หนึ่งปีหลังจากที่เอชทีซีทำสมาร์ทโฟน ตระกูล One ออกสู่ตลาด ในปีนี้เอชทีซีขอแก้มือใหม่ทั้งหมด ด้วยการ รีแบรนด์ One ใหม่ ด้วย HTC One (หรือรหัสในการพัฒนา "M7") สมาร์ทโฟนเรือธงเพียงตัวเดียว ( ? ) ของเอชทีซีในปีนี้ และนี่ยังเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ของ Peter Chou ที่เอาตำแหน่ง CEO ของบริษัทมาเป็นตัวประกัน ถ้ามันไม่ประสบความสำเร็จตาม HTC One โมเดลปี 2012 ไป ตัว Chou ก็จะลงจากตำแหน่ง CEO ทันทีครับ
และเนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่เอชทีซีประเทศไทย จะเริ่มทำตลาด HTC One อย่างเป็นทางการ หลังจากปล่อยให้กรี๊ดกร๊าดกันมาสักพัก นี่จึงเป็นโอกาสเหมาะที่เอชทีซีประเทศไทยทำการส่งเครื่อง HTC One มาให้ลองเล่นครับ สเปคของมันผมคงไม่พูดมากแล้ว เพราะหน้าเว็บหลักของเอชทีซี และข่าวเก่าบอกไว้ครบแล้วนั่นเอง
ตัวเครื่องและลักษณะภายนอก
ตัวเครื่องของ HTC One มาแบบแปลกกว่าชาวบ้านเค้ามากครับ ดูเผินๆ เหมือนเอาสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่นของหลายๆ ค่ายมายำรวมกัน มองเผินๆ เหมือน iPhone 5 ด้านหลังส่วนบนเหมือน Sony Xperia P ทั้งแผ่นหลังเหมือน Sony Xperia Ion ด้านข้าง HTC Butterfly กับ iPhone 3Gs มาเอง ส่วนด้านหน้า ถ้าตัดลำโพงล่างออก BlackBerry Z10 ชัดๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ผิวสัมผัสของตัวเครื่อง ไม่ใช่โพลีคาร์บอนเนตแบบ HTC One X/One X+ และ Butterfly แล้ว แต่มันเป็นอลูมิเนียมทั้งเครื่อง ซึ่งเหมือนกับที่เอชทีซีเคยทำใน HTC Legend กับ One S แต่เปลี่ยนลักษณะการออกแบบมาเป็นแนวทาง Zero-gap Construction แทน อีกทั้งฝาหลังของ HTC One ยังทำหน้าที่ในการรับสัญญาณต่างๆ อีกด้วย ซึ่งมันทำให้ปัญหา Deadgrip หายไปเกือบหมด (เพราะผมลองแล้ว มันไม่ลด!) และนอกจากนี้การที่เอชทีซีเลือกใช้อลูมิเนียมเป็นตัวถังทั้งเครื่อง มันก็เลยทำให้ตัว HTC One มีความรู้สึกดูหรูหรากว่า Samsung Galaxy S 4 ที่บอดี้เป็นพลาสติกแต่พยายามทำออกมาให้ดูหรูหรานั่นเองครับ
ย้อนกลับเข้าเรื่อง ด้านหน้าของตัวเครื่อง HTC One ไล่จากบนลงล่างจะประกอบไปด้วย กล้องหน้า 2.1 ล้านพิกเซล ลำโพงสนทนาที่ซ่อน Nofitication Led ไว้ 1 ดวง เซนเซอร์รับแสง หน้าจอ SuperLCD 3 ขนาด 4.7 นิ้ว ความละเอียด 1920*1080 พิกเซล ปุ่มควบคุมตัวเครื่องมาเพียงแค่ 2 ปุ่มเท่านั้นคือ Home กับ Back (โลโก้ HTC กดไม่ได้) ส่วนคำสั่ง Menu ยังคงขึ้นมาเป็นสามจุดไข่ปลาในจอ สำหรับแอพพลิเคชันที่ยังไม่ได้ปรับมาใช้ API Level 14 (ICS) ขึ้นไป และอีกอย่าง มันแก้ให้หายไปแบบ HTC One 2012 ไม่ได้แล้วด้วย ( ปัญหาเดิมซ้ำรอย ) ส่วนคำสั่งของปุ่ม Home ก็คือแตะหนึ่งครั้งย้อนกลับหน้า BlinkFeed หรือ Homescreen แตะสองครั้งจะเป็นคำสั่ง Recent Apps แตะค้างจะเรียก Google Now ครับ ด้านล่างสุดของส่วนหน้าเป็นลำโพงอีกส่วน
ด้านหลังของตัวเครื่องไล่จากบนลงล่างก็จะประกอบไปด้วย ไมโครโฟนตัวที่สอง และ กล้อง Ultrapixel พร้อม LED Flash
ด้านบนจะประกอบไปด้วยปุ่ม Power/Wake ที่ซ่อน IR Blaster เอาไว้ และพอร์ต 3.5 สำหรับหูฟังครับ
ด้านขวามีปุ่มปรับระดับเสียงอยู่
ด้านซ้ายมีถาดใส่ซิมที่ต้องเอาเข็มจิ้มออกมา (อีกแล้ว)
ด้านล่างมีพอร์ต Micro USB กับไมโครโฟนหลัก
หน้าจอ
เช่นเคยครับ ครั้งนี้เอชทีซีเลือกใช้จอ SuperLCD 3 แบบเดียวกับ Butterfly ดังนั้นมันจึงไม่แตกต่างอะไรมาก แต่จุดสำคัญคือ HTC One มีขนาดหน้าจออยู่ที่ 4.7 นิ้ว ซึ่งเท่า HTC One X แต่ด้วยความละเอียดที่มากกว่าทำให้จอ HTC One ดูเนียนตากว่า HTC One X มาก! ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่าจะเห็นความแตกต่างได้น้อย แต่ถ้าสังเกตกันดีๆ ตัวเลขนาฬิกาของ HTC One จะคมกว่าของ One X ครับ
ส่วนการรันวีดิโอระดับ Full HD นั้น HTC One ยังคงให้รายละเอียดได้สมบูรณ์เหมือน Butterfly ไม่ผิดเพี้ยนครับ
ป.ล. > อุปกรณ์ประกอบการรีวิว
ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ของ HTC One พื้นฐานในตอนนี้คือ Android 4.1.2 ที่ครอบด้วย The new HTC Sense หรือ HTC Sense 5 อีกชั้น ซึ่งถ้าจะให้สาธยายตรงนี้ คงโหลดกันตายพอสมควร เพราะฉะนั้น ผมขอยกเป็นอีกหนึ่งรีวิวนะครับ
เสียง
ระบบเสียงของ HTC One มีการปรับปรุงใหญ่พอสมควร เอาที่มองเห็นกันได้ก่อน ก็คือลำโพงภายนอกเป็นลำโพงสเตอริโอคู่ ที่มี Amplifier คอยคุมอยู่ จุดนี้เอชทีซีเรียกมันว่า HTC BoomSound ผลก็คือเสียงของ HTC One ออกมาดังลั่นบ้านผมเลยครับ = = ออกไปนอกห้องนอน เดินลงไปชั้นล่างยังได้ยินเลย = = แต่อย่างไรก็ตาม Stage ของเสียงยังนวลและมีมิติมากขึ้น เหมือนกับว่าไม่ใช่ลำโพงโทรศัพท์เลยครับ 555+ และเมื่อเสียบหูฟัง HTC One ยังคงขับเสียงได้ดีเหมือน HTC Butterfly ครับ งานนี้ Amplifier ไม่ใช่หมูๆ อย่างรุ่นเก่าๆ แล้ว (รุ่นเก่าที่ว่า ... HTC 8X และ Butterfly) ยังไงก็ตาม Beats Audio ถือเป็นของหลักที่ห้ามปิดเลยทีเดียว เพราะถ้าปิดมันแล้ว ... เสียงของ HTC One มันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับมือถือจีนแดงเลยครับ
(HTC One ให้ Headset แบบ In-ear แล้ว! เล่นสีแดงตรงขั้วรับ/ปุ่มกดกับตัวจุกหูฟัง)
จุดสำคัญอีกอย่างก็คือ ความสามารถของ HTC BoomSound มันส่งผลถึงการสนทนาด้วย อย่างที่ผมบอกว่า BoomSound ขับเสียงออกมาดังพอสมควร การเปิดลำโพงสนทนาก็จะดังตามเสียงของ BoomSound เลยครับ นั่นรวมถึงเสียงแจ้งเตือน เสียงเรียกเข้า และเสียงปลุกอีกด้วยนั่นเองครับ (ดังขนาดนี้ ไม่ตื่นก็ไม่รู้จะเรียกอะไรแล้วครับ 555)
กล้อง
กล้องของ HTC One มีการปรับปรุงใหญ่อีกแล้ว คือมันเปลี่ยนมาใช้รูปแบบ Ultrapixel แทน Megapixel ด้วยขนาดของเซ็นเซอร์ที่ใหญ่ถึง 2.0 µm ผลก็คือมันทำให้รับแสงได้ดีขึ้นถึง 300% แต่เอาจริงๆ Output ของไฟล์ออกมาแค่ 4.7 ล้านพิกเซลเท่านั้นครับ แต่ถึงยังไงก็ตาม HTC One สามารถถ่ายกลางคืนได้ดีขึ้น ส่วนกลางวันก็ยังให้แสงที่ค่อนข้างตรงกับธรรมชาติพอสมควร มองในจอโทรศัพท์ค่อนข้างสวย แต่ถ้าเอาขึ้นคอมพิวเตอร์แล้ว ผมว่าเฉยๆ เลยนะ การให้สีค่อนข้างเหมือน One X+ แต่เรื่องความคมชัด ค่อนข้างโอเคเลยทีเดียว ผมลองหาโอกาสถ่ายเทียบกับกล้องของ One V ดู ผลก็คือจำนวนพิกเซลที่น้อยกว่าของ HTC One สามารถให้ความคมชัดได้มากกว่า One V ที่มีรูรับแสงขนาดเท่ากัน และมีขนาด Output ที่ใหญ่กว่ากันนิดเดียวด้วยซ้ำครับ
แสงน้อย
ในอาคาร แสงน้อย
ในอาคาร
กลางแจ้ง
ลูกเล่นใหม่ของกล้องที่ผมคงจะพูดถึงไม่ได้เลยก็คือ HTC Zoe ครับ เจ้า Zoe เนี่ย จริงๆ ไม่ใช่การอัดวิดีโอความยาว 3 วินะครับ แต่เป็นการรัวชัตเตอร์ 20 ภาพต่อเนื่อง แล้วอัดวิดีโอทับหน้าเอา ในการถ่ายด้วยโหมด Zoe 1 ครั้ง กล้องจะรัวชัตเตอร์ก่อน 5 ภาพ และจากนั้นจึงรัวอีก 15 ภาพครับ เวลาแสดงผลมันก็เลยเอาวิดีโอขึ้นมาแสดงก่อนนั่นเองครับ แต่ถึงกระนั้น Zoe 1 ชุดมีขนาดสูงถึง 30 MB ดังนั้นถ้าถ่ายเปลืองจริงๆ ระวังพื้นที่เก็บข้อมูลเต็มนะครับ
รูปตัวอย่างที่ไปถ่ายๆ มา ผมอัพเอาไว้ใน SkyDrive เช่นเคยครับ
การใช้งานและประสิทธิภาพ
HTC One ถือเป็นสมาร์ทโฟน Qualcomm Snapdragon 600 ตัวแรกที่นำเข้ามาขายในประเทศไทย (Snapdragon 600 มีเปิดตัวสามรุ่น คือ HTC One, Samsung Galaxy S4 รุ่น LTE กับ LG Optimus G Pro รุ่นที่วางจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้) สิ่งที่แตกต่างจาก Snapdragon S4 Pro อย่างเห็นได้ชัดก็คือประสิทธิภาพในการทำงาน มันเร็วขึ้นมาก! ตั้งแต่เปิดเครื่อง HTC One ใช้เวลาในการบูตเครื่องเร็วมากๆ แบบจิบน้ำนิดเดียวก็พร้อมใช้งานแล้ว ส่วนการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นทำได้รวดเร็วมากขึ้น ประมวลผลงานหลายๆ อย่างพร้อมกันทำได้ดีมากขึ้นครับ แต่เสียอย่างเดียวคือ GPU ยังคงเป็น Adreno 320 เหมือน Snapdragon S4 Pro ที่ใช้ใน HTC Butterfly ดังนั้นผมคงพูดอะไรมากไม่ได้ครับ
แต่ที่สำคัญคือ HTC One กลับมาใช้พื้นที่เก็บข้อมูลในตัวอีกครั้งแล้ว หลังจากที่ใจอ่อนทำให้ HTC Butterfly รองรับ MicroSD Card แต่ถึงอย่างนั้นในครั้งนี้เอชทีซีได้ตัดสินใจที่จะแยกรุ่นจำหน่ายถึง 3 ขนาดคือ 16 GB/32 GB และขนาดสูงสุด 64 GB ทั้งหมดมีสเปคพื้นฐานเหมือนกันทุกประการ และยังไงก็ตามการที่เอชทีซีเลือกใช้พื้นที่เก็บข้อมูลในตัว อาจจะทำให้หลายๆ ท่านไม่พอใจเพราะพื้นที่ในเครื่องไม่พอเล่นนั่นเองครับ เพราะตัวระบบก็ดึงไป 8 GB แล้วแต่สิ่งที่ปรับปรุงขึ้นมาจาก One X+ และ Butterfly ก็คือ เมื่อทำการ Factory Reset แล้ว ข้อมูลผู้ใช้จะไม่หายแล้ว ซึ่งตามจริงแล้ว HTC One ไม่แบ่งพาร์ททิชันแยกระหว่างระบบกับข้อมูลผู้ใช้เหมือนกับสองตัวที่กล่าวมา ซึ่งปกติการรีเซ็ต มันควรจะหาย แต่ใน HTC One ผู้ใช้สามารถเลือกความสมัครใจว่าจะให้ข้อมูลในเครื่องหายไปได้หรือไม่ครับ
ความพิเศษอย่างหนึ่งที่เป็นฟีเจอร์เฉพาะ HTC One นั่นก็คือการใช้ตัว HTC One เป็นรีโมทคอนโทรลสำหรับใช้ควบคุมโทรทัศน์/กล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียม และ ชุดโฮมเธียเตอร์ นั่นเองครับ ผมลองเอามาใช้กับ LG LM7600 ก็สามารถใช้ได้แค่คำสั่งพื้นฐานเท่านั้น คือเปลี่ยนช่องรับสัญญาณ/เปลี่ยนช่อง/เพิ่ม-ลดเสียงทีวี/เข้าเมนูการตั้งค่าของตัวเครื่องเท่านั้น ไม่สามารถเข้าสู่คำสั่งของสมาร์ททีวีได้ แต่ยังไงก็ตาม มันยังสามารถควบคุมกล่องรับสัญญาณของทรูวิชั่นส์ได้อีกด้วย และจะมีคำสั่งในการควบคุม PVR เข้ามาเพิ่มเติมสำหรับคนที่ใช้งาน TrueVisions HD อยู่ครับ
ถึงยังไงก็ตามตัว Sense TV ที่ใช้ดูผังรายการของแต่ละสถานีนั้น จะไม่สามารถใช้งานได้ในบางประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้นการจะดูผังรายการหรือดูรายการที่น่าสนใจยังคงต้องพึ่งเว็บไซต์หลักของทางสถานีกันต่อไปครับ
จุดเสียของ HTC One ก็คงไม่มีอะไรมากนอกจากความร้อนครับ ... เล่นไปสักพักก็เริ่มร้อนแล้ว แต่ถึงยังไงบอดี้ของ HTC One เป็นอลูมิเนียม ถ้าแถวนั้นมีเครื่องปรับอากาศ เอาไปอิงนิดเดียวก็ช่วยลดความร้อนลงได้อย่างมากเลยล่ะครับ แต่ถึงยังไงก็ตาม ก็ระวังเรื่อง Thermal Shock ด้วยละกัน นอกจากนี้การที่เอชทีซีไม่ใส่ปุ่ม Recent Apps และ Menu เข้ามา ทำให้ปัญหาเรื่องปุ่มเมนูที่โผล่ขึ้นมาในจอที่เคยเกิดขึ้นในปีที่แล้วกลับมาเป็นประเด็นหลักที่ใช้โจมตีเอชทีซีอีกครั้ง และครั้งนี้ไม่รู้ว่าเอชทีซีลืมหรือจงใจ เพราะตัวรอม Engineering สามารถใช้ปุ่ม Back แทนปุ่ม Menu ได้ แต่ในรอมที่พร้อมวางขาย เอชทีซีกลับตัดคำสั่งนั้นออก มันจึงกลายเป็นประเด็นขึ้นมายังไงล่ะครับ
ส่วนเรื่องประสิทธิภาพ ก็คงต้องให้ดูจาก Benchmark เช่นเคยครับ
- Quadrant Standard – 12214
- Antutu Benchmark – 22075
- Vellamo HTML5 – 2435
- Vellamo Metal – 801
- Epic Cidatel: Performance – 51.4
- Epic Cidatel: Quality – 48.9
ความสามารถในการรับ GPS
ในเมื่อชาว Blognone ส่วนใหญ่ติด Ingress กัน ... ส่วนนี้จึงเป็นส่วนพิเศษที่ผมจะทำขึ้นเพื่อให้ใช้ประกอบการตัดสินใจด้วยนั่นเองครับ ว่ามันเหมาะที่จะเอามาทำภารกิจรุกรานโลก เอ๊ย พิทักษ์โลกหรือไม่ ^^
ความเร็วในการจับ GPS ของ HTC One ถือว่าทำได้เร็วพอสมควร มีจุดคลาดเคลื่อนเล็กน้อย และที่สำคัญคืออยู่ในอาคารก็ยังสามารถจับ GPS ได้ (และยังคลาดเคลื่อนระดับ 10 เมตรเท่านั้น) นั่นจึงแสดงให้เห็นว่าการเอาบอดี้อลูมิเนียมมาใช้เป็นตัวรับสัญญาณต่างๆ ของตัวเครื่อง สามารถช่วยแก้ปัญหาได้พอสมควร และเมื่อลองเอาไปเล่น Ingress จริงๆ HTC One ยังคงตอบสนองได้ไวพอสมควร แต่อย่างไรก็ตามถ้าเปิด Google Location ไว้ ตำแหน่งจะส่ายไปมาอย่างมาก ต้องปิด Google Location ก่อน GPS ถึงจะนิ่งและแม่นยำครับ
แบตเตอรี่
Snapdragon S4 Pro ถึงแม้จะเป็นหน่วยประมวลผลที่ใช้พลังงานค่อนข้างต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อตอนรีวิว HTC Butterfly ผมเล่นโหดพอสมควร จึงทำให้แบต HTC Butterfly อยู่ในระดับที่หลายคนรับไม่ได้ (เมืองนอกก็เป็นเช่นกัน) แต่เมื่อ Snapdragon 600 มีการยืนยันว่าใช้พลังงานลดลงจริง จึงต้องมีการทดสอบใหม่เช่นเคยครับ แต่ครั้งนี้ผมขอทดสอบแบบสองทางละกัน คือฉบับคนติด Ingress (แหง๋ล่ะ) กับการใช้งานทัวๆ ไปตามสไตล์ของผมครับ
ทั้งสองฉบับมีการตั้งค่าพื้นฐานดังต่อไปนี้ – ปรับโหมดเครือข่ายให้เป็น WCDMA เพื่อไม่ให้สลับกลับไปหาเสา TrueMove, ตั้งความสว่างหน้าจอเป็น Automatic, ปิดโหมด Power Saver นะครับ ถ้าเปิดตัวนี้จะใช้งานได้นานขึ้นพอสมควร แต่เพื่อความมันส์ ขอปิดโหมด Power Saver ก็แล้วกันครับ (นี่คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่ตอนผมเทส แบต Butterfly หมดไวด้วยส่วนหนึ่ง)
ฉบับคนติด Ingress – ถอดสายแบตในช่วงที่จะเริ่มออกปฏิบัติการ และเปิด Ingress ตลอดเวลาเพื่อให้ตัว GPS ทำงานให้มากที่สุด เล่นเว็บดูความเคลื่อนไหวของการออกปฏิบัติการ ทวีตบ้าง โทรบ้าง ถ่ายรูปบ้าง ฟังเพลงตลอด ผลก็คือออกไปแบต 100% ผ่านไป 4 ชั่วโมง 55 นาที แบตเตอรี่เหลือ 14% และตัวเครื่องเปิดโหมด Power Saver โดยอัตโนมัติ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ดีทีเดียวสำหรับตัวเครื่องที่แบตไม่ถึง 2500 mAh และต้องเจอจอและ GPS ทำงานอยู่เกือบตลอดเวลาครับ
ฉบับทั่วๆ ไป – ชาร์จแบตจนเต็มในตอนเช้า เล่นเว็บบ้าง โทรศัพท์บ้าง ฟังเพลงเกือบทั้งวัน ถ่ายรูปบ้าง Zoe บ้าง สลับไปใช้ WiFi ผลก็คือ แบต HTC One อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ดีทีเดียว เพราะมันสามารถอยู่ได้ถึง 12 ชั่วโมง โดยที่แบตยังเหลือเกิน 25% ถ้าใช้งานแบบไม่มากมายอะไรจริงๆ อาจจะอยู่ได้ถึงบ่ายวันที่สองอย่างสบายๆ เลยครับ เท่าที่ดูข้อมูลการใช้งานจะเห็นได้ว่า ระหว่างที่ไม่ได้ใช้งาน ตัวเครื่องจะตัดการทำงานบางส่วนออก เช่นปิดการเชื่อมต่อ Data โดยอัตโนมัติเป็นต้นครับ แต่ถ้าใช้งานบ้างจริงๆ อย่างต่ำก็ 10 ชั่วโมงได้เพียวๆ เลยครับ
เล่นบ้าง แต่เน้น Standby
เล่นตลอด
ทั้งหมดทั้งมวลนี้... ผมขอสรุปง่ายๆ ครับว่า Snapdragon 600 ช่วยในเรื่องของพลังงานได้เยอะพอสมควรเลยล่ะครับ
สรุป
การกลับมาของ HTC One ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ของ Peter Chou และเอชทีซีตามที่บอกไว้ข้างต้นแล้วนั้น นั่นหมายความว่าเอชทีซีจะไม่ส่งตัวท็อปทำตลาดอีกในปีนี้ และนี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นได้ว่าถ้าเอชทีซีจะทำอะไรอย่างจริงๆ จังๆ ก็สามารถทำได้ แต่ถึงยังไงก็ตามลุคของ HTC One ก็มีกลิ่นอายค่อนข้างไปทางลุคพรีเมี่ยมและความดุดันมากกว่าความกีคอันเป็นมาตรฐานของแอนดรอยด์ แถวๆ นี้ถ้าอยากได้ ก็คิดดูให้ดีๆ แล้วกันนะครับ เพราะถ้าเทียบสเปคกันแล้ว HTC One ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจพอสมควรในช่วงนี้เลยล่ะครับ
แต่อย่างไรก็ตาม เราจะยังไม่ได้เห็น HTC One ในเร็วๆ นี้แน่นอน เพราะของขาดตลาด จนทำให้เอชทีซีประเทศไทยตัดสินใจที่จะเปลี่ยนกำหนดการจากเดิมไปเป็นช่วงปลายเดือนเมษายน-ต้นเดือนพฤษภาคมแทนครับ อย่างน้อยก็รอกันหนึ่งเดือนเต็มได้เลยล่ะครับ แล้วประเด็นที่สองถึงสเปคของ HTC One จะรองรับ LTE ในตัว แต่รุ่นที่ขายในประเทศไทยไม่รองรับนะครับ เพราะเป็นรุ่น HSPA+ สำหรับทำตลาด International อย่างเดียวครับ
ข้อดี
- Snapdragon 600 ทำงานได้แบบไม่ผิดหวัง
- กล้องทำงานไวกว่าตัวเดิมมาก
- น้ำหนักเบา
- แบตทนกว่า Butterfly "มาก!"
ข้อด้อย
- ถึง CPU จะแรง แต่เอาจริงๆ ก็ยังมีหน่วงๆ บ้าง โดยเฉพาะใน Line กับ Epic Cidatel จะเห็นได้ชัด
- พื้นที่ 32 GB กับลูกเล่นแบบนี้ "มันน้อยไปจริงๆ"
- หน้าตาเชิงบังคับของ BlinkFeed อาจทำให้ผู้ใช้บางคน ถึงกับรำคาญ
n/a
- ร้อน! มาก! มาก! แต่.. ตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียม มันคลายความร้อนได้เร็ว อิงกับแอร์แปปเดียวก็เอามาเล่นต่อได้แล้ว
Comments
เรื่องของปุ่มเมนูนี่คงต้องทำใจ และส่วนตัวผมคิดว่า ถ้า App เขียนมาโดยไม่ใช้ ActionBar แล้วล่ะก็ ไปหา App ใหม่เล่นเถอะ !! (แต่นั่นหมายถึง Facebook และแอพดัง ๆ อีกหลายตัว 555)
ก็จะโผล่ปุ่มจุดสามจุดแทนอ่ะครับ เซ็งกะไลน์มาก แม้จะมี Action Bar แต่คงเป็นแบบสร้างเองเลยยังมีจุดสามจุดอยู่ T^T เกะกะมว๊ากก
เอาออกได้โดยไปตั้งค่าที่ Display , gestures & buttons > Recent apps button
ใน HTC One ตัวนี้เอาออกไม่ได้แล้วครับ เพราะมันไม่มีปุ่ม Recent Apps - -"
เครื่องสวยมากๆ เพิ่งสังเกตว่าตัวเองไม่สนใจข่าวเปิดตัวมือถือ htc ไปเลย เพิ่งจะมาดูว่ามันคือรุ่นอะไรหลังเปิดตัวแล้วเดือนนึง
ที่ไม่ทำลง Windows Phone เพราะคงขายได้น้อยกว่าสินะ
จุดไข่ปลาาาาาาาาาาาาา #หลอน
ขอบคุณสำหรับรีวิวครับ
ขอบคุณสำหรับรีวิวครับ ช่วยทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเยอะเลย ตัดช้อยไปหนึ่ง
จะงงกับปุ่มมั้ยเนี่ย
กิเลสๆๆๆ
Line กระตุก/ค้าง/สะดุด =_=???
Nexus 4 ยังมีเปิดไม่ขึ้นเลยครับ
I need healing.
ไม่คิดว่าจะเอาปัญหาเดิมมาใส่เป็นของแถม -*-
ขอบคุณสำหรับรีวิวครับ แต่ตอนนี้มันไม่ทันซะแล้ว T^T
Dream high, work hard.
เยี่ยมเลย
ว่าแต่ Google Location ที่ว่าให้ปิดนี่คืออะไรเหรอครับ?
ตัวแจ้งตำแหน่งของกูเกิลไงคับ ' '
ละเอียดกว่านั้นหน่อยคร้าบ
คิดว่า คือการจับตำแหน่งแทนที่จะใช้ GPS ก็ใช้ที่อยู่ไอพีแทน โดยกูเกิลมีตารางอยู่ว่าไอพีนี้ตำแหน่งไหน ซึ่งถ้าใช้ WiFi ก็จะค่อนข้างแม่นกว่าใช้ mobile data
ขอบคุณครับ
แต่ Wi-Fi กับ Mobile Data นี่ไม่ได้ใช้ IP นะครับ Wi-Fi จะใช้ BSSID (MAC Address) ของ Access Point ไปเทียบว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลเคยเจอที่ตำแหน่งไหน ส่วนถ้าไม่ได้ต่อ Wi-Fi โดยปกติจะใช้ข้อมูล cell site ว่าเสาสัญญาณโทรศัพท์ที่ต่ออยู่ด้วยนี่ตามการบันทึกตั้งอยู่ตรงไหน และครอบคลุมระยะขนาดไหนครับ
ถ้าตรวจตาม IP ส่วนมากผมเห็นมันลงไปที่ศูนย์ข้อมูลนะครับ
ดูน่าสนใจทีเดียว แต่ไม่ชอบตรงร้อนนี่หล่ะ เข็ดกะ one x ร้อนจนไม่กล้าใช้อะไรมาก ร้อนง่ายเกิน ไม่รู้ตัวนี้ดีกว่า one x เปล่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อย่างไรก็ตาม ยังไงก็ตาม ผมว่าใช้คำนี้เปลืองไปนะครับ
ครับ ขอบคุณมากครับ =.=)...
เดี๋ยวจะลองปรับเนื้อหาอีกทีนะครับ ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว T T
ทัวๆ ไป => ทั่ว ๆ ไป
เล่น Ingress ได้เกือบ 5 ชั่วโมง o.O!!
Xperia Play ผมอย่างเก่งก็ 3 ชั่วโมงครึ่ง
กล้องตอนที่รีวิวได้อัพเฟิร์มแวร์แล้วยังครับ
คิดว่ายังครับ แต่ยังไงเสีย มันดีกว่าตอนที่ผมไป เทสในงาน เยอะมากครับ
ทำไมถึงไม่อัพละครับ
เอ่อ นี่มันเครื่องพรีวิวครับ เฟิร์มแวร์ยังเป็นตัว Testing อยู่เลย อะไรๆ ยังไม่นิ่งด้วย ต้องดูตัวเครื่องขายจริงกันอีกรอบครับ
รูปถ่ายค่อนข้างสวยครับ เจ๋งๆ
แล้วเรื่องความร้อนเทียบกับ sony xperia z ตัวไหนร้อนกว่ากันครับ
ผมชอบ Sense มาตลอด จนกระทั่งตัวนี้แหละครับ ไม่ชอบ BlinkFeed เลย ไม่จำเป็น ทำเป็นแอพยังดีกว่า ใครมันจะอ่านข่าวตลอดเวลา -*-
จริงอยู่ว่าเลือกหน้า Homescreen เป็นหน้าอื่นได้ แต่ก็นะ เปลี่ยน Launcher ซะเลยดีกว่า
Educational Technician
รูปถ่ายแสงฟุ้งมากครับ โดยเฉพาะตอนกลางวัน - -
ถ้าไม่ติดเรื่องกล้องนี่น่าซื้อมากครับ รอดู Nexus 5 อีกตัวหนึ่ง
ตัวระบบดึงไป....8 GB เชียวเหรอ อู้ย - -'
สวยน่าเล่น หึหึ แต่กล้อง .... ไม่ขอพูดถึง
เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากใช้ Apple,Sony BB,hTC พร้อมกัน ซื้อhTC One เถอะครับ
ผมอยากให้ทาง Blognone ช่วยเพิ่ม Function จำนวนคนที่เข้ามาอ่านว่ามีกี่คน เหมือนใน Droidsans นะครับ
เมื่อก่อนเคยมีครับ แต่เอาออกไปเนื่องจากเป็นภาระต่อโหลดของเซิร์ฟเวอร์ครับ
ราคาอย่าโหดนะ
ตกลงnotification ledแต่2สีเหมือนรุ่นอื่นๆใช่เปล่า
สรุปถ้าให้เลือกระหว่าง HTC One, Samsung Galaxy S4, Sony Xperia Z ตัวไหนจะดีกว่ากันครับในแง่ของเรื่อง design สวย + กล้องดี เพราะผมกำลังมองหา smartphone ที่เน้นเรื่อง design + กล้องเนี่ยแหละครับ
เอา BlinkFeed ออกได้มัย....ไม่ปลื้มเท่าไหร่