่กสทช.มีอำนาจกำหนดราคาด้วยเหรอฮะ หรือจะเน้นพูดคุยกับผู้ให้บริการ
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ไม่แน่ใจเรื่องอำนาจ แต่เห็น สบท. เข้ามา ฟิวชั่นกับ กสทช. ด้วยแล้วครับ คงจะช่วยรับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบ คุ้มครองให้ด้วยครับ
สรุปว่าเป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนเฉยๆ ถ้าจะโต้แย้งอะไรก็ต้องรอราคาเค้าออกมาก่อน แล้วมีประชาชนไปร้องเรียนผ่านช่องทางมาตรฐาน จำนวนผู้เสียหายมากพอ ข้อเท็จจริงฟังขึ้นถึงจะมีการฟ้องร้องกัน ฟ้องแล้วก็สู้คดีไปอีกหลายๆ ปี กว่าคดีจะสิ้นสุด เสือสามตัวคงหม่ำจนท้องป่องไปตามๆ กันละครับ อุอุ
เรื่องใครหม่ำไม่หม่ำอันนี้ผมไม่ทราบครับ จินตนาการไม่สูงพอ หน่วยงานที่ผมยกมาเป็น สบท.ที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนอย่างที่คุณบอก แต่มีเมื่อรวมกับ กสทช. แล้วอาจทำให้ กสทช. เมื่ออำนาจหน้าที่ที่สามารถกำหนด/ควบคุมราคาได้ครับ แต่ยังไงผมก็ัยังสงสัยเหมือนความเห็นแรก ซึ่งอาจต้องรอผู้รู้มาตอบให้ครับ
ความเห็นแรกเขาต้องข้อสงสัยว่า กสทช. มีอำนาจควบคุมราคาด้วยรึ? ผมก็เอา สบท. มาเสริมให้ แล้วก็สงสัยแบบความเห็นแรกครับ
ตอนนี้เป็น กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม แล้วครับ
I need healing.
ราคาตอนนี้ 899 ลดไป 20% ก็ประมาณ 719 บาท
ก็ยังแพงอยู่ดี ....
สรุปว่าเอกชน สบายตัว ประมูลได้ถูก ราคาก็ลดไม่มาก หุหุหุ
คนที่หวังจะใช้ราคาถูกเลยให้เอกชนถูก ๆ ได้อ่าน คนเศร้าไป
ก็อาจจะต้องสร้าง package ที่ "เล็กลง" กว่าเดิมน่ะครับ 899 มันโทร + เน็ตเยอะมากเอาเรื่องอยู่
ครับ แค่ชี้ให้เห็นว่า ลด 20% นี่ไม่ได้เยอะเลย
เพราะตอนแรกทุกคนคิดว่า 3G จะถูกลงมาก
ตอนนี้ผมก้อใช้ Package Unlimited 899 (Fair User ที่ 5GB) อยู่ครับ แต่ใช้ทั้ง VPN ,RDS ,อ่านเมล ,Chat ,เล่นเนต ,ดู Utube บ้าง ยังหมดไปแค่ 3GB ต่อเดือนเลยครับ ถ้าไม่ได้ใช้ Voip ,Video call ,โหลดบิต แค่ 5GB นี่เหลือๆครับ
Destination host unreachable!!!
แล้วคนที่ติดสัญญา 899 อยู่จะได้ลดบ้างมั้ยเนี่ย
เพิ่มปริมาณให้ 20% แต่ไม่เพิ่มราคา แบบ ADSL เพิ่มความเร็ว ไม่เพิ่มราคา
คนที่ติดสัญญาเดิม เป็นเครือข่ายเดิม ที่ต้องโอนคืนรัฐวิสาหกิจครับ ไม่เกี่ยวกับเครือข่ายใหม่ที่ได้รับใบอนุญาต
lewcpe.com , @wasonliw
ปัจจุบัน 1GB = 350 บาท ถ้าลดได้ คงเหลือ 280 ~ 299 ซึ่งก็ยังไม่ถือว่าถูกอยู่ดี
ถ้าราคาเหลือ 199 เหมือนค่าย TOT (ที่ไม่ค่อยมีสัญญาณ) จะดีมาก
อันนี้เหนด้วยครับ 1GB ควรที่จะอยู่ประมาณ 150-200 บาทครับ แต่ Fair User อยู่ที่ 512K นะครับ
Destination host unreachable!!!
ก็ได้ 199 ที่ไม่ค่อยมีสัญญาณนั่นแหละครับที่ กสทช. มันไม่มีสัญญาณมาเข้าอาทิตย์ที่ 3 แล้วครับ
I need healing.
เคยใช้จริงหรือฟังเขามาครับ
ผมใช้ TOT อยู่ ไม่เห็นมันจะมีปัญหาอย่างที่บ่นๆกันเลย (คนบ่นไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่เคยบ่น)
อ้อ เทสทีไรก็ เกือบๆ 10 เมก ถึง 20 เมก ตลอด ไม่ต้องมาใช้กันหรอก เดี๋ยวมันอืดน่ะ
ผมก็ใช้ครับ หนึ่งในสามแสนเหมือนกัน
I need healing.
ไม่ต้องเถียงกันครับ มันแล้วแต่พื้นที่ครับ
การทำแบบนี้จะไม่เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพแน่ๆ เพราะ ต้นทุนมันไม่ได้ (ตัวผู้ให้บริการไม่ใช้คนกำหนดราคาขาย)
และ งานนี้อาจจะจะเป็นการแข่งขันด้านราคาแทน เพื่อให้ขายได้เยอะ ๆ จะได้คืนทุนเร็ว ๆ แทน
เพราะ คุณภาพเอาไว้ก่อน แค่ผ่านข้อกำหนดขั้นต่ำของ กสทช ได้ก็พอแล้ว (คุณภาพเลียดพื้นชัวส์)
งานนี้เอกชนสบายจริง ๆ รึเปล่า ต้องมารอดูกัน (แต่ผมว่า มันไม่ได้สบายขนาดนั้นหรอก)
seeking for New Frontier...
คนรวยไม่โกง ไม่มีหรอกครับประมูลถูก ค่าบริการจะไม่แพง ก็ไม่มีหรอก
คิดแบบนั้นก็ใด้ แต่ต้องต่อด้วยว่าถ้าประมูลแพง ค่าบริการก็ยิ่งต้องแพงเข้าไปใหญ่ เพื่อให้ใด้กำไรต่อเงินลงทุนเท่าเดิม ...
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
การแข่งขันจะทำให้มันถูกครับ
May the Force Close be with you. || @nuttyi
... แต่รายจ่าย(ทุน)ก็ยังมีส่วนในการกำหนดราคาขั้นต่ำอยู่ดีครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ต้องแยกในส่วนของต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผันนะครับ ถ้าคุณซื้อเตาอบมา 60,000 ต้นทุนค่าวัตถุดิบ+ค่าแรงค่าขาย 4 บาทต่อชิ้น แน่นอนว่าสมมติคุณคาดการณ์ตอนแรกว่ามันขายได้แค่ 4.1 บาท คุณคงไม่ลงทุนซื้อเตาอบแน่ แต่ถ้าคุณคาดว่าจะขายได้ 8 บาท แล้วคุณเกิดซื้อเตาอบไปแล้วขึ้นมา ถึงจะขายได้แค่ 4.1 บาท คุณก็ควรขาย เพราะยังมากกว่าต้นทุนแปรผัน เพราะ 6 หมื่นคุณเอาคืนมาไม่ได้แล้ว (กรณีขายเตาอบไม่ได้นะ)
ถ้าเทียบแล้วคือแต่ละค่ายเค้าต้องมีต้นทุนที่เค้าคำนวณไว้ และแน่นอน ย่อมมีราคาในใจสูงสุดที่เค้ายอมจ่าย กล่าวคือการคาดการณ์จะกำหนดราคาประมูลสูงสุดยังไงก็ไม่เกินนี้ แต่ถ้าต่ำกว่านี้ได้เอาแน่นอน แต่หลังจากประมูลไปแล้ว การแข่งขันสูง หรืออะไรไม่เป็นไปตามคาด ขายเท่าไหร่ก็ต้องขาย ดีกว่าทิ้งไว้เฉยๆ แน่นอนครับ ถ้ายังขายได้มากกว่าค่าดำเนินการไม่รวมเงินลงทุนที่ลงไปแล้ว
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ต้นทุนคงที่ ส่วนใหญ่จะคิดเป็นต้นทุน ในรูปแบบค่าเสียโอกาศซึ่งมีวิธีคิดอยู่ครับ (เช่น บ. ที่เป็นหนี้ ก็อาจคิดว่าเสียโอกาศชำระหนี้ ดอกเท่าไร่ ก็กลายเป็นต้นทุน)
แต่
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
อยากได้ Internet 200MB ต่อ เดือน
เป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานของประชาชน
ไม่ว่าเบอร์ไหนก็ใช้ได้ 200MB แรกฟรี
ไม่รู้ว่าชาตินี้จะได้เห็นรึเปล่า
ทำเศรษฐกิจให้เข้่มแข็งครับ GDP ต่อหัวสัก 50,000 ดอลลาร์ต่อปี คงประกันอะไรพวกนี้ได้ไม่ยาก
ยังจนอยู่ก็ประกันขั้นพื้นฐานได้น้อยครับ
lewcpe.com , @wasonliw
อันนี้สงสัยส่วนตัวนะครับ
มีประเทศไหนให้แบบนี้หรือเปล่าครับ?
ตามห้องสมุดในประเทศโลกที่หนึ่งส่วนใหญ่มีเนตความเร็วไม่ต่ำกว่า 5Mb ให้ครับ
ใช้กับคอมเค้านะครับ ไม่ค่อยได้ยินว่ามีไวไฟให้ฟรี
คิดว่าค่อนข้างโอเคเลย สำหรับเด็กที่อยากจะหาข้อมูลในเนตเพิ่มเติม (และคงจะเล่นเกมยากหน่อย :D )
ซึ่งภาษีของบ้านเค้า...........
ผมหมายถึงประเทศไหนแจกเน็ตโทรศัพท์ทุกเบอร์แบบนี้บ้างน่ะครับ
จัดเก็บภาษีเพิ่มครับ
ระบบเครือข่ายก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการ Maintenance (อุปกรณ์ทุกสามารถเสียได้หลังจากใช้งานไปซักระยะ ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้ราคา 6-8 หลักขึ้นไป และมีทุกอำเภอ หรือถ้าซื้อ MA ต่อปีก็อาจจะมี คชจ ต่อปีราว 9 หลัก) รวมไปถึงการจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อเพิ่ม Bandwidth ให้สูงขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น
ของทุกอย่างไม่ฟรี และมีต้นทุนครับ
ถ้าให้เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ก็หมายความว่า คนที่ไม่ได้ใช้ก็ต้องจ่าย (ภาษีสำหรับส่วนนี้) ให้คนอื่นด้วย...
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
รู้จักกฎการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมรึเปล่าครับ? ไม่มีอะไรการได้อะไรมาโดยไม่ต้องเสียอะไรไปเลยนะครับ สิ่งที่รัฐฯทำคือในโครงการหลายๆตัวคือ การโยกย้ายงบประมาณรวมถึงรัฐสนับสนุนใส่เงินเพิ่มลงไปด้วย ซึ่งงบประมาณที่เพิ่มพวกนี้รัฐบาลเอามาจากไหน ก็ภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมของประชาชนทุกคนนั่นแหล่ะครับ
ถามว่าแม้ในต่างประเทศ ในแถบประเทศกำลังพัฒนา หรือแม้กระทั่งประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆที่ก็ไม่เคยมีนโยบายประชานิยมเฉพาะกลุ่มแบบนี้เลยนะครับ?!?
และอาจจะไปกู้ต่างชาติมาด้วย
จริงๆ แล้วมีในแถบประเทศสแกนดิเนเวียร์ครับ แต่อาจจะเพราะความหนาแน่นประชากรต่ำ + เป็นประเทศผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร + รายได้ต่อหัวสูงมากจนจ่ายไหว
lewcpe.com , @wasonliw
เจตนารมรณ์ => เจตนารมณ์
ไม่มีทางที่แพ๊คเกตเดิมจะลดครับ เพราะวุ่นวายมากราคามันผูกกับโปรโมชันอื่นเยอะไปหมด
ที่เป็นไปได้คือ แพ๊คเกตเดิมราคาเดิม แต่ fair use เพิ่ม ความเร็วเพิ่มและออก มินิแพ๊คเกตใหม่ที่ราคาถูกกว่าแทนครับ
ถ้าผู้ใช้งานอยากจ่ายถูกลง ก็ต้องรอให้หมดข้อผูกมัดปัจจุบันก่อน แล้วถึงจะเปลี่ยนแพ๊คเก็ตได้
ย้ายค่ายใหม่ก็เริ่มกันใหม่นะครับ
I need healing.
จำกัด Mb เหมือนขายลูกอมเรย อิอิ 4 Mb = 1 บาท
เปิดเว็บมา ไม่กี่เว็บก็แทบหมดละ 4 Mb ถ้าปรับเหลือแต่ตัวหนังสือก็ประหยัดไป แต่ขาดสีสัน
20% น้อยไป เพราะราคาที่ตั้งตอนประมูลมันต่ำกว่าราคาที่คาดว่าจะได้อยู่ 30%
ประมูลได้แค่ สี่หมื่นกว่าล้านบาท รายได้สามเจ้ารวมกันปีที่แล้ว สามแสนกว่าล้านบาท ถ้าให้ลดแค่ 30% ของราคาประมูลนี่ สามเจ้ายิ้มเลยนะครับ เผลอๆ แถมให้เป็น 50% ของราประมูลด้วย
สรุปว่า จ่าย สี่หมื่นกว่าล้าน เก็บเงินลูกค้าได้เลย??ไม่ต้องตั้งเสา ไม่ต้องจ้างพนักงาน ไม่ต้องจ่ายเงินเดือน ไม่ต้องโฆษณา ซื้อคลื่นมา ขายไป?
เห็นชอบเอา "รายได้" มาเทียบกับ "ค่าคลื่น" กันจัง โอเคว่ามันต้องหาร 15 ปีด้วย แต่ยอด sub ใน "ช่วงแรก" มันจะมีเท่าไหร่กันเชียว เห็นประมูลถูกๆ อย่างนี้ ปีแรกขาดทุนแน่นอน ฟันธง
อีกอย่างรายได้ที่คุณเอามาเทียบ คือรายได้ของการให้บริการช่วงปลายสัมปทาน และมีลูกค้าเยอะแล้วการให้บริการปีแรกมันไม่มีทางจะเยอะแบบนี้หรอกครับ
ถ้าอยากจะเทียบจริงๆ ต้องไปเอา "รายได้" ปีแรกของ True Move H มาเทียบครับ (เพราะไม่ย้อนไปนานมักนัก) น่าจะสะท้อนได้ชัดเจนกว่า ว่าแต่ละรายจะมียอดรายได้ในปีแรกเท่าไหร่
จะให้คิดว่าปีแรกขาดทุน แล้วไปลดราคาซ้ำเติมเค้าอีกเหรอครับ งงมาก เสาส่วนมากก็เสาเดิมแค่เปลี่ยนการ์ดจูนความถี่ รายได้รวมก็คือรายได้รวมทั้งตลาด แตกเป็น H แล้วไม่ต้องคิดรายได้จากทรูเดิมที่ยังให้บริการอยู่รึ เปิดตัวสินค้าใหม่ในตลาดเดิม ไม่ต้องเอาฐานสินค้าเดิมมาคำนวณด้วยรึ
ตามสัญญาสัมปทาน เสาทั้งหมดที่ตั้งกันนี่เมื่อหมดสัมปทานต้องยกให้เจ้าของสัมปทานนะครับ หลังจากนั้นถ้าไม่ตั้งเสาเองก็ต้องขอเจ้าของสัมปทานเช่าเสาต่อครับ
ไม่ใช่ขาดทุนแค่ปีแรกด้วยครับ ขาดทุนอยู่หลายปีเลยล่ะ
แต่สิ่งที่ผมจะสื่อ คือตัวเลขสามแสนล้าน มันไม่ได้เกิดได้ตั้งแต่ปีแรก มันต้องผ่านการสะสม subscriber มาเป็นระยะเวลานานจะเอาไปคิดเหมือนกับว่า บริษัทเหล่านี้จะได้รายได้ขนาดนั้นตั้งแต่ปีแรกๆ ไม่ได้ บางบรัษัทมันยังขาดทุนจนทุกวันนี้ด้วยซ้ำ
เขาถึงมีการกำหนดอายุสัมปทาน หรือ license ไว้ยาวๆ ไงล่ะครับ เพื่อให้มีเวลาที่จะเอากำไรบ้าง เช่นคุ้มทุนที่ 7 ปี ปีที่เหลือเป็นกำไร เป็นต้น
แล้วเรื่องเสา หรือ asset อื่นๆ มันใช้ด้วยกันไม่ได้ครับ อย่างน้อยเรื่องความยาวคลื่นที่สูงกว่า ต้องมีการตั้งเสาถี่ขึ้น ยังไงก็ต้องลงทุน และเรื่องสัญญาสัมปทานเก่าที่ asset ทุกอย่างต้องคืนให้เจ้าของสัมปทานอีก เขาถึงได้มีการตั้งบริษัทแยกกันทุกเจ้าไงครับ
สรุปคือไม่ควรลดค่าบริการลง แต่ควรจะเพิ่มด้วยซ้ำด้วยเหตุผลต่างๆ ที่คุณยกมา
X ไม่น้อยกว่า 3 ไม่ได้แปลว่า X ต้องเป็น 10 เท่านั้นครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
@maytee
ข้างบนเขาอธิบายต้นทุนแฝงต่างๆ ครับ ช่วยให้คุณเห็นภาพกว้างๆ มาขึ้น แต่ที่คุณสรุปนั้นเป็นของสรุปของคุณเอง เพราะคุณตั้งธงอยากจะสรุปแบบนั้นอยู่แล้ว
ในยุโรปมีการประมูลกันแพงมาก แต่ก็ทำเอาบางบริษัทอยู่ไม่ได้เนื่องจากประมูลก็แพงแล้ว ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็อีกเพียบ ประมูลเสร็จรัฐได้เป็นกอบเป็นกำแต่ผู้ประกอบการล้ม แล้วทำประชาชนเสียหาย ยังไงผมก็ว่าไม่ใช่เรื่องดี (ขนาด DTAC ล้มไม่กี่ชั่วโมง คนยังโวยกันเยอะ ค่าเสียหายทางเศรษฐกิจ/สังคม มันมีมูลค่าเยอะกว่าคลื่น)
ยังไงเสียผมก็คิดว่ามันต้องการการแข่งขันกันทางใดทางหนึ่ง เช่น ลดราคา ลดเงื่อนไข FUP หรืออื่นๆ เพราะถ้าตั้งแพงมาก คนก็จะหนีไปใช้อินเทอร์เน็ตทางเลือกอื่นๆ แทนอยู่แล้ว (หรือเปลี่ยนซิมก็ยิ่งกว่าก็สมัยนี้ที่ต้องดูเครื่องว่าสนับสนุนคลื่นไหน) ผู้ให้บริการเองนั้นแหละ ที่จะอยู่ไม่ได้
ราคาประมูลที่นี่ไม่แพงแบบยุโรป แล้วทำไมจะลดราคาไม่ได้ คือไม่เห็นใครอธิบายเลยว่า ทำไมราคาควรจะต้องลดหรือแพง มีแต่บอกต้นทุนโน่นนี่นั่น AIS บอกจะลงทุนเพิ่มห้าหมื่นล้านใน 3 ปี TRUE จะลงทุนแค่สองหมื่นล้านแต่ครอบคลุมให้มากสุด (ซึ่งน้อยกว่าส่งค่าสัมปทาน 3 ปีมาก) แสดงว่าเขาคำนวณได้แล้วว่าจะเอากำไรเท่าไหร่ดี แล้วถ้าผ่านไป 3 ปียอดขายรวมไม่ต่ำไปกว่าสามแสนล้านเหมือนปีที่แล้ว กำไรจะมากขนาดไหน
ไม่มีใครบอกนี่ครับ ว่าจะลดไม่ได้ (ผมเองยังเชื่อว่ามันจะลดเลย หรือคุณไม่ได้อ่าน) แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะลดเท่าไหร่แค่นั้น เพราะมันอยู่ที่ผู้ประกอบการโน่น
ความเห็นแรกเขาบอกว่าน่าจะลดจาก 20% เป็น 30% ครับ แล้วคุณบอกว่าเผลอๆ เป็น 50% เลย เลยมีคนบอกว่ามันมีต้นทุนอื่นๆ อีกนะ แต่ไม่มีใครบอกว่าไม่ให้ลดครับ ซึ่งผมมองว่านอกจากคุณไม่มีความรู้เรื่องต้นทุนธุรกิจ เรื่องระบบสัมปทาน แถมคุณยังจับใจความในการอ่านไม่ได้ด้วยครับ
50% ของราคาประมูล 15 ปี เองนะครับ หารแล้วตกปีละประมาณ 1350 ล้านบาทเอง หรือลดเฉลี่ยแค่เบอร์ละประมาณ 18 บาทต่อปี ผู้ประกอบการไม่ยิ้มได้ไง สู้ให้ลด 10% จากยอดขายแต่ละปีไม่ดีกว่ารึ อย่างน้อยก็ลดลงเฉลี่ยปีละ 400 บาทต่อเบอร์
สามค่ายลงทุนเพิ่มประมาณแสนล้านต่อ 15 ปี ตกปีละ 6666 ล้านบาท ก็ยังน้อยกว่าส่งสัมปทาน 40,000 ล้านบาทต่อปีอยู่มาก ส่งให้ กสทช อีกปีละประมาณ 5% ก็ยังน้อยกว่าอยู่ดี ผมเลยงงว่า ผมคำนวณผิดตรงไหน
When you won't get what is not rightfully yours anymore, just don't complain.
Concession in my opinion, is the worst way possible to get money from providers. There is, however, increasing the tax rate where those forthcoming money will directly go to Ministry of Finance and not those state-owned enterprises that will use the money for those incompetent negative-ROI employees and some abusing.
Most people never realize or seem to forget that the reason we actually have high speed internet here, is because we get rid of concession and let providers make their own Internet Links. Else we'll be stuck at maybe 2MB?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
บังคับใช้เรื่องห้ามเรื่องวันหมดอายุบัตรเต็มเงินยังไม่ได้เลย -*-
+1 อยากสร้าง อนุสาวรีย์ให้กับประโยคนี้จริงๆ (แค่เรื่องเล็กๆ ยังบังคับไม่ได้เลย)
มันควรจะออกมาแบบนี้ครับ
1. 3G ไม่เกินเดือน 199 - 299 บาท
2. FUP จำกัดวันต่อวัน หรือต่อสัปดาห์ ไม่ใช่จำกัดต่อเดือน
3. FUP จำกัดแค่พวกที่ใช้ Bandwidth สูงๆ อย่าง Video Streming, Peer 2 Peer และจำกัดเป็นช่วงเวลาด้วยว่าคนจะใช้เยอะช่วงไหน
4. FUP ที่ปรับลดลงมาควรจะอยู่ที่ 512 Kbps ไม่ใช่ 384 Kbps เท่ากับ Edge
5. ควรจะใช้ได้กับทุกแพ็กเกจ เช่น ใครที่ใช้แบบเติมเงินก็สามารถใช้ 3G เป็นตัวเสริมได้
เพราะปัจจุบัน Unlimited มันไม่ Unlimited จริงอย่างที่โฆษณาเอาไว้ มันดันเขียนเอาไว้ตัวเล็กมากๆ เอาไว้ (กลัวคนเห็น) ว่าจำกัด 1,3,5 GB ทีเหลือ FUP กินหัว นั่นเท่ากับหลอกลวงประชาชนหรือไม่? การโฆษณามันควรจะบอกตรงๆ ใหญ่ๆ เทียบคู่ไปเลยว่า Data ไม่จำกัด แต่จะจำกัด Speed เพียงแค่ X GB เท่านั้น ที่เหลือจะปรับลด Speed เหลือ X Kbps ตามกฎ FUP ก็ว่าไป
แล้วก็การที่ไม่ต้องจ่ายให้รัฐต่อปี 40k ล้านบาท แต่ตอนนี้เหมือนจ่ายครั้งเดียว 40k ล้านบาทนั้น บริษัทได้กำไรจากตรงที่ต้องจ่ายรัฐกลับมาบึม นั่นเท่ากับว่าค่าโทรค่าเน็ตจะต้องถูกลง X เท่า แปรผันตามจำนวนปีที่ได้สัมปทาน ไม่ใช่แค่ 15-20% แบบนี้บริษัทฟันกำไรไปเพียบ ดูจากการให้ต้องให้จ่ายเงินภายใน 90 วันแล้วจ่ายวันแรกดูสิ แสดงว่ากำไรนั้นเปรี้ยงปร้างมากๆ ถึงกล้าใส่สดได้ขนาดนั้น
ตัวเลขคุณคิดจากอะไรครับ ความอยากใช้ของคุณเอง????
lewcpe.com , @wasonliw
ไม่เลยครับ มันเป็นสิ่งที่มีคนถกเถียงกันมาว่า ถ้าประมูลแล้วยึดผลตามนี้ มันควรจะได้ตามนี้ ซึ่งประชาชนได้ประโยชน์ และเข้าถึงได้กับคนทุกกลุ่ม ซึ่งผมไปได้ยินการสัมนาจากข่าวโทรทัศน์ที่หนึ่งนำมาเปิดว่า ควรจะออกมาเป็นแบบไหนทดแทนจากค่าประมูล 3G ที่ถูกครับ ซึ่งบางอย่างผมอาจจะเติมลงไปตามความเห็นผล แต่ข้อมูลอีกส่วนก็มาจาการถกกันครับ
อย่างการจำกัด Unlimited ที่จำกัดความเร็วทั้งหมด ทั้งๆ ที่ไม่ควาจะจำกัดความเร็วทั้งหมด และควาจะจำกัดเพียงแค่ตัวที่ใช้ Bandwidth ที่สูง อย่าง Video Streaming, Peer 2 Peer การเปิดเว็บทั่วไป มันใช้ Bandwidth น้อย มันก็ควรที่จะได้ความเร็วเต็ม Speed ไม่ใช่ถูกจำกัด FUP จากพวกนั้นไปด้วย แล้วก็ราคาที่สมเหตุสมผลจากการประมูลที่ถูกมหาศาล ซึ่งจากเดิมที่ต้องจ่ายเข้ารัฐ 20 - 25% ต่อปี แต่ตอนนี้ 3G 2.1 GHz ไม่ต้องจ่ายแล้ว จ่ายแค่สัญญาณสัมปทานแค่นั้น นั่นมันยังไงกันล่ะ น่าเท่ากับว่า 3G 2.1 จะต้องถูกสิครับ หรือว่าการที่ 3 ค่ายไม่ต้องมีภาระจ่ายเข้ารัฐแถมประมูลมาที่ราคาถูกหรือเท่ากับที่ตั้งเอาไว้ แบบนี้ใครได้ประโยชน์ เครือข่ายมือถือหรือประชาชน? ถ้าจะบอกว่า ขอแค่ให้ได้ความเร็ว 3G สูงๆ นอกนั้นเท่าเดิม เหมือนเดิมหมด ไม่เป็นไรอย่างนั้นหรือ? มักกันน้อยนะครับ แบบนี้คนที่จะใช้ 3G ได้ก็คงเป็นคนมีอันจะกินเท่านั้นและ โดนจำกัดกลุ่มผู้ใช้อยู่ดี
หรือคุณไม่อยากได้แบบนี้ แต่อยากใช้แพงๆ ต่อไปกันล่ะ?
ถ้ามันใช้ BW น้อย แล้วมันจะวิ่งเร็วกว่าที่ถูกจำกัดได้อย่างไรครับ? แล้วเวลาเปิดเว็บด้วยเน็ตบ้านถูกจำกัดความเร็วหรือเปล่าครับ?
ผมไม่ได้จะอะไรกับเน็ตบ้านนักหนาหรอกนะครับ แค่สงสัยว่าแล้วทำไมเน็ตบ้านไม่เคยร้องเรียนกัน
ไม่ได้อยากใช้แพง ๆ ครับ แต่ถ้าจะเอาตัวเลขมาก็ต้องมีวิธีคำนวณมาด้วยไม่ใช่กล่าวกันลอย ๆ
"คนถกเถียง" ใครครับ???
ราคามันมาจากสองอย่างนะครับ "ขอที่มีขาย" และ "คนที่จะซื้อ" (demand/supply) ของมีจำกัด เราเพิ่มคลื่นไปไม่สิ้นสุดไม่ได้ ต่อให้เพิ่มจำนวน cell ก็ไม่สามารถเพิ่มถี่แบบไม่สิ้นสุดได้
การกำหนดราคาต้องคิดจากสภาพความเป็นจริง ว่า "ทำได้หรือไม่" เป็นขั้นแรก ถ้าไปอ่านประกาศการประมูล จะเห็นว่ามีเรื่องพวกนี้พอสมควร เช่นว่า คนได้คลื่น 5MHz จะไม่ต้องเข้าข้อกำหนดหลายอย่าง เพราะเขารู้ว่ากำหนดไปก็ทำไม่ได้
ต่อจากทำได้หรือไม่ ก็ต้องคุยเรื่องทำแล้วคุ้มหรือไม่ การประกันได้ขนาดนี้จริง capacity รวมระบบบตั้องมีเท่าไหร่ คุณจะบังคับให้ค่ายมือถือตั้งเสาถี่เหมือน wi-fi ทั่วประเทศโดยที่เขาไม่เจ๊งได้ไหม ถ้ามือถือสลับเสาด้วยความถี่สูงๆ จนบ้าเลือด ระบบที่รองรับเครือข่ายแบบนั้นได้ต้องมีพลังประมวลผลแค่ไหน
ในโลกความเป็นจริง เราสามารถให้บริการแบบที่คุณว่ามาได้จริงไหม ถ้าตั้งราคาแบบนี้แล้วสยามสแควร์จะกลายเป็นพื้นที่มืดบอด ไม่มีใครสามารถใช้บริการอะไรได้เลยตลอดกาลไหม ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องคิดครับ ของมีจำกัดอย่างที่บอก เราไม่สามารถให้ทุกคนเข้าใช้งานจนพอใจได้
ไม่ใช้ตั้งบนพื้นฐานความอยาก
lewcpe.com , @wasonliw
ผมก็บอกไม่ถูกหรอกว่าใครที่มีการพูดคุยกันอยู่ แต่ผมบอกตรงๆ เลย ผมฟังผ่านวิทยุ ASTV รายการ News Hour ซึ่งพิธีกรก็มีการนำภาพมาเปิดเรื่องการถกเถียงตรงนี้มาให้ดู แต่เนื่องจากมันไม่มีภาพ เพราะฟังผ่านวิทยุ ดูไม่ออกว่าเป็นการถกข้อมูลกันที่ไหน บรรยากาศอย่างไร... แต่ที่แน่ๆ เรื่องการถกข้อมูลมันเป็นข้อมูลเรื่อง 3G จะต้องถูกลงแบบประชาชนทั่วไป และทุกกลุ่มจับต้องได้ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากค่าสัมปทานที่ได้มาถูก แล้วก็เรื่อง "UNLIMITED" ที่แต่ละข่ายโฆษณากันออกมา มัน Unlimited จริงหรือไม่? เห็นโฆษณาว่า 3G ความเร้ว 7.2 Mbps แบบ Unlimited แต่มันไม่ Unlimited จริงๆ มันสมควรไหม? แล้วเรื่อง Unlimited นี้ก็ด้วย ที่ว่ามันควรจะ Unlimited จริงๆ ที่ไมใช่การโดน FUP แล้วความเร็วหด และ FUP มันควรจะออกมาเป็นแบบไหน ตามเว็บต่างๆ ที่เขาแสดงความเห็นเรื่องต่อต้าน FUP ว่ามันควรจะเป็นอย่างไร นี่คุณก็ไปหาดูได้ จะได้รู้ว่าไม่ใช่แค่ผมคนเดียวที่คิดไปเอง FUP ควรจะจำกัดอะไร และ FUP เขาจำกัดเพื่อจุดประสงค์อะไร? ถ้าไม่ใช่การป้องกันการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้ผิดประเภทอย่างพวกดู Video Streming และพวกปล่อยไฟล์แบบ Peer 2 Peer หรือ BitTorrent ถ้าไม่มีพวกนี้เขาจะจำกัด FUP ไปทำอะไร?
คุณลองไปหาฟังย้อนหลังได้ แต่ถ้าคุณเป็นคนต่อต้าน พธม.จะฟังหรือเปล่าก็เรื่องของคุณ ผมรับฟังได้ทุกกลุ่มทุกสีอยู่แล้ว ขอให้ประโชยน์ตกที่ประชาชน
ประเด็นเรื่องคำโฆษณาว่า UNLIMITED นี้สมควรหรือไม่ควรผมว่าหน่วยงานที่น่าจะเป็นฝ่ายดูแลตรวจสอบคือ สบท. (ตอนนี้อยู่ใน กสทช.) กับ สคบ. มากกว่านะครับ
ผมเห็นด้วยเรื่องถ้าไม่ Unlimited จริงก้ควรบอกตรง ๆ แต่ผมไม่เห็นด้วยที่จะไม่มี FUP เพราะอย่างที่คุณ lew พยายามบอก "มันมีจำกัด" ครับ ขืนปล่อยแแหลก ถึงจุดหนึ่งมันก็จะอืดกันหมดแน่ ๆ เพราะทรัพยากรของ 3G มันน้อยกว่าเน็ตบ้านเอามาก ๆ เทียบกันไม่ได้แน่ (และยังเรื่องทางเทคนิคพวกความสามราถในการรองรับต่อเสาอีก)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ประเด็นการ unlimit ไม่จริง เป็นเรื่องที่ผม "เห็นด้วย" และไปแสดงความคิดเห็น เรียกร้องในงานรับฟังความคิดเห็นของทางกสทช. เองในเรื่องนี้แล้วนะครับ (ข้อเรียกร้องที่ 3)
แต่มันไม่ใช่การเรียกร้องให้มีการบริการ unlimit อย่างที่เราหวัง (ฝัน) มันคือการเรียกร้องให้ผู้ให้บริการประกาศข้อมูลอย่างชัดเจนว่าถ้าไม่สามารถ unlimit ได้จริง มันมีข้อจำกัดอะไรบ้าง และแสดงข้อจำกัด "อย่างชัดแจ้ง" เท่านั้นครับ
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้าความเร็วที่เสาสัญญาณนึงให้บริการได้รวม 14.4Mbps และต้องการความเร็วเฉลี่ย 512kbps จะได้ว่าหนึ่งเสาต้องให้บริการผู้ใช้ไม่เกิน 14.4Mbps/512kpbs = 28.8 คน ต่อให้ปัดขึ้นเป็น 30 คนเลย
ผู้ให้บริการค่ายหนึ่งมีลูกค้า 30,000,000 เลขหมาย ดังนั้นต้องเตรียมเสาสัญญาณทั้งสิ้น 30,000,000/30 = 1,000,000 ต้น
...
ต้นละล้าน...
+1 แล้วถามนิดนึงนะครับ (ไม่ใช่พี่ลิ่วนะ (O_o)) เน็ตบ้านที่เรียก Unlimited นั่นบ้านคุณวิ่งได้ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่ครับ? แล้วมัน "มันไม่ Unlimited จริงอย่างที่โฆษณาเอาไว้" ด้วยหรือเปล่าครับ?
ผมเทสต์ได้ 9-10 Mbps จาก Speedtest.net ครับ ซึ่งได้ตามที่เขาโฆษณาเลย ไม่ใช่โฆษณา 10 แล้ววิ่ง 5 หรือ 3
ปล. ผม 3BB, อยู่ในโคราชด้วย
เปิด YouTube แบบ HD ลื่นมั้ยครับ?
ลื่นครับ ถ้าไม่มคนอื่นในบ้านเอาไปโหลดอย่างอื่นด้วยก็ความเร็วเต็มสูบครับ
จะมีบ้างที่ไปเจอเว็บที่คนใช้เยอะ ทำให้โหลดช้า
และอาจจะมีบ้างเล้กน้อย ที่เป็นปัญหาที่ 3BB เอง แค่โทรไปบอกให้เขาจัดการ อย่างให้เขารีเซ็ต Net ทางนั้น เน็ตผมก็กลับมาเป็นปกติแล้ว
นอกเรื่องครับ เปิด Youtube ลื่นไม่ลื่น ปัจจัยอีกส่วนมาจาก Youtube Cache ที่ ISP ครับ (เป็นบางคลิป)
คงเพราะผมไปเปิดเจอคลิปที่เขาไม่ค่อยเปิดกัน หรือเปิดกันน้อยล่ะมั้ง ถึงได้ลื่น แต่ถ้าเป็นคลิปที่นิยม หรือเซิร์ฟเวอร์ของ YouTube มีใช้เยอะจนล่มนั่นก็อีกเรื่องล่ะครับ
ผมว่ากลับกันครับ คุณไปเปิดคลิปที่เขาโหลดมาแคชไว้ที่ ISP แล้วถึงได้เร็วและไม่กระตุกครับ
ทุกวันนี้ 8-9 Mbps ที่โฆษณาไว้วันเฉพาะความเร็วที่วิ่งในประเทศเท่านั้น สำหรับต่างประเทศถูกลิมิตเหลือ 1-2 Mbps เท่านั้นและอาจจะน้อยลงอีกตามจำนวน User ที่ใช้งานในขณะนั้นทั้งๆที่ท่อยังว่างเหลือๆ(ฟังมาจากช่างอีกที)
เรื่องเน็ตบ้านเนี่ยผมอยากจะร้องเรียนนะแต่ดูแล้วก็ไลฟ์บอย เพราะในสัญญามันเขียนดักไว้หมดแล้ว แล้วไม่แน่ใจว่าสคบ.มันจะทำอะไรได้จริง
ลองไปอ่านสัญญาเน็ตเจ้าเล็กที่สุดใน 3G ดูนะแล้วลองคำนวนเล่นๆแล้วจะรู้ว่าถูกเอาเปรียบเพราะ เราใช้ Data Transfer เต็มโควต้าตามสัญญาเน็ต จะละเมิดสัญญาเขาแล้ว
จะย้ายไป ISP อื่นมันก็ไม่ค่อยมีตัวเลือกที่ดีกว่า ในราคาที่เหมาะสมทนๆใช้กันไป
เคยจะไปติดตั้ง CAT Fiber 2 Home เพื่อนอยู่แถวซ.เสือใหญ่ มันบอกคู่สายเต็ม ของผมอยู่แถวตึกทรูมันบอก ไม่มีตู้ผ่าน =w=
OMG!! Back Bone ของประเทศไปตั้งแต่ เชียงใหม่ - หาดใหญ่ แต่ผมอยู่ในกรุงเทพมันไม่ผ่าน TT
ปล. ถ้าจำไม่ผิดระบบมันรองรับ ADSL 2+ นานแล้วแต่ไม่ไปเพราะตลาดแทบไม่มีผู้แข่งขัน ลองสังเกตุว่าถ้า 3BB ไม่ขยับอีกเจ้าก็จะไม่ขยับ นี่แหละครับ Model ที่ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการฮั้ว แ้ล้วไม่มีการแข่งขันในตลาด
ราคา 3G ไม่มีทางลดถ้าไม่มีใครมาบังคับ และไม่มีคู่แข่งรายอื่นเข้ามาในตลาด
ทุกวันนี้ถ้าไม่มี 3BB ผมเชื่อว่าเรายังใช้ Net 2 Mbps กันอยู่
ผมเห็นด้วยเลยเรื่องมาตราฐานความเร็วเน็ต ADSL ไทย ถ้าไม่มี MaxNet หรือ 3BB ในปัจจุบัน ความเร็วเน็ตแทบจะไม่กระเตื้องเลย เผลอๆ จะอยู่ที่ 1-2 Mbps ก็ได้ ถ้าไม่มี ISP ไหนมาจุดตะเกียงเพื่อขนาดความเร็วเพื่อไปต่อ
ผมเคยอ่านกระทู้ในพันทิปผ่านตามมาอยู่ว่า True จะไม่มีทางเพิ่มสปีดเน็ตแล้ว เพราะขาดทุนหรือไม่คุ้มอะไรนี่ล่ะ แต่สุดท้ายพอ 3BB เพิ่มเป็น 10 Mbps True จึงได้เพิ่มตาม (แบบกล้ำกลืนหรืออย่างไรน้อ)
ผมว่า 3G ไทยเราก็เหมือนกันเรื่องความเร้วคงเอามาโฆษณามากไม่ได้ เพราะเจ้าไหนก็เหมือนกันหมด คือความเร็วไล่กวดกันอยู่ คงต้องไปโฆษณาเรื่องค่าบริการ และความเสถียรของข้อมูล เหมือนที่ DTAC เอามาโฆษณาเรื่องเสาสัญญาณใหม่ สัญญาณแรง ประมาณประมาณนั้น
ตอนนี้เรื่อง กสทช. จะยังไงก็ช่างละ เพราะผมก็เป็นเพียงเสียงเล็กๆ และตามอ่านข่าวเรื่อง 3G จนเบื่อละ เพราะยังไงผมก็ยังไม่ใช้ 3G อยู่วันยังค่ำ หากราคามันไม่อยู่ในจุดที่ผมเอื้อมถึงได้ และแน่นอนว่า ต้องใช้ควบคู่ไปกับระบบเติมเงินได้ด้วย เพราะเดือนๆ หนึ่งผมใช้โทรศัพท์น้อยมาก เติมเงินไป 300 ผ่านไป 3 เดือนเงินยังเหลือร้อยกว่าบาท ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าผมไปใช้พวกแพ็กเกจที่โทรฟรี หรือเหมารวม Data ในราคา 700-899 บาท ผมก็คงไม่เอา เพราะผมไม่ค่อยโทร และผมต้องการใช้เน็ตเพิ่มเติมอย่างเดียว ซึ่งระบบโทรศัพท์ที่ผมใช้ นั่นคือ True มันไม่มีบริการแบบนี้ ยังคิดอยู่ว่าจะย้ายไป DTAC ดีมั้ย เพราะแพ็กเกจโทรแบบทุกครือข่าย เติมเงินถูกกว่า True สมัยนี้อีก แต่ก็ติดเรื่องสัญญาณในช่วงที่ผ่านมา ที่ว่าล่มบ่อยจนคนก่นด่ากัน
เข้ามาขำ
@TonsTweetings
แล้ว 9-10 Mbps นี่มันวิ่งได้ความเร็วสูงสุดของเทคโนโลยีหรือเปล่าครับ? หรือว่าโดนบีบความเร็ว
ถ้าเป็น ADSL2+ ก้ไปได้ถึง 24 ครับ เข้าใจว่าแถวในเมืองบ้านเราเป็น 2 เฉยๆ
I need healing.
ไม่รู้จะวัดจากอะไรว่าถูกลง 15% หรือเปล่า ก็ในเมื่อทุกวันนี้หลายคนใช้โปรโมชั่นเหมาจ่ายค่าโทรผสมค่าดาต้าอยู่ อย่างผมจ่ายเดือนละ 799 โทรเดือนละ 700นาที ได้ 3G/Edge/GPRS รวมกันไม่เกิน 1GB อยากรู้เหมือนกันว่าเป็นค่าโทรนาทีละกี่บาท เป็นดาต้าเม็กละเท่าไร???
เท่าที่ดู ถ้าหาก operator ทำตามนี้ก็ถือว่าแฟร์นะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
กสทช. ทำเท่านี้ก็พอครับ
1. กำหนดให้มี package ราคาอย่างน้อยดังนี้ (เฉพาะส่วน Data)
-120 บาท ได้ความเร็ว 3G 500 MBytes ที่เหลือก็ fair use ความเร็วได้ไม่เกิน 256 kbps
-200 บาท ได้ความเร็ว 3G 1000 MBytes ที่เหลือก็ fair use ความเร็วได้ไม่เกิน 256 kbps
ที่เหลือก็ตามสบายครับ จะได้ data มากกว่านี้, fair use เร็วกว่านี้ก็ว่ากันไป แต่ 2 package ที่เสนอ ก็เพื่อประกันว่า คนปกติน่าจะจ่ายได้แน่นอน บางเดือนใช้หมด ก็ยังได้ fair use แบบว่าไม่ขาดการติดต่อ แต่ก็ไม่ใช่เล่นกันสบายๆ
2. กำหนดพื้นที่ครอบคลุมการให้บริการ 2 ปีแรกต้องได้ 50% ปีที่ 3 ต้องได้ 80% ปีที่ 5 ได้ 95%
เพื่อที่ให้ provider ต้องคิดขยายโครงข่ายให้ทั่วประเทศ ไม่ใช่แบบที่มีบางเจ้าออกมาพูดแล้วทำนองว่า จะเน้นเฉพาะเมืองใหญ่ที่มีคนหนาแน่นเท่านั้น
3. กลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตจากรายได้ (หรือกำไร) ที่ provider ทำได้ เก็บเพิ่มไปอีก 20% (ไม่เกี่ยวกับภาษีเงินได้นะครับ)
ทำ 3 เรื่องนี้ได้ ก็น่าจะผ่านนะครับ เป็นรูปธรรมด้วย ไม่ใช่คิดเองเออเองว่า รัฐเสียหายไปแล้วเท่านี้ๆ
ขอแก้ข้อ 1 เป็น 365k ซักหน่อยจะได้รู้สึกถึงความเป็น 3g
+1 อย่างน้อยให้เท่าเอจก็ok
ขอเพิ่ม- คุณภาพของ การรับส่งด้วย 3G น่าจะได้ประมาณ 42 Mbps แต่จริงๆ ได้ไม่ถึง ขอสัก 85% ของที่ทำได้จริงตามมาตราฐานก็โอเค
ทำได้อยู่แล้วครับ ถ้า
lewcpe.com , @wasonliw
ถ้าคุณต้องการแบบนี้ คุณไม่อาจอาศัยบนโลกนี้ได้ครับ (เพราะไม่มีที่ไหนทำได้ขนาดนี้) อังกฤษความเร็วเฉลี่ย 3G แค่ 2Mbps เอง
@TonsTweetings
+1 ผมเพลียเวลาได้ยินคำว่า 3G เทียมมันเลยห่วยเต็มทีละ อธิบายกันยาว ๆ
เอาความจริงเลยให้มันโหลดได้เร็วเต็ม 256k ผมก็ว่าพอเล่นแหละ เน็ต ADSL ผม 2 M ก็วิ่งโหลดแค่ 200K เองก็โหลดหนังดู youtube เล่นเกมเหลือเฟือ ประเด็นมันอยู่แค่นั้นแหละว่าวิ่งจริงๆ วิ่งได้เท่าไร แล้วจะมีคนใช้งานจริงๆ สักกี่คนที่รู้ว่าเน็ตตัวเองที่ใช้ประจำๆ วิ่งเท่าไร ผมเห็นหลายคนนะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไอ้เน็ต 6-7M ของตัวเองวิ่งอยู่แค่ 500-600K เอง เพราะความเร็วเทสมันก็โชว์เต็มตลอดแต่เวลาโหลดจริงมันวิ่งแค่นั้น ดังนั้นหลายคนบอกว่าได้แค่ 356k ไม่พอต้องได้เป็น M
เดี๋ยวนะครับ 2Mbps วิ่ง 200KBps หรือเปล่าครับ? แล้ว 6-7Mbps วิ่ง 500-600KBps หรือเปล่าครับ ปกติมันจะเป็นคนละหน่วยกันนะครับ bps คือ bits per second ส่วน Bps คือ byte per second มีค่า = 8 bits per second นะครับ
ถ้าไม่ใช่คนละหน่วยกันอย่างที่ผมว่ามานี่ต้องมีปัญหากับผู้ให้บริการแล้วล่ะครับ
ใช่ครับพอดีผมชินแต่พิมพ์ย่อๆ ขอโทษด้วยครับ
วิงเต็มสปีดแล้วครับ 2M คือ 2 Megabit per sec ครับ ไม่ใช่ 2 Megabyte per sec
8 Bit = 1 Byte
ส่วนความเร็วในการดาวน์โหลดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยครับ ทั้ง Bandwidth ของ Hosting ของ ISP ระหว่างประเทศ (หากโหลดจากเว็บนอก) ซึ่งเว็บ File hosting ส่วนใหญ่ก็จำกัดความเร็วในการดาวน์โหลดระดับหนึ่งอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีการแชร์ Bandwidth สำหรับไฟล์แต่ละตัว หากไฟล์ดังกล่าวมีอัตราการดาวน์โหลดพร้อมกันสูง และถ้าเป็น File Hosting อันนี้ผมตีไว้ก่อนว่าเป็นการดาวน์โหลดแบบ Regular หรือ Free download ไม่ใช่เป็นแบบ Premium ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ชอบโหลดฟรีกันอยู่แล้ว
ถ้าแบบนั้นผมอาจจะเข้าใจผิดเองครับ ขอบคุณข้อมูลครับ
256 kbps = 32 kilo byte per second นะครับ?
ข้อ 2. ก็มีอยู่แล้วนี่ครับ?
เห็นด้วยกับข้อ 1. อย่างมาก
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมถามเหมือนข้างบนนะครับ
ตัวเลขที่คุณว่ามาคิดจากฐานอะไร คิดถึงความเป็นไปได้แค่ไหน สมเหตุสมผลแค่ไหนในเชิงธุรกิจ ข้อ 1 กับ 2 นะครับ ถ้ามีตัวเลขที่สมเหตุสมผล ชี้แจงได้ อนาคตจะมีประกาศกำหนดราคาขั้นสูง ก็สามารถไปนำเสนอในรับฟังความคิดเห็นได้ครับ ส่วนมากค่ายมือถือจะส่งคนมาร่วมงานอยู่แล้ว มีตัวเลขช่วยกันยกไปถกเถียงครับ ผมเองตอนไปร่วมงานก็มีค่ายมือถือมาพูดคุย
ข้อ 3 เป็นหน้าที่ของ "รัฐบาล" ครับ ไม่ใช่กสทช. อันนี้เรียกร้องได้ แต่กสทช. "ไม่มีอำนาจ" ไปกำหนดภาษีสรรสามิตครับ มีแค่อำนาจกำหนดค่าธรรมเนียม ซึ่งทุกวันนี้เก็บแทบเต็มเพดานอยู่แล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
3G เมืองไทย ไม่ใช่แค่ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และการเมือง แต่เป็นจินตนาการเสียเยอะเช่นกัน
@TonsTweetings
นิทานเรื่อง 3G สอนให้รู้ว่า คนไทยชอบจิ้นแล้วฟินกันเอง