เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) จัดอภิปรายเรื่องผลกระทบจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ Ann Lavin ตัวแทนจากกูเกิลระบุถึงปัญหาของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ของไทยว่ามีปัญหาหลักคือมาตรา 15 ที่ระบุถึงความผิดของผู้ให้บริการ ทำให้ทั้งที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้กูเกิลสามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ ทั้ง สิงคโปร์, มาเลเซีย, และอินโดนีเซีย
ปัญหากฎหมายที่ทำให้กูเกิลไม่เข้ามาเปิดธุรกิจ YouTube ซึ่งเปิดให้เจ้าของเนื้อหาทำเงินจากการโฆษณาที่ส่งลงบนวิดีโอได้ เป็นปัญหาที่คุณ กริช ทอมมัสได้เคยระบุว่าเป็นปัญหาทางกฎหมาย จนแกรมมี่ไม่ต้องการนำวิดีโอขึ้น YouTube อีกต่อไปเพราะไม่สามารถสร้างรายได้กลับเข้ามาได้
ในงานเสวนาเดียวกัน สาวตรี สุขศรีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดงานวิจัยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ นับแต่ประกาศใช้มา 4 ปี 6 เดือนว่ามีคดีจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จำนวน 325 คดี แบ่งออกเป็นคดีทางคอมพิวเตอร์จริงๆ 62 คดี และเป็นคดีที่เกี่ยวกับการโพสข้อความหมิ่นประมาทต่างๆ 215 คดี ในขณะที่การปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล จนตอนนี้มีคำสั่งมาแล้วถึง 102,191 URL จากปีที่แล้วที่มี 81,213 URL (เฉลี่ยวันละ 57.5 URL) บางคำสั่งระบุถึง URL มากถึง 300-400 URL แต่สามารถอนุมัติได้ในวันเดียว
ข้อเสนอของอาจารย์สาวตรีมี 5 ข้อด้วยกันคือ
- ปรับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ใช้สำหรับคดีทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น ความผิดอื่นให้ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม
- เนื้อหาบางอย่างที่ต้องอยู่ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้นิยามให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ เช่น ความมั่นคง, ศีลธรรมอันดี
- มีกระบวนการสำหรับผู้บริการและแยกโทษออกจากการกระทำความผิดด้วยตัวเอง
- ตั้งองค์กรกลั่นกรองการปิดกั้นเว็บแทนศาล เพื่อให้สามารถตรวจสอบคำร้องเข้ามาได้ทั้งหมด
- ทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นเว็บ
ที่มา - ประชาไท
Comments
ชื่ออาจาร์ย์แปลกจัง "สาวตรี"
สา-วะ-ตรี
ลูกสาวคนที่ 3?
"ในขณะที่การเปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล" ตรงคำว่า "เปิด" น่าจะพิมพ์ 'เ' เกินนะครับ
และตัวหัวข้อด้วยครับ "พ.รบ." ตกจุดตรง 'ร' ไปครับ
หัวข้อ น่าจะเป็น "เป็นเหตุ" ด้วยครับ
@TonsTweetings
โลโก้กูเกิ้ลน่าอัพเดทเป็นแบบใหม่นะครับ
สอดคล้องกับที่รุ่นพี่ผมบอกมาเลย (พี่ทำงานอยู่ที่ RS ครับ)
พี่บอกว่าทั้ง RS ทั้ง GMM เอง อยากให้ Google เข้ามาพร้อม VEVO ใจจะขาด เพราะมันเป็นโมเดลที่ win-win ทุกฝ่ายที่สุดแล้ว Google เองก็สนใจจะเข้ามา แต่การที่ Google ไม่ยอมเข้ามาซักที เพราะยอมรับกฏหมายไทยข้อนี้ไม่ได้นั่นเอง
กรณีที่ Google รับไม่ได้เลย คือกรณีประชาไทครับ สั้นๆ แค่นี้ บางทีการตัดสินคดีเล็กๆ ที่ผู้ใหญ่หลายคนในบ้านเราอาจจะมองว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่าผลกระทบที่ตามมามันอาจจะรอบด้านและเสียผลประโยชน์ไปมหาศาลกว่าที่คาดคิด เช่นถ้าไม่ติดเรื่องนี้ ตอนนี้ Google คงเข้ามาพร้อม VEVO แล้วทำให้ธุรกิจเพลงในเมืองไทยเติบโตกว่านี้ไปแล้ว อาจจะมีกรณีอื่นๆ ที่เรายังมองไม่เห็นอีกมาก เช่นการตัดสินใจมาลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่างชาติ พอมาเจอกรณีนี้เลยทำให้เขาหนีไปสิงคโปร์ มาเล เวียตนามแทน เป็นต้น ...คงต้องเป็นประเด็นที่บ้านเราต้องมาคิดครับว่าจะเอายังไงกันต่อไป ว่าตกลงเราจะอยู่กันแบบนี้จริงๆ หรือ
รุ่นพี่เล่าอีกว่า ถ้า Google เข้ามา เขาก็ต้องมาตั้งบริษัทในเมืองไทยเป็นเรื่องเป็นราว มีพนักงานคนไทยในเมืองไทยหลายคนแน่นอน (สร้างงานได้อีกเยอะนะนั่น) แต่เพราะกฎหมายตัวนี้ กูเกิลรับไม่ได้ถ้าพนักงานของตัวเองต้องมาเสี่ยงต่อการเกิดคดีแบบนี้ (ผู้ให้บริการมีความผิดด้วย) ดังนั้นการตัดสินใจของเขาในตอนนี้คือไม่เข้ามาซะเลยซะยังจะดีกว่า จนกว่าจะมีกฏหมายและการบังคับใช้ที่สมเหตุผลกว่านี้
ต้องรอเด็กรุ่นใหม่มานั่งแทนละมั่ง
ไม่ใช่รุ่นลูกนะครับ รุ่นหลาน เพราะพวกนี้ ตายหมด ยังเหลือลูกน้องที่จงรักภัคดี อยู่ ต้องอีกรุ่นเลยหล่ะ รุ่นที่โตมากับเรื่องพวกนี้
Ton-Or
ใครจงรักภักดีใคร..?
น่าจะหมายถึง ลูกน้องที่สืบสานงาน คอนเซอร์เวทีฟ จากนักการเมืองรุ่นพี่ มั้งครับ #คหสต.
ตามนนี้ครับ
Ton-Or
คนพวกนี้ สนใจตัวเองก่อน ประเทศชาติช่างแม่ง แต่ตอนพูดกลับกลายเป็นตรงกันข้าม
ช่วงนี้ผมว่าเรื่องการเมือง เงียบลงไปมาก เดี๋ยวคงแก้ได้เองครับ (แต่คงต้องเสนอไปยังรัฐบาล)
เรื่องแก้ รธน. ข้อที่อยากแก้ใจจะขาดรัฐบาลยังหาทางไปไม่ค่อยถูก เจอกับดักเยอะ questก็เยอะ จะมาแก้เรื่องยิบย่อยรอไปเหอะ
แต่ก่อนแก้ไม่ได้เลยครับ พูดถึงยังไม่ได้เลย เพราะ ปัญหาคดีหมิ่น รุนแรง ถ้าขืนใครบอกแก้ จะเป็นคนไม่จงรักภัคดีทันที แต่ช่วงนี้ มันเลิกพูดกันแล้ว ก็น่าจะพอมีช่อง เสนอเข้าไปอีกรอบ
เรารวบรวมรายชื่อเพื่อขอเสนอแก้กฎหมายได้ไม่ใช่หรือครับ ผมไม่มีความรู้ไม่รู้ว่าขั้นตอนต้องทำอย่างไร ถ้ามีใครในนี้มีความรู้และเปิดประเด็นขึ้นมา ผมเอาด้วยเสียงหนึ่งครับ
ผมร่วมด้วยครับ
จำได้คุ้นๆว่ามีการล่ารายชื่อถอดถอนนายกด้วย แต่ไม่สำเร็จจำไม่ได้ว่ามีข้ออ้างว่าอะไร
แล้วนี่แก้กฏหมายที่คนหาประโยชน์จากมันได้เยอะแยะน่าจะยากพอๆกัน
ลองดูรายละเอียดที่นี่ครับ iLaw
เข้า iLaw แล้วไปทางไหนต่อครับ ลองเข้าไปแล้ว เห็นแต่รวบรวมรายชื่อค้านกฎหมาย 3 ฉบับ จะเป็นทำนองนั้นหรือเปล่า ?
ตรงกฎหมายประชาชนครับ
ในขณะที่การเปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล น่าจะเป็น ในขณะที่การปิดเว็บด้วยคำสั่งศาล หรือเปล่าครับ
Texion Business Solutions
เมืองไทยจำเป็นต้องปิดหูปิดตาประชาชน เพื่อผลประโยชน์บางอย่าง
ภาคไอทีของประเทศเราก็คงต้องเสียโอกาสต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะถูกปรับปรุง (ปิดกั้นได้ทั้งเว็บและนักลงทุน)
เรื่องนี้จะถึงหู คนระดับ บนไหมเนีย
ข้อ 4 นี้เหมือนอณาคตจะบลอคกันสนุกเลยนะครับ กรองเอง ปิดเอง
ถ้าจะเอาจริงๆ ถ้าบลอคผิดอยากให้เจ้าหน้าที่มีความผิดด้วย เพราะมันกระทบกับธุรกิจของคนที่ถูกบลอค
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมว่าเป็นเรื่องกลืนไม่เ้ข้า คายไม่ออกแน่เลยครับ ถ้าลองมองดูในแต่ละประเด็นที่อาจารย์ท่านว่ามาว่าจะเปลี่ยนแปลงยังไง ... ผมพอมองเห็นภาพรางๆในหัวได้ว่า .......
ปรับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้ใช้สำหรับคดีทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น ความผิดอื่นให้ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสม
เนื้อหาบางอย่างที่ต้องอยู่ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้นิยามให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ เช่น ความมั่นคง, ศีลธรรมอันดี
มีกระบวนการสำหรับผู้บริการและแยกโทษออกจากการกระทำความผิดด้วยตัวเอง
ตั้งองค์กรกลั่นกรองการปิดกั้นเว็บแทนศาล เพื่อให้สามารถตรวจสอบคำร้องเข้ามาได้ทั้งหมด
ทบทวนนโยบายการแก้ปัญหาด้วยการปิดกั้นเว็บ
ผมเองคิดว่า พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ จะสร้างสรรค์ขึ้นได้ต่อเมื่อไทยโดน AEC กดดันครับ (เหมือนกับกรณีพม่าเปิดประเทศน่ะครับ) เราต้องรอให้มันเกิดการติดขัดจนถึงขีดสุดก่อนจึงน่าจะมีการขยับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นครับ ซึ่งนั่นผมเชื่อว่าจะมาจากการเปิดประชาคมอาเซียนแล้วทำให้เม็ดเงินหมุนถ่ายไปมา ภาคเอกชนใหญ่เล็กก็จะเริ่มกดดันรัฐหนักขึ้น พวกกลุ่ม G2G ก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น บริษัท IT ระดับโลก (แบบ Google, Yahoo, Facebook, Apple) ก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น ภาคประชาชนก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น พรรคฝ่ายค้านเองก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น แม้กระทั่งภายในหน่วยงานของรัฐเองก็จะกดดันรัฐหนักขึ้น ..... เมื่อกดดันแบบนี้ บีบแบบนี้ซัก 5-15 ปี ผมเชื่อว่ารัฐก็จะเริ่มปรับตัวอย่างช้าๆให้เท่าทันกับกระแสสังคมโลกครับ แต่ถึงตอนนั้นเราอาจจะเสียหายมหาศาลไปแล้วก็ได้ .... แต่ก็ดีกว่าจะไม่เปลี่ยนเลยแบบเกาหลีเหนือ/อีหร่าน ครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
ขอกล่าวนิดนึงว่าอิหร่านไปไกลไทยในด้านเทคโนโลยีมาก คือ digital TV ของอิหร่านเขา มีตั้งแต่ปี 2009 แต่ไทย digital TV พึ่งมีในปี 2012 และอีกอย่าง คือ อิหร่านผลิตรถเองได้ ไม่มีภาษีแรงม้า ส่วนไทย ผลิตรถเองไม่ได้และมีภาษีแรงม้าครับ
โอว์ จริงด้วยครับ ประเทศเราความจริงก็น่าจะผลิตได้นะครับ อุตสาห์เรียกเราเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียแล้ว .... ส่วนภาษีแรงม้านี่น่าสงสารคนไทยมากๆครับที่เรา Regulate รถยนต์ได้แย่มากๆครับ การขึ้นภาษีไม่ได้หยุดคนรวยให้ซื้อรถแรงม้าสูงๆได้ (และซื้อจำนวนมาก) แต่คนทั่วไปที่อยากได้รถราคาถูกใช้ก็ไม่มีปัญญาซื้อครับ ฮาๆ
ส่วน DIgital TV นี่ Oiligarchy ชัดๆครับ ...ให้ตายสิ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
คนมีรถ 6 คันมูลค่ารวมเกือบ 100ล้านวิจารณ์นโยบายรถคันแรกบอกทำให้รถติดครับบ้านเรา
แก้หน่อย จะได้มีงานทำกันเยอะขึ้น ^^