ซอฟท์แวร์ที่เปลี่ยนโลกการทำงานจากระบบกระดาษมาสู่คอมพิวเตอร์มีอยู่จำนวนมาก เช่น ระบบฐานข้อมูล, ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word Processing), หรือซอฟต์แวร์คำนวนตาราง แต่หนึ่งในนั้น คือ ซอฟต์แวร์ตัดแต่งรูปภาพที่นำในตลาดโดย Adobe Photoshop แต่ที่จริงแล้ว Photoshop เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น "เล่นๆ" เพื่อใช้งานส่วนตัว โดยใช้ชื่อแรกว่า "Display" โดยสองพี่น้อง Thomas Knoll ที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกด้านการประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์ และ John Knoll ที่ทำงานในบริษัท Industrial Light & Magic (ILM บริษัททำเอฟเฟคให้กับภาพยนตร์ดังๆ หลายเรื่อง)
Adobe เข้าซื้อ Photoshop ในปี 1989 และขายในนามของตัวเองครั้งแรกในปี 1990
ยี่สิบสองปีผ่านไป ทุกวันนี้ Photoshop ยังคงเป็นซอฟต์แวร์กราฟิกสำคัญทั้งงานด้านภาพถ่ายไปจนถึงเว็บที่ยังออกแบบด้วย Photoshop อยู่จำนวนมาก ทาง Adobe Systems ก็บริจาคซอร์สโค้ดของ Photoshop 1.0.1 เข้าไปยัง Computer History Museum มันประกอบไปด้วยซอร์สโค้ด 128,000 บรรทัดในภาษา Pascal และ Assembly ของชิปโมโตโรลา 68000 (แอปเปิลใช้งานในสมัยนั้น)
ไลเซนส์สำหรับการใช้งานเป็นแบบห้ามใช้งานทางการค้า สำหรับคนทั่วไปจะดาวน์โหลดมาลองศึกษาโค้ดก็ไม่มีปัญหา
ที่มา - Computer History Museum
Comments
ว๊าว... แต่!! ชิพโมโต
คนสมัยก่อนนี่ก็เก่งเนอะ
เก่งยังไงเหรอครับ แล้วคนสมัยนี้นี่เก่งหรือเปล่า
สมัยก่อนสร้างงานส่วนมากจะมาจากการสร้าง จากฐานพื้นขึ้นไปบนที่สูงๆ แต่สมัยนี้ เหยียบไหล่ขึ้นไปให้สูง
ภาษา assembly เองก็เหยียบไหล่คนอื่นมาครับ โปรแกรมเมอร์สมัยแรก เขียน machine code เป็นกระดาษเจาะรู ก่อนหน้าคอมพิวเตอร์แบบ general purpose ก็มีคอมพิวเตอร์เฉพาะทางที่ต้องออกแบบกันตั้งแต่ฮาร์ดแวร์เพื่อแอพพลิเคชั่นแต่ละแบบ
lewcpe.com , @wasonliw
Assembly = =*
ตอนผมไป ILM ได้เจอ John Knoll ตัวจริง เลยขอจับมือด้วยครับ ตอนแรกไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง ...ดีที่พ่อผมทักว่านั่น John Knoll นี่ ...เลยได้คุยกันครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
น่าสนใจมาก แกะโค๊ดกันสนุก
จริง ๆ ไม่มีความจำเป็นต้องแกะนะครับ เพราะพวก library โอเพนซอร์สสมัยนี้มันไปไกลกว่านั้นมากแล้ว
แต่ผมเขาไปดูโค้ดแล้ว ความน่าสนใจอยู่ที่เขาเขียนโค้ดสวยมาก สะอาด เข้าใจง่าย หากจะแกะก็ไม่ยาก ทั้งที่สมัยนั้นไม่มีทฤษฎีด้าน programming มากเหมือนสมัยนี้ แต่เขียนดีกว่าโปรแกรมเมอร์ยุคนี้เสียอีก
เขียนเล่นๆ . .
May the Force Close be with you. || @nuttyi
เขียนเล่นๆ -_-'
ใช้ Pascal และ Assembly -_-'''
สมัยนั้นก็ต้องเขียนแบบนี้ล่ะครับ ยุคนั้นคอมไพล์เลอร์ยังไม่เก่งนัก พอตรงไหนช้าก็ต้องเข้าไปเขียน assembly เอง
lewcpe.com , @wasonliw
แต่โปรแกรมสมัยก่อนไม่ได้สลับซับซ้อนมากมายอะไรครับ ดังนั้นการใช้ภาษาที่ใช้ยากแบบนั้นที่จริงก็ไม่มีอะไรต้องโฟกัสมาก มองอีกแง่นึงอาจจะเขียนง่ายกว่าโปรแกรมสมัยนี้เยอะเหมือนกัน
ลองเขียน Photoshop CS5 ด้วย ASM สิ คงสนุกพิลึก
ทุกวันนี้ใน MCU ก็ยังมีความต้องการ ASM อยู่ครับ เพื่อรีดประสิทธิภาพของมันเพราะเมื่อเขียนด้วย C แม้จะง่ายแต่มันประมวลผลไม่ทันกินครับ
ฮาร์ดคอร์โปรแกรมเมอร์ขนานแท้
128,000 บรรทัด ถือว่าเยอะไหมครับ