จากข่าวเรื่อง PRISM ที่มีการอ้างชื่อแอปเปิลด้วยนั้น แอปเปิลได้ออกแถลงการณ์เรื่องความรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้ดังนี้
แอปเปิลไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ กับรัฐบาลด้วยการให้เข้าถึงเซิร์ฟเวอร์โดยตรง และหากรัฐบาลใดก็ตามต้องการข้อมูลของลูกค้านั้นจะต้องมีคำสั่งศาลมาก่อน
ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2012 ถึง 31 พฤษภาคม 2013 แอปเปิลนั้นได้รับคำขอตามกฏหมายอเมริกาประมาณ 4 พันถึง 5 พันครั้ง ซึ่งคำขอเหล่านั้นขอข้อมูลของผู้ใช้ 9 พันถึง 1 หมื่นบัญชีหรืออุปกรณ์ ซึ่งมาจากทั้งรัฐบาล, เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งการตรวจสอบเกี่ยวกับอาชญากรรมและความปลอดภัย โดยคำขอส่วนใหญ่มักมาจากตำรวจ เช่น สืบสวนเรื่องการโจรกรรมและการก่ออาชญากรรมอื่น ๆ, การค้นหาเด็กหาย, การระบุตำแหน่งผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือการป้องกันการฆ่าตัวตาย
ทีมกฏหมายของแอปเปิลได้ประเมินผลในคำขอแต่ละเรื่อง ถ้าดูสมเหตุสมผลจึงจะให้ข้อมูล และให้เฉพาะเท่าที่จำเป็นกับเจ้าพนักงาน และหากแอปเปิลเห็นความผิดพลาดและไม่ลงรอยของคำขอ แอปเปิลจะปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำขอนั้น
ยกตัวอย่างการคุยใน iMessage และ FaceTime นั้นจะถูกเข้ารหัสตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ดังนั้นจึงไม่มีใครนอกจากผู้รับสารและผู้ส่งสารจะเห็นหรืออ่านมันได้ แอปเปิลนั้นไม่ได้ถอดรหัสข้อมูล เช่นกัน แอปเปิลไม่ได้เก็บข้อมูลที่อยู่ของผู้ใช้, ข้อมูลการค้นหาแผนที่ และ การพูดคุยกับ Siri ในแบบที่ระบุตัวตนได้ (คือเก็บข้อมูลไว้แต่ระบุไม่ได้ว่ามาจากใคร)
Comments
โดยคำขอที่มีมาก "มามักมา" จากตำรวจ --> โดยคำขอที่มีมากมักมาจากตำรวจ
แก้แล้วครับ
เกี่ยวกบ => เกี่ยวกับ
นึกว่าจะโดนมากกว่านี้นะ ขนาด Microsoft ยังโดนเรียกไป 6,000-7,000 ครั้งในรอบ 6 เดือน ส่วน Facebook ถูกร้องข้อมูลผู้ใช้ไป 19,000 account - The Next Web
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ที่เหลือใช้ความสงสัย เจาะระบบข้อมูล เอาเอง ตามข่าวเก่า
ยังติดใจคำว่าโดยตรง ทำไมทุกเจ้าต้องมีคำขยายความนี้ คือโดยอ้อมไม่นับชิมิ