เมื่อไม่นานมานี้ บริการกลุ่มเมฆ EC2 ของ Amazon ได้เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ประเภทใหม่ในชื่อว่า High Memory Cluster Eight Extra Large ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า cr1.8xlarge ดูจากชื่อก็บอกได้ว่า เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีหน่วยความจำขนาดใหญ่พร้อมกับหน่วยประมวลผลสมรรถนะสูง โดยสเปคของ cr1.8xlarge มีดังนี้
- โปรเซสเซอร์รุ่น Intel E5-2670 จำนวน 2 หน่วย แต่ละหน่วยมี 8 คอร์ ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.6 กิกะเฮิรตซ์ มาพร้อมเทคโนโลยี Intel Turbo Boost ทำให้เพิ่มสัญญาณนาฬิกาได้สูงสุดถึง 3.3 กิกะเฮิรตซ์ และมาพร้อมสถาปัตยกรรม NUMA ทำให้โปรเซสเซอร์เข้าถึงหน่วยความจำหลักได้เร็วขึ้น
- แรมขนาด 244 กิกะไบต์
- พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD ขนาด 120 กิกะไบต์
- เชื่อมต่อเครือข่ายด้วยความเร็ว 10 กิกะบิตต่อวินาที
- ราคาสำหรับเซิรฟเวอร์ Linux เริ่มต้นที่ 3.50 เหรียญต่อชั่วโมง และ Windows เริ่มต้นที่ 3.831 เหรียญต่อชั่วโมง
ด้วยสเปคของเซิร์ฟเวอร์ cr1.8xlarge ที่จัดมาให้ จึงทำให้เซิร์ฟเวอร์นี้เหมาะกับแอพพลิเคชันที่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำใหญ่ๆเพื่อการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ เช่น แอพพลิชันที่ต้องใช้ระบบดาตาเบสแบบฝังในหน่วยความจำ ( in-memory database ), การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ( big data analytics), และแอพพลิเคชันด้านวิทยาศาสตร์บางประเภทอย่างที่ใช้ในโครงการจีโนม เป็นต้น
ที่มา - Amazon Web Services Blog
Comments
TengigEthernet + SSD + 244gb Ram
บร๊ะ อยากลองเล่นจริง
ใส่มาซะขนาดนี้ ลื่นหัวแตกแน่
แบบนี้ทำ RAM drive ดีกว่า น่าจะจี๊ดสุดๆ
ยังงงๆ ว่าเอาไปเสียบตรงไหน สล็อตมันจะยุ่บยั่บ หรือหน้าตาแบบไหน
ก็เช่นเมนบอร์ดของเซิร์ฟเวอร์ที่มี DIMM 32 slot ครับผม ถ้าใส่แรม 8GB ครบทุก slot ก็จะได้ 256 กิ็กครับ ลองดูได้ตาม ภาพนี้ กับ ภาพนี้ ครับ
My Blog
ขอบคุณครับคุณบูม
เห็นแล้วมึนครับ ... ที่ทำงานใส่ได้ 8 x 8GB ผมว่าก็เยอะมากแล้วนะ
ขอบคุณสำหรับภาพด้วยครับ นี่ถ่ายเองเลยรึเปล่าเนี่ย
ยินดีครับ ผมไม่ได้ถ่ายภาพเองครับ (เครดิตภาพตามเจ้าของลิงค์ครับ)
แรมแบบ 8GB dimm ตอนนี้ถือว่าเห็นได้ทั่วไป แต่ถ้าพวกเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหญ่ๆเขาจะใช้ 32GB dimm (เช่น แรมของ Kingston ) ตามที่ผมอธิบายในคอมเมนต์ด้านล่าง ถ้ามีช่อง 40 dimm ก็ใส่แรมได้ 40x32 ประมาณ 1,200 กิ๊กเลยแหละครับ
My Blog
ECC UDIMM 8G DDR3 ราคา สองพันนิดๆ เองครับ
จ๊อดดดด
ระบบ Bade Server น่าจะตัวใหญ่พอดูทำ Core Hardware ใหญ่ขนาดนี้ :)
ใช่ครับ หากแต่ขนาดทางกายภาพก็ไม่ได้ต่างจาก blade server ทั่วไป ปกติ blade ที่ออกแบบมาเพื่อใส่แรมเยอะๆ เขาจะใช้ blade แบบ 2 slot (แบบวางตั้งตัดตามขวางตลอดแนว chassis กินพื้นที่ 1 คอลัมน์, ทำให้ได้แปด 2-slot-blade ต่อ chassis) ซึ่งปกติ blade พวกนี้มี dimm slot อยู่ 16 slot หากสนับสนุนแรมแบบ 32GB dimm (ซึ่งปกติพวกรุ่นเดสทอปจะใส่แรมได้แค่ 8 กิ๊ก) ก็จะทำให้ใส่แรมได้ 16x16 = 512 กิ๊กต่อเบลด มากกว่านั้นคือ ผู้ผลิตบางเจ้า(อย่างไอบีเอ็ม)ก็มีเทคโนโลยีขยายแรม ทำให้ blade แบบ 2 slot ใส่แรมได้ 40 dimm เลยทีเดียว จึงเป็นเหตุให้ blade 1 ตัวใส่แรมได้มากกว่า 1 เทระไบต์หรือ 1,000 กิ๊กนั่นเอง
My Blog
เอามาเล่น วินนิ่ง คงจะมันส์ไม่น้อย LOL
เห็นราคาแล้ว ถ้าใช้ยาวซักครึ่งปีนี่ซื้อเครื่องเองเลยดีกว่า Orz
จริง
ก็จริงครับ ซื้อมารันเองน่าจะประมาณ $18K-$20K (ไม่นับค่าบำรุงค่าไฟค่าแอร์) ข้อดีอีกอย่างคือ ไม่มี I/O cost อย่างใน cloud
แต่ถ้าใช้ EC2 ตัวนี้ให้ประหยัดขึ้น คงต้องเช่าแบบ reserved instance มันจะตกประมาณปีละ 12K ไม่มีค่าไฟค่าบำรุงเครื่อง แต่มีค่า I/O มากน้อยตามขนาดและการใช้ข้อมูล
My Blog
แรมมากกว่า SSD นี่ จะให้ผมใช้ RAM Disk???
เอาฮานะครับ