ปัญหาความเป็นส่วนตัวของสหรัฐฯ มีประเด็นในช่วงหลังเมื่อเอฟบีไอใช้ช่องทางการขอข้อมูลด้วยจดหมายความมั่นคง (National Security Letters - NSLs) เพื่อสั่งให้บริษัทโทรคมและหน่วยงานทางการเงินให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาล ล่าสุด EFF ฟ้องร้องต่อศาลแคลิฟอร์เนียชนะ โดยผู้พิพากษา Susan Illston สั่งให้หน่วยงานเพิกถอนจดหมายเหล่านี้และหยุดการออกจดหมายเพิ่มเติมภายใน 90 วัน
จดหมาย NSLs ออกโดยอาศัยอำนาจภายใต้กฎหมาย Patriot Act แต่ในการพิพากษารอบนี้ระบุว่าอำนาจนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดีระยะเวลา 90 วันที่ศาลให้กับเอฟบีไอ ทำให้เอฟบีไอสามารถยื่นเรื่องเข้าสู่ศาลอุทธรณ์ได้
กูเกิลเพิ่งเปิดเผยตัวเลขจำนวนจดหมายความมั่นคง เหล่านี้ที่ส่งมายังกูเกิลเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาระบุว่าได้รับจดหมายเหล่านี้ต่ำกว่าพันฉบับต่อปี และขอข้อมูลผู้ใช้หลักพันคนต่อปี ตัวเลขจำนวนจดหมายทั้งหมดที่เอฟบีไอส่งออกไปยังหน่วยงานต่างๆ อยู่ในช่วง 14,000 ฉบับถึง 56,000 ฉบับต่อปี รวมตั้งแต่กฎหมายประกาศใช้ มีการส่งไปแล้วประมาณสามแสนฉบับ
คดีนี้ Electronic Frontier Foundation เข้าต่อสู้คดีในฐานะตัวแทนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ถูกสั่งด้วยจดหมายเหล่านี้
คำพิพากษาระบุว่าแม้คำสั่งในจดหมาย NSL จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่อาจจะแก้ไขได้ด้วยการเปิดช่องให้ผู้บริการต่างๆ สามารถส่งคำโต้แย้งต่อคำสั่งใน NSL และกระบวนการนี้จะทำให้เอฟบีไอมีภาระต้องขอคำสั่งศาลเพื่อขอข้อมูล ที่ผ่านมาเคยมีผู้ให้บริการส่งคำโต้แย้งกลับไปยังเอฟบีไอ แต่ผลคือกระทรวงยุติธรรม (หน่วยงานแม่ของเอฟบีไอ) ฟ้องผู้ให้บริการที่ไม่ยอมทำตามคำสั่ง
ที่มา - Wired
Comments
ต่ำว่าพัน => ต่ำกว่าพัน
ถ้าเป็นบ้านเรา ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นใช่มั้ยครับ ที่จะตัดสินได้ว่า กฎหมายลูกตัวใดบ้างที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ???
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ลองแตะสิครับ เดี๋ยวรู้เลย :D
โอ้ย บ้านเรายากกว่านั้นครับ